แยกขยะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 30 Oct 2024 05:08:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สตาร์บัคส์” ยืนยันบริษัทแม่เปลี่ยนซีอีโอยังไม่กระทบนโยบายเมืองไทย โปรฯ “1 แถม 1” ยังจัดต่อ https://positioningmag.com/1496314 Tue, 29 Oct 2024 12:11:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496314
  • สตาร์บัคส์เมืองไทย ยังคงการจัดโปรฯ1 แถม 1 วิสัยทัศน์ซีอีโอบริษัทแม่ยังไม่กระทบถึงไทย
  • ปี 2567 จ่อเปิดครบ 522 สาขา โดย 3 สาขาใหม่ล่าสุดเปิดบริการใน “วัน แบงค็อก”
  • เปิดสาขาพิเศษ “Greener Store” ที่ใหญ่ที่สุดในไทย สาขาแรกที่สนับสนุนให้ลูกค้าทำความสะอาดและ “แยกขยะ” ณ จุดทิ้ง
  • “เนตรนภา ศรีสมัย” กรรมการผู้จัดการ สตาร์บัคส์ ประเทศไทย ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงประเด็นการเปลี่ยนซีอีโอคนใหม่ “ไบรอัน นิคโคล” ของบริษัทแม่ Starbucks ที่สหรัฐอเมริกา โดยนิคโคลมีการแสดงวิสัยทัศน์ถึงแนวทางบริหารในอนาคตจะทำให้ร้าน Starbucks กลับมาเป็นร้านกาแฟระดับพรีเมียม จะมีการยกเลิกหรือลดโปรโมชัน 1 แถม 1 ในสหรัฐฯ

    เนตรนภากล่าวตอบถึงเรื่องนี้ว่า นโยบายการบริหาร “สตาร์บัคส์” ที่เมืองไทยขณะนี้ยังคงเหมือนเดิม เพราะวิสัยทัศน์ในภาพกว้างของไบรอัน นิคโคลสอดคล้องกับที่สตาร์บัคส์ ประเทศไทยปฏิบัติมายาวนาน นั่นคือการให้ความสำคัญกับคุณภาพกาแฟ การเป็นแบรนด์ที่สร้างแรงบันดาลใจ และการบริการที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน (human connection)

    ส่วนโปรโมชัน 1 แถม 1 ซึ่งในเมืองไทยก็มีการจัดแคมเปญอยู่บ่อยครั้ง เนตรนภากล่าวว่ายังไม่มีนโยบายที่จะยกเลิก เพราะมองว่าที่ไทยไม่ได้มีการจัดบ่อยจนเกินไป จะจัดแคมเปญลักษณะนี้เมื่อต้องการดึงลูกค้าให้กลับมาคิดถึงแบรนด์เป็นระยะๆ เท่านั้น

    Positioning รายงานจากสื่อประชาสัมพันธ์ของสตาร์บัคส์ ล่าสุดเพิ่งจะเริ่มแคมเปญ 1 แถม 1 รอบใหม่ระหว่างวันที่ 28 ต.ค. 67 – 3 พ.ย. 67 และหากย้อนกลับไปในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาจะพบว่าสตาร์บัคส์ไทยมักจะจัดแคมเปญ 1 แถม 1 ทุกๆ ต้นเดือน แต่ระยะเวลาจำนวนวันที่จัดจะต่างกัน และจำนวนเมนูที่อยู่ในรายการแถมก็แตกต่างกันเช่นกัน

     

    เปิดรวดเดียว 3 สาขาที่ “วัน แบงค็อก”

    ด้านความเคลื่อนไหวในการเปิดสาขาใหม่ของสตาร์บัคส์ เนตรนภาระบุว่าปัจจุบันสตาร์บัคส์มีทั้งหมด 517 สาขาในไทย และคาดว่าภายในสิ้นปี 2567 นี้จะได้เปิดเพิ่มอีก 5 สาขา รวมเป็น 522 สาขา

