Cartier – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 30 Jun 2024 04:20:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Cartier Women’s Initiative” ทุนจาก “คาร์เทียร์” เพื่อผลักดัน “ผู้ประกอบการหญิง” ทั่วโลก https://positioningmag.com/1480368 Sat, 29 Jun 2024 11:25:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480368 ครบรอบ 17 ปีโครงการ Cartier Women’s Initiative จาก “คาร์เทียร์” โครงการมอบทุนและเครือข่ายเพื่อช่วยผลักดัน “ผู้ประกอบการหญิง” ทั่วโลกที่ทำธุรกิจเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม โดยการพิจารณารางวัลครั้งล่าสุดมี “กรองกมล เดอเลออน” เป็นหญิงไทยคนแรกที่ได้ทำหน้าที่คณะกรรมการตัดสิน

“Cartier Women’s Initiative” หรือ CWI เป็นโครงการที่ก่อตั้งเมื่อปี 2006 ด้วยจุดมุ่งหมายของ “คาร์เทียร์” ที่ต้องการสนับสนุนรางวัลและเครือข่ายผู้ประกอบการให้กับ “ผู้หญิง” ที่ทำธุรกิจเพื่อสังคมทั่วโลก โดยที่ผ่านมา 17 ปีโครงการนี้มีการมอบรางวัลให้ผู้ประกอบการสตรีไปแล้ว 330 ราย ใน 66 ประเทศ มูลค่าเงินรางวัลสะสม 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 349 ล้านบาท)

การตัดสินรางวัลจะมอบให้กับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคม มีการทำกำไรได้จริง และยังอยู่ในช่วง ‘early stage’ หรือเพิ่งเริ่มทำธุรกิจมาไม่เกิน 6 ปี

โดยรางวัลปัจจุบันมี 11 รางวัล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • 9 รางวัลที่แบ่งตามภูมิภาคผู้สมัคร ได้แก่ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน, อเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกากลุ่มใต้ทะเลทรายซาฮาราและพูดภาษาฝรั่งเศส, แอฟริกากลุ่มพูดภาษาอังกฤษและโปรตุเกส, ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ, เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้และเอเชียกลาง, โอเชียเนีย
  • 2 รางวัลเฉพาะทาง ได้แก่ รางวัล Science & Technology Pioneer Award และรางวัล Diversity, Equity & Inclusion Award (*รางวัลล่าสุดที่ไม่จำกัดเพศผู้สมัคร)

เมื่อปี 2024 ที่ผ่านมานั้น ผู้ชนะรางวัลแต่ละสาขา อันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ และอันดับ 3 ได้รับเงินรางวัล 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับประเทศไทยนั้นเคยมีผู้ชนะรางวัล CWI หนึ่งคนคือ “สาลินี ถาวรนันท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสว่าง จำกัด ซึ่งได้รับรางวัลนี้เมื่อปี 2014 โดยบริษัทของเธอเป็นโมเดลธุรกิจการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ชุมชนในพื้นที่ห่างไกล

Cartier Women’s Initiative
“กรองกมล เดอเลออน” Vice President ของ Beacon Venture Capital และเป็นหนึ่งในกรรมการตัดสิน Cartier Women’s Initiative ปี 2024

นอกจากจะมีผู้ชนะรางวัลแล้ว ปี 2024 ยังเป็นปีแรกที่มีคณะกรรมการตัดสินรางวัลเป็นผู้หญิงไทย คือ “กรองกมล เดอเลออน” ซึ่งเป็น Vice President ของ Beacon Venture Capital มาช่วยพิจารณาผู้สมัครและเป็นที่ปรึกษาให้โครงการ

“วินจี ซิน” ผู้อำนวยการโครงการ CWI ในโอกาสมาเยือนประเทศไทยได้แบ่งปันข้อมูลว่า โครงการ CWI ไม่เพียงแต่ให้ทุนรางวัลเท่านั้น แต่ผู้ที่ชนะรางวัลจะได้อยู่ในคอมมูนิตี้ที่สนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งจากรุ่นพี่ที่ชนะรางวัล กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมกว่า 700 คน ซึ่งจะช่วยให้คำแนะนำการทำธุรกิจและเป็นเครือข่ายในการต่อยอดต่อไปได้ ทำให้ที่ผ่านมาผู้ชนะรางวัล CWI ร้อยละ 94 สร้างรายได้เติบโตขึ้นได้สำเร็จ ร้อยละ 42 ทำกำไรสูงขึ้น และร้อยละ 56 สามารถขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้ในเวลา 3 ปีหลังรับรางวัล

