โฆษณาดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 01 Sep 2023 04:30:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชำแหละ ‘โฆษณาดิจิทัล’ คาดโตกว่า 13% แตะ 2.9 หมื่นล้าน! ‘สกินแคร์’ ขึ้นแท่นอุตฯ อัดเงินมากสุด https://positioningmag.com/1443107 Thu, 31 Aug 2023 13:37:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443107 จากการจับมือของ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ The Digital Advertising Association of Thailand (DAAT) กับ คันทาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการสำรวจ 59 ประเภทอุตสาหกรรม และ 17 ประเภทสื่อดิจิทัล เพื่อประเมินมูลค่างบโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลของประเทศไทยประจำปี 2566 ที่ดูเหมือนว่าแม้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่แต่รวม ๆ แล้วคาดว่าเม็ดเงินจะเติบโตถึง 13% สูงกว่าที่เคยคาดไว้ช่วงต้นปีเกือบครึ่ง

โตกว่าที่เคยประเมินไว้เกือบเท่าตัว

แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยครึ่งปีแรกจะยังเติบโตได้ไม่เต็ม เนื่องจากเป็นช่วง Post-Covid โดยในช่วงครึ่งปีแรกมีมูลค่าที่ 13,210 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังจะมีมูลค่ามากกว่าครึ่งปีแรกที่ 15,789 ล้านบาท เนื่องจากการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น ดังนั้น คาดว่าทั้งปีเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลจะอยู่ที่ 28,999 ล้านบาท เติบโต 13% ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปีว่าจะเติบโตเพียง 7% เท่านั้น

“เม็ดเงินโตกว่าที่คิด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการท่องเที่ยวที่กลับมา เราเห็นจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 500% ในช่วงครึ่งปีแรก และในครึ่งปีหลังยังมีอีเวนต์ใหญ่ ๆ เช่น เทศกาล 11.11, 12.12 การเมืองที่นิ่ง ทำให้แบรนด์เข้ามาลงเงินกับดิจิทัลมากขึ้น” ราชศักดิ์ อัศวศุภชัย กรรมการสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าว

รีเทลติด Top 5 ครั้งแรก

สำหรับ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้จ่ายเงินโฆษณาสูงสุดในปีนี้ ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณหรือสกินแคร์ 3,268 ล้านบาท (ขึ้นจากอันดับ 2)
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ 2,520 ล้านบาท (ขึ้นจากอันดับ 3)
  • เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2,228 ล้านบาท (ลดลงจากอันดับ 2)
  • การสื่อสารและโทรคมนาคม 2,190 ล้านบาท (อันดับ 4 เท่าเดิม)
  • ห้างสรรพสินค้า, ค้าปลีกต่าง ๆ 1,682 ล้านบาท (ขึ้นมาติด Top 5 ครั้งแรก)

สำหรับกลุ่ม สกินแคร์ ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 เป็นเพราะเป็นธุรกิจที่มีการ แข่งขันสูง ขณะเดียวกัน ความต้องการก็สูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคออกนอกบ้านมากขึ้น จากในช่วงที่โควิดระบาดต้องอยู่แต่บ้าน นอกจากนี้ สกินแคร์ยังเป็นสินค้าที่ชาวต่างชาติมักซื้อ โดยมีมูลค่าการส่งออกถึง 18,000 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจสกินแคร์เป็นกลุ่มที่ใช้เงินมากที่สุด

ส่วน รีเทล ที่ขึ้นมาเป็นอันดับ 5 เป็นเพราะในช่วง 2 ปีก่อนเจอโควิด พอประเทศเปิดรีเทลจึงกลับมาใช้จ่ายกับการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อทำการตลาดแบบ ออมนิชาแนล เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ลูกค้า รวมถึงสื่อสารกับชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวเมืองไทย นอกจากนี้ ยังนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เช่น AR,VR เพื่อทำให้เกิด Metaverse Shopping ทำให้การใช้เงินโฆษณาออนไลน์เยอะขึ้น

เครื่องดื่ม Non-Alcohol ถือเป็นธุรกิจเดียวที่เม็ดเงินลดลงถึง -12% แต่ที่เม็ดเงินในดิจิทัลลดลงเป็นเพราะถูกโยกไปใช้กับ ออนกราวด์อีเวนต์ เพื่อเจาะ Gen Z อีกส่วนคือ ใช้เงินกับ อินฟลูเอนเซอร์โดยตรง ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ 

Meta ยังครองแชมป์โกยเงินสูงสุด

แพลตฟอร์มที่โกยเงินจากแบรนด์มากสุดยังคงเป็น Meta หรือ Facebook และ Instagram คิดเป็นสัดส่วนถึง 28% หรือประมาณ 8,183 ล้านบาท ตามด้วย YouTube (16%) คิดเป็นมูลค่า 4,751 ล้านบาท แต่ที่น่าจับตาคือ TikTok แม้มีสัดส่วนเพียง 7% ครองเม็ดเงิน 2,048 ล้านบาท แต่ขยับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วนเพียง 4% เท่านั้น

“Meta แม้จะยังเป็นแชมป์แต่สัดส่วนก็ลดลงจาก 32% ส่วน YouTube และ TikTok เติบโตชัดเจน แสดงให้เห็นว่าเทรนด์ของวิดีโอยังคงมาแรง”

TikTok ผู้สร้างเทรนด์ Affiliate Marketing

การเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์วิดีโอนั้นล้อไปกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยปัจจุบันกลุ่มผู้ชมหลักไม่ใช่กลุ่มอายุ 18-24 ปี แต่เพิ่มเป็น 18-50 ปีขึ้นไป แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุดูวิดีโอมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคอนเทนต์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะคอนเทนต์เกี่ยวกับความรู้ How To ต่าง ๆ ไม่ได้มีแค่คอนเทนต์บันเทิง ขณะที่คอนเทนต์ รีวิว ถือเป็นคอนเทนต์ที่กระตุ้นให้เกิด การซื้อ ได้มากขึ้นด้วย ซึ่งจากการเติบโตดังกล่าวทำให้แบรนด์ โยกเงินจากทีวีมาลงในแพลตฟอร์มวิดีโอแทน

