EV – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 30 Oct 2024 05:10:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองข้อจำกัดสกัด ‘อินโดนีเซีย’ ขึ้นเป็น ‘EV HUB’ แม้จะเป็นประเทศแรกของภูมิภาคที่มีโรงงานผลิตแบตฯ https://positioningmag.com/1496301 Tue, 29 Oct 2024 11:30:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496301 ด้วยข้อได้เปรียบจากแร่ นิกเกิล ทำให้ อินโดนีเซีย เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่สามารถสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งอินโดฯ เชื่อว่าโรงงานผลิตแบตฯ จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการเป็น EV HUB ของภูมิภาค แต่ก็อาจไม่ง่ายขนาดนั้น

หลังจากได้รับเลือกจากบริษัทร่วมทุนระหว่าง ฮุนได (Hyundai) และ แอลจี (LG) ของเกาหลีใต้ให้สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถอีวีมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่มีโรงงานผลิตแบตฯ โดยปัจจุบัน แบตเตอรี่จากโรงงานในอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังบริษัทในเครือ ฮุนได Hyundai ในเกาหลีใต้และอินเดีย

แน่นอนว่าอินโดนีเซียไม่คิดจะหยุดแค่นี้ โดยกำลังมองหาวิธีเพิ่มการลงทุนเพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน โดยเริ่มออกมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นตลาดรถยนต์ไฟฟ้า  ไม่ว่าจะเป็น การยกเว้นภาษี โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามายังอินโดนีเซียจนถึงปี 2568 หากบริษัทต่าง ๆ มีการสร้างโรงงานผลิตและผลิตรถยนต์ในประเทศให้ได้จำนวนเท่ากับที่นำเข้าภายในสิ้นปี 2570 

ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ก็ดึงให้แบรนด์รถอีวีหลายแบรนด์ตบเท้ากันเข้ามาในตลาดอินโดนีเซีย อาทิ BYD, VinFast และ Wuling ที่ประกาศแผนว่าจะผลิตแบตเตอรี่ ที่โรงงานในอินโดนีเซียภายในสิ้นปี 2024 และจากมาตรการทั้งหลาย ทำให้ยอดขายรถอีวีในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมปีนี้พุ่งเป็นกว่า 23,000 คัน จากปีที่ผ่านมามียอดขาย 17,000 คัน ตามข้อมูลจากสมาคมยานยนต์อินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีโรงงานผลิตแบตฯ แห่งแรกของภูมิภาค และเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองนิกเกิลมากที่สุดในโลก แต่บรรดานักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า ประเทศยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายอันเนื่องมาจาก ศักยภาพในการแปรรูปและการกลั่นที่ไม่ดี เนื่องจากขาดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทำให้นิกเกิลต้องผ่านการแปรรูปจากเกาหลีใต้และจีนก่อน

อีกทั้งยังมีความกังวลด้าน สิ่งแวดล้อม โดยนักสิ่งแวดล้อมเตือนว่า การทำเหมืองนิกเกิลเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการ ตัดไม้ทำลายป่า ในอินโดนีเซีย นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของแบตเตอรี่ประเภทอื่น ๆ เช่น แบตเตอรี่ลิเธียมไออนฟอสเฟต (LFP) ที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในจีน ก็อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการแบตฯ ที่อินโดนีเซียกำลังผลิตอยู่ด้วย

อีกสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ การแข่งขัน โดยเฉพาะจาก ประเทศไทย ซึ่งไทยเองก็พยายามจะเป็น EV HUB โดยไทยเองก็สามารถดึงดูดให้หลายแบรนด์ตั้งโรงงานผลิตในประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดได้เปรียบ เพราะหากแบรนด์นั้น ๆ มีโรงงานในบางประเทศแล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องลงทุนตั้งโรงงานในอินโดนีเซีย

โดยข้อมูลของ ธนาคารกรุงศรีอยุทธยา พบว่า ในช่วงต้นปี 2566 ไทยมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วน 78.7% ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ 8%

ก็ต้องยอมรับว่าอินโดนีเซียมีความได้เปรียบทั้งในแง่ประชากร และทรัพยากรที่หลายประเทศไม่มี แต่ประเทศอื่น ๆ ก็มีจุดแข็งของตัวเอง อาทิ ไทยเองก็มี Know how จากรถยนต์สันดาป และเข้าสู่ตลาดอีวีค่อนข้างเร็วกว่าหลายประเทศ ก็คงต้องรอดูกันว่าใครจะชิงความได้เปรียบจนขึ้นเป็น EV HUB ของภูมิภาคได้ 

