Ford – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 21 Nov 2024 11:03:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ระส่ำอีกราย! ‘Ford’ เตรียมลดพนักงาน 4,000 คน หลังตลาดยุโรปแข่งดุ ยอด ‘รถอีวี’ เข็นไม่ไป https://positioningmag.com/1500067 Thu, 21 Nov 2024 03:54:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1500067 ไม่ใช่แค่แบรนด์ญี่ปุ่นที่ได้ผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรงจากการมาของ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี จากจีน แต่ฝั่ง ตะวันตก เองก็กระทบไม่ว่าจะเป็น Volkswagen จนล่าสุด Ford ที่เตรียมลดพนักงานถึง 4,000 คน

ฟอร์ด (Ford Motor Co) เปิดเผยว่า จะลดจำนวนพนักงานลง 4,000 คน ภายในสิ้นปี 2027 โดยจำนวนพนักงานทั้งหมดที่ถูกปลดจะมาจากฝั่งยุโรปทั้งหมด ได้แก่ เยอรมนี 2,900 ตําแหน่ง, สหราชอาณาจักร 800 ตําแหน่ง และประเทศอื่น ๆ ใน ยุโรป 300 ตําแหน่ง โดยปัจจุบันฟอร์ดมีพนักงานในยุโรป 28,000 คน และ 174,000 คนทั่วโลก

นอกจากนี้ ฟอร์ดยังต้องออกมาตรการเพื่อลดต้นทุนอื่น ๆ ได้แก่ ลดการผลิตรถรุ่นเอ็กซ์พลอเรอร์ (Ford Explorer) และลดกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นคาปริ อีวี (Capri EV) ซึ่งทั้ง 2 รุ่นนี้มีฐานการผลิตในเยอรมนี ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมานั้น ฟอร์ดอ้างว่าเป็นผลจากแรงกดดันจากเศรษฐกิจ และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากรถไฟฟ้าจากจีน รวมถึงยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าที่แย่กว่าที่คาดการณ์ไว้

“อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกยังคงอยู่ในช่วงของการหยุดชะงักที่สําคัญ เนื่องจากเปลี่ยนจากรถยนต์สันดาปไปสู่ไฟฟ้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในยุโรปนั้นรุนแรงเป็นพิเศษ นอกจากเจอการแข่งขันที่รุนแรง ยังต้องสู้กับเศรษฐกิจที่ตกต่ำ” บริษัทกล่าวในแถลงการณ์ 

ทั้งนี้ ยอดขายของฟอร์ดในตลาดยุโรปช่วง 9 เดือนแรกลดลง -15.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับภาพรวมตลาดที่ลดลง -6.1% ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของฟอร์ดลดลงเหลือ 3% จากปีที่ผ่านมามี 3.5% 

เมื่อเจาะลงไปในตลาดรถยนต์เยอรมนีในช่วง 9 เดือนแรกพบว่า ยอดขายรถอีวีลดลงถึง -28.6% ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ มาจากการที่รัฐบาลยกเลิกนโยบายอุดหนุนผู้บริโภค รวมถึงการขยายสถานีชาร์จที่ล่าช้ากว่าที่คาด

Source

]]>
1500067
Ford ลดกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นดัง ‘F-150 Lightning’ หลังยอดขายลด กระทบพนักงานมากกว่า 1,000 คนทันที https://positioningmag.com/1459601 Fri, 19 Jan 2024 14:33:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459601 แม้แต่ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกาอย่าง ฟอร์ด (Ford) ก็ต้องประกาศลดกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นดัง ‘F-150 Lightning’ โดยให้เหตุผลถึงการชะลอตัวของยอดขาย ซึ่งสร้างผลกระทบแก่พนักงานมากกว่า 1,000 คนทันที

Ford ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา ประกาศลดกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นดัง F-150 Lightning โดยให้เหตุผลถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าลดลงและยังรวมถึงราคาของรถยนต์รุ่นดังกล่าวที่มีราคาค่อนข้างสูง

ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกาเตรียมลดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นดังกล่าวในโรงงานที่ Rouge Electric Vehicle Center ในรัฐมิชิแกน โดยเหลือเพียงแค่ 1 กะ นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน และตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริษัทจะลดกะในการผลิตเหลือแค่ 1 ใน 3

ก่อนหน้านี้เว็บไซต์ Motor Trend รายงานข่าวในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า Ford เตรียมลดกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นดังกล่าว โดยเว็บไซต์รายนี้ยังได้รายงานว่าสาเหตุสำคัญคือเรื่องของราคา เนื่องจากราคาเริ่มต้นนั้นมากกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 1,420,000 บาท

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้พนักงานราวๆ 1,400 คนในการทำงานทันที ซึ่ง Ford มีเงื่อนไขทั้งการย้ายไปทำโรงงานอื่นของบริษัทหรือแม้แต่จะลาออกโดยรับเงินชดเชยพิเศษก็ได้

ไม่ใช่แค่ Ford เท่านั้นที่ส่งสัญญาณถึงการชะลอตัวของความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า ก่อนหน้านี้ GM ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 1 ได้ประกาศชะลอแผนที่จะเปิดโรงงานมูลค่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐในรัฐมิชิแกน

ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายแห่งได้ส่งสัญญาณถึงความต้องการที่ชะลอตัวลง ไม่ว่าจะเป็น Tesla ที่ต้องปรับลดราคาของรถยนต์ไฟฟ้าลงมาอีกรอบเพื่อที่จะจูงใจลูกค้า หรือแม้แต่ผู้ผลิตลิเทียมรายหนึ่งก็ต้องปลดพนักงานออกเนื่องจากความต้องการสินแร่จากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าลดลง

Ford ยังคาดหวังว่าในปี 2024 ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะน้อยกว่าที่บริษัทคาดการณ์ไว้ก็ตาม

ที่มา – Reuters, The Verge

]]>
1459601
‘ฟอร์ด’ แตะเบรกความ “ดุดัน ไม่เกรงใจใคร” ดึง ‘มนต์แคน แก่นคูน’ ทำมิวสิค มาร์เก็ตติ้ง มัดใจชาวอีสาน https://positioningmag.com/1434380 Fri, 16 Jun 2023 12:41:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434380 ปฏิเสธไม่ได้ว่าปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าไม่ว่าใครจะทำอะไร ๆ ก็ “ดุดัน ไม่เกรงใจใคร” ไปหมด ซึ่งเจ้าของวลีฮิตติดหูไปทั่วบ้านทั่วเมืองนี้ก็มาจากภาพยนตร์โฆษณาชิ้นดังอย่าง Ford Ranger Raptor ซึ่งได้เสียงพากย์ของ กฤต สุขวัฒน์ หรือ Krit Tone ที่ฮิตจนกลายเป็นไวรัลดังไปทั่วโซเชียลฯ และแน่นอนแบรนด์อย่าง ฟอร์ด ประเทศไทย ก็ได้อแวร์เนสไปเต็ม ๆ แบบที่ค่ายรถอื่น ๆ ก็ทำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ฟอร์ดขอ แตะเบรกความ ดุดัน ไม่เกรงใจใคร ขอใช้ Music Marketing มัดใจแทน

ยอดขายโต ไม่เกรงใจใคร!

ปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีทองของ ฟอร์ด ประเทศไทย อย่างแท้จริง เพราะภาพยนตร์โฆษณาชิ้นดังที่ได้ กฤต สุขวัฒน์ มาลงเสียง จนทำให้วลีFord Ranger Raptor ดุดัน ไม่เกรงใจใคร” กลายเป็น Organic Viral เห็นเต็มโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะใน TikTok ที่เกิดเป็น ชาเลนจ์ ให้ผู้ชมได้ดูเอ็ทกันในแคมเปญ #TVAAVOICEOVERWORKSHOP ยังไม่รวมถึงมีมต่าง ๆ หรือการที่คนดัง ๆ นำวลีดังกล่าวไปล้อเลียนกัน

ความดุดันไม่เกรงใจใครไม่ได้เพียงแค่ทำให้ชื่อของกฤต สุขวัฒน์ ดังเป็นพลุแตก แต่ในฝั่งของฟอร์ด ประเทศไทย ก็ได้ Brand Awareness ไปอย่างถล่มทลาย แถมยังสร้าง Brand Identity ความดุดันให้กับ Ford Ranger Raptor โดยที่ไม่ต้องโชว์ภาพรถ

ไม่ใช่แค่การรับรู้ถึงแบรนด์เท่านั้น แต่ยอดขายในปี 2022 ของฟอร์ดก็ดุดันไม่แพ้กัน โดยสามารถกวาดยอดขายไปได้สูงถึง 43,628 คัน เติบโตขึ้น +35% สูงกว่าตลาดรวมซึ่งเติบโตอยู่ที่ 11.9% และเป็น ครั้งแรกในรอบ 26 ปี  ที่ ยอดขายรวมต่อเดือนขึ้นมาเป็นอันดับ 4 ของประเทศ นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม และภายใน 5 เดือนแรกของปี 2023 ฟอร์ดมียอดขายรวม 16,911 คัน เติบโต +39% แบ่งเป็น

  • ฟอร์ด เรเจอร์ 11,749 คัน +14% มีส่วนแบ่งตลาด 9% อยู่อันดับ 3 ของตลาด
  • ฟอร์ด เอเวอเรสต์ 5,153 คัน +178% สูงสุดในตลาด PPV มีส่วนแบ่งตลาด 18%

แตะเบรกความดุดันใช้ Music Marketing แทน

สำหรับ ตลาดรถกระบะในไทยถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด โดยในปีที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 849,388 คัน โดย 46% เป็นรถกระบะ และ 17% ของตลาดรถกระบะเป็นแบบ กระบะตอนเดียว และที่น่าสนใจคือ กว่า 40% ของยอดขายรถกระบะมาจากภาคอีสาน 

ตัดภาพมาที่ยอดขายรถกระบะของฟอร์ด โดยนับเฉพาะในภาคอีสานมีสัดส่วนประมาณ 17% เท่านั้น ดังนั้น หลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในกระบะพรีเมียม ฟอร์ดจึงมองว่าถึงเวลา จับตลาดกลุ่มลูกค้าท้องถิ่น และการจะเชื่อมโยงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุดก็คือ เพลง 

โดยโจทย์ของการทำ Music Markrting ของฟอร์ดคือ ถ่ายทอดคาแรกเตอร์ผู้ใช้ฟอร์ด เจาะไปที่ไลฟ์สไตล์ และชูความ แกร่ง แต่ต้องไม่ใช่เพื่อตัวเอง ต้องเป็น เพื่อครอบครัว เนื่องจากการใช้งานรถกระบะส่วนใหญ่จะแบ่งได้หลัก ๆ 2 ด้าน ได้แก่ เชิงธุรกิจ (เน้นคุ้มค่า) และ ครอบครัว (สามารถใช้ขนคนและของได้) นอกจากนี้ คนอีสานเองจะชอบเพลงที่ เข้าใจถึงภาวะอารมณ์ 

ศรุต อิงคะวัต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ฟอร์ด ประเทศไทย

ดังนั้น ฟอร์ดจึงร่วมกับ GMM Grammy Gold และได้เลือก มนต์แคน แก่นคูน มาเป็นผู้ถ่ายทอด นอกจากนี้ ยังได้ ครูสลา คุณวุฒิ มาแต่งเพลง พร้อมสู้ไหวกับอ้ายบ่ โดยสาเหตุที่เลือกมนต์แคนเพราะฟอร์ดมองว่าเป็นศิลปินที่ได้รับความนิยมอย่างมากในภาคอีสาน มีเพลงระดับ 100 ล้านวิวใน YouTube ถึง 13 เพลง นอกจากนี้ คาแรกเตอร์ก็ตรงกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร และยังเป็นผู้ใช้งานจริงของฟอร์ดด้วย

“ตลาดอีสานเราไม่ได้แข็งแรงมาก แต่สิ่งจะทำให้เข้าถึงได้ สามารถ remind ให้แบรนด์อยู่ในใจคือ การสร้างอแวร์เนส ซึ่งจากการศึกษาเราพบว่ากลุ่มเป้าหมายเราเขามีอินเนอร์สูง เราก็มาดูว่าสื่ออะไรที่ทำให้เข้าถึงได้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Music Marketing เราเลยเลือกที่จะไม่ต่อยอดความสำเร็จของไวรัลดุดัน ไม่เกรงใจใคร แต่เลือกที่จะทำใหม่หมดเลย” ศรุต อิงคะวัต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ฟอร์ด ประเทศไทย อธิบาย