และนอกจากเทรนด์วิดีโอสั้น TikTok ยังเป็นผู้สร้างเทรนด์ Affiliate Marketing ซึ่งกำลังเติบโตอย่างมากในแพลตฟอร์ม จากที่แบรนด์จ่ายค่าโฆษณาให้ Influencers ทำคอนเทนต์ แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็น ส่วนแบ่งยอดขาย โดยข้อดีคือ แทร็กได้ว่า Influencers ที่ใช้สามารถทำยอดขายได้เท่าไหร่ แบรนด์เองก็จะสามารถเลือกใช้งาน Influencers ได้ตรงจุดมากขึ้น

TikTok Tako แชตบอต
(Photo by cotton bro studio / Pexels)

LIVE อีกเทรนด์ที่ยังโตได้อีก

Live กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคไปแล้ว เพราะสามารถใช้ฟรี ทำให้การขายของเยอะขึ้น แพลตฟอร์มก็สนับสนุนการ Live เพราะอยากจะเพิ่มทราฟฟิกผู้ใช้ในแพลตฟอร์มมากขึ้น ส่งผลให้ทุกแพลตฟอร์มสามารถไลฟ์ขายของได้หมด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการไลฟ์ขายของของไทยยังอยู่กลาง ๆ ยังไม่แอดวานซ์เท่าจีน ที่ใช้ AI ขายของ 24 ชั่วโมง ดังนั้น เทรนด์นี้ยังเติบโตได้อีก

“นักการตลาดต้องเป็นมนุษย์มัลติฟังก์ชันมากขึ้น เพราะคนใช้งานแพลตฟอร์มหลากหลายมากขึ้น ใช้ดีไวซ์มากขึ้น ทำให้การใช้สื่อมีความแฟลกเมนต์มากขึ้น การหา ROI ทำได้ยากขึ้น การเรียนรู้ก็ยากขึ้น ดังนั้น นักการตลาดในปัจจุบันนอกจากขายของเป็น เรียนรู้เรื่องการตลาด แต่ตอนนี้ต้องทำไลฟ์เป็น ต้องหาช่องทางใหม่ ๆ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค และ ต้องสื่อสารแบบพอดี เพราะคนสมัยนี้มีอคติกับโฆษณา”

]]>
1443107
Netflix อัปเดตการตลาด ระบบ ‘ad-tier’ แพ็กเกจมีโฆษณาคั่นกำลังไปได้สวย https://positioningmag.com/1414791 Sat, 07 Jan 2023 13:36:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414791 เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Netflix เปิดตัวเทียร์ใหม่ในการสมัครสมาชิกเป็นระบบ ‘ad-tier’ แบบมีโฆษณาคั่น เพื่อให้ราคาแพ็กเกจถูกลง โดยในตลาดบางส่วนที่เริ่มทดลอง บริษัทพบว่ากลยุทธ์นี้กำลังไปได้สวย

Jeremi Gorman ประธานด้านการโฆษณาทั่วโลก Netflix ให้สัมภาษณ์บนเวทีภายในงาน Consumer Electronics Show (CES) ในลาสเวกัส กาาวถึงแพ็กเกจใหม่ของสตรีมมิ่งที่เป็นระบบมีโฆษณาคั่น (ad-tier) ว่า บริษัทรู้สึกพึงพอใจกับจำนวนโฆษณาและความหลากหลายของโฆษณาในช่วงแรกที่เข้ามา

“เราได้เห็นโฆษณาจากทั้งบริษัทด้านอุปโภคบริโภค สินค้าลักชัวรี ยานยนต์ และค้าปลีก” Gorman กล่าว โดยนอกจากจะดีกับ Netflix แล้ว ยังดีกับผู้บริโภคที่รับชม เพราะนั่นหมายความว่าผู้ชมจะได้เห็นโฆษณาหลากหลาย ไม่ซ้ำซากจำเจ

การสัมภาษณ์ยังเอ่ยถึงความท้าทายของ Netflix ในช่วงแรกหลังแพ็กเกจโฆษณาคั่นออกสู่ตลาด นั่นคือฝั่งแบรนด์มองว่าราคาโฆษณาของบริษัทค่อนข้างจะแพงเกินไป ซึ่ง Gorman ตอบเรื่องนี้ว่า ทางบริษัทมองสตรีมมิ่งเป็นแพลตฟอร์ม ‘พรีเมียม’ ในการลงโฆษณา เพราะสล็อตในการโฆษณามีไม่มาก และบรรยากาศแวดล้อมในพื้นที่โฆษณานั้นมีความพรีเมียมด้วยความเป็นผู้นำตลาดสตรีมมิ่ง จึงเหมาะที่จะตั้งราคาไว้ค่อนข้างสูง

อีกประเด็นท้าทายที่นักการตลาดกังวลคือ คอนเทนต์ของ Netflix อาจจะไม่สามารถแทรกโฆษณาได้ทุกเรื่อง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับสัญญาทางกฎหมาย ในประเด็นนี้ Gorman ระบุว่าบริษัทมีการต่อรองเจรจาสัญญาใหม่ทุกวัน และจนถึงขณะนี้คอนเทนต์ส่วนใหญ่ 85-95% สามารถลงโฆษณาได้แล้ว

ประเด็นสุดท้ายเป็นความกังวลของนักลงทุนที่มองว่า การเปิดระบบ ad-tier ของ Netflix จะเป็นการกินตลาดตัวเองหรือไม่ เพราะน่าจะทำให้สมาชิกปัจจุบันที่จ่ายในราคาสูงกว่า ยอมลดระดับลงมาจ่ายในแพ็กเกจโฆษณาคั่น และอาจจะลดลงมาเป็นจำนวนมากจนค่าโฆษณาไม่สามารถชดเชยรายได้ที่หายไปได้ทัน Gorman ตอบในเรื่องนี้ด้วยว่า เท่าที่ผ่านมาลูกค้า Netflix ส่วนใหญ่ยังคงจ่ายในแพ็กเกจระดับเดิมที่ตนเองสมัครไว้

