CSR – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 22 Nov 2022 13:11:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ลิสเตอรีน” ร่วมสร้างรอยยิ้มที่สดใส ผ่านแคมเปญ “Healthier Breath, Healthier Mouth, Healthier Life ลมหายใจดีเพื่ออีกชีวิตที่ดีขึ้น” https://positioningmag.com/1409365 Mon, 28 Nov 2022 04:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409365

ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นสยามเมืองยิ้ม แต่ทราบหรือไม่ว่ายังมีเด็กไทยหลายคนที่ขาดโอกาสในการมีรอยยิ้มที่ดี และสุขภาพที่ดี เนื่องจากภาวะ “ปากแหว่งเพดานโหว่” ที่สร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอีกด้วย

จากสถิติของจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกในทุกๆ 3 นาที ประมาณการว่ามีเด็กหนึ่งคนที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ในประเทศไทยพบทารกที่เกิดมามีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ 1 ราย ต่อทารกแรกเกิด 700 รายโดยประมาณ ทารกที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่นั้นจะไม่สามารถดื่มนมแม่ หรือกลืนอาหารได้อย่างปกติ เกิดอาการสำลัก ทำให้อาหารหรือของเหลวเข้าไปในทางเดินหายใจ เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีปัญหาระบบการหายใจ หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของทารกได้ นอกจากนี้ยังความผิดปกติในการการพูดออกเสียง และการได้ยินเสียง

การรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในเด็กแต่ละราย ไม่ใช่การผ่าตัดเพียงครั้งเดียว แต่เป็นการรักษาที่ต้องต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีการเจริญเติบโต ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่นซึ่งยาวนานเป็น 10  ปี โดยเฉลี่ยต้องผ่าตัด 3-5 ครั้ง และจำเป็นต้องรักษาทางฟันและเติมกระดูกเพดานปาก ในประเทศไทยยังมีผู้ป่วยเด็กปากแหว่งเพดานโหว่จำนวนหนึ่งที่ไม่เคยได้รับโอกาสผ่าตัดแก้ไขเลยจนตลอดชีวิต

ลิสเตอรีน (LISTERINE) น้ำยาบ้วนปากอันดับหนึ่งในประเทศไทย จึงเห็นความสำคัญของปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ ได้จับมือพันธมิตร วัตสัน และมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย (Operation Smile Thailand) จัดแคมเปญ “Healthier Breath, Healthier Mouth, Healthier Life ลมหายใจดีเพื่ออีกชีวิตที่ดีขึ้น” เพื่อช่วยเหลือน้องๆ ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในประเทศไทยให้ได้รับการผ่าตัดรักษา พร้อมสร้างรอยยิ้มที่สดใสและคืนความมั่นใจให้แก่พวกเขาอีกครั้ง

รายละเอียดของแคมเปญนี้ ผู้สนใจสามารถสมทบทุนเพื่อร่วมแคมเปญได้ทันที เพียงซื้อผลิตภัณฑ์ลิสเตอรีนกลิ่นใดก็ได้ในร้านวัตสันทุกสาขา (จำนวน 1 ขวด เท่ากับช่วยสมทบทุน 5 บาท) ได้ตั้งแต่วันนี้ – 21 ธันวาคม 2565

นวลพรรณ ชัยนาม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ วัตสัน ประเทศไทย เริ่มเล่าว่า

“ทางวัตสันเองมีการทำ CSR หลายภาคส่วน ในระดับโกลบอลจะมีแคมเปญเรียกว่า Give a Smile ทำใน 8 ตลาด ได้เริ่มทำมา 5 ปี ทำงานร่วมกับองค์กร Operation Smile Thailand เพื่อสร้างรอยยิ้มแก่น้องๆ ให้สมบูรณ์ขึ้น สำหรับในประเทศไทยได้ทำร่วมกับลิสเตอรีนมาได้ 4 ปี มองว่าเราเป็นอินเตอร์แบรนด์เหมือนกัน มีเครือข่ายทั่วโลก มีนโยบายด้าน CSR ตรงกัน อยากส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี โดยเฉพาะสุขภาพช่องปาก”

ในการร่วมมือกันของทั้งวัตสัน และลิสเตอรีน เป็นเหมือนการช่วยกันระดมทุนเพื่อช่วยกันบริจาค โดยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการบริจาคด้วย ใช้หน้าร้านทั้ง 640 สาขาของวัตสันเป็นหลัก ทางวัตสันมีสินค้าลิมิเต็ดอิดิชั่นเพิ่มเติมอีก เช่น กล่องทิชชูลายพิเศษ โดยสินค้ากลุ่มนี้ จะหักยอดขาย 20% เพิ่มมอบให้องค์กรการกุศล รวมถึงในปีนี้ที่มีความพิเศษกว่าทุกปี เปิดให้สมาชิกได้บริจาคพอยท์แก่ Operation Smile ได้ โดย 100 พอยท์เท่ากับ 1 บาท

ทางด้าน ราวี บอร์เดีย ผู้จัดการทั่วไป จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน คอนซูเมอร์เฮลท์ ประเทศไทย ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของแคมเปญ Healthier Breath, Healthier Mouth, Healthier Life ลมหายใจดีเพื่ออีกชีวิตที่ดีขึ้น

“ลิสเตอรีนมีวิสัยทัศน์ในการทำ CSR ในประเทศไทย ต้องการให้ทุกคนมีสุขภาพปากที่สมบูรณ์ เพราะเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิต สำหรับแคมเปญนี้ต้องการสร้างการรับรู้ให้สังคมว่าเราต้องการช่วยเหลือสังคม ต้องการช่วยคนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป ได้รับการยอมรับในสังคม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ต้องการให้โลกมีสุขภาพปากที่ดี” 

ราวียังเสริมอีกว่า เชื่อหรือไม่ว่าเพียงแค่ได้รับการผ่าตัดเพียง 45 นาที ก็มีชีวิตใหม่แล้ว แต่ละคนอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันขึ้นอยู่แต่ละเคส แคมเปญนี้จึงอยากเชิญชวนคนทั่วไปมาช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ ให้ได้โอกาสในการผ่าตัด ให้มียิ้มสดใส ช่วยด้านสุขภาพโดยรวมด้วย

จริงๆ แล้วลิสเตอรีนได้แรงบันดาลใจในการทำแคมเปญนี้จาก “สยามเมืองยิ้ม” เมืองไทยเป็นเมืองยิ้ม แต่ก็พบว่ายังมีเด็กหลายคนที่มีรอยยิ้มไม่สมบูรณ์ นอกจากรอยยิ้มที่ไม่สดใสแล้ว ยังนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพอีกด้วย ทางลิสเตอรีนได้ทำงานร่วมกับ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทยมาเป็นเวลา 9 ปีแล้ว ในปีนี้เป็นการทำแคมเปญครั้งใหญ่ที่สุด เนื่องจากต้องการสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น เพราะช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ไม่มีการผ่าตัดเลย เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ต้องไปช่วยเคส COVID-19 กันหมด

นอกจากแคมเปญนี้จะมีการระดมทุนเพื่อน้องๆ ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่แล้ว ยังใช้เพลงลมหายใจมาใช้ในแคมเปญ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น เรียบเรียงโดย “บอย โกสิยพงษ์”

ราวีบอกอีกว่า “เพลงเป็นเครื่องมือที่มีพลังมาก ช่วยเล่าเรื่องได้ เชื่อมต่อผู้คนได้ง่าย เป็นภาษาสากล และมีความลึกซึ้งเข้าถึงจิตวิญญาณได้ เลยใช้เพลงในการเล่าเรื่อง เชื่อมต่อเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เพลงนี้ถูกร้องโดยเด็กๆ ที่ได้รับการผ่าตัดจริงๆ ทำให้มีพลังมากขึ้น”

ติดตามชมวิดีโอแคมเปญ “Healthier Breath, Healthier Mouth, Healthier Life ลมหายใจดีเพื่ออีกชีวิตที่ดีขึ้น” ซึ่งใช้เพลง “ลมหายใจ” เวอร์ชั่นพิเศษ โดยบอย โกสิยพงษ์ พร้อมขับร้องโดยคณะประสานเสียงที่เคยเข้ารับการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่จนหายดีแล้ว เพื่อเชิญชวนให้ทุกคนร่วมแคมเปญฯ ได้ทาง Facebook: @Mr.Listerine  หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ทาง  https://www.facebook.com/Mr.Listerine/ หรือ https://www.listerine.co.th/

]]>
1409365
Atlas Copco ผู้บุกเบิกนวัตกรรมประหยัดพลังงานกับโครงการ Water for All น้ำสะอาดเพื่อทุกคน https://positioningmag.com/1378499 Thu, 24 Mar 2022 04:00:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378499

Atlas Copco กับเป้าหมายด้านความยั่งยืนเนรมิตโครงการ Water for All หรือน้ำสะอาดเพื่อทุกคนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงน้ำสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับทุกคน บริษัทยังคงดำเนินโครงการเพื่อสังคมพร้อมกับนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า


รู้จัก Atlas Copco

ถ้าในมุมผู้บริโภคทั่วไปอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับชื่อ Atlas Copco (แอตลาส คอปโก้) มากนักแต่ถ้าใครที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมรับรองว่าต้องรู้จักเป็นอย่างดีเพราะ Atlas Copco ผู้นำเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านงานอุตสาหกรรมสัญชาติสวีเดนที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าโดยแนวคิดมุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการลงทุนของการทำธุรกิจ

Atlas Copco ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2416 หรือมีอายุ 149 ปีแล้วเริ่มต้นจากเทคโนโลยีอากาศอัดแบบ Oil-free air และเครื่องยนต์ระบบไอน้ำที่มีประสิทธิภาพตลอดจนการพัฒนาเครื่องมือลม (Pneumatic tools) และเครื่องมือสำคัญในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ

ปัจจุบันเราได้พัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซต์ผ่านนวัตกรรมที่ต่างๆ ที่ช่วยประหยัดพลังงานไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือไฟฟ้าปั๊มสุญญากาศระบบจัดเก็บพลังงานรวมไปถึงเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบ VSD ซึ่งทางบริษัทมีความมุ่งมั่นเพื่อที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าด้วยการเป็นผู้นำในด้านระบบอัดอากาศเครื่องมือลมเครื่องจักรก่อสร้างรวมไปถึงระบบสูญญากาศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ได้มีการแพร่ระบาดมากกว่า 2 ปีแล้วทาง Atlas Copco ยังคงพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและได้นำเสนอเทคโนโลยีในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในด้านการประหยัดพลังงาน และการตรวจสอบระยะไกลของเครื่องจักรแก่ลูกค้าซึ่งช่วยให้เรา และลูกค้าสามารถดูการทำงานหลักของเครื่องได้จากระยะไกลเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งเทคโนโลยีนี้มีความสำคัญมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดเนื่องจากบางครั้งการเข้าทำงานในโรงงานลูกค้าอาจจะติดขัดและมีผลกระทบต่อการผลิตได้เนื่องจากการแพร่ระบาดยังคงมีอยู่

สิ่งที่ Atlas Copco มุ่งมั่นเป็นพิเศษก็คือการเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์รักษาโลกสีเขียว เพราะเราทุกคนทราบดีกว่าทรัพยากรบางอย่างบนโลกใช้แล้วหมดไป ดังนั้นการนำพลังงานหมุนเวียนมามีส่วนร่วมในการผลิตจึงเป็นส่วนสำคัญของการสร้างโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทไม่ว่าจะเป็นปั๊มสูญญากาศเครื่องอัดอากาศ หรือปั๊มลมเครื่องมืออุตสาหกรรมที่ใช้ในการประกอบยานยนต์ และเครื่องมือขุดเจาะล้วนมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีส่วนช่วยประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์

เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนได้เพื่อผลักดันให้เกิดสังคมที่มีก๊าซคาร์บอนต่ำ และยังส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจใหญ่หรือโอกาสที่จะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างๆเพราะจุดประสงค์คือการลดสภาวะก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานและพลังงานที่ใช้ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายว่าเราจะช่วยลดการปล่อยมลพิษเพื่อช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่สูงสุด 1.5 °C (2.7 °F) เพื่อให้บรรลุสิ่งนี้ Atlas Copco จะสามารถลดการปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ลง 46% ภายในปี 2030

สำหรับในประเทศไทย Atlas Copco ได้ดำเนินธุรกิจมา 30 ปีแล้วมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของหลายๆ บริษัทแต่บริษัทของเรายังคงเติบโตเนื่องจากเราได้ทำการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับเป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยมุ่งเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้าในการผลิตให้ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพราะว่าตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรค่าไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรคิดเป็น 75%-80% ซึ่งเป็นต้นทุนหลักเมื่อเทียบกับราคาเครื่องจักรและค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งประมาณ 20%-25%

ในหลายธุรกิจอาจได้รับผลกระทบและบริษัทเหล่านั้นมีอาจจะการปลดพนักงานเพื่อควบคุมรายจ่ายแต่สำหรับ Atlas Copco ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาได้มีการเพิ่มจำนวนบุคลากรขึ้น 9% สำหรับหน่วยงานบริษัทแอตลาสคอปโก้ (ประเทศไทย) จำกัด และได้ทำการปรับปรุงอาคารสำนักงานของเราในเมืองไทยเพื่อตอบสนองกับนโยบายพลังงานหมุนเวียนซึ่งเรามั่นใจว่าพลังงานที่ใช้ 70% ที่ใช้ในอาคารสำนักงานของเรานั้นเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืน

และสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยก็คือการที่ประเทศไทยถูกแต่งตั้งเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียย้ายฐานจากประเทศสิงคโปร์ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยและเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นด้วย


บิ๊กโปรเจ็คต์ Water for All น้ำสะอาดเพื่อทุกคน

นอกจากนวัตกรรมต่างๆ ของ Atlas Copco จะตอบโจทย์เรื่องการประหยัดพลังงาน และความยั่งยืนแล้วสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือการทำโครงการเพื่อสังคมหรือ CSR ซึ่งจะมีโครงการ Water for All เป็นโครงการใหญ่ในระดับโกลบอลที่ทำต่อเนื่องอย่างยาวนานในแต่ละประเทศจะมีโครงการย่อยๆ ทั้งในระดับภูมิภาค และทั่วโลกอีกด้วย

ฮอสท์ปีเตอร์วูล์ฟกังวาเซล Vice President Holding Atlas Copco SE-Asia & Oceania กล่าวว่า

“โครงการน้ำเพื่อทุกคน (Water for All) ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2527 ในประเทศสวีเดน เป็นโครงการการกุศลไม่แสวงหาผลกำไร (CSR) เพื่อคืนกำไรสู่สังคมในการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดมีสุขาภิบาล และอนามัยที่ดีตามหลักสิทธิมนุษยชนเป็นโครงการที่พนักงานของเราทุกคนให้ความสำคัญอย่างยิ่งด้วยการบริจาคเงินของพนักงานโดยความสมัครใจ และบริษัทจะทำการสมทบเพิ่มให้อีกเป็นสองเท่าเพื่อจัดหาน้ำดื่ม และน้ำเพื่อการสุขาภิบาลที่สะอาดให้กับผู้คนที่ต้องการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดในถิ่นทุรกันดารต่างๆ ทั่วโลก”

นอกจากการบริจาคเงินแล้วยังรวมไปถึงการพัฒนา และการเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ที่องค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN Thailand) ได้กำหนดไว้เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจช่วยให้มีระบบนิเวศที่ดีและเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต

จากการวิจัยของ World Bank พบว่ายังมีประชากรทั่วโลกกว่า 2.2 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดเพื่อบริโภคได้ประชากรกว่า 4.2 พันล้านคนที่ไม่ได้รับบริการด้านสุขอนามัยที่ดีและประชากรอีกกว่า 3 พันล้านคนไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือขั้นพื้นฐานช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งน้ำและการสุขาภิบาลเกิดจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำมากขึ้นรวมถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบันซึ่งส่งผลให้เกิดกระทบในหลายพื้นที่ทั่วโลกน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจและช่วยในการพัฒนาแหล่งชุมชนอย่างยั่งยืน

โครงการ Water for All ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกที่เมือง Anden ในอเมริกาใต้ต่อมาก็ได้ขยายไปไปยังถิ่นธุรกันดารอีกหลายประเทศทั่วโลกอาทิประเทศจีนประเทศอินเดียรวมถึงประเทศต่างๆ ในแถบแอฟริกา

ทาง Atlas Copco มีความเชื่อว่าแค่น้ำก็สามารถเปลี่ยนชีวิตได้คนทั่วโลกต้องการเข้าถึงน้ำสะอาดต้องการช่วยให้ผู้คนเหล่านี้บรรลุเป้าหมายเพราะเชื่อว่าน้ำสะอาดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

ทางด้าน ซานเจย์ ซาฟายา กรรมการผู้บริหารบริษัท แอตลาส คอปโก้ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมว่า

“สำหรับโครงการ Water for All ในประเทศไทยได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้วในปี พ.ศ. 2564 ได้เดินทางไปพัฒนาระบบน้ำประปา และก่อสร้างถังเก็บน้ำให้กับหมู่บ้านบนดอยจำนวน 3 หมู่บ้านในจังหวัดเชียงรายได้แก่หมู่บ้านแม่ตาซาง, หมู่บ้านบาลาห์และหมู่บ้านร่วมใจ ครอบคลุมช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2564 โครงการได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท แอตลาส คอปโก้ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นจำนวนเงินรวมทั้งหมดประมาณ 400,000 บาท”

โครงการนี้จะช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำทั้ง 3 หมู่บ้าน เพื่อให้มีน้ำเพียงพออย่างน้อย 50 ลิตรต่อวันตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานสากล (มาตรฐานด้านมนุษยธรรม SPHERE) สำหรับการใช้งานต่อวันสำหรับการบริโภค และการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล

ด้วยการสนับสนุนการเงินจาก Atlas Copco และการช่วยเหลือด้านการจัดการของบริษัทแพลนอินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยได้ส่งเสริมชุมชนเพื่อสร้างถังเก็บน้ำในบ้านร่วมใจและท่อส่งน้ำแรงโน้มถ่วงที่บ้านแม่ตาช้างและบ้านบาลาร์ได้สำเร็จ ส่งผลให้โครงการตอบสนองการเข้าถึงแหล่งน้ำสำหรับประชากรในหมู่บ้านจำนวน 1,969 คน

ซึ่งหมายความว่ามีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งซึ่งจะมีปริมาณน้ำที่พอเพียงสำหรับสมาชิกในครัวเรือนเพื่อที่จะสามารถทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้มากขึ้นสำหรับชุมชนเหล่านี้อีกทั้งยังจะช่วยให้เด็กและเยาวชนมีความปลอดภัยโดยไม่จำเป็นต้องไปตักน้ำจากแหล่งน้ำที่ไกลจากชุมชนอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า Atlas Copco มีความมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติทั้งการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมต่างๆเพื่อประหยัดพลังงานนำไปสู่การลดต้นทุนลดการปล่อยสารพิษได้อย่างมหาศาลอีกทั้งยังมีโครงการที่สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชมและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย

 

]]>
1378499
เปิด 5 หัวใจหลักกับภารกิจเพื่อสังคม “กลุ่มทรู” ยืนหนึ่งด้าน CSR ในใจชาวไทย https://positioningmag.com/1326738 Mon, 05 Apr 2021 15:44:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326738 กว่า 30 ปี ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ดำเนินธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม พัฒนาสินค้าและบริการให้แก่คนไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม นำศักยภาพด้านเทคโนโลยีสื่อสารที่มีอยู่ มาร่วมขับเคลื่อนประเทศ ครอบคลุมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ผ่านหลากหลายโครงการ

นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงนึกชื่อ “ทรู” เป็นคำตอบแรก เมื่อถูกถามถึงบริษัทที่คุณรู้สึกชื่นชมมากที่สุดด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในไทย จากการสำรวจของบริษัทวิจัยด้านการตลาดชั้นนำ ไทพ์วันแล็บ ร่วมกับ มาร์เก็ตบัซซ วันนี้เรามาดูกันว่า 5 หัวใจแห่งการทำภารกิจเพื่อสังคม ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ทรู สามารถก้าวเป็นแบรนด์ที่ 1 ด้าน CSR ในใจชาวไทย คืออะไรบ้าง…

1. วิสัยทัศน์ชัดเจน ทำเพื่อสังคม

จุดเริ่มต้นสำคัญ คือวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนขององค์กร ซึ่งการช่วยเหลือสังคม ดูเหมือนจะเป็นวาระแห่งชาติของเทคคอมปานีอย่างทรูเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นหนึ่งในพันธกิจอันยิ่งใหญ่ ที่เห็นได้ชัด คือการสนับสนุนภาคการศึกษาไทย โดยมีโครงการหลัก คือ ทรู ปลูกปัญญา และมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ที่ทรูเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเพื่อร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทย

โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ไอซีทีมีบทบาทอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเยาวชน กลุ่มทรู จึงไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาสื่อ คอนเทนต์คุณภาพ รวมถึงแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้นักเรียนทั่วประเทศมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เท่าเทียมกัน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม

2. ผู้บริหารลงมือทำด้วยตนเอง

ผู้บริหารที่นี้ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม จึงไม่น่าแปลกใจที่เรามักเห็นภาพผู้บริหารระดับสูงของทรู ร่วมกิจกรรม CSR ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่พนักงานได้ปฏิบัติตาม ตั้งแต่การเข้าไปวางนโยบาย ให้คำแนะนำ เพื่อให้การดำเนินโครงการต่างๆ เป็นไปตามเป้าหมาย

เช่น การเป็น School Counselor และ School Coach คอยชี้แนะ ให้การสนับสนุนโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีที่อยู่ในการดูแลของกลุ่มทรู หรือลงพื้นที่ด้วยตนเองเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อนจากเหตุภัยพิบัติต่างๆ หรือช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 ที่ผู้บริหารทรู พร้อมลงมือทำร่วมกับพนักงานอย่างเต็มที่

3. ทำจริง จริงใจ ไม่มีถอย

ทรู พร้อมเคียงข้างคนไทยทุกคน ทุกช่วงเวลา ซึ่งตัวอย่างภารกิจที่โดดเด่น ก็คือการส่งเสริมด้านการศึกษาที่ทุกคนรู้จักกันดี นับตั้งแต่โครงการทรูปลูกปัญญา ในปี 2550 ที่มุ่งเน้น ปลูกความรู้ ปลูกความดี ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม โดยได้ต่อยอดไปสู่ทรูปลูกปัญญาซีรีส์อื่นๆ อีกมากมาย

ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญา คลังความรู้ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ช่องทรูปลูกปัญญา ช่องความรู้ ดูสนุกที่รวมเหล่าติวเตอร์ชื่อดังมาให้ความรู้ และหลากหลายรายการสาระบันเทิงตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งแอปพลิเคชันทรู ปลูกปัญญา ที่เปิดให้ดาวน์โหลดและเข้าถึงทุกคอนเทนต์ของทรูปลูกปัญญาฟรี เรียกได้ว่าทำเพื่อเยาวชนไทยด้วยใจจริงที่แท้ทรู

5. ทำทุกทิศทั่วไทย

สิ่งที่ทำให้การช่วยเหลือของทรู สามารถเข้าถึงทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ นั่นก็คือ พนักงานจิตอาสาที่พร้อมทุ่มเท เสียสละเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) ที่ลงพื้นที่ไปปฏิบัติงานร่วมกับโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีทั่วประเทศ รวมถึงพนักงานในส่วนภูมิภาคที่เข้าไปให้การสนับสนุนชุมชนในด้านต่างๆ

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่เข้าถึงกลุ่มคนในสังคมที่หลากหลาย เช่น กลุ่มนักเรียน ทรูปลูกปัญญา จัดกิจกรรมนำทีมติวเตอร์ มามอบความรู้ให้แก่น้องๆ ชั้นมัธยมถึงรั้วโรงเรียน หรือระดับนิสิต นักศึกษา ก็มีทรูแล็บ โครงการความร่วมมือด้านนวัตกรรมที่ทรู ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ

5. เชื่อมโยงนวัตกรรม ทำ CSR ยุค 4.0

ด้วยจุดแข็งที่เป็นผู้นำโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัลครบวงจร ทำให้ทรูสามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสื่อสาร มาร่วมสร้างสรรค์ CSR ยุค 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ทรูได้พัฒนาแพลตฟอร์ม “True Virtual World” (True VWORLD) ศูนย์รวมโซลูชันที่ครบวงจรเพื่อเป็นทางออกให้ภาคองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา และคนไทยทุกคน ได้ทำงาน และเรียน ทุกที่ ทุกเวลา ตอบโจทย์ชีวิตยุคนิว นอร์มัล

รวมถึงนำเทคโนโลยีเครือข่ายอัจฉริยะ ทรู 5G มาสนับสนุนด้านการแพทย์ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น แอปพลิเคชันออทิสติก เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กพิเศษ ด้านสิ่งแวดล้อม มีแอปพลิเคชัน We Grow กลไกลสนับสนุนการปลูกต้นไม้อย่างยั่งยืนในสังคมยุคดิจิทัล เป็นต้น

]]>
1326738
รู้จัก Consciouslites ผู้บริโภคใหม่มาเเรง “ทำดีพร้อมเเชร์” ยอมจ่ายเเพงให้เเบรนด์ช่วยสังคม https://positioningmag.com/1285842 Tue, 30 Jun 2020 11:42:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285842 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลา เป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจและเเบรนด์ต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทันและตอบสนองความต้องการของตลาดให้ตรงจุด

อย่างที่ทราบกันว่า ทุกวันนี้เทรนด์รักษ์โลกเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น เมื่อโลกต้องเผชิญทั้งโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ภาวะโลกร้อนเเละความไม่เท่าเทียมในสังคม

ความตระหนักเหล่านี้ก่อให้เกิดพฤติกรรมผู้บริโภคเเบบใหม่ที่เรียกว่า “Consciouslites” หรือกลุ่มคนที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม

พวกเขามีเเนวโน้มยอมจ่ายเเพงให้กับแบรนด์ที่มีการช่วยเหลือสังคม พร้อม เเชร์เรื่องราว” ของตัวเองเเละช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ผลิตภัณฑ์เเละเเบรนด์ที่สนับสนุนผ่านโซเชียลด้วย

รู้จักผู้บริโภค Consciouslites 

ผลวิจัยล่าสุดในหัวข้อ “The Rise of Conscious ASEANs: Why should you CARE?” (บริโภคอย่างใส่ใจ ไลฟ์สไตล์แนวใหม่ของคนอาเซียน) โดยศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ ฮิลล์ อาเซียน ก่อตั้งโดย ฮาคูโฮโด อิงค์ บริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น

เปิดเผยมุมมองของ Consciouslites ที่เป็นพฤติกรรมผู้บริโภคสายพันธ์ุใหม่ในอาเซียน ถึงความสนใจกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงเสนอแนวทางการตลาดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนี้

คำว่า The Consciouslites หมายถึง ผู้บริโภคที่มีวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องการสร้างผลกระทบในทางที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม ผ่านการกระทำต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และการเลือกใช้แบรนด์ต่างๆ

ส่วน Conscious Lifestyle หมายถึง วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่มีการพิจารณาว่าการกระทำของตนจะเป็นผลดีต่อตนเองผู้อื่นสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ รวมถึงมีความใส่ใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บริการและแบรนด์ต่างๆ ที่มีแนวคิดสอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง

นัฐกาญจน์ วัฒนมงคลศิลป์ ผู้อำนวยการสายงานวางแผนกลยุทธ์ บริษัท สปาฮาคูโฮโด จำกัด กล่าวว่าการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเเปลงเร็วขึ้น

จากผลสำรวจผู้บริโภคในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ (6 ประเทศอาเซียน) จำนวน 4,500 คน อายุ 20-49 ปี ช่วงเดือนมีนาคม 2563 พบว่าผู้บริโภคกว่า 91% มองว่า COVID-19 เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในชีวิต เเละกว่า 94% บอกว่าพวกเขาต้องปรับเปลี่ยนชีวิตตัวเอง เนื่องจาก COVID-19 ทั้งด้านไลฟ์สไตล์ รูปแบบการทำงาน มีการซื้อสินค้าด้านสุขภาพ สุขอนามัย และช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้น

ขณะที่ 81% มองอีกมุมว่าความตึงเครียดจากสถานการณ์ COVID-19 ถือเป็นโอกาสดี ที่ทำให้เห็นการแสดงออกในการช่วยเหลือกันของคนในสังคม

สิ่งเหล่านี้ ชี้ให้เห็นเเนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคว่า หลังจากผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปเเล้ว พวกเขาจะหันมาใส่ใจเรื่องสุขอนามัย การดูแลสุขภาพรวมทั้งการบริโภคอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมเเละสังคม” ซึ่ง Conscious Consumer กำลังเติบโตอย่างมากในอาเซียน

ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตระหนักรู้เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และนำไปปฏิบัติจริง คนอาเซียนประมาณร้อยละ 90 รู้จักคำว่า Conscious Lifestyle หรือวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และเกือบร้อยละ 80 นำความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมมาปฏิบัติจริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน

มีความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับสูง (Base : Conscious ASEANs) Consciouslites ในอาเซียนร้อยละ 86 ระบุว่า จะนำความใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง (ทำโดยไม่สนใจว่าคนอื่นทำอย่างไรหรือคิดอย่างไร รวมถึงทำและชักชวนให้ผู้อื่นทำด้วย)

