โซลาเซลล์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 03 Dec 2024 12:30:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ญี่ปุ่น’ ปักเป้าผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ 20 กิกะวัตต์ เทียบเท่าการใช้ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 20 เครื่อง https://positioningmag.com/1501813 Tue, 03 Dec 2024 10:01:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1501813 นับตั้งแต่ปี 2554 ที่ ญี่ปุ่น เจอกับภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เกิดจากแผ่นดินไหว และสึนามิ ซึ่งส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าพลังงาน 90% ทำให้ญี่ปุ่นเริ่มมุ่งเน้นไปที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยนวัตกรรมใหม่ เพอร์รอฟสไกต์

ล่าสุด รัฐบาลญี่ปุ่น วางแผนที่จะ ผลิตไฟฟ้าประมาณ 20 กิกะวัตต์ ภายในปี 2583 ซึ่งเทียบเท่ากับผลผลิตของ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 20 เครื่อง ผ่านเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด เพอร์รอฟสไกต์ (perovskite solar cell) ซึ่งมีจุดเด่นที่ความเบาบาง ยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อเทียบกับเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วไป

เนื่องจากญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากชิลีในการผลิต ไอโอดีน ซึ่งเป็นวัสดุหลักสําหรับการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์เพอร์อฟสไกต์ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมองว่า เซลล์แสงอาทิตย์ชนิด เพอร์รอฟสไกต์รุ่นต่อไปจะเป็นกุญแจสําคัญในการขยายการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 

สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอร์รอฟสไกต์ ถือเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในขณะนี้ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต และมีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานไฟฟ้าที่สูงเทียบเท่าเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน

อีกข้อดีของเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทเพอรอฟสไกต์คือ ด้วยความบางเบาและยืดหยุ่น ทำให้มีศักยภาพในการติดตั้งที่ยืดหยุ่นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นผนังและหน้าต่างของอาคาร รถยนต์ เครื่องบินและโดรน เซ็นเซอร์ IoT รวมถึงสมาร์ทโฟน ฯลฯ 

ทั้งนี้ บริษัทอย่าง Sekisui Chemical Co กําลังทํางานเกี่ยวกับการนําเซลล์แสงอาทิตย์ perovskite ไปขายในเชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะเปิดตัวเทคโนโลยีตัวเต็มภายในปี 2573 เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวยังมีความท้าทายหลายอย่างที่ยังคงต้องเอาชนะ เช่น อายุการใช้งานที่สั้น เนื่องจากความทนทานของเซลล์ที่ไม่ดีและการลดต้นทุน

ปัจจุบัน การผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของญี่ปุ่นมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของภาพรวมทั่วโลก ซึ่งลดลงจากประมาณ 50% ในปี 2547 เนื่องจาก จีน ได้ขึ้นแท่นเป็น ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนจะส่งออกเซลล์แสงอาทิตย์ perovskite ในอนาคต หลังจากส่งเสริมเทคโนโลยีในฐานะพลังงานหมุนเวียนที่สําคัญในประเทศ

Source

]]>
1501813
มองโอกาสตลาด ‘โซลาร์เซลล์ไทย’ ที่อาจมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้าน! https://positioningmag.com/1437465 Tue, 11 Jul 2023 09:15:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437465 ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการใช้ พลังงานสะอาด เช่นเดียวกันกับประเทศไทย ที่หลายคนเจอกับ ค่าไฟ แสนแพง ทำให้เริ่มตื่นตัวกับพลังงานจาก แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ หลายคนคงสงสัยแล้วตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยนั้น ใหญ่ ขนาดไหน และมีโอกาสให้สอดแทรกอย่างไรได้บ้าง