อย่างไรก็ตาม Gorman ยังไม่สามารถให้ข้อมูลได้ว่า ad-tier ทำให้บริษัทมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน แต่นักลงทุนจะได้ทราบเร็วๆ นี้หลังจากบริษัทประกาศรายได้ประจำไตรมาส

ปัจจุบัน แพ็กเกจมีโฆษณาคั่นของ Netflix มีให้ใช้งานใน 12 ประเทศ คือ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน อิตาลี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ บราซิล แคนาดา เม็กซิโก ขณะนี้บริษัทยังไม่มีแผนจะเปิดแพ็กเกจนี้ในประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม แต่ในระยะยาวแน่นอนว่าจะมีการขยายตลาดอีก

สำหรับผู้ที่สมัครแพ็กเกจ ad-tier นอกจากจะมีโฆษณาคั่นแล้ว จะมีข้อด้อยอีก 3 ประการคือ คุณภาพวิดีโอจะมีความละเอียดเพียง 720p HD รับชมได้เพียงอุปกรณ์เดียวในเวลาเดียวกัน และไม่สามารถดาวน์โหลดคอนเทนต์ไว้ชมแบบออฟไลน์ได้

Netflix ยังมองแผนการสำหรับแพ็กเกจมีโฆษณาไว้ด้วยว่า จะไม่ได้เปิดโอกาสเฉพาะการลงโฆษณาธรรมดาๆ แต่จะเริ่มมีระบบที่ทำให้นักโฆษณาสามารถลงโฆษณาที่สอดคล้องหรือสัมพันธ์ไปกับเนื้อหา รวมถึงจะมีรายการหรือซีรีส์ที่มีสปอนเซอร์หลักจากแบรนด์ ไปจนถึงมีระบบให้นักโฆษณาเลือกกลุ่มเป้าหมายได้จากเพศและอายุด้วย

Source

]]>
1414791
‘เอเจนซี่โฆษณา’ ในสหรัฐฯ แนะแบรนด์เบรกลงแอดใน ‘Twitter’ เพื่อรอความชัดเจนแพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1406387 Wed, 02 Nov 2022 09:34:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1406387 หลังจากที่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ขึ้นเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม ทวิตเตอร์ (Twitter) ทางมัสก์ก็ได้โละ บอร์ดบริหาร ทั้ง 9 คนพ้นบริษัททันที ด้วยความที่องค์กรปรับทัพใหม่แบบนี้ ทางเอเจนซี่โฆษณาของสหรัฐฯ ก็ได้ออกมาเตือนให้แบรนด์งดลงโฆษณาในทวิตเตอร์ไปก่อน

ย้อนไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตรถยนต์อย่าง General Motors (GM) ได้ระงับการโฆษณาบนทวิตเตอร์ชั่วคราว โดยระบุว่า “เพื่อทำความเข้าใจทิศทางของแพลตฟอร์มภายใต้เจ้าของใหม่” ล่าสุด Interpublic Group ยักษ์ใหญ่ด้านโฆษณาได้แนะนำให้ลูกค้าในหน่วย IPG Media Brands อาทิ นินเทนโด, ยูนิลีเวอร์ ว่าให้ระงับการโฆษณาบนทวิตเตอร์เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังจากการเข้าซื้อกิจการของมัสก์

นอกจากนี้ MAGNA ธุรกิจสื่อภายใต้เว็บ Morning Brew ก็ได้แนะนำลูกค้าว่า แพลตฟอร์มทวิตเตอร์หลังเปลี่ยนมือ ยังไม่ได้สื่อสารโดยตรงและชัดเจนกับเอเจนซี่การตลาด ส่งผลให้สถานการณ์ปัจจุบันนั้น คาดเดาไม่ได้และวุ่นวาย

โดยตั้งแต่ที่มัสก์ปิดดีลได้สำเร็จ แนวโน้มของทวีตเกี่ยวกับการ แบ่งแยกเชื้อชาติและข้อความแสดงความเกลียดชังอื่น ๆ ได้เริ่มสร้างความเสียหายให้กับเครือข่ายในระดับที่สูงกว่าปกติ ตามการวิจัยของ Network Contagion Research Institute และ Dataminr และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ทำให้ผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงหลายคนเลิกใช้งานทวิตเตอร์

อย่างไรก็ตาม Yoel Roth หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยที่ Twitter ได้โพสต์ข้อความบน Twitter เกี่ยวกับวิธีที่บริษัทกำลังต่อสู้กับเรื่องนี้ พร้อมแจงว่า ได้ดำเนินการที่ ลบบัญชีมากกว่า 1,500 บัญชี และลดการแสดงผลในเนื้อหานี้จนเกือบเป็นศูนย์ ส่วนมัสก์เขามีแนวคิดที่จะ “จัดตั้งสภาควบคุมเนื้อหาผ่านมุมมองที่หลากหลาย”

Source

]]>
1406387
สรุป ‘โฆษณาดิจิทัล’ ปี 64 พร้อมประเมินปี 65 เทรนด์ ‘วิดีโอ’ ยังแรง ด้าน ‘TikTok’ โตพุ่ง 654% https://positioningmag.com/1379147 Fri, 25 Mar 2022 06:51:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379147 สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ The Digital Advertising Association of Thailand (DAAT) ร่วมกับ คันทาร์ (ประเทศไทย) สำรวจมูลค่าเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลเป็นประจำทุกปี ซึ่งในรายงานการวิจัยชิ้นล่าสุดได้เก็บข้อมูลเม็ดเงินโฆษณาตามความเป็นจริงบนสื่อดิจิทัลประจำปี 2564 จาก 42 เอเยนซี่พันธมิตร โดยแบ่งเป็น 59 ประเภทอุตสาหกรรม และ 16 ประเภทสื่อดิจิทัล อีกทั้งทำการคาดการณ์การใช้เม็ดเงินสำหรับปี 2565

