Autopilot – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Jan 2021 14:22:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สหรัฐฯ ขอให้ ‘Tesla’ เรียกคืนรถยนต์ไฟฟ้า 1.58 เเสนคัน หลังตรวจพบปัญหาด้านความปลอดภัย https://positioningmag.com/1314539 Fri, 15 Jan 2021 12:19:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314539 ทางการสหรัฐฯ ขอให้ ‘Tesla’ เรียกคืนรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 158,000 คันในตลาด หลังพบปัญหาด้านระบบความปลอดภัยบกพร่องในหลายส่วน 

องค์กรบริหารความปลอดภัยบนท้องถนนของสหรัฐฯ (NHTSA) ยื่นจดหมายถึง Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ เรียกร้องให้เรียกคืนรถยนต์ รวมทั้งสิ้น 158,000 คันในตลาดทั่วประเทศ หลังพบปัญหาเกี่ยวกับหน้าจอแสดงผลของรถยนต์ กล้องมองหลัง และฟังก์ชันด้านความปลอดภัยอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

โดย NHTSA ตรวจพบความผิดปกติในรถยนต์ไฟฟ้าบางคันของ Tesla ในรุ่น Model S ที่ผลิตตั้งเเต่ปี 2012-2018 เเละรุ่น Model X ที่ผลิตในปี 2016-2018

จากรายงานผลการศึกษาของ NHTSA ระบุว่า ระบบควมคุมสื่อภายในรถยนต์ หรือ Media Control Unit (MCU) มีข้อผิดพลาดในการทำงาน ทำให้หน้าจอระบบสัมผัสบนรถไม่แสดงผล ภาพจากล้องมองหลังไม่พร้อมใช้งาน ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้รถยนต์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้ผู้ขับขี่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

นอกจากนี้ การทำงานผิดปกติของ MCU ยังส่งผลทำให้ระบบกำจัดไอน้ำและน้ำแข็งที่กระจกหน้ารถใช้การไม่ได้ กระทบต่อการแจ้งเตือนของระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ ‘Autopilot’ และการทำงานของสัญญาณไฟเลี้ยว

Photo : Shutterstock

NHTSA จึงขอให้ Tesla ดำเนินการเรียกคืนรถยนต์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด พร้อมแจ้งต่อผู้ซื้อและตัวแทนจำหน่ายทั้งหมดให้ทราบถึงข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยและดำเนินการแก้ไขต่อไป

โดย NHTSA บอกว่า ตอนนี้ไม่ได้มีเพียง Tesla บริษัทเดียวเท่านั้น แต่ยังมีบริษัทรถยนต์รายใหญ่อีก 9 แห่งที่พบปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

ล่าสุด Tesla ยังไม่มีข้อคิดเห็นใดๆ ต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว โดย Tesla มีเวลาถึงวันที่ 27 มกราคมนี้เพื่อชี้เเจงอย่างละเอียด โดยรถยนต์จำนวน 158,000 คันที่ต้องเรียกคืนนั้นคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของรถยนต์ทั้งหมดที่ Tesla วางจำหน่ายในปี 2020 เลยทีเดียว

ก่อนหน้านี้ Tesla ปิดปี 2020 ด้วยยอดส่งมอบรถยนต์และการผลิตแตะ 5 แสนคันต่อปี เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปัที่ทำได้สำเร็จจากที่ “อีลอน มัสก์” มหาเศรษฐีซีอีโอของบริษัท เคยวางเป้าไว้เมื่อปี 2010

สำหรับภาคการผลิตของ Tesla ขยายตัวอย่างชัดเจนในช่วง 2-3 ปีนี้ หลังจากปีก่อนเปิดโรงงานใหม่ที่เซี่ยงไฮ้ตามด้วยการเปิดโรงงานที่เบอร์ลิน แห่งแรกในทวีปยุโรป รวมถึงโรงงานในออสติน รัฐเท็กซัส ก็เริ่มก่อสร้างแล้ว