Cartier Women’s Initiative
“วินจี ซิน” ผู้อำนวยการโครงการ Cartier Women’s Initiative

 

ชวนผู้ประกอบการหญิงไทยสมัครชิงรางวัล

ซินบอกด้วยว่า จากการทำโครงการ CWI ในช่วงแรกๆ ของโครงการมักจะพบว่า ปัญหาหลักของ “ผู้ประกอบการหญิง” คือการเริ่มต้นธุรกิจค่อนข้างยาก ต้องอาศัยแรงสนับสนุนที่จะลงมือทำ แต่ในระยะ 5-6 ปีหลังมานี้ ผู้หญิงมีความกล้าที่จะเริ่มต้นธุรกิจสูงขึ้นมาก แต่การจะ ‘สเกล’ ขยายธุรกิจให้เต็มศักยภาพและเข้าถึงแหล่งทุนที่จะทำเช่นนั้นยังคงเป็นโจทย์ยาก ทำให้ CWI จะเข้ามาช่วยสนับสนุนในส่วนนี้ได้

ด้านกรองกมลเล่าจากประสบการณ์การตัดสินรางวัลปีล่าสุด พบว่ามีผู้สมัครชาวไทยยื่นใบสมัครมาทั้งหมด 8 คน แต่น่าเสียดายที่ทั้งหมดไม่สามารถก้าวสู่รอบ Top 5 ได้

อย่างไรก็ตาม ซินเสริมว่าประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีสตรีอยู่ในระดับบริหารของบริษัทเป็นสัดส่วนที่สูงมากหากเทียบกับค่าเฉลี่ยโลก ดังนั้น มองว่าผู้ประกอบการหญิงไทยมีศักยภาพที่จะชนะรางวัลนี้ได้ และขอให้ไม่ท้อในการสมัคร เพราะผู้ชนะหลายคนที่ไม่ผ่านเข้ารอบในปีแรก แต่ยังมุ่งมั่นทำธุรกิจและยื่นสมัครอีกครั้งจนชนะได้ในที่สุด

Cartier Women’s Initiative

กรองกมลยังให้คำแนะนำด้วยว่า สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสมัคร CWI ควรจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.โมเดลธุรกิจมีความยั่งยืน สามารถทำกำไรได้จริง และมีแผนลงทุนเพื่อการเติบโตในระยะยาว หากเป็นไปได้ควรต่อยอดได้มากกว่าตลาดในประเทศ

2.รู้จักธุรกิจของตนเองอย่างถ่องแท้ รู้โอกาสได้เปรียบของธุรกิจตนเองที่เหนือกว่าคู่แข่ง

3.สร้างธุรกิจที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ให้กับสังคมและโลกใบนี้อย่างน้อยด้านใดด้านหนึ่ง

สำหรับการต่อยอดโครงการ Cartier Women’s Initiative นั้น วินจี ซินกล่าวว่าปัจจุบันโครงการเริ่มขยายโมเดลทำโครงการในระดับท้องถิ่นบ้างแล้วเพื่อทำลายกำแพงภาษาลง หันมาสร้างโครงการโดยใช้ภาษาท้องถิ่นแทนภาษาอังกฤษ เช่น ในประเทศจีน โครงการเริ่มสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการในเซี่ยงไฮ้และร่วมมือกับโรงเรียนด้านธุรกิจในประเทศจีนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ ในอนาคต โครงการมีแผนจะขยายโมเดลนี้ไปยังโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น และอาจจะขยายเข้ามาในไทยเร็ว ๆ นี้

Cartier Women’s Initiative

]]>
1480368
บริษัทแม่ “Cartier” ทำรายได้พุ่ง 22% จากดีมานด์ “เศรษฐีจีน” ช้อปเครื่องประดับ-นาฬิกา https://positioningmag.com/1430458 Sat, 13 May 2023 11:49:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430458 Richemont กลุ่มบริษัทสินค้าลักชัวรีที่มีแบรนด์ดัง เช่น Cartier, Van Cleef & Arpels รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2023 เติบโตพุ่ง 22% จากดีมานด์ “เศรษฐีจีน” นิยมช้อปปิ้งเครื่องประดับและนาฬิกาข้อมือหรู

ยอดขายของแบรนด์ภายใต้บริษัท Richemont เติบโตถึง 22% ในไตรมาสแรกปี 2023 จากการเติบโตที่ดีทั้งในทวีปเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และในประเทศสหรัฐฯ

