โฆษณาหลอกลวง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 07 Jul 2023 13:32:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เพจปลอม” เต็มไปหมด! เปิดกลโกง “มิจฉาชีพ” ปลอมเป็นบริษัทใหญ่-นักธุรกิจดัง “หลอกลงทุน” https://positioningmag.com/1437108 Fri, 07 Jul 2023 08:44:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437108 ชีวิตอยู่ยากเมื่อ “มิจฉาชีพ” พัฒนากลโกงได้แนบเนียนขึ้นเรื่อยๆ มุกล่าสุดที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วอินเทอร์เน็ตคือ สร้าง “เพจปลอม” เป็นเพจของบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียง หรือนักธุรกิจนักลงทุนชื่อดัง แล้วยิงโฆษณาเชิญชวนให้มาลงทุนผ่านบริษัท รับผลตอบแทนสูง แต่สุดท้ายเหยื่อจะถูกเชิดเงินหนี

โฆษณาเชิญชวนให้มาร่วมลงทุนกับบริษัทใหญ่ๆ แพร่กระจายเต็มโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น AMATA-อมตะ คอร์ปอเรชั่น, GULF-กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์, SANSIRI-แสนสิริ, AURORA-ร้านทองออโรร่า ฯลฯ มาพร้อมชื่อและรูปของผู้บริหารบนโฆษณาเสริมความน่าเชื่อถือ

เนื้อหาโฆษณาชวนลงทุนมุ่งเป้าไปที่คนที่สนใจด้านการเงิน การลงทุน ซื้อหุ้น ต้องการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ด้วย “คีย์เวิร์ด” ต่างๆ เช่น

  • ลงทุนวัยเกษียณ
  • กองทุนเพื่อผู้สูงอายุ
  • เปลี่ยนชีวิตด้วยการลงทุน
  • มือใหม่ก็ลงทุนได้
  • เป็นเจ้าของบริษัทร่วมกัน
  • ร่วมเป็นเจ้าของโครงการใหม่ที่บริษัทกำลังจะลงทุน
เพจปลอม หลอกลงทุน
ตัวอย่างเพจปลอม AMATA
เพจปลอม หลอกลงทุน
ตัวอย่างเพจปลอม GULF

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดล้วนเป็น “เพจปลอม” จากมิจฉาชีพที่ทำเลียนแบบเพจจริงของบริษัท บางเพจสร้างมาอย่างแนบเนียนด้วยการใช้ชื่อที่เหมือนหรือคล้ายคลึงมาก และคัดลอกโพสต์จากเพจจริงมาลงในเพจปลอมของตัวเองเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นเพจคู่แฝด ทำให้เหยื่อหลงเชื่อได้ง่ายขึ้น

เพจปลอม หลอกลงทุน
แจ้งเตือนระวังมิจฉาชีพจาก “แสนสิริ” และ “ออโรร่า”

 

กลโกงมิจฉาชีพ “หลอกลงทุน” แล้วเชิดเงิน

Positioning รวบรวมข้อมูลจากเหยื่อหรือผู้ที่เกือบตกเป็นเหยื่อของเพจปลอมเหล่านี้ พบขั้นตอนที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง คือ

1.เมื่อมีผู้หลงเชื่อและแสดงความสนใจ เพจปลอมจะส่งข้อความมาทักทาย และส่งลิงก์ให้แอดไลน์เพื่อคุยกับโค้ชการลงทุน

2.ในไลน์จะมีการแนะนำตนเองว่าเป็น “โค้ช” หรือ “ผู้ช่วย” ในการลงทุน โดยส่งรูปที่ตัดต่อให้เชื่อว่าเป็นพนักงานของบริษัทนั้นๆ มาด้วยเพื่อให้ตายใจ

3.“โค้ช” จะเริ่มเสนอโปรแกรมการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง และยิ่งลงทุนมากขึ้นก็จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น ลงทุน 1,000 บาท ได้เงินปันผล 30% และไต่ระดับขึ้นไปถึงลงทุน 100,000 บาท ได้เงินปันผล 95% และจะจ่ายให้ทุกสัปดาห์

4.เมื่อผู้ที่สนใจตกลง “โค้ช” จะส่งเลขที่บัญชีมาให้เพื่อให้โอนเงินลงทุน สังเกตว่าชื่อบัญชีการลงทุนจะเป็นชื่อบุคคลธรรมดา

