ByteDance – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 Apr 2024 04:03:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอมหัก! ‘ByteDance’ ลั่น ยอมปิด ‘TikTok’ ในสหรัฐฯ แต่จะไม่ขายเด็ดขาด https://positioningmag.com/1471337 Mon, 29 Apr 2024 02:15:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471337 หลังจากที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ ได้กําหนดเส้นตาย 9 เดือน ให้ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ขายหรือปิดแพลตฟอร์ม เนื่องจากเชื่อว่ารัฐบาลจีนสามารถใช้ TikTok ในการจารกรรมข้อมูลและการโฆษณาชวนเชื่อตราบเท่าที่ ByteDance เป็นเจ้าของ

โดยเว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยีสหรัฐฯ อย่าง The Information ได้ออกมารายงานว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok กําลังวางแผนขายแพลตฟอร์มในสหรัฐฯ ทิ้ง แต่จะไม่มีอัลกอริทึมที่ช่วยแนะนําวิดีโอให้กับผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม ByteDance ก็ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงที่บริษัทกําลังพิจารณาที่จะขาย TikTok 

“สื่อต่างประเทศรายงานเกี่ยวกับ ByteDance ว่าจะขาย TikTok นั้นไม่เป็นความจริง บริษัทไม่มีแผนที่จะขาย” บริษัทโพสต์บน Toutiao

TikTok ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกเพ่งเล็งมาตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่ก็แบนไม่สำเร็จ ขณะที่ TikTok เองก็ยืนยันว่าไม่ได้มีการนำส่งข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐฯ ให้กับรัฐบาลจีน นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังได้ใช้เงินไปประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ใน “Project Texas” ซึ่งจะเก็บข้อมูลผู้ใช้ของสหรัฐฯ ไว้ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

Shou Zi Chew ซีอีโอของ TikTok กล่าวว่า บริษัทจะต่อสู้กับกฎหมายใหม่ต่อศาล โดยมองว่าข้อกฎหมายดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนได้คัดค้านการบังคับขาย TikTok โดยกล่าวว่า พร้อมจะใช้มาตรการที่จําเป็นทั้งหมดเพื่อปกป้องบริษัทจีน

ปัจจุบัน TikTok ถูกประเมินว่ามีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านดอลลาร์ และบริษัทที่พอจะซื้อไหวก็มีแต่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ เช่น Meta และ Google แต่ก็มีแนวโน้มที่จะถูกสกัดไม่ให้ซื้อ เนื่องจากข้อกังวลด้านการแข่งขัน

นอกจากนี้ นักลงทุนจํานวนมากถือว่าอัลกอริทึมการแนะนําของ TikTok เป็นคุณสมบัติที่มีค่าที่สุด แต่การขายเทคโนโลยีดังกล่าวโดยบริษัทจีนจะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีน ซึ่งกําหนดอัลกอริทึมดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการคุ้มครอง หลังจากความพยายามของทรัมป์ที่จะแบน TikTok ในปี 2020

ทั้งนี้ ByteDance มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยกลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีค่าที่สุดในโลก แต่ Mitchell Green นักลงทุนของ ByteDance จาก Lead Edge Capital ในสหรัฐฯ เปิดเผยว่า  TikTok U.S. ถือเป็น ส่วนเล็ก ๆ ของธุรกิจโดยรวม และถ้า TikTok ในสหรัฐฯ โดนแบน บริษัทแม่ก็จะไม่ขาย

จากข้อมูลของ TikTok ผู้ก่อตั้งชาวจีนของ ByteDance เป็นเจ้าของหุ้น 20% ผ่านสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ประมาณ 60% เป็นเจ้าของโดยนักลงทุนสถาบัน รวมถึงบริษัทการลงทุนรายใหญ่ของสหรัฐฯ Carlyle Group, General Atlantic และ Susquehanna International Group ส่วนที่เหลืออีก 20% เป็นเจ้าของโดยพนักงานทั่วโลก และสมาชิกคณะกรรมการ 3 ใน 5 คนของ ByteDance เป็นชาวอเมริกัน