 

ที่มา : Reuters , CNBC 

]]>
1314539
เทสล่าอัปเดตซอฟต์แวร์รถ ปรับปรุงเรดาห์-ระบบออโตไพล็อตแล้ว https://positioningmag.com/1103724 Fri, 23 Sep 2016 06:32:12 +0000 http://positioningmag.com/?p=1103724 เทสล่า มอเตอร์ (Tesla Motor) ผู้ผลิตยานยนต์ชื่อดังส่งอัปเดตซอฟต์แวร์ตัวใหม่สำหรับระบบออโต้ไพล็อต (Autopilot System) แล้ว โดยสามารถยุติการทำงานของระบบดังกล่าวได้ในกรณีที่พบว่าผู้ขับขี่ไม่ใส่ใจในการขับรถเพียงพอ

ไม่เฉพาะการปรับในส่วนของระบบออโตไพล็อต อัปเดตซอฟต์แวร์ครั้งนี้ยังรวมถึงการปรับปรุงระบบรับคำสั่งเสียง และระบบเรดาห์ของตัวรถด้วย ซึ่งการอัปเดตซอฟต์แวร์ในครั้งนี้เป็นผลมาจากเหตุการณ์การเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่คร่าชีวิตผู้ขับรถเทสล่าจนกลายเป็นข่าวครึกโครมเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และระบบออโตไพล็อตก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นมีรายงานว่าเซนเซอร์ของตัวรถเทสล่ามีการวิเคราะห์ผิดพลาด ด้วยการวิเคราะห์สีของรถบรรทุกที่ขับสวนมาว่าเป็นท้องฟ้า ส่งผลให้รถทำการเปลี่ยนเลนจนออกไปชนกับรถบรรทุกดังกล่าว

หรืออีกกรณีหนึ่งก็คือรถเทสล่าที่ขับโดยชาวจีน และระบบของตัวรถไม่สามารถสื่อสารกับผู้ขับชาวจีนได้ จนทำให้รถเกิดอุบัติเหตุ แต่เคราะห์ดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต

ในอีกทางหนึ่ง การตั้งชื่อระบบว่าออโตไพล็อตก็เป็นสาเหตุของความเข้าใจที่ผิดพลาด เนื่องจากผู้ใช้ส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำว่าออโตไพล็อท ก็จะเข้าใจไปว่า สามารถปล่อยมือออกจากพวงมาลัยได้ในขณะที่รถอยู่ในโหมดดังกล่าว ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่ทางเทสล่าพยายามอธิบายว่า ฟีเจอร์นี้เป็นเพียง”ตัวช่วย” ของผู้ขับขี่ (เช่น ใช้กล้อง เรดาห์ในการรักษาระดับความเร็ว สามารถเบรกได้โดยอัตโนมัติ หรือเปลี่ยนเลนได้โดยไม่ต้องรับคำสั่งจากผู้ขับ) แต่ไม่ใช่การเข้าควบคุมการบังคับรถแบบสมบูรณ์แบบ

การอัปเดตครั้งใหม่นี้จะมีการเตือนผู้ขับสามครั้งให้วางมือบนพวงมาลัย หากไม่ทำตาม ระบบการควบคุมพวงมาลัยอัตโนมัติ (Automatic Steering) จะหยุดทำงาน และจะไม่กลับมาทำงานอีกเลยจนกว่ารถจะจอด (เวอร์ชันก่อนหน้า หากผู้ขับไม่สนใจ รถจะค่อย ๆ วิ่งช้าลงจนจอดในที่สุด)