“ยอดขายในจีนดีขึ้นอย่างมาก” Johann Rupert ประธานกรรมการ Richemont เปิดเผยกับสื่อมวลชน

ราคาหุ้นบริษัทจึงเติบโตขึ้นมากกว่า 5% และทำสถิติเป็นประวัติการณ์ที่ราคาหุ้นละ 158.50 สวิสฟรังก์

ไม่ใช่แค่บริษัทนี้ที่ทำยอดขายได้ดี รายใหญ่ในตลาดลักชัวรีอื่นๆ เช่น LVMH หรือ Hermes ต่างก็ได้อานิสงส์อย่างมากจากการฟื้นตัวของตลาดจีน หลังผ่านระยะดิสรัปต์ 3 ปีจากโควิด-19 มาได้ โดยยอดขายไตรมาสแรกของ LVMH โต 17% ส่วน Hermes โต 23%

บริษัทลักชัวรีเหล่านี้ทั้งหมดเป็นหนึ่งในกลุ่มหุ้นบลูชิพของตลาดยุโรปที่สร้างผลการดำเนินงานได้ดีที่สุด

Van Cleef & Arpels

Jean Philippe Bertschy นักวิเคราะห์จาก Vontobel มองว่า ยอดขายของ Richemont เติบโตได้มากกว่าที่คาด และเล็งเห็นว่าในตลาดมีการแยกออกอย่างชัดเจนระหว่างผลการดำเนินงานของแบรนด์ที่แข็งแกร่งกับแบรนด์ที่อ่อนแอกว่า

“มีการแยกออกเป็นสองขั้ว ระหว่างแบรนด์ที่แข็งแรงและมีสินค้าเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนกับแบรนด์ที่อ่อนแอกว่าในตลาด และยิ่งถีบตัวแตกต่างกันมากขึ้นในหลายเดือนมานี้เนื่องจากเงินเฟ้อ” Bertschy กล่าว

รายงานผลประกอบการ Richemont ที่มีแบรนด์ดังทั้งเครื่องประดับจาก Cartier, Van Cleef & Arpels และกลุ่มนาฬิกาหรู เช่น IWC, Vacheron Constantin รายงานผลประกอบการรอบปี เดือนเมษายน 2022 – เดือนมีนาคม 2023 พบว่ากำไรจากการดำเนินงานสูงขึ้นถึง 34% ทำกำไรไปที่ 5,030 ล้านยูโร (ประมาณ 1.86 แสนล้านบาท) และมีอัตรากำไร 25.2% ทั้งหมดเป็นตัวเลขเหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์

สำหรับกระแสข่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่ Richemont จะถูกเทกโอเวอร์แบรนด์ Cartier ในเครือหรือซื้อกิจการทั้งบริษัท Rupert ประธานกรรมการบริษัทระบุว่ายังไม่มีการติดต่อโดยตรงจากทาง LVMH บริษัทมหาชนที่มีมูลค่าสูงที่สุดของยุโรป รวมถึงยังไม่ได้คุยกับ Kering บริษัทที่เคยยื่นข้อเสนอซื้อกิจการเมื่อปี 2021

Source

]]>
1430458
ประท้วงฮ่องกงพ่นพิษ แบรนด์หรูกระทบหนัก Hermes ปิด 5 สาขา https://positioningmag.com/1248460 Thu, 03 Oct 2019 10:25:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248460 4 เดือนของเหตุการณ์ประท้วงที่ฮ่องกงส่งผลให้แบรนด์หรูระดับโลกเจ็บช้ำไปตามกัน ทั้ง Prada, Cartier รวมถึง Tiffany ที่นับฮ่องกงเป็นตลาดใหญ่อันดับ 4 ของแบรนด์ ต่างมีแผลจากความไม่สงบที่ทำให้นักท่องเที่ยวหดหาย เกือบทุกแบรนด์จำใจปิดร้านค้าลงชั่วคราว กลายเป็นความเสียหายที่เริ่มชัดเจนผ่าน 4 สถิตินี้

1. ยอดเครื่องเพชรนาฬิกาหรูวูบ 47.4%

ฮ่องกงเป็นพื้นที่ติดอันดับ 1 ใน 5 จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของนักช้อปที่ชื่นชอบสินค้าหรูหรา เพราะแบรนด์ใหญ่เลือกฮ่องกงเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการตั้งร้านค้าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ สถิติจาก Bernstein ระบุว่าฮ่องกงครองสัดส่วน 5-10% ของยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณปีละ 285,000 ล้านเหรียญ