    สตาร์บัคส์
    สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ วัน แบงค็อก ชั้น G ฝั่ง The Storeys

    ในกลุ่มสาขาที่เปิดตัวหมาดๆ คือสตาร์บัคส์ 3 สาขาที่เปิดในอภิมหาโปรเจ็กต์ “วัน แบงค็อก” ได้แก่ สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ แฟลกชิป สโตร์ที่ชั้น G ฝั่ง The Storeys, สตาร์บัคส์ ชั้น 3 ฝั่ง The Parade และ สตาร์บัคส์ ชั้น B1 ฝั่ง The Parade

    ดังที่ทราบกันว่าสิทธิ์แฟรนไชส์ “สตาร์บัคส์” ในไทยเปลี่ยนมือมาสู่บริษัท “Coffee Concepts Thailand” บริษัทร่วมทุนระหว่างเครือของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี กับบริษัท Maxim’s Caterers จากฮ่องกง มาตั้งแต่ปี 2562 ขณะที่โครงการ วัน แบงค็อก ก็คือโครงการมิกซ์ยูสของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ในเครือตระกูลสิริวัฒนภักดีอีกเช่นกัน ความร่วมมือระหว่างพอร์ตธุรกิจในมือจึงต้องจัดใหญ่และเต็มที่แน่นอน

     

    “สตาร์บัคส์” สายกรีนที่ใหญ่ที่สุดในไทย

    ไฮไลต์ของสตาร์บัคส์สาขาใหม่ในวัน แบงค็อก คือ สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ ในโซนศูนย์การค้าฝั่ง The Storeys เพราะถือเป็นสาขาระดับ “แฟลกชิป สโตร์” แห่งที่ 4 ในไทยของสตาร์บัคส์ ต่อจากสาขาไอคอนสยาม, เซ็นทรัลเวิลด์ และสยามสแควร์วัน รวมถึงสาขานี้ยังเป็น “Greener Store” ที่ใหญ่ที่สุดของสตาร์บัคส์ไทยด้วยพื้นที่กว้าง 860 ตารางเมตร เป็นสตาร์บัคส์ 2 ชั้นที่จุลูกค้าได้มากกว่า 230 ที่นั่ง พร้อมห้องประชุมในตัว 2 ห้อง

    Greener Store ที่มีการใช้ระบบ Smart Lighting

    “ธนาศักดิ์ กุลรัตนรักษ์” ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สตาร์บัคส์ ประเทศไทย ระบุว่าข้อกำหนด Greener Store ของสตาร์บัคส์จะเกี่ยวข้องกับหลายด้าน เช่น ลดการใช้น้ำ ลดการใช้ไฟฟ้า ลดขยะ ยกตัวอย่างในสาขานี้มีการนำระบบ Smart Lighting เข้ามาใช้งาน เป็นการปรับแสงไฟในร้านอัตโนมัติให้สอดคล้องกับปริมาณแสงธรรมชาติจากภายนอกกระจก ทำให้ประหยัดไฟเพราะไม่ต้องเปิดไฟสว่าง 100% ตลอดทั้งวัน

    ด้าน “จุฑาทิพย์ เก่งมานะ” ผู้จัดการด้านผลกระทบทางสังคมและความยั่งยืน สตาร์บัคส์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า สาขานี้คือสาขาแรกในไทยที่มีการลงระบบ “ล้างแก้ว-แยกขยะ” ในคอนดิเมนต์ บาร์ รณรงค์ให้ลูกค้าเทน้ำทิ้ง ล้างแก้วและฝาพลาสติกของเครื่องดื่มเย็นให้สะอาด ก่อนจะทิ้งลงถังรีไซเคิล เพราะปกติแล้วแก้วพลาสติกที่จะนำไปรีไซเคิลได้จะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดมาก่อน

