IDC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 17 Jan 2024 06:35:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Apple’ ขึ้นแท่นแบรนด์ที่มียอดขายสมาร์ทโฟนอันดับ 1 ของโลก โค่น ‘Samsung’ ที่ครองแชมป์นาน 12 ปี! https://positioningmag.com/1459136 Wed, 17 Jan 2024 03:36:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459136 ครั้งสุดท้ายที่ ซัมซุง (Samsung) หลุดแชมป์ เบอร์ 1 ตลาดสมาร์ทโฟน ต้องย้อนไปถึงปี 2010 หรือ 12 ปีที่ผ่านมา และในปี 2023 ซัมซุงก็ได้เสียแชมป์ให้กับ Apple ขึ้นเป็น แบรนด์ที่มียอดขายสมาร์ทโฟนมากที่สุดในโลก และถือเป็นครั้งแรกของ Apple ด้วย

iPhone ของ Apple กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มียอดขายมากที่สุดในโลกเป็นครั้งแรก หลังจากที่แข่งขันกับ Samsung ที่ครองตำแหน่งผู้นำมาเป็นเวลา 12 ปี ตามข้อมูลจาก International Data Corporation หรือ IDC โดย Apple สามารถโค่นแชมป์เก่าได้ด้วยยอดขายกว่า 234.6 ล้านเครื่อง เทียบกับ Samsung ที่ทำได้ 226.6 ล้านเครื่อง ส่งผลให้ Apple ครองส่วนแบ่งตลาด 20.1% มากกว่า Samsung ที่มีส่วนแบ่ง 19.4%

นักวิเคราะห์มองว่า การเติบโตของยอดขาย iPhone ของ Apple มาจากความต้องการของกลุ่มพรีเมียมที่ปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 20% ของส่วนแบ่งตลาด ขณะที่ตลาดสมาร์ทโฟนที่ระบบปฏิบัติการ Android ก็มีความกระจัดกระจายมากขึ้น ทำให้ Samsung ต้องเจอกับการแข่งขันที่ดุเดือดจากแบรนด์จีนที่ส่งทั้งสมาร์ทโฟนจอพับมาแข่งขัน นอกจากนี้ การกลับมาของ Huawei ในประเทศจีนก็ส่งผลต่อยอดขายของ Samsung ที่ลดลงเช่นกัน

“เราเห็นการเติบโตที่แข็งแกร่งจากผู้เล่น Android ระดับล่างอย่าง Transsion และ Xiaomi ในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดเกิดใหม่ แต่ Apple ถือเป็นแบรนด์ที่กำชัยชนะเพียงแบรนด์เดียว เพราะถือเป็นเพียงแบรนด์เดียวในกลุ่ม Top3 ที่มีการเติบโตทุกปี”

ทั้งนี้ ในปี 2023 ที่ผ่านมา การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกลดลง -3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ 1.17 พันล้านเครื่อง โดยถือเป็นจำนวนต่ำสุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 4/2023 ตลาดมีการเติบโต +8.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีการจัดส่ง 326.1 ล้านเครื่อง ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เติบโต 7.3% ทำให้ภาพรวมในปี 2024 ตลาดอาจฟื้นตัวดีขึ้น

คงต้องรอดูว่า Samsung จะกลับมาได้ไหมในปีนี้ โดยแบรนด์กำลังจะเปิดตัว Samsung Galaxy S24 Series ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนเรือธงของแบรนด์ในช่วงสิ้นเดือนมกราคมนี้ ขณะเดียวกัน Apple ก็เพิ่งลดราคาสินค้าในจีนเป็นครั้งแรกในช่วงต้นปีเพื่อกระตุ้นยอดขาย

Source

]]>
1459136
“KBank” รับรางวัลใหญ่แห่งปี “องค์กรนวัตกรรมแห่งอนาคต” ธนาคารแรกของไทยที่คว้ารางวัลนี้จาก IDC Future Enterprise Award 2021 https://positioningmag.com/1362062 Tue, 16 Nov 2021 10:00:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362062

ในช่วงปีที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของวงการเงินธนาคาร ทั้งสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว การถูกดิสรัปชั่นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ธนาคารต้องปรับตัวอย่างมาก เช่นเดียวกับธนาคารกสิกรไทยหรือ KBank ที่มีการปรับตัวไปสู่โลกของดิจิทัลมาตลอด โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาสร้างนวัตกรรมทางการเงินให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จนเติบโตและสามารถครองใจลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่น

ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทย คว้า 4 รางวัลใหญ่จากเวทีระดับโลก IDC Future Enterprise Award 2021 เป็นธนาคารแห่งแรกของไทยที่ได้รับรางวัล “Future Enterprise of the Year” ทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย รวมถึงยังกวาดรางวัล “Best in Future of Digital Infrastructure Thailand” และ “Best in Future of Industry Ecosystem Thailand” มาครอง

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ทำให้ธนาคารต้องเร่งปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับองค์กรในทุกๆ ด้าน เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตและธุรกิจของลูกค้า (To Empower Every Customer’s Life and Business) โดยใช้กลยุทธ์ “K-Strategy” ที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และเพิ่มศักยภาพทั้งด้านเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ บริการ ตลอดจนบุคลากร ตอกย้ำบทบาทของธนาคารกสิกรไทยในฐานะกลไกหลักผู้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งพิสูจน์ความสำเร็จในเรื่องนี้ได้จากการที่ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารแห่งแรกในไทยที่ได้รับสำหรับรางวัล “Future Enterprise of the Year” ทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย โดยได้รับยกย่องให้เป็น “องค์กรนวัตกรรมแห่งอนาคต” จากยุทธศาสตร์องค์กรที่มุ่งเป้าสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability)

IDC Future Enterprise Award เป็นรางวัลที่จัดขึ้นโดย International Data Corporation (IDC) บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลและวิจัยทางเทคโนโลยีระดับโลก ผ่านการตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อมอบให้กับองค์กรที่มีศักยภาพยอดเยี่ยมในการพัฒนาและดำเนินกลยุทธ์ “Digital Transformation” ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญในการก้าวสู่โลกยุคใหม่ โลกที่ต้องตอบโจทย์ใหม่ๆ ของลูกค้า มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวโดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยปี 2021 นี้ ธนาคารกสิกรไทยคว้ารางวัลจากเวที IDC มาได้ถึง 4 รางวัล ได้แก่ รางวัล Future Enterprise of the Year ประจำปี 2021 จำนวน 2 รางวัล ทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและไทย

จุดเด่นของ KBank ที่ทำให้ชนะรางวัลนี้ คือยุทธศาสตร์ “K-Strategy” ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และยกระดับขีดความสามารถขององค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ใช้ในทุกด้านทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ บุคลากร ทำให้สามารถตอบโจทย์การการใช้ชีวิตและดำเนินธุรกิจของลูกค้าได้ รวมถึงช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับธนาคาร สร้างประโยชน์ที่ยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจ และสังคม


รางวัล Best in Future of Digital Infrastructure : Thailand

KBank ได้รับรางวัลนี้จากการเสริมศักยภาพเทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างในประเทศกับต่างประเทศ สร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อให้กับลูกค้าด้วย “ฟีเจอร์โอนเงินต่างประเทศในแอปพลิเคชัน K PLUS” ปัจจุบันสามารถโอนได้ 14 สกุลเงิน ครอบคลุม 32 ประเทศทั่วโลก ชูจุดเด่น สะดวก ถูก เร็ว ทำธุรกรรมได้แบบเรียลไทม์ ปลายทางรับเงินเต็มจำนวน ตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ทั้งครอบครัว ศึกษาต่อต่างประเทศ ช้อปปิ้ง นักท่องเที่ยว เป็นต้น

และอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์และบริการในการสร้างเสริมให้ลูกค้าเข้าถึงบริการการเงินได้ง่ายขึ้นด้วย “เทคโนโลยีพิสูจน์และยืนยันตัวตนดิจิทัล” ซึ่งทำได้ทั้งใน K-ID Platform และจุดบริการยืนยันตัวตน (K CHECK ID) ลูกค้าไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา สามารถใช้บริการธนาคารได้สะดวกรวดเร็ว

รางวัล Best in Future of Industry Ecosystem : Thailand


ความโดดเด่นของ KBank อยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างแพลตฟอร์มแอปฯ K PLUS กับพันธมิตรทางธุรกิจ ประกอบด้วย 2 บริการ คือ “Grab Pay Wallet (Powered by KBank)” ร่วมมือกับ Grab เพื่อเชื่อมโยงผู้คนในระบบนิเวศ (ecosystem) ได้แก่ ลูกค้าที่ใช้บริการ ไรเดอร์ผู้ขับ ร้านค้า และตัวแทนของ Grab ได้บนแพลตฟอร์มเดียวกัน ลูกค้าสามารถจ่ายค่าบริการ Grab ได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องใช้เงินสดและบัตรเครดิต และอีกหนึ่งบริการคือ “การเชื่อมต่อแอปฯ K PLUS เข้ากับแอปฯ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ” ทำให้สมาชิกสหกรณ์ฯ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น