โฆษณาดิจิทัลปี 65 โต 9%

ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโฆษณาของประเทศไทยมีเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลโดยรวมเพิ่มขึ้นสะสมในอัตราเติบโต 27.5% ในทุก ๆ ปี สำหรับปี 2564 ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 แต่เม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลก็สามารถเติบโตถึง 18% มีมูลค่ากว่า 24,766 ล้านบาท โดยเติบโตขึ้นกว่า เท่าตัว เมื่อเทียบกับปี 2563 และในปี 2565 นี้ สมาคมฯ คาดการณ์ว่าเม็ดเงินจะเติบโตประมาณ 9% มีมูลค่าประมาณ 27,040 ล้านบาท

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตคือ พฤติกรรมการใช้ Social Media, e-commerce และ Online Entertainment อื่น ๆ เช่น การเล่นเกม และ e-sport ขณะที่แบรนด์เองมีการโยกเม็ดเงินโฆษณาจากสื่อดั้งเดิมไปสู่สื่อดิจิทัล โดยจะเริ่มเห็นว่าแบรนด์ต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลที่หลากหลายขึ้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างมี engage ได้ดีขึ้น แบรนด์เห็นประโยชน์จากสื่อดิจิทัลทั้งการสร้าง awareness และ conversion อีกทั้งยังสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

“แม้ว่าการใช้งานดิจิทัลของคนไทยแพร่หลาย มีแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เข้ามา แต่ก็ยังมีเรื่องเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ สถานการณ์โควิด ภาวะสงครามในช่วงต้นปี ที่อาจทำให้แบรนด์ชะลอตัวช่วงต้นปีทำให้การเติบโตไม่ถึง 2 หลัก” ภารุจ ดาวราย อุปนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าว

Facebook ครองแชมป์ แต่ TikTok แรงไม่แผ่ว

Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์ม อันดับหนึ่ง ที่แบรนด์ต่าง ๆ เลือกใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลทั้งหมด คิดเป็น 32% ตามมาด้วย YouTube คิดเป็นสัดส่วน 17% และ โซเชียล (Social) คิดเป็นสัดส่วน 9% ของเม็ดเงินลงทุนบนสื่อดิจิทัล

ที่น่าสนใจคือ Online Video (เช่น แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่าง ๆ) ที่มีอัตราการเติบโตอย่างมาก จากที่เคยอยู่ใน อันดับ 8 แต่ในปีที่ผ่านมาสามารถขึ้นมาอยู่ อันดับ 5 โดยคาดว่าปี 65 จะเติบโตอีกกว่า 45% ขึ้นเป็น อันดับ 3 แซงหน้าโซเชียล ในขณะที่ TikTok ก็การเติบโตอย่างก้าวกระโดดที่กว่า 654% และมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตเพิ่มอีก 26% ในปี 65

อีกส่วนที่มาแรงคือ e-commerce และ การตลาดแบบช่วยขาย (Affiliated Marketing) แม้จะมีสัดส่วนที่น้อยอยู่เมื่อเทียบกับเม็ดเงินทั้งหมดที่ลงทุนอยู่ในสื่อดิจิทัล แต่ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าปี 65 การเติบโตของ 2 กลุ่มนี้จะสูงมาก คือเพิ่มขึ้น 58% และ 41% ตามลำดับ

“ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา การเติบของ Online Video สูงถึง 150% ซึ่งตอนนี้เข้าไปอยู่ในทุกทัชพอยต์ ทั้งแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง หรือแม้แต่ซูเปอร์แอปต่าง ๆ และที่น่าสนใจคือ แบรนด์เริ่มใช้เงินกับ e-commerce มากขึ้น เพื่อมุ่งเน้นไปที่การปิดการขาย”

นอกจากนี้ การเติบโตของโฆษณาดิจิทัลคือ Influencers หรือ KOL เพราะไม่ใช่แค่รีช แต่ยังได้เอ็นเกจเมนต์หรืออาจจะสามารถปิดการขายได้ โดยปีนี้คาดว่าการเติบโตในปี 65 จะอยู่ที่ประมาณ 19% และส่วนใหญ่จะมาจาก Micro และ Nano Influencers ที่น่าจับตาคือ Virtual Influencer ที่อาจนำไปต่อยอดสู่ Metaverse ได้อีกด้วย

Top 5 อุตสาหกรรมใช้งบสูงสุดยังเหมือนปี 2020

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีเม็ดเงินลงทุน มากที่สุดอันดับหนึ่ง (2,897 ล้านบาท) ตามมาด้วย กลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ที่เติบโตถึง 34% (2,680 ล้านบาท) สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม 3 กลุ่มที่เหลือได้แก่ กลุ่มการสื่อสาร (2,581 ล้านบาท), กลุ่มสกินแคร์ (2,162 ล้านบาท) และ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (1,657 ล้านบาท)

ในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราเติบโตสูงที่สุด คือ กลุ่มวิตามินและอาหารเสริม คือกลุ่มที่เติบโตมากขึ้นอย่างชัดเจน จากเดิมที่อยู่ อันดับที่ 19 ในปี 2563 ขึ้นมาอยู่เป็น อันดับที่ 8 ในปี 2564 นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจออนไลน์ หรือ E-Commerce ก็เติบโตจากปี 2563 มากกว่า 100%

“ยานยนต์ครองแชมป์ตั้งแต่ปี 2017 มีแค่ปี 2020 ที่ลดลง -3% แต่มาปี 2021 เริ่มมีค่ายรถจากจีนเข้ามา รวมถึงเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่ยังให้เม็ดเงินอุตสาหกรรมยานยนต์กลับมาเติบโตอีกครั้ง และแน่นอนว่าที่กลุ่มวิตามินโตก็เพราะโควิด ที่ทำให้คนดูแลสุขภาพมากขึ้น ขณะที่ตลาดก็ใหญ่ทำให้แบรนด์แข่งขันสูงเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาด”

