FamilyMart – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 07 May 2024 04:58:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ร้านสะดวกซื้อ’ ในญี่ปุ่นเริ่มเปิด-ปิดเป็นเวลามากขึ้น เหตุ ‘ขาดแคลนแรงงาน’ ทำให้เปิดบริการ 24 ชม. ไม่ได้ https://positioningmag.com/1472227 Tue, 07 May 2024 02:33:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472227 การเปิดร้านตลอด 24 ชั่วโมง ถือเป็นอีกเสน่ห์ของร้านสะดวกซื้อ แต่เพราะปัญหาขาดแคลนแรงงานของญี่ปุ่น เนื่องจากประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมานาน ส่งผลให้เชนร้านสะดวกซื้อรายใหญ่หลายราย ไม่สามารถให้บริการ 24 ชั่วโมงได้อีกต่อไป

จากการสํารวจผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ 7 รายของญี่ปุ่นโดย Kyodo News ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา อาทิ 7-Eleven และ Lawson พบว่า ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ร้านสะดวกซื้อประมาณ 6,400 แห่ง จาก 55,000 แห่ง ในประเทศ หรือคิดเป็นประมาณ 12% ไม่ได้เปิดตลอด 24 ชั่วโมง

โดยผู้นําตลาดอย่าง 7-Eleven ได้ยกเลิกการให้บริการ 24 ชั่วโมงในกว่า 200 สาขา นับตั้งแต่ปี 2020 ในขณะที่ Lawson ได้ใช้มาตรการที่คล้ายกันในร้านค้าอีกประมาณ 100 สาขา โดยสาเหตุที่บริษัทไม่สามารถเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงได้ เป็นผลมาจากการ ขาดแคลนแรงงาน และความต้องการ การใช้บริการช่วงกลางดึกลดลง

ทั้งนี้ สัดส่วนของสาขาที่ไม่เปิด 24 ชั่วโมง ของเชน Top 3 ร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่น ได้แก่ 7-Eleven, Lawson และ FamilyMart จะอยู่ที่ 8-10% ของสาขาทั้งหมด แต่ผู้ให้บริการรายย่อยอื่น ๆ มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่ามาก อาทิ Seicomart เครือร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในฮอกไกโด มีอัตราร้านค้าที่ลดเวลาทําการสูงสุดที่ 87% รองลงมาคือ Poplar ซึ่งมีสํานักงานใหญ่ในฮิโรชิมาอยู่ที่ 79%

“เรากําลังดําเนินมาตรการโดยคํานึงถึงยอดขายและความยั่งยืน” เจ้าหน้าที่ของ Ministop กล่าว ซึ่งอนุญาตให้ร้านค้า 22% เปิดให้บริการในเวลาที่สั้นลง

ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้เชนร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อย่าง 7-Eleven เปิด ร้านสะดวกซื้อ ไร้พนักงาน ซึ่งก็ต้องรอดูว่าจะแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะลูกค้าไม่เพียงแต่แวะซื้อของทั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริการทางการเงิน การจัดส่งพัสดุ และสิ่งอํานวยความสะดวกอื่น ๆ ด้วย

นับตั้งแต่ 7-Eleven เปิดร้านสะดวกซื้อแห่งแรกของประเทศใน Koto Ward ของโตเกียวในเดือนพฤษภาคม 1974 ร้านค้าดังกล่าวที่มีการดําเนินงานตลอด 24 ชั่วโมง และแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเริ่มอิ่มตัว และเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับการทํางานหนักเกินไป ประกอบกับวิกฤตแรงงานที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้เริ่มเกิดคำถามถึงการให้บริการ 24 ชั่วโมงของร้านสะดวกซื้อ

Source

]]>
1472227
FamilyMart ประเทศญี่ปุ่น ลุยตลาดเสื้อผ้าเพิ่มรายได้ เน้นสไตล์เรียบง่ายใส่ได้ทุกเพศเป็นหลัก https://positioningmag.com/1433762 Mon, 12 Jun 2023 10:36:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433762 ค้าปลีกญี่ปุ่นอย่าง FamilyMart ประเทศญี่ปุ่น เตรียมรุกตลาดเสื้อผ้าเพิ่มรายได้ หลังจากในปีที่ผ่านมายอดขายนั้นเติบโตมากถึง 60% โดยชูจุดเด่นสไตล์เรียบง่ายใส่ได้ทุกเพศเป็นหลัก และคาดหวังว่าเครื่องแต่งกายของบริษัทจะมีแฟนคลับที่ชื่นชอบจากการออกแบบของบริษัทด้วย

