โควิด-19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 22 May 2024 13:26:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตาโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘FLiRT’ กําลังแพร่กระจายทั่วโลก https://positioningmag.com/1474665 Wed, 22 May 2024 13:26:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474665 ดูเหมือนการระบาดของ COVID-19 กำลังแพร่กระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหน้าร้อน ทําให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกี่ยวกับระบาดอีกครั้ง

สำหรับไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในตอนนี้ถูกเรียกว่าสายพันธุ์ FLiRT ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสายพันธุ์ รุ่นหลานของโอมิครอน เนื่องจากโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้เป็นรุ่นลูกของสายพันธุ์ JN.1 ที่กลายพันธุ์มาจากโอมิครอน อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยว่าสายพันธุ์ใหม่นั้นรุนแรงกว่าสายพันธุ์เก่า

ตามรายงานของ John Hopkins Bloomberg School of Public Health รายงานว่า ปัจจุบัน โควิดสายพันธุ์ KP.2 ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสายพันธุ์ FLiRT ถือเป็นสายพันธุ์ส่วนใหญ่ที่ระบาดในสหรัฐอเมริกา โดยตามข้อมูลล่าสุดจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค พบว่า ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ KP.2 คิดเป็น 28.2% เพิ่มขึ้นจาก 3.8% ณ สิ้นเดือนมีนาคม ส่วนสายพันธุ์ KP.1.1 ซึ่งเป็นอีกสายพันธุ์ย่อยของ FLiRT ก็เพิ่มขึ้นเป็น 7.1% ของจำนวนการติดเชื้อในปัจจุบัน 

ส่วนใน ยุโรป ก็พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยขณะนี้ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ใน 14 ประเทศ ขณะที่ องค์การอนามัยโลก รายงานว่า การติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ยังจำกัดอยู่เฉพาะประเทศที่รายงานข้อมูลเข้ามา และข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จากระดับการติดเชื้อที่ต่ำ

อย่างไรก็ตาม เจนนิเฟอร์ ฮอร์นนีย์ ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ มองว่า โควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ไม่น่า ทําให้เกิดการติดเชื้อครั้งใหญ่ อย่างที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะทำให้จำนวนผู้ป่วยในสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนจากนี้ แต่อาการจะไม่รุนแรง เพราะประชากรส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่า วัคซีนในปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพียงใดต่อสายพันธุ์ใหม่

Source

]]>
1474665
งานวิจัยพบ “ล็อกดาวน์” เพราะโควิด-19 ส่งผลให้อายุ “สมอง” วัยรุ่นแก่ตัวเร็วผิดปกติ https://positioningmag.com/1411066 Sat, 03 Dec 2022 08:14:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411066 งานวิจัยล่าสุดพบว่า การล็อกดาวน์ในช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 มีผลกระทบต่อ “สมอง” ของวัยรุ่นในเชิงกายภาพ ทำให้อายุสมองแก่ตัวลงเร็วผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นในส่วนของสมองที่มีผลต่อ “อารมณ์” และสุขภาพจิตในวัยรุ่น

Ian Gotlib หัวหน้าทีมวิจัยจาก Stanford University ตีพิมพ์งานวิจัยชิ้นนี้ใน Biological Psychiatry: Global Open Science โดยเนื้อหางานวิจัยระบุถึงการที่ “สมอง” ของวัยรุ่นได้รับผลกระทบหลังผ่านการล็อกดาวน์ในช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้อายุสมองแก่ตัวลงเร็วขึ้น

“เราทราบอยู่แล้วจากงานวิจัยชิ้นอื่นที่พบว่าโรคระบาดโควิด-19 มีผลต่อสุขภาพทางจิตในวัยรุ่น แต่ที่เราไม่เคยรู้คือ ผลกระทบนั้นมีผลทาง ‘กายภาพ’ โดยตรงในสมองของวัยรุ่น” Gotlib ระบุในงานวิจัย

Gotlib กล่าวว่า ปกติแล้วโครงสร้างทางสมองของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเมื่อเรามีอายุเพิ่มขึ้น โดยในวัยเจริญพันธุ์และวัยรุ่นตอนต้น ร่างกายของเด็กจะเปลี่ยนแปลงหลังสมองเกิดการเติบโตทั้งในส่วนฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลา สมองในส่วนฮิปโปแคมปัสจะช่วยในการควบคุมด้านความทรงจำ และส่วนอะมิกดาลาจะควบคุมเรื่องอารมณ์

การวิจัยนี้มีการสแกน MRI สมองของเด็ก 163 คน โดยสแกนเทียบช่วงก่อนเกิดโรคระบาดกับหลังเกิดโรคระบาด Gotlib พบว่า อายุของสมองวัยรุ่นถูกเร่งการเติบโตผิดปกติเมื่อต้องผ่านประสบการณ์ “ล็อกดาวน์” ในช่วงเกิดโควิด-19

ก่อนจะเกิดโรคระบาดโควิด-19 เขาระบุว่าการเร่งโตของอายุสมองเด็กจะถูกพบเฉพาะในเด็กที่ผ่านประสบการณ์สถานการณ์ร้ายในชีวิตมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ความรุนแรง การถูกทอดทิ้ง ครอบครัวมีปัญหา หรือหลายๆ ปัจจัยเหล่านั้นรวมกัน และเด็กที่ผ่านประสบการณ์เหล่านี้มักจะเกิดปัญหาสุขภาพจิตในภายหลังเมื่อเติบโตขึ้น

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยของ Gotlib ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าการเปลี่ยนโครงสร้างทางสมองที่เขาและทีมค้นพบจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในลักษณะเดียวกันหรือไม่ และยังไม่ทราบว่าอายุสมองที่แก่ตัวล่วงหน้าอายุจริงจะเป็นเช่นนี้ถาวรหรือไม่

“สำหรับคนวัย 70-80 ปี คุณจะคาดการณ์ได้เลยว่าปัญหาการจดจำและความทรงจำจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสมอง แต่สำหรับเด็กอายุ 16 ปี ถ้าอายุสมองแก่ตัวลงเร็วผิดปกติ จะเกิดผลอย่างไรนั้นยังไม่แน่ชัด” Gotlib กล่าว

ทั้งนี้ งานวิจัยของ Gotlib ไม่ได้ตั้งใจจะศึกษาเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น เดิมเขาเริ่มงานวิจัยตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด-19 เพื่อวิจัยหัวข้อภาวะซึมเศร้าในช่วงวัยเจริญพันธุ์ แต่เมื่อเกิดโควิด-19 ระบาดขึ้นทำให้งานวิจัยมีการเลื่อนออกไปชั่วคราว และเมื่อทีมกลับมาวิจัยกันอีกครั้งหลังหยุดไปเกือบ 1 ปี กลับกลายเป็นการค้นพบว่าภาวะโรคระบาดทำให้สมองของเด็กวัยรุ่นแก่ตัวเร็ว