แต่ข้อมูลวันที่ 2 ตุลาคมแสดงว่า ยอดค้าปลีกในฮ่องกงประจำเดือนสิงหาคม 62 ลดลง 23% จากปี 61 ซึ่งเป็นสถิติการหดตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่ายอดขายสินค้ากลุ่มอัญมณี นาฬิกา และสินค้ามีค่ารายการอื่นทำสถิติลดลง 47.4%

2. นักท่องเที่ยวหด 39%

Annie Yau Tse ประธานสมาคมการค้าปลีกฮ่องกง Hong Kong Retail Management Association ยอมรับว่ายังไม่เห็นแสงสว่างของวิกฤติพิษประท้วงฮ่องกง บนสถิติล่าสุดที่สรุปแล้วว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนฮ่องกงลดลง 39% โดยจำนวนนักท่องเที่ยวแผ่นดินใหญ่ลดฮวบ 42.3%

3. แบรนด์ส่วนใหญ่ยอดตก 30-60%

ไม่ว่าจะ Hermes หรือ Tiffany รวมถึงหลายแบรนด์ที่ต้องปิดร้านในฮ่องกงชั่วคราวตั้งแต่เกิดการประท้วงในเดือนมิถุนายน ต่างเลี่ยงที่จะเปิดเผยผลกระทบต่อผลประกอบการในไตรมาส 2 แต่การสำรวจของบริษัท RBC คาดว่าแบรนด์ส่วนใหญ่จะประสบภาวะยอดขายลดลงระหว่าง 30-60% ซึ่งจะปรากฏเป็นตัวเลขในรายงานไตรมาส 3

บริษัทวิจัย Bain & Co มองว่าภาวะนี้จะส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจสินค้าหรูหราหรือ luxury sector ระดับโลกมีการเติบโตระดับต่ำในปีนี้ คิดเป็นการเติบโต 4-6% เท่านั้น

แบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกามีแนวโน้มที่จะเป็นกลุ่มเจ็บหนัก เพราะฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการค้านาฬิการะดับไฮเอนด์ เห็นได้ชัดจากที่กลุ่ม Swatch Group สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์และกลุ่ม Richemont เจ้าของแบรนด์ Cartier ทำเงินจากตลาดฮ่องกงมากกว่า 11-12% จากยอดขายทั่วโลก

4. Hermes แบรนด์เดียวปิด 5 สาขา

ห้างสรรพสินค้าหลักมากกว่า 30 แห่งตัดสินใจปิดบริการชั่วคราวในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยไม่เพียงห้างสรรพสินค้า แต่แบรนด์หรูยังจำเป็นต้องปิดสาขาในสนามบินด้วย หนึ่งในนั้นคือ Hermes ผู้ผลิตกระเป๋าหนังสุดหรู Birkin ใบละ 6 แสนถึงเฉียด 3 ล้านที่เผยเมื่อกันยายนที่ผ่านมาว่าถูกกดดันให้ปิดร้านชั่วคราวทั้งหมด 5 สาขาในเกาะฮ่องกง

น่าเสียดายที่แบรนด์อื่นไม่เปิดเผยจำนวนร้านสาขาที่ปิดทำการชั่วคราว แต่สิ่งที่ชัดเจนคือทุกแบรนด์สูญเสียการขายอย่างชัดเจน เพราะการปิดห้าง 1 .. เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดประจำปีซึ่งเรียกกันว่า Golden Week ที่ปกติจะเป็นช่วงเวลาที่คึกคักสุดขีดสำหรับผู้ค้าปลีกในฮ่องกง

นอกจากการปิดร้าน งานอีเวนท์ของแบรนด์ก็ต้องระงับด้วย หนึ่งในนั้นคือ Chanel ที่วางแผนจัดแสดงแฟชั่นโชว์วันที่ 6 พฤศจิกายนเพื่อนำเสนอคอลเลคชั่น “Cruise” ก็ตัดสินใจเลื่อนโดยหยอดคำหวานว่างานแสดงแฟชันจะเกิดขึ้นในอนาคต ในช่วงเวลาที่เหมาะสมกว่านี้

การสำรวจตลาดพบด้วยว่าแบรนด์กำลังหาทางเข้าถึงนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านแหล่งช้อปปิ้งอื่นแทนฮ่องกง นอกจากบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างญี่ปุ่น นักวิเคราะห์มองว่าเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เป็นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการถดถอยในตลาดฮ่องกง.

Source 

]]>
1248460