Source

]]>
1496301
ยอดขาย ‘รถอีวี’ ทั่วโลกเดือนก.ค.โต 21% หลังได้แรงหนุนจากตลาด ‘จีน’ ที่ทำสถิติเติบโตสูงสุด https://positioningmag.com/1486005 Tue, 13 Aug 2024 08:02:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486005 ดูเหมือนยอดขายทั่วโลกของรถยนต์ไฮบริดไฟฟ้าและปลั๊กอินยังไปต่อได้ โดยในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 21% โดยปัจจัยหลักมาจากยอดขายของ จีน ที่ถือว่าเติบโตสูงสุดในปี 2024 แม้ว่าการเติบโตจากฝั่งยุโรปจะลดลงก็ตาม  

ตามรายงานโดย Rho Motion เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม โดยรวมทั้ง รถไฟฟ้าเต็มรูปแบบ (BEV) และ ปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) มียอดรวมทั่วโลกอยู่ที่ 1.35 ล้านคัน โดยเฉพาะประเทศจีนมียอดขายที่ 8.8 แสนคัน เพิ่มขึ้น +31% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ขณะที่ตลาด ยุโรป มียอดขาย ลดลง -7.8% ในเดือนกรกฎาคม โดยตลาด เยอรมนี ที่ถือเป็นตลาดใหญ่สุดของยุโรป ลดลง -12% ส่วนในตลาด สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ยอดขาย เพิ่มขึ้น +7.1% 

ที่น่าสนใจคือ รถปลั๊กอินไฮบริด กำลังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในตลาดจีน ยอดขายของรถปลั๊กอินไฮบริดช่วง 7 เดือนแรกเพิ่มขึ้นถึง +70% จากปีที่แล้ว สอดคล้องกับยอดขายของค่ายผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่สุดในจีนและใหญ่สุดในโลกอย่าง BYD ที่ยอดขายรถ PHEV เติบโตถึง +44% ขณะที่รถ BEV เติบโต +13%

ทั้งนี้ สมาคมรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งประเทศจีน (China Passenger Car Association) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศจีนในเดือนกรกฎาคม หดตัว -5% แต่ภาค การส่งออกเพิ่มขึ้น +20% โดยยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านคัน โดยขายภายในประเทศประมาณ 1.6 ล้านคัน ลดลง 10% จากปีก่อน ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% เป็น 399,000 คัน รถยนต์ที่ขายไป มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นรถยนต์พลังงานใหม่

Source

]]>
1486005
SCB IEC ประเมินราคา ‘รถอีวี’ อาจ ‘ลดลง 50%’ เมื่อใช้งานไป 1 ปี แต่ถือว่า ‘คุ้มสุด’ เมื่อใช้ระยะยาว https://positioningmag.com/1485151 Mon, 05 Aug 2024 07:43:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485151 จะเห็นว่า รถอีวี ในไทยมีการ ดัมพ์ราคา กันหนักมากช่วงนี้ จนผู้บริโภคที่ซื้อไปตั้งแต่แรกเกิดอาการ เซ็ง ไปตาม ๆ กัน ขณะที่ผู้บริโภคใหม่ ๆ ก็มีท่าทีว่าจะ รอดูสถานการณ์ไปก่อน ไม่รีบร้อนซื้อ โดย SCB EIC (SCB Economic Intelligence Center) ก็ได้ออกมาประเมินถึงผลกระทบและความคุ้มในการเลือกใช้รถในปัจจุบัน

คนไทยตัดสินใจนานขึ้น

พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถของคนไทยเปลี่ยนไป โดยมีความ ซับซ้อน ใช้เวลาตัดสินใจนาน และต้องการข้อมูลที่รอบด้าน มากยิ่งขึ้น พฤติกรรมการซื้อรถของคนไทยมีพัฒนาการที่แตกต่างไปจากอดีตใน 3 ประเด็น ได้แก่

  • อายุการใช้งานรถยนต์ยาวนานขึ้นเป็น 10 ปี จากเดิมที่มักเปลี่ยนรถกันทุก ๆ 7 ปี
  • ข้อมูลค่าใช้จ่ายจากการใช้งานรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดพลังงาน ค่าซ่อม ค่าเสื่อม และเบี้ยประกัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อใกล้เคียงกับการลดราคาขาย
  • รถยนต์ไฟฟ้าทั้ง BEV และ Hybrid กลายเป็นตัวเลือกหลักของตลาดรถยนต์นั่งนับตั้งปี 2023 เป็นต้นมา และคาดว่าจะครองส่วนแบ่งยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ภาพจาก Unsplash