Source

]]>
1471337
TikTok เตรียมสู้ทางกฎหมาย ย้ำถึงเรื่องเสรีภาพ หลังสภาสหรัฐฯ บีบให้ ByteDance ให้ขายกิจการภายใน 1 ปี https://positioningmag.com/1470572 Mon, 22 Apr 2024 08:16:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470572 TikTok ออกมาเตือนรัฐบาลสหรัฐฯ ถึงการเหยียบย่ำเสรีภาพ กระทบผู้ใช้งานชาวอเมริกัน 170 ล้านคน หลังจากที่สภาได้ไฟเขียวบีบให้ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ให้ขายกิจการภายใน 1 ปี หรือไม่ก็ถูกแบน ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่าไม่ได้มีรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐถือหุ้นหรือถูกควบคุมแต่อย่างใด

TikTok ได้เตือนรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่สภาสหรัฐฯ ได้บีบให้ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแพลตฟอร์มแชร์วิดีโอสั้นให้ขายกิจการภายใน 1 ปี ไม่งั้นแล้วจะถูกแบน โดยมองว่ากฎหมายดังกล่าวขัดกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนชาวอเมริกัน

โฆษกของ TikTok ได้ออกมาประณามร่างกฎหมายนี้ โดยกล่าวว่า ข้อกฎหมายดังกล่าวเหยียบย่ำเสรีภาพทางความคิดของชาวอเมริกัน 170 ล้านคน ซึ่งบริษัทมองว่าเรื่องดังกล่าวนั้นสร้างผลกระทบต่อเสรีภาพของประชาชน ทำลาย 7 ล้านธุรกิจในสหรัฐอเมิกา และถือเป็นการปิดแพลตฟอร์มที่สร้างรายได้ 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ TikTok ยังได้ยืนยันว่าบริษัทไม่เคยเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกาให้กับรัฐบาลจีนแต่อย่างใด และข้อมูลของผู้ใช้งานนั้นก็ถูกเก็บไว้ในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่บริษัทได้จับมือกับ Oracle ในการใช้บริการคลาวด์เพื่อเก็บข้อมูลดังกล่าว

ไม่เพียงเท่านี้โฆษกของ TikTok เองยังได้กล่าวว่า ByteDance ไม่ได้มีเจ้าของหรือถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ

สำหรับข้อกฎหมายดังกล่าวได้บีบให้ ByteDance ขายกิจการของ TikTok ออกมา หรือไม่ก็ถูกแบน ซึ่ง ส.ส. ของทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันเองต่างเห็นพ้องต้องกันในการออกข้อกฎหมายดังกล่าว โดยมองถึงเรื่องความมั่นคงของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีกฎหมายดังกล่าวได้แก้ไขโดยยืดเวลาให้เป็น 1 ปี จากเดิมซึ่งใช้เวลา 6 เดือน

ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Shou Chew ซึ่งเป็น CEO ของบริษัทได้กล่าวว่าบริษัทจะต่อสู้ทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าว โดยมองว่าข้อกฎหมายดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา

ถ้าหากกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านวุฒิสภาสหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อย ก็อาจทำให้ ByteDance เหลือเวลาตัดสินใจเพียงแค่ 9 เดือนเท่านั้นว่าจะขาย TikTok ออกมาหรือไม่ อย่างไรก็ดีถ้าหากคดีดังกล่าวขึ้นศาลแล้วนั้นผู้เชี่ยวชาญก็มองว่าก็ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าคดีความจะสิ้นสุด

ที่มา – BBC, CBS News, Reuters, CNN

]]>
1470572
กำไร ‘ByteDance’ บริษัทแม่ ‘TikTok’ โต 60% แซงหน้า Tencent และ Alibaba Group หลังเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซเต็มตัว https://positioningmag.com/1469860 Wed, 10 Apr 2024 14:10:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469860 แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะตกต่ำ แต่ ByteDance บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นและอีคอมเมิร์ซอย่าง TikTok ก็สามารถทำกำไรเติบโตถึง 60% แซงหน้าการเติบโตของบริษัทคู่แข่งอย่าง Tencent Holdings Ltd. และ Alibaba Group

กำไรของ ByteDance ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ จากประมาณ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2565 ขณะที่บริษัทมีรายได้รวมแตะ 1.2 แสนล้านดอลลาร์ จาก 8 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2565

จากการเติบโตของรายได้และกำไร ทำให้มีการประเมินว่า ByteDance กลายเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในปีที่ผ่านมา และถือเป็นครั้งแรกที่ ByteDance ทำกำไรแซงหน้า Tencent คู่แข่งของบริษัททั้งในด้านรายได้และผลกำไร เนื่องจากบริษัทได้ใช้ประโยชน์จากความนิยมของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นอย่าง TikTok และ Douyin เพื่อขยายไปสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลก

ทั้งนี้ ในตลาดจีน ByteDance ได้เปลี่ยน Douyin กำลังเปลี่ยนไปสู่แพลตฟอร์มแบบครบวงจรที่คล้ายกับ WeChat ของ Tencent โดยมีฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซ และสั่งอาหารออนไลน์ ส่วนในตลาดต่างประเทศ บริษัทก็ประสบความสำเร็จกับการเปิด TikTok Shop ในตลาดต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้ใหม่ ๆ นอกเหนือจากการตลาดดิจิทัล

ไม่ใช่แค่รายได้ใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามา แต่บริษัทก็ได้ลดตำแหน่งงานหลายร้อยตำแหน่งจาส่วนของการพัฒนาเกมและซอฟต์แวร์ระดับองค์กร และทุ่มการลงทุนที่เทคโนโลยี generative AI แทน โดยสร้างแชทบอทของตัวเองและโมเดลภาษาขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม TikTok กำลังเผชิญกับวิกฤติในตลาดสหรัฐฯ ที่ถือเป็นตลาดที่สร้างกำไรให้มากที่สุด เนื่องจากในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายเพื่อแบน TikTok เว้นแต่ ByteDance จะแพลตฟอร์ม TikTok ทิ้ง

Source

]]>
1469860
สภาสหรัฐฯ ออกคำสั่งให้ ByteDance ขายกิจการของ TikTok ออกมาภายใน 6 เดือน ถ้าไม่ทำตามมีโทษแบน https://positioningmag.com/1466177 Wed, 13 Mar 2024 17:37:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466177 สภาล่างของสหรัฐอเมริกา มีมติเอกฉันท์ในการออกข้อกฎหมายโดยให้ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TikTok ต้องแยกกิจการออกมาเพื่อขายต่อ โดยมีระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน ถ้าไม่ทำตามมีโทษแบน อย่างไรก็ดีในการออกข้อกฎหมายนั้นยังต้องผ่านวุฒิสภาของสหรัฐฯ ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนว่าข้อกฎหมายดังกล่าวจะผ่านการพิจารณาหรือไม่

สภาล่างของสหรัฐอเมริกา มีมติ 352 ต่อ 65 ในการออกข้อกฎหมายโดยให้ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TikTok นั้นต้องแยกกิจการออกมาเพื่อขายต่อ โดยมีระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน และถ้าหากไม่ทำตามภายในระยะเวลาที่กำหนดก็จะทำให้แอปพลิเคชันดังกล่าวถูกแบนในทันที

เสียงของ ส.ส. ไม่ว่าจะเป็นทั้งพรรคเดโมแครต 155 เสียง และพรรครีพับลิกัน 197 เสียงต่างเห็นด้วยกับร่างดังกล่าว และคะแนนโหวตยังผ่านขั้นต่ำที่ 2 ใน 3 ของสมาชิกสภาทั้งหมดอีกด้วย แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะถูกกลุ่มผู้ใช้งาน TikTok ล็อบบี้ หรือแม้แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแบนแอปพลิเคชันดังกล่าวก็ตาม

สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการออกคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ให้ ByteDance ขายกิจการของ TikTok ออกมาเนื่องจากระบบของ TikTok นั้นมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประชาชนชาวสหรัฐฯ​ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อเรื่องภัยความมั่นคง

และยังมีกรณีที่พนักงานของ ByteDance ในประเทศจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานในทวีปยุโรป หรือแม้แต่นักข่าวในสหรัฐอเมริกาอย่าง Forbes รวมถึงอังกฤษอย่าง Financial Times ทำให้มีความกังวลถึงสิทธิของผู้ใช้งาน

ขณะเดียวกันมาตรการดังกล่าวถือเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของสภาสหรัฐฯ เพื่อตอบสนองต่อประเด็นด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ เกี่ยวข้องกับจีน เนื่องจากตัวกฎหมายความมั่งคงของจีนนั้นกำหนดให้บริษัทเอกชนจะต้องทำตามนโยบายด้านความมั่งคงของจีน ซึ่งอาจมีการขอข้อมูลของผู้ใช้งานต่างๆ ทำให้เกิดความกังวลในประเด็นดังกล่าวเพิ่มขึ้น

คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการของ FBI ได้กล่าวกับคณะกรรมการข่าวกรองประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจีนอาจใช้ช่องโหว่ด้านซอฟต์แวร์ของ TikTok เพื่อเข้าถึงชาวอเมริกัน และชาวอเมริกันต้องถามตัวเองว่าพวกเขาต้องการให้รัฐบาลจีนสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของตนได้หรือไม่

ก่อนที่จะมีการไฟเขียวกับร่างดังกล่าว ในเดือนมีนาคมของปี 2023 ที่ผ่านมา Shou Zi Chew ซึ่งเป็น CEO ของ TikTok ได้ขึ้นให้การกับสภาคองเกรส และยังมีการออกคลิปวิดีโอแสดงถึงความสำคัญของ TikTok ว่าสร้างความบันเทิง และภาคธุรกิจในสหรัฐฯ ได้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานในสหรัฐฯ มากกว่า 150 ล้านคน

ถ้าหาก ByteDance ไม่มีการขายกิจการ TikTok และมีการแบนเกิดขึ้นจริง สหรัฐฯ ก็จะเป็นอีก 1 ประเทศที่มีการแบนแอปพลิเคชันนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้เนปาลได้ประกาศแบนแอปพลิเคชันดังกล่าว เนื่องจากเนื้อหาเป็นอันตรายต่อความสามัคคีในสังคมมาแล้ว

ในส่วนของ หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนมองว่าการแบน TikTok ถือเป็น “การกลั่นแกล้ง” และยังชี้ว่าเรื่องดังกล่าวจะส่งผลย้อนกลับต่อสหรัฐอเมริกาเองหลังจากนี้

อย่างไรก็ดีในการออกข้อกฎหมายนั้นยังต้องผ่านวุฒิสภาของสหรัฐฯ ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนว่าข้อกฎหมายดังกล่าวจะผ่านการพิจารณาหรือไม่ และยังรวมถึงมีความเสี่ยงจากการยื่นฟ้องผ่านศาลว่าร่างดังกล่าวขัดกับข้อกฎหมายของสหรัฐอเมริกาหรือไม่ด้วย

ที่มา – CNN, ABC News, CBS News

]]>
1466177
ลดแลกแจกแถม! ‘ByteDance’ บริษัทแม่ TikTok กำลังเจรจาขายธุรกิจเกมให้ ‘Tencent’ แม้มูลค่าจะลดลง https://positioningmag.com/1458184 Wed, 10 Jan 2024 08:05:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458184 หลังจากช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีข่าวว่า ByteDance บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มดัง TikTok ได้ยอมแพ้ในการปั้น ธุรกิจเกม โดยมีการปลดพนักงานนับพันคน ล่าสุด บริษัทก็ยืนยันว่ากำลังเจรจากับ Tencent บริษัทเกมยักษ์ใหญ่ของจีน เพื่อขายบริษัทเกมให้

ByteDance ได้ออกมายืนยันว่า บริษัทกําลังเจรจากับผู้ซื้อที่มีศักยภาพหลายรายสําหรับ ธุรกิจวิดีโอเกม และหนึ่งในบริษัทที่กำลังเจรจาคือ Tencent Holdings บริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกจริง โดย ByteDance ยอม ลดมูลค่าของสตูดิโอเกมที่จะขาย หลังจากที่เคยใช้เงินลงทุนมากกว่า 100 ล้านหยวน (14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการพัฒนาเกมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ตัวแทนบริษัทเปิดเผยว่า ByteDance ยังไม่บรรลุข้อตกลงกับ Tencent

ย้อนไปในเดือนพฤศจิกายน South China Morning Post ได้รายงานว่า ByteDance ได้กล่าวกับพนักงานว่า จะยกโครงการเกมส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้เผยแพร่ และขายลิขสิทธิ์อย่างน้อยสองเกม ได้แก่ Crystal of Atlan และ Earth: Revival นอกจากนี้ บริษัทยังเริ่มเลิกจ้างที่กลุ่มธุรกิจเกมซึ่งมีพนักงานเกือบ 2,000 คน แม้ว่าจํานวนพนัก งานที่ได้รับผลกระทบที่แน่นอนจะไม่ชัดเจน เพราะมีพนักงานบางส่วนที่ต้องการอยู่ที่ ByteDance โดยอาจจะย้ายไปยังทีมอื่นได้