เพลงมีชื่อแบรนด์ได้ แต่ต้องขายแบบพอดี

ศรุต เล่าว่า เพลงถือเป็นสิ่งที่กังวลมากที่สุด เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าเพลงที่ปล่อยไปจะ กินใจ แค่ไหน เนื่องจาก เพลงไม่ใช่คอนเทนต์ที่บูสต์ได้ ต้องปล่อยให้เติบโตแบบออร์แกนิกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังต้องคิดอีกว่าควรใส่ชื่อแบรนด์ไหม ดังนั้น เราจึง ไม่ต้องการเพลงช้าในลักษณะสู้ชีวิต เนื่องจากถ้าเพลงเศร้ามากมันจะซ้ำกับตลาด และ การจดจำจะหายเร็ว ส่วนของ ชื่อแบรนด์ ก็ใส่คำว่า เรนเจอร์เพียง 2 ครั้งในเพลง เท่านั้น แต่ไปเน้นใน MV ที่กว่า 80% จะเห็นรถของฟอร์ด

“เราเคยลองทั้งแบบใส่ชื่อและไม่ใส่ชื่อแบรนด์ แต่เราคิดว่าจุดประสงค์คือให้เขาจดจำเรา ดังนั้น จึงต้องมีชื่อแบรนด์ แต่เราก็ตัดให้เหลือแค่คำว่าเรนเจอร์พอ และใส่เพียง 2 ครั้ง ผลลัพธ์ออกมาคือ ผู้ฟังรู้ว่าเป็นเพลงโฆษณา แต่ก็ชื่นชอบด้วย เพราะมองว่าให้กำลังใจดี”

หลังจากที่เปิดตัวเพลงไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน มียอดวิวบน YouTube กว่า 3.87 ล้านวิว และมียอดการมีส่วนร่วมกว่า 16.7 ล้านครั้งบน TikTok ซึ่งหลังจากนี้ ฟอร์ดจะปล่อย ท่าเต้น เพื่อให้มีการนำไปทำเป็นชาเลนจ์ลง TikTok เพื่อให้เกิดเป็นไวรัล

จัดกิจกรรมออนกราวด์ พร้อมออก 2 รุ่นราคาประหยัด

นอกจากเพลงแล้ว ศรุต ย้ำว่า ลูกค้าต้อง จับต้องได้ ดังนั้น ฟอร์ดเลยต้องจัดกิจกรรมออนกราวด์ โดยเตรียมจัดคาราวานรถฟอร์ด เรนเจอร์ 30 คัน บุก 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างการรับรู้เพิ่มเติม มีการ จัดคอนเสิร์ต และเปิดให้ได้ลอง เทสไดรฟ์ ซึ่งส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะต้องยอมรับว่ารถของฟอร์ดนั้นบางรุ่น ราคาสูง ดังนั้น การเทสไดรฟ์จะเป็นส่วนสำคัญให้กลุ่มเป้าหมายได้มาสัมผัสกับสมรรถนะของรถ

“ต้องยอมรับตรง ๆ ว่ารถของเราราคาค่อนข้างสูง คนที่ซื้อจึงค่อนข้างคิดเยอะกว่าจะตัดสินใจ ดังนั้น ถ้าไม่ชอบจริง ๆ เขาอาจไม่เลือกเรา เราเลยต้องลงทุนเพื่อให้เขาได้มาลอง”

นอกจากนี้ ฟอร์ดยังได้เปิดตัว 2 รุ่นย่อยใหม่ล่าสุด ที่จะจับกลุ่มแมส ได้แก่ 

  • Ford Ranger Open Cab XLS : เริ่มต้น 794,000 บาท
  • Ford Ranger Double Cab XLS : เริ่มต้น 879,000 บาท

ศรุต อธิบายว่า สาเหตุที่ฟอร์ดตัดสินใจเปิดตัว ซับเซ็กเมนต์ ในราคาที่ถูกลงเนื่องจากตลาดรถกระบะแข่งขันสูง ดังนั้น การจะแย่งมาร์เก็ตแชร์เป็นอะไรที่ยากมาก ยิ่งถ้าจะเจาะซับเซ็กเมนต์ที่เจ้าอื่นครองตลาดอยู่ยิ่งใช้พลังเยอะ ดังนั้น จุดเด่นของรุ่น XLS คือ ยกสูง เกียร์ออโต้ ราคาคุ้ม เพราะฟอร์ดเห็นช่องว่างว่ามีความต้องการของคนที่ขับกระบะเตี้ย อยากเปลี่ยนมาเป็นกระบะยกสูงแต่งบไม่ถึง

“ในกรุงเทพฯ ยอดขายเราแข็งแรงมาก เราพยายามรักษาระดับความแข็งแรงนั้นไว้และไปหาโอกาสจากต่างจังหวัด ซึ่งรถ 2 รุ่นย่อยที่เราออกมาจะเจาะตลาดที่แมสมากขึ้น เราไม่อยากให้คนจำแต่ Ford Ranger Raptor คันละ 1.9 ล้านบาท” ศรุต ย้ำ

ย้ำไม่มีเพลงใหม่ แต่จะฉีกไปทำแคมเปญใหม่

เนื่องจากคนอีสานกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย ทำให้แคมเปญ Music Marketing นี้ ศรุตเชื่อว่า จะสามารถ กระจายได้ทุกภาค โดยเฉพาะในภาคเหนือที่วัฒนธรรมใกล้กัน และภาคตะวันออกที่มีนิคมอุตสาหกรรม ดังนั้น ฟอร์ดคง ไม่มีเพลงใหม่ และหากแคมเปญนี้ประสบความสำเร็จ ฟอร์ดก็อยากจะฉีกไปทำแคมเปญใหม่ ๆ มากกว่า

“อุตสาหกรรมนี้การแข่งขันมันสูงมาก อย่างแคมเปญนี้เราใช้เวลาคิด ทำเพลง ถ่าย MV แค่เดือนเดียว ทุกอย่างต้องเร็ว และต้องแตกต่าง”

ศรุต ทิ้งท้ายว่า สำหรับแคมเปญนี้ ฟอร์ดไม่ได้วางเป้าหมายด้านยอดขาย แต่ต้องการ Brand Awareness ในกลุ่มเป้าหมายคนอีสาน เพราะคนปัจจุบันจะซื้ออะไรเขาจะต้อง ค้นหาข้อมูล ดังนั้น เป้าหมายของฟอร์ดคือให้มีการค้นหาแบรนด์ ซึ่งนับตั้งเเต่ออกแคมเปญมา 2 สัปดาห์ ยอดค้นหาของฟอร์ดเพิ่มจาก 22% เป็น 29% เมื่อเทียบกับแบรนด์รถกระบะทั้งหมด