ทิศทางการปรับลดราคาขายรถยนต์

สงครามราคาในตลาดรถยนต์ไทยจะยังทวีความรุนแรง แต่ประสิทธิผลของกลยุทธ์ดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง เพราะผู้บริโภคเกิดความเคยชินและหันมารอมากขึ้น SCB EIC ประเมินว่า การปรับลดราคาขายรถยนต์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้าง โดย Segment ที่คาดว่าจะมีความรุนแรงสูงสุด คือ

  • รถเก๋งขนาดเล็ก หรือ Eco car
  • รถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากประเทศจีนที่เปิดตัวไปแล้วในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา
  • กลุ่มรถยนต์ราคาระหว่าง 5 แสน 1 ล้านบาท จะมีตัวเลือกในตลาดเพิ่มขึ้นมาก

ผลพวงจากการจัดโปรโมชันที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจะทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถใหม่ออกไป เพื่อรอให้ราคาปรับลดลงอีกในอนาคต

มูลค่ารถยนต์อีวีอาจลดเกือบ

มูลค่าคงเหลือของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้ง BEV (ใช้ไฟฟ้า 100%) และ Hybrid มีแนวโน้ม ลดลงมากถึงเกือบ 50% จากราคาขาย เมื่อใช้งานไปเพียงแค่ 1 ปี เท่านั้น มูลค่าซากของรถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อใช้งานไปเพียง 1 ปี จะเสื่อมค่าลงมากถึง 50% ขณะที่ รถสันดาปสามารถรักษามูลค่าในปีแรกไว้ได้ถึง 67% ของราคารถใหม่ โดยปัจจัยที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมค่าลงมากนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก ราคาขายที่ถูกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความกังวลของภาคธุรกิจต่ออุปสงค์ของ EV ในตลาดรถยนต์มือ 2

รถอีวีถูกกว่าหมด ยกเว้นประกัน

ค่าใช้จ่ายผันแปรจากการใช้งานรถ BEV ต่ำกว่ารถสันดาป และ Hybrid ค่อนข้างมาก แต่ต้องจับตาต้นทุนแฝงจากปัญหาความไม่เพียงพอของสถานีชาร์จสาธารณะ การใช้งานรถ BEV ก่อให้เกิดรายจ่ายจากการชาร์จไฟฟ้าเพียง 62 บาท/วัน ต่ำกว่าค่าเชื้อเพลิงของรถสันดาป กว่าเท่าตัว ด้านค่าใช้จ่ายการ เช็กระยะ ซึ่งถูกกว่ารถประเภทอื่น ๆ ถึง 3 เท่า อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาต้นทุนแฝงอื่น ๆ เช่น ค่าเสียโอกาสจากการรอชาร์จไฟเนื่องจากสถานีชาร์จสาธารณะมีไม่เพียงพอ รวมถึงค่าเดินทางและระยะเวลาซ่อมที่ยาวนาน เพราะอุปทานอะไหล่ยนต์ในประเทศมีจำกัด รวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุงและอู่ซ่อมรายย่อยก็มีน้อยและกระจายตัวไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

แม้ค่าพลังงานและการเช็กระยะจะถูกกว่า แต่ เบี้ยประกัน รถ BEV พงกว่ารถสันดาป และ Hybrid กว่าเท่าตัว เนื่องจากราคาขายที่ถูกปรับลดลงต่อเนื่อง รวมถึงระบบนิเวศน์ EV ในประเทศไทยยังพัฒนาได้ไม่เท่าทันกับความต้องการของตลาด ปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เบี้ยประกันรถ BEV ผันผวนและยังอยู่ในระดับสูง คือ การคำนวณทุนประกันทำได้ยาก เพราะ

  • เหล่าผู้ผลิตมีการปรับลดราคาขายลงอย่างต่อเนื่อง
  • ราคาอะไหล่ต่อชิ้นค่อนข้างแพง
  • อู่ซ่อมรายย่อยมีน้อย
  • บริษัทรับทำประกันภัย EV ก็มีจำกัด

ดังนั้น เบี้ยประกันรถ EV จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง แม้จะทยอยปรับลดลงบ้างตามทิศทางการพัฒนาระบบนิเวศ EV ของไทยที่กำลังมีความพร้อมยิ่งขึ้น ทั้งจากการลงทุนขยายอุปทานอะไหล่ยนต์ในประเทศ รวมถึงการเร่งพัฒนาธุรกิจอู่ซ่อมและฝีมือแรงงานให้ตอบโจทย์