4 รางวัลใหญ่บนเวทีระดับโลก IDC Future Enterprise Awards ที่ KBank ได้รับเป็นเครื่องการันตีให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่จัดเจน ทำให้สามารถตอบสนองลูกค้าและธุรกิจในยุคดิจิทัล และเป็นพลังขับเคลื่อนให้ KBank ก้าวสู่การเป็นสถาบันการเงินในระดับภูมิภาคได้สำเร็จตามเป้าหมาย

]]>
1362062
IDC มอง ‘ตลาดสมาร์ทโฟน’ 2021 ส่งมอบเพิ่ม 7.4% ผู้บริโภคซื้อเพื่ออัพเกรด ใช้ 5G มากขึ้น https://positioningmag.com/1349493 Tue, 31 Aug 2021 12:40:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349493 IDC ประเมินภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกในปี 2021 เเม้มีปัญหาเรื่องซัพพลายเชน เเต่มีเเนวโน้มดีขึ้น ด้วยอานิสงส์เทคโนโลยี 5G ขายดีในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ผู้บริโภคยังอยากอัพเกรดเป็นระดับพรีเมียมมากขึ้น

บริษัทวิจัยตลาด International Data Corporation (IDC) เผยรายงานประเมินธุรกิจสมาร์ทโฟน ในปี 2021 โดยคาดว่า

การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลก ตลอดปีนี้ จะเพิ่มขึ้นราว 7.4% คิดเป็นส่งจำนวน 1.37 พันล้านเครื่อง และคาดว่าจะเติบโต 3.4% ในปี 2022-23

โดยการเติบโต 7.4% นั้น มาจากการเติบโตอย่างเเข็งเเกร่งของสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ที่เพิ่มขึ้นถึง 13.8% สองเท่าของ Android ซึ่งอยู่ที่ 6.2% 

ขณะที่ ตลาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปตะวันตก เติบโตได้ในระดับช่วงก่อนโควิด (ปี 2019) เเต่ตลาดเกิดใหม่อย่าง อินเดีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง เเละแอฟริกา กลับมีการเติบโตที่สูงมาก

บรรดาแบรนด์ชั้นนำต่างๆ มีการรับมือในการจัดการซัพพลายเชนได้ดีขึ้น หลังปีที่ผ่านมาต้องเผลิญสารพัดปัญหาจากวิกฤตโรคระบาด ทำให้ไทม์ไลน์การเปิดตัวสินค้าบางอย่างต้องถูกเลื่อนออกไป ซึ่งมีปีนี้ หลายเเบรนด์กลับมาเดินหน้าผลิตสินค้าตามเเผนต่อไป

ส่วนการกระจายวัคซีนที่ได้ผลดีในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคในช่วงไตรมาสล่าสุด มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง

Photo : International Data Corporation (IDC)

นอกจากนี้ การมาของเทคโนโลยี 5G’ ก็ช่วยผลักดันการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนปีนี้ได้เป็นอย่างดี เหล่าผู้ผลิตเเละผู้จัดจำหน่ายต่างมุ่งไปที่การขายสมาร์ทโฟน 5G ที่มีราคาเฉลี่ยต่ออุปกรณ์ (ASP) สูงกว่าอุปกรณ์ 4G รุ่นเก่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2020 อยู่ที่ 634 ดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนราคาของสมาร์ทโฟน 4G ก็มีการลดราคาลงครั้งใหญ่เหลือราว 206 ดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงเกือบ 30% จากปีที่แล้ว (277 ดอลลาร์สหรัฐ)

IDC ประเมินว่า การจัดส่งสมาร์ทโฟน  5G ทั่วโลก จะอยู่ที่ราว 570 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 123% จากปีที่เเล้ว โดยประเทศจีน ยังผู้นำตลาดต่อไปด้วยส่วนแบ่งตลาด 5G ทั่วโลกถึง 47.1% ตามมาด้วยสหรัฐฯ 16% อินเดีย 6.1% และญี่ปุ่น 4.1%

ทั้งนี้ คาดว่า ภายในสิ้นปี 2021 อุปกรณ์ 5G จะขึ้นครองส่วนเเบ่งสมาร์ทโฟนใหม่ในตลาดถึง 54.1% 

