Zuckerberg บอกว่า ช่วงที่เรียนในมหาวิทยาลัยการเลือกคบคนเป็น ‘การตัดสินใจที่สำคัญที่สุด’ โดยเขาบอกว่า “คนรอบตัวเป็นอย่างไร คุณก็จะกลายเป็นคนแบบนั้น” และ อยากให้คำนึงการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากกว่าการมุ่งเน้นที่เป้าหมายจนเกินไป
อย่างตัวเขาเองช่วงเรียนอยู่ฮาร์วาร์ด ได้พบกับ Eduardo Saverin, Dustin Moskovitz, Chris Hughes และ Andrew McCollum เพื่อนๆ และกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook หนึ่งในบริษัทที่ปฏิวัติวงการ โซเชียลมีเดียและกลายเป็นหนึ่งบริษัทใหญ่ที่สุดของโลก
แม้ท้ายที่สุดพวกเขาทั้ง 5 คนต้องแยกย้ายกันไปแบบไม่ลงรอย แต่การให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์มากกว่าเป้าหมายยังคงเป็นคติประจำชีวิตของ Zuckerberg อยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ‘การจ้างงาน’ เช่น เมื่อต้องประเมิน ผู้สมัครงาน เขาจะจินตนาการว่า ถ้าตนเองทำงานกับคนนั้นจะเป็นอย่างไร แทนที่จะคิดว่า เป็นเจ้านายของพวกเขา
Zuckerberg เชื่อว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ทั้งเหนียวแน่น มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และแน่นอนย่อมมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย หากคุณทำงานร่วมกับผู้คนที่มีค่านิยมแบบเดียวกันและมีแนวโน้มจะบรรลุเป้าหมายในการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการค้นหาความเข้ากันได้ระหว่างคนในองค์กร ไม่ต่างไปจากการเลือกคบเพื่อนหรือคู่ครอง
คำแนะนำนี้ เจ้าพ่อ Meta อยากส่งต่อให้กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งอาจจะจริงอย่างที่เขาบอก เพราะผู้คนที่เราเลือกคบหามีผลต่อตัวตนและความคิดของเราอย่างมาก ยิ่งใช้เวลาอยู่ด้วยกันมาก ๆ ดังนั้น การเลือกคบคนจึงสำคัญมาก ๆ
ที่มา : https://www.cnbc.com/2022/03/18/mark-zuckerbergs-young-people-advice-focus-on-building-relationships.html?taid=65ed3e5e26cd0000015febc9&utm_content=makeit&utm_medium=Social&utm_source=Twitter
]]>มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ซีอีโอของ Meta เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง Facebook, Instagram เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะใช้งบลงทุน 6 – 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 2 – 2.18 แสนล้านบาท เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ Meta โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับ OpenAI และ Google
“นี่จะเป็นปีที่กําหนดสําหรับ AI และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มันจะขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์และธุรกิจหลักของเรา” มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กล่าว
สำหรับการลงทุนดังกล่าวจะใช้จ้างงานบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา AI เช่น ทีมวิศวกร และสร้างศูนย์ข้อมูลกว่า 2 จิกะวัตต์ (GW) ซึ่งจะมีพื้นที่ใหญ่พอครอบคลุมพื้นที่ส่วนสำคัญของแมนฮัตตัน ซึ่งต้องใช้ GPU กว่า 1.3 ล้านชิ้น เพื่อสร้างพลังการประมวลผลขนาด 1 จิกะวัตต์ สำหรับใช้พัฒนา Llama 4 ซึ่งเป็นโมเดล AI แบบโอเพ่นซอร์สที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้เหตุผลและการโต้ตอบด้วยเสียง