ผลกระทบทางสังคมมีผลต่อการเลือกแบรนด์ (Base : Conscious ASEANs) กว่าร้อยละ 80 ของ Consciouslites ในอาเซียนให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่ใส่ใจสังคม โดยร้อยละ 85 ระบุว่าอยากให้มีแบรนด์จำนวนมากขึ้นที่สนับสนุนวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม และส่งผลในทางที่ดีต่อสังคม และร้อยละ 82 ระบุว่าจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์ที่สนับสนุนสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

เต็มใจจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใส่ใจสังคม (Base: Conscious ASEANs) ร้อยละ 81 ของ Consciouslites ในอาเซียนระบุว่า เต็มใจจ่ายแพงขึ้นเพื่อสินค้าสำหรับวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม

ยอมจ่ายเเพง…ให้เเบรนด์ที่ช่วยสังคม 

อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ชาวอาเซียน 81% พร้อมจ่ายเงินให้กับสินค้าและแบรนด์ที่ดูแลสังคมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้น 20% สัดส่วน 33% และยอมจ่ายในราคาที่มากกว่า 20% สัดส่วน 48% 

โดยปัจจัยหลักในการ “เลือกแบรนด์” ที่รองมาจากฟังก์ชันการใช้งานและราคา นั่นก็คือ “ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ที่ผู้บริโภคใส่ใจมากกว่าดีไซน์เเละภาพลักษณ์ของเเบรนด์

  • Awareness / Interest ชาวอาเซียนให้ความสำคัญกับ Conscious Lifestyle ถึง 80% โดยมี KOL กระตุ้นให้เกิดการซื้อมากขึ้น
  • Search / Compare ชาวอาเซียน 78% ค้นหาข้อมูลแบรนด์ที่ส่งเสริมและดูแลสิ่งแวดล้อม หากเป็นสินค้าประเภทเดียวกันราคาพอๆ กัน ชาวอาเซียน 82% พร้อมเปลี่ยนมาเลือกแบรนด์ที่สนับสนุนสังคม
  • Action ผู้บริโภคอาเซียน 76% พร้อมจ่ายเงินเพื่อสินค้าที่ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่าสินค้าทั่วไป และถ้ามีดีไซน์สวยงามจะเป็นสิ่งที่จูงใจในการซื้อเพิ่มขึ้น
  • Share / Endorse ผู้บริโภค Consciouslites ในอาเซียนกว่า 86% พร้อมบอกต่อและแนะนำแบรนด์ที่สนับสนุนสังคมและสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคกลุ่มนี้ไม่ได้มองว่าผู้ประกอบการหรือแบรนด์เจ้าของสินค้าเป็น “ผู้ร้าย” ที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม แล้วต้องลงโทษด้วยการตำหนิติเตียน (shaming) และไม่ซื้อสินค้า (boycott) แต่มองว่าผู้ประกอบการธุรกิจสามารถเป็นพันธมิตร และร่วมกันแก้ไขปัญหาได้ จึงแสดงออกด้วยการอุดหนุนซื้อสินค้า (buycott) ของแบรนด์และผู้ประกอบการที่พยายามช่วยแก้ปัญหา สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงชักชวนให้ผู้อื่นซื้อเช่นเดียวกัน

“ผู้บริโภคจะไม่ Boycott แบรนด์ที่ไม่ได้ทำ แต่จะ Buycott แบรนด์ที่ทำเพื่อสังคมมากกว่า”

Consciouslites ไทยเน้น “สนุกไม่น่าเบื่อ” เเละ “ทำดีพร้อมเเชร์” 

ผู้บริโภค Consciouslites ในอาเซียน รวมทั้งประเทศไทยมีลักษณะพิเศษ คือ “มองในเเง่บวก” คือมีความสุขกับการทำดีและอยากทำต่อเนื่อง มีแนวโน้มจะแชร์เรื่องราวที่เป็นประโยชน์กับสังคมในเชิงบวก ซึ่งเเตกต่างจากกลุ่ม Consciouslites ในยุโรปที่จะมีการแสดงออกที่แข็งกร้าวมากกว่า

กฤตเมธ วุฒิเมธีกุล นักวางแผนกลยุทธ์ระดับอาวุโส บริษัท เดลฟิส ฮาคูโฮโด (ประเทศไทย) กล่าวว่า “บุคลิกหรือนิสัยของคนอาเซียนจะค่อนข้างแตกต่างจากภูมิภาคอื่น จะเน้นในเรื่องของการแชร์ หรือมุ่งเน้นการทำความดีเพื่อช่วยสังคมและแชร์ผ่านสื่อออนไลน์เท่านั้น จะไม่สร้างความแตกแยกหรือก่อประเด็นไปโจมตีผู้อื่น”

โดยพฤติกรรมการบริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปจากการทำดีแบบเดิม ๆ แต่เกิดเป็น “มาตรฐานใหม่ในการทำดี” เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไข โดยรักษาสมดุลระหว่างการรักษ์โลกกับความสบายใจส่วนบุคคล รณรงค์ด้วยความสนุกสนานไม่เคร่งเครียด เคารพความเห็นต่าง และไม่กดดันตัวเองและผู้อื่นมากเกินไป

ดังนั้นชาว Consciouslites ในอาเซียนเเละไทย จึงชอบการช่วยเหลือสังคมที่ต้อง “สนุก” ไปด้วย รวมถึงต้องมีความตื่นเต้นเช่นการนำกิจกรรมทางกีฬามาช่วยเหลือสังคม อย่างการแข่งพายเรือเก็บขยะในคลอง การดำน้ำเก็บขยะในทะเล เป็นต้น

นอกจากนี้ พฤติกรรมที่โดดเด่นของชาวอาเซียน คือการเเชร์เรื่องราวเพื่อการทำดีเพื่อสังคมลงในโซเชียลมีเดีย เรียกว่าการส่งต่อความดีผ่าน #เเฮชเเท็ก ขณะเดียวกันการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้ตนเองดูดีขึ้นในโลกออนไลน์ อีกทั้งได้กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องออกมาเคลื่อนไหวด้วยการทำแคมเปญเพื่อให้เกิดการเเชร์เพื่อสร้างการรับรู้เเละสร้างกลุ่มผู้ที่มีความสนใจเดียวกัน 

งานวิจัยของฮิลล์ อาเซียน ชี้ให้เห็นว่า วิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการเลือกแบรนด์ของผู้บริโภค และมีพลังในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ

จาก CSR สู่การทำ CSI

พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเเปลงครั้งนี้ จึงเป็น “โอกาสสำคัญ” ของผู้ประกอบการและแบรนด์ที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคใหม่ ด้วยการเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือ CSR มาเป็น CSI (Conscious and Sustainable Initiative)

พร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้จัดการแผนกวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮิลล์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการ CSR ของเเบรนด์ต่างๆ ไม่ได้ตอบโจทย์การทำเพื่อสังคมได้ทั้งหมด เพราะเป็นการส่งเสริมระยะสั้น อาจไม่ต่อเนื่องและบางครั้งก็ไม่ได้เกี่ยวกับสินค้าของเเบรนด์ แม้จะเป็นการช่วยเหลือสังคมในมุมหนึ่ง แต่ไม่ได้สร้างการจดจำและสะท้อนเเบรนด์มากนัก

เเต่การทำ CSI เป็นความต่อเนื่องเเละมีผลต่อสังคมในระยะยาว โดยเเบรนด์สามารถนำเรื่องการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมมาปรับให้เกี่ยวข้องกับสินค้าเเละเเบรนด์ได้ พร้อมกับการกระตุ้นการซื้อเเละสร้างความภักดีในเเบรนด์ได้ทั้งกลุ่มผู้บริโภคเเละคนในองค์กรเองด้วย 

โดยฮิลล์ อาเซียน ได้แนะแนวทางการปรับตัวด้านการตลาดของแบรนด์และผู้ประกอบการธุรกิจใน 3 ด้าน ดังนี้

1. อุดมการณ์ของแบรนด์ (Brand Cause)

Identify the right issue : แบรนด์ไม่จำเป็นต้องพูดถึงทุกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ให้พิจารณาเลือกประเด็นปัญหาหรือคุณค่าเพียงอย่างเดียวมาเป็นสิ่งที่แบรนด์ให้ความสำคัญ และเจาะจงทำเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องจริงจัง
Stand up to stand out : แบรนด์ควรยืนหยัดเพื่อบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่แบรนด์ต้องการขาย ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์ และช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

2. การแสดงออกของแบรนด์ (Brand Expression)

Greenovative action : แบรนด์ควรกระตุ้นให้ผู้คนหันมามีวิถีชีวิตที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน หรือมีลักษณะคล้ายเกม ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ดีแล้ว ยังทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดีด้วย

Make it fun and inspiring : Consciouslites ในอาเซียนชอบการสื่อสารในเชิงบวก แบรนด์จึงต้องเน้นย้ำการสื่อสาร ให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน

3. ความร่วมมือกับพันธมิตร (Brand Collaboration)

Partnering with stakeholders : ผู้บริโภคมองว่าผู้มีอิทธิพลทางความคิด (key opinion leader) หรือ KOL และผู้นำชุมชนต่างๆ มีความน่าเชื่อถือและเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน การร่วมมือกับ KOL หรือผู้นำชุมชนที่เหมาะสม จะทำให้แบรนด์เป็นที่ชื่นชมและสนับสนุนมากขึ้น

 

 

]]>
1285842
กลยุทธ์ CSR จาก “คอลเกต” ร่วมแคมเปญ #SafeHands Challenge กับ WHO ผลิต “สบู่” สู้ COVID-19 แจก 25 ล้านก้อนทั่วโลก https://positioningmag.com/1283721 Wed, 24 Jun 2020 10:00:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283721

ติดตามแคมเปญ CSR ล่าสุดจาก “คอลเกต” ร่วมมือกับ WHO ช่วยผลักดัน #SaveHands Challenge ส่งเสริมให้ทุกคนหมั่นล้างมือลดการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา โดยเป็นครั้งแรกที่คอลเกตผลิต “สบู่” เพื่อนำไปบริจาคแก่ชุมชนที่ขาดแคลน 25 ล้านก้อนทั่วโลก และ 1 ล้านก้อนในจำนวนดังกล่าวจะบริจาคภายในประเทศไทย

จากแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่รณรงค์ให้ทุกคนล้างมือเพื่อลดโอกาสรับเชื้อไวรัส ผ่านแฮชแท็กไวรัล #SafeHands Challenge ร่วมกับเซเลปอย่าง เซเลน่า โกเมซ ศิลปินชื่อดัง หรือ กอร์ดอน แรมซีย์ เซเลบริตี้เชฟ หรือ ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ก็มาร่วมกันโพสต์คลิปล้างมือด้วยสบู่ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง จัดทำคลิปล้างมือความยาว 40 วินาที กระตุ้นให้ผู้คนรอบโลกหมั่นล้างมือ เนื่องจากการล้างมือถือเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุดในการต่อต้านไวรัส COVID-19 เพียงล้างมืออย่างถูกต้องก็สามารถลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส COVID-19

ด้วยเหตุนี้ “คอลเกต” ซึ่งเป็นแบรนด์ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปาก จึงปรับเปลี่ยนสายการผลิตมาผลิตสบู่ช่วยต่อสู้โรคระบาด COVID-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ระดับโลก โดยร่วมกับ WHO ในการผลักดันแคมเปญ #SafeHands Challenge

คอลเกตมีการผลิต “สบู่” เป็นครั้งแรก มาในแพ็กเกจสีแดงและมีภาพบอกวิธีการล้างมือที่ถูกต้องด้านหลัง ช่วยกระตุ้นให้ผู้รับปฏิบัติตามวิธีที่เหมาะสมได้ โดยคอลเกตมีการผลิตสบู่จำนวน 25 ล้านก้อนสำหรับบริจาคแจกจ่ายไปทั่วโลก และสบู่ 1 ล้านก้อนในจำนวนนี้ก็บริจาคให้กับประเทศไทยด้วย โดยทางคอลเกตได้ส่งมอบสบู่ 1 ล้านก้อนให้กับ มูลนิธิรักษ์ไทย เป็นผู้แจกจ่ายสบู่ล้างมือไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเน้นพื้นที่ที่จำเป็นหรือขาดแคลน เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข ชุมชนแออัด ศูนย์เด็กเล็ก ชุมชนแรงงานต่างด้าว ชุมชนชาวไทยภูเขา เป็นต้น

นอกจากการผลิตสบู่ คอลเกตยังให้ความร่วมมือกับ WHO เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ #SafeHands Challenge ในหลากหลายแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยคอลเกตได้แปลคลิปวิดีโอ “พลังของการล้างมือ” เพื่อเผยแพร่หลากหลายภาษา สำหรับคลิปนี้ในเวอร์ชันภาษาไทยมีผู้ชมผ่านแพลตฟอร์ม YouTube ไปแล้วมากกว่า 17 ล้านครั้งในเวลา 1 เดือน แสดงถึงความตั้งใจส่งต่อข้อมูลเพื่อป้องกันโรคของแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภคในเวลาวิกฤตเช่นนี้

กิจกรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความใส่ใจถึง “สุขอนามัย” สัมพันธ์กับแนวคิดของแบรนด์คอลเกตที่เป็นผู้ผลิตและเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากที่ครอบคลุมถึง 200 ประเทศทั่วโลก และให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้บริโภค ร่วมฝ่าฟันไปกับทุกชุมชนที่กำลังต่อสู้กับวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ครั้งนี้

]]>
1283721
ตัน ส่งแบรนด์ชิงโชคกับโอลิมปิก https://positioningmag.com/14894 Wed, 01 Aug 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14894

ถ้าจะใช้เงิน 10 ล้านบาทสำหรับทำแคมเปญสร้างแบรนด์ ก็ยังไม่รู้ว่าจะทำให้แบรนด์เกิด เป็นที่รู้จัก หรือสร้างแบรนด์อะแวร์เนสเพิ่มขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน แต่การออกมาประกาศว่าจะให้เงินรางวัล 10 ล้านบาท 1 ล้านบาท และ 5 แสนบาท  สำหรับนักกีฬาไทยที่สามารถคว้าเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงโอลิมปิกกลับมาฝากคนไทยได้ ทำให้ชื่อของ ตัน ภาสกรนที เป็นที่ฮือฮาขึ้นมาทันที

แบรนด์ “ตัน” ขยายวงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ใครที่ยังไม่เคยรู้จัก ก็มีโอกาสได้รู้จัก และอยากรู้จักว่าเขาเป็นใคร ทำไมใจป้ำขนาดนี้ อีกหน่อยถ้าเขาทำอะไรก็ย่อมจะส่งผลให้กิจกรรมนั้นเป็นที่รู้จัก ได้รับการสนับสนุนง่ายขึ้นไปอีก 

แม้นี่อาจจะไม่ใช่ความคาดหวังโดยตรงของ ตัน ที่จะทำให้ตนเองเป็นที่รู้จักมากขึ้น และมุ่งหวังจะให้รางวัลเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักกีฬาที่อดทนฝึกฝนเป็นหลัก 

แต่ในมุมของกลยุทธ์การตลาด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เป็นกลยุทธ์แบบ Free Rider ชั้นยอด 

เพราะตอนนี้เกือบทุกสายตาและหัวใจคนไทย กำลังจดจ่ออยู่กับการลุ้นให้นักกีฬาไทยคว้าเหรียญทองโอลิมปิกเพื่อความภาคภูมิใจของคนทั้งประเทศ สื่อทุกประเภทพร้อมจะนำเสนอข่าวความสำเร็จของนักกีฬาที่ผ่านเข้ารอบต่อไปเป็นข่าวพาดหัวที่หน้าหนึ่ง หรือข่าวนำที่ต้องสะดุดตาที่สุด เพราะเป็นข่าวดีที่ไม่มีผู้เสพข่าวคนไหนปฏิเสธ

นั่นก็เท่ากับว่า ใครที่เกาะกระแสเรื่องราวที่อยู่ในข่าวที่ได้รับความสนใจนี้ได้ ก็เท่ากับมีโอกาสเป็นที่รู้จักไปด้วย 

แล้วจู่ ๆ ออกมาประกาศว่าจะให้ 10 ล้านบาทแบบ ตัน คนเสพข่าวก็ต้องอู้หู กันเป็นแถว

เสียดายอยู่แค่ว่า ทำไม เสี่ยตัน ไม่ออกมาประกาศอัดฉีดเร็วกว่านี้ ก่อนที่โอลิมปิก 2012 ที่ลอนดอนจะเริ่มสักแป๊บก็ยังดี เพราะอย่างน้อยก็น่าจะทำให้กำลังใจของนักกีฬาฮึกเหิมขึ้นอีก อะดีนาลีนที่อาจจะสูบฉีดไปไม่เต็มร้อยก็จะได้หลั่งเพิ่มขึ้น 

คนเชียร์ตันก็จะได้เชียร์เต็มที่ว่า งานนี้จะได้ควักกระเป๋าเท่าไร เผื่อจะได้ลุ้นกันสนุก ๆ ว่า จะมีทัพนักกีฬาพาเหรดได้เหรียญมากขึ้นเพื่อคว้าเงินรางวัลจากตัน อย่างน้อยทุกเหรียญรวมกันอาจจะได้สัก 100 ล้านบาท รวมกันแล้วจะได้มากกว่างบการตลาดที่อิชิตันเคยใช้ทำแคมเปญ เที่ยวกับตัน มันส์กับโน้ส ไปเมื่อต้นปี ซึ่งใช้งบถึง 70 ล้านบาทบวกกับเงินรางวัลพาผู้โชคดีไปเที่ยวพร้อมพ็อกเก็ตมันนี่อีก 10 กว่าล้านบาท 

เห็นตัวเลขแบบนี้ ถ้าประกาศตอนนี้ว่าจะให้เหรียญเงินสัก 10 ล้านก็ยังได้ เพราะเงินรางวัลที่ ตัน ต้องควักกระเป๋าแน่ ๆ ตามเงื่อนไขที่ประกาศไว้ตอนนี้ ก็แค่ 1 ล้านบาท สำหรับ น้องแต้ว-พิมศิริ ศิริแก้ว (ณ วันที่ 1 ส.ค.2555) นักกีฬายกน้ำหนักที่ได้เหรียญเงินมาครองแล้วเพียงคนเดียว ส่วนนักกีฬาที่เหลือ แม้จะยังไม่หมดหวัง โอกาสลุ้นเหรียญยังห่างไกล แค่ลุ้นให้เข้ารอบท้าย ๆ แม้จะไม่ได้พูดเพื่อตัดทอนกำลังใจก็ต้องบอกว่าความเป็นไปได้ก็น้อยนิด ถึงคนไทยจะยังลุ้นเชียร์ขาดใจก็ตาม

เอาเป็นสรุป ณ ตอนนี้ก็คือ ถ้าเปรียบว่านี่คือกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ เทคนิคการสร้างแบรนด์ ตัน ที่เรียกเสียงฮือฮาให้เป็นข่าวได้ไม่แพ้การออกมาเป็นข่าวครั้งไหน ๆ ในรอบนี้ ต้องถือว่า ตัน ล้ำลึกยิ่งนัก   

แล้วถ้าคิดว่านี่คือการส่งแบรนด์เพื่อลุ้นผลกับโอลิมปิกของตันด้วยแล้ว ก็ต้องบอกว่า เป็นการชิงโชคที่ถูกรางวัลตั้งแต่เริ่มทีเดียว 

อ่านเพิ่มเติม : “ตัน” ชนะเลิศ คว้าเหรียญสุด “WOW อัดฉีดโอลิมปิก”

]]>
14894
Super Brand CSR https://positioningmag.com/14332 Mon, 19 Dec 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14332