]]>
1434380
ลีนองค์กร! “ฟอร์ด” จะทยอย “เลย์ออฟ” พนักงานในยุโรป 3,800 คน ปรับทิศสู่การผลิตรถอีวี https://positioningmag.com/1419247 Tue, 14 Feb 2023 11:14:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419247 “ฟอร์ด” จะทยอย “เลย์ออฟ” พนักงาน 3,800 ตำแหน่งในยุโรปภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อลีนองค์กรและปรับทิศบริษัทไปสู่การผลิตรถอีวี โดยส่วนใหญ่จะกระทบกับตำแหน่งวิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์และพนักงานออฟฟิศทั่วไป ตำแหน่งงานที่จะถูกปลดมากที่สุดอยู่ใน “เยอรมนี” และ “สหราชอาณาจักร”

“ฟอร์ด” (Ford) ประกาศเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2023 ว่า บริษัทมีแผนจะเลย์ออฟพนักงาน 3,800 ตำแหน่งในยุโรปภายในช่วง 3 ปีข้างหน้า เพื่อที่จะจัดโครงสร้างองค์กรให้ “ลีน” มากขึ้น พร้อมรับกับทิศทางเข้าสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

3,800 ตำแหน่งที่จะถูกปลดจะกระทบกับกลุ่มวิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์และพนักงานออฟฟิศทั่วไป ส่วนใหญ่ 2,300 ตำแหน่งอยู่ในเยอรมนี และ 1,300 ตำแหน่งอยู่ในสหราชอาณาจักร อีก 200 ตำแหน่งที่เหลือกระจายกันไปในทวีปยุโรป

โดยรวมแล้วจะทำให้ฟอร์ดมีตำแหน่งด้านวิศวกรรมเหลือเพียง 3,400 คนในยุโรป ยังคงทำหน้าที่ดีไซน์และพัฒนาแบบรถยนต์ รวมถึงการบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง

แผนการปลดคนครั้งนี้จะไม่กระทบกลยุทธ์การเปลี่ยนมาจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดแทนที่รถน้ำมันภายในปี 2035 โดยบริษัทจะเริ่มการผลิตรถอีวีในยุโรปภายในช่วงปลายปีนี้

Ford Mustang Mach-E รถเอสยูวีไฟฟ้า

“นี่เป็นการตัดสินใจที่ยาก ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เรารู้ว่านี่จะทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นภายในทีมงานของเรา และเราขอให้มั่นใจว่าเราจะสนับสนุนทีมงานทุกคนอย่างเต็มที่ในอีกหลายเดือนข้างหน้า” มาร์ติน แซนเดอร์ ผู้จัดการทั่วไปของ Ford Model e ในยุโรป

“การกรุยทางไปสู่อนาคตที่ทำกำไรได้อย่างยั่งยืนของฟอร์ดยุโรป จำเป็นต้องมีความเปลี่ยนแปลงและการปฏิบัติจริงในทุกแง่ตั้งแต่การพัฒนา ผลิต และขายรถยนต์ของฟอร์ด การปรับเปลี่ยนนี้จะกระทบโครงสร้างองค์กร ระบบทาเลนต์ และทักษะที่บริษัทจะต้องการในอนาคต” แซนเดอร์กล่าว

กระแสการเลย์ออฟของบริษัทรถยนต์ดั้งเดิมไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะบริษัทเหล่านี้ต่างต้องปรับเป้าหมายมาที่รถอีวี ฟอร์ดสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ เองเคยประกาศปลดพนักงานในแผนกรถสันดาปมาแล้ว 8,000 ตำแหน่งเมื่อปีก่อน ย้อนกลับไปไกลกว่านั้น เดมเลอร์ บริษัทแม่ของ Mercedes-Benz ก็เคยมีแผนลดพนักงาน 10,000 คนในช่วงปี 2019-2022 ค่ายรถยนต์ Audi ก็ประกาศทยอยลดคน 9,500 คนในช่วงปี 2019-2025

Source

]]>
1419247
ซีอีโอ ‘ฟอร์ด’ คาดอีก 5 ปีเกิด ‘สงครามราคารถอีวี’ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ถูกลง https://positioningmag.com/1387728 Sun, 05 Jun 2022 04:46:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387728 ผู้บริหารระดับสูงของ ‘ฟอร์ด’ (Ford) ชี้ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกำลังเผชิญกับสงครามราคาครั้งใหญ่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องจากต้นทุนรถยนต์ไฟฟ้าลดลง และบริษัทหลายแห่งจะเริ่มขายรถอีวีในราคาประมาณ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 825,000 บาท

Jim Farley ซีอีโอ ฟอร์ด กล่าวว่า ต้นทุนของรถยนต์อีวีเริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยต่อไปจะอยู่ที่ราว 18,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คัน หรือราว 600,000 บาท ส่วนราคาขายจะอยู่ที่ราว 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 825,000 บาท ดังนั้น เชื่อว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมของเรากำลังเผชิญกับสงครามราคาครั้งใหญ่อย่างแน่นอน

Farley ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการสร้างผลิตรถยนต์อีวีมากกว่าเครื่องยนต์สันดาป อย่าง ฟอร์ด มัสแตง มัค-อี เอสยูวีไฟฟ้า ของบริษัท ซึ่งมีราคาเริ่มต้นที่ 44,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแพงกว่าฟอร์ด เอสยูวีที่ใช้น้ำมันที่มีราคาเริ่มต้นราว 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยแค่ค่าใช้จ่ายแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวคือ 18,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเครื่องชาร์จเพิ่มอีก 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ

แต่การลดต้นทุนครั้งใหญ่มาพร้อมกับเคมีภัณฑ์แบตเตอรี่แบบใหม่ที่ใช้โลหะมีค่าที่มีราคาแพงและหายากน้อยลง เช่น นิกเกิลและโคบอลต์ นอกจากนี้ รถอีวียังใช้เวลาและแรงงานน้อยลงในการผลิต ทำให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น นอกจากนี้ ฟอร์ดยังวางแผนที่จะลดต้นทุนการจัดจำหน่าย ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คัน ส่วนใหญ่เป็นการตัดค่าใช้จ่ายในการรักษาสินค้าจำนวนมากในล็อตของตัวแทนจำหน่าย และลดต้นทุนการโฆษณา