โดยในปีที่ผ่านมา ผู้ช่วย AI ของ Meta มีผู้ใช้งานกว่า 600 ล้านคนต่อเดือน โดยในปีนี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการมากกว่า 1 พันล้านคน
นักวิเคราะห์มองว่า การที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประกาศลงทุนในครั้งนี้ เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า เขาไม่ต้องการเป็นอันดับสองในการแข่งขัน AI เนื่องจากมีการใช้งบประมาณเพิ่มอย่าง ก้าวกระโดด อย่างมีนัยสําคัญ จากปีที่ผ่านมามีการลงทุนที่ 4 หมื่นล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายรายได้ประกาศลงทุนหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน AI อาทิ เมื่อต้นเดือนนี้ Microsoft กล่าวว่ากําลังวางแผนที่จะลงทุนประมาณ 8 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปีงบ ประมาณ 2025 เพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูล ในขณะที่ Amazon ประกาศว่าจะมีการใช้จ่ายกว่า 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อลงทุน AI ในปี 2025
ทั้งนี้ การประกาศของ Meta เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาประกาศว่า จะจัดตั้งกิจการที่เรียกว่า Stargate และลงทุน 5 แสนล้านดอลลาร์ ในโครงสร้างพื้นฐาน AI ทั่วสหรัฐอเมริกา
]]>แม้ว่า TikTok ในตลาดสหรัฐฯ จะถูกแบนเป็นเวลาสั้น ๆ ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ก่อนจะกลับมาให้บริการตามปกติ หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า เขาจะลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารในวันจันทร์ หลังการเข้ารับตำแหน่ง เพื่อชะลอการแบนแอปฯ ดังกล่าวจากรัฐบาลกลาง ตามที่เขาโพสต์ลงบน Truth Sociai โซเชียลมีเดียของเจ้าตัว
อย่างไรก็ตาม อนาคตของบริษัทก็ยังไม่ชัดเจนภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน รวมไปถึงอีก 2 แพลตฟอร์มอย่าง CapCut และ Lemon8 ที่มีเจ้าของคนเดียวกันก็คือ บริษัท ByteDance
แต่ถึงจะแบนหรือไม่แบน เจ้าพ่อโซเชียลฯ อย่าง Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram ก็ชิงโอกาสเปิดตัวฟีเจอร์ตัดต่อวิดีโอ Edits เพื่อมาชนหรือแทนที่ CapCut หากถูกแบน
Adam Mosseri หัวหน้าทีม Instagram ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม Edits ผ่าน Threads ว่า แอปฯ ดังกล่าวออกแบบมาเพื่อ คนที่ถนัดการตัดต่อวิดีโอบนมือถือ โดยมีจุดเด่น ดังนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Edits จะสามารถดาวน์โหลดได้บน App Store แต่จะยัง ใช้งานไม่ได้ โดยจะใช้งานได้ในเดือน กุมภาพันธ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่ที่ TikTok มีข่าวว่าจะโดนแบนในสหรัฐฯ ผู้ใช้งานหลายคนเริ่มมองหาแพลตฟอร์มใหม่เพื่อใช้แทน เช่น เรดโน้ต (RedNote) หรือ เสี่ยวหงชู (Xiaohongshu) ดังนั้น การที่ Meta เพิ่มแอปฯ ใหม่อย่าง Edits ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำให้คนกลับมาใช้ Instagram เสมอไป
]]>
ภายในงานได้มีการแชร์สถิติสำคัญ และเทรนด์น่าสนใจหลายอย่าง รวมถึงอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเปิดตัวในไทยเร็ว ๆ นี้ ยกตัวอย่าง Meta AI เวอร์ชั่นภาษาไทยที่จะเปิดตัวภายในสัปดาห์หน้า พร้อมเผยถึงเทคนิคในการสร้าง Engagement บน Facebook