แม้จะมีการคาดการณ์ว่าเม็ดเงินจะเติบโตได้ 9% นั้น มีโอกาสที่จะเติบโตได้ 2 หลักหากปัจจัยภายนอกไม่ว่าจะเป็นสงคราม การระบาดของโควิดเริ่มดีขึ้น ดังนั้น อาจต้องทำการประเมินอีกทีในช่วงกลางปี แต่จากการเติบโตของเม็ดเงินตลอด 10 ปีนี้ มีโอกาสที่เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลอาจจะแซง ‘ทีวี’ ในอนาคตอีกไม่ไกล

]]>
1379147
แบรนด์เตรียมตัว! ‘Facebook’ เล็ง “ห้ามกำหนดเป้าหมายโฆษณา” ในกลุ่ม ‘ละเอียดอ่อน’ https://positioningmag.com/1361428 Wed, 10 Nov 2021 15:41:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361428 บริษัท Meta หรือ Facebook ได้มีแผนที่จะจำกัดความสามารถของผู้โฆษณาในการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ ในหมวดหมู่ที่ละเอียดอ่อนบางประเภทโดยเริ่มในปีหน้า โดยจะลบ “การกำหนดเป้าหมายโดยละเอียด” ออกหลายพันรายการเพื่อกำหนดเป้าหมายโฆษณาไปยังผู้ใช้เฉพาะในหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น สุขภาพ เชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ ความเกี่ยวพันทางการเมือง ศาสนา และรสนิยมทางเพศ

การโฆษณาที่ตรงเป้าหมาย ถือเป็นจุดแข็งธุรกิจโฆษณาดิจิทัลของบริษัทมาอย่างยาวนาน แต่เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ Facebook เผชิญกับข้อวิจารณ์ที่อนุญาตให้มีการกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสูง เช่น อนุญาตให้ผู้โฆษณา นำโฆษณาที่เหยียดผิวไปส่งยังผู้ใช้บนแพลตฟอร์มของตน

Graham Mudd รองประธาน Meta (FB) ฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับโฆษณา กล่าวว่า การลบหัวข้อการกำหนดเป้าหมายดังกล่าวเป็น “การตัดสินใจที่ยากลำบาก” แต่ก็เพื่อ “ป้องกันไม่ให้ผู้ลงโฆษณาใช้ตัวเลือกการกำหนดเป้าหมายที่มีให้ในทางที่ผิด”

แม้หลังจากการประกาศเมื่อวันอังคาร แต่ก็ยังมีหมวดหมู่การกำหนดเป้าหมายโดยละเอียดอื่น ๆ อีกหลายพันหมวดหมู่ที่ไม่ถือว่ามีความละเอียดอ่อน เช่น ผู้ใช้ที่สนใจฟุตบอลหรือหมวดหมู่ทั่วไป เช่น อายุ เพศ และสถานที่ ที่ผู้โฆษณาจะยังใช้งานได้ ซึ่งสามารถทำให้มีความเป็นไปได้ที่คำสัมผัสจะถูกใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายผู้ชมกลุ่มเดิมที่เคยเข้าถึง โดยใช้คำหลักที่ละเอียดอ่อน

“เราเชื่ออย่างยิ่งว่าประสบการณ์การโฆษณาที่ดีที่สุดนั้นได้รับการปรับให้เป็นส่วนตัว ผู้โฆษณาจะมีตัวเลือกอื่น ๆ สำหรับการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ เช่น การนำโฆษณาไปยังผู้ที่มีส่วนร่วมกับเพจหรือวิดีโอของพวกเขา

การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลทั่วโลกกับแอป Facebook, Instagram และ Messenger โดยในวันที่ 19 มกราคม 2022 ผู้โฆษณาจะไม่สามารถเลือกคำหลักจากหมวดหมู่ที่ละเอียดอ่อนสำหรับแคมเปญโฆษณาได้อีกต่อไป และในเดือนมีนาคม แคมเปญที่มีอยู่ซึ่งอาศัยคำหลักดังกล่าวจะไม่ทำงานอีกต่อไป

นอกจากนี้ Meta ยังมีแผนที่จะให้ ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการเห็นโฆษณาในแต่ละประเภทได้ดีกว่าเดิม โดย Graham Mudd กล่าวว่า “วันนี้ ผู้คนสามารถเลือกดูโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การเลี้ยงดู แอลกอฮอล์ และสัตว์เลี้ยงน้อยลง และต้นปีหน้า เราจะให้ผู้คนควบคุมเนื้อหาโฆษณาประเภทต่าง ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงการพนันและการลดน้ำหนัก และอื่น ๆ”

ทั้งนี้ มีการสังเกตว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่บริษัทกำลังเผชิญกับการตรวจสอบหลังจากที่เอกสารภายในของ Facebook ถูกเปิดเผยให้เห็นว่าทาง Facebook ไม่สนใจความปลอดภัยของผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม ซึ่งมันได้กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท

และก่อนหน้านี้ Facebook ได้ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะ หยุดใช้ซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า ที่สามารถจดจำผู้คนในรูปภาพและวิดีโอบนแอป Facebook ได้โดยอัตโนมัติ (แม้ว่าบริษัทอาจยังคงใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวในผลิตภัณฑ์อื่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการกำหนดเป้าหมายโฆษณาจะมีผลกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของ Meta แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าบริษัทจะใช้กฎเดียวกันกับแพลตฟอร์มในอนาคตหรือไม่ เนื่องจากบริษัทดำเนินการตามแผนที่จะสร้าง ‘metaverse’ ซึ่งเป็นเวอร์ชันใหม่ของอินเทอร์เน็ตโดยใช้ VR และ AR