มองสถานการณ์พลังงานสะอาดโลก

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) มองว่า ปีนี้กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นราว 1 ใน 3 เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคงทางพลังงาน และภาครัฐที่บังคับใช้นโยบาย โดย พลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม จะเป็น ตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้พลังงานสะอาดขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ กำลังผลิตพลังงานทดแทนทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 107 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยคาดว่าในปีหน้ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะแตะ 4,500 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งเทียบเท่ากับกำลังการผลิตไฟฟ้าของจีนและสหรัฐอเมริการวมกัน

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า โซลาร์เซลล์ จะเพิ่มขึ้นราว 2 ใน 3 และคาดว่าจะยังมีการเติบโตต่อเนื่องในปี 2024 เนื่องจากราคาค่าไฟของโลกเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้ผู้คนเริ่มหันมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขณะที่ พลังงานลม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 70% ในปี 2023 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

โซลาร์เซลล์ไทยมีเพียง 3,000 เมกะวัตต์

สำหรับสถานการณ์ด้านพลังงานสะอาดของไทยนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ ประธานที่ปรึกษา สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) ปัจจุบันไทยมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าใหม่กรอบปี 2018-2025 อยู่ที่ 20,343 เมกะวัตต์ เป็นส่วนแบ่งของ โซลาร์เซลล์ 3,000 เมกะวัตต์ มากสุดในกลุ่ม ตามด้วย กังหันลม 1,500 เมกะวัตต์

ส่วนกรอบปี 2018-2037 จะมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าใหม่ 56,431 เมกะวัตต์ เป็นส่วนแบ่งของพลังงานสะอาดรวมโซลาร์เซลล์และกังหันลม 18,833 เมกะวัตต์

“เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เฉลี่ยวัตต์ละ 80 บาท แต่ปัจจุบันเหลือ 10 บาทเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลที่แนวโน้มมีแต่จะสูงขึ้น ดังนั้น ต่อไปไม่มีทางจะหนีพ้นการใช้พลังงานสะอาด และไม่มีอะไรจะชนะพลังงานแสงอาทิตย์และลมได้”

โอกาสมากกว่า 60,000 ล้านบาท

ไววิทย์ อุทัยเฉลิม กรรมการบริหาร บริษัท ซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ครบวงจร กล่าวว่า หากนับเฉพาะแผนการผลิตพลังงานของไทย (Power Development Plan : PDP) ที่ต้องการผลิตพลังงานสะอาดให้ได้แตะ 20,000 เมกะวัตต์ คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท ดังนั้น ตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยจะมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านแน่นอน

อย่างในส่วนภาค ครัวเรือน มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ติดโซลาร์เซลล์ อย่างเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีครัวเรือนกว่า 3 ล้านหลัง แต่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ ไม่ถึง 10% แต่ภายใน 3 ปีจากนี้ คาดว่าสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 20% เพราะผู้บริโภคมีความตื่นตัวมาก หลังจากที่ค่าไฟสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงนโยบายจากทางภาครัฐก็มีการสนับสนุน และธนาคารก็มีการให้กู้เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วย

“ตอนนี้เดเวลอปเปอร์ก็หันมาติดโซลาร์เซลล์ในโครงการกันหมด มีโปรโมชันใช้ไฟฟรีเพื่อดึงดูดลูกค้า และต่อไปการติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็จะเหมือนมือถือ ที่มีราคาถูงลงเรื่อย ๆ ดังนั้นตลาดยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก”

ผนึกทงเวย โซลาร์ เบอร์ 1 ของโลก

สำหรับ ซันเดย์ โซลาร์ ล่าสุดได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในไทยแต่เพียงรายเดียวของ ทงเวย โซลาร์ แบรนด์ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaic: PV) ชนิดผลึกซิลิคอนรายใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติจีน ปัจจุบัน ทงเวย เป็นหนึ่งในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศจีน โดยในปี 2022 มีผลประกอบการรวมประมาณ 783,241 ล้านบาท