แม้จะมีความสําเร็จอย่างมากกับแอปวิดีโอสั้น TikTok และ Douyin (TikTok เวอร์ชันจีน) แต่ ByteDance ก็ล้มเหลวในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนด้านเกม บริษัทใช้เงินประมาณ 3 หมื่นล้านหยวนในการเข้าซื้อกิจการวิดีโอเกมและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสตูดิโอมากกว่า 20 แห่งระหว่างปี 2019 ถึง 2022 โดย Niko Partners ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมเกม เปิดเผยว่า สัดส่วนรายได้จากเกมของ ByteDance มีไม่ถึง 1% จากรายได้รวม

ขณะที่ Yan Shou หัวหน้าหน่วยเกมของ ByteDance ได้กล่าวว่า Zhang Yiming ผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งลาออกจากตําแหน่งประธานและซีอีโอในปี 2021 ไม่เคยเป็นคนที่ชื่นชอบวิดีโอเกมก่อนที่จะเข้าสู่ตลาด โดยเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในอาชีพการงานของเขาในการลงทุนเชิงกลยุทธ์และจ้างคนหลายคนที่มีพื้นฐานการให้คําปรึกษาและกลยุทธ์เพื่อช่วยเขาบริหารหน่วยเกม และเขาก็เริ่มหมดความอดทนกับการพัฒนาที่ช้า โดยเขากล่าวว่า สตูดิโอ Moonton ของบริษัทยังไม่เติบโตแม้จะเพิ่มจํานวนพนักงานเป็นสองเท่า

Source

]]>
1458184
ByteDance ยกธงขาวธุรกิจเกม เตรียมปิด ‘Nuverse’ บริษัทพัฒนาเกมในเครือ พร้อมโละพนักงานเกือบ 1 พันคน https://positioningmag.com/1453655 Tue, 28 Nov 2023 06:45:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453655 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นชื่อดังได้เข้าซื้อสตูดิโอเกมมือถือ เพื่อวางแผนเข้าสู่วงการเกมอย่างจริงจัง แต่ล่าสุด บริษัทก็มีได้เตรียมโละพนักงานเกือบ 1 พันคน ที่อยู่ในแผนกเกม เพื่อปรับโครงสร้างใหม่

ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok เตรียมปิด Nuverse บริษัทลูกที่ทำหน้าที่พัฒนาเกมทิ้ง รวมถึงจะ เลิกจ้างงาน 1 พันตำแหน่ง โดยจากนี้ ByteDance จะประกาศให้พนักงานเลิกพัฒนาเกมที่ยังสร้างไม่เสร็จ และอาจขายเกมที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย

หลายคนมองว่า สาเหตุที่ ByteDance ล่าถอยออกจากตลาดเกม เป็นเพราะในช่วง 2-3 ปีมานี้ รัฐบาลจีนได้ออกกฎระเบียบที่เข้มงวดกับอุตสาหกรรม ทั้งจากฝั่งของผู้เล่นและผู้ผลิต แม้ว่าปัจจุบันมาตรการต่าง ๆ จะผ่อนคลายขึ้น แต่อุตสาหกรรมเกมก็ไม่ได้เติบโตพีคเหมือนช่วงโควิด ที่คนมีเวลาเล่นเกมมากขึ้น เนื่องจากอยู่แต่บ้าน

ขณะที่การจะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมเกมนั้นยาก เพราะต้องอาศัยบริษัทที่สร้างกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น บริษัทจึงเลือกที่จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักอย่างแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น TikTok และ Douyin

“เราตรวจสอบธุรกิจของเราเป็นประจำและทำการปรับเปลี่ยนเพื่อมุ่งเน้นไปที่การเติบโตเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว หลังจากการทบทวนล่าสุด เราได้ทำการตัดสินใจที่ยากลำบากในการปรับโครงสร้างธุรกิจเกมของเรา” ByteDance กล่าว

ที่ผ่านมา ByteDance ได้ลงทุนไปหลายพันล้านดอลลาร์ไปกับการสร้างเกม อย่างในปี 2021 บริษัทได้ทุ่มเงินถึง 4 พันล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อ Moonton สตูดิโอเกมมือถือรายใหญ่ ซึ่งยิ่งตอกย้ำความทะเยอทะยานของบริษัทที่จะชนผู้นำตลาดเกมในจีนอย่าง Tencent และ NetEase แต่ปัจจุบัน บริษัทกำลังหาทางที่จะ ขาย Moonton ทิ้ง