    สตาร์บัคส์
    ระบบ “ล้างแก้ว-แยกขยะ” ในคอนดิเมนต์ บาร์ รณรงค์ให้ลูกค้าเทน้ำทิ้ง ล้างแก้วและฝาพลาสติกของเครื่องดื่มเย็นให้สะอาด ก่อนจะทิ้งลงถังรีไซเคิล

    จุฑาทิพย์กล่าวด้วยว่า ในปีนี้หลังจากความกังวลด้านสถานการณ์โควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลง สตาร์บัคส์ไทยจึงมีการกลับมาสนับสนุนให้ลูกค้านำแก้วส่วนตัว (Personal Cup) มารับเครื่องดื่มพร้อมส่วนลด 10 บาทต่อแก้ว ทำให้ปีนี้สัดส่วนการใช้แก้วของลูกค้า 20% จะเลือกใช้แก้วส่วนตัว 40% เลือกแก้วสำหรับทานในร้าน (for here) และ 40% เลือกแก้วแบบใช้แล้วทิ้ง (to-go) ซึ่งกลุ่มหลังนี้เองที่ต้องการสนับสนุนให้มีการรีไซเคิลเต็มรูปแบบ

    สำหรับ Greener Store ของสตาร์บัคส์ในไทยคาดว่าจะมีครบ 20 สาขาภายในสิ้นปี 2567 และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสตาร์บัคส์ทั่วโลกที่ต้องการจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้น้ำ และขยะฝังกลบให้ได้ 50% ภายในปี 2573

    ]]>
    1496314
    จะหยุดวิกฤต ‘ขยะ’ อย่างไรในมุมมอง ‘สิงห์ วรรณสิงห์’ จากงาน Sustainability Expo 2022 https://positioningmag.com/1402733 Tue, 04 Oct 2022 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402733

    ถือเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้วสำหรับ Sustainability Expo 2022 (SX2022) หรือมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่ได้ 5 องค์กรธุรกิจ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผนึกกำลังกันพัฒนา โดยภายในงานก็มีการจัดกิจกรรมมากมาย และหนึ่งในความน่าสนใจคือ การพูดคุยถึงแนวทางการสร้างความยั่งยืนจาก Speaker ที่มีชื่อเสียงในวงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘สิงห์ วรรณสิงห์’


    จากทำคลิปกำจัดขยะ สู่การศึกษาอย่างจริงจัง

    เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จัก สิงห์ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล จากรายการ เถื่อน Travel ที่พาไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่หลายคนอาจไม่คิดที่จะไป แต่หลังจากที่สิงห์ได้เดินทางไปทั่วโลกทำให้เขาได้เห็น ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม ทำให้เริ่มหันมันศึกษาอย่างจริงจัง

    “ความตั้งใจตอนแรกคือ ว่าจะเดินทางไปทั่วโลกเพื่อไปสร้างทำสารคดีเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนทุกมุมโลกเลย แต่โดน COVID-19 เบรกไว้ เลยหันมาดูว่าในไทยมีปัญหาวิกฤตอะไรบ้าง ซึ่งก็มีเยอะมาก เพราะมันแบ่งซอยย่อยเป็นหลายหัวข้อมาก” วรรณสิงห์ อธิบาย

    วรรณสิงห์ เล่าว่า สาเหตุที่เขาหันมาศึกษาเรื่อง วิกฤตขยะ อย่างจริงจังเป็นเพราะเคยถูกจ้างให้ทำวิดีโอเกี่ยวกับการ สถานีการจัดการขยะอ่อนนุช ว่า แยกไปก็เทรวม มันจริงไหม จากนั้นก็มีโอกาสได้ทำสารคดีเกี่ยวกับขยะเรื่อยมา จนในที่สุดก็ตัดสินใจ เรียนปริญญาโทด้านการจัดการขยะพลาสติกทางทะเล