ที่มา: http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000095855

]]>
1103724
ฟอร์ด ประกาศแล้ว รถอัตโนมัติพร้อมให้สัมผัสในปี 2021 https://positioningmag.com/1100201 Thu, 18 Aug 2016 02:26:45 +0000 http://positioningmag.com/?p=1100201 ค่ายรถยนต์ฟอร์ด (Ford) เปิดเผยแล้วว่า บริษัทมีแผนจะเดินหน้าผลิตรถอัตโนมัติโดยปราศจากพวงมาลัยในปี ค.ศ.2021 ซึ่งผู้ประกาศแผนดังกล่าวก็คือ มาร์ก ฟิลด์ส (Mark Fields) ประธานบริษัทในงานแถลงข่าวย่านพาโล อัลโต แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

หลังจากเดินหน้าประกาศตัวว่า เป็นบริษัทเทคโนโลยีแทนที่จะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์มานานหลายปี ในที่สุด ฟอร์ด ก็มีการแถลงข่าวถึงรถอัตโนมัติของทางค่ายแล้วอย่างเป็นทางการ โดยในระหว่างนี้ทางบริษัทจะทุ่มเงินลงทุนในศูนย์วิจัย ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองพาโล อัลโต เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า รวมถึงการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีด้านยานยนต์อัตโนมัติด้วย ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปตามแผน รถอัจฉริยะไร้คนขับของฟอร์ดนี้ก็จะได้ฤกษ์แตะถนนในปี ค.ศ.2021 อย่างแน่นอน

โดยทางบริษัทเผยว่า ภายในรถจะมีความคล้ายคลึงกับบริการของอูเบอร์ (Uber) เพียงแต่รถยนต์คันนี้ไม่ต้องการคนขับที่เป็นมนุษย์อีกต่อไปแล้วนั่นเอง

“การที่คุณไม่ต้องควบคุมรถด้วยตัวเองจะเปลี่ยนประสบการณ์ในการโดยสารรถยนต์ไปอย่างสิ้นเชิง คุณสามารถใช้เวลาเหล่านั้นทำงาน ชมสื่อบันเทิง ฯลฯ ซึ่งเราได้ออกแบบระบบเหล่านั้นเอาไว้รองรับแล้วในรถอัตโนมัติ”

ที่ผ่านมา ฟอร์ด ได้มีการจับมือกับไป่ตู้ (Baidu) บริษัทจากจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อลงทุนในธุรกิจของ Velodyne ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตรวจจับวัตถุที่อยู่รอบรถอย่างแม่นยำเป็นมูลค่าถึง 150 ล้านเหรียญสหรัฐ แถมยังร่วมลงทุนในบริษัทผู้ให้บริการแผนที่ดิจิตอล Civil Maps อีก 6.6 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย

รายงานจากบีบีซีระบุด้วยว่า ในการแถลงข่าวของฟอร์ด ไม่มีการเอ่ยถึงชื่อของกูเกิล (Google)-แอปเปิล (Apple) ซึ่งมีแผนพัฒนารถอัจฉริยะด้วยแต่อย่างใด ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจเป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะกับยักษ์ใหญ่ในซิลิคอนวัลเลย์ เพราะในอนาคตอาจต้องร่วมมือกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งก็เป็นได้

โดยรถยนต์ของฟอร์ดที่จะผลิตขึ้นนั้น จะเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในระดับ 4 (high automation) ตามมาตรฐานของ Society of Automotive Engineers หรือ SAE สหรัฐอเมริกา ซึ่งระดับดังกล่าวเป็นระดับเดียวกับรถที่กูเกิลกำลังพัฒนาอยู่ นั่นคือไม่จำเป็นต้องมีคนขับอีกต่อไป แต่ยังเหมาะสำหรับการวิ่งบนถนนที่ดีพอสมควร เช่น ถนนในเมือง ส่วนระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนั้น จะเป็นรถยนต์อัตโนมัติ และสามารถขับเคลื่อนได้อัตโนมัติใน “ทุกสภาวะ” ซึ่งยังไม่มีบริษัทใดประกาศตัวว่าพัฒนารถอัตโนมัติในระดับนี้