การวิจัยครั้งนี้มีความสำคัญในแง่ที่ว่า ในโลกนี้ไม่มีใครที่รอดพ้นไปจากการระบาด ทุกคนได้เผชิญล็อกดาวน์เพราะโควิด-19 กันทั้งหมด และหากวัยรุ่นทั่วโลกเผชิญการเปลี่ยนแปลงของสมองแบบเดียวกัน นั่นหมายความว่าทั้งเจนเนอเรชันนี้อาจมีความผิดปกติในการเติบโตของสมองเหมือนกันทั้งหมด และอาจจะมีผลเมื่อพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่

Jonas Miller นักวิจัยร่วมในทีมนี้จาก University of Connecticut อธิบายว่า การล็อกดาวน์และดิสรัปชันเพราะโรคระบาด ทำให้กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลงไป และเป็นเหมือนสถานการณ์ทางลบที่มีผลกระทบในชีวิตอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้สมองของเด็กวัยรุ่นในช่วงที่ผ่านโรคระบาดไม่เหมือนกับเด็กในยุคก่อนหน้านี้

Source

]]>
1411066
“บิล เกตส์” เตือน COVID-19 ยังเสี่ยง แต่สถานการณ์ “เลวร้ายที่สุด” อาจรออยู่ข้างหน้า https://positioningmag.com/1386935 Tue, 31 May 2022 08:35:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386935 หลังจากผ่านไปเกิน 2 ปีที่โควิด-19 เริ่มระบาด วันนี้ผู้คนจำนวนมากลดการป้องกันลง แต่เจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่างบิล เกตส์ (Bill Gates) เชื่อว่าการระบาดใหญ่ยังไม่จบ และมีโอกาสที่ “สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด” จะยังรอชาวโลกอยู่ข้างหน้า

บิล เกตส์ออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องโควิด-19 เพื่อโปรโมตหนังสือเล่มใหม่ของตัวเองที่ชื่อ “How to Prevention the Next Pandemic” ไม่เพียงให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไฟแนนเชียลไทมส์เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม แต่ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ (Microsoft) ยังออกมาพูดถึงโควิด-19 ในการตอบกระทู้ถามบน Reddit AMA (Ask Me Anything) ซึ่งบิล เกตส์หมั่นตั้งขึ้นมาเพื่อให้ชาวเน็ตเข้ามาถามคำถามได้ทุกเรื่องเป็นประจำทุกปี

สำหรับปีนี้ คำถามที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ถูกหยิบยกมาสนทนาอย่างคึกคัก ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์หลังจากที่เกตส์ประกาศว่าได้ติดเชื้อโควิด-19 แล้วเรียบร้อยเพื่อแสดงความเชื่อมั่นให้ชาวโลกทราบว่ายังคงมีความเสี่ยงเหลืออยู่จากการระบาดใหญ่ครั้งนี้ เจ้าพ่อ Microsoft จึงพยายามย้ำว่าโควิด-19 ยังมีตัวแปรอื่นที่จะสร้างความปั่นป่วนทั้งในเชิงการแพร่ระบาดและการเป็นอันตรายถึงชีวิตมากขึ้น ซึ่งแม้จะดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้

แต่เกตส์ย้ำว่าโควิดรอบนี้ยังมีความเสี่ยงเหลืออยู่อีกไม่ต่ำกว่า 5% และที่สำคัญคือ เกตส์เชื่อว่าโลกยังมาไม่ถึงจุดที่เป็น “สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด” ของโควิด-19 เลย

ไวรัสอาจกลายพันธุ์อีกครั้ง

บิล เกตส์ ตั้งข้อสังเกตว่าไวรัสอาจกลายพันธุ์อีกครั้งหลังจากที่ตัวเลขการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโควิดกำลังลดลง การออกมาแสดงความคิดเห็นนี้ทำให้เกิดความกังวลมากขึ้น เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกำลังเติบโตทั่วโลก และการแพร่กระจายของโรคคือเครื่องเตือนใจชั้นเยี่ยมว่าโควิด-19 ยังคงแฝงตัวอยู่ในสังคม

สถิติจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ระบุว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่จากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกำลังเติบโตทั่วทั้งสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นเกิน 9% ในช่วงต้นพฤษภาคมทั่ว 39 รัฐในช่วงเวลานั้น ขณะที่สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 ถึง 27 พ.ค. 2565 พบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 4,837 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ (ม.ค. 2565) มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 2,211,076 ราย โดยการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมในไทย 8,212 ราย และภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 29,910 ราย

สำหรับเกตส์ บทเรียนสำคัญจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 คือการวางแผนป้องกัน และการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังจะสามารถช่วยให้โลกจัดการกับการระบาดใหญ่ในอนาคตได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของหนังสือ “How to Prevention the Next Pandemic” ที่กำลังจะออกเผยแพร่ในปลายปีนี้

หนึ่งในข้อเสนอของบิลเกตส์คือการกระตุ้นให้องค์การอนามัยโลกลุกขึ้นมาตั้งทีมเฝ้าระวังระดับโลก ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่จะสามารถมองเห็นภัยคุกคามด้านสุขภาพแบบใหม่ในระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว ทีมนี้ควรจะประสานงานกับรัฐบาลทั่วโลกอย่างฉับไวเพื่อป้องกันไม่ให้ความเจ็บป่วยในอนาคตกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ได้อีก
ไม่เอาแล้วนะแบบเดิม

เพื่อไม่ให้โลกต้องฟกช้ำในรอยเดิม เกตส์ย้ำว่าการตั้งทีมนี้จะต้องระดมทุนมหาศาลจาก WHO และประเทศสมาชิก ไม่เพียงผนึกกำลังทีมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก รวมทั้งนักระบาดวิทยาและนักไวรัสวิทยา แต่ยังต้องจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการระบุและควบคุมการระบาดในอนาคตในเชิงรุก

เกตส์ตั้งชื่อหน่วยงานไว้คร่าวๆ ว่า โครงการ “Global Epidemic Response and Mobilization” (GERM) ซึ่งเป็นโครงการเดียวกับแผนที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ในการประชุม TED ปี 2022 เมื่อเดือนเมษายน เวลานั้นเกตส์ตั้งข้อสังเกตว่า WHO น่าจะต้องใช้เงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ต่อปีเพื่อจัดตั้งทีมรับมือระดับโลกดังกล่าว ซึ่งแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ต้นทุนของการระบาดใหญ่ครั้งหน้าอาจจะสูงกว่านี้มากนัก

ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าการระบาดของโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหายกว่า 12.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2567 ในขณะเดียวกัน และมีแนวโน้มว่าผู้คนทั่วโลกกว่า 6.2 ล้านคนต้องเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ผลจากการที่พวกเราชาวโลกไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดนี้อย่างเหมาะสม ตามที่ WHO และเกตส์ได้กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายรอบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

“สำหรับผม ในนามของพลเมืองโลก มันดูบ้าไปหน่อยที่เราไม่ยอมหาบทเรียนจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้ และจะไม่ลงทุนอะไรเลย เราจำเป็นต้องใช้เงินหลายพันล้าน เพื่อประหยัดเงินหลายล้านล้าน”

(Photo by John Lamparski/Getty Images)

นอกจากแนวคิดเรื่องการตั้งทีม GERM และข้อเสนอแนะอื่น เกตส์ยังให้น้ำหนักกับการต่อสู้เรื่องการแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ และการทำให้วัคซีนเข้าถึงได้ง่ายทั่วโลก โดยเกตส์กล่าวว่าเป้าหมายส่วนตัวในปี 2022 ของเขาคือ “การทำให้แน่ใจว่า โควิด-19 เป็นโรคระบาดครั้งสุดท้าย”

และในขณะที่เกตส์ย้ำเตือนว่าอย่าเพิกเฉยต่อความเสี่ยงที่ยังคงมีอยู่ของโควิด-19 มหาเศรษฐีระดับโลกยังไม่ลืมแสดงความมองโลกในแง่ดีว่า โควิด-19 จะสามารถจัดการได้มากขึ้นในฤดูร้อนปีนี้ เพราะในที่สุด ชาวโลกส่วนใหญ่จะสามารถรักษา Covid ได้เหมือนเป็น “ไข้หวัดตามฤดูกาล”

ในกระทู้บน Reddit AMA มีผู้ตั้งคำถามเชิงว่าในเมื่อบิล เกตส์ ไม่ได้จบปริญญาทางการแพทย์ แล้วมายุ่งเกี่ยวกับวงการยาหรือวงการเพทย์ทำไม? และเพราะเหตุใด ความคิดเห็นทางการแพทย์ของบิล เกตส์จึงควรมีความสำคัญ? เกตส์ตอบว่าเพราะมูลนิธิของเขามีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จำนวนมาก และการรับมือกับโรคระบาดจำเป็นต้องใช้ทักษะมากมายในการดำเนินการสิ่งต่างๆ ทั้งการกำจัดโรคมาลาเรีย หรือวัคซีนและการรักษาโควิด เมื่อเกตส์ได้ฟังผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคำแนะนำทางการแพทย์ที่เฉพาะเจาะจง ว่าระบบป้องกันการแพร่ระบาดจะต้องใช้มากกว่าแพทย์ ดังนั้น เกตส์จึงเขียนหนังสือเพื่อเริ่มการอภิปรายว่า เราชาวโลกควรต้องปฏิบัติอย่างไร

เพื่อไม่ให้สถานการณ์ “เลวร้ายที่สุด” ปรากฏตรงหน้าเรา

ที่มา :Cnbc, Geekwire

]]>
1386935
ข่าวดี! ‘WHO’ เผยจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดอยู่ในระดับ ‘ต่ำสุด’ ในรอบ 2 ปี https://positioningmag.com/1383100 Wed, 27 Apr 2022 08:57:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383100 องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 รายใหม่ในรอบสัปดาห์ได้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีนาคม 2020 พร้อมเตือนให้ทั่วโลกอย่าหยุดตรวจหาเชื้อ เพราะอาจขัดขวางความพยายามในการต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่

จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 รายใหม่ทั่วโลกในช่วง 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 15,668 ราย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและอเมริกา โดยจากข้อมูลของ WHO พบว่า ตัวเลขดังกล่าวลดลงจากจำนวนกว่า 18,000 รายในช่วงสัปดาห์ที่ 17 เมษายน

โดยทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกเริ่มลดลงตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ด้านจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลกในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีมากกว่า 4 ล้านราย ตามข้อมูลของ WHO จำนวนดังกล่าวลดลงจากรายงานผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 5 ล้านราย เมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์ที่ 17 เม.ย.

“การเสียชีวิตที่ลดลงถือเป็นข่าวดีที่ แต่เราต้องยินดีด้วยความระมัดระวัง” เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าว นอกจากนี้เขายังเตือนว่า หลายประเทศได้ลดการตรวจเชื้อ COVID-19 ซึ่งจำกัดความสามารถของ WHO ในการติดตามผลกระทบของไวรัสและรูปแบบการแพร่กระจายและวิวัฒนาการ

ไวรัสนี้จะไม่หายไปเพียงเพราะประเทศต่าง ๆ หยุดมองหามัน มันยังคงแพร่กระจาย ยังคงเปลี่ยนแปลง และยังคงสังหารอยู่ แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะลดลง แต่เราก็ยังไม่เข้าใจผลที่ตามมาของการติดเชื้อในผู้ที่รอดชีวิตในระยะยาว”

ดร.บิล โรดริเกซ ซีอีโอของ FIND องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านการวินิจฉัยโรคทั่วโลก กล่าวว่า WHO เรียกร้องให้ทุกประเทศรักษาระบบเฝ้าระวัง ซึ่งรวมถึงการทดสอบและการจัดลำดับจีโนม โดยอัตราการทดสอบ COVID-19 ทั่วโลกลดลงจาก 70-90% ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการทดสอบที่ลดลงอาจทำให้ความสามารถของโลกในการรักษาโควิดด้วยการบำบัดแบบใหม่ลดลงไปด้วย

ด้าน Maria Van Kerkhove หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้าน COVID-19 ของ WHO เสริมว่า การที่ไม่ได้ตรวจหาเชื้อเหมือนก่อน อาจจำกัดการตรวจสบ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน อย่างสายพันธุ์ BA.2 ที่แพร่ระบาดมากขึ้นในขณะนี้ ก็ถือเป็นสายพันธุ์ที่กระตุ้นให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ในยุโรปและจีน ซึ่งกำลังต่อสู้กับการระบาดครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020

BA.2 ยังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา โดยคิดเป็น 68.1% ของเคสทั้งหมดที่หมุนเวียนในประเทศในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 23 เมษายน ตามข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ตัวแปรย่อยอีกตัวหนึ่งคือ BA.2.12.1 กำลังได้รับความสนใจในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน ซึ่งคิดเป็น 28.7% ของผู้ป่วยรายใหม่ ข้อมูล CDC กล่าว