ด้านความสนใจของผู้บริโภค เเม้จะเผชิญกับระบาดใหญ่และไวรัสโควิดกลายพันธุ์  เหล่าผู้บริโภคยังคงมีความต้องการจะอัพเกรดเป็นสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม (ราคาตั้งเเต่ 1,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) มากขึ้นในปีนี้ เเละมีเเนวโน้มว่าผู้ซื้อจะเปลี่ยนอุปกรณ์ไปเป็นรุ่น 5G ที่มีราคาแพงกว่าเครื่องเดิมที่มีอยู่

 

ที่มา : IDC 

 

]]>
1349493
Samsung คว้า “ลิซ่า BlackPink” เป็นพรีเซนเตอร์ Galaxy S10 ไทย หวังสู้ศึกแบรนด์จีน https://positioningmag.com/1229304 Sat, 11 May 2019 01:08:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1229304 แม้จะยังไม่มีตัวเลขออกมายืนยันชัดเจนว่า ไตรมาส 1/2019 สถานการณ์ของ “Samsung” ในเมืองไทยเป็นอย่างไรบ้าง สามารถหนีการตีตื้นของเหล่าแบรนด์จีน ที่นับวันยิ่งหายใจรดต้นคอขึ้นมาเรื่อยๆ ได้หรือยัง ?

แต่ถ้าดูตัวเลขที่ DIC รายงานตลาดสมาร์ทโฟนโลก ไตรมาส 1/2019 พบว่า “Samsung” ยังคงรักษาความเป็นแชมป์ของพวกเขาไว้ได้ โดยมียอดส่งมอบทั้งสิ้น 71.9 ล้านเครื่อง ลดลง 8.1% จากที่เคยทำได้ 78.2 ในไตรมาสก่อน โดยครองส่วนแบ่งตลาด 23.1%

หากไม่อาจหายใจได้ทั่วท้องเพราะเบอร์ 2 อย่าง “Huawei” โตกระฉูดกว่า 50.3% หรือคิดเป็นจำนวน 59.1 ล้านเครื่อง ครองส่วนเป็นตลาด 19% ไม่ไกลจาก Samsung มากนัก

ยิ่งในเวลานี้ “Galaxy Fold” สมาร์ทโฟนหน้าจอพับได้กำลังเจอโรคเลื่อน ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้กับสาวกที่เสียเงินก่อนไปแล้วจะได้รับสินค้าเมื่อไหร่ ? ก็ต้องนับว่าสถานการณ์ในวันนี้หนักหนา สำหรับ Samsung อยู่เหมือนกัน

ที่ผ่านมา Samsung ก็ได้พยายามแก้เกมคู่แข่ง โดยเฉพาะในกลุ่มเซ็นเมนต์กลาง ผ่านการออกหลายๆ โมเดล ซอยเซ็กเมนต์จับกลุ่มลูกค้า พร้อมกับจ้างพรีเซ็นเตอร์เพื่อเรียกยอดขายจากกลุ่มแฟนคลับ

อย่าง “Galaxy A 50” ก็เลือก เป๊ก ผลิตโชคมาคู่กับท็อป LazyLoxy” และศิลปินที่เรียกเสียงฮือฮาได้มากที่สุดคือ “BLACKPINK” ซึ่ง Samsung  ตัดสินใจให้เป็นพรีเซนเตอร์ของรุ่น “Galaxy A 80” ไม่ใช่แค่ในเมืองไทย แต่เป็นในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และดูเหมือนว่าการตัดสินใจทุ่มเงินในครั้งนั้นจะสร้างผลงานได้เป็นที่พึงพอใจแก่ Samsung อยู่ไม่น้อย เห็นได้จากกระแสแฟนคลับหลายคนที่ตัดสินใจซื้อตาม จม Samsung ตัดสินใจทุ่มจ้าง “BLACKPINK” อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ได้เป็นทั้ง 4 สาว มาเพียง 1 เท่านั้น

1 สาวที่ว่าคือลิซ่าลลิษา สาวไทยหนึ่งเดียวในวง ที่ถูกดึงตัวมาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับ “Samsung Galaxy S10” โดยเป็นการรับตำแหน่งสำหรับเมืองไทยโดยเฉพาะ ไม่เหมือนกับกรณีของ A 80 ที่เป็นระดับภูมิภาค ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการปล่อยภาพที่ลิซ่าคู่กับเครื่อง S10 มาสร้างกระแสใน Twitter ก่อนแล้ว

นี่ถือเป็นการรับตำแหน่งพรีเซนเตอร์อย่างเป็นการในเมืองไทยครั้งที่ 2 ของลิซ่าหลังจากก่อนหน้านี้ได้ถูก AIS ทุ่มเงินในระดับที่สมน้ำสมเนื้อ และใช้ความพยายามในการเจรจามานานมากกว่าจะประสบความสำเร็จ