อย่างไรก็ตาม Farley คาดว่า สงครามราคากำลังเกิดขึ้นในประเทศจีน ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่าครึ่งในโลกถูกจำหน่ายในปัจจุบัน ขณะที่รถตู้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือรถตู้ที่ผลิตโดย Wuling ผู้ผลิตชาวจีนซึ่งมีราคาประมาณ 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 260,000 บาทเท่านั้น

Source

]]>
1387728
บริษัท ‘ยานยนต์’ ทั่วโลกแห่ ‘คว่ำบาตรรัสเซีย’ สั่งเบรกส่งออก-หยุดสายการผลิต https://positioningmag.com/1376249 Thu, 03 Mar 2022 08:20:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376249 ดูเหมือนมาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศจะเริ่มรุนแรงมากขึ้น เริ่มจากที่ชาติตะวันตกได้ปิดธนาคารรัสเซียบางแห่งจากเครือข่ายการเงินทั่วโลกของ SWIFT ทำให้บริษัทระดับโลกหลายสิบแห่งหยุดการส่งออกและหยุดการดำเนินงานในประเทศชั่วคราว ทุบค่าเงินรูเบิล และบังคับให้ธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย ล่าสุด บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกก็เริ่มระงับการผลิตและส่งออกไปยังรัสเซียแล้ว

ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่น เริ่มจาก โตโยต้า (Toyota) ได้ระงับสายการผลิตในรัสเซีย ส่วนหนึ่งมาจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกภายหลังการรุกรานยูเครน ทำให้กระทบต่อการขนส่งและตัดซัพพลายเชน โดยโตโยต้าระบุเพิ่มเติมว่า บริษัทยังได้ระงับการส่งออกรถยนต์ไปยังรัสเซียอย่าง ไม่มีกำหนด เช่นเดียวกันกับ ฮอนด้า (Honda) และ มาสด้า (Mazda)

โตโยต้า ถือเป็นแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นในรัสเซีย โดยสามารถผลิตรถยนต์ได้ประมาณ 80,000 คันที่โรงงานในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยมีพนักงานรวมกว่า 2,000 คน

ในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์จากฝั่งยุโรป ก็มี Volvo ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตยานยนต์แรกที่ออกมาประกาศระงับการส่งออกไปยังรัสเซีย ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และตามมาด้วย General Motors (GM), Mercedes-Benz, Ford และ BMW ก็หยุดการผลิตและส่งออกรถยนต์ไปยังรัสเซีย

สำหรับ Mercedes-Benz ไม่ใช่แค่ระงับการผลิตและส่งออก แต่ยังเตรียมขายหุ้น 15% ของบริษัท Kamaz ผู้ผลิตรถบรรทุกสัญชาติรัสเซียให้เร็วที่สุดอีกด้วย

แทบทุกอุตสาหกรรมร่วมคว่ำบาตร

เรียกได้ว่าตอนนี้แทบทุกอุตสาหกรรมกำลังคว่ำบาตรรัสเซีย อย่างฝั่งของโลจิสติกส์ก็มี MSC สายการเดินเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ Maersk ระงับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปและกลับจากประเทศรัสเซีย โดย Maersk ระบุว่า “การขนส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปยังรัสเซียมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายหรือเน่าเสียเนื่องจากความล่าช้าที่สำคัญที่ท่าเรือและศุลกากร”

ส่วน Amazon.com ก็ได้เปิดเผยว่าบริษัทกำลังใช้ความสามารถด้านโลจิสติกส์เพื่อจัดหาสิ่งของให้กับผู้ที่ต้องการและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลและบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนยูเครน นอกจากนี้ Japan Airline และ ANA Holdings ซึ่งปกติใช้น่านฟ้ารัสเซียสำหรับเที่ยวบินยุโรปก็ได้ออกมายกเลิกเที่ยวบินทั้งหมดไปและกลับจากยุโรป

ในส่วนของธุรกิจพลังงาน ก็มีบริษัทพลังงานสหรัฐฯ Exxon Mobil บริษัทพลังงานของอังกฤษ BP และ Shell ต่างก็ถอนการลงทุนในรัสเซีย

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่าง ๆ อาทิ Spotify ก็ได้ปิดสำนักงานในรัสเซียอย่างไม่มีกำหนด ส่วน Netflix ได้เบรกออริจินอลคอนเทนต์ 4 เรื่องที่ถ่ายทำในรัสเซีย ส่วนบริษัทด้านความบันเทิงยักษ์ใหญ่อย่าง Disney และ Warner Bros. ได้ประกาศระงับการฉายภาพยนตร์ทุกเรื่องในรัสเซีย

บริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ อาทิ H&M บริษัทสินค้าแฟชั่นสัญชาติสวีเดน ได้หยุดการขายในรัสเซียชั่วคราว ส่วน Apple ก็หยุดการขาย iPhone และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในรัสเซียด้วย

Reuter / Japantoday / variety

]]>
1376249
‘ฟอร์ด’ ทุ่ม 2.8 หมื่นล้าน อัพเกรดโรงงานในไทย พร้อมจ้างงานใหม่ 1,250 ตำแหน่ง https://positioningmag.com/1366100 Thu, 09 Dec 2021 04:02:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366100 บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ จำกัด ลงทุน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 2.8 หมื่นล้านบาท เพื่อยกระดับโรงงานในประเทศไทยเพื่อรองรับการผลิตรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ และรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ ฟอร์ด เอเวอเรสต์ เจเนอเรชันใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

โดยแผนดังกล่าว ฟอร์ดจะเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์อีกเกือบสองเท่าของจำนวนหุ่นยนต์ที่มีในโรงงานผลิต และที่ AutoAlliance Thailand ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถกระบะที่ร่วมทุนกับ Mazda Motor Corp นอกจากนี้ ฟอร์ดยังจะเพิ่มกะงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานใหม่มากถึง 1,250 ตำแหน่ง รวมแล้วฟอร์ดมีจำนวนพนักงานในประเทศไทยมากกว่า 9,000 คน

ทั้งนี้ การอัพเกรดโรงงานจะช่วยให้บริษัทสามารถปรับแต่งการผลิตรถยนต์ได้ดีขึ้น เช่น ห้องโดยสารเปิดและปิ๊กอัพสี่ประตูเพื่อให้ตรงกับความต้องการ และเงินลงทุนดังกล่าวทำให้ฟอร์ดเป็นหนึ่งในบริษัทยานยนต์ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนสะสมรวมกว่า 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1 แสนล้านบาท ตลอดระยะเวลา 25 ปีของการดำเนินธุรกิจ