Source

]]>
1383100
ส่งต่อกำลังใจสู้วิกฤตผ่านเพลง ‘ลมหายใจเดียวกัน’ ในวันที่คนไทยต้องอยู่ร่วมกับโควิด https://positioningmag.com/1381202 Tue, 12 Apr 2022 04:00:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381202

เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่ประเทศไทยเผชิญหน้ากับการระบาดของไวรัส COVID19 ซึ่งถือเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ แต่ทุกครั้งที่ประเทศต้องเผชิญหน้ากับวิกฤต สิ่งที่จะเห็นตามมาคือ ความร่วมแรงร่วมใจ ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในประเทศ รวมถึงกำลังใจดี ๆ ที่มีให้กันเพื่อให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้เหมือนทุก ๆ ครั้ง

เพื่อสะท้อนถึงภาพวิกฤตและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พร้อมทั้งเติมพลังใจให้กับคนไทยอย่ายอมแพ้กับวิกฤตที่ยังคงอยู่ กลุ่ม ปตท. ได้จัดทำ MV เพลง ลมหายใจเดียวกัน ที่อยู่ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน โครงการที่ ปตท. ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือพี่น้องประชาชนคนไทยในช่วงที่การระบาดยังไม่หายไปไหนและมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด-19 สร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน ไปจนกว่าสถานการณ์โรคระบาดจะคลี่คลาย

สำหรับ MV เพลง ลมหายใจเดียวกัน ได้บอกเล่าถึงการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ช่วงแรกที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดและสิ้นหวัง แต่ภายใต้บรรยากาศที่มืดหม่นก็ยังมีเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ตลอดจนบุคคลทั่วไป ที่ต่างทำอย่างเต็มความสามารถเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตให้เบาบางลง นอกจากนี้ MV ยังแสดงถึงพลังและหัวใจของคนไทยที่ไม่ยอมแพ้ และจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เปรียบเสมือนกับ คนในครอบครัวเดียวกัน พร้อมทั้งสื่อถึงความหวัง และอย่าเพิ่งยอมแพ้ เหมือนกับท่อนหนึ่งของเพลงที่ว่า

“ด้วยพลังไทยที่เรารัก เพื่อประเทศไทยที่เป็นเหมือนบ้านของเธอและฉัน จะไม่ยอมเดินกลับหลังจะไม่ยอมหมดความหวังจะก้าวต่อไป ด้วยลมหายใจเดียวกัน”

แม้วันนี้การระบาดของ COVID-19 จะยังไม่หายไป แต่เชื่อว่าคนไทยยังมีกำลังที่จะสู้ต่อไป ไม่ว่าจากนี้วิกฤตจะยังหนักหนาแค่ไหน ไม่ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าคนไทยพร้อมที่จะร่วมกันฝ่าฟัน พร้อมที่จะก้าวข้ามทุกวิกฤต ดั่งแนวคิดที่ว่า “คนไทยทุกคนล้วนมีลมหายใจเดียวกัน”

]]>
1381202
ผลสำรวจ ‘บริษัทใหญ่ญี่ปุ่น’ กว่า 84% มองบวก ปี 2022 เศรษฐกิจจะเติบโตได้ดี https://positioningmag.com/1369285 Mon, 03 Jan 2022 09:04:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369285 บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นกว่า 84% มองว่า เศรษฐกิจของประเทศจะกลับมาเติบโตได้ดีในปี 2022 จากเเรงหนุนการบริโภคที่ฟื้นตัว เเละความหวังว่าการระบาดของโควิด-19 จะบรรเทาลง

Kyodo News สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชนญี่ปุ่น 106 บริษัท ซึ่งรวมไปถึงบริษัทใหญ่อย่าง Toyota Motor Corp , SoftBank Group Corp , ANA Holdings , Seven & i Holdings , Nintendo และ Panasonic Corp

โดยบริษัทกว่า 84 แห่ง คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตได้ในระดับปานกลางตลอดปีนี้ ขณะที่อีก 5 บริษัทมองว่าเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ขณะที่ 13 บริษัท ประเมินว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีนี้จะทรงตัว เพราะประชาชนยังระมัดระวังเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด แต่ก็ไม่มีบริษัทไหนเลยที่มองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัว

เมื่อเปิดให้สามารถตอบคำถามได้หลายข้อ พบว่ากว่า 91% มองว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวขึ้นตามเเนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้น ตามมาด้วย 64% ที่คาดว่าสถานการณ์โควิด-19 จะกลับสู่ภาวะปกติได้ เเละ 35% มองว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น และ 19% เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้นตัวในปีนี้

ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะ ให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอนให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาอยู่ในทิศทางที่ดี

อย่างไรก็ตาม เเม้จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในญี่ปุ่น จะคงยังอยู่ในระดับต่ำ หลังจากระลอกที่ 5 จากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน แต่รายงานการแพร่กระจายของสายพันธุ์โอมิครอนในชุมชนต่างๆ ก็ทำให้เกิดความกลัวต่อการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอีก

บริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมอาหาร กล่าวว่ามาตรการรับมือไวรัสโคโรนาของรัฐยังไม่เพียงพอ และต้องใช้เวลานานกว่าที่เศรษฐกิจจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด”

ขณะที่ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังคงรัดเข็มขัดการใช้จ่ายของพวกเขาต่อไป เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภครายวันบางส่วนได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง

 

ที่มา : Kyodo News

 

]]>
1369285
10 อันดับประเด็นร้อนแรงบนโลกโซเชียลแห่งปี 2564 “โควิด-19” ครองแชมป์ https://positioningmag.com/1369215 Thu, 30 Dec 2021 14:09:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369215 ก้าวเข้าสู่วันสุดท้ายของปี 2564 ซึ่งเป็นอีกปีหนึ่งที่มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นบนโลกโซเชียล ไวซ์ไซท์จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE เพื่อวิเคราะห์และจัดอันดับประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงมากที่สุด โดยเก็บข้อมูลช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม-28 ธันวาคม 2564 เรามาดูกันดีกว่าว่าระหว่าง 1 ปีที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง

อันดับที่ 1 สถานการณ์โควิด-19 (119,499,177 เอ็นเกจเมนต์)

สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันยังคงน่าเป็นห่วง หลังจากผ่านการล็อกดาวน์ ปิดประเทศ จนเปิดประเทศล่าสุด ก็ต้องเจอกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอมิครอน’ อีกระลอก ทำให้ปีนี้ ประเด็นโควิดมาเป็นอันดับ 1 บนโลกโซเชียล