    ไทยติด Top 10 ปล่อยขยะพลาสติกลงทะเล

    ที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยติด อันดับ 6 ของโลก ที่ปล่อยขยะพลาสติกลงทะเล แม้ตอนนี้อันดับจะลดลงเป็นที่ 9-10 แต่ก็ยังถือว่าติด Top Ten ของโลกอยู่ดี ซึ่งปัญหาไม่ได้เกิดจากการ มีขยะพลาสติกเยอะกว่าประเทศอื่น แต่จัดการได้แย่กว่าประเทศอื่นมาก

    “ปัญหาของไทยไม่ใช่การปล่อยคาร์บอน แต่เป็นปัญหาขยะทางทะเล เพราะมลพิษของมันกระจายไปทั่วโลก ซึ่งถ้าดูเฉพาะการปล่อยคาร์บอนของไทยจะประมาณ 3.7-3.8 ตันต่อหัวต่อปี จากค่าเฉลี่ยโลกที่ 4 ตันต่อคนต่อปี ส่วนประเทศที่ปล่อยเยอะ ๆ จะเป็นประเทศในตะวันออกกลางซึ่งปล่อยกันปีละ 20 ตันต่อคนต่อปี หรือ อเมริกาที่ปล่อยปีละ 16 ตันต่อคนต่อปี”


    ขยะเป็นปัญหาปัญหาเชิงโครงสร้างมากกว่าพฤติกรรม

    แน่นอนว่าเรื่อง ขยะ มีความละเอียดอ่อนในการในการจัดการดูแลเพราะมีแยกเยอะมาก ขณะที่หลายคนมองเป็น ปัญหาเชิงพฤติกรรม คือ คนไม่แยกขยะ, คนทิ้งไม่เป็นที่, คนไม่มีจิตสำนึก แต่จากข้อมูลที่ได้เห็นเรื่องขยะกลับเป็น ปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบ ไม่ว่าจะเรื่องการจัดการบริหารจัดการ, เรื่องของกฎหมายรองรับ, เรื่องของงบประมาณและเงินทุน และการนำเทคโนโลยีต่างประเทศที่นำมาประยุกต์ใช้

    “แน่นอนว่าในระบบจัดการขยะมันมีเรื่องพฤติกรรมมนุษย์รวมอยู่ในนั้น แต่มันไม่ใช่เป็นส่วนใหญ่อย่างที่เราเข้าใจกัน เรามักจะคิดว่าเราต้องแก้ที่พฤติกรรม แก้ที่จิตสำนึก ผมว่ามันเป็นส่วนที่น้อยมากในการแก้ปัญหาวิกฤตขยะ”

    ปัจจุบัน การจัดการขยะทางอบต. อบจ. จัดการกันเอง ส่วนในแง่ของกฎหมายรองรับมีแค่ พ.ร.บ รักษาความสะอาดฯ พ.ร.บ.อนามัย ไม่ให้ไปปนเปื้อนในที่สาธารณะ แต่ไม่มีกฎหมายระดับชาติ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้มันไม่ได้มีมาตรฐานระดับชาติ แล้วไม่มีงบประมาณมากพอ ที่จะทำให้ทุกท้องถิ่นสามารถทำได้ระดับที่ดีเท่ากัน นอกจากนี้ ภาคธุรกิจก็ต้องรับผิดชอบด้วย ใครที่ผลิตอะไรก็ควรรับผิดชอบจัดการสิ่งเหล่านั้นให้จบสุดทาง

    “พอจัดการขยะต้นทางไม่ดี สุดท้ายไปลงบ่อฝังกลบ หรือในบางจังหวัดไม่มีรถขยับไปเก็บด้วยซ้ำ ชาวบ้านก็ไม่รู้จะทำไง ก็เผาทิ้ง กลายเป็นเกิดมลพิษในบนดิน เป็นมลพิษในอากาศ หรือในกรุงเทพที่การจัดการขยะไปไม่ถึงเขาก็ทิ้งลงน้ำ จะเห็นว่ามีเตียงเต็มไปหมด”