อีวีคุ้มสุดในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม รถ BEV เป็นตัวเลือกการขับขี่ที่ตอบโจทย์ความ ประหยัดในระยะยาว ได้ดีที่สุด แม้ว่าการใช้งานช่วง 2 – 3 ปีแรกจะมีต้นทุนการถือครองที่สูงกว่ารถประเภทอื่น ๆ เนื่องจากภาระเบี้ยประกันและค่าเสื่อมที่อยู่ในระดับสูง การเปรียบเทียบความคุ้มค่าตลอดอายุการใช้งาน 10 ปี ถือว่าภาระรายจ่ายของ รถสันดาปสูงที่สุด ขณะที่รถไฮบริดจะมีต้นทุนการใช้งานต่ำมากในระยะสั้น จากนั้นจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามภาระค่าเชื้อเพลิง สำหรับรถ BEV ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ความคุ้มค่าในระยะยาว เพราะค่าใช้จ่ายการชาร์จไฟฟ้าและค่าซ่อมบำรุงที่อยู่ในระดับต่ำสามารถชดเชยภาระเบี้ยประกันที่โดยรวมยังแพงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น ๆ

Source

]]>
1485151
Volvo เตรียมย้ายกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนกลับสู่ทวีปยุโรปบางส่วน ลดความเสี่ยงโดนภาษีนำเข้า EV https://positioningmag.com/1477236 Sun, 09 Jun 2024 16:20:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477236 วอลโว่ (Volvo) แบรนด์รถยนต์ชื่อดังในทวีปยุโรป ซึ่งมีบริษัทจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้เตรียมวางแผนย้ายกำลังการผลิตกลับทวีปสู่ยุโรปบางส่วน เนื่องจากต้องการลดความเสี่ยงจากภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้น ถ้าหากสหภาพยุโรปสอบสวนแล้วพบว่าจีนได้ให้เงินอุดหนุนผู้ผลิต EV จากจีน

The Times สื่อในประเทศอังกฤษ รายงานข่าวว่า Volvo แบรนด์รถยนต์ในทวีปยุโรป ที่ปัจจุบันมีเจ้าของคือ Geely แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศจีน ได้เตรียมย้ายกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ากลับสู่ทวีปยุโรปอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุสำคัญมากจากเพื่อต้องการลดความเสี่ยงจากภาษีนำเข้าสินค้า

โดยแหล่งข่าวของสื่ออังกฤษรายงานว่าโรงงานผลิตของ Volvo ได้ระงับการขายรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศจีนซึ่งส่งออกไปยังทวีปยุโรปแล้ว นอกจากนี้สื่อรายดังกล่าวยังได้รายงงานว่า จะมีการย้ายกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในรุ่น EX30 และ EX90 จากจีนไปยังเบลเยียมอีกด้วย

นอกจากนี้กำลังการผลิตในยุโรปนั้นอาจรวมถึงการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าของ Volvo ไปยังสหราชอาณาจักรด้วย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทเตรียมแผนดังกล่าวเนื่องจากสหภาพยุโรปนั้นกำลังพิจารณาจะมีการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า หลังจากมีการสอบสวนว่าจีนมีการใช้เงินอุดหนุนดังกล่าวจริงหรือไม่ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากประเทศจีนนั้นมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับผู้ผลิตในยุโรป ส่งผลทำให้ผู้ผลิตในทวีปยุโรปประสบปัญหา

อย่างไรก็ดีจีนได้ออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าวว่า จีนไม่เคยมีการอุดหนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าของจีนนั้นได้รับความนิยมเนื่องจากราคาและรถยนต์ไฟฟ้าของจีนสามารถแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นๆ ได้

ปัญหาการทะลักเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มหาอำนาจย่ำแย่ลง เนื่องจากยุโรปนั้นอุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจสำคัญของทวีป มีการจ้างงานจำนวนมาก รวมถึงซัพพลายเออร์หลากหลายแห่ง และถ้าหากอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับผลกระทบ ย่อมกระเทือนถึงเศรษฐกิจยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

]]>
1477236
รัฐบาลจีนยืนยันไม่ได้ให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า แต่ EV จากแดนมังกรได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม https://positioningmag.com/1477006 Fri, 07 Jun 2024 04:26:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477006 โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศของจีนได้กล่าวว่า จีนไม่ได้ให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า แต่รถ EV จากแดนมังกรได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ซึ่งการตอบโต้ดังกล่าวตามหลังมาจากสหรัฐอเมริกากล่าวหาว่าจีนได้ส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมากจนทะลักตลาด

สำนักข่าว Reuters ได้รายงานข่าว โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศของจีนได้กล่าวถึงประเด็นที่กำลังเผ็ดร้อนอยู่ในเวลานี้คือ รถยนต์ไฟฟ้าจีนได้ออกสู่ท้องตลาดโลกและกำลังตีตลาดในหลายประเทศนั้นรัฐบาลจีนได้มีการสนับสนุนผ่านเม็ดเงินอุดหนุนหรือไม่

Mao Ning โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศของจีนได้กล่าวถึงในกรณีดังกล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าของจีนได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดต่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากความได้เปรียบในการแข่งขันและกฎหมายตลาด

โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศของจีน ยังกล่าวเสริมในเรื่องดังกล่าวว่า จีนไม่ได้มีการให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งเงินอุดหนุนดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO)

ไม่เพียงเท่านี้ โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศของจีน ยังกล่าวว่าในปี 2023 ที่ผ่านมา รถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนได้ส่งออกสู่สหรัฐอเมริกาเพียงแค่ 13,000 คันเท่านั้น ด้วยตัวเลขดังกล่าวสหรัฐอเมริกาไม่สามารถที่จะกล่าวหาจีนได้

ในช่วงที่ผ่านมามีหลายประเทศเริ่มกังวลถึงการเข้ามาตีตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ที่มีการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า หรือแม้แต่ยุโรปที่กำลังสอบสวนในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากกังวลว่าการทะลักของรถยนต์ไฟฟ้าจีนอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก

ขณะที่ในมุมผู้บริหารอย่าง Elon Musk ซึ่งเป็น CEO ของ Tesla เคยกล่าวไว้เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า ถ้าหากไม่มีกำแพงด้านการค้าต่อผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนแล้ว หัวเรือใหญ่ของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐฯ รายนี้มองว่า EV จากจีนเองจะทำลายคู่แข่งจากทวีปอื่นจนย่อยยับได้

ถ้อยแถลงดังกล่าวของโฆษกของกระทรวงการต่างประเทศของจีน ตามหลังมาจาก โจ ไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวหาว่าจีนให้เงินอุดหนุนเพื่อทำให้สหรัฐอเมริกาท่วมท้นไปด้วยรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ซึ่งสะท้อนความกังวลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯ ในเรื่องดังกล่าว

]]>
1477006
ลือ ‘สหรัฐฯ’ เล็งขึ้นภาษี ‘รถอีวี’ จากจีนเพิ่ม 4 เท่า เป็น 100% เพื่อสกัดการนำเข้า https://positioningmag.com/1473144 Mon, 13 May 2024 03:27:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473144 มีข่าวลือว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เตรียมประกาศภาษีสินค้าจากจีนในช่วงกลางสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่จะเป็นขึ้นภาษีครั้งใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสินค้าสำคัญ ๆ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ และ อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์

มีข่าวลือว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมแก้ไข ภาษีมาตรา 301 โดยจะมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันเชิงกลยุทธ์และความมั่นคงของชาติ โดยจะเพิ่มอัตราภาษีใหม่กับ เซมิคอนดักเตอร์, อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ และ รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึง เวชภัณฑ์ เช่น เข็มฉีดยาและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ผลิตใน จีน

มีการคาดการณ์ว่า ภาษีรถอีวีของจีนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า หรือคิดเป็น 100% ขณะที่ประธานคณะกรรมการการธนาคารวุฒิสภาต้องการให้ฝ่ายบริหารของไบเดน แบนรถยนต์ไฟฟ้าของจีนโดยสิ้นเชิง เนื่องจากความกังวลว่าอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน

ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถอีวีจีนที่ 25% แต่เพราะราคาที่ไม่ได้สูงมากของรถอีวีจีน ทำให้ไม่ได้ติดปัญหาเรื่องกำแพงภาษีมากนัก ดังนั้น รถอีวีจีนจึงยังสามารถแข่งขันได้ในสหรัฐฯ แต่หากการขึ้นภาษีใหม่เกิดขึ้นจริง จะทำให้รถอีวีจีนที่ขายในสหรัฐอเมริกา อาจต้องขายในราคา เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการนําเข้ารถยนต์จีนยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย

ต้องยอมรับว่า การผลิตรถอีวีของจีนได้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยย้อนกลับไปเมื่อปี 2015 ส่วนแบ่งตลาดรถอีวีของจีนมีเพียง 0.84% เท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับสหรัฐฯ ที่มี 0.66% แต่ในปี 2023 ที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดรถอีวีของจีนก็พุ่งขึ้นเป็น 37% มากกว่าส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ที่มี 7.6% 

นอกจากนี้ จีนยังเดินหน้าส่งออกรถอีวีไปยังตลาดต่างประเทศจำนวนมาก หลังจากที่ตลาดจีนเริ่มมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง และมีการแข่งขันราคาอย่างรุนแรง ทำให้สหรัฐฯ จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราภาษี เพื่อให้กำแพงภาษีที่สูงขึ้น อาจจะลดการนำเข้าและลดการแข่งขันในสหรัฐฯ

Reuters / electrek

]]>
1473144
ประเมินตลาด ‘รถอีวี’ ทั่วโลกปี’67 อาจโตได้ 30% แม้ไตรมาสแรกชะลอตัว เหตุผู้บริโภครอ “รถราคาถูก” ลงสู่ตลาด https://positioningmag.com/1470277 Thu, 18 Apr 2024 03:28:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470277 บริษัทวิจัยการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและพลังงานอย่าง Rho Motion ประเมินว่า การเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี ทั่วโลกว่าอาจ ชะลอตัวลง เนื่องจากผู้บริโภครอ รถที่มีราคาถูกลง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมทั้งปีตลาดมีโอกาสเติบโตได้ประมาณ 25-30%

ในเดือน มกราคม ที่ผ่านมา ทั่วโลกมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 1 ล้านคัน ซึ่งถือเป็นยอดจำหน่าย สูงที่สุด เท่าที่เคยมีมาในเดือนมกราคม โดยเพิ่มขึ้น +69% จากเดือนมกราคม 2566 ที่มียอดขาย 6.6 แสนคัน อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับยอดขายของเดือนธันวาคม 2566 ที่เป็นเดือนที่มียอดขายสูงสุดที่ 1.5 ล้านคัน ถือว่าลดลงเกือบ 5 แสนคัน

ขณะที่เดือน กุมภาพันธ์ ยอดขายลดลง 25% เหลือ 827,000 คัน เป็นผลมาจากยอดขายใน จีน ที่ลดลงมากกว่า 42% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ตลาดจีนมียอดขายสูงถึง 640,000 คัน หรือคิดเป็นกว่าครึ่งของยอดขายรถอีวีทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ในเดือน มีนาคม ยอดขายรถอีวีก็พุ่งขึ้นสูงถึง 1.23 ล้านคัน ทั่วโลก โดยเติบโตขึ้น 12% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2566 เนื่องจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 27% ในตลาดจีนและ 15% ในตลาดสหรัฐฯ และแคนาดา แม้ว่าในตลาดยุโรปจะลดลง 9% ก็ตาม

“โดยรวมแล้ว การเติบโตของยอดขายชะลอตัว แต่ก็ยังค่อนข้างเป็นบวก” Charles Lester ผู้จัดการข้อมูลของ Rho Motion กล่าว

หลังจากเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นเวลาหลายปี ทำให้ความต้องการขายรถยนต์ไฟฟ้าลดลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้บริโภค รอให้รถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่แพง ออกสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเติบโตจะชะลอตัวไปบ้าง แต่คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกปีนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 25-30%

ทั้งนี้ ในปี 2566 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกอยู่ที่ 13.6 ล้านคัน เติบโตขึ้น 31% จากในปี 2565 ตลาดเติบโตถึง 60%

reuters / X / greencarcongress

]]>
1470277
Tesla ปลดพนักงานมากกว่า 10% ขององค์กร Elon Musk ชี้ทำเพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและความคล่องตัว https://positioningmag.com/1470133 Mon, 15 Apr 2024 14:55:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470133 เทสลา (Tesla) ได้ประกาศปลดพนักงานมากกว่า 10% ขององค์กร โดยให้เหตุผลเนื่องจากลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและความคล่องตัว ขณะเดียวกันสถานการณ์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาของความยากลำบากของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกนั้นกำลังกลับมาอีกครั้ง

Electrek เว็บไซต์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวหลายแห่ง รวมถึงอีเมลภายในองค์กร ได้ชี้ว่า Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศปลดพนักงานเป็นจำนวนมากกว่า 10% ขององค์กร เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพองค์กร