อันดับที่ 2 ปรากฏการณ์ลิซ่าฟีเวอร์ (98,967,525 เอ็นเกจเมนต์)

เมื่อวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา ลลิษา มโนบาล หรือที่รู้จักกันดีในนาม ลิซ่า แบล็กพิงก์ หนึ่งในสมาชิกของวงเกิร์ลกรุ๊ปจากประเทศเกาหลีใต้ ได้ปล่อยอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองเป็นครั้งแรกและสร้างความฮือฮาให้กับโลกออนไลน์อย่างมาก ทั้งประเด็นการเป็นศิลปินหญิงเดี่ยวคนแรกที่มียอดเข้าชมผ่านช่องทาง YouTube มากกว่า 10 ล้านครั้งภายใน 1 ชั่วโมงครึ่ง ทุบสถิติเดิมของเทย์เลอร์ สวิฟต์ และได้สร้างเอ็นเกจเมนต์ขึ้นในโลกออนไลน์มากกว่า 53 ล้านเอ็นเกจเมนต์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ปล่อยเอ็มวี รวมถึง ลูกชิ้นยืนกินที่สร้างรายได้ให้ชุมชนมากมาย นั่นทำให้ลิซ่ามาเป็นอันดับที่ 2 ในปีนี้

อันดับที่ 3 การประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2020/2021 (80,398,276 เอ็นเกจเมนต์)

เป็นครั้งแรกที่งานประกวด Miss Universe 2020 และ 2021 จัดขึ้นในปีเดียวกันอันเนื่องมาจาก สถานการณ์โควิด-19 ซึ่งผู้ชนะทั้งสองรายการ ได้แก่ อแมนด้า ออบดัมและแอนชิลี สก๊อต-เคมมิส ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้ปลุกกระแสให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับประเด็น “Real Size Beauty” หรือการภูมิใจในรูปร่างของตนเอง และมีความสุขในสิ่งที่ตัวเองเป็น

อันดับที่ 4 มหกรรมกีฬาโอลิมปิกโตเกียว 2020 (59,829,135 เอ็นเกจเมนต์)

มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติกับงานโอลิมปิกโตเกียวที่ได้เลื่อนจากปี 2563 มาจัดในปี 2564 ซึ่งหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวไทยทั้งประเทศมีความสุขท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่มีความรุนแรง คือ น้องเทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ได้คว้าเหรียญทองจากการแข่งขันเทควันโดนั่นเอง

อันดับที่ 5 พิมรี่พาย (54,686,116 เอ็นเกจเมนต์)

อีกหนึ่งบุคคลที่เป็นที่พูดถึงตลอดทั้งปีนี้คงหนี้ไม่พ้นพิมรี่พาย หรือ พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ ทั้งประเด็นงาน CSR วันเด็กในช่วงต้นปี ที่เข้าไปติดแผงโซล่าร์เซลล์ที่หมู่บ้านชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงปรากฏการณ์ไลฟ์ขายของ 10 นาที 100 ล้านบาท ที่เปิดขายกล่องสุ่มเครื่องสำอางกล่องละ 1 แสนบาท และมีคนสนใจสั่งซื้อกว่า 1,000 ชุด รวมถึง ประเด็นคลินิกเสริมความงามที่มีผู้เสียหายเข้ามาร้องเรียนหลายราย

อันดับที่ 6 ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว (39,427,269 เอ็นเกจเมนต์)

เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกบริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จำกัด ใน ซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ทำให้ประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร ต้องอพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากกลัวว่าเพลิงจะลุกลาม นับว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ในรอบหลายปีที่ผ่านมาและมีการพูดถึงบนโลกโซเชียลอย่างมากตลอด 24 ชั่วโมงในขณะที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมเพลิง

อันดับที่ 7 น้ำท่วม (34,989,035 เอ็นเกจเมนต์)

นอกจากพิษโควิด-19 แล้วปีนี้เรายังคงเจอกันสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ตั้งแต่เดือนตุลาคม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงหลายๆ จังหวัดในภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจากสถานการณ์ครั้งนี้ได้เกิดคลิปไวรัลจากชาวโซเชียลที่จังหวัดนครราชสีมาทำคลิปล้อเลียนโฆษณาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบรนด์ดัง

อันดับที่ 8 ลุงพล (34,239,932 เอ็นเกจเมนต์)

สิ้นสุดคดีน้องชมพู่ ที่อยู่บนความสนใจของชาวโซเชียลมาอย่างยาวนาน การเกาะติดความคืบหน้าของคดีได้สร้างให้เกิดเรื่องราวของ “ผู้ต้องหา” ที่ถูกจับตาจากโซเชียลทุกย่างก้าวให้กลายเป็น “คนดัง” ในชั่วข้ามคืน และในที่สุดศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้ออกหมายจับลุงพล หรือนายไชย์พล วิภา 3 ข้อหา ผู้ต้องหาคดี “น้องชมพู่” หนูน้อยวัย 3 ขวบ แห่งบ้านกกกอก ที่เสียชีวิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อันดับที่ 9 ผู้กำกับโจ้ (33,367,496 เอ็นเกจเมนต์)

ประเด็นร้อนบนโลกโซเชียลกับกรณีมาวิน ผู้ต้องสงสัยคดียาเสพเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวโดย พ.ต.อ. ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ ผู้กำกับโจ้ โดยสาเหตุเกิดจากการขาดอากาศหายใจ ส่งผลให้เกิดเป็น คดีดัง และถูกขุดขุ้ยจนพบว่าครอบครองรถหยนต์หรูกว่า 30 คันและพบการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จนได้ฉายา “โจ้เฟอร์รารี่”

อันดับที่ 10 น้าค่อม (33,160,272 เอ็นเกจเมนต์)

ถือเป็นอีกหนึ่งการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการบันเทิงและวงการตลกไทย กับการจากไปของนายอาคม ปรีดากุล หรือ น้าค่อม ชวนชื่น หลังพบเชื้อโควิด-19 และอาการทรุดลงเรื่อยๆ ชาวโซเชียลร่วมไว้อาลัย #น้าค่อม จนขึ้นอันดับ 1 ทวิตเตอร์ไทย

]]>
1369215
พิษโควิด 2 ปีทำ ‘คนจน’ ทั่วโลกพุ่งแตะ 100 ล้านคน เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี https://positioningmag.com/1368872 Mon, 27 Dec 2021 06:41:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368872 ธนาคารโลกประมาณการว่าประชากรกว่า 97 ล้านคนทั่วโลกตกอยู่ในความยากจนอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ในปี 2020 โดยมีรายได้ไม่ถึง 2 ดอลลาร์หรือราว 70 บาทต่อวัน โดยถือเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ขณะที่เหล่ามหาเศรษฐียิ่งทวีความร่ำรวย