    ระบบดีจิตสำนึกจะตามมา

    หากสามารถสร้างระบบที่ดี มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเหมือนที่ต่างประเทศมี ก็จะช่วย เปลี่ยนพฤติกรรม โดยคนไทยทุกคนรู้ว่าการแยกขยะนั้นดี แต่ 9 ใน 10 คน ไม่ศรัทธาเรื่องแยกขยะ เพราะยังคิดว่าแยกไปก็เทรวม ซึ่งตอนนี้มันมีแค่ระบบของเอกชน ไม่มีระบบของภาครัฐในการรับรอง ดังนั้น ไทยต้องมีโครงสร้างทางกฎหมายที่บังคับใช้ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สร้างแรงจูงใจ นอกจากนี้ ต้องให้การศึกษาประชาชนในเรื่องเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่มีหลักสูตรในโรงเรียนเรื่องการแยกขยะ

    “การแยกต้นทางจะนำไปสู่ต้นทุนปลายทางในการจัดการที่ต่ำลงอย่างมหาศาล ซึ่งจุดเริ่มต้นง่าย ๆ คือ แยกเศษอาหารออกจากขยะที่เหลือ การจัดการจะง่ายขึ้นเยอะมาก แต่มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะการปรับระบบต่างหากที่เป็นสิ่งทำให้อิมแพ็คมากกว่า”


    จัดการขยะดี ๆ สร้างรายได้กว่าที่คิด

    วรรณสิงห์ ยกตัวอย่าง ประเทศสวีเดน มีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งได้ทั้งพลังงานและกำจัดขยะ และถ้าจัดการขี้เถ้าดี ๆก็ไม่ทำให้เกิดมลพิษลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยทางสวีเดนมีขยะน้อยจนต้องนำเข้าขยะมาเผาเพราะทำกำไรได้ หรือที่เมือง คามิคาสึ ของญี่ปุ่นก็มีการแยกขยะเป็น 37 ประเภท โดยรีไซเคิลทุกอย่างเอากลับมาใช้ หรืออย่างกรุงเทพ ก็มีการนำเอาขยะเศษอาหารไปหมักเป็นปุ๋ย ซึ่งปัจจุบัน 15-50% ของขยะทั้งหมดในกรุงเทพเป็นขยะเศษอาหาร

    “หลายคนก็ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วขยะเป็นเงินเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก อลูมีเนียม แก้ว มันกลับเข้ามาสู่ระบบได้ อย่างกระป๋องอลูมิเนียมก็ราคาดีมากกิโลกรัมละ 50-60 บาท แล้วก็ขยะรีไซเคิลที่ไม่ถูกนำมารีไซเคิลก็เป็นการสูญเสียเชิงทรัพยากร ตอนนี้คนเดียวที่เห็นคุณค่าเหล่านี้คือซาเล้ง”

    วรรณสิงห์ ทิ้งท้ายว่า ปัญหาบนโลกนี้อีกมากมายที่มากกว่าขยะ โดยเฉพาะ เรื่องโลกรวน ซึ่งจะเห็นว่าหน้าฝนที่ยาว 6 เดือนนี้ พายุที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แม้ไทยจะไม่ได้มีผลเยอะนักในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโลก แต่สิ่งที่เมืองไทยควรจะทำคือ ลดขยะ และ เตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม กับสภาวะของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเรื่องการผลิตพลังงาน เรื่องของการผลิตอาหาร และเรื่องของโครงสร้างการคมนาคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกสูงมากในช่วง 10-20 ปีจากนี้ ซึ่งมันเข้ามาใกล้มากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว

    ]]>
    1402733
    ไทยเบฟ ขับเคลื่อนโครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล รณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกขยะเพื่อสร้างประโยชน์ต่อชุมชน กับ “สถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล” https://positioningmag.com/1393535 Fri, 22 Jul 2022 12:00:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393535

    บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) บริษัทในเครือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัด โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล ขับเคลื่อนการเรียนรู้ คัดแยก และการนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับคืน สู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยมี “สถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล” เป็นสถานีต้นแบบเรื่องการคัดแยกขยะสู่การรีไซเคิล ที่เป็นการต่อยอดลงมือปฏิบัติจริง สร้างรายได้และส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ระดับผู้บริโภคระดับในครัวเรือน วัด โรงเรียนในพื้นที่ชุมชน

    ล่าสุด คณะทำงานย่านวังเดิม ย่านกะดีจีน ร่วมกับ กรมสารวัตรทหารเรือ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ สำนักงานเขตธนบุรี จัดกิจกรรม “หล่อเทียนพรรษา พาเที่ยว 2 ย่าน” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและอาหารประจำย่าน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพและกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน โดยมีชุมชนย่านกะดีจีน ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับองค์ความรู้เรื่องการแยกขยะพร้อมสถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) มาดูแลเรื่องการจัดการขยะภายในพื้นที่จัดงาน โดยมี “สถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล” พร้อมถังขยะประเภทต่าง ๆ รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแยกขยะให้ถูกต้อง ณ บริเวณริมกำแพงวัดอรุณราชวรราม

    คุณอรวรรณ ทวีศักดิ์ถาวร ประชาสัมพันธ์ สังกัดชุมชนกุฎีขาว สมาชิกกลุ่มชุมชนดีมีรอยยิ้ม วัดประยุรวงศาวาส ให้ข้อมูลว่า “ชุมชนกุฎีจีน ได้เข้าร่วม โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล เพื่อเรียนรู้วิธีการคัดแยกและมี ‘สถานเก็บกลับ- รีไซเคิล’ ซึ่งเป็นสถานีต้นแบบของการเรียนรู้เรื่องการคัดแยกขยะสู่การรีไซเคิลที่เป็นการต่อยอดลงมือปฏิบัติจริง ทำให้จิตสำนึกคนในชุมชนรู้จักความสะอาดเพิ่มขึ้นรู้จักแยกขยะ เพราะว่าขยะสามารถกลับเป็นตัวเงิน สร้างรายได้ให้คนในชุมชน นอกจากนี้เป็นการช่วย กทม. ในคัดแยกขยะที่จะไปส่งแต่ละจุด สำหรับงานในวันนี้จะเห็นได้ว่าคนที่มาเที่ยวในงานส่วนใหญ่ ก่อนทิ้งขยะลงถังได้คัดแยกขยะก่อนที่จะลงถังขยะ จุดเล็กๆ ตรงนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของการลงมือทำจริง สิ่งเหล่าจะเป็นการปลูกฝังไปในตัว ชุมชนใกล้เคียงได้เห็นรูปแบบการทำงาน การจัดการขยะ ก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมกับโครงการเก็บกลับ-รีไซเคิลเหมือนกัน ต้องขอขอบคุณ TBR และ ไทยเบฟ ที่เห็นความสำคัญของชุมชนของเราโดยการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ จะนำสู่สังคมที่ดี ลดโลกร้อน ขอขอบคุณมากค่ะ”

    ทางด้าน คุณอรทัย พูลทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) ให้ข้อมูลว่า “บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) ได้ริเริ่ม โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล โดยมีเป้าหมายเพื่อจะเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนในการรณรงค์และปลูกจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนและส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคที่รีไซเคิลตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้มีบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคมีคุณภาพที่ดีขึ้น ง่ายต่อการรีไซเคิล และนอกจากการให้ความรู้ผ่านกิจกรรมเวิร์คช้อปแล้ว ในเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้มีการต่อยอดสู่การลงมือทำจริง ผ่านวิธีการของ“สถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล” ที่จุดนัดพบคนชุมชนกับผู้รับซื้อ ทำการซื้อขายวัสดุที่รีไซเคิลได้ ซึ่งชุมชนกุฎีจีน เป็นหนึ่งในชุมชนที่ขานรับแนวคิดและสานต่อให้เกิดเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นก็มีชุมชนในภูมิภาคอีกสองแห่งที่จังหวัดลำพูนและภูเก็ต บริษัทฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจุดประกายเล็กๆในวันนี้ จะสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมด้านการจัดการขยะของชุมชนอย่างยั่งยืนได้จริง เพื่อประโยชน์ของชุมชน และภาพรวมของประเทศต่อไป”



    ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่เริ่มต้นให้ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี มีการบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นระบบ สร้างรายได้กลับเช้าสู่ชุมชน และส่งเสริมเป็นวัฒนธรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมความยั่งยืนสืบต่อไป

    ]]>
    1393535
    รู้จัก “คิโยอิ” ถุงขยะญี่ปุ่นสีขาวขุ่น ปฏิวัติวงการ ถุงขยะไม่ได้มีแค่ “ถุงดำ” https://positioningmag.com/1350457 Mon, 06 Sep 2021 08:36:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350457 ทำความรู้จักกับ “คิโยอิ” (Kiyoi) แบรนด์ถุงขยะน้องใหญ่ ถุงขยะสีขาวขุ่นมีหูหิ้ว เป็นถุงขยะญี่ปุ่นแบบพรีเมียม เพื่อปลูกฝังการแยกขยะ สร้างความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่เก็บขยะสามารถเห็นขยะข้างในได้ เรียกว่าเข้ามาปฏิวัติวงการถุงขยะไม่ได้มีแต่ถุงดำเท่านั้น

    ลบภาพถุงขยะต้องถุงดำ

    คิโยอิ เป็นแบรนด์ถุงขยะสัญชาติญี่ปุ่น ผลิตโดย Japack’s inc. เป็นผู้จำหน่ายถุงขยะยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2541 นอกจากถุงขยะแล้ว ยังเป็นยักษ์ใหญ่ในการผลิต และจัดจำหน่ายถุงใส ถุงพลาสติก ถุงช้อปปิ้งต่างๆ อีกด้วย

    เมื่อเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา Japack’s inc. ได้ร่วมลงทุนเป็นพันธมิตรกับบริษัท เจแพคส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ทำตลาดคิโยอิในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

    ต้องบอกว่าคนไทยยังมีการรับรู้ของถุงขยะว่าจะต้องเป็นถุงดำ หรือถุงสีทึบ เพราะมองว่าขยะเป็นสิ่งที่ไม่น่ามอง ต้องใส่ถุงสีดำเอาไว้ ภาพลักษณ์ของถุงขยะส่วนใหญ่จึงเป็น “ถุงดำ” ถึงแม้ว่าบางแบรนด์จะมีใส่สีอื่นๆ พร้อมเพิ่มกลิ่นให้เป็นกิมมิกมากขึ้นแล้วก็ตาม

    คิโยอิผลิตจากพลาสติกประเภท High Density Polyethylene (HDPE) ซึ่งเป็นเนื้อพลาสติกคุณภาพดีที่มีความเหนียว ทนทาน มีกลิ่น หยิบใช้ง่าย และไร้รอยต่อที่ก่อให้เกิดการรั่วซึมจากการใช้งาน รับน้ำหนักได้ดี ทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต และการันตีคุณภาพจากบริษัท JAPACK’S INC.