ทงเวย มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ 6 แห่งในประเทศจีน ได้แก่ เหอเฟย, ซวงหลิว, เหม่ยซาน, จินถัง, เหยียนเฉิง, หนานทง และที่โครงการทงเหอ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์แผงโซลาร์เซลล์ (modules) ไปยัง 48 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีเหมืองซิลิคอนที่สามารถซัพพลายผนึกซิลิคอนให้กับบริษัทผู้ผลิต PV ชั้นนำ อาทิ Jinko, JA, Cannadian, LONGI, Trina, เป็นต้น

ปัจจุบัน ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ครบวงจรในไทยมีประมาณ 15-20 บริษัท เฉพาะบริษัทที่มีพาร์ตเนอร์เป็นบริษัทใหญ่แบบทงเวยมีไม่ถึง 5 บริษัท ดังนั้น การแข่งขันจึงไม่ได้สูง โดย ซันเดย์ โซลาร์ จะจับลูกค้าองค์กรเป็นหลัก เช่น กลุ่มผู้รับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ลูกค้าธุรกิจ ผู้ประกอบกิจการ โรงงาน สถานประกอบการ และโครงการอสังหาริมทรัพย์

โดยในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้ 2,000 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ตั้งเป้า 3 ปี มีรายได้รวม 5,000 ล้านบาท และภายใน 5 ปีตั้งเป้าโกยรายได้ 10,000 ล้านบาท โดยบริษัทมีแผนจะรุกตลาดอีวีด้วย อาทิ หัวชาร์จอีวีชาร์จเจอร์ แบตเตอรี่สำหรับรถและโรงงานไฟฟ้า

“เราจะทำหมดเดี่ยวกับพลังงานสะอาด อย่างตลาดอีวีเราก็จะไปแน่แต่ไม่ได้ไปทำสถานีชาร์จ แต่จะนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์แทน”

]]>
1437465
‘ION’ จับโอกาสธุรกิจโซลาร์ ดีลเเบรนด์อสังหาฯ บุกตลาด ‘ครัวเรือน-องค์กรเล็ก’ ทุนน้อย https://positioningmag.com/1370724 Fri, 21 Jan 2022 14:51:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370724 เทรนด์ของ ‘พลังงานหมุนเวียน’ กำลังได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก ด้วยเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น รัฐบาลประเทศต่างๆ องค์กรทั้งหลาย ต่างมุ่งสู่นโยบาย ‘Net Zero’ หน่วยงานขนาดใหญ่เริ่มปฏิรูปการใช้พลังงานรูปแบบดั้งเดิมไปสู่พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประชาชนผู้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย และองค์กรขนาดกลาง-ขนาดย่อม ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากราคาอุปกรณ์และการติดตั้งยังมีต้นทุนสูง

จาก Pain Point ของผู้บริโภคเหล่านี้ ทำให้ ‘ไอออน เอนเนอร์ยี่’ หรือ ION บริษัทจัดหาโซลูชันพลังงานโซลาร์ครบวงจรในกลุ่มบางกอกเคเบิ้ล ผู้ผลิตสายไฟฟ้ารายใหญ่ในประเทศไทย มองเห็นโอกาสตลาด เปิดตัวโมเดลธุรกิจใหม่ ให้กลุ่มผู้ใช้รายย่อย ภาคครัวเรือน และองค์กรธุรกิจ เข้าถึงพลังงานสะอาดได้ ด้วยการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปโดย ‘ไม่มีค่าใช้จ่าย’ ในการจัดซื้ออุปกรณ์และค่าติดตั้ง

โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบ Private PPA ที่ลูกค้าจ่ายเพียงค่าใช้ไฟตามจริงด้วยราคาที่ต่ำกว่าการไฟฟ้า 20-50% เเละเมื่อครบสัญญา 15 ปีก็จะได้รับโอนแผงโซลาร์ให้กับผู้ใช้ไฟฟรี ทำให้สามารถใช้ไฟได้ฟรีไปได้อีก 10 ปี หรือตลอดอายุการใช้งาน