กลายเป็นเวทีใหญ่ในการโชว์พลัง CSR จากเหตุน้ำท่วมใหญ่ ที่แต่ละองค์กรก็มุ่งเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งมีทั้งที่เข้าไปแบบมีระเบียบแบบแผน หรือเข้าไปแบบเร่งด่วน แต่ทั้งสองส่วนนี้ก็มองไปที่การหยิบยื่นและผ่อนคลายความเดือดร้อนกับผู้ประสบภัยเป็นหลัก

การช่วงชิงพื้นที่การทำ CSRก็เกิดขึ้น ความได้เปรียบของแต่ละองค์กรก็คือ การทำ CSR แล้วได้รับการเผยแพร่ออกสู่สาธารณ แม้จะเล็กน้อยก็ยังดี แต่ที่ผ่านมาการเผยแพร่อย่างนี้ มักจะถูกตีคลุมไปกับการทำงานของสื่อมากกว่า  

ช่อง 3 ก็ครอบแบรนด์ ครอบครัวข่าว 3 เข้าไปในการทำ CSR 

แม้ว่าภายในถุงยังชีพ หรือการให้ความช่วยเหลือจะมาจากหลายๆ หน่วยงานก็ตาม แต่ผู้ประสบภัยและคนทั่วไปจะเห็นแบรนด์ของช่อง 3 เป็นหลัก ผู้สนับสนุนรายอื่นก็ลดความสำคัญลงไป  

การแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าในเหตุน้ำท่วมก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ แต่ในความคิดของ ฐาปน สิริวัฒนภักดีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มองถึงภาวะหลังน้ำท่วมมากกว่าที่ต้องการความร่วมมือ ร่วมแรงในการฟื้นฟู ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ และคงไม่รอมาตรการหรือความช่วยเหลือจากรัฐบาล

เขาจึงเริ่มชักชวนบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่เป็นทั้งคู่ค้า และเพื่อนร่วมธุรกิจมาร่วมกันโครงการ อภิมหาCSR ของภาคเอกชนที่น่าจะใหญ่ที่สุดในประเทศขณะนี้ และสามารถชักชวนกลุ่มผู้ริเริ่มได้ 12 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทคือบริษัทแถวหน้าในแต่ละธุรกิจ

แคมเปญอภิมหา CSR ครั้งนี้จึงเกิดขึ้นในชื่อโครงการ พลังน้ำใจไทย (Power of Thai) 

“หากแต่ละบริษัทต่างคนต่างทำ จะได้รับผลน้อย แต่เมื่อบริษัทขนาดใหญ่ร่วมมือกัน ก็จะขับเคลื่อนการฟื้นฟูประเทศได้มากขึ้น” ฐาปนให้เหตุผลและบอกถึงความเป็นมา

การฟื้นฟูประเทศตามแนวคิดของภาคีพลังน้ำใจไทย จะมุ่งไปที่การศึกษา โรงเรียน ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อทำให้โรงเรียนกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปรกติ โดยแนวคิดเริ่มต้นคือการซ่อม สร้าง โรงเรียนที่เสียหายด้วยงบประมาณของภาคเอกชนที่จะระดมทุนกันมาเองจากการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ พลังน้ำใจไทย เพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายส่วนนี้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้เงินเริ่มต้นในโครงการประมาณ 100 ล้านบาท

วิธีการหาทุนก็คือ การทำสายรัดข้อมือจำนวน 1 ล้านเส้น  จำหน่ายราคาเส้นละ 100 บาท เพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียน จากนั้นบริษัทที่เข้าร่วมก็จะผลิตสินค้า บริการ ตามที่ตัวเองถนัดหารายได้เข้าโครงการ และเริ่มหาทุนตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2554 ถึง 30 มิ.ย. 2555 จากนั้นจะศึกษาข้อมูลเพื่อจัดรูปแบบการฟื้นฟูลงไปในพื้นที่อีกครั้ง 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

12 ภาคี
พลังน้ำใจไทย – ธนาคารกรุงเทพ – บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง – บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ – กลุ่มน้ำตาลมิตรผล – บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล – บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
กรุ๊ป – บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น – บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต – บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ – บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิส – บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น
โปรดักส์ – บริษัท ไอซีซี
อินเตอร์เนชั่นแนล

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

แคมเปญ
CSR พลังน้ำใจไทย ที่มา : – การรวมตัวของ 12
บริษัทเอกชนรายใหญ่ และจะขยายเพิ่มในอนาคต วัตถุประสงค์ – ฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม
โดยเจาะจงไปในด้านการศึกษา

style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>

เงินทุน :

– เงินกองทุนเริ่มต้น 100 ล้านบาท

– ทำสายรัดข้อมือสีธงชาติไทยจำนวน
1 ล้านชิ้น ขายชิ้นละ 100 บาท – ผลิตสินค้าพิเศษในแบรนด์
พลังน้ำใจไทย นำรายได้ส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดเข้ากองทุน – จัดกิจกรรมพิเศษเช่นคอนเสิร์ต
ภาพยนตร์ ภายใต้โครงการเพื่อระดมทุน – ระยะเวลาการระดมทุน 15 พ.ย.
2554 ถึง 30 มิ.ย. 2555
]]>
14332
“ใจดี” จนได้ดี https://positioningmag.com/14361 Mon, 19 Dec 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14361

“แบรนด์ใจดี” ไม่ได้หมายถึงแบรนด์ลุกขึ้นมาทำซีเอสอาร์แบบช่วยเหลือ แจกสิ่งของ ปลูกป่า รักษาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่กระแสนี้ยังหมายถึงคุณค่าของแบรนด์ที่ใส่เข้าในสินค้าและบริการ จนกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้สินค้าหรือแบรนด์บุคคลประสบความสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์แบบมาแล้ว

มีกรณีศึกษาที่ถือว่า “ใจดี” จนได้ดี ระดับ Global Brand อย่าง Ikea Uniqlo และระดับ Local อย่างกลุ่มธุรกิจโซเชี่ยล เอนเตอร์ไพร์ส หรือธุรกิจเพื่อสังคม รวมไปถึง Personal Brand อย่าง “ตัน ภาสกรนที” ที่น่าสนใจ

 

Ikea- Uniqlo “ใจดี” แบบเข้าถึงทุกคน

“ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์” นักวิชาการด้านการตลาด และอาจารย์ประจำ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ถึงความเป็นไปในสังคมและส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคว่า การมีเน็ตเวิร์คทางสังคม มีจุดร่วมที่น่าสนใจคือพฤติกรรมคนไม่มีใครที่พยายามสร้างตัวเองหรือพยายามบอกว่าตัวเองโดดเด่นกว่าคนอื่น แม้ความรู้สึกพื้นฐาน “ความต่าง” นั้นยังคงอยู่ แต่ความต่างนี้เปลี่ยนแปลงไป คือไม่ใช่การประกาศว่าตัวเองต่าง แต่เป็นสิ่งที่รู้กันในเครือข่าย หรือตัวเองรู้ว่ามีความต่างจากคนอื่นในจุดไหน

ดร.กฤตินีขอคอนเฟิร์มด้วยผลการวิจัยวัยรุ่นเมื่อ 5 ปีที่แล้วที่ย่านสยามสแควร์โดยนิสิตที่ศศินทร์ ซึ่งปัจจุบันวัยรุ่นกลุ่มนี้ได้เติบโตแล้ว ครั้งนั้นได้พบว่ากลุ่มนี้ไม่ตอบว่าอยากเป็นเหมือนหรือยากเป็นแบบคนดังคนไหน แต่คำตอบคือเขาอยากเป็นแบบตัวเอง ทั้งการใช้ชีวิตและเสื้อผ้าการแต่งกาย ไม่ใช่ใส่เสื้อผ้าแล้วอยากเหมือนพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ของโลก

ดังนั้นช่วงหลังจะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การตลาดของหลายๆ แบรนด์ใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นตัวของตัวเอง มากกว่าดารามีความโดดเด่นที่หน้าตา เช่น ดาราดังในปัจจุบันของช่อง 3  “ญาญ่า อุรัสยา” ที่รูปร่างหน้าตาไม่โดดเด่นแต่บุคคลิกภาพแสดงความเป็นตัวเองชัดเจน

 การเชื่อมโยงกันของผู้คนเช่นนี้ ทำให้แบรนด์ได้พยายามเข้าถึงลูกค้าทั่วไปมากที่สุด หรือตอบสนองความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่ 

สอดคล้องกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน โดยมองหาสินค้าที่ดี มีคุณภาพ และราคาที่เหมาะสม จนกลายเป็นจุดก้าวกระโดดของแบรนด์ นอกจากแสดงความใจดีในการช่วยเหลือลูกค้า ช่วยเหลือสังคมแล้ว ยังนำคอนเซ็ปต์นี้ไปใส่ไว้ในแผนธุรกิจ เช่น  Ikea ที่ทำแบรนด์และสินค้าด้วยคอนเซ็ปต์ต้องการยกระดับชีวิตของทุกคน ด้วยการสื่อสารที่ชัดเจนในจุดยืนนี้ ซึ่งถือว่าเข้ากับยุคสมัยที่ทุกคนต้องการสิ่งที่มีคุณภาพ หมายถึง Ikea คำนึงถึงลูกค้าทุกคน จากจุดนี้ Ikea จึงพยายามลดต้นทุนด้านต่างๆ และสามารถปิดการขายด้วยราคาที่ผู้บริโภคหาซื้อได้ โดยสื่อสารชัดว่า เป็น Affordable Price แต่ไม่ใช่สินค้าราคาถูก

เช่นเดียวกับ Uniqlo ที่สื่อสารว่า Made for all เป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นแบรนด์ที่คำนึงถึงผู้บริโภคทุกคน นับเป็นธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้าที่ฉีกกฎเดิมของแฟชั่นคือ ทำให้คนคนหนึ่งโดดเด่นกว่าคนอื่น แต่ Uniglo สวนกระแสเดิม แต่ถูกใจกระแสหลักในปัจจุบัน คือเป็นสินค้าที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้ ผลิตจำนวนมาก แต่ผู้บริโภคสามารถเลือกผสมผสานสวมใส่ในแบบตัวเอง เพราะยุคนี้เป็นยุคที่แม้ผู้คนต้องการความแตกต่าง แต่ก็ไม่ได้ต้องการความโดดเด่นเหมือนอย่างเดิม

