โทรทัศน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Apr 2022 12:53:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตลาดหด! ทีวี LG ไตรมาสแรกกำไรร่วง 93% พ้นระยะล็อกดาวน์ คนอยู่หน้าจอน้อยลง https://positioningmag.com/1383099 Wed, 27 Apr 2022 09:53:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383099 ธุรกิจจอแสดงผลของ LG กำไรไตรมาส 1/2022 หดตัวเกือบ 93% เนื่องจากดีมานด์ลดลง เมื่อการล็อกดาวน์ผ่อนคลาย ทำให้ความต้องการทีวี จอคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก ลดตามไปด้วย รวมถึงราคาจอยังลดลง 7-11% ช่วงที่เหลือของปีบริษัทตั้งใจบุกหนักทีวี OLED เกาะตลาดไฮเอนด์ที่โตได้ดีกว่า

LG Display Co. ผู้ผลิตจอแสดงผลรายใหญ่ของเกาหลีใต้ โดยผลิตทั้งโทรทัศน์ และจอคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2022 ของบริษัท รายได้ร่วงลง 6% เทียบกับไตรมาสแรกปีก่อน โดยทำรายได้ไปเพียง 6.5 ล้านล้านวอน (ประมาณ 1.76 แสนล้านบาท)

ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานลดฮวบอย่างหนัก จากช่วงเดียวกันปีก่อนทำได้ 5.23 แสนล้านวอน (ประมาณ 1.42 หมื่นล้านบาท) ลดไปถึง 93% เหลือเพียง 38,300 ล้านวอนเท่านั้น (ประมาณ 1,040 ล้านบาท)

สาเหตุมาจากดีมานด์ที่น้อยลงหลังโรคระบาดคลี่คลาย การล็อกดาวน์จบลงทำให้คนอยู่หน้าจอน้อยลง ซึ่งส่งผลต่อราคาตลาดของจอแสดงผลที่ถูกกดดันให้ต่ำลงไปด้วย

ข้อมูลจาก WitsView พบว่า ราคาจอแสดงผลลดลงไป 7-11% ในช่วงไตรมาสแรก ยิ่งเป็นกลุ่มโทรทัศน์ยิ่งลดหนัก ทีวี LCD ขนาด 55 นิ้วนั้นราคาลดลงไป 16% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และหากเทียบกับเดือนสิงหาคมปี 2021 ราคาปัจจุบันได้ลดลงไปถึง 47% และเป็นราคาต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่โรคระบาดเพิ่งเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ยังเกิดจากปัญหาการส่งมอบสินค้าด้วย เพราะการระบาดและล็อกดาวน์ในจีนทำให้การส่งมอบชิ้นส่วนล่าช้า

 

หันไปเน้นทีวี “ไฮเอนด์” แทน

ปกติหน้าจอแบบ LCD จะคิดเป็นสัดส่วน 60% ของรายได้รวม LG Display ส่วนอีก 30% มาจากหน้าจอ OLED เทคโนโลยีที่สูงกว่า

ทำให้บริษัทคาดว่า กำไรตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไปน่าจะดีขึ้น เพราะบริษัทจะออกโทรทัศน์เทคโนโลยีใหม่ OLED.EX ซึ่งให้ภาพคมชัดและสีสดมากขึ้นกว่าจะ OLED แบบเดิม

LG ทีวี
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด OLED EX ที่ LG หมายมั่นจะมากู้กำไรคืนได้ในปี 2022

LG มองว่า แม้ตลาดทีวีโดยรวมจะหดตัวลง แต่มีโอกาสรออยู่ในกลุ่มทีวีไฮเอนด์ เพราะตลาดรวมหดตัวไป 10% และตลาดทีวีจอ LCD ถูกเล่นสงครามราคาหนักจากทีวีจีน แต่ทีวีกลุ่มไฮเอนด์ใช้จอ OLED กลับเติบโตมากกว่า 40% ในไตรมาสแรก จากการเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างความต่างในตลาด

ด้านดีลที่ LG กำลังพยายามเจรจาเพื่อเป็นผู้ผลิตจอ OLED ให้กับทีวี Samsung นั้นยังไม่คืบหน้า แต่ว่าโอกาสก็ยังเปิดอยู่ หากทั้งสองบริษัทสามารถเจรจากันได้ลงตัว ดีลนี้ก็อาจเกิดขึ้น