– Meta มีผู้ใช้จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมแล้ว 3.29 พันล้านคน เพิ่มขึ้น 5% ทุกปี โดยเป็นผู้ใช้ Facebook มากกว่า 2 พันล้านคน
– สำหรับในประเทศไทย Facebook มีผู้ใช้งานมากกว่า 60 ล้านคนต่อเดือน เพิ่มขึ้น 5%จากปีก่อน และมีผู้ใช้งาน Messenger กว่า 56 ล้านคนต่อเดือน
– บน Facebook มี Group มากกว่า 43 ล้านกลุ่ม และ 25 ล้านกลุ่มเป็นสาธารณะ ซึ่งในแต่ละเดือนมีผู้ใช้กว่า 1.8 ล้านคนมีส่วนร่วมในกลุ่ม
– Facebook มีผู้ใช้งานใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Young Adult หรือคนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 19-29 ปี
– คนรุ่นใหม่ใช้เวลา 60% เพื่อดูวิดีโอบน Facebook และ 50% ดู Reels
– พฤติกรรมการใช้ Facebook ของกลุ่ม Gen Z เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมใช้เพื่อเชื่อมต่อกับผู้คน ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น Expand & Explore ซึ่งถือเป็นเทรนด์ใหม่ของกลุ่มนี้ โดยจะเน้นสำรวจความสนใจและค้นหาสิ่งใหม่ ๆ รวมถึงใช้ขยายคอมมูนิตี้ และคอนเน็กชันของตัวเอง
– Reel มาแรง และคนรุ่นใหม่เกินครึ่งจะดู Reels เป็นหลัก ที่สำคัญจะดูทุกวัน
– ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่จะแชร์วิดีโอในสาธารณะ แต่ตอนนี้พวกเขาจะแชร์เฉพาะตัวเองหรือกลุ่มเฉพาะ ทำให้เทรนด์ Private Sharing เติบโตขึ้นถึง 100% เมื่อเทียบกับปีก่อน
– 4 ฟีเจอร์บน Facebook ที่คนรุ่นใหม่นิยมใช้ ได้แก่ Market Place, Group, Event และ Messenger
– Meta ได้ลงทุนเงินกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับเรื่อง AI เพื่อจะเป็นเบอร์ 1 ของโลกทางด้านนี้
– ตอนนี้มีผู้ใช้งาน Meta AI อยู่ประมาณ 500 ล้านคน
– บน Facebook มีผู้ใช้ราว 15 ล้านคน ใช้ Generative AI สำหรับทำคอนเทนต์และโฆษณา
– Meta AI เวอร์ชั่นภาษาไทยกำลังจะเปิดตัวในสัปดาห์หน้า
– Meta AI จะมีฟีเจอร์ใหม่เพื่อช่วยให้ Admin สามารถบริหารจัดการคอมเมนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือและฟีเจอร์อื่น ๆ อาทิ Imagine yourself ที่ AI จะช่วย Gen ภาพตามที่ต้องการ และ AI Comment Summary สำหรับช่วยสรุปเนื้อหา และไฮไลต์คอนเทนต์หลักในโพสต์ เป็นต้น
ทาง Facebook เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีครีเอเตอร์กว่า 4 ล้านคนที่สร้างรายได้บน Facebookโดยระหว่างปี 2023 จนถึงปี 2024 Facebook ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนให้ครีเอเตอร์ที่ทำคอนเทนต์ไปแล้วกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวส่วนมากเป็นคอนเทนต์ Reels ที่เติบโตสูงถึง 80%
นอกจากนี้ Facebook ยังได้แนะนำครีเอเตอร์ที่ต้องการปั้นช่องและสร้างรายได้ว่า ให้เปิด Professional Mode เพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือและข้อมูลอินไซต์ต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของคอนเทนต์แต่ละตัว รวมไปถึงการสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มด้วยรูปแบบต่าง ๆ
ขณะเดียวกัน Facebook ยืนยันว่า สนับสนุนครีเอเตอร์ที่โพสต์คอนเทนต์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บทความ ภาพ วิดีโอ และวิดีโอสั้น ซึ่งประสิทธิภาพของคอนเทนต์ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจ และการทำได้อย่างตรงจุด ไม่ได้เกี่ยวกับรูปแบบของการโพสต์