Source

]]>
1453655
รายได้ของ ByteDance ครึ่งปีแรกอยู่ที่ 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tencent ไปแล้ว https://positioningmag.com/1452743 Wed, 22 Nov 2023 03:49:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452743 ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ได้รายงานรายได้ในไตรมาส 2 ของปี 2023 ให้กับนักลงทุนในวงจำกัด โดยล่าสุดบริษัทมีรายได้ถึง 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวแซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tencent ไปแล้ว และรายได้ดังกล่าวยังตามหลัง Meta อยู่ไม่มาก

The Information รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ByteDance บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีน ได้รายงานผลประกอบการในไตรมาส 2 ของปี 2023 ซึ่งมีรายได้รวมถึง 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตมากถึง 40% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้ของ ByteDance เติบโตก็คือรายได้จากโฆษณา รวมถึงรายได้จากธุรกิจ E-commerce โดยรายได้ในประเทศจีนยังคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 80% ของรายได้รวม ในส่วนที่เหลืออีก 20% เป็นรายได้จากนอกประเทศจีน

โดยรายได้ของ ByteDance ในช่วงครึ่งปีแรกนั้นใกล้เคียงกับ Meta ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมอย่าง Facebook และ Instagram ซึ่งมีรายได้รวมที่ 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว

ตัวเลขรายได้ในไตรมาส 2 ดังกล่าวของ ByteDance ยังแซงยักษ์ใหญ่ที่เป็นคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Tencent ไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถแซงรายได้ของ Alibaba ไปได้

อย่างไรก็ดีบริษัทได้รายงานถึงรายได้ในประเทศจีนให้กับนักลงทุนมาแล้วในปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งรายได้ในประเทศจีนของบริษัทนั้นเติบโตช้าลง ทำให้บริษัทเริ่มรุกธุรกิจนอกประเทศจีนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผนการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ดีความท้าทายของ ByteDance คือการเข้ามาควบคุมแพลตฟอร์มจากรัฐบาลหลายๆ ประเทศที่เข้มงวดมากขึ้น หรือแม้แต่การแบน TikTok ที่ล่าสุดประเทศอย่างเนปาล ได้ประกาศแบนแพลตฟอร์มดังกล่าว ตามหลังอินเดีย โดยให้เหตุผลถึงเนื้อหาเป็นอันตรายต่อความสามัคคีในสังคม 

]]>
1452743
Wall Street Journal รายงาน TikTok ส่งสัญญาณประเมินพนักงานเข้มงวดขึ้น กังวลอาจมีมาตรการลดโบนัส หรือไม่ก็ปลดพนักงาน https://positioningmag.com/1449832 Mon, 30 Oct 2023 09:16:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449832 TikTok ส่งสัญญาณประเมินพนักงานเข้มงวดขึ้นมากกว่าเดิม ปัจจัยดังกล่าวทำให้พนักงานกังวลอาจมีมาตรการลดโบนัส หรือไม่ก็ปลดพนักงาน ซึ่งกรณีดังกล่าวเคยเกิดขึ้นกับบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐฯ อย่าง Meta มาแล้ว

Wall Street Journal รายงานข่าว โดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า TikTok แจ้งให้พนักงานระดับบริหารทั่วโลกเริ่มมีความเข้มงวดในการประเมินพนักงานเพิ่มมากขึ้น และมาตรการดังกล่าวสร้างความกังวลว่าบริษัทอาจมีมาตรการ อื่นๆ กับพนักงานตามมาภายหลัง

การประเมินพนักงานดังกล่าวจะมีความเข้มงวดมากกว่าเดิม โดยการแจ้งระดับผู้บริหารในแต่ละประเทศนั้นจะมีพนักงานที่ได้คะแนนต่ำเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจำนวนจะมีเพิ่มมากขึ้น 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งก่อนหน้า

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ทำให้พนักงานเริ่มเกิดความแตกตื่นว่าบริษัทจะส่งสัญญาณหลังจากนี้ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดโบนัสของพนักงาน หรือแม้แต่กรณีเลวร้ายสุดคือการปลดพนักงาน ซึ่งบริษัทแม่อย่าง ByteDance ถือเป็นอีกบริษัทเทคโนโลยีที่รับพนักงานจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา จากความนิยมของแพลตฟอร์ม