Source: Reuters, Yonhap

]]>
1383099
ผู้เชี่ยวชาญเตือน ‘ทีวี’ จะตายเร็วขึ้นเพราะการมาของ ‘เมตาเวิร์ส’ https://positioningmag.com/1381684 Mon, 18 Apr 2022 09:54:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381684 ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า อุตสาหกรรมโทรทัศน์จะต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกแห่งความบันเทิงออนไลน์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากพวกเขาหวังว่าจะอยู่รอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘เมตาเวิร์ส’ (Metaverse)

ในขณะที่ผู้บริโภคสูงอายุยังคงแต่งงานกับทีวีแบบดั้งเดิม แต่จำนวนผู้ชมในกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปีได้ลดลงเกินกว่าครึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตามของมูลของ Statista และจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อ metaverse พัฒนาขึ้น ทำให้บริษัทด้านคอนเทนต์หลายรายกำลังมุ่งไปที่ ‘เกมออนไลน์’ เพื่อแย่งชิงความสนใจของผู้ชมอายุน้อยและเงินโฆษณาที่จะตามมา รวมไปถึงการเร่งพัฒนา Metaverse ที่จะดึงดูดผู้ใช้หลายล้านคน

“ช่องทีวีกำลังจะตายไปพร้อมกับผู้ชม คนหนุ่มสาวเขาย้ายตัวเองมาอยู่บนสมาร์ทโฟนที่สามารถโต้ตอบได้อย่างเรียลไทม์” เฟรเดอริก คาวาซซา ผู้ร่วมก่อตั้ง Sysk บริษัทฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลกล่าว

เพื่อเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น ผู้แพร่ภาพกระจายเสียงจะต้องแข่งขันกับแพลตฟอร์มเกมอย่าง Roblox, Fortnite และ Minecraft ซึ่งถูกมองว่าเป็นต้นแบบของ metaverse โดยบริษัทวิจัยสื่อ Dubit ระบุว่า ครึ่งหนึ่งของเด็กอายุ 9-12 ปีในสหรัฐอเมริกาใช้ Roblox อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งทำทุกอย่างตั้งแต่เล่นเกม ดูคอนเสิร์ต ไปจนถึงไปเที่ยวกับเพื่อน

“มีผู้ชมกว่า 33 ล้านคนดูแร็ปเปอร์ Lil Nas X แสดงบน Roblox ในปี 2020 ซึ่งมากกว่าสามเท่าของจำนวนที่คนที่ดูเขาทางทีวีที่ Grammys ในสัปดาห์นี้”

Matthew Warneford ผู้ร่วมก่อตั้ง Dubit กล่าวว่า ผู้แพร่ภาพกระจายเสียงต้องเลือกว่าจะยึดติดกับตลาดที่หดตัวลงสำหรับรายการโทรทัศน์แบบเดิม ๆ หรือเริ่มนำตัวละครและแบรนด์ของตนมาสู่แพลตฟอร์ม metaverse

“มันหมายถึงการนำผู้คนเข้าสู่โลก ทำให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว เล่นเคียงข้างเพื่อนของพวกเขา เช่นเดียวกับที่ดิสนีย์แลนด์อนุญาตให้คุณและเพื่อนของคุณอยู่ในโลกของพวกเขากับมิกกี้เมาส์”

ทีวียังพอมีเวลาปรับตัว แต่ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ เพราะตอนนี้คนวัยกลางคนที่เปลี่ยนไปใช้สตรีมมิ่ง และคนหนุ่มสาวที่ต้องการความบันเทิงแบบอินเทอร์แอคทีฟและโซเชียล ซึ่งถ้าทีวีอยากอยู่รอด จะต้องวางตำแหน่งตัวเองในทุกการใช้งานเหล่านี้

อีกความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือเรื่อง เงิน โดยรายได้จากโฆษณาของช่องทีวีกำลังลดลง แม้จะไม่ได้หดหายเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์ก็ตาม ตอนนี้อาจจะยังยากที่จะโยกโฆษณาจากทีวีไปสู่โลกของเกม แต่ด้วยขอบเขตที่เปิดกว้างของ metaverse แบรนด์ต่าง ๆ จะมีพื้นที่มากขึ้นในการโปรโมตตัวเองและขายสินค้าให้กับผู้ใช้โดยตรง อาทิ แบรนด์แฟชั่นและสินค้าหรูหราทำยอดขายเสื้อผ้าและเครื่องประดับเสมือนจริงบน Roblox, Fortnite และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้แล้ว

Source

]]>
1381684
ปัญหาขาดแคลนชิปทำ ‘ทีวี’ ราคาพุ่ง 30% ส่วน ‘Ps5’ ขาดตลาดยาวถึง 2022 https://positioningmag.com/1332674 Tue, 18 May 2021 08:22:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332674 โทรทัศน์, แล็ปท็อป และแท็บเล็ตเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงที่ COVID-19 ระบาด เนื่องจากผู้คนทำงานและเรียนผ่าน Zoom, คุยกับเพื่อน ๆ ผ่าน Skype และใช้ Netflix เพื่อบรรเทาอาการเบื่อ แต่การขาดแคลนชิปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นนั้นทำให้ ราคาของดีไวซ์พุ่งสูงขึ้น โดยเริ่มจาก ‘ทีวี’

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ราคาของทีวีระดับตัว Top พุ่งขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับปีที่ผ่านมาตามรายงานของบริษัทวิจัยตลาด NPD การที่ราคาพุ่งอย่างก้าวกระโดดเป็นผลโดยตรงจากวิกฤตชิปขาดแคลนในปัจจุบันและเป็นการตอกย้ำว่าปัญหามีความซับซ้อนมากกว่าการเพิ่มกำลังการผลิต

ปัญหาดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณว่าดีไวซ์อื่น ๆ อาจมีราคาสูงขึ้นตาม ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อป, แท็บเล็ต และชุดหูฟัง VR โดย ‘Asus’ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชาวไต้หวันกล่าวว่าการขาดแคลนส่วนประกอบอาจหมายถึง การปรับขึ้นราคาที่สูงขึ้นไปอีกขั้น ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค

SEOUL, SOUTH KOREA – 2020/11/13: People wearing masks exit a PlayStation Store in Seoul. (Photo by Simon Shin/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

Michael Hurlston ซีอีโอของ Synaptics ซึ่งเป็นบริษัทขายวงจรสำหรับควบคุมหน้าจอสัมผัสให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มั่นใจว่า “ราคาจะสูงขึ้นอย่างแน่นอน” สำหรับส่วนประกอบเหล่านี้ เพราะบริษัทเห็นการขึ้นราคาของส่วนประกอบอื่น ๆ จากบริษัทอื่น

ด้าน Sony ได้เปิดเผยว่า PlayStation 5 จะยังคงขาดตลาดไปจนถึงปี 2022 เนื่องจากปัญหาดังกล่าว โดยบริษัทระบุว่าส่วนประกอบบางอย่างได้เห็นยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในผลิตภัณฑ์จำนวนนับไม่ถ้วนซึ่งปกติราคา 50 เซ็นต์ แต่ตอนนี้ขายได้มากถึง 70 เหรียญ ซึ่งผู้ผลิตวงจรจอแสดงผลจะรู้สึกถึงผลกระทบเป็นอันดับแรก

“คำที่ฉันได้ยินเมื่อไม่นานมานี้คือ สินค้าคงเหลือหมดลงแล้ว ดังนั้นราคาใหม่เที่เพิ่มขึ้นจะกระทบต่อร้านค้าปลีกและการบริโภคของผู้บริโภค” Peggy Carrieres รองประธานของ AVNet ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กล่าว

Photo : shutterstock

ก่อนหน้านี้ ผลกระทบได้เกิดกับผู้ผลิตรถยนต์ที่ต้องหยุดการผลิตเพราะขาดแคลนชิป ขณะที่มีอีกหลายปัญหาที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายแล้งในไต้หวัน ที่กระทบต่อผู้ผลิตชิปในประเทศเพราะน้ำถือเป็นส่วนสำคัญในการผลิต นอกจากนี้มีเหตุไฟไหม้ในเดือนมีนาคมที่ต้องปิดโรงงานในญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตส่วนประกอบเซมิคอนดักเตอร์หลายชนิดรวมถึงวงจรรวมจอแสดงผล