 

“ตัน อิชิตัน” ดีต่อเนื่องในทุกวิกฤต

สำหรับเมืองไทยแบรนด์ใจดีที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและทำกลยุทธ์ได้อย่างเต็มรูปแบบ คือกรณีของแบรนด์บุคคลอย่าง “ตัน ภาสกรนที” เจ้าพ่อชาเขียว อดีตผู้ก่อตั้งแบรนด์โออิชิ และปัจจุบันเป็นเจ้าของธุรกิจหลากหลายตั้งแต่ร้านอาหารจนถึงเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์ “อิชิตัน”

ในทางธุรกิจ “ตัน” ได้พยายามสร้างแบรนด์โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่การบรรยายให้กับสถาบันการศึกษา ในวงสัมมนาคนรุ่นใหม่ เข้าวงการเด็กแนวผ่าน “โน้ส อุดม” จนแบรนด์แรงและชัดกลายเป็นขวัญใจ Mass เมื่อโดดลงสู่กลยุทธ์ความใจดี ด้วยการช่วยเหลือสังคม  

ตั้งแต่การเปิดพื้นที่ส่วนตัวย่านทองหล่อช่วยผู้ค้าที่ต้องปิดกิจการชั่วคราวจากเหตุการณ์การเผาเมือง การช่วยเหลือน้ำท่วมทุกครั้ง โดยยึดไปกับช่อง 3 กับพิธีกรเบอร์ใหญ่ “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” จนมาถึงช่วงเวลาพีคสุดในช่วงวิกฤตน้ำท่วมปี 2011 ที่โรงงานของ “ตัน” ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะกลายเป็นผู้ประสบภัย พร้อมกับการหลั่งน้ำตาออนแอร์ แต่ “ตัน” ก็ยังมุ่งมั่นช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อเนื่อง นอกเหนือจากการประกาศทุกที่ที่มีโอกาสจะแบ่งกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจให้การกุศล

ดร.กฤตินีบอกว่าความสำเร็จของแบรนด์ “ตัน” คือมีความต่อเนื่องและแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการเป็นแบรนด์ใจดี อย่างกรณีที่บอกว่า “ทำกำไรมากก็ช่วยสังคมมาก” หรือบอกว่า “ที่ทำอย่างนี้ได้เพราะสังคมทำให้กับคุณตันมาก่อน” ซึ่งหลายคนอาจมองว่าพูดจาตรงไปตรงมาเกินไปหรือเปล่า แต่นี่คือการแสดงความจริงใจ จนทำให้สร้างแบรนด์ตัวเองได้สำเร็จ 

ผลคือทำให้ทุกวันนี้มีคนรัก “ตัน” และพร้อมดื่ม “อิชิตัน” และหากนับจากแฟนเพจในเฟซบุ๊กแล้วถือว่าเรตติ้งกระฉูดเหนือดาราเซเลบริตี้อีกหลายคน โดยเฉพาะสามารถล้มแชมป์ที่เคยได้ Like สูงสุดอย่างศิลปินฮอต “ตูน บอดี้สแลม” ด้วยยอดคลิกLike ทะลุ 1 ล้านคลิกไปแล้วเรียบร้อย 

 

โซเชี่ยล เอ็นเตอร์ไพร์ส โมเดล

การสร้างแบรนด์ใจดี ยังทำได้ในคอนเซ็ปต์การทำธุรกิจแบบโซเชี่ยลเอ็นเตอร์ไพรส์ หรือการนำกำไรเพื่อช่วยการกุศล เช่น ร้านปันกัน ของมูลนิธิยุวพัฒน์ ที่ตั้งขึ้นภายใต้แนวคิดสังคมจะดีได้ ถ้าทุกคนช่วยกัน โดยให้คนนำสิ่งของมาบริจาค เพื่อจำหน่ายต่อ และนำเงินที่ได้ไปช่วยทุนการศึกษาเด็กนักเรียน โดยมีการสร้างแบรนด์จนทำให้ธุรกิจนี้เติบโต

เดิมร้านปันกันสื่อสารในลักษณะที่ว่าให้คนนำของที่จะทิ้งก็เสียดายมาบริจาค จนทำให้ได้ของที่ไม่ดีนัก จนมีการทำแบรนด์ใหม่และสื่อสารใหม่ ว่านำของสภาพดีแต่ไม่คิดจะใช้มาบริจาค ก็ทำให้ได้ของที่ดีและจำหน่ายได้ราคามากขึ้น

นอกจากนี้ยังใช้โมเดลของโซเชี่ยลมีเดียมาใช้ เพื่อบอกต่อและทำให้รู้ว่าของที่นำมาบริจาคนั้นได้ช่วยเหลือสังคมได้อย่างไรบ้าง

 

ในวิกฤตมีโอกาสของของ “แบรนด์ ฮีโร่”

จากความใจดีของแบรนด์ที่ออกมาในรูปแบบของการช่วยเหลือสังคม ขยายวงของจิตอาสา  คือทิศทางที่ “วฤตดา วรอาคม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม (ซีไอโอ) แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) บอกว่า บทบาทของแบรนด์ในกระบวนการทำหรือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์) ในปี 2012 จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น “แบรนด์ ฮีโร่” จนเป็นไอดอลตามความคาดหวังของผู้บริโภค 

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ความเป็นแบรนด์ฮีโร่ คือการใช้ความสามารถ หรือศักยภาพของแบรนด์ในการช่วยเหลือสังคม เช่นในสถานการณ์วิกฤตน้ำท่วม ไม่ใช่แบรนด์ทำเพียงแค่ซื้อของบริจาค แต่นำความสามารถที่มีอยู่ไปช่วยเหลือ เช่น ระบบโลจิสติกส์ของไฮเปอร์มาร์เก็ตช่วยขนย้ายสิ่งของให้ผู้บริโภค 

ด้วยแนวโน้มของแบรนด์และผู้บริโภคที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัย จนเกิดกระแส “จิตอาสา” ที่เกี่ยวข้องกับทุกคน และถูกจับตาจากสื่อ การวางแผนเรื่องซีเอสอาร์จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ 

1.ซีเอสอาร์ต้องเกิดขึ้นด้วยการวางกลยุทธ์ ฝังเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดตั้งแต่ต้น ไม่ใช่แค่กระบวนการพีอาร์ในระยะสั้นเท่านั้น 

2.Social Media for Social Good จะมีมากขึ้น เพราะจากน้ำท่วมทำให้เห็นชัดแล้วว่า กระบวนการดังกล่าวได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี  

3.การเลือกหยิบยกปัญหาทางสังคมมาแก้ไขจะเน้นไปที่ชุมชน จังหวัด หรือว่ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้กิจกรรมที่ทำได้ผลมากกว่าการเหวี่ยงแหจัดกิจกรรม

ส่วนหัวข้อที่จะถูกนำมาพูดถึงนั้น จะเน้นไปที่เรื่องปากท้องของประชาชน ซึ่งต่างจากในต่างประเทศที่ได้พัฒนาไปสู่หัวข้ออื่นๆ เช่นเรื่อง ศิลปะ การศึกษา

Related Clips :

]]>
14361
สร้างแบรนด์ “ใจดี” ในยุค G Wave https://positioningmag.com/14360 Mon, 19 Dec 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14360

ในปี 2012 เทรนด์การตลาดสำหรับประเทศไทยที่มาแรงแซงทุกวิกฤตเวลานี้ ต้องยกให้เทรนด์ “แบรนด์ ใจดี หรือ Generosity Brand” ซึ่งเป็นกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่สามารถฝังแบรนด์เข้าไปในใจของผู้บริโภคได้แบบหยั่งรากลึก แล้วจะใจดีอย่างไรให้โดน มีคำตอบจาก “ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์” นักวิชาการด้านการตลาด และอาจารย์ประจำ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนี้

 

— ฤดูกาลเหวี่ยงแรง คนก็เลยเปลี่ยน —

เริ่มจากเหตุผลที่สนับสนุนให้เห็นว่าถึงเวลาของเทรนด์แบรนด์ใจดีแล้วจริงๆ เพราะจากวิกฤตน้ำาท่วมใหญ่ในประเทศไทยช่วงปลายปี 2011 จนส่งผลให้วิธีคิดและวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป ซึ่งดร.กฤตินีบอกว่าความเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นกระแสหลักที่อยู่ตลอดไป  ไม่ใช่กระแสที่วูบวาบมาแล้วหายไป โดยสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคมาจาก 3 ส่วนคือ

1.การได้ตกตะกอนทางความคิด ที่ทำให้คนกลับไปทบทวนชีวิต เช่น ตอนเก็บของหนีน้ำ ทำให้คนส่วนใหญ่เห็นว่าชีวิตที่ผ่านมาได้สะสมอะไรมามากมาย จนบางทีเหมือนมีขยะเต็มบ้าน ความคิดนี้ทำให้ต่อไปคนจะบริโภคอย่างมีความหมายมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เทรนด์ของตลาดจะต้องนำเสนอสิ่งที่เป็นคุณค่าทางใจ มีความหมายกับชีวิตมากขึ้น

2.น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้มนุษย์เห็นว่ามาแล้วก็ไป กรณีนี้ทำให้ผู้บริโภครู้แล้วว่าไม่มีอะไรยั่งยืน เหมือนความรู้สึกที่ผู้บริโภคหาซื้อสินค้าราคาแพงมาแล้ว เช่น รถยนต์ราคาแพง กระเป๋าแบรนด์เนม ช่วงหนึ่งอาจรู้สึกดี ปลาบปลื้ม แต่เมื่อเวลาผ่านไปความรู้สึกนั้นอาจไม่ใช่ เพราะทุกอย่างมีช่วงเวลาเริ่มต้นและเวลาของการสิ้นสุด