ตั้งแต่ทั่วโลกได้เผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ความยากจนก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการระบาดยังคงอยู่ โดยในปี 2564 นี้มีจำนวนประชากรถึง 97 ล้านคน โดยมีจำนวนคนจนที่สุดในโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปีตามการระบุของธนาคารโลก

Carolina Sánchez-Páramo ผู้อำนวยการระดับโลกด้านความยากจนและความเสมอภาคของ World Bank เปรียบว่าโรคระบาดใหญ่กับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วกว่าสึนามิที่มีศูนย์กลางในเอเชียตะวันออก ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมกันยิ่งเพิ่มขึ้น

ในขณะที่ผู้คนหลายสิบล้านกำลังตกต่ำลง คนรวยมากก็ร่ำรวยขึ้น โดยเหล่าเศรษฐีกว่า 1,000 คน ใช้เวลาเพียง 9 เดือนในการฟื้นคืนความมั่งคั่งในช่วงการระบาดใหญ่ แต่กับคนจน พวกเขาอาจต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีเพื่อฟื้นตัว ตามรายงานความไม่เท่าเทียมกันประจำปีของ Oxfam International ที่เผยแพร่ในเดือนมกราคม

ชาเมรัน อาเบด กรรมการบริหารของ BRAC International ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำงานเพื่อบรรเทาความยากจนทั่วทั้งเอเชียและแอฟริกา ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างความมั่งคั่งที่กว้างขึ้น โดยกล่าวว่า

“คนที่ร่ำรวยที่สุด 3 คนของโลก อาจยุติความยากจนข้นแค้นบนโลกได้”

“แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ความรับผิดชอบของพวกเขาอย่างเดียว แต่แค่บอกว่าพวกเขามีทรัพยากรเพียงพอในการจัดการกับปัญหา”

Carolina Sánchez-Páramo กล่าวต่อว่า หนึ่งในทางที่จะช่วยได้ก็คือ ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงวัคซีนหรือการรักษาบางอย่างสำหรับการระบาดใหญ่ได้อย่างเท่าเทียม เพราะจนกว่าคุณจะควบคุมการระบาดได้ มันยากมากที่จะคิดถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีนได้กลายเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายแห่งได้กักตุนซื้อปริมาณมากพอที่จะฉีดวัคซีนให้กับประชากรของพวกเขาหลายครั้ง

นอกจากนี้ เหล่ามหาเศรษฐีที่มี 1% อยู่ภายใต้แรงกดดันในประเด็นด้านมนุษยธรรม โดยในเดือนพฤศจิกายน ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกขององค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 2 คนคือ เจฟฟ์ เบซอส และ อีลอน มัสก์ ตระหนักถึงปัญหา โดยกล่าวว่า การให้เงิน 6 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2% ของมูลค่าสุทธิของ อีลอน มัสก์ สามารถช่วยแก้ปัญหาความหิวโหยของโลกได้

“6 พันล้านเพื่อช่วย 42 ล้านคนที่จะตายอย่างแท้จริง”

โดยการเรียกร้องดังกล่าวได้รับการตอบสนองโดยตรงจาก อีลอน มัสก์ ซึ่งเขาทวิตบน Twitter ว่า “หากองค์กรสามารถจัดวางวิธีการที่เงินทุนจะแก้ปัญหาได้ เขาจะขายหุ้นของ Tesla ทันทีเพื่อช่วยเหลือ”

Source

]]>
1368872
เมื่ออุตสาหกรรมแข่งไม่ไหว หรือภาคบริการคือคำตอบของไทย? https://positioningmag.com/1360917 Sun, 14 Nov 2021 14:27:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360917 KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าถึงแม้นักท่องเที่ยวจะยังคงสามารถกลับเข้ามาได้หลังจากโควิด-19 จบลง ภาคบริการที่พึ่งพาเฉพาะการท่องเที่ยวจะไม่เพียงพอเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

จากเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับความท้าทายในหลายมิติ และอาจทำให้เติบโตได้ช้าลงกว่าเดิม จากทั้งปัญหาการถูกทิ้งห่างด้านความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิต ปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงอายุ และการเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของภูมิรัฐศาสตร์โลก หรือหมายความว่า เศรษฐกิจไทยแบบเก่ากำลังไม่เหมาะกับโลกยุคใหม่ที่มีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างมาก” 

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความเสี่ยงที่การท่องเที่ยวในยุคหลังโควิด-19 จะฟื้นตัวได้ไม่ดีเท่ากับที่คาด จากทั้งกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% อาจไม่กลับมาอย่างถาวรและในกรณีเลวร้ายที่นักท่องเที่ยวจีน (ประมาณ 30% ของนักท่องเที่ยว) ไม่กลับมาในระยะยาวตามนโยบายของจีนที่สนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นอาจทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาได้ต่ำกว่าระดับก่อนโควิดค่อนข้างมาก

เหตุการณ์นี้กำลังเร่งให้ไทยต้องมองหาเครื่องยนต์อื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการเติบโตที่อาจลดลงในระยะยาว 

ภาคบริการเดิมไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะยาว 

ภาคบริการมีความหลากหลายตามนิยามโดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มบริการสมัยใหม่ที่เน้นการใช้นวัตกรรม เช่น กลุ่มสื่อสารและสารสนเทศ
  2. กลุ่มบริการดั้งเดิมที่เน้นการใช้แรงงานทักษะต่ำ และเน้นการค้าระหว่างประเทศ (Low-Skill Tradable Services) เช่น ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจขนส่ง
  3. กลุ่มบริการที่ใช้แรงงานทักษะต่ำและพึ่งพาการบริโภคในประเทศเป็นหลัก (Low-Skill Domestic Services) เช่น ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์
  4. กลุ่มบริการที่เน้นแรงงานทักษะสูง (High-Skill Intensive) เช่น แพทย์ การศึกษา
Photo : Shutterstock

เมื่อพิจารณาลักษณะของภาคบริการไทยยังพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มบริการแบบเก่าซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นตัวตามเศรษฐกิจมากกว่าตัวนำเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจาก

  1. โครงสร้างภาคบริการไทยยังอยู่ในกลุ่มบริการแบบเก่า เช่น การค้าปลีกค้าส่ง การขนส่ง การให้บริการสาธารณะ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มน้อย
  2. ภาคบริการไทยไม่ได้ทำหน้าที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรม
  3. การเติบโตหลักของบริการในระยะหลังเกิดจากภาคการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ซึ่งสะท้อนทิศทางนโยบายของไทยในอดีตว่า ภาคบริการไทยยังไม่ได้รับการใส่ใจจากนโยบายภาครัฐและไม่ได้ถูกผนวกเข้าเป็นกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวทำให้โครงสร้างภาคบริการของไทยยังเป็นภาคบริการแบบเก่า