5.หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ โค้ชจะแสดงผลว่าขณะนี้ได้ผลตอบแทนตามที่แจ้ง โค้ชจะชักชวนให้ลงทุนเพิ่มอีก

6.แต่ถ้าเมื่อใดที่ผู้ลงทุนต้องการจะถอนเงินออกมา จะต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้บริษัทโดยต้องโอนเงินเพิ่มเติม

7.เมื่อโอนเงินค่าคอมมิชชั่นแล้ว ผู้ลงทุนจะกลายเป็น “เหยื่อ” โดยสมบูรณ์ เพราะโค้ชของบริษัทปลอมจะไม่โอนเงินคืนให้ บล็อกไลน์ และติดต่อไม่ได้อีกเลย

เห็นได้ว่าจริงๆ แล้วรูปแบบการหลอกลวงไม่ต่างจากที่เคยมีมามากนัก แต่ที่ต่างไปคือต้นทางการชวนเหยื่อเข้ามา มีการสร้างเพจปลอมบริษัทขนาดใหญ่เพื่อความน่าเชื่อถือ สร้างตัวตนพนักงานบริษัทปลอมเพิ่มน้ำหนัก ทำให้เหยื่อตายใจได้ง่าย

 

จับพิรุธ “มิจฉาชีพ” แก๊งเพจปลอม

เพจปลอมเหล่านี้แพร่ระบาดอย่างหนักและทุกคนมีสิทธิตกเป็นเหยื่อ ดังนั้น เราขอแนะนำวิธีจับพิรุธเพจปลอม ดังนี้

1.หากพบโฆษณาชวนลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติ เช่น ลงทุน 1,000 บาท รับผลตอบแทน 30%, การันตีปันผล 3-5% ทุกสัปดาห์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพ

2.ชื่อเหมือน โลโก้เหมือน ไม่ได้แปลว่าเป็นเพจจริง!! โปรดตรวจสอบประวัติของเพจที่ลงโฆษณา
– คลิกไปที่ เกี่ยวกับ (About) > ความโปร่งใสของเพจ (Page Transparency) > ดูทั้งหมด (See All) > ประวัติ (History)
หากเพจนั้นมีประวัติเคยเปลี่ยนชื่อจากเพจอื่น หรือเป็นเพจที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อเร็วๆ นี้ และ/หรือแอดมินที่ดูแลเพจอาศัยอยู่ต่างประเทศ แสดงว่าเป็นเพจปลอม

หลอกลงทุน
ตัวอย่างการเช็กเพจปลอม พบว่าเปลี่ยนชื่อมาจากเพจอื่น และผู้ดูแลเพจไม่ได้อยู่ประเทศไทย

3.หากมีการแจ้งให้โอนเงินลงทุนไปที่บัญชีบุคคลธรรมดา ไม่ใช่บัญชีบริษัท ไม่ควรโอนเงิน

4.ค้นหาเบอร์โทรศัพท์สำนักงานของบริษัทนั้นๆ ด้วยตนเอง เพื่อโทรฯ สอบถามเรื่องโฆษณาการลงทุน

 

ถ้าหากพบเบาะแสเพจปลอมหลอกลงทุนหรือถูกหลอกไปแล้ว สามารถแจ้งได้ 2 ช่องทาง คือ

  • ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.) โทรฯ 1441
  • ศูนย์บริการประชาชน ก.ล.ต. โทรฯ 1207 กด 2

ทุกวันนี้ใครๆ ก็ต้องการให้เงินทำงานและมองหาการลงทุน ทำให้มิจฉาชีพมีโอกาสแทรกตัวเข้ามาล่อตาล่อใจได้โดยง่าย ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อ ต้องเช็กให้ชัวร์ก่อนทุกครั้งว่าคุณกำลังโอนเงินไปสร้างความมั่งคั่งให้คนอื่นอยู่หรือเปล่า

อ่านเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1437108
โดนอีก! “ออสเตรเลีย” ฟ้อง Facebook ข้อหาปล่อยให้มี “โฆษณาหลอกลวง” อ้างชื่อคนดัง https://positioningmag.com/1379846 Thu, 31 Mar 2022 04:40:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379846 “ออสเตรเลีย” เดินหน้าฟ้องร้อง Meta บริษัทแม่ของ Facebook ข้อหาปล่อยให้สแกมเมอร์ยิง “โฆษณาหลอกลวง” ให้ลงทุนบนแพลตฟอร์ม โดยแอบอ้างใช้ชื่อคนดังออสซี่ เหยื่อบางรายสูญเงินคิดเป็นเงินไทยถึง 16 ล้านบาท

คณะกรรมการการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC) หน่วยงานกำกับควบคุมผู้ยื่นฟ้องมองว่า ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Meta มีส่วนเกี่ยวข้องในการ “กระทำการหลอกลวง ฉ้อฉล ให้ข้อมูลที่ผิด” โดยเจตนา จากการอนุญาตให้โพสต์ชวนลงทุนสกุลเงินคริปโตที่มีลักษณะหลอกลวง สามารถทำการโฆษณาบนแพลตฟอร์มได้

บทลงโทษของบริษัทอเมริกันรายนี้น่าจะเป็นการปรับเงินจำนวนหนึ่ง หรืออาจมีบทลงโทษอื่นๆ เพิ่มเติม

Meta ยังไม่ให้ความเห็นใดๆ แต่ก่อนหน้านี้บริษัทเคยกล่าวมาแล้วว่า บริษัทจะดูแลไม่ให้มีสแกมเมอร์ใช้งานแพลตฟอร์ม

ACCC กล่าวว่า โฆษณาที่มีปัญหาบน Facebook มีการใช้อัลกอริธึมเพื่อหาเป้าหมายที่หลงเชื่อได้ง่าย และมีการใช้โควตคำพูดปลอมจากคนดังของออสเตรเลียเพื่อชักจูงใจ

คนดังออสซี่ที่ถูกนำชื่อและหน้าไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น Mike Baird อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐนิวเซาธ์เวลส์, David Koch พิธีกรชื่อดัง, Dick Smith เศรษฐีนักธุรกิจ

“แก่นหลักในการฟ้องคดีนี้คือ Meta ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับโฆษณาที่ปรากฏบนแพลตฟอร์ม” Rod Sims ประธาน ACCC กล่าว

Photo : Shutterstock

คดีนี้ถูกฟ้องร้องผ่านศาลรัฐบาลกลางแห่งออสเตรเลีย ยื่นข้อกล่าวหาว่า Meta กระทำการให้โฆษณาโดยทราบดีว่าเป็นโฆษณาหลอกลวง รวมถึงไม่สามารถป้องกันการหลอกลวงได้ ถึงแม้ว่าคนดังที่ถูกแอบอ้างชื่อจะคัดค้านการโฆษณาแล้ว

“มีกรณีตัวอย่างหนึ่งคือ ผู้บริโภครายหนึ่งสูญเงินไปกว่า 650,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 16.2 ล้านบาท) เพราะหลงเชื่อสแกมเมอร์ที่โฆษณาโอกาสการลงทุนปลอมบน Facebook สิ่งนี้ถือว่าเป็นการกระทำเสื่อมเกียรติ” Sims กล่าว

ไม่ใช่แค่คดีนี้คดีเดียวที่ Meta ถูกฟ้อง เมื่อเดือนก่อน Andrew Forrest มหาเศรษฐีอันดับ 2 ของออสเตรเลียก็ฟ้องร้องบริษัทเทคแห่งนี้เช่นกัน จากการปล่อยให้มีโฆษณาปลอมที่ใช้ภาพของเขาหลอกลวง และคดีของ Forrest ฟ้องร้องในคดีอาญาด้วย โดยใช้กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงิน จะต่างกับ ACCC ที่ใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปกป้องผู้บริโภค

Meta หรือ Facebook ในขณะนั้น ยังคงมีคดีพัวพันในชั้นศาลกับออสเตรเลีย ในคดีข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนออสเตรเลียราว 3 แสนคนถูกละเมิดเมื่อปี 2018 ซึ่งเกี่ยวพันกับบริษัท Cambridge Analytica ล่าสุดเดือนนี้เองศาลชั้นอุทธรณ์ก็ยังคงยืนตามศาลชั้นต้นว่า Facebook มีความผิดฐานเก็บข้อมูลส่วนตัวและนำไปเผยแพร่ต่อให้บุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต

รายได้ของ Meta ในปี 2021 ทำเงินจากค่าโฆษณาทั่วโลกไปกว่า 1.15 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 3.83 ล้านล้านบาท

Source

]]>
1379846