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ผู้คนรู้สึกพร้อมแชร์หรือแชร์กับคนอื่นได้มากขึ้น เช่น จากที่เคยใช้รถยนต์ เมื่อจำเป็นมาใช้รถสาธารณะก็พบว่า ก็ใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวก็ได้ นำไปสู่การแชร์สิ่งของต่างๆ มากขึ้น

3.การได้เห็นความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ จากที่เห็นผืนน้ำที่แผ่ขยายไปในวงกว้าง ทำให้เห็นคนอื่นรอบๆ ตัว คิดถึงคนรอบข้าง เพราะผู้คนอยู่กันเป็นสังคม สิ่งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบกับทุกคน เพียงแต่ดีกรีต่างกันเท่านั้น

 

— โลกเชื่อมโยง Gen G  เปิดที่ว่างให้แบรนด์ใจดี —

ปัจจัยที่สนับสนุนให้การสร้างแบรนด์ใจดีบรรลุผลได้มากขึ้น ดร.กฤตินีบอกว่ามาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่ในยุคของการเชื่อมโยงกัน (Connected Economy & Networking) ทำให้ผู้คนได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลง ความยากลำบาก ความแตกต่างกันในสังคม โดยไม่มีการกีดกันหรือแบ่งแยก แต่พร้อมหยิบยื่นเพื่อช่วยเหลือกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เด็กวัยรุ่น มีกลุ่มที่เรียกว่า Generation G (Generosity) ปรากฏตัวชัดและมากขึ้น

กลุ่มคนรุ่นใหม่มีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้มาก มีการแสดงออกรับแนวคิดความใจดี หรือกิจกรรมที่แสดงออกถึงความใจดี เพราะเติบโตพร้อมกับไอที เทคโนโลยี มีการเชื่อมโยงกันทางออนไลน์ เป็นโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค แชร์ความรู้สึก ความเห็นอกเห็นใจจากในออนไลน์สู่การทำกิจกรรมในโลกออฟไลน์ เมื่อเทียบกับคนที่มีอายุมาก ที่มีส่วนร่วมน้อยกว่า เพราะคิดถึงภาระในชีวิตมากกว่า

ปรากฏการณ์นี้จึงทำให้แบรนด์ที่อยากช่วยเหลือสังคมสามารถจุดติดได้ โดยเริ่มจากกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่จำนวนมาก ที่ออกมาเป็นกลุ่มจิตอาสากันเต็มที่ ทั้งหมดนี้ เป็นที่มาทำให้คอนเซ็ปต์การสร้างแบรนด์ใจดี (Generosity Brand) จะถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้นมากขึ้นในตลาดผู้บริโภคไทย  

ทั้งนี้ เทรนด์นี้เป็นกระแสหลักในต่างประเทศมาแล้วหลายปี โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา จนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคไปอย่างมาก ที่เห็นชัดเจนคือการเลือกซื้อสินค้าราคาที่เหมาะสมและมีคุณภาพ เช่นทนทาน รวมไปถึงการเลือกโดยดูจากการบริหารจัดการองค์กร เช่นการดูแลพนักงานของตัวเองอย่างดี  ทำการค้าเป็นธรรมทั้งกับคู่ค้าและแหล่งวัตถุดิบ และเป็นแบรนด์ที่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า

หลายแบรนด์ในโลกที่เดินอยู่ในแนวนี้ จึงสามารถสัมผัสความรู้สึกของผู้บริโภคและประสบความสำเร็จได้

 

— 5 วิธี “ใจดี” —

เมื่อโอกาสของกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ใจดีมาถึง ความท้าทายคือ จะทำอย่างไรให้แบรนด์เข้าไปผูกพันในใจของผู้บริโภคได้ โดยไม่ใช่แค่ระดับความใจดี หรือการทำซีเอสอาร์แบบเดิมๆ อย่างการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพียงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ปลูกป่า แจกสิ่งของ ที่ได้ผลเพียงระดับผิวเผินเท่านั้น 

นอกจากคำแนะนำของดร.กฤตินีแล้ว ยังมีข้อเสนอจาก “ชัยประนิน วิสุทธิผล” นายกสมาคมธุรกิจโฆษณาแห่งประเทศไทย ดังนี้

1. “จริงใจ” โดยดร.กฤตินีมีคำแนะนำว่าการแสดงออกว่าเป็นคนดี แบรนด์ใจดี ต้องจริงใจ วิธีการคิดของแบรนด์คือต้องก้าวข้ามความคิดเดิมที่แค่เอาความดีไปใส่หรือโชว์ในการทำกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์ระยะสั้นเท่านั้น หรือการบริจาคหรือช่วยเหลือสังคม หากโปรโมตมากเกินไป เช่น บริจาค 1 ล้านบาท แต่ซื้อสื่อเพื่อโปรโมตแบรนด์หลายสิบล้านบาท ถือว่าสื่อสารมากเกินไปจนไม่จริงใจ ความจริงใจยังสะท้อนได้จากการทำอย่างต่อเนื่อง และสื่อสารอย่างชัดเจน

2. “ปรับเปลี่ยนธุรกิจ” คือแบรนด์ต้องปรับเปลี่ยนจากเนื้อแท้ของแบรนด์ โดยต้องตัดหรือปรับเปลี่ยนสินค้าในเครือที่ไม่ได้สนับสนุนความเป็นแบรนด์ใจดี หรือขัดแย้งกับคอนเซ็ปต์ความใจดี เพราะไม่เช่นนั้นผู้บริโภคจะรู้สึกได้ว่าไม่จริงใจ เช่น แบรนด์ที่บอกว่าเป็นสินค้าที่คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค แต่มีการผสมน้ำตาลมากเกินไปจนเกิดผลเสียกับสุขภาพ ถือว่าขัดแย้งกับความหวังดีต่อสุขภาพผู้บริโภค 

3. “ไม่ใช่ข้าเก่ง แต่มีส่วนร่วม” หรือการทำให้เกิด Engagement หรือ Involvement กับแบรนด์ เป็นวิธีการที่ทำให้คนบอกต่อเกี่ยวกับแบรนด์อย่างได้ผล เช่นแบบเดิมที่แบรนด์เริ่มต้นทำกิจกรรมและเชิญชวนผู้บริโภคมาร่วมกิจกรรม ซึ่งแค่นั้นไม่พอ แบรนด์ต้องสร้างคอมมูนิตี้ ให้คนทำความดีต่อเนื่องกันเอง โจทย์ของแบรนด์คือต้องคิดต่อว่าเมื่อทำสิ่งที่ดีแล้ว ให้คนมาร่วมและทำมากกว่าสิ่งที่แบรนด์ทำ เพื่อให้เกิดการบอกต่อและสร้างความดีไปเรื่อยๆ ซึ่งสุดท้ายการบอกต่อนั้นคนก็จะนึกย้อนกลับมาถึงแบรนด์เอง ซึ่งในที่สุดแบรนด์จะได้ลูกค้าที่ซื้อเพราะรักแบรนด์ เข้าใจตัวตนของแบรนด์ ซึ่งเป็นการสร้างแบรนด์ได้อย่างยั่งยืน

สอดคล้องกับมุมมองของ “ชัยประนิน” ที่ชี้ให้เห็นว่าวิธีการเดิมที่แบรนด์ทำนั้น เป็นเรื่องของการบอกว่า “ข้าเก่ง” นั้นถือว่าหมดยุคแล้ว หรือการทำของมาแจกซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาระยะสั้นได้ แต่ในระยะกลางต้องมองการให้โอกาส เพราะวิถีของคนรุ่นใหม่เป็นเรื่องของโอกาส โดยให้ในสิ่งที่เขาไปทำเองแล้วก้าวหน้าได้ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นการทำซีเอสอาร์สมัยใหม่ต้องวางลูกโซ่แห่งการพัฒนาต่อไปได้

4. “คุณค่าแบรนด์โยงกับกิจกรรม” การเชื่อมโยงกิจกรรมการพัฒนาเข้ามาสู่แบรนด์ ต้องมองย้อนกลับไปที่ “คุณค่าของแบรนด์” เช่น เป็นแบรนด์ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ ก็ต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปในกิจกรรมเพื่อทำให้สังคมดีขึ้น โดยเอาปัญหาทางสังคมเป็นโจทย์คิดงานที่ยั่งยืน กลุ่มคนที่แบรนด์เข้าไปช่วยเหลือก็จะกลายเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของสินค้าในระยะยาว  

5. “หาจุด Common Value” แบรนด์ใจดีจะทำสำเร็จหรือมีผลในวงกว้างได้จริงต้องเข้าถึง Common Value ที่คนในสังคมเห็นร่วมกันว่าควรพัฒนาสังคมไปในแนวทางนั้นด้วยกัน ในมุมของ “ดร.กฤตินี” และเครือข่ายทางสังคมมองว่า Common Value สังคมไทยในเวลานี้ควรสร้างคุณค่าให้คนรู้สึกถึงการพึ่งพาตัวเอง (Self Help) ก่อนที่จะร้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือการช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยอาจเริ่มต้นจากการเคารพศักดิ์ศรีของตัวเอง เพื่อนำไปสู่ความมีวินัย ซึ่งจากวิกฤตนี้แบรนด์อาจสร้างแบรนด์ใจดี โดยยึดกับ Common Value นี้ได้

Related Clips :

]]>
14360
Fashion for Japa https://positioningmag.com/13745 Tue, 10 May 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13745

ธารน้ำใจทุกรูปแบบจากทุกสารทิศได้หลั่งไหลสู่ Tohoku ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหว 9.0 ริกเตอร์และ Tsunami ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา แม้กระทั่งบัดนี้ก็ไม่ได้เหือดแห้งลงไปแต่อย่างใด

กิจกรรมในโลกแห่ง Fashion ยามนี้ก็เช่นกัน เหล่าดีไซเนอร์รวมถึงศิลปินระดับโลกต่างสร้างสรรค์ Charity Collection ออกมากันอย่างพร้อมหน้า ถือเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะนอกจากจะได้เงินกุศลช่วยเหลือลูกค้าชั้นเยี่ยมชาวญี่ปุ่นแล้ว ยังได้กล่องแถมไปด้วยพร้อมกัน

]]>
13745