ก่อนหน้านี้ TikTok ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการจ่ายโบนัสของพนักงานมาแล้ว นอกจากนี้สื่อรายดังกล่าวยังรายงานว่านโยบายดังกล่าวยังใช้กับ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ด้วย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ TikTok ต้องใช้นโยบายดังกล่าว เนื่องจากแรงกดดันด้านรายได้ของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรายได้ของบริษัทแม่อย่าง ByteDance ในประเทศจีนเติบโตชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันแผนในการขยายรายได้จากต่างประเทศก็เริ่มไม่เป็นอย่างที่บริษัทวางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดนีเซีย

ปัจจุบัน TikTok มีการประเมินพนักงานทุก 2 ครั้งต่อปี และในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิดที่แพลตฟอร์มได้รับความนิยมนั้นบริษัทมีพนักงานมากกว่า 130,000 คน ถือเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เติบโตสวนทางบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน

โดยตัวแทนของ TikTok ได้กล่าวกับสื่อรายดังกล่าวว่าบริษัทสนับสนุนให้พนักงานระดับบริหารมีการใช้วิจารณญาณของตนเอง และเหล่าผู้บริหารนั้นมีความรับผิดชอบต่อการกระจายผลงานของทีม

นโยบายที่ TikTok ใช้ ก่อนหน้านี้บริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาอย่าง Meta ได้ใช้นโยบายประเมินพนักงานอย่างเข้มข้นมาแล้ว จนท้ายที่สุดบริษัทได้ประกาศปลดพนักงานยกใหญ่มากถึงหลัก 10,000 รายมาแล้ว ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ รายนี้ได้ให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน จึงต้องปรับตัวในเรื่องดังกล่าว

]]>
1449832
รายได้ของ ByteDance ในจีนปี 2022 เติบโตเหลือแค่ 25% แล้ว คาดบริษัทโฟกัสธุรกิจจากต่างแดนเพิ่มในปีนี้ https://positioningmag.com/1441154 Wed, 16 Aug 2023 04:15:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441154 ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok และ Douyin พบกับปัญหาใหม่ก็คือรายได้ในประเทศจีนเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมารายได้รวมเติบโตเหลือแค่ 25% เท่านั้น ส่งผลทำให้บริษัทต้องเร่งหารายได้จากต่างแดนมาเพิ่มเติม

The Information รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok รวมถึง Douyin ที่ให้บริการในประเทศจีนนั้นกำลังประสบปัญหารายได้ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2022 ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันบริษัทก็ได้โฟกัสธุรกิจนอกประเทศจีนเพื่อที่จะหารายได้ทดแทนในส่วนของแดนมังกรที่เริ่มมีความไม่แน่นอนเพิ่มสูงขึ้น

รายได้จากในประเทศจีนของ ByteDance ในปี 2022 ที่สื่อรายดังกล่าวรายงานอยู่ที่ราวๆ 69,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตเพียงแค่ 25% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าลดลงอย่างมาก โดยในปี 2021 นั้นรายได้บริษัทเติบโต 68% ขณะที่ในปี 2020 เติบโตมากถึง 105% และ 150% ในปี 2019

การชะลอตัวของรายได้ในประเทศจีนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ในปี 2023 นี้บริษัทต้องโฟกัสที่แพลตฟอร์มนอกประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น TikTok หรือแม้แต่บริการอื่นๆ ที่บริษัทได้เปิดตัวในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นตลาดในสหรัฐอเมริกาที่แม้ว่าบริษัทจะเจอความเสี่ยงในเรื่องปัญหาด้านความมั่นคงก็ตาม

นอกจากนี้ยังรวมถึงตลาดในอาเซียนที่ ByteDance มองเป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัท โดยเฉพาะการผลักดัน TikTok Shop เนื่องจากการเติบโตทางด้านการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในประเทศอินโดนีเซียนั้น GMV ของ TikTok Shop ในไตรมาส 1 ของปี 2023 นี้ทำยอดได้เกิน 2,500 ล้านเหรียญแล้ว

และยังรวมถึงบริการสตรีมมิ่งเพลง TikTok Music ที่บริษัทได้เปิดตัวในอินโดนีเซีย บราซิล เพื่อที่จะหาลูกค้าและรายได้เพิ่มเติม