บริการโตได้แต่ตามหลังประเทศพัฒนาแล้ว  

ภาคบริการเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศพัฒนาแล้ว และมีแนวโน้มมีความสำคัญมากขึ้น โดยประเทศรายได้สูงมีแนวโน้มพึ่งพามูลค่าเพิ่มจากภาคบริการในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา

KKP Research มองว่าลักษณะสำคัญของบริการในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ภาคบริการสามารถเติบโตได้ดี เกิดจากองค์ประกอบของภาคบริการที่มักมีลักษณะเป็นบริการสมัยใหม่ในสัดส่วนที่สูง ตัวอย่างเช่น การบริการในกลุ่ม IT คอมพิวเตอร์ ภาคการเงิน ผู้เชี่ยวชาญในการช่วยเหลือธุรกิจ (Professional Business Services) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 30%-40% จากบริการทั้งหมด เทียบกับประเทศกำลังพัฒนาที่มีสัดส่วนประมาณ 10%-20% เท่านั้น

สำหรับเศรษฐกิจไทยถือว่ามีสัดส่วนภาคบริการค่อนข้างใหญ่ คือ ประมาณ 60% ของ GDP แต่เป็นบริการสมัยใหม่เพียงประมาณ 14% เท่านั้นสะท้อนชัดเจนว่าภาคบริการไทยยังคงตามหลังประเทศพัฒนาแล้วอยู่มาก 

KKP Research ประเมินว่าลักษณะของภาคบริการในประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นบริการสมัยใหม่ (Modern Services) สร้างโอกาสสำคัญให้กับการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวมจากลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ  

1) ภาคบริการสมัยใหม่มีลักษณะที่สามารถช่วยส่งเสริมศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเต็มที่ เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มของสินค้าส่งออกที่เกิดจากภาคบริการพบว่าประเทศพัฒนาแล้วพึ่งพาภาคบริการในประเทศเป็นหลักเกินกว่า 80% ของบริการทั้งหมดในขณะทีไทยพึ่งพาบริการในประเทศเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าทั้งหมดเท่านั้น

2) ภาคบริการสมัยใหม่สามารถเพิ่มขนาดตลาด (scalable) ผ่านการหารายได้จากการค้ากับต่างประเทศ (Tradeable) ได้ โดยในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตและมูลค่าของการค้าบริการสูงกว่าการค้าสินค้าปกติ สะท้อนโอกาสจากการเติบโตในภาคบริการที่ยังมีอยู่สูง

3) เทคโนโลยีใหม่มีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มโอกาสการขยายตัวและประสิทธิภาพของภาคบริการในอนาคต (Innovation) โดยเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาจะให้ประโยชน์มากกว่ากว่ากับกลุ่มบริการแบบใหม่ (Modern Services) โดยสามารถทำการค้าระหว่างประเทศได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ผ่านรูปแบบของ Online Outsourcing ในขณะที่บริการแบบเก่าได้ประโยชน์น้อยกว่าเนื่องจากเป็นกลุ่มบริการที่ต้องเจอหน้ากันโดยตรง เช่น การค้า การท่องเที่ยว

ลักษณะของภาคบริการสมัยใหม่อาจเป็นแรงส่งสำคัญที่ทำให้ภาคบริการสามารถทำหน้าที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาภาคการผลิตมาก่อนตามความเชื่อแบบเก่า ซึ่งเป็นข้อมูลที่สะท้อนว่าในระยะต่อไปประเทศไทยควรต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคบริการเพิ่มเติมจากภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน  

การพัฒนาภาคบริการไทยยังเผชิญอุปสรรคมหาศาล 

ภาคบริการในแต่ละกลุ่มมีโอกาสในการเติบโตและต้องการปัจจัยสนับสนุนที่แตกต่างกัน KKP Research ประเมินว่าในภาพรวมการพัฒนาภาคบริการไทยจะเจอความท้าทายมหาศาลแต่ยังมีโอกาสในบริการบางกลุ่มอยู่บ้าง ได้แก่

Photo : Shutterstock
  1. ภาคบริการสมัยใหม่ (Modern Services) มีโอกาสเติบโตจากการยกระดับสู่เศรษฐกิจดิจิทัล แต่ไทยขาดการลงทุนด้าน R&D และนวัตกรรม และแรงงานมีฝีมือซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา ทำให้ในระยะสั้นประเทศไทยจะไม่มีศักยภาพมากพอในการพัฒนาไปสู่ Modern Services และเป็นศูนย์กลางบริการของโลกได้
  2. ภาคการเงินมีโอกาสเติบโตจากความเชื่อมโยงของภาคการเงินระหว่างประเทศที่มากขึ้น แต่ไทยยังมีอุปสรรคด้านกฎระเบียบและข้อจำกัดในระบบการเงิน โอกาสในการเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค (Financial Center) ในไทยจึงมีความท้าทายสูง
  3. อุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานทักษะต่ำ (Low-Skilled Labor) เช่น การท่องเที่ยว การค้าปลีกค้าส่ง ยังเติบโตได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติแต่ในระยะยาวต้องเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ภาคบริการในกลุ่มนี้ของไทยมีโอกาสเติบโตได้แต่ต้องหันไปพึ่งพาปัจจัยด้านคุณภาพมากขึ้น เช่น พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวมูลค่าสูงรวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวและการค้า
  4. บริการที่เน้นแรงงานทักษะสูงมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะแนวโน้มความต้องการดูแลสุขภาพและการเข้าสู่สังคมสูงอายุ แต่ไทยยังการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางและเทคโนโลยีด้านการสื่อสารขั้นสูง บริการสุขภาพของไทยมีศักยภาพในการเติบโตผ่านการสนับสนุนท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ แต่ต้องเร่งดำเนินการในหลายเรื่อง คือ 1) เพิ่มจำนวนแรงงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2) การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและโทรคมนาคม

นโยบายภาครัฐ ปัจจัยสำคัญเพื่อขับเคลื่อนภาคบริการ 

แม้ภาคบริการอื่นๆ ของไทยนอกเหนือจากการท่องเที่ยวในปัจจุบันจะยังเผชิญกับอุปสรรคจำนวนมาก การพัฒนาภาคบริการให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น มีมูลค่าเพิ่มที่สูง และผนวกเข้าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ

ทั้งในแง่ของการช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในทางอ้อม ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจไทยในมิติของการกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาการส่งออกในยุคของ De-Globalization และสร้างโอกาสให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาจากลักษณะของภาคบริการที่พึ่งพาแรงงานเป็นหลัก 

Photo : Shutterstock

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร สรุปภาพรวมว่าเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์และสามารถพัฒนาภาคบริการได้อย่างเต็มที่ในระยะต่อไป จำเป็นต้องดำเนินนโยบายในอย่างน้อย 4 เรื่องหลัก

  1. การปฏิรูปกฎระเบียบ เพิ่มการแข่งขันในภาคบริการ
  2. การปฏิรูปและปรับปรุงระบบการศึกษาและการพัฒนาทักษะแรงงาน การพัฒนาภาคบริการจะเกิดขึ้นได้จากแรงงานที่มีทักษะสูงซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของภาคบริการซึ่งต่างจากภาคอุตสาหกรรม
  3. การลดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศของภาคบริการ ภาคบริการยังถือเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับการปกป้องมากที่สุดของไทย การเปิดเสรีจะช่วยให้การพัฒนาภาคบริการเกิดเร็วขึ้น
  4. เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตลาดแรงงานและตลาดทุน โดยเปิดให้มีการแข่งขันในตลาดแรงงาน และตลาดทุนอย่างเสรี จะช่วยส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในกลุ่มผู้ประกอบการในภาคบริการ 

การพัฒนาภาคบริการในระยะยาวจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูง และการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจระยะยาวจำเป็นต้องพิจารณาโอกาสของภาคบริการในการเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มไปด้วย การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้หรือการพัฒนาบริการเชิงสร้างสรรค์จะเป็นอีกหนึ่งทางออกของไทย 

]]>
1360917
“โลตัส” ผนึก 40 พันธมิตร จัดแคมเปญ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” https://positioningmag.com/1353624 Wed, 29 Sep 2021 10:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353624

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อยู่กับประเทศไทย และทั่วโลกได้เกือบ 2 ปีแล้ว ตลอดเวลาที่ผ่านมาคนไทยหลายกลุ่มก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ ทั้งเรื่องสุขภาพ การงาน และรายได้ แต่ก็ยังมีเรื่องที่น่ายินดี ที่ได้เห็นทางฝั่งภาคเอกชนได้ให้การช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนต่างๆ และร่วมกันฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

“โลตัส” เป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่มีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือคนไทยในวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาได้ออกแคมเปญเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริโภคมากมาย รวมถึงแคมเปญที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ไทยอีกด้วย

ล่าสุดโลตัสได้เปิดตัวแคมเปญประวัติศาสตร์ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ส่งสินค้ากว่า 400 รายการ ลดราคาสูงสุดกว่า 50% ลดค่าครองชีพจากผลกระทบโควิด-19

ในครั้งนี้โลตัสได้จับมือกับพันธมิตรคู่ค้ารวมทั้งสิ้น 40 บริษัท มีทั้งผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ดัง และธุรกิจชั้นนำในประเทศ ทำการลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ที่สุดแห่งปี 2564 แสดงถึงความมุ่งมั่นของทุกแบรนด์ในการช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชน อีกทั้งร่วมกันมอบเงินบริจาคสนับสนุนบุคลากรด่านหน้า และผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย

สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า

“ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ส่งผลให้ลูกค้า และประชาชนต้องรัดเข็มขัดเนื่องจากครอบครัวมีรายได้ลดลง ที่ผ่านมาโลตัสก็ได้ช่วยเหลือลูกค้าในการประหยัดค่าครองชีพ โดยมีการทำโปรโมชั่น และลดราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมาโดยตลอด วันนี้เรามีความยินดีที่ได้ผนึกกำลังกับคู่ค้าของเราจาก 40 บริษัทชั้นนำของประเทศไทย ทั้งผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ดังร้านอาหาร และร้านค้าในพื้นที่ศูนย์การค้า ในแคมเปญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคครอบคลุมทุกหมวดหมู่ ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ในบ้าน เสื้อผ้า กว่า 400 รายการ เพื่อช่วยคนไทยประหยัดค่าครองชีพ”

นอกจากนี้ CEO ของทั้ง 41 บริษัทได้ร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ผ่านการประชุมทางออนไลน์เพื่อยืนยันความร่วมมือในแคมเปญนี้ ประกอบด้วย โลตัส, เบเบโฟน, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, บุญรอด, บี-ควิก, คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ, ซีพี-เมจิ, ซีพีเอฟ, แดรี่ พลัส, แดรี่ ควีน, ดีเอสจี, ดังกิ้นโดนัท, ฟรีสแลนด์คัมพิน่า เฟรช, กรีนสปอต, อิชิตัน, ไอ.พี. วัน, จาโกต้า, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน, คาโอ, เคเอฟซี, คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค, ลอรีอัล,โลตัส, มาลี, แม็คยีนส์, มิสเตอร์โดนัท, โมเดิร์นเทรด แมนเนจเม้นท์, นีโอ, เนสท์เล่, โอเรียนทอล พริ้นเซส, โอสถสภา, พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล, เป็ปซี่-โคล่า, เรกคิทท์ เบนคีเซอร์, สหพัฒนพิบูล, ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค, ไทยน้ำทิพย์, ซัมซุง, แว่นท็อปเจริญ, ยูนิ.ชาร์ม, ยูนิลีเวอร์, และ ยาโยอิ

สำหรับแคมเปญ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” รวบรวมสินค้ากว่า 400 รายการ ลดราคาสูงสุดมากกว่า 50% เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 อาทิ ซีพี ไส้กรอกไก่ชิคเก้นแฟรงค์, โออิชิกรีนที, เบบี้มายด์ น้ำยาซักผ้าเด็ก, เดทตอลเจลอาบน้ำ, พฤกษานกแก้วสบู่เหลว, ไฟน์ไลน์น้ำยาซักผ้า, แอทแทค3D ผงซักฟอก, แว่นตา Percy พร้อมเลนส์บลูคัท, หูฟังแบบครอบหูไร้สาย, และ ซัมซุงสมาร์ททีวี

ลูกค้า และประชาชนสามารถซื้อสินค้าที่ร่วมรายการได้ที่โลตัส ทุกสาขาทั่วประเทศ และช่องทางออนไลน์ โลตัส มอบความคุ้มค่าต่อที่สองด้วยการมอบแต้มบัตรสมาชิกโลตัส 2 เท่า สำหรับสินค้าที่ร่วมรายการ พร้อมรับสิทธิพิเศษจากร้านอาหารร้านค้าในพื้นที่มอลล์อีกด้วย

]]>
1353624