“ในประเทศไทย ฟอร์ดสามารถผลิตรถยนต์ได้ประมาณ 270,000 คันต่อปี โดยตลาดส่งออกในเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% โดยในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศที่นิยมรถกระบะ” นางสาวยุคนธร วิเศษโกสิน ประธาน ฟอร์ด อาเซียน และตลาดเกิดใหม่ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว

อย่างไรก็ตาม การลงทุนครั้งนี้สวนทางกับในบราซิลที่ฟอร์ดเพิ่งปิดโรงงานสามแห่งในปีนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างบริษัททั่วโลกมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ และกลยุทธ์ในการบรรลุอัตรากำไรจากการดำเนินงานทั่วโลกที่ 8%

สำหรับประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางการส่งออกและประกอบรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชีย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของ GDP และงานการผลิตของประเทศ โดยเมื่อปีที่แล้ว เจเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ขายโรงงานในไทยให้กับบริษัท Great Wall Motor ของจีน ซึ่งได้เริ่มผลิตรถ SUV และวางแผนที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ขณะที่ PTT Pcl บริษัทพลังงานของไทยก็มีแผนที่จะลงทุนราว 1-2 พันล้านดอลลาร์ในโรงงาน EV กับบรัษัท Foxconn ของไต้หวัน

Source

]]>
1366100
จับตา ‘Rivian’ สตาร์ทอัพรถอีวี หลังประกาศ IPO 135 ล้านหุ้น คาดมูลค่าแตะ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1359825 Tue, 02 Nov 2021 04:45:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1359825 ‘Rivian’ ถือเป็นหนึ่งในน้องใหม่ไฟแรงที่น่าจับตามองในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการเปิดตัว ‘R1T’ รถกระบะไฟฟ้ารายแรกปาดหน้า Tesla, GM และ Ford ซึ่งล่าสุด Rivian ก็เตรียมเปิด IPO ซึ่งมีการตั้งเป้ามูลค่าแตะ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

หลังจากที่ส่งมอบรถคันแรกไปเมื่อประมาณกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในต้นเดือนตุลาคม Rivian ก็ได้วางแผนเตรียม IPO ล่าสุด บริษัทก็มีแผนจะเสนอขายหุ้นจำนวน 135 ล้านหุ้นในราคา 57-62 ดอลลาร์ โดยมีตัวเลือกให้ผู้รับประกันการจัดจำหน่ายซื้อหุ้นเพิ่มเติมได้มากถึง 20.25 ล้านหุ้น โดย Rivian มีการกำหนดเป้าหมายมูลค่าตลาดมากที่สุดที่ 5.46 หมื่นล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการที่แท้จริงจากนักลงทุนก่อนที่บริษัทจะออกสู่สาธารณะ โดยก่อนหน้านี้มีแหล่งข่าวรายงานว่า บริษัทจะขอการประเมินมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์

Rivian ยานยนต์ไฟฟ้าคู่แข่ง Tesla ยื่นเปิด IPO แล้ว! ระดมทุนขยายโรงงาน-สถานีชาร์จ

การประเมินมูลค่าดังกล่าวจะทำให้ Rivian เป็นยักษ์ใหญ่ในกลุ่มสตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้า และจะเทียบได้กับ Nio ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีน อย่างไรก็ตาม Rivian ยังมีมูลค่าน้อยกว่ายักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์แบบดั้งเดิม เช่น Ford แต่ก็เล็กน้อยเท่านั้น

ทั้งนี้ Rivian วางแผนที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะในสัปดาห์หน้า โดยมีแผนจะเข้าจดทะเบียนใน Nasdaq ภายใต้สัญลักษณ์ ‘RIVN’ ตามหนังสือชี้ชวน IPO ของ Rivian ที่ยื่นเมื่อเดือนที่แล้ว และในการยื่นเอกสารเมื่อวันจันทร์ (1 พ.ย.) Rivian กล่าวว่า นักลงทุนรวมถึง Amazon และ T. Rowe Price ได้แสดงความสนใจในการซื้อหุ้นรวมสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่เสนอขายหุ้น IPO บริษัทจะให้นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงการซื้อหุ้น IPO บางส่วนผ่านแพลตฟอร์มนายหน้าออนไลน์ของ SoFi

รู้จัก ‘Rivian’ ผู้ผลิต ‘รถกระบะไฟฟ้ารายแรก’ ที่ปาดหน้าทั้ง Tesla, GM และ Ford

ปัจจุบัน Rivian กำลังพัฒนารถตู้ขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ระยะสุดท้ายสำหรับ Amazon ซึ่งได้กล่าวว่ามีแผนที่จะมีรถตู้ 10,000 คันบนท้องถนนภายในปี 2022 และ 100,000 คันภายในปี 2030 และในส่วนของรถกระบะไฟฟ้า R1Ts บริษัทวางแผนที่จะส่งมอบ 1,000 คันภายในสิ้นปีนี้ จากยอดจองรถ R1T และ R1S รวม 48,390 คัน ในตลาดสหรัฐฯ และแคนาดา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Amazon เปิดเผยว่ามีสัดส่วนการถือหุ้น 20% ใน Rivian ซึ่งเมื่อรวมกับการลงทุนในตราสารทุนอื่น ๆ แล้วมีมูลค่าตามบัญชีสูงถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์ โดย Amazon ได้ลงทุนมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ใน Rivian จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ Ford ก็ถือหุ้นประมาณ 12% ใน Rivian เช่นกัน

Source

]]>
1359825
รู้จัก ‘Rivian’ ผู้ผลิต ‘รถกระบะไฟฟ้ารายแรก’ ที่ปาดหน้าทั้ง Tesla, GM และ Ford https://positioningmag.com/1352232 Fri, 17 Sep 2021 04:22:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352232 ส่งมอบไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ ‘รถกระบะไฟฟ้า R1T’ ของ ‘Rivian’ สตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกาที่ปาดหน้า Tesla, GM และ Ford เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้าเป็นรายแรก แน่นอนว่าคนไทยเองอาจจะไม่ค่อยคุ้นกับแบรนด์นี้ ดังนั้น Positioningmag จะพาไปทำความรู้จัก