Nikkei Asia รายงานว่า แฟมิลี่มาร์ท (FamilyMart) เจ้าของร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อีกรายในญี่ปุ่น ได้รุกตลาดเสื้อผ้ามากยิ่งขึ้น โดยในปีนี้บริษัทได้ตั้งเป้าที่จะมีรายได้จากเสื้อผ้าเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยในปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจดังกล่าวเติบโตมากถึง 60% ในปี 2022 ที่ผ่านมา

FamilyMart เริ่มต้นเข้าสู่ตลาดเสื้อผ้าด้วยการเริ่มขายถุงเท้าเป็นอันดับแรก แต่ปัจจุบันแบรนด์ดังกล่าวนี้ยังมีรองเท้าแตะ กระเป๋า และเสื้อแจ็กเก็ต ซึ่งการผลักดันดังกล่าวของแบรนด์ค้าปลีกนี้ได้พยายามที่จะแตกไลน์สินค้านอกจากของใช้ทั่วไปและอาหารไปยังสินค้าทั่วไปมากขึ้น

จุดเด่นของเสื้อผ้าของแบรนด์ FamilyMart คือเรื่องของการออกแบบที่เรียบง่าย ทำให้เสื้อผ้าของแบรนด์ค้าปลีกรายดังกล่าวสามารถสวมใส่ได้ทุกวัยและทุกเพศ นอกจากนี้ตัวแบรนด์เองยังมีเสื้อผ้าสีที่แปลกตาด้วยเชนกันอย่างสี Cinnamon เป็นต้น

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาบริษัทได้เปิดตัวกางเกงขาสั้นที่ใส่ได้ทุกเพศ (Unisex) มีราคาเริ่มต้นที่ 1,400 เยน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 350 บาท ซึ่งสินค้าดังกล่าวนั้นขายดีมากจนทำให้ FamilyMart บางสาขานั้นกางเกงขาสั้นรุ่นดังกล่าวไม่มีวางขายแล้วด้วยซ้ำ

โดยหลังจากนี้ FamilyMart ได้เตรียมชั้นสินค้าสำหรับแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองไว้โดยเฉพาะตามร้านสะดวกซื้อของบริษัท และยังคาดหวังว่าเครื่องแต่งกายของบริษัทจะมีแฟนคลับที่ชื่นชอบจากการออกแบบของบริษัทด้วย

แบรนด์ค้าปลีกรายนี้คาดว่ารายได้จากการขายเสื้อผ้านี้จะเติบโตได้มากถึง 40%

ไม่ใช่แค่แบรนด์อย่าง FamilyMart ที่เข้าสู่การขายเครื่องแต่งกายมากขึ้น ก่อนหน้านี้ทาง Lawson ได้จับมือกับ Muji ในการวางขายสินค้ารวมถึงเสื้อผ้าด้วย ขณะที่ 7-Eleven เองก็ขายเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายที่เน้นไปยังลูกค้าที่เดินทางพูดคุยธุรกิจเป็นหลัก

]]>
1433762
เร่งศึก “ร้านสะดวกซื้อ” ในญี่ปุ่น Itochu Corp จ่อซื้อหุ้น 100% ฮุบ “แฟมิลี่มาร์ท” https://positioningmag.com/1287317 Fri, 10 Jul 2020 10:03:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287317 บริษัทเทรดดิ้งชั้นนำของญี่ปุ่นอย่าง Itochu Corp ทุ่มลงทุนในธุรกิจค้าปลีก เสนอการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (tender offer) มูลค่ากว่า 580,000 ล้านเยน เพื่อซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของแฟมิลี่มาร์ท” (FamilyMart) เชนร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ที่มีสาขากว่า 16,000 แห่งทั่วประเทศ 

Itochu มีเเผนการที่จะเข้าซื้อหุ้นทั้งหมด 100% ของแฟมิลี่มาร์ท จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ 50.1% ด้วยงบประมาณ 580,000 ล้านเยน (ราว 168,000 ล้านบาท) หากทำสำเร็จตามที่คาดไว้ จะทำให้ Itochu เข้าถือหุ้นของแฟมิลี่มาร์ท สัดส่วนถึง 94.7% โดยการทำ tender offer จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 .. จนถึง 24 ..นี้

อุตสาหกรรมค้าปลีกของญี่ปุ่นมีการเเข่งขันที่ดุเดือด การเข้าถือหุ้นทั้งหมดในแฟมิลี่มาร์ท” ครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ Itochu สามารถตัดสินใจในการบริหารงานต่างๆ ของร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเพิ่มศักยภาพในการทำกำไร ด้วยการนำความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเครือข่ายจัดซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศของ Itochu มาใช้ประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น