ยกตัวอย่างที่มีครีเอเตอร์หลายครีเอเตอร์ โดยเฉพาะสื่อ นิยมโพสต์คอนเทนต์ในรูปแบบสเตตัส เพราะเชื่อว่า เอนเกจจะดีกว่ารูปแบบบทความ ถือเป็นความเชื่อที่ไม่ตรงกับความจริง
]]>
ผู้บริหารของ Facebook เพิ่งจัดงานอีเวนต์ “next 20 years” ของ Facebook ไปเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2024 ที่เมืองนิวยอร์ก เพื่อชี้ทิศทางให้เห็นว่า Facebook จะมุ่งเน้นการดึง “Gen Z” ให้เข้ามาใช้งาน และจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพัฒนาแพลตฟอร์มด้วย
ผู้เข้าร่วมงานอีเวนต์ดังกล่าวจะได้ใบปลิวพิมพ์สโลแกนชัดเจนถึงใจว่า “We are not your mom’s Facebook” ซึ่งสื่อนัยยะตอบโต้ว่า Facebook ไม่ได้เป็นแอปฯ คนแก่ที่คนวัยแม่ชอบเล่นอย่างที่ Gen Z คิด แต่แพลตฟอร์มนี้จะเป็น “ศูนย์กลางของปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมทุกชนิด”
“เรายังเป็นแพลตฟอร์มเพื่อทุกคนอยู่ แต่เราก็เล็งเห็นด้วยว่าถ้าเรายังอยากมีที่ยืนในตลาดอยู่ เราจะต้องสร้างให้แพลตฟอร์มของเราเหมาะกับ Gen Z” ทอม อลิสัน ประธาน Facebook กล่าวในงานอีเวนต์
จากข้อมูลการสำรวจของ Pew Research เมื่อปี 2023 พบว่า มีวัยรุ่นอเมริกันวัย 13-17 ปีเพียง 33% เท่านั้นที่มีบัญชี Facebook แถมยังมีแค่ 3% เท่านั้นที่ใช้ประจำ (*ในประเทศไทย YDM Thailand เคยให้ข้อมูลว่า Facebook ไม่ติด 3 อันดับแรกโซเชียลมีเดียที่คน Gen Z วัย 12-26 ปีชอบใช้)
อลิสันกล่าวต่อว่า จากการวิจัยของบริษัทพบว่าช่วงชีวิตของ Gen Z ในระยะนี้จะเป็นช่วงที่มีความเปลี่ยนแปลงมากมายในชีวิต เช่น เรียนจบมัธยม, เรียนต่อมหาวิทยาลัย, เริ่มทำงาน, ย้ายออกจากบ้านเป็นครั้งแรก, ตามหาความรัก
เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงมาก วัยรุ่นมักจะต้องการหา “บุคคลจริง” ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ที่เจอแบบเดียวกัน หาคนที่มีความสนใจใหม่ในแบบเดียวกัน และอลิสันคิดว่าตรงนี้คือจุดที่ Facebook จะเป็นผู้เชื่อมโยงให้ได้ ดังนั้น 3 สิ่งที่ Facebook จะเน้นหลังจากนี้เพื่อให้โดนใจ Gen Z ได้แก่
1.หน้า Feeds เน้นคอนเทนต์ที่ตรงกับชีวิตคน Gen Z
หันมาเน้นโพสต์ที่มาจากฟีเจอร์ Groups ที่ทำให้คนที่สนใจเรื่องแบบเดียวกันได้มาคุยกัน, โปรโมต Facebook Dating ตอบโจทย์เรื่องการตามหาคู่รัก/คู่เดต และเน้นคอมมูนิตี้ขายของบน Facebook Marketplace
ส่วนโพสต์ที่จะถูกลดการมองเห็นคือฟีเจอร์ที่คน Gen Z ไม่ค่อยสนใจและไม่เป็นการสร้างสังคม เช่น ข่าวสาร
การจัดหน้า Feeds เหล่านี้แพลตฟอร์มจะพัฒนาเทคโนโลยีการเลือกลำดับนำเสนอโพสต์ให้โดนใจคน Gen Z มากขึ้นด้วย
2.เน้น Reels และวิดีโอสั้น
กลยุทธ์นี้เหมือนกับใน Instagram เพราะวิดีโอสั้นเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่คน Gen Z ชอบ และจะเน้นให้การส่งวิดีโอไปในช่องแชทส่วนตัวทำได้ง่ายขึ้น เพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวผ่านการแชร์วิดีโอที่น่าสนใจ
3.สร้างแพลตฟอร์มให้เป็นมิตรกับครีเอเตอร์มากขึ้น
ในอนาคต Facebook จะทำให้ครีเอเตอร์สร้างรายได้จากคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น และใช้พลัง AI เป็นเบื้องหลังเครื่องมือบนแอปฯ ให้กับครีเอเตอร์ เช่น เปลี่ยนพื้นหลังในรูป, ช่วยเขียนโพสต์