Source

]]>
1361428
ไขข้อข้องใจ ‘Mobile Ad’ ยังเวิร์กไหม ในยุคที่คนใช้แต่แอปฯ เดิม ๆ https://positioningmag.com/1327383 Fri, 09 Apr 2021 06:29:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327383 แน่นอนว่าในยุคที่ทุกคนใช้สมาร์ทโฟน ก็คงจะได้พบเจอกับโฆษณาอยู่ในทุก ๆ วันที่เปิดหน้าจอ ไม่ว่าจะมาจากแอปโซเชียลมีเดีย หรือแอปฯ ที่ดาวน์โหลดมาใช้ฟรี ๆ แต่ในยุคที่คนเราใช้งานอยู่แค่ไม่กี่แอปฯ ต่อวัน โฆษณาเหล่านี้จะได้ผลจริงหรือ? นี่คงเป็นคำถามที่หลายคนคงสงสัย ซึ่งทาง คุณนพพล ธรรมรักขิต ผู้อำนวยการของบริษัท คอลลี่ (Cauly) ในเครือวายดีเอ็ม (ประเทศไทย) ดิจิทัลเอเจนซีด้าน Mobile App User Acquisition จะมาอธิบายให้ฟัง

3 ช่องทางหลักโฆษณาบน Mobile Apps

คุณนพพลอธิบายว่า จริง ๆ แล้วโฆษณาบนโมบายแอปฯ จะมีอยู่ 3 ช่องทางหลัก ได้แก่

1.Social Media เช่น Facebook ที่เวลาเราไถฟีดมักจะเจอกับโฆษณาเกม

2.App Store Search

3.Mobile Ad Networks หรือแบนเนอร์โฆษณาที่ไปฝังอยู่ในแอปฯ ต่าง ๆ อย่างแอปฯ ที่ใช้ฟรีก็จะมีโฆษณามาคั่น

คุณนพพลอธิบายต่อว่า การใช้ Mobile Ad Networks เป็นเหมือนการปืนใหญ่ที่ยิงหาผู้บริโภคได้ในจำนวนมาก แน่นอนว่าปัจจุบันผู้บริโภคอาจจะใช้งานอยู่ไม่กี่แอปฯ ในชีวิตประจำวัน แต่จริง ๆ แล้ว Mobile Ad Networks แทรกซึมไปตั้งแต่ตอนดาวน์โหลดแอปฯ แล้ว ดังนั้น จำนวนแอปฯ ที่ใช้ในแต่ละวันไม่ใช่ประเด็น แต่เป็นความถี่ในการใช้โมบายที่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็นโฆษณา แต่สุดท้าย เป้าหมายไม่ใช่จำนวนคนเห็นแอด แต่เป็นจำนวนดาวน์โหลด ซึ่งข้อดีของการโฆษณาบน Mobile Apps คือผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้ทันที

“ที่ผ่านมาลูกค้า 99% ต้องการให้การันตี และ 99% ก็ล้มเหลว เพราะเราไม่สามารถการันตีได้ว่าจะมีคนเห็นกี่คน แต่เราสามารถประเมินผลจากคุณภาพของตัวแอปฯ ได้ โดยเจ้าของแอปฯ ต้องรู้ว่าผู้ใช้ 1 คนสร้างเงินให้แอปฯ กี่บาท เพื่อจะนำเงินมาเป็นตัวเซตต้นทุนมาร์เก็ตติ้ง แล้วมาดูว่าใช้ช่องทางไหนดีที่สุด”

นพพล ธรรมรักขิต ผู้อำนวยการของบริษัท คอลลี่ (Cauly) ในเครือวายดีเอ็ม (ประเทศไทย) ดิจิทัลเอเจนซีด้าน Mobile App User Acquisition

Mobile Ad เหมาะกับใคร

โมบายแอปฯ ที่ใช้งาน Mobile Ad ส่วนใหญ่ก็คือ ‘แอปฯ ที่ต้องการยูสเซอร์’ ซึ่งกลุ่มที่ซีเรียสที่สุดในการโกยคนก็คือ ‘เกม’ เพราะเขาพัฒนาเกมมาเพื่อจะทำเงิน ดังนั้น เกมจะเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่ใช้งาน Mobile Ad อีกส่วนก็คือ ‘อีคอมเมิร์ซ’ นอกนั้นอาจจะไม่ได้รู้สึกว่าการเพิ่มยูสเซอร์เป็นสิ่งที่ต้องทุ่มเงินขนาดนั้น แค่ใช้สื่ออื่น ๆ ที่มีในมือก็พอแล้ว ดังนั้น ลูกค้าของคอลลี่ราว 90% เป็นบริษัทเกม

“อย่างค่ายเกมจีนจะทุ่มตลาดมาก เน้นขายเร็ว พอทำกำไรได้จุดหนึ่งก็พอ ขนเกมใหม่มาทำตลาด ขณะที่ค่ายเกมฝั่งยุโรปจะใช้เงินน้อยกว่า เน้นการ Track ประสิทธิภาพของเม็ดเงินที่ลงไป แต่ที่เหมือนกันทุกที่ก็คือ เขาจะไม่หวังทำเงินจากเกม ๆ เดียวตลอดไป”

แม้การระบาดของ COVID-19 จะทำให้ตลาดเกมเติบโตมาก เพราะคนว่าง แต่เชื่อว่าจะได้เห็นผลกระทบครึ่งหลังปีนี้ เพราะเป็นเรื่องเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคไม่มีเงิน ‘เติมเกม’ ดังนั้น เกมก็ได้รับผลกระทบแต่อาจจะช้ากว่าที่อื่น

การ ‘โกง’ ปัญหาใหญ่ Mobile Ad

อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้เกิดการ ‘โกง’ (Fraud) โดยใช้ ‘Bot’ ดาวน์โหลดแอปฯ ทำให้เจ้าของแอปฯ ต้องเสียเงินค่าแอดฟรี ๆ ดังนั้น คอลลี่จึงพัฒนาระบบ Anti-Fraud พร้อมทั้งคัดคุณภาพของผู้ใช้งาน (ไม่ใช่แค่โหลดแต่เล่นจริง) นอกจากนี้ คอลลี่ยังมี Mobile App Network กว่า 12,000 แอปฯ ทั่วโลก ทำให้คู่แข่งในตลาดของคอลลี่มีไม่มาก และอีกจุดแข็งคอลลี่คือ อยู่ในเครือวายดีเอ็ม (ประเทศไทย) ทำให้สามารถมีบริการที่ครบวงจร อาทิ การจัดหาอินฟลูเอนเซอร์ในการทำแคมเปญ