นอกจากนี้ การเข้าครอบครองแฟมิลี่มาร์ท ยังเป็นการขยายธุรกิจของ Itochu จากธุรกิจพลังงานและการทำเหมือง สู่ธุรกิจค้าปลีกอีกด้วย

Photo : Shutterstock

เเผนต่อไปหาก Itochu เป็นเจ้าของแฟมิลี่มาร์ทเเบบ 100% เเล้ว บริษัทมีแผนจะขายหุ้นราว 5% มูลค่า 57,000 ล้านเยนให้กับธนาคาร Norinchukin หรือสหกรณ์การเกษตรของญี่ปุ่น เพื่อจะนำสินค้าเกษตรไปจำหน่ายตามสาขา 16,000 แห่งของแฟมิลี่มาร์ทในญี่ปุ่น

ปกติเเล้วแฟมิลี่มาร์ทมีลูกค้าวันละกว่า 10 ล้านคนในญี่ปุ่น แต่ผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้มีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ในไตรมาสแรกถึงเดือนพ.. แฟมิลี่มาร์ทมีกำไรสุทธิลดลงถึง 71.5% ขณะที่ยอดขายลดลง 15.9% อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณปัจจุบัน บริษัทคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 37.8% เป็น 60,000 ล้านเยน จากรายได้ 460,000 ล้านเยน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลง 11% จากปีก่อน

ที่ผ่านมา ธุรกิจค้าปลีกเเละร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น มีการเเข่งขันกันอย่างดุเดือด จากคู่เเข่งสำคัญอย่าง Seven-Eleven เเละ Lawson โดยยอดขายเฉลี่ยต่อวันของสาขา Seven-Eleven อยู่ที่ 656,000 เยน ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดเดือนมี.. 2020 และ Lawson อยู่ที่ 535,000 เยนต่อวัน ส่วนร้านแฟมิลี่มาร์ทอยู่ที่ 528,000 เยนต่อวัน

ขณะที่ในปีงบประมาณปัจจุบัน คาดว่าตัวเลขดังกล่าวของแฟมิลี่มาร์ท จะลดลงไปอีกเหลือ 521,000 เยน สะท้อนถึงจุดอ่อนด้านผลิตภัณฑ์

จุดเด่นของ Seven-Eleven ในญี่ปุ่นคือพัฒนาสินค้าของตัวเองจนได้รับความนิยม ส่วน Lawson มีชื่อเสียงด้านขนมหวาน ขณะที่แฟมิลี่มาร์ทพยายามที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ในร้านสะดวกซื้อ อย่างเช่น แอปฯ ชำระเงิน

แฟมิลี่มาร์ท มีสาขานอกญี่ปุ่น 8,032 แห่ง สำหรับประเทศไทย หลังบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ได้เข้าซื้อหุ้นแฟมิลี่มาร์ท ทั้งหมด 100% ทาง CRC ประกาศว่าจะเดินหน้าพัฒนาโมเดลใหม่ โดยล่าสุดได้ประกาศเปิดรับสมัครแฟรนไชส์เพิ่มสาขา ด้วยเงื่อนไขการันตีรายได้ขั้นต่ำ 3 หมื่นบาทต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขสัญญาแฟรนไชส์อายุ 6 ปี

 

ที่มา : Nikkei Asian Review , Reuters

 

]]>
1287317
“แฟมิลี่มาร์ท” ได้เวลาจัดหนัก ปรับโฉมสาขายึดโมเดลเจแปนมินิมอล จัดเต็ม “วันสต็อปช้อปปิ้ง” สู้ศึกร้านสะดวกซื้อ https://positioningmag.com/1142215 Tue, 03 Oct 2017 18:28:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1142215 ยิ่งนับวันดีกรีการแข่งของร้านสะดวกซื้อ” ก็ยิ่งดุเดือด นอกจากการขยายสาขาให้เข้าถึงผู้บริโภค ก็ต้องเพิ่มบริการใหม่ๆ และใช้โปรโมชั่นตลอดทั้งปี เพื่อกระตุ้นการจับจ่าย โดยตลาดนี้ยังคงครองตลาดโดยเซเว่นฯที่มีสาขาเกือบหมื่นแห่งเข้าไปแล้ว

แต่ในระยะหลังมานี้การแข่งขันเริ่มหันมาเน้นนวัตกรรม สินค้าและบริการใหม่ๆ ที่สามารถเรียกเสียงว้าว” จากผู้บริโภคได้ ยิ่งได้รับการแชร์บนโลกออนไลน์ด้วยแล้ว โอกาสกวักมือเรียกลูกค้าเข้าร้านก็ทำได้ไม่ยาก 