ภายในงานอีเวนต์นี้มีคำถามถึง ทอม อลิสัน ว่าการปรับตัวของ Facebook จะทำให้บุคลิกของแอปฯ ไปซ้ำกับ Instagram หรือเปล่า ซึ่งทางอลิสันตอบว่า Facebook จะไปเน้นเรื่องการเชื่อมโยงคนเข้ากับประสบการณ์ต่างๆ ขณะที่ Instagram จะเน้นเรื่องคอนเทนต์ใหม่ๆ และการติดตามครีเอเตอร์ที่ชื่นชอบมากกว่า
]]>Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Social Network ได้เปิดตัวชิปเร่งการประมวลผลปัญญหาประดิษฐ์ (AI) รุ่นใหม่ ซึ่งความสามารถของชิปรุ่นใหม่นี้ประมวลผลด้าน AI ได้เร็วมากขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับชิปในรุ่นก่อนหน้า นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 5 นาโนเมตรซึ่งทำให้ประหยัดพลังงานลดลง
สำหรับงานที่ใช้เทคโนโลยี AI ของ Meta จนต้องมีการผลิตชิปออกมาเพื่อเร่งการประมวลผลนั้น เช่น เรื่องการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในด้านโฆษณา เพื่อหากลุ่มลูกค้า หรือแม้แต่การใช้ประมวลผลด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI ซึ่งชิปดังกล่าวจะใช้ในศูนย์ข้อมูลของบริษัท
Meta ยังชี้ว่าการผลิตชิปรุ่นใหม่นี้เป็นส่วนสำคัญของแผนระยะยาวในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานด้าน AI ของบริษัท
ไม่เพียงเท่านี้ ชิปดังกล่าวของ Meta ยังใช้เทคโนโลยีการผลิต 5 นาโนเมตรจาก TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากไต้หวัน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้ชิปของบริษัทนั้นประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับชิปรุ่นก่อนหน้า
ก่อนหน้านี้ Mark Zuckerberg ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง Meta เคยกล่าวว่าในปี 2024 บริษัทจะสั่งชิปเร่งการประมวลผล AI ในรุ่น H100 จาก Nvidia เพิ่มเติมอีก 350,000 ชุด ซึ่งจะทำให้บริษัทมีชิปเร่งการประมวลผลมากถึง 600,000 ชุด ซึ่งถือว่าใช้เม็ดเงินระดับมหาศาลในการซื้อชิปรุ่นดังกล่าว
ในช่วงที่ผ่านมาเทรนด์การใช้ AI ได้ทำให้ชิปของ Nvidia ถูกบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาหรือแม้แต่คู่แข่งจากจีน ได้ทำการกว้านซื้อเพื่อที่จะนำไปประมวลผลด้าน AI ซึ่งส่งผลทำให้บริษัทผลิตชิปรายดังกล่าวกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นแตะหลักล้านล้านเหรียญสหรัฐ
นักวิเคราะห์บางรายคาดยังว่า Nvidia นั้นอาจมีรายได้จากการขายชิปเร่งประมวลผล AI ได้มากถึง 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2027 และคู่แข่งรายอื่นไม่มีใครสามารถเข้ามาเทียบเคียงได้
อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Microsoft หรือ Amazon หรือไม่เว้นแต่ Meta ต่างต้องการที่จะลดการพึ่งพาชิปจาก Nvidia ให้ได้มากที่สุด และชิปที่บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้จ้างผลิตยังสามารถกำหนดสเปกตามความต้องการได้อีกด้วย
]]>สืบเนื่องจากข้อแนะนำจาก “Oversight Board” หรือคณะกรรมการอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนโยบายด้านเนื้อหาบนแพลตฟอร์มของ Meta แจ้งว่า โซเชียลมีเดียของบริษัทมีนโยบายเกี่ยวกับคอนแทนต์ AI ที่ ‘แคบเกินไป’ ทำให้ Meta จะเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้