ส่วนรถยนต์ที่อยู่ในระดับสอง-สาม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ล้าหลังกว่าก็มีให้เห็นเช่นกัน โดยตามมาตรฐานแล้ว ระดับสอง คือ รถยนต์ที่ยังต้องการมนุษย์เป็นผู้มอนิเตอร์การขับขี่ เช่น เทคโนโลยีออโตไพล็อทตองเทสล่า (Tesla) ส่วนระดับสาม คือ รถที่ไม่ต้องการมนุษย์คอยมอนิเตอร์ แต่ต้องพร้อมเสมอที่จะเข้าควบคุมรถเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินนั่นเอง

ที่มา: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000082391

]]>
1100201
ฟอร์ดตั้งเป้าผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติรองรับแผนการใช้รถร่วมกันในปีพ.ศ. 2564 โดยลงทุนกับบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ และเพิ่มทีมงานที่ศูนย์ซิลิคอนแวลลีย์อีกเท่าตัว https://positioningmag.com/1100104 Wed, 17 Aug 2016 05:12:04 +0000 http://positioningmag.com/?p=1100104
  • ฟอร์ดประกาศความมุ่งมั่นในการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบจำนวนมากเพื่อรองรับแผนการใช้รถร่วมกันในปี พ.ศ. 2564
  • ฟอร์ดลงทุนและร่วมมือกับธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจำนวน 4 แห่ง
  • ฟอร์ดเพิ่มทีมงานที่ศูนย์วิจัยซิลิคอนแวลลีย์หนึ่งเท่าตัว และเพิ่มทีมงานที่พาโลอัลโตอีกมากกว่าเท่าตัว
  • ฟอร์ดประกาศความมุ่งมั่นในการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบจำนวนมาก โดยจะเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรรมยานยนต์นานาชาติหรือ SAE ระดับ 4 ที่ใช้สำหรับการพาณิชย์ ในการให้บริการการใช้รถยนต์ร่วมกันและบริการเรียกรถในปี พ.ศ. 2564

    เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ฟอร์ดได้ลงทุนและร่วมมือกับธุรกิจสตาร์ทอัพจำนวน 4 แห่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และเพิ่มทีมงานที่ซิลิคอนแวลลีย์เป็นสองเท่า พร้อมเพิ่มทีมงานที่พาโลอัลโตอีกกว่าเท่าตัว

    “ในทศวรรษหน้า รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจะเป็นตัวสร้างนิยามการขับขี่ และจะมีบทบาทสำคัญต่อสังคมในวงกว้าง ดั่งเช่นที่ฟอร์ดเคยเคลื่อนย้ายสายการประกอบรถยนต์เมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน” มาร์ค ฟีลด์ส ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว “เราทุ่มเทที่จะนำรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติออกสู่ท้องถนน โดยจะพัฒนาด้านความปลอดภัยและแก้ปัญหาความท้าทายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้คนนับล้าน ไม่ใช่เพียงแต่สำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อรถยนต์หรูราคาแพงเท่านั้น”

    รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในปี พ.ศ. 2564 เป็นส่วนหนึ่งของแผนการสัญจรอัจฉริยะของฟอร์ด โดยฟอร์ดวางแผนที่จะเป็นผู้นำด้านรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ รวมทั้งด้านการเชื่อมต่อ การสัญจร การสร้างประสบการณ์ลูกค้า รวมถึงด้านข้อมูลและการวิเคราะห์

    เดินหน้าสู่ความเป็นผู้นำด้านรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

    ผลจากการค้นคว้าและพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมานานกว่าทศวรรษ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบของฟอร์ดจะเป็นรถยนต์ที่ตรงตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรรมยานยนต์นานาชาติหรือ SAE ระดับ 4 โดยจะไม่มีพวงมาลัย ถังน้ำมันและเบรค รถยนต์ดังกล่าวจะได้รับการออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อการบริการด้านการสัญจรในเชิงพาณิชย์ เช่น การใช้รถยนต์ร่วมกันและการเรียกรถ และจะมีรถที่สามารถใช้งานได้เป็นจำนวนมาก