    การมาของถุงขยะคิโยอินั้นหวังสร้างความแตกต่างในตลาด และในขณะเดียวกันก็ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย วางจุดยืนเป็นถุงขยะสีขาวขุ่น มีหูหิ้ว เป็นการดีไซน์มาแล้วว่าดีต่อ Ecosystem ทั้งระบบ ตั้งแต่ผู้ใช้งาน ผู้เก็บขยะ จัดการขยะ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อม

    ปลูกฝังการแยกขยะ

    อีกหนึ่งเหตุผลที่ว่าทำไมคิโยอิถึงต้องเป็นถุงสีขาวขุ่น เพราะต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการปลูกฝังให้คนไทยหันมาใช้ถุงขยะสีขาวขุ่นที่สามารถมองเห็นข้างในได้ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่นอกจากจะช่วยในเรื่องของการจัดการขยะในครัวเรือนแล้ว ยังเป็นการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของการจัดการขยะประเภทต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

    ทั้งนี้การที่สามารถมองเห็นขยะภายในถุง เป็นการช่วยให้เจ้าหน้าที่เก็บขยะไม่ต้องฉีกถุงเพื่อตรวจดูขยะสิ่งของข้างใน รวมถึงป้องกันอันตรายจากขยะมีคม เช่น เศษแก้ว ใบมีด ฯลฯ

    ยิ่งในยุคนี้ที่มีขยะติดเชื้อจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องมีการแยกขยะอย่างชัดเจน และแยกถุงเพื่อความปลอดภัยต่อบุคลากรที่กำจัดขยะอีกด้วย

    ทำไมถึงฮิตในญี่ปุ่น?

    คิโยอิเป็นถุงขยะญี่ปุ่น เพราะว่าตอนนี้เทรนด์การแยกขยะ และเทรนด์การใช้ถุงขยะสีขาวขุ่นแบบมีหูหิ้ว กำลังเป็นที่นิยมในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นอย่างมาก เนื่องจากกฎเกณฑ์ในการทิ้งขยะของญี่ปุ่นละเอียดมาก เพื่อให้แยกประเภทขยะได้อย่างแท้จริง แต่ละท้องที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนว่าขยะแบบใดจัดอยู่ในประเภทใด โดยส่วนใหญ่ประเภทขยะแบ่งออกเป็น ขยะเผาได้ ขยะเผาไม่ได้ ขยะรีไซเคิล และขยะชิ้นใหญ่ เป็นต้น

    ด้วยความที่ทุกคนต้องแยกขยะก่อนทิ้ง และขยะมีหลายประเภทแยกย่อยมากๆ หลายพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่นจึงบังคับให้ใช้ถุงขยะสีขาว ไม่ให้ใช้ถุงจากซูเปอร์มาร์เก็ต โดยเฉพาะถุงขยะดำห้ามใช้เด็ดขาด

    นอกจากประเทศญี่ปุ่นที่ฮิตการใช้ถุงขยะสีขาวขุ่นแล้ว ยังมีประเทศในแถบเอเชียที่นิยมใช้ถุงขยะสีขาวขุ่นอีก เช่น มาเลเซีย และไต้หวัน

    แต่ปัจจุบันถุงขยะของคิโยอิไม่ใช่ถุงขยะจำพวก Biodegradable ที่จะย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เนื่องจากความต้องการในด้านคุณภาพ เพื่อช่วยลดการเกิดปัญหาขยะหลุดไหลในกระบวนการคัดแยก และจัดเก็บขยะ จึงดีไซน์มาให้ถุงขยะมีความเหนียว ทนทาน ลดการรั่วซึม

    แต่ในกระบวนการผลิตคิโยอิได้ใช้ปริมาณพลาสติกในปริมาณที่น้อยกว่าถุงขยะอื่นๆ จำพวกเดียวกัน อีกทั้งเป็นพลาสติกที่สะอาดต่อระบบห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการผลิตซ้ำ โดยปราศจากสารเคมีที่ใช้ในการผลิตอันอาจก่อให้เกิดมะเร็งหรือสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

    คิโยอิประกอบด้วย 3 ขนาด: ไซส์ S (15 ลิตร 40 ชิ้น), ไซส์ M (30 ลิตร 20 ชิ้น), ไซส์ L (45 ลิตร บรรจุ 15 ชิ้น) ทุกไซส์ราคาเดียว 49 บาท สามารถหาซื้อได้ที่ Foodland ทุกสาขา หรือซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee

    ]]>
    1350457