บุกตลาด ‘รายย่อย’ ด้วยข้อเสนอติดตั้งฟรี 

“ตอนนี้ยังไม่มีผู้เล่นรายใหญ่ลงมาลงเล่นในตลาดเล็กมากนัก เพราะโฟกัสกับโปรเจกต์ใหญ่ (3MW ขึ้นไป) มากกว่า ซึ่งนับเป็นโอกาสของเราที่จะเข้าเจาะตลาดรายย่อย เน้นงานที่อยู่อาศัย ดีลกับภาคอสังหาฯ รวมถึงบริษัทขนาดเล็กเเละขนาดกลาง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาดให้ได้มากที่สุด” พีรกานต์ มานะกิจ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด กล่าว

สำหรับรูปแบบการให้บริการของไอออน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้เเก่

  • Private PPA

ติดตั้งโซลาร์ฟรี ผ่านสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เหมาะกับองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีค่าไฟตั้งแต่ 500,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป โดยที่ ION จะให้บริการจัดหาและติดตั้งแผงโซลาร์และระบบสายไฟฟ้า รวมถึงเชื่อมต่อการให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ให้กับผู้ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งลูกค้าจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแค่ในส่วนของค่าไฟฟ้าที่ใช้จริงในแต่ละเดือนเท่านั้น

ทั้งนี้ค่าไฟฟ้าจากการใช้บริการแบบ PPA นี้จะมีราคาต่ำกว่าการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าขั้นต่ำประมาณ 20-50% (ขึ้นกับขนาดการติดตั้ง) โดย ION จะทำสัญญาการใช้ไฟฟ้ากับลูกค้าเป็นระยะเวลา 15 ปี เมื่อครบสัญญาลูกค้าจะสามารถใช้ไฟฟ้าได้ฟรีไปอีกถึง 10 ปี หรือตามอายุของแผงโซลาร์ ซึ่งปัจจุบันมีอายุการใช้งานขั้นต่ำ 25 ปี

  • EPC

เป็นการให้บริการในรูปแบบ “รับเหมา” ออกแบบ จัดหา และติดตั้งระบบโซลาร์ให้กับลูกค้า ด้วยการบริการแบบมืออาชีพ และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมการขออนุญาตกับหน่วยงานรัฐ สามารถติดตั้งได้ทุกขนาดตั้งแต่ 1.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป เหมาะสำหรับบ้านเดี่ยว ภาคครัวเรือนและโครงการอสังหาริมทรัพย์ เช่นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม โฮมออฟฟิศ รวมไปถึงองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ธุรกิจโซลาร์ เติบโตเร็ว 

สำนักวิจัยธนาคารกรุงไทยได้คาดการณ์ว่า ธุรกิจโซลาร์ภาคเอกชนแบบ PPA จะเติบโตขั้นต่ำ 30% ต่อปีหรือเติบโต 13.4 เท่า ภายใน 10 ปี จากปี 2563 ที่มีอยู่ 670 เมกะวัตต์ เป็น 9,000 เมกะวัตต์ในปี 2573

สำหรับผลงานในปี 2564 บริษัทได้ทำการติดตั้งโซลาร์โซลูชันให้ลูกค้าไปแล้วกว่า 400 โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 5 เมกะวัตต์ ซึ่งเน้นเจาะตลาดลูกค้าติดตั้งโซลาร์ขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ มีทั้งลูกค้ากลุ่ม PPA และ EPC ทั้งภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และบ้านเดี่ยว ยกตัวอย่างเช่น บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) โรงแรมเดอะสแตนดาร์ด หัวหิน บริษัทโรงงานแม่รวย (ผู้ผลิตและจำหน่ายถั่วลิสง “โก๋แก่”) รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอีกหลายแห่ง