Rivian เกิดขึ้นในปี 2009 โดย Robert RJ Scaringe นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT ในด้านวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งตอนแรก Robert ไม่ได้จะมาผลิตรถกระบะ แต่อยากทำรถสปอร์ตไฟฟ้า แต่เพราะรถยนต์กระบะยังไม่มีผู้เล่นในตลาด โดยผู้เล่นส่วนใหญ่เน้นไปที่รถเก๋งมากกว่า เขาจึงเบนเข็มมาพัฒนารถกระบะและรถ SUV ไฟฟ้าแทน

รถกระบะไฟฟ้า ‘R1T’ คันแรกที่ถูกขับโดยผู้ก่อตั้ง Robert RJ Scaringe

สิ่งที่ทำให้ Rivian พิเศษกว่าแบรนด์อื่นไม่ใช่แค่เป็นรายแรกที่คิดจะทำรถกระบะไฟฟ้า แต่เพราะ ‘Skateboard Platform’ ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาช่วงโครงช่วงล่างของรถยนต์ ที่บริษัทสร้างเพื่อให้โครงสร้างของรถมีศูนย์ถ่วงที่ต่ำ และนำมอเตอร์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่ และแผงควบคุมต่าง ๆ ติดตั้งไว้ด้านล่างของตัวรถ ทำให้การขับขี่สนุก และเหมาะกับการขับเคลื่อนสี่ล้อ เหมาะกับรถยนต์ประเภท Off-Road อย่างรถกระบะและ SUV นอกจากนี้ยังทำให้การออกแบบทำได้อิสระมากขึ้น โดย Skateboard Platform นี้

  • รองรับการติดตั้งมอเตอร์ได้สูงสุด 4 ตัว
  • ใช้ระบบกันสะเทือนแบบถุงลมแยกอิสระ
  • ติดตั้งระบบจัดการแบตเตอรี่อัจฉริยะ
  • ติดตั้งระบบควบคุมไฮดรอลิกช่วงล่าง
  • ติดตั้งระบบระบายความร้อน
ช่วงล่างแบบ Skateboard Platform

ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้ Rivian สามารถระดมทุนจากบริษัทใหญ่ ๆ ได้มากมาย โดยได้เงินทุนจาก 450 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนรายใหญ่ 3 ราย ได้แก่ Abdul Latif Jameel ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทลงทุนจากซาอุดีอาระเบีย, Sumitomo Corp จากญี่ปุ่น และธนาคาร Standard Chartered จากอังกฤษ

จนในปี 2018 บริษัท Rivian ก็ได้ผลิต ‘Rivian R1T’ เป็นรถกระบะไฟฟ้าต้นแบบรุ่นแรกที่ใช้พื้นฐานรถแบบ Skateboard Platform ออกมาสำเร็จ โดย R1T มาพร้อมความสามารถวิ่งได้ไกลสูงสุด 644 กิโลเมตร มอเตอร์แบบสี่ตัว ขับเคลื่อนสี่ล้อ สามารถเร่งความเร็ว 0-96 กม./ชม. ใน 3 วินาที เท่านั้น จากนั้นก็เปิด ‘Rivian R1S’ ตัวต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้า SUV โดย Rivian ได้ประกาศว่าจะผลิตในปี 2019 และส่งมอบออกจำหน่ายในปี 2020

ซึ่งหลังจากวางเป้าที่จะผลิตรถยนต์ในปี 2019 Rivian ก็สามารถระดมทุนได้อีก โดยได้เงินกว่า 700 ล้านดอลลาร์จาก Amazon ตามมาด้วย Ford อีก 500 ล้านดอลลาร์ จากนั้นก็มี Cox Automotive เว็บขายรถของอเมริกาอีก 350 ดอลลาร์ และได้เงินทุนอีก 1,300 ล้านดอลลาร์ จาก T. Rowe Price Associates บริษัทที่เคยลงทุนมหาศาลใน Tesla

Rivian R1T และ Rivian R1S

แม้จะบอกว่าจะส่งมอบรถภายในปี 2020 แต่จากวิกฤติ COVID-19 ทำให้ต้องเลื่อนไปเป็นต้นปี 2021 แต่แม้จะเลื่อนไปต้นปี แต่สุดท้าย R1T ก็เพิ่งออกจากสายการผลิตที่โรงงานในเมือง Normal รัฐอิลลินอยส์ เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา โดยราคาเริ่มต้นสำหรับรถกระบะไฟฟ้า R1T จะอยู่ที่ 69,000 ดอลลาร์ (2,110,050 บาท) และรถ SUV ไฟฟ้า R1S ก็คือ 72,500 ดอลลาร์ (2,188,200 บาท)

จากนี้ก็คงต้องจับตาสงครามรถยนต์ไฟฟ้าว่าจะเป็นอย่างไร ค่ายรถยนต์รุ่นบุกเบิกตั้งแต่สมัยรถน้ำมันคงไม่ยอมที่จะถูกสตาร์ทอัพใหม่ ๆ เหล่านี้ดิสรัปต์ง่าย ๆ เพราะจะเห็นแต่ละค่ายอัดงบลงทุนไปมหาศาลเพื่อจะบุกเบิกตลาดรถยนต์ไฟฟ้า จากนี้คงต้องขึ้นอยู่กับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ว่าจะเลือกไปอยู่ค่ายไหน

]]>
1352232
ยุคแห่งเป็นกลางทางเพศ! “ฟอร์ด” เรียกตำแหน่งประธานว่า “chair” แทน chairman https://positioningmag.com/1342212 Wed, 14 Jul 2021 05:16:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342212 กลายเป็นข่าวที่หลายคนให้ความสนใจสำหรับบริษัทผู้รถยนต์อายุ 118 ปีอย่าง Ford Motor ที่ส่งเอกสารแจ้งหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลสหรัฐฯว่าได้เปลี่ยนชื่อเรียกตำแหน่งประธานบริษัทจาก chairman มาเหลือแค่ chair อย่างเป็นทางการ

ความน่าสนใจคือ Ford ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่ลงมือเปลี่ยนแปลงภาษาหรือชื่อเรียกในองค์กรให้ไม่ระบุเพศ เพราะก่อนหน้า Ford แบรนด์ใหญ่อย่าง General Motors ก็ยกเลิกตำแหน่ง chairman แล้วใช้คำว่า chair เรียกประธานเจ้าหน้าที่บริหารหญิง “Mary Barra” ตั้งแต่พฤษภาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ผู้ชายมักผูกขาดตำแหน่งผู้บริหารมาตลอด