ด้วยเหตุนี้เบอร์รองในตลาดอย่าง แฟมิลี่มาร์ท ร้านสะดวกซื้อในเครือเซ็นทรัล จึงประเมินแล้วว่า สาขาที่มีปัจจุบัน 1,136 สาขาเท่านั้น การขยายสาขายังน้อยเฉลี่ยปีละ 50 สาขา คงเป็นเรื่องยากที่จะไปต่อกรกับคู่แข่งที่มีโมเดลแฟรนไชส์ทำให้ขยายสาขาได้รวดเร็ว

งานนี้ แฟมิลี่มาร์ท จึงหันมาสู้เรื่อง รูปแบบร้านค้าด้วยการปรับโฉมร้านค้าใหม่ให้เป็นสไตล์ญี่ปุ่นมีกลิ่นอายมินิมอลชนิดที่จัดหนักและจัดเต็ม โดยหวังให้เป็น One Stop Shopping ปัจจุบันมี 2 สาขา ได้แก่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สีลม และสุขุมวิท 33 เป็นสาขาล่าสุด

สาขาภายใต้โมเดลใหม่จะใช้ คอนเซ็ปต์ Fresh Fun and Friendly นั่นคือรวมสินค้าบริการหลายอย่างไว้ด้วยกันรวม 3,000 รายการ ตั้งแต่อาหารสด กาแฟ เบเกอรี่ เครื่องดื่ม ของที่ระลึก หนังสือ และมุมรับประทานอาหาร เน้นเมนูปรุงสดพร้อมทาน โดยมีร้านพันธมิตร ครัวมลิวัลย์ และสีฟ้า มาช่วยบิวท์แบรนด์ เรียกว่ามาแบบจัดเต็ม โดยสาขาใหม่นี้ใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 150 ตารางเมตร ยึดทำเลในเมือง มุ่งจับกลุ่มคนทำงาน และนักท่องเที่ยว

จิรนันท์ ผู้พัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด เล่าว่า ตลาดร้านสะดวกซื้อในตอนนี้ทุกคนแข่งกันที่นำเสนอสิ่งใหม่ให้ลูกค้า เท่ากับว่าไม่ได้แข่งแค่จำนวนสาขาอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นเรื่องการสร้างประสบการณ์ที่ดีมากกว่า แฟมิลี่มาร์ทต้องการสร้างความแตกต่างในตลาด ให้เป็นมากกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไป แต่ต้องเป็น One Stop Shopping ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ครบ ต้องการเติมเต็มให้ลูกค้าทุกช่วงเวลา

ถึงแม้จะมีแฟมิลี่มาร์ท ญี่ปุ่นถือหุ้น โมเดลนี้เป็นการคิดค้นและพัฒนาเองโดยทีมเซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท ไม่ได้นำมาจากประเทศญี่ปุ่น ใช้เวลาในการพัฒนาไม่เกิน 1 ปีก็ทำออกมาเป็นรูปเป็นร่างโดยศึกษาจากความต้องการของผู้บริโภคว่าต้องการอะไร มีไลฟ์สไตล์อะไร ดูเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกแต่มีเวลาน้อย

สำหรับสาขาใหม่ที่สุขุมวิท 33 ได้เพิ่มโซน Open Space เป็น Co-working Space บนพื้นที่ 200 ตารางเมตร พร้อมบริการไวไฟใช้เป็นจุดทำงานแฮงเอาต์ได้เพื่อรองรับกลุ่มคนทำงานและนักท่องเที่ยว

อีกหนึ่งบริการที่แฟมิลี่มาร์ทให้ความสำคัญมากขึ้นคือบริการชำระเงิน เติมเงิน และบันเทิงออนไลน์ต่างๆ สามารถจ่ายบิล รวมถึงเติมแพ็กเกจความบันเทิงได้ และมีบริการส่งพัสดุด้วย Kerry Express และบริการเดลิเวอรี่โดย โก มาร์ท จากโกไบค์ เพื่อรับพฤติกรรมช้อปออนไลน์

สำหรับสาขาต่อไปที่จะเปิดให้บริการในรูปแบบใหม่นั้นยังไม่มีการเปิดเผยแต่ยังคงเน้นทำเลในเมืองที่มีกลุ่มคนทำงานนักท่องเที่ยวอาศัยอยู่จำนวนมากเป็นโลเคชั่นหลัก

]]>
1142215