เว็บไซต์ดังกล่าวได้อ้างอิงจดหมายที่ Elon Musk ซึ่งเป็น CEO ของ Tesla ได้ส่งให้กับพนักงาน โดยชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการขยายโรงงานขนาดใหญ่ไปทั่วโลก และเนื่องด้วยการเติบโตดังกล่าวทำให้มีหน้าที่ตำแหน่งงานที่ซ้ำซ้อน

ขณะเดียวกัน CEO รายดังกล่าวยังชี้ว่า การที่บริษัทต้องการจะเติบโตในก้าวต่อไปก็จะต้องมีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ทำให้หลังจากมีการพิจารณาบริษัทได้ตัดสินใจที่จะปลดพนักงานมากกว่า 10% แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบ แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ เนื่องจากทำให้บริษัทมีความคล่องตัว มีนวัตกรรม และกระหายต่อการเติบโตในรอบต่อไป

Elon Musk เองยังได้กล่าวลากับพนักงานที่ถูกปลดด้วยความขอบคุณในการทำงานหนักและมีส่วนร่วมมากมายในภารกิจของบริษัท ขณะเดียวกันเขาได้กล่าวกับพนักงานที่ยังอยู่กับบริษัทต่อว่ายังมีภารกิจมากมายรออยู่

สำหรับพนักงานที่โดนปลดนั้นคาดว่าจะมีจำนวนมากกว่า 10% ของทั้งองค์กร ซึ่งคาดว่าจะอยู่มากกว่า 14,000 ราย

ข่าวการปลดพนักงานดังกล่าวนตามหลังมาจากยอดส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทนั้นทำได้ต่ำกว่าที่คาด และในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาบริษัทต้องงัดกลยุทธ์ในการลดราคาเพื่อที่จะต่อสู้กับคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน หรือแม้แต่ผู้ผลิตหลายรายในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

สถานการณ์ของ Tesla และผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายรายทั่วโลกในเวลานี้ถือว่าไม่สู้ดีมากนัก เนื่องจากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้านั้นไม่เติบโตเท่าที่ควร และยังรวมถึงการแข่งขันอย่างดุเดือด จนทำให้ท้ายที่สุดบริษัทรายใหญ่จากสหรัฐอเมริการายนี้ต้องงัดมาตรการในการลดค่าใช้จ่ายด้วยการปลดพนักงานออกมา

]]>
1470133
จีนปฏิเสธข้อกล่าวหา EU ว่าให้การอุดหนุนราคารถยนต์ไฟฟ้า ชี้นวัตกรรมทำให้ EV จีนประสบความสำเร็จ https://positioningmag.com/1469432 Mon, 08 Apr 2024 12:14:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469432 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหภาพยุโรปว่าให้การอุดหนุนราคารถยนต์ไฟฟ้า และจะมีการเข้าสอบสวนในเรื่องดังกล่าวในเร็วๆ นี้ โดยเขามองว่านวัตกรรมและหลากหลายปัจจัยได้ส่งผลทำให้รถยนต์ไฟฟ้าจีนประสบความสำเร็จ

หวัง เหวินเทา (Wang Wentao) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน ได้กล่าวในการประชุมระหว่างผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีน และผู้แทนของหอการค้าจีนประจำสหภาพยุโรป โดยเขากล่าวว่าจีนไม่ได้ให้การอุดหนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า แต่ชี้ว่านวัตกรรมและหลากหลายปัจจัยที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าจีนประสบความสำเร็จ

การประชุมดังกล่าวนั้นมีแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น BYD Geely หรือแม้แต่ SAIC รวมถึงผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกอย่าง CATL และรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับจุดมุ่งหมายในการประชุมดังกล่าวนั้นเพื่อที่จะตอบสนองในเรื่องที่ สหภาพยุโรป (EU) เตรียมเข้าสืบสวนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มาจากประเทศจีนหลายแบรนด์ หลังจากที่มีข้อกล่าวหาว่าแบรนด์เหล่านี้อาจได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ทำให้การแข่งขันเกิดความไม่ยุติธรรม

นอกจากนี้ยังรวมถึงราคารถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนถือว่ามีราคาถูก เมื่อเทียบกับราคารถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายยุโรป ส่งผลทำให้ผู้ผลิตหลายรายในยุโรปเองประสบปัญหาความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งถ้าหากผู้ผลิตในทวีปยุโรปนั้นต่อสู้ไม่ได้นั้นอาจกระทบต่อการจ้างงาน ทำให้มีการสอบสวนจาก EU ตามมา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ EU และสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่าผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนได้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมากออกมา โดยเขาชี้ว่าไม่พบเรื่องดังกล่าว และยังชี้ว่าผู้ผลิตจากจีนนั้นพึ่งพาเรื่องนวัตกรรม เทคโนโลยี หรือแม้แต่เรื่องของ Supply Chain ไม่ได้เกิดจากการพึ่งภาการอุดหนุนของรัฐบาลเพื่อที่จะชิงความได้เปรียบแต่อย่างใด