ในปีนี้ ION ตั้งเป้าหมายเจาะกลุ่มลูกค้าควบคู่กันทั้งธุรกิจโซลาร์ภาคประชาชนทั้งแบบ PPA และ EPC คาดว่าจะมีโครงการติดตั้งใหม่รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 25 เมกะวัตต์ หรือเป็นการติดตั้งราว 2,000 โครงการ รวมมูลค่าโครงการ 625 ล้านบาท แบ่งเป็น PPA จำนวน 15 เมกะวัตต์ และ EPC จำนวน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งจะประกอบไปด้วยลูกค้าภาคครัวเรือนและบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ “พร้อมตั้งเป้าหมายในระยะยาวให้มีสัดส่วนลูกค้า PPA 70% และ EPC 30%”

ด้านเป้าหมายการเติบโตในระยะ 5 ปี นับจากปี 2565-2570 จะมีการติดตั้งโซลาร์โซลูชันกำลังการผลิตไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นมูลค่าโครงการ 3,750 ล้านบาท สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมโซลาร์

โดยรายได้หลักของ ION ส่วนใหญ่จะมาจาก ‘ส่วนลดค่าไฟ’ เเละข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุนการผลิตที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับระยะเวลาการใช้งาน

เปิดเเพลตฟอร์มให้ใช้ได้หลายๆ เเบรนด์ 

อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ แอปพลิเคชั่น solar monitoring & payment platform ซึ่งพัฒนามาเพี่อรองรับไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานในปัจจุบัน ที่สามารถตรวจสอบการทำงานของระบบโซลาร์ ทั้งการผลิตและการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงกำลังการใช้ไฟฟ้า และยังสามารถชำระค่าไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชันได้ด้วย

ในอนาคตจะพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบ IoT เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เเละ เปิดระบบให้ใช้ได้กับหลากหลายเเบรนด์ทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะการติดตั้งของ ION เท่านั้น

ลุยจับมือเเบรนด์อสังหาฯ พร้อมกลยุทธ์บอกต่อ 

เมื่อถามถึงกลยุทธ์การตลาดที่จะทำให้พลังงานโซลาร์ครบวงจรให้เข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นนั้น ผู้บริหาร ION ตอบว่า

ในส่วนของกลุ่มที่อยู่อาศัย จะเน้นไปที่การจับมือกับเเบรนด์อสังหาฯ ทั่วประเทศ เพื่อเสนอเเพ็กเกจราคารวมการติดตั้งให้สำหรับบ้านใหม่

ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัยที่เป็น ‘บ้านเก่า’ จะมุ่งทำการตลาดโดยสื่อสารกับรายย่อยมากขึ้น อย่างการโปรโมตเเละให้ความรู้ผ่านสื่อโซเชียล รวมไปถึงจะมีการนำสินค้าไปโชว์ตามโมเดิร์นเทรดเพื่อให้ลูกค้าได้เห็นของจริง

ด้านธุรกิจขนาดเล็กเเละขนาดกลาง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ บริษัทจะใช้กลยุทธ์ ‘ป่าล้อมเมือง’ ไม่จำกัดเฉพาะหัวเมืองใหญ่ เเต่จะไปรอบนอกก่อน ด้วยการส่งทีมที่ปรึกษาไปหาลูกค้าเอง

นอกจากนี้ ยังมีกลยุทธ์บอกต่อเเบบ ‘ปากต่อปาก’ โดยจะมีการให้ค่าเเนะนำสำหรับผู้ที่บอกเพื่อน ญาติมิตรหรือคนรู้จักที่ใช้ค่าไฟตั้งแต่ 500,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปมาติดตั้งโซลาร์เเบบ PPA กับบริษัทด้วย

“การเจาะตลาดกลุ่มผู้ใช้รายย่อย โดยเฉพาะการติดตั้งตามที่อยู่อาศัย ถือเป็นตลาดที่คู่แข่งบริษัทขนาดใหญ่ไม่สนใจลงมาแข่งขัน เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้มีข้อจำกัดด้านเงินทุน ซึ่งหากสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนให้เป็นพลังงานสะอาดได้ ก็จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมหาศาล”

 

]]>
1370724