    “ฟอร์ดได้ทำการพัฒนาและทดสอบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมานานกว่า 10 ปี” ราจ แนร์ รองประธานฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และหัวหน้าฝ่ายช่างเทคนิคของฟอร์ด กล่าว “ฟอร์ดได้เปรียบในเชิงกลยุทธ์เนื่องจากเรามีความสามารถในการผสมผสานซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีการตรวจจับสัญญาณ เข้ากับวิศวกรรมศาสตร์ที่ซับซ้อนซึ่งจำเป็นสำหรับการผลิตรถยนต์คุณภาพสูง และนี่คือสิ่งที่ต้องใช้เพื่อทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเป็นจริงสำหรับผู้คนนับล้านทั่วโลก”

    ในปีนี้ ฟอร์ดจะเพิ่มจำนวนรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับการทดสอบเป็นสามเท่า และจะเป็นกลุ่มรถยนต์เพื่อการทดสอบที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย โดยจะนำรถฟอร์ด ฟิวชั่น ไฮบริดขับเคลื่อนอัตโนมัติจำนวน 30 คันมาขับทดสอบบนถนนในรัฐแคลิฟอร์เนีย แอริโซนาและมิชิแกน โดยมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนรถสำหรับทดสอบอีกสามเท่าในปีหน้า

    ฟอร์ดเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ทำการทดสอบรถที่เอ็มซิตี้ (Mcity) ซึ่งเป็นสนามทดสอบรถเสมือนจริงในบริเวณมหาวิทยาลัยมิชิแกน และเป็นบริษัทรถยนต์รายแรกที่สาธิตการทำงานของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในสภาพหิมะสู่สาธารณะและยังเป็นบริษัทรถยนต์รายแรกที่ทำการทดสอบการขับเคลื่อนรถยนต์ท่ามกลางความมืดสนิทตอนกลางคืน โดยการทดสอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเซ็นเซอร์ LiDAR

    เพื่อส่งมอบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในปีพ.ศ. 2564 ฟอร์ดประกาศความร่วมมือและการลงทุนสำคัญ 4ประการ ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตการค้นคว้าวิจัยอันแข็งแกร่งทั้งในเรื่องอัลกอริธึ่มที่ล้ำสมัย การทำแแผนที่สามมิติ เซ็นเซอร์ LiDAR รวมถึงเรดาร์และเซ็นเซอร์กล้อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