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดว่า ปัญหาการขาดแคลนชิปอาจกินเวลานานกว่าหนึ่งปี ซึ่งปัญหาการขาดแคลนดังกล่าวได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรม รวมถึงผลกระทบต่อความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสำคัญ ๆ เช่น AI, 5G และเทคโนโลยีทางทหาร

ที่ผ่านมา Intel ผู้ผลิตชิปชั้นนำของสหรัฐฯ ที่พ่ายแพ้ให้กับคู่แข่งอย่าง TSMC ในไต้หวัน และ Samsung ในเกาหลีใต้ แต่ปัจจุบันบริษัทวางแผนที่จะลงทุนอย่างหนักเพื่อความพยายามที่จะกลับมาเป็นผู้นำ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เสนอมาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมชิปของสหรัฐฯ มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตชิปของอเมริกา อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะไม่ช่วยอะไรในสถานการณ์ปัจจุบัน

Source

]]>
1332674
‘พานาโซนิค’ เตรียมจ้าง ‘TCL’ ผลิตทีวี พร้อมยุติการไลน์ผลิตใน ‘อินเดีย-เวียดนาม’ https://positioningmag.com/1330450 Wed, 05 May 2021 04:22:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330450 ‘พานาโซนิค’ บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นกำลังเตรียมการขั้นสุดท้ายภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม สำหรับการร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีน ‘TCL Electronics’ ที่มียอดขายทีวีเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยพานาโซนิคจะจ้างให้ TCL เป็นผู้ผลิต ‘ทีวี’ ขนาดเล็กและกลางภายในปีงบประมาณ 2564

หลังจากที่ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ รายของญี่ปุ่นต่างเจ็บตัวจากธุรกิจทีวี เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงกับคู่แข่งในต่างประเทศ ส่งผลให้พานาโซนิคกำลังวางแผนที่จะปรับปรุงการดำเนินงานด้านการผลิตทีวีให้ลดลงเหลือ 40% ภายในปีงบประมาณ 2567 เนื่องจากตัวเลขรายได้จากฝั่งทีวีของพานาโซนิคติดตัวแดงอยู่

โดยพานาโซนิค วางแผนที่จะลดต้นทุนโดยการจ้าง TCL ผลิตแบรนด์ Viera ในขณะที่บริษัทยังคงผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มระดับไฮเอนด์ เช่น ทีวี LCD และ OLED TV ขนาดใหญ่ เพื่อขายในตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก ทั้งนี้ ด้วยการร่วมมือกับ TCL คาดว่าจะลดการผลิตภายในประจำปีเหลือประมาณ 3.5 ล้านหน่วยซึ่งน้อยกว่าระดับปัจจุบัน 30-40% ซึ่งนี่จะเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจทีวีครั้งใหญ่ครั้งแรกของบริษัท นับตั้งแต่มีการถอนการผลิตในจีนและอเมริกาเหนือในปีงบประมาณ 2558

โรงงานผลิต TV ของ TCL ในจีน ภาพจาก shutterstock

นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนที่จะทบทวนการผลิตที่โรงงาน 7 แห่งทั่วโลกรวมถึงในมาเลเซีย และสาธารณรัฐเช็ก และจะยุติการผลิตในอินเดียและเวียดนามภายในสิ้นปีงบประมาณ 2564 ส่วนโรงงานในอุสึโนมิยะ ซึ่งเป็นฐานการผลิตทีวีแห่งเดียวในญี่ปุ่นจะถูกใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แม้ว่าจะมีทีวี OLED บางรุ่นจะยังคงผลิตอยู่ที่นั่นก็ตาม

ที่ผ่านมา พานาโซนิคจำหน่ายทีวีประมาณ 6 ล้านเครื่องทั่วโลกต่อปี โดยรายงานของบริษัทวิจัย Omdia ของอังกฤษระบุว่า พานาโซนิคอยู่ในอันดับที่ 12 ของการจัดส่งทีวีทั่วโลก โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 1.8% นี่คือการลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากอันดับที่ 4 ในปี 2010 ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 7.9% โดยมียอดขาย 20.23 ล้านเครื่องทั่วโลก

Source

]]>
1330450