สำหรับ Ford ขณะนี้ Bill Ford จึงมีตำแหน่งทางการในชื่อ Executive chair ไม่ใช่ Executive chairman โดยที่ยังรับบทเป็นประธานกรรมการบริหารบริษัทที่ปู่ทวดก่อตั้งขึ้นเช่นเดิม จุดนี้รายงานระบุว่าคณะบอร์ดบริหาร Ford ได้ลงมติเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 64 ไฟเขียวให้แก้ไขข้อบังคับเพิ่มอีกหลายรายการแบบมีผลบังคับใช้ทันที เพื่อให้ Ford เป็นองค์กรที่ใช้ภาษาที่เป็นกลางทางเพศอย่างเต็มตัว

เพื่อความชัดเจน

Marisa Bradley โฆษกของ Ford อธิบายว่าเพราะตำแหน่งหน้าที่งานของบริษัทนั้นไม่ได้ผูกขาดทางเพศ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งเหล่านี้จะช่วยจำกัดความคลุมเครือ และขับเคลื่อนวัฒนธรรมที่ครอบคลุมและเท่าเทียมที่บริษัทมุ่งมั่น 

คำอธิบายนี้ตรงกับธนาคารเบอร์ 1 ของสหรัฐฯอย่าง JPMorgan Chase & Co. ที่ประกาศช่วงกลางเดือนมีนาคม 64 เช่นกันว่าได้ตัดคำว่า man จนเหลือแต่ chair รวมถึงการแทนคำสรรพนามเฉพาะเพศ เช่นเขาและของเขามาใช้คำที่ไม่เจาะจงเพศว่าเป็นหญิงหรือชาย

การเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งที่เกิดขึ้นช่วยให้องค์กรสามารถลดแรงกดดันจากสังคมได้ ขณะเดียวกันก็ได้ใจนักลงทุนเพราะเป็นการแสดงจุดยืนว่าองค์กรเปิดกว้างและกำลังกระจายตำแหน่งงานให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมด้วย เช่น พนักงานดับเพลิง ตำรวจ พนักงานเสิร์ฟ รวมถึงบุรุษไปรษณีย์ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนชื่อจาก fireman, policeman, stewardess, mailman และ waitress มาเป็น firefighter, police officer, flight attendant, mail carrier และ server เช่นกัน

กรณีของ General Motors โฆษก David Barnas ของ GM กล่าวว่าการเปลี่ยนมาใช้ chair แทน chairman ที่เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนั้นไม่ได้มีการส่งเอกสารไปยังคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์หรือ SEC แต่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงภายในและมีการอัปเดตตำแหน่งใหม่บนเว็บไซต์ของบริษัท ในภาพรวม GM มั่นใจว่าการปรับตำแหน่ง Mary Barra จากchairman และ CEO” มาเป็น “chair and CEO” จะเป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงมากมายที่จะพาให้ General Motors ก้าวสู่การเป็นบริษัทที่ “inclusive” หรือมีความหลากหลายครอบคลุมมากที่สุดในโลก

ที่ผ่านมา Mary Barra ซีอีโอของ General Motors มีตำแหน่งทางการว่า CEO and chairman นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งในปี 2015 แต่สื่ออย่าง New York Times เลือกที่จะรายงานตำแหน่งในข่าวว่าประธานหญิงหรือ chairwoman แทน จุดนี้ทำให้เกิดมุมมองว่าชื่อตำแหน่งอย่าง chair นั้นถือเป็นแฟชั่นในวงการสื่อที่เกิดใส่ใจเรื่องความเป็นกลางทางเพศมากขึ้นในยุคนี้ แต่โฆษกของ GM ยอมรับว่าทีมผู้บริหารบริษัทต่างให้ความสำคัญและผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง

ไม่แค่ในองค์กร

การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งโดยตัดคำว่า man ออกนั้นเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมานานหลายปีในสังคม หลายวิทยาลัยไม่เพียงแนะนำคำทางเลือกให้ใช้คำว่า chair หรือ chairperson แทน chairman แต่ยังมีการเปลี่ยนคำเรียกชาวประมง “seaman” มาเป็น “seafarer” แม้แต่คำว่าคุณพ่อหรือ “father” ก็ให้เปลี่ยนเป็น “parent” หรือผู้ปกครอง รวมถึงคำว่า “daughter” หรือบุตรสาวก็ให้เปลี่ยนเป็นคำว่า “child” หรือเยาวชนแทน

องค์กรอย่าง LinkedIn ก็เปลี่ยนนโยบายเช่นกัน โดยเมื่อต้นปีนี้ ทำเนียบขาวได้เพิ่มคำสรรพนามที่เป็นกลางทางเพศ ซึ่งผู้คนสามารถเลือกใช้ได้เมื่อติดต่อกับรัฐบาลสหรัฐฯ ดังนั้น LinkedIn ซึ่งเป็นเว็บไซต์เครือข่ายคนทำงานจึงประกาศแผนให้ผู้ใช้เพิ่มคำสรรพนามเพศที่ต้องการลงในบัญชีสำหรับใช้ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สวีเดน แคนาดา และไอร์แลนด์ แทนที่เป็น he หรือ she ซึ่งแปลตรงตัวว่าเขาหรือเธอ ก็สามารถเลือกใช้คำว่า they แทนได้ในกรณีที่ไม่ต้องการระบุเพศ เป็นอีกการเปลี่ยนแปลงในสังคม LinkedIn ที่มีสมาชิก 738 ล้านคนใน 200 ประเทศทั่วโลก

ในขณะที่ตำแหน่ง chair หรือ chairperson เป็นประเด็นในวงการค่ายรถ เจ้าพ่อเทคโนโลโลยีอย่าง Elon Musk กลับเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในมุมที่ต่างออกไป แทนที่จะใช้ตำแหน่ง Chief Executive Officer แต่ Musk ตั้งชื่อตำเเหน่งให้ตัวเองเป็น Technoking of Tesla ตั้งแต่มีนาคม 64 ขณะเดียวกันก็เปลี่ยนตำแหน่ง Chief Financial Officer เป็น Master of Coin โดยในทางปฏิบัติ ก็จะยังทำงานในหน้าที่เดิม แถมยังบังเอิญเป็นการใช้คำที่เป็นกลางทางเพศก่อนใครด้วย

ที่มา

]]>
1342212