    • เวโลดายน์ (Velodyne) ฟอร์ดได้ลงทุนกับเวโลดายน์ ผู้นำด้านเซ็นเซอร์ LiDAR (การตรวจจับแสงและค่าการผันแปร) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองซิลิคอนแวลลีย์ เพื่อก้าวไปสู่การผลิตเซ็นเซอร์ LiDAR สำหรับรถยนต์ปริมาณมากในราคาที่สามารถซื้อได้ ฟอร์ดกับเวโลดายน์เป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน และฟอร์ดเป็นบริษัทแรกๆ ที่ใช้เซ็นเซอร์ LiDAR จากเวโลดายน์ในการทำแผนที่ที่มีความละเอียดสูงและการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งเริ่มขึ้นมายาวนานกว่า 10 ปี
    • บริษัทวิเคราะห์สัญญาณและโซลูชั่นส์การประมวลผลภาพ หรือ SAIPS (Signal Analysis and Image Processing Solutions) ฟอร์ดได้เข้าซื้อกิจการบริษัทเพื่อการศึกษาและพัฒนาเครื่องจักร หรือ SAIPS ซึ่งตั้งอยู่ที่อิสราเอล เพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์อัจฉริยะและวิสัยทัศน์การมองของคอมพิวเตอร์ บริษัท SAIPS ได้พัฒนาโซลูชั่นส์เชิงอัลกอริธึ่มในส่วนของการประมวลผลภาพและวิดีโอ สร้างประสิทธิภาพการศึกษาเชิงลึก รวมทั้งการประมวลผลสัญญาณและการจำแนกข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของฟอร์ดเรียนรู้และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยรอบ
    • ศูนย์ประสาทวิทยาไนเรนเบิร์ก แอลแอลซี (Nirenberg Neuroscience LLC) ฟอร์ดได้ทำข้อตกลง เพื่อใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในความร่วมมือกับศูนย์ประสาทวิทยาไนเรนเบิร์ก ก่อตั้งโดย ดร. ชีล่า ไนเรนเบิร์กนักประสาทวิทยาศาสตร์ ผู้ประสบความสำเร็จในการศึกษารหัสที่ใช้ในการส่งข้อมูลของเส้นประสาท (Neural Code) เพื่อแสดงผลเป็นข้อมูลภาพไปสู่สมอง ซึ่งนำไปสู่แพลตฟอร์มวิสัยทัศน์ของคอมพิวเตอร์อันทรงพลังสำหรับการทำงาน ในการนำส่งข้อมูล การจดจำวัตถุและใบหน้า รวมทั้งการทำงานอื่นๆ ด้วยแอพพลิเคชั่นทรงประสิทธิภาพมากมาย ตัวอย่างเช่น ดร. ไนเรนเบิร์กได้พัฒนาอุปกรณ์สำหรับการฟื้นฟูการมองเห็นของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยความร่วมมือของฟอร์ดกับไนเรนเบิร์กเน็ตเวิร์คส์จะช่วยนำอัจฉริยภาพและความสามารถด้านการสัมผัสต่างๆ ของมนุษย์มาสู่รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
    • บริษัทพัฒนาแผนที่ ซิวิลแมพส์ (Civil Maps) ฟอร์ดได้ลงทุนกับซิวิลแมพส์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง เบิร์กลีย์ เพื่อพัฒนาต่อยอดความสามารถในการผลิตแผนที่ความละเอียดสูงแบบสามมิติ บริษัทซิวิลแมพส์เป็นผู้ริเริ่มเทคนิคการทำแผนที่สามมิติสุดล้ำสมัยที่สามารถย่อขยายได้ และมีประสิทธิภาพสูงกว่ากระบวนการทำแผนที่ในปัจจุบัน สิ่งนี้จะช่วยให้ฟอร์ดมีแนวทางในการพัฒนาแผนที่สามมิติคุณภาพสูงมากขึ้น เพื่อใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยรอบของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

    การขยายศูนย์วิจัยซิลิคอนแวลลีย์

    ฟอร์ดเดินหน้าขยายศักยภาพการทำงานของศูนย์วิจัยซิลิคอนแวลลีย์อย่างแข็งแกร่ง พร้อมก่อตั้งอีกหนึ่งแคมปัสใหม่ของฟอร์ด ณ เมืองพาโลอัลโต

    การขยายพื้นที่การทำงานและห้องวิจัยกว่า 150,000 ตารางฟุต และการสร้างอาคารใหม่เพิ่มขึ้น 2 หลังติดกับศูนย์วิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมนี้ ช่วยตอกย้ำความมุ่งมั่นของฟอร์ดในการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของทีมนักวิจัยฟอร์ดในเมืองพาโลอัลโตที่จะมากขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปีพ.ศ. 2560

    “ศูนย์วิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมของฟอร์ดในเมืองซิลิคอนแวลลีย์เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้และสร้างสรรค์แผนการสัญจรอัจฉริยะ” เคน วอชิงตัน รองประธานฝ่ายค้นคว้าและวิศวกรรมชั้นสูงของฟอร์ด กล่าว “เป้าหมายของเราคือการเป็นหนึ่งในสมาชิกของชุมชนซิลิคอนแวลลีย์ และในวันนี้เราได้ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพกว่า 40 บริษัท เพื่อสร้างความร่วมมืออันแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการบริการ”