โดยคอนเทนต์ที่เป็นภาพ เสียง และวิดีโอทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องมือ AI จะต้องมีป้ายเตือนกำกับไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเองโดยสมัครใจของผู้โพสต์ หรือเมื่อเครื่องมือ AI ของ Meta เองสามารถตรวจจับได้ว่า คอนเทนต์นั้นๆ ถูกสร้างขึ้นโดย AI อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้ข้อมูลรายละเอียดว่าจะมีการตรวจจับด้วยระบบไหน
ก่อนหน้านี้ นโยบายเกี่ยวกับคอนเทนต์ AI ของ Meta มีอยู่ข้อเดียวเท่านั้น คือ ห้ามลงโพสต์วิดีโอที่ปรากฏภาพเคลื่อนไหวของบุคคลที่พูดอะไรออกมาโดยที่เขาหรือเธอไม่ได้พูดจริงๆ แต่เป็นการสร้างขึ้นของ AI (Deepfake) นั่นทำให้นโยบายนี้ไม่ครอบคลุมมากพอไปถึงคอนเทนต์สร้างโดย AI อื่นๆ ที่กำลังท่วมท้นอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตขณะนี้
“ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงปีที่แล้วเพียงปีเดียว มีการพัฒนาเครื่องมือ AI ที่สร้างคอนเทนต์รูปภาพหรือเสียงได้เสมือนจริงมากขึ้น และเทคโนโลยีพวกนี้ก็กำลังพัฒนายิ่งขึ้น” Meta ระบุในบล็อกโพสต์แถลงเกี่ยวกับนโยบายนี้ “ตามที่ Oversight Board แจ้งมา การติดป้ายเตือนว่าเป็นคอนเทนต์ที่ AI สร้างขึ้นนั้นสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านโยบายห้ามโพสต์วิดีโอที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลหนึ่งกำลังพูดหรือทำอะไรที่เขาหรือเธอไม่ได้ทำจริง”
Meta ย้ำว่าสำหรับคอนเทนต์ที่สร้างโดย AI แต่สื่อสารสิ่งที่ผิดกฎร้ายแรงของแพลตฟอร์ม เช่น การรังแก ชักนำการเลือกตั้ง การคุกคามทางเพศ เหล่านี้จะถูกแบนออกจากระบบตามปกติแม้จะเป็นภาพหรือเสียงที่ทำขึ้นจาก AI ก็ตาม
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของ Meta หากสามารถทำได้จริงน่าจะช่วยให้ชุมชนผู้ใช้โซเชียลมีเดียใช้วิจารณญาณได้ดีขึ้นมาก Positioning พบว่าโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบันมีภาพที่ผลิตจากเครื่องมือ AI จำนวนมากที่เหมือนจริงอย่างมาก และถูกผู้โพสต์พิมพ์ข้อความประกอบเพื่อชี้นำว่าเป็นภาพที่เกิดขึ้นจริงอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะนำไปสู่ข่าวปลอม (Fake News) ความเข้าใจที่ผิดในสังคม หรือการหลอกลวงต่อไปในอนาคตได้
]]>พ.ต.อ.เจษฎา บุรินทร์สุชาติ ผู้กำกับการ กลุ่มงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ที่เปิดให้มีการแจ้งอาชญากรรมทางออนไลน์พบว่า มีการแจ้งรวมกว่า 3 แสนคดี หรือเฉลี่ยกว่า 700 คดี/วัน
รูปแบบอาชญากรรมออนไลน์ สามารถแยกได้เป็น 14 ประเภท แต่ที่มีจำนวนเยอะสุดอันดับ 1 คือ การซื้อขายออนไลน์ เช่น ได้ของไม่ตรงปก คิดเป็น 40% หรือกว่า 130,000 คดี ตามด้วย
“ในแต่ละปีความเสียหายจากมิจฉาชีพในไทยมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งมิจฉาชีพก็เอาเงินไปลงทุนเทคโนโลยี และคนเพิ่มเติม ทำให้เครือข่ายมีความซับซ้อนและกระจายในหลายประเทศ ทำให้จับได้ยากขึ้น มีกลโกงรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น โอกาสหลงเชื่อก็เยอะขึ้น” พ.ต.อ.เจษฎา กล่าว
เฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า การป้องกันไม่ให้โฆษณาบนแพลตฟอร์มถูกใช้งานเพื่อการหลอกลวงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแพลตฟอร์มก็ได้ กำหนดมาตรฐานการโฆษณาที่ได้รับอนุญาต และหากตรวจจับโฆษณาที่ละเมิดมาตรฐานการโฆษณา แพลตฟอร์มก็จะดำเนินการ ไม่อนุมัติ โฆษณาดังกล่าวในทันที