“ความท้าทายของเรา คือ เทคโนโลยีที่ต้องพัฒนาให้ทันกับความคาดหวังของลูกค้า และชาเลนจ์หลัก ๆ เรื่องการเติบโต เพราะการเติบโตของตลาดเกมอาจจะชะงักจากที่ปี 2020 เติบโต 50%”

ปัจจุบัน คอลลี่มีการทำ Campaign ให้กับลูกค้าในไทยไปแล้วกว่า 500 campaign ภายในระยะเวลา 3 ปี โดย 70% เป็นลูกค้าไทย 30% เป็นลูกค้าต่างชาติ

]]>
1327383
Facebook ขู่บล็อกไม่ให้ชาวออสซี่ “แชร์ข่าว” บนแพลตฟอร์ม ปมรัฐบาลเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ https://positioningmag.com/1294872 Tue, 01 Sep 2020 04:13:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294872 จากช่วงต้นปีที่รัฐบาลออสเตรเลียยกระดับแรงกดดัน เตรียมออกกฎหมายบีบให้บริษัทเทคยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Google ต้องแบ่งส่วนรายได้ค่าโฆษณาให้กับผู้ผลิตคอนเทนต์สื่อท้องถิ่น ล่าสุด Facebook ออกมาเตือนแล้วว่าถ้ารัฐยังไม่ถอย แพลตฟอร์มจะจัดการบล็อกไม่ให้บริษัทสื่อและบุคคลใดในออสเตรเลียโพสต์หรือแชร์ข่าวบน Facebook รวมถึง Instagram

“วิล อีสตัน” กรรมการผู้จัดการ Facebook ประจำประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แถลงผ่านบล็อกโพสต์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ว่า คณะกรรมาธิการแข่งขันทางการค้าออสเตรเลีย (ACCC) “ละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญ” ในการดำเนินการออกกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่ว่านี้รวมถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างโซเชียลมีเดียกับบริษัทสื่อ

“รัฐบาลออสเตรเลียกำลังร่างกฎระเบียบที่เข้าใจพลวัตของอินเทอร์เน็ตอย่างผิดๆ และจะสร้างความเสียหายให้กับองค์กรสื่อท้องถิ่นที่รัฐพยายามจะปกป้อง” อีสตันกล่าว

“ถ้าหากร่างกฎหมายนี้ถูกบังคับใช้จริง เราจำต้องหยุดการอนุญาตให้บริษัทสื่อและบุคคลใดในออสเตรเลียโพสต์หรือแชร์ข่าว ไม่ว่าจะเป็นข่าวท้องถิ่นหรือข่าวสากล บนแพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram” เขากล่าวต่อ “นี่ไม่ใช่ทางเลือกแรกของเรา นี่เป็นทางเลือกสุดท้ายที่เราจะทำ แต่เป็นทางเดียวที่จะป้องกันผลลัพธ์อันไร้ตรรกะ และจะสร้างความเสียหายมากกว่าความช่วยเหลือไปยังบริษัทสื่อออสเตรเลียในระยะยาว”

 

Facebook : เราส่งยอดคลิกเข้าเว็บไซต์ให้ ‘ฟรี’ มาตลอด

ต้นเรื่องของการวางแผนแบนการแชร์ข่าวจากสำนักข่าวบน Facebook นี้ มาจากการที่บริษัทสื่อท้องถิ่นของออสเตรเลียเข้าหารือกับรัฐบาลว่า แพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Google นำคอนเทนต์ของสื่อท้องถิ่นไปใช้งานและได้รับค่าโฆษณามหาศาล แต่สื่อท้องถิ่นกลับได้ส่วนแบ่งกลับมาน้อยมาก สุดท้ายทาง ACCC สั่งการให้กลุ่มบริษัทเทคฯ ร่างระเบียบให้ส่วนแบ่งรายได้อย่างสมัครใจ แต่ก็ไม่เป็นผล ทำให้รัฐบาลเดินหน้าร่างกฎหมายเพื่อ “บังคับ” แทน

ในร่างกฎหมายที่กำลังพิจารณากันอยู่นั้น นอกจากจะมีเรื่องส่วนแบ่งรายได้แล้ว กฎหมายจะกำหนดให้ Google และ Facebook ต้องแจ้งบริษัทสื่อผู้ผลิตคอนเทนต์ทราบถึงนโยบายการเปลี่ยนอัลกอริธึมล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง และจะมีบทลงโทษหากไม่ทำตาม ทั้งสองบริษัทต่างต่อต้านในประเด็นนี้อย่างแข็งขัน โดยทาง Facebook กล่าวว่า กฎนี้จะทำให้บริษัทสื่อในออสเตรเลียได้เปรียบบริษัทสื่อประเทศอื่นอย่างไม่ยุติธรรม

(Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

อีสตันยังกล่าวอีกว่า “คอนเทนต์ข่าว” เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่ผู้ใช้ Facebook มองเห็นบน News Feeds และเป็นส่วนที่ “ไม่ใช่แหล่งที่มารายได้ที่สำคัญ” ของบริษัท

ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2020 แพลตฟอร์ม Facebook ได้ส่งจำนวนการคลิกถึง 2,300 ล้านครั้งเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของบริษัทในอุตสาหกรรมสื่อออสเตรเลีย โดยไม่ได้เก็บค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่ทราฟฟิกเข้าเว็บไซต์ จำนวนดังกล่าวจะคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

 

