AtimeMedia – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 01 Jul 2019 02:59:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กดปุ่ม หมุนคลื่น เจาะที่มาทำไม “วิทยุ” ถึงไม่ตาย https://positioningmag.com/1236907 Mon, 01 Jul 2019 02:19:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1236907 เมื่อกำลังซื้อไม่คงที่ ยอดขายสินค้าลดลง สิ่งที่แบรนด์จะทำจึงเป็นการปรับลดต้นทุน ซึ่งเป้าหมายแรกถูกมุ่งไปที่ลดงบโฆษณาเพราะทำได้ทันที ทำให้หลายปีมานี้ภาพรวมของเม็ดเงินโฆษณาอยู่ในภาวะ “ทรงๆ ทรุดๆ” มาตลอด ขณะเดียวกันยุคดิจิทัลที่กำลังเฟื่องฟูทำให้เงินเทไปยังสื่อชนิดใหม่มากขึ้น ด้วยแบรนด์มองว่าผู้บริโภคอยู่ที่ไหนก็ต้องตามไปหาที่นั้น

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สื่อดั้งเดิมพลอยได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หากจะถามว่าสื่อไหนที่วิกฤตมากที่สุดคงไม่พ้นสิ่งพิมพ์รองลงมาก็ไม่ต้องเดาให้ยุ่งยากวิทยุนั้นเอง ข้อมูลจากนีลเส็นพบว่า ปีมานี้เม็ดเงินโฆษณาหายไปราว 823 ล้านบาท ถึงแม้ว่าปี 2018 ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นมาถึง 7.28% หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 4,802 ล้านบาท ก็ตาม

แต่ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2019 สถานการณ์ก็ใช่ว่าจะดีขึ้น ภาพรวมงบโฆษณาลดลง 1.25% เหลือ 41,000 ล้านบาท ส่วนวิทยุหายไปราว 5% จาก 1,848 ล้านบาท เหลือ 1,758 ล้านบาท จึงไม่ต้องแปลกใจหากช่วงที่ผ่านมาหลายคลื่นจะทยอยหายไปจากหน้าปัด บ้างก็ผันตัวเองไปเป็นคลื่นออนไลน์ก็มี

อ่านต่ออยู่ดีๆ ก็หาย หมุนหาคลื่นไม่เจอ “Get 102.5” ถูกยุบแบบไม่บอกกล่าว

ถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เป็นรายได้หลักจะลดลง แต่บรรดาคลื่นวิทยุต่างก็เชื่อว่าวิทยุไม่มีวันตายด้วยยังมีเสน่ห์ที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไม่สามารถทำแทนได้คือ เพลง ดีเจที่พูดให้ฟังเป็นเพื่อน และข่าวสารต่างๆ ที่อัพเดตให้ฟังทุกชั่วโมง ซึ่งคนยังฟังวิทยุอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางเฉยๆ จากเครื่องรับวิทยุไปอยู่ในรูปแบบอื่น

ยืนยันด้วยข้อมูลจาก สํานักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทชได้ออกรายงานสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงของไทย ประจําเดือนพฤษภาคม 2019 พบว่า

Source : Pixabay/3910743

จํานวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็มจํานวน 40 สถานี (87.5 MHz – 107.0 MHz) จากทุกช่องทาง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบมีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุ ประมาณ 10,211,000 คน ซึ่งเป็นจํานวนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (เมษายน 2019) ประมาณ 125,000 คน

จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ (Radio Listening Behavior) พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ นิยมรับฟังวิทยุที่บ้านถึง 52.18% ตามมาด้วยการรับฟังวิทยุในรถ 40.45% ในที่ทํางาน 7.08% และอื่นๆ 0.29% นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่นิยมรับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุ 72.18% ตามมาด้วยผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ 26.37% และคอมพิวเตอร์ 1.42% อื่นๆ 0.03%

แต่อะไรๆ ก็ไม่แน่ไม่นอนทั้งนั้น ที่ผ่านมารายที่อยู่รอดก็ต้องปรับตัวกันยกใหญ่อย่างเอไทม์” ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาแกรมมี่ ก็ออกมาระบุกลยุทธ์ในปี 2019 ต้องเป็นมากกว่าวิทยุ โดยจะนำรายการยอดฮิตที่อยู่จากหน้าปัด 3 คลื่นนำไปต่อยอดสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ

อ่านต่อถอดสูตร “เอ-ไทม์” ผ่าคลื่นลม “วิทยุ” อันผันผวน หาโอกาสโตในยุคดิจิทัล

จากฝั่งอโศกข้ามมาฝั่งลาดพร้าว แม้ภาพใหญ่ของอาร์เอสจะไดเวอร์ซิฟายตัวเองจากธุรกิจสื่อ ไปสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ธุรกิจวิทยุเองอย่างคลื่นคูลฟาเรนไฮต์ก็ทำอยู่ไม่ได้ทิ้งไปไหน หากก็ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ที่ผ่านมา ปริญญ์ หมื่นสุกแสง กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด ระบุว่า คูลฟาเรนไฮต์ใช้กลยุทธ์ Living Young & Beyond ผ่านการวิเคราะห์ถึง Data ของผู้ฟังเหล่านั้นว่าเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มาช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นตัวเลขของคนที่ฟังจริงๆ มีตัวตนจริงๆ จับต้องได้

ไม่ใช่ตัวเลขที่ไม่รู่ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้สามารถเสิร์ฟความบันเทิงได้ตรงใจ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ฟังไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ในปี 2019 มีผู้ฟังผ่านระบบออนไลน์เดือนละ 49 ล้านครั้ง รับฟังผ่านเว็บไซด์สูงสุด 35 ล้านครั้ง รองลงมาเป็นการรับฟังผ่านระบบ iOS อีกกว่า 11 ล้านครั้งและระบบ Android 3 ล้านครั้ง มีผู้ฟังเฉลี่ยวันละ 1.62 แสนคน ใช้เวลาฟัง 3:40 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน

และผู้ฟังผ่านระบบ iOS ฟังต่อเนื่องนานมากที่สุดถึง 4:24 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน ตลอด 1 เดือน คูลฟาเรนไฮต์สามารถเข้าถึงผู้ฟังมากกว่า 1 พันล้านนาทีทุบสถิติการเข้าถึงผู้ฟังสูงสุด

ซึ่งจากการจัดอันดับของ www.shoutcast.com เว็บไซต์ที่รวบรวมสถานีวิทยุออนไลน์กว่า 90,000 สถานีทั่วโลก พบคูลฟาเรนไฮต์คว้าแชมป์สถานีวิทยุออนไลน์ streaming อันดับ 1 ของเอเชียปี 2018 และ 2019

Basic RGB

นอกจากนี้คูลฟาเรนไฮต์ยังครองแชมป์อันดับ 1 สถานีวิทยุในเมืองไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 ครองใจกลุ่มผู้ฟัง โดยเฉพาะกลุ่ม GEN C ที่มีอายุระหว่าง 20-44 ปี และกลุ่มมิลเลนเนียล หรือ กลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงเวลาที่มีผู้ฟังมากที่สุดในแต่ละวันคือ ช่วงออฟฟิศอาวร์ ตั้งแต่ 9.00-17.00 .

ในปี 2019 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวม เติบโตกว่า 30% และมีส่วนแบ่งการตลาดจากธุรกิจวิทยุกว่า 50% จากข้อมูลของนีลเส็น มีเดียรีเสิร์ช

รายได้และกำไร บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด

  • ปี 2557 รายได้ 454 ล้านบาท กำไร 159 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 461 ล้านบาท กำไร 183 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 426 ล้านบาท กำไร 149 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 342 ล้านบาท กำไร 106 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 32 ล้านบาท กำไร 7 ล้านบาท

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 3 นี้ คูลฟาเรนไฮต์คอนเสิร์ตใหญ่ “COOLfahrenheit presents Raptor Evolution #25ปีไม่มีเกรงใจเอาใจคนที่เติบโตมาในยุค 90 โดยใช้งบกว่า 30 ล้านบาท

]]>
1236907
อนาคต “แกรมมี่” หลังขายหุ้นให้ “ลูกเจ้าสัว” https://positioningmag.com/1137645 Mon, 28 Aug 2017 02:00:36 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137645 ต้องนับเป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญของแกรมมี่ หลังการขายหุ้นเพิ่มทุน สัดส่วน 50% คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ให้กับ “ตระกูลสิริวัฒนภักดี” 

เพราะนี่คือ การ “ปลดเปลื้อง” ลดภาระการลงทุนในธุรกิจมีเดียชิ้นสุดท้าย เพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่การเป็นผู้ผลิตรายการ หรือ “คอนเทนต์ โพรไวเดอร์” เต็มตัว

ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา แกรมมี่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก และบอบช้ำอย่างหนัก จากการพยายามแสวงหาเสาะแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อมาทดแทนขาลงของธุรกิจเพลง ที่ต้องโดนพายุ “ดิจิทัล” ซัดกระหน่ำ

หนึ่งในนั้น คือ ธุรกิจ “เพย์ทีวี” ผ่านดาวเทียม GMMZ ถือเป็นธุรกิจที่ อากู๋-ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เคยหมายมั่นปั้นมือว่าจะเป็นธุรกิจ “ดาวรุ่ง” ดวงใหม่ จึงทุ่มลงทุนไปจำนวนมากทั้งคอนเทนต์ และการจัดจำหน่ายผลิตกล่องดาวเทียม

แต่ปรากฏว่าธุรกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ไม่สามารถสู้กับ “ทรูวิชั่นส์” เจ้าตลาดไม่ได้ จึงต้องแบกรับผลขาดทุนชนิดเลือดสาด หมดไปหลายพันล้าน

แกรมมี่จึงต้องทยอยตัดขายทิ้งธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก และธุรกิจที่ไม่ทำเงิน ต่อเนื่องมาตลอดในช่วง 3-4 ปี

เริ่มตั้งแต่ขายทิ้งหุ้น “มติชน” ที่ถืออยู่ 22% ในราคา เท่าทุนกับที่ซื้อมาในปี 2548 ให้กับกลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ ตามมาด้วยการขายหุ้นในซีเอ็ด ซึ่งทำธุรกิจร้านหนังสือ       

จนในที่สุด อากู๋ ก็ตัดยอมขายทิ้งธุรกิจเพย์ทีวีไปให้กับ CTH ตามมาด้วยธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั้งหมด รวมมูลค่า 45 ล้านบาทให้กับบริษัท ซีทรู จำกัด ของ ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ซีอีโอ ไทยแอร์เอเชีย

รวมทั้งขายหุ้น 50% ที่ถืออยู่ในบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ให้กับบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ของกลุ่มมาลีนนท์

การตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตของแกรมมี่ ก็เพื่อต้องการฝากอนาคตไว้กับ ธุรกิจ “ทีวีดิจิทัล” ที่อากู๋ไปประมูลมาถึง 2 ช่อง คือช่องวันและช่อง GMM 25

ช่องวัน นั้นอยู่ภายใต้การดูแลของ บอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ ที่เคยมีประสบการณ์ และฝากฝีมือจากการผลิตละคร และซิทคอม ป้อนให้กับทีวีช่องต่างๆ มาแล้ว

ส่วนช่อง GMM 25 นั้นมี พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เป็นหัวเรือใหญ่ เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทีน

ถึงแม้แกรมมี่จะมี “หน้าตัก” ในเรื่องของการผลิตคอนเทนต์มาแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ของทีวีดิจิทัลกลับไม่สวยหรูอย่างที่คิด ไหนจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการแย่งชิงเค้กก้อนเล็กลงจากคู่แข่ง 24 ราย พฤติกรรมคนดูก็เปลี่ยนไป ไม่ได้อยู่แค่หน้าจอทีวี และแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ขยายอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แต่ยิ่งนานวัน การแย่งชิงโฆษณายิ่งเข้มข้นขึ้น ยิ่งเศรษฐกิจขาลงด้วยแล้ว แม้แต่ช่องหลักอย่างช่อง 3 และช่อง 7 เอง ก็ยังต้องกุมขมับ ต้องลุกขึ้นมาทำโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ไม่ต้องพูดถึงช่องรองลงมา จะต้อง “จัดหนัก” ขนาดไหน

เมื่อแกรมมี่มีทีวีดิจิทัลในมือถึง 2 ช่อง ก็ยิ่งต้องแบกรับภาระการลงทุนเป็นเท่าตัว ซึ่งแกรมมี่เองก็ไม่ได้มี “สายป่าน” ที่ยาวพอจะทนกับภาวะขาดทุนต่อไปเรื่อยๆ ได้

ช่องวัน แม้เรตติ้งจะติดอยู่อันดับ 5 และ 6 ส่วนช่องจีเอ็มเอ็ม 25 เรตติ้ง อยู่อันดับ 13-14 แต่ก็ยังอยู่ในภาวะยากลำบาก ละครที่เป็นไฮไลต์ แม้จะพยายามลดต้นทุนการผลิต แต่รายได้จากโฆษณาที่หาได้ก็แค่ “เสมอตัว” การจะทำให้ “จุดคุ้มทุน” ก็ยิ่งห่างไกลกับความเป็นจริง

สถานการณ์แบบนี้ หากปล่อยไว้นานจะยิ่งลำบาก แกรมมี่จึงต้องวิ่งหา “นายทุน” ใหม่เข้ามาช่วยต่อลมหายใจ

เริ่มจาก “ช่องวัน” ที่ใช้เงินลงทุนสูงสูงกว่า จีเอ็มเอ็ม 25 แกรมมี่ติดต่อเจรจามาแล้วหลายราย รวมทั้ง “กฤตย์ รัตนรักษ์” เจ้าของช่อง 7 ก็เคยถูกทาบทามมาแล้ว

แต่ในที่สุด มาลงตัวที่ “กลุ่มปราสาททองโอสถ” เจ้าของช่องพีพีทีวี ที่ยอมควักเงิน 1.9 พันล้าน มาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในสัดส่วน 50% ในบริษัท วัน เอ็นเตอร์ไพรซ์ เจ้าของช่องวัน เมื่อปลายปีที่แล้ว

ตามมาด้วยดีลล่าสุด คือการขายหุ้น 50% คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ให้กับตระกูลสิริวัฒนภักดี

หลังการ “ปลดล็อก” ลดภาระการลงทุนทีวีดิจิทัล แกรมมี่เองจะกลับสู่สามัญ หันมาเป็นผู้ผลิตรายการ หรือ content provider โดยใช้ความเชี่ยวชาญ และบุคลากรในมือ ในธุรกิจเพลง ดนตรี คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ ผลิตรายการทีวี ละคร ป้อนให้กับ “ช่องทีวี” ทุกราย

เพราะเวลานี้ ไม่ได้มี “ทีวีดิจิทัล” เท่านั้น แต่ยังมีแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง Over The Top หรือ OTT ที่กำลังทรงอิทธิพล เพิ่มบทบาทต่อคนมากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ให้บริการ OTT ล้วนแต่เป็นรายใหญ่ ที่เป็นข้ามชาติ YouTube, Facebook, Line TV และ Netflix ช่องเหล่านี้ นอกจากมีคอนเทนต์ต่างประเทศที่มีอยู่แล้ว ยังต้องการคอนเทนต์ไทยเพื่อสร้างฐานคนดูในวงกว้าง OTT ข้ามชาติเหล่านี้ จึงยอมจ่ายค่าจ้างในการผลิตรายการ เช่น ละคร สูงถึงตอนละ 2-5 ล้านบาท

ในขณะที่เจ้าช่องทีวีต้องเสียต้นทุนผลิตอย่างต่ำๆ ก็ตอนละ 1 ล้านบาทขึ้นไป ไหนยังต้องวิ่งหาโฆษณาอีก สถานการณ์แบบนี้ อย่างดีก็แค่ “คุ้มทุน”

สู้หันมารับจ้างผลิต ป้อนให้ช่องเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น “ทีวีดิจิทัล” แพลตฟอร์มดิจิทัล OTT ได้รายได้มาเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องมีต้นทุน ให้แบกรับเหมือนกับการเป็นเจ้าของช่องทีวี ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่า “จะออกหัวหรือออกก้อย”

ส่วนช่องวัน และช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 นับจากนี้ จะเดินไปตามนโยบาย และทิศทางของพาร์ตเนอร์แต่ละราย

ช่องวันนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร เนื่องกลุ่มปราสาททองโอสถเองต้องการคงจุดยืนของช่องวันไว้เช่นเดิม โดยมีละครเป็นคอนเทนต์หลัก เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยพยายามผลักดันให้พีพีทีวีทุ่มลงทุนผลิตละคร แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงหันไปมุ่งเรื่องของกีฬาแทน และให้ช่องวันเป็นหัวหอกในเรื่องของละคร

ส่วนจีเอ็มเอ็ม 25 นั้นในเบื้องต้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารเช่นกัน ตามข้อตกลงที่ “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ทำไว้นั้น พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ยังคงรับหน้าบริหารงานต่อไปอีกอย่างน้อย 5 ปี เพื่อคงจุดแข็งของช่อง ที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นไว้

แต่ในระยะยาวแล้ว ช่อง GMM 25 จะต้องปรับเนื้อหาเพื่อขยายไปสู่กลุ่มคนดูทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกลุ่มเป้าหมายของของไทยเบฟ ที่เป็นระดับแมส

เพราะจุดมุ่งหมายของการซื้อหุ้นในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ต้องการใช้เป็น “ช่องทาง” ในการสร้างการรับรู้ให้กับสินค้าในเครือข่ายไทยเบฟ ซึ่งมีทั้งธุรกิจเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ตลอดจนธุรกิจฟาสต์ฟู้ด ไปยังผู้บริโภคทั่วไป

ดีลการซื้อหุ้นครั้งนี้ นอกจากทีวีดิจิทัลแล้ว ยังได้รวม “เอไทม์ มีเดีย” สื่อวิทยุ ที่ถือเป็นธุรกิจหลักของแกรมมี่ไปด้วย ก็เพื่อต้องการเข้าถึงกลุ่มคนฟังทั่วไปให้ได้มากที่สุด

นี่คือ ที่มาของดีลทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อการกลับสู่สามัญ ในการเป็นคอนเทนต์ โพรไวเดอร์ อย่างเต็มตัวอีกครั้งของแกรมมี่

]]>
1137645