โดย Meta ได้ใช้ เอไอ เพื่อตรวจสอบเนื้อหาและบัญชีที่ละเมิดนโยบายของแพลตฟอร์ม โดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 Meta ได้เดินหน้าลบบัญชีปลอมออกกว่า 676 ล้านบัญชีทั่วโลก โดย 98.8% ถูกตรวจพบและลบออกไปโดยเอไอก่อนที่จะมีการรายงานจากผู้ใช้
นอกจากนี้ Meta ก็มี คน ที่คอยตรวจสอบ 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน อย่างไรก็ตาม ทาง Meta ไม่ได้เปิดเผยว่ามีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วนนี้มากน้อยเพียงใด
เฮเซเลีย ยอมรับว่า แม้บัญชีหรือโพสต์สแกมจะถูกเอไอสกัดกั้นนับล้านบัญชีแต่ก็ยังมีบางส่วนที่หลุดรอดมาได้ ซึ่งแพลตฟอร์มไม่ได้พอใจ และจะพยายามหาทางสกัดกั้นเพิ่มเติม รวมถึงอยากขอให้ ผู้ใช้งานช่วยกันรีพอร์ตบัญชีสแกม ซึ่งเพียงแค่คนเดียวรีพอร์ตทาง Meta ก็เทคแอคชั่นทันที แต่ไม่สามารถระบุระยะเวลาในการดำเนินการได้ เพราะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นจะใช้เอไอ และมีมนุษย์คอยตรวจสอบอีกครั้ง
“เราพยายามเต็มที่ และต้องพยายามเพิ่ม ระบบก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบเสมอไป และต้องยอมรับว่ามิจฉาชีพพยายามหาช่องโหว่เพื่อให้หลุดรอดการตรวจสอบ เช่น ใช้สัญลักษณ์แปลก ๆ แทนพยัญชนะ ซึ่งเราก็พยายามสอนเอไอให้ฉลาดขึ้นเพื่อตรวจจับให้ได้ และใช้มนุษย์คอยตรวจซ้ำ”
ปัจจุบัน Meta มีผู้ใช้งานกว่า 3.88 พันล้านคน/เดือน มีมากกว่า 10 ล้านธุรกิจทั่วโลกใช้โฆษณาบน Meta และมากกว่า 200 ล้านธุรกิจ ใช้เทคโนโลยีของ Meta ในการทำธุรกิจ
อิง ศิริกุลบดี ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำ Facebook ประเทศไทยจาก Meta กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Meta ได้ร่วมทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวงดีอีเอส สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยเมื่อทางหน่วยงานแจ้งข้อมูลเข้ามาก็พร้อมดำเนินการปิดกั้น
นอกจากนี้ Meta ยังสร้างการตระหนักรู้และแคมเปญการให้ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนสามารถรู้เท่าทันกลลวงและรู้วิธีการรายงานเนื้อหาเข้ามาได้ อาทิ แคมเปญ #StayingSafeOnline ภายใต้โครงการ We Think Digital Thailand โครงการหลักในการเสริมทักษะดิจิทัลของ Meta โดยแคมเปญดังกล่าวได้เข้าถึงชาวไทยเป็นจำนวนกว่า 30 ล้านคนแล้วในปัจจุบัน ตั้งแต่มีการเปิดตัวในปี 2564
ปัจจุบัน ตำรวจไซเบอร์ได้เปิดสายด่วน 1441 เพื่อขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงแจ้งเบาะแสได้ทันที
]]>ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของ Meta อยู่ที่ 3.88 พันล้านคน/เดือน หรือคิดเป็นประชากร ครึ่งโลก ที่ใช้งาน แน่นอนว่ากลุ่ม วัยรุ่น ก็ต้องรวมอยู่ในจำนวนดังกล่าวแน่นอน ส่งผลให้ กลุ่มทนายทั่วไป 42 คน ฟ้อง Meta โดยอ้างว่า ฟีเจอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของ Facebook และ Instagram นั้น ดึงดูดและมุ่งเป้าไปที่เด็กและวัยรุ่น
ส่งผลให้ขณะนี้ Meta กำลังเผชิญกับการฟ้องร้องหลายคดีเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวในหลายเขต โดยอัยการสูงสุดจาก 33 รัฐ ได้ยื่นฟ้อง Meta ซึ่งคดีดังกล่าวถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐที่มีลำดับความสำคัญในการปกป้องเด็กและวัยรุ่นจากอันตรายทางออนไลน์