Google ขึ้นกล่อง pop-up โต้กลับ

เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Google มีจดหมายเปิดผนึกออกมาตอบโต้ร่างกฎหมายนี้เช่นกัน โดยการใส่กล่อง pop-up บนหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ตนเองในออสเตรเลีย ข้อความว่า “การใช้งาน Google ของชาวออสซี่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง” และระบุว่าระเบียบข้อบังคับนี้จะสร้างความเสียหายต่อประสบการณ์การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

กล่อง pop-up ของ Google เพื่อโต้กลับรัฐบาลออสเตรเลีย

“กฎหมายนี้เป็นการให้สิทธิพิเศษแก่บริษัทสื่อขนาดใหญ่ และส่งเสริมให้พวกเขาสร้างข้อเรียกร้องมหาศาลที่ไร้เหตุผล ทำให้บริการฟรีของเราเกิดความเสี่ยงขึ้น” เป็นถ้อยแถลงโต้กลับของ Google

ACCC ตอบกลับจดหมายของ Google ว่า Google ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน และเสริมว่า “ภาคธุรกิจสื่อที่แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่จะดำเนินไปได้ดี”

ช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจสื่อในออสเตรเลียได้รับผลกระทบหนักหน่วงยิ่งขึ้นจาก COVID-19 ทำให้บริษัทสื่อใหญ่หลายๆ แห่งต้องลดเงินเดือนพนักงาน และบริษัทหนังสือพิมพ์บางส่วนต้องหยุดพิมพ์ชั่วคราวเนื่องจากรายได้ค่าโฆษณาที่ร่วงลงอย่างรุนแรง บริษัทดังกล่าวรวมถึง News Corp องค์กรสื่อยักษ์ระดับโลกของเศรษฐี “รูเพิร์ต เมอร์ด็อก” ด้วย

Source

]]>
1294872
“ทรัมป์” เดินเกมดิจิทัล ทุ่มซื้อโฆษณาบนโฮมเพจ YouTube หวังโกยเสียงเลือกตั้งอีกครั้ง https://positioningmag.com/1265434 Fri, 21 Feb 2020 11:42:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265434 “ทรัมป์” เริ่มใช้กลยุทธ์โฆษณาออนไลน์กระหน่ำหาเสียงเลือกตั้งอีกครั้ง หลังประสบความสำเร็จจนได้ขึ้นเป็น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เเละมีโอกาสที่จะได้ดำรงตำเเหน่งต่อเป็นสมัยที่ 2

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ทีมหาเสียงของประธานาธิบดี “โดนัลด์ ทรัมป์” ได้ทุ่มเงินซื้อพื้นที่โฆษณาบนหน้าเว็บไซต์โฮมเพจของ YouTube เเพลตฟอร์มวิดีโอชื่อดัง สำหรับช่วงต้นเดือน พ.ย.ที่จะถึงนี้

ผลวิจัยของ Pew Research Center ระบุว่า ตามปกติการใช้จ่ายโฆษณาดิจิทัลมักมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายไปยังผู้ชมเฉพาะกลุ่ม แต่การโฆษณาบนหน้าโฮมเพจของ YouTube นั้นเป็นเหมือนกับการโฆษณาทางทีวีในช่วงที่มีการแข่งขันซูเปอร์โบว์ลเลยทีเดียว เพราะชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่กว่า 75% บอกว่าพวกเขาใช้ YouTube มากกว่าใช้ Facebook เสียอีก

ดังนั้นจึงเป็นการการันตีว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ จะได้เห็นการโฆษณาผลงานและนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ก่อนจะตัดสินใจลงคะเเนนเสียงเลือกตั้ง ในวันที่ 3 พ.ย.นี้อย่างเเน่นอน นอกจากนี้ทีมหาเสียงของทรัมป์ยังได้ซื้อโฆษณาดิจิทัลตามอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศด้วย

สำหรับการโฆษณาบนโฮมเพจของ YouTube นั้นปกติจะเป็นวิดีโอที่จะเเสดงตลอดทั้งวัน โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาเเละงบที่ซื้อโฆษณา ซึ่งในกรณีของประธานาธิบดีทรัมป์นั้นไม่ชัดเจน เเต่เคยมีการประเมินว่าพื้นที่โฆษณาเหล่านี้มีราคาตั้งแต่หลายแสนดอลลาร์ไปจนถึงมากกว่า 1 ล้านดอลาร์ต่อวัน

YouTube เป็นเเพลตฟอร์มในเครือของ Alphabet Inc. บริษัทเเม่ของกูเกิล ตามปกติเเล้วจะช่วยให้ผู้โฆษณาสามารถกำหนดเป้าหมายในการโฆษณากับกลุ่มผู้ใช้งานได้โดยอิงกับปัจจัยต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้กูเกิลออกนโยบายจำกัดโฆษณาการเมือง โดยจะไม่แสดงโฆษณาการเมืองที่ระบุเป้าหมายด้วยเพศ อายุ ศาสนา สถานที่ในทุกช่องทางทั้งการค้นหา เเละใน YouTube รวมถึงโฆษณาที่ปรากฏบนเว็บไซต์ภายนอกที่เป็น Google Ads ด้วย แต่โฆษณาการเมืองทั่วไปที่ระบุกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีสิทธิโหวต ยังคงแสดงต่อไปได้

ด้าน YouTube ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นกับรายงานข่าวนี้ แต่ก็กล่าวว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้โฆษณาทางการเมืองที่จะซื้อโฆษณาด้านบนสุดบนหน้าโฮมเพจ

การเคลื่อนไหวด้านโฆษณาดิจิทัลของทรัมป์ครั้งนี้ ตอกย้ำสิ่งที่นักวิเคราะห์มองว่าการโฆษณาดิจิทัลของทรัมป์ทำให้เขาได้เปรียบเหนือคู่แข่งพรรคเดโมเเครต โดยแคมเปญต่างๆ ของประธานาธิบดีทรัมป์อาจใช้งบมากถึง 500 ล้านดอลลาร์ในด้านโฆษณาและกลยุทธ์ดิจิทัล

 

ที่มา : Trump Ads Will Take Over YouTube’s Homepage on Election Day

]]>
1265434