ไม่เพียงเท่านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน ยังมองว่าการที่ EU เข้ามาสืบสวนเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็น ‘การกีดกันทางการค้า’ อีกด้วย

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน ยังได้ให้คำแนะนำกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนว่า เมื่อเผชิญความท้าทายและความไม่แน่นอนจากภายนอก องค์กรต่างๆ ควรที่จะฝึกฝนทักษะภายใน ยึดมั่นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รวมถึงเสริมสร้างการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น

]]>
1469432
ถึงเวลาสู้ศัตรูคนเดียวกัน! ‘ฮอนด้า’ ผนึก ‘นิสสัน’ พัฒนารถอีวีเพื่อสู้กับ ‘ค่ายจีน’ https://positioningmag.com/1466580 Mon, 18 Mar 2024 03:58:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466580 หากเป็นรถยนต์สันดาป ผู้ที่ครองตลาดก็จะเป็น ค่ายรถญี่ปุ่น แต่ถ้าเป็นตลาดรถอีวี ค่ายจีน ได้กลายเป็นผู้นำของตลาดไปเรียบร้อยแล้ว แม้แต่แบรนด์สุดแข็งอย่าง Tesla ยังต้องพ่ายแพ้ให้กับค่ายจีน ดังนั้น แบรนด์ญี่ปุ่นจึงต้องเลิกสู้กันเอง หันมาจับมือกันเพื่อสู้ค่ายจีน

ในอดีตค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นอาจจะต้องแข่งกับค่ายรถจากฝั่งยุโรปและแข่งขันกันเอง แต่ตอนนี้ทุกค่ายคงตระหนักได้ว่า คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในตลาดก็คือ ค่ายรถอีวีจีน ทำให้ นิสสัน (Nissan) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจแบบไม่ผูกมัด (Memorandum of Understanding – MoU) กับ ฮอนด้า (Honda) ค่ายรถยนต์คู่แข่ง เพื่อร่วมมือกันในการผลิตส่วนประกอบสำคัญสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ในแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ยานยนต์

โดยความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองบริษัทประหยัดต้นทุนในการผลิต เพราะทำให้มี Economy of scale ที่มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันกับค่ายรถอีวีจากจีน โดยเฉพาะ บีวายดี (BYD) จากจีนที่เพิ่งบุกตลาดประเทศญี่ปุ่น รวมถึง เทสลา (Tesla) ด้วย

“ผู้เล่นหน้าใหม่มีความก้าวร้าวมากและกำลังบุกเข้ามาด้วยความเร็วที่น่าทึ่ง เราไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ ตราบใดที่เรายึดมั่นในแนวคิดและแนวทางแบบดั้งเดิม” มาโกโตะ อุชิดะ ซีอีโอของนิสสัน กล่าว

อย่างไรก็ตาม นิสสันและฮอนด้า ยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกัน แต่ก็เปิดรับความเป็นไปได้ในอนาคต รวมถึงยัง เปิดกว้างในการร่วมมือกับพันธมิตร ที่มีอยู่หากมีโอกาสเกิดขึ้น

“เราถูกจำกัดด้วยเวลา ดังนั้น จำเป็นต้องทำให้เร็ว เพื่อที่ภายในปี 2030 เราจะอยู่ในตำแหน่งที่ดี เราจึงต้องตัดสินใจตั้งแต่ตอนนี้”

ทั้งนี้ ฮอนด้าตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงเป็น 100% ของยอดขายทั้งหมดภายในปี 2040 ส่วนนิสสันถือเป็นผู้บุกเบิกด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ด้วยรุ่น Leaf

ที่ผ่านมา ทั้งฮอนด้าและนิสสัน ได้พิจารณาเตรียมลดกำลังการผลิตในประเทศจีน โดยสาเหตุสำคัญคือผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นต้องแข่งขันกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของจีน โดยนิสสันเตรียมลดกำลังการผลิตในจีนสูงสุดถึง 30% เหลือ 1.6 ล้านคัน/ปี ส่วนฮอนด้านั้นจะลดกำลังการผลิตราว 20% เหลือ 1.2 ล้านคันต่อปี

Source

]]>
1466580