โดยกลุ่มทนายระบุว่า Meta ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ Facebook และ Instagram เพื่อให้วัยรุ่นใช้งานได้นานขึ้นและกลับมาซ้ำหลายครั้ง ผ่านการออกแบบอัลกอริทึม การแจ้งเตือนมากมาย ส่งผลให้เกิดการเลื่อนฟีดแพลตฟอร์มอย่างไม่สิ้นสุด นอกจากนี้ กลุ่มทนายยังรวมฟีเจอร์ที่มองว่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นผ่านการเปรียบเทียบทางสังคมหรือส่งเสริมความผิดปกติของร่างกาย เช่น “การถูกใจ” หรือฟิลเตอร์รูปภาพ
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มพันธมิตรอัยการสูงสุดของรัฐได้ร่วมมือกันเพื่อติดตาม Meta แต่ในปี 2020 มีรัฐจำนวน 48 รัฐได้ฟ้องร้องบริษัทในเรื่อง การต่อต้านการผูกขาด นอกจากนี้ รัฐบาลกลางยังกล่าวหาว่า Meta ละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองความเป็นส่วนตัวออนไลน์ของเด็ก หรือ COPPA โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง โดยรัฐต่าง ๆ กำลังหาทางยุติสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นอันตรายของ Meta เช่นเดียวกับบทลงโทษและการชดใช้ค่าเสียหาย
“Meta ตระหนักดีถึงผลกระทบด้านลบที่การออกแบบอาจมีต่อผู้ใช้รุ่นเยาว์” ทนายความ กล่าว
ที่ผ่านมา เคยมีการรั่วไหลของเอกสารภายในของบริษัท ที่เปิดเผยการวิจัยภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนเกี่ยวกับ ผลกระทบของ Instagram ที่มีต่อวัยรุ่น โดยพบว่า “เด็กสาววัยรุ่น 32% รู้สึกแย่เกี่ยวกับร่างกายของตนเอง โดย Instagram ยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกแย่ลง”
สื่อแฉ ‘Facebook’ ศึกษาผลด้านลบของ ‘Instagram’ ต่อวัยรุ่นกว่า 3 ปีแต่ไม่เปิดเผย
ทั้งนี้ จากการสำรวจของ Pew Research Center ระบุว่า วัยรุ่นจำนวนมากเลิกใช้งาน Facebook แต่ Instagram ยังคงได้รับความนิยมในสหรัฐฯ โดยวัยรุ่นที่ใช้ Instagram ในสหรัฐฯ มีประมาณ 22 ล้านคน/วัน
]]>Meta วางแผนที่จะให้ผู้ใช้ Facebook และ Instagram ในยุโรปมีตัวเลือกในการชําระเงินเพื่อใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแบบไม่มีโฆษณา เนื่องจากยุโรปได้ออกกฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้มงวด เบื้องต้น คาดว่าค่าบริการ เวอร์ชั่นเดสก์ท็อป จะอยู่ประมาณ 10 ยูโรต่อเดือน (ราว 390 บาท) และหากผู้ใช้มีบัญชีอื่น ๆ ที่เชื่อมกันก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มประมาณ 6 ยูโรต่อบัญชี
ส่วนถ้าเป็นการใช้ผ่านมือถือ ค่าแพ็กเกจจะแพงกว่า โดยอยู่ที่ประมาณ 13 ยูโร (ราว ๆ 500 บาทต่อเดือน) เนื่องจากต้องหักส่วนแบ่งบางส่วนให้กับทั้ง Apple App Store และ Google Play Store
อย่างไรก็ตาม Meta ยังไม่ได้กำหนดวันเปิดตัวชัดเจน แต่คาดว่าจะเปิดให้ใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับกฎความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของสหภาพยุโรป ที่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ใช้ก่อนจะแสดงโฆษณาตามความสนใจของผู้ใช้
ทั้งนี้ Meta ระบุว่า แพลตฟอร์มไม่ได้บังคับให้ผู้ใช้งานต้องจ่ายเงินแต่อย่างใด โดยผู้ใช้ยังสามารถใช้งานได้ฟรีตามปกติ แต่ก็ยังต้องเห็นโฆษณาตามเดิม
“Meta ยังเชื่อในรูปแบบการให้บริการฟรี อย่างไรก็ตาม เรายังคงสํารวจทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเราปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านกฎระเบียบที่กําลังพัฒนา”
]]>