ในปี 2022 ที่ผ่านมารายได้รวมของ ByteDance อยู่ที่ 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 38% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยรายได้ในประเทศจีนยังถือว่าเป็นสัดส่วนสำคัญถึง 80% ของรายได้รวมบริษัท แต่สัดส่วนรายได้จากธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทเติบโตมากถึง 2 เท่าในปีที่ผ่านมา

ขณะที่ตัวเลขผู้ใช้งานต่อวันในปี 2022 ที่ผ่านมา Douyin มีผู้ใช้งานต่อวันมากถึง 850 ล้านราย ทางด้านของ TikTok ล่าสุดอยู่ที่ 840 ล้านราย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเริ่มสูสีกันมากขึ้น จึงเป็นคำตอบว่าทำไมบริษัทเริ่มหันมาโฟกัสกับรายได้นอกประเทศจีน รวมถึงตลาดในสหรัฐอเมริกา แม้จะมีความเสี่ยงก็ตาม

]]>
1441154
TikTok ยังลุยตลาดสหรัฐฯ แม้เสี่ยงโดนแบน เข็นธุรกิจ E-Commerce ชนคู่แข่งสำคัญอย่าง Shein https://positioningmag.com/1439217 Thu, 27 Jul 2023 11:56:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439217 TikTok ยังลุยตลาดสหรัฐอเมริกา โดยล่าสุดเตรียมจะเปิดตัวธุรกิจ E-Commerce ที่ขายสินค้าทุกชนิดที่นำเข้าจากประเทศจีน เพื่อแข่งกับ Shein ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญ อย่างไรก็ดีก็ยังมีความเสี่ยงในการขยายธุรกิจในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากปัญหาด้านความมั่นคง

The Wall Street Journal รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า TikTok เตรียมที่จะเปิดตัวธุรกิจ E-Commerce ของบริษัทในสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะแข่งขันในการแย่งชิงลูกค้ากับ Shein ที่เป็นแพลตฟอร์มคู่แข่งสำคัญที่กำลังตีตลาดแดนมะกันในตอนนี้

โมเดลที่ TikTok จะนำมาใช้คือการขายสินค้าทุกชนิดเหมือนกับ Amazon ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสินค้าเหล่านี้นำเข้ามาจากประเทศจีน นอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะรีวิวร้านค้าทั้งในแพลตฟอร์มหรือแม้แต่ร้านค้าภายนอกได้ด้วย

ก่อนหน้านี้บริษัทได้เตรียมทุ่มเงินระดับหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อที่จะลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแล้ว จากเหตุผลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประชากรกำลังเติบโตสูง และการเข้าถึง E-Commerce ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนา

ไม่เพียงเท่านี้ TikTok เองยังต้องการที่จะใช้จุดเด่นคือเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานต่อวันมากกว่า 1,000 ล้านคนในการหาโมเดลธุรกิจใหม่ด้วย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ByteDance บริษัทแม่ได้หาโมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อที่จะหารายได้เพิ่มเติมด้วย

ขณะเดียวกันตัวเลขล่าสุดผู้ใช้งาน TikTok ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ราวๆ 150 ล้านคน นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดประเทศกำลังพัฒนาที่มีกำลังซื้อมากที่สุดในโลก ทำให้บริษัทเองก็ไม่สามารถที่จะทิ้งตลาดนี้ไปได้ และบริษัทเองยังวางเป้าหมายที่จะมียอดขายสินค้าออนไลน์รวม (GMV) ให้ได้มากถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย

ในช่วงที่ผ่านมาแพลตฟอร์ม E-Commerce หลายเจ้าได้พยายามที่จะบุกตลาดโลก เพื่อแข่งขันกับ Amazon หรือคู่แข่งที่มาจากบริษัทจีน เช่น Aliexpress ของ Alibaba และ Temu ของ Pinduoduo หรือแม้แต่ Shopee ของ Sea อย่างไรก็ดีปัญหาด้านสภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาทำให้หลายแพลตฟอร์มต้องชะลอการขยายธุรกิจด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดีการบุกตลาด E-Commerce ในสหรัฐอเมริกาอาจเป็นงานลำบากของ TikTok เนื่องจากปัญหาการถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลสหรัฐ จากเรื่องข้อมูลผู้ใช้งาน หรือแม้แต่ประเด็นด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นประเด็นจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั่นเอง

]]>
1439217