    ศูนย์วิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมพาโลอัลโต ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 และได้เติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการวิจัยในการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ในปัจจุบันมีทีมนักวิจัย วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์รวมกว่า 130 คน ที่พร้อมยกระดับความร่วมมือของฟอร์ดและศูนย์วิจัยซิลิคอนแวลลีย์

    ศูนย์วิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมหลากหลายสาขาวิชาในเมืองพาโลอัลโตเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีและวิศวกรรมระดับโลกของฟอร์ด ซึ่งจะเปิดทำการภายในกลางปี พ.ศ. 2560

     

    ]]>
    1100104
    วิศวกรรัสเซียประดิษฐ์ระบบออโต้ไพล็อตสำหรับ “วีลแชร์” https://positioningmag.com/1099669 Wed, 10 Aug 2016 09:53:18 +0000 http://positioningmag.com/?p=1099669 รถยนต์ยังมีระบบออโตไพล็อตแล้ว ทำไมรถเข็นคนพิการจะมีระบบออโตไพล็อตบ้างไม่ได้ ล่าสุด มีผลงานการประดิษฐ์จากวิศวกรรัสเซียที่สร้างรถเข็นอัจฉริยะสามารถเคลื่อนที่ไปตามจุดต่างๆ ที่ตั้งไว้ได้ด้วยตัวเองแล้ว

    โดยรถเข็นที่ติดตั้งระบบอัจฉริยะดังกล่าวนี้ จะมาพร้อมแผงควบคุมที่ระบุสถานที่ที่ต้องการ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ครัว สวนหลังบ้าน ห้องทำงาน ดูทีวี ฯลฯ เป็นต้น เมื่อผู้พิการต้องการไปสถานที่ใด ก็เพียงกดปุ่ม รถเข็นก็จะเคลื่อนที่ไปยังจุดนั้นๆ ได้ด้วยตัวเอง

    559000008197404

    Valery Spiridonov วิศวกรชาวรัสเซียผู้พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว เผยว่า วีลแชร์อัจฉริยะนี้ช่วยให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น พร้อมยกตัวอย่าง ในกรณีที่ผู้พิการไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เกต ก็ยังสามารถตรงไปยังชั้นวางสินค้าที่ต้องการได้เลย (ถ้าห้างนั้นๆ มีการอัปโหลดข้อมูลสินค้าเอาไว้บนระบบก่อน) โดยไม่ต้องเสียเวลาหาตามชั้นวางสินค้าเหมือนในอดีต

    โดยในตอนนี้ วีลแชร์ดังกล่าวยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการพัฒนา และ Spiridonov ผู้พัฒนาก็ตั้งใจว่า จะทำให้มันมีราคาไม่แพงนัก ราว 200 เหรียญสหรัฐ เนื่องจากคนพิการส่วนใหญ่ไม่ใช่คนรวยที่จะควักกระเป๋าจ่ายแพงๆ ได้ ซึ่งการจะประหยัดต้นทุนได้นั้น ส่วนหนึ่งเขาเลือกใช้วัสดุที่ผลิตในโรงงานของรัสเซียบ้านเกิดของตนเองแทนการสั่งซื้อจากต่างประเทศ

    ที่น่าตกใจมากไปกว่านั้นก็คือ Spiridonov เองก็เป็นผู้พิการที่ต้องนั่งรถเข็นวีลแชร์เช่นกัน โดยเขามีอาการของโรค Werdnig-Hoffman disease อยู่นั่นเอง