แน่นอนว่าการเป็นพรีเซนเตอร์ครั้งนี้ของลิซ่าคงถูก Samsung ตั้งความหวังอยู่ไม่น้อย ที่จะเข้ามาช่วยให้สามารถกระโดดหนี จากการการตีตื้นของเหล่าแบรนด์จีน และกู้สถารการณ์ที่ล่อแหลมอยู่ในขณะนี้

]]>
1229304
Samsung จะช็อกไหม!! เมื่อ Huawei โตกระฉูด 50.3% ในตลาดสมาร์ทโฟนโลกไตรมาส 1/2019 https://positioningmag.com/1228116 Fri, 03 May 2019 03:56:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1228116 ภาพ : www.facebook.com/pg/HuaweiTechThailand/

ตลาดสมาร์ทโฟนของโลกยังคงมีความท้าทายต่อเนื่อง เพราะตัวเลขที่ IDC รายงานประจำไตรมาส 1 ปี 2019 พบ Volumes ลดลง 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

รายงานของ IDC ระบุว่า ในภาพรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 310.8 ล้านเครื่อง โดยช่วงเดียวกันของปีที่มีการส่งมอบ 332.7 ล้านเครื่อง การลดลงนี้ถือเป็นตัวเลขที่ลดลง 6 ไตรมาสติดกันแล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ IDC ประเมินว่า ในปี 2019 ตลาดสมาร์ทโฟนของโลกคงไม่แคล้วติดลบเหมือนปีก่อนหน้าซึ่งลดลง 4.1%

Anthony Scarsella ผู้จัดการฝ่ายวิจัยของ IDC อธิบายเพิ่มเติมว่า หลักๆ ที่ทำให้ภาพรวมลดลงเป็นผลมาจากตลาดในสหรัฐที่ยังชะรอตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคยังคงยึดมั่นในสมาร์ทโฟนของพวกเขานานกว่าเดิม เนื่องจากรุ่นที่มีราคาสูงกว่านั้นมีแรงจูงใจเล็กน้อยที่จะใช้จ่ายเงินเพื่ออัพเกรด นอกจากนี้ผู้บริโภคหลายคนยังรอคอยการมาถึงของสมาร์ทโฟน 5G ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นในปี 2020

เมื่อมองเข้าไปในตลาด “Samsung” ยังคงรักษาความเป็นแชมป์ของพวกเขาไว้ได้ โดยมียอดส่งมอบทั้งสิ้น 71.9 ล้านเครื่อง ลดลง 8.1% จากที่เคยทำได้ 78.2 ในไตรมาสก่อน โดยครองส่วนแบ่งตลาด 23.1%

Samsung ระบุว่า ยอดขายหลักมาจาก Galaxy S10 โดยเฉพาะรุ่น 5G ที่ขายดีในตลาดบ้านเกิด Samsung จึงวางแผนที่จะนำรุ่นนี้ไปขายยังประเทศอื่นๆ ด้วย

ขณะเดียวกันการยอดขายของเบอร์ 2 อย่าง “Huawei” ก็ไม่รู้จะทำให้ Samsung ช็อคหรือไม่ ? เพราะปรากฎว่า ในไตรมาส 1 Huawei โตกระฉูด 50.3% หรือคิดเป็นจำนวน 59.1 ล้านเครื่อง ครองส่วนเป็นตลาด 19% ซึ่งช่วงเดียวกันของปีที่แล้วยังอยู่เพียง 11.8% เท่านั้น

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ Huawei มีสินค้าที่ครอบคลุมตั้งแต่แมสไปถึงพรีเมี่ยม โดยเฉพาะบ้านเกินในจีนยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งส่วนที่ Huawei แข็งแกร่งสุดอยู่ในตลาดแมสถึงกลาง

ตลาดสมาร์ทโฟนโดยรวมยังคงได้รับการท้าทายในเกือบทุกพื้นที่ แต่ Huawei สามารถเติบโตได้ถึง 50% สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงไม่เพียงบ่งบอกถึงจำนวนที่ชัดเจนในแง่ของส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขยับเข้ามาใกล้ผู้นำตลาดอย่าง Samsung อีกด้วย Ryan Reith รองประธาน IDC’s Worldwide Mobile Device Trackers ระบุในรายงานของ IDC

รูปจาก : Huawei Mobile

ทางด้าน Apple ที่รั้งเบอร์ 