แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 10 Aug 2021 06:30:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เศรษฐา ทวีสิน” แนะรัฐบาล 7 ข้อเร่ง “ฟื้นเศรษฐกิจไทย” พร้อมจัดหาวัคซีนล่วงหน้า 3 เท่า https://positioningmag.com/1345938 Tue, 10 Aug 2021 06:13:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345938 แม่ทัพ “แสนสิริ” ชี้ปัญหาเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งสูงขึ้น ควรยกประเด็นนี้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมแนะแนวทาง 7 ข้อเพื่อ “ฟื้นเศรษฐกิจไทย” รวมถึงมองข้ามช็อตเรื่อง “วัคซีน” มีแนวโน้มต้องฉีดต่อเนื่องทุกปี รัฐบาลควรสั่งล่วงหน้า 3 เท่าของประชากร อย่าซ้ำร้อยบทเรียนปัจจุบัน

“เศรษฐา ทวีสิน” ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสถานการณ์ประเทศไทยหลังเผชิญวิกฤต COVID-19 พบว่า “ความเหลื่อมล้ำ” ยิ่งสูงขึ้น โดยธนาคารโลกวิเคราะห์ว่า วิกฤตครั้งนี้ทำให้คนจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านคน ดังนั้น ภาครัฐควรถือโอกาสยกการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำให้เป็น “วาระแห่งชาติ”

เศรษฐายังแสดงความเห็นแนะนำแนวทาง “ฟื้นเศรษฐกิจไทย” ดังนี้

1.ควรเตรียมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพราะแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะกระตุ้นให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างมหาศาล และรัฐควรนำเงินช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบเพิ่มอีกโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs และธุรกิจท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ยกตัวอย่างแผนงานที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว โดยโจ ไบเดน ปธน.สหรัฐฯ มีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่างบที่ใช้ในวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อกว่าสิบปีก่อนถึง 4 เท่า ขณะที่ฝั่งยุโรปอนุมัติงบ 3 หมื่นล้านยูโร เพื่อสนับสนุนโครงการด้านขนส่ง ดิจิทัล และพลังงาน จนถึงปี 2570

2.ควรเดินหน้าเร่งกู้เงินเพื่อใช้ในการลงทุน เมื่อจะลงทุนต้องมีการกู้เป็นเงินทุน โดยรัฐบาลได้รับความเห็นชอบให้กู้เงินเพิ่มเป็น 1.5 ล้านล้านบาทแล้ว รัฐต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ เร่งกู้เงินเพื่อใช้ฟื้นฟูประเทศ หากไทยไม่เร่งกู้ เงินในระบบจะถูกดูดไปหมดก่อน คล้ายกับกรณีวัคซีนที่จะหาทีหลังก็หาไม่ได้แล้ว

นอกจากนี้ รัฐบาลควรขอขยายเพดานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจากปัจจุบัน 60% เช่นเดียวกับหลายประเทศที่ขยับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีขึ้นไปแล้ว เพราะทุกประเทศต้องกู้เงินมาใช้เยียวยาเศรษฐกิจ

3.ควรมีการปรับโครงสร้างการเก็บภาษี อีกหนึ่งหนทางหาเงินลงทุน เสนอแนะให้ปรับภาษีความมั่งคั่ง ที่ควรมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากผู้ที่มั่งคั่งกว่าในรูปแบบต่างๆ ให้เกิดภาวะการเงินที่สมดุลของประเทศ เช่น ภาษีมรดกคนรวย

4.การพยุงราคาสินค้าและประกันราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และอ้อย รัฐบาลต้องช่วยรับภาระในการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับไปสร้างผลิตผลทางการเกษตร แทนที่จะรอเงินช่วยเหลืออย่างเดียวและประชาชนจะได้พอเลี้ยงตัวผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปได้

นาข้าว

5.ควรเร่งแก้ปัญหาการบินไทยและพยุงสายการบินอื่นๆ ด้วย เพราะจีดีพีไทยพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูงมาก ดังนั้นต้องเร่งแก้ปัญหาการบินไทย และต้องใช้โอกาสนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ปรับองค์กรให้โปร่งใส เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น ไทยจะได้มีสายการบินหลักที่มีประสิทธิภาพที่จะนำนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยได้

6.มีมาตรการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ การลงทุนจากต่างชาติอั้นมาพอสมควรจากสถานการณ์ 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ปริมาณการลงทุนจะดีดตัวขึ้นแน่นอน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขณะนี้ไทยเริ่มถูกสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซียทิ้งห่าง มาตรการดึงดูดการลงทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษีหรือสิทธิประโยชน์ที่ต้องตอบโจทย์และรัฐบาลต้องรีบจัดการและประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน

7.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่ระบบการเมืองในสายตาประชาชน ไม่ว่าจะมีการปรับแก้ไขรายมาตราหรือจะแก้ทั้งฉบับก็ต้องหาทางออกให้ได้ เพราะเศรษฐกิจและการเมืองแยกกันไม่ขาด ถ้าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาแต่องค์ประกอบทางการเมืองยังเป็นชนวนของความขัดแย้งอยู่ ประชาชนก็จะไม่มีความมั่นใจ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็จะชะลอไปด้วย

ไม่เพียงแต่ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐายังแนะว่า “วัคซีน” เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องมีเพียงพอ รวดเร็ว กระจายได้ทั่วถึง และต้องมองข้ามช็อตไปถึงการฉีดช็อตที่ 3 รวมถึงการฉีดในปีต่อๆ ไปแล้ว

“ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าวัคซีนที่ต้องมีเพียงพอ จัดหาอย่างรวดเร็ว และการกระจายอย่างเสมอภาค รัฐบาลควรเตรียมวัคซีนช็อตที่ 3 เพื่อสร้างภูมิจากการรุกหนักของ COVID-19 ในรอบนี้ นอกจากนี้ต้องไม่ลืมมองข้ามช็อตไปถึงวัคซีนปีหน้าและปีถัดๆ ไปที่เราต้องเตรียมตัวเอาไว้ด้วย  เพราะ COVID-19 จะเหมือนไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีดวัคซีนทุกปี” เศรษฐากล่าว

“เรามีบทเรียนในปีนี้แล้ว ดังนั้น ในปีหน้าต้องประเมินปริมาณวัคซีนให้ดี ควรต้องสั่งเผื่อล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เท่าของจำนวนประชากร สำหรับตัวเลข 2 แสนล้านสำหรับค่าวัคซีนถึงแม้จะดูจำนวนมาก แต่อยากให้ภาครัฐ ‘ลงทุนกับสวัสดิภาพและความมั่นใจของประชาชนในระยะยาว’”

สำหรับแสนสิริเองมีโครงการช่วยเหลือสังคมเพื่อ “ไม่ทอดทิ้งใคร” ไว้ข้างหลัง โดยจัดงบ 100 ล้านบาท ดูแลในหลายด้าน เช่น จัดซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 50% ฉีดให้กับพนักงานและครอบครัว อีก 50% ฉีดให้คู่ค้า พันธมิตร สังคม จัดซื้อวัคซีนโมเดอร์นาเข็มที่ 3 ให้พนักงาน 6,000 คน รวมทั้งมีการบริจาคร่วมก่อสร้างโรงพยาบาลสนามบุษราคัม และเครื่องมือแพทย์อื่นๆ ให้กับกระทรวงสาธารณสุข

ล่าสุดแสนสิริตอบรับระบบ Home Isolation ของภาครัฐ ช่วยเหลือลูกบ้านให้กักตัวอยู่ที่บ้านได้ พร้อมปลูกฟ้าทะลายโจร 100,000 ต้นไว้รองรับการช่วยเหลือผู้ป่วยอีกด้วย

]]>
1345938
IMF เพิ่มคาดการณ์ ‘จีดีพีสหรัฐฯ’ ปีนี้โต 7% ฟื้นตัวเร็ว บวกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ https://positioningmag.com/1340538 Fri, 02 Jul 2021 13:40:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340538 IMF ปรับคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯ ในปีนี้ ขยายตัวสู่ระดับ 7% จากเดิมที่ 4.6% หลังกระจายวัคซีนได้ผลดี ฟื้นตัวได้อย่างเเข็งเเกร่ง พร้อมเเรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของประธานาธิบดี ‘โจ ไบเดน’ 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า ในปี 2021 เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวได้ถึง 7% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุดนับตั้งเเต่ปี 1984 นอกจากนี้ ยังปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯ ในปี 2022 สู่ระดับ 4.9% เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมในเดือนเม..ที่ 3.5%

ตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดของ IMF อยู่บนสมมติฐานที่ว่า สภาคองเกรสจะผ่านร่างกฎหมาย ‘American Jobs Plan’ วงเงิน 2.3 ล้านล้านเหรียญ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สร้างงานหลายล้านตำแหน่ง และผ่านร่างกฎหมาย ‘American Families Plan’ วงเงิน 1.8 ล้านล้านเหรียญ เพื่อเยียวยาครัวเรือนสหรัฐฯ เเละฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19

โดยโครงการดังกล่าว จะรวมถึงการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต การศึกษา และเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงในตลาดแรงงานอเมริกันมากขึ้น

ร่างกฎหมายเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในระยะสั้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยหนุนจีจกีพีของประเทศได้ราว 5.25% ในช่วงปี 2022-2024 พร้อมเพิ่มรายได้เเละยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วย” Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการ IMF ระบุ

ทั้งนี้ การคาดการณ์ของ IMF ครั้งนี้เกิดหลังจากสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดย IMF คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเข้าใกล้ระดับ 4% ภายในปีนี้พร้อมเเนะว่า รัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายไปยังโครงการภาคส่วนต่างๆ ให้ส่งผลดีต่อด้านหารผลิต เพิ่มการมีส่วนร่วมของแรงงาน ลดความยากจน และการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก

 

ที่มา : Reuters (1) , (2)

]]>
1340538
ส่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นในรอบ 3 ปี มูลค่า 26 ล้านล้านเยน https://positioningmag.com/1256119 Fri, 06 Dec 2019 11:34:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256119 คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นอนุมัติชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปี มูลค่าสูง 26 ล้านล้านเยน มีความครอบคลุมทั้งด้านสาธารณูปโภค การลดผลกระทบจากการขึ้นภาษีผู้บริโภค และจากสงครามการค้า

นายกฯ ชินโซ อาเบะ ระบุว่า “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่นี้ เพื่อช่วยรับมือกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจขาลง” นี่เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นครั้งสำคัญในรอบ 3 ปี มีจุดประสงค์เพื่อเป็นงบประมาณพิเศษ สำหรับการฟื้นฟูบูรณะจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลายครั้งในปีนี้

รวมถึงเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้าต่อความเสี่ยงจากเศรษฐกิจชะลอตัว จากผลของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และการขึ้นภาษีผู้บริโภคของญี่ปุ่นเมื่อเดือนตุลาคม

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้นอกจากมีมูลค่าสูงมากแล้ว ยังครอบคลุมในหลายเรื่อง คือ

  1. เสริมความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น คันกั้นแม่น้ำสายต่างๆ , เสริมระบบไฟฟ้าและประปาให้กับสถานที่บริการชุมชน รวมทั้งมีเงินทุนสำหรับการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เนื่องจากเหตุพายุไต้ฝุ่นเมื่อไม่นานนี้ ได้พัดเสาไฟฟ้าจำนวนมากล้มในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดเหตุไฟดับ

2. รับมือกับการใช้จ่ายภาคสาธารณะ ที่คาดว่าจะการลดลงอย่างมาก หลังเสร็จสิ้นมหกรรมโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปีหน้า ซึ่งจะไม่มีโครงการใหญ่ๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจ

3. ด้านการเกษตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้งบประมาณช่วยเหลือบรรดาเกษตรกร เพื่อการเพิ่มผลผลิตเนื้อวัว “วากิว” เพื่อการส่งออก มาตรการนี้มีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ ที่เพิ่งผ่านการรับรองของรัฐสภา ตามข้อตกลงนี้ญี่ปุ่นจะเปิดตลาดให้กับสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ และลดภาษีเนื้อวัวและเนื้อหมูนำเข้าจากสหรัฐฯ เพื่อแลกกับที่ฝ่ายสหรัฐฯ จะลดภาษีให้กับยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์จากญี่ปุ่น

4. ช่วยเหลือ SMEs ให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถเพิ่มค่าจ้างให้แก่บรรดาพนักงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ และช่วยเหลือคนในวัย 30-40 ปี ที่หางานทำได้ยากเพราะเศรษฐกิจชะลอตัว

5. ด้านการศึกษา จัดหาคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ต ให้เพียงพอแก่การใช้งานของนักเรียนชั้นประถมและมัธยมต้นทุกคน ภายในปีงบประมาณ 2566

6. ด้านเทคโนโลยี สนับสนุนบริษัทต่างๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย 5G

7. ลดผลกระทบความขัดแย้งกับเกาหลีใต้ อาจมีการมอบเงินอุดหนุนแก่เมืองสึชิมะ แหล่งท่องเที่ยวที่โด่งดังในหมู่ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งกำลังเผชิญจำนวนนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ลดลง เนื่องความขัดแย้งทางการเมืองและการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

8. ให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ซื้อรถยนต์ติดตั้งเบรกอัตโนมัติและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอื่นๆ เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีสาเหตุมาจากผู้ขับขี่สูงวัย

โดยที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่น จะเป็นงบประมาณพิเศษสำหรับปี 2562-2563

Source

]]>
1256119