    ที่มา: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000079366

    ]]>
    1099669
    เยอรมนีเล็งออกกฎรถขับอัตโนมัติต้องติด “กล่องดำ” https://positioningmag.com/1097557 Wed, 20 Jul 2016 02:12:51 +0000 http://positioningmag.com/?p=1097557 ทางการเยอรมนีเปิดเผยเตรียมออกกฏหมายใหม่กำหนดให้ผู้ผลิตรถที่มีระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือ autopilot จะต้องติดตั้งกล่องดำหรือ “black box” ซึ่งจะช่วยบอกเล่าความจริงหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น

    แหล่งข่าวในกระทรวงคมนาคม ประเทศเยอรมนี ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ถึงแผนออกกฏหมายให้รถขับเคลื่อนอัตโนมัติต้องติดตั้งกล่องดำลักษณะเดียวกับเครื่องบินเพื่อบันทึกเหตุการณ์การบังคับ และโหมดการเดินรถตลอดการเดินทาง โดยแผนดำเนินงานนี้เกิดขึ้นหลังจากข่าวอุบัติเหตุของรถรุ่นโมเดลเอส (Model S) ของบริษัทเทสลามอเตอร์ส (Tesla Motors Inc) ซึ่งล่าสุด มีการยืนยันแล้วว่า เป็นอุบัติเหตุจากความผิดพลาดของการทำงานในระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ Autopilot

    อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกลายเป็นแรงผลักดันให้ผู้บริหารบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ รวมถึงบุคคลในหน่วยงานกำกับดูแลอุตสาหกรรม ต้องพยายามหาทางสร้างความมั่นใจว่า เทคโนโลยีขับเคลื่อนรถอัตโนมัติจะสามารถให้ความปลอดภัยที่ไม่มีช่องโหว่

    เบื้องต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม Alexander Dobrindt ระบุในร่างเสนอกฎหมายใหม่ว่า แม้ผู้ขับจะไม่จำเป็นต้องควบคุมพวงมาลัย หรือมีสมาธิกับสภาพการจราจรในขณะนั้น แต่รถที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติก็ยังควรกำหนดให้มีที่นั่งของผู้ขับขี่ เพื่อให้สามารถแทรกแซงการทำงานของระบบได้ในกรณีฉุกเฉิน

    นอกจากนี้ ผู้ผลิตรถยังควรติดตั้งกล่องดำเพื่อบันทึกข้อมูลเวลาเปิดปิดการทำงานของระบบขับอัตโนมัติ รวมถึงข้อมูลเวลาที่ผู้ขับขี่เข้าควบคุมพวงมาลัย และข้อมูลเวลาที่ระบบร้องขอให้ผู้ขับขี่เข้าควบคุมรถแทน

    ร่างกฎหมายใหม่นี้มีกำหนดส่งให้กระทรวงอื่นของเยอรมนี พิจารณาในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้

    เยอรมนีเป็นประเทศบ้านเกิดของบริษัทรถยนต์รายใหญ่ในตลาด ทั้ง โฟล์ก (Volkswagen) เดมเลอร์ (Daimler) และ บีเอ็มดับบลิว (BMW) แน่นอนว่า รัฐบาลเยอรมนีหวังให้บริษัทเหล่านี้สามารถเกาะกระแสตลาดยานยนต์ขับเคลื่อนตัวเองอัตโนมัติให้ได้ แม้ว่าบริษัทไอทีจะส่งสัญญาณมาแรงแซงทุกบริษัท เพราะความก้าวหน้าด้านระบบซอฟต์แวร์ที่เหนือกว่า

    นายกรัฐมนตรีเยอรมนี นางอังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) เคยออกตัวไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่ารัฐบาลเยอรมนียินดีช่วยเหลือ และสนับสนุนงานพัฒนารถไร้คนขับของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะช่วยย่นระยะเวลา เพื่อให้ค่ายรถเยอรมนีสามารถตื่นตัวได้ทันก่อนที่รถขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้จะเริ่มจำหน่ายจริงจังในปี 2020 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า

    ที่มา: http://www.manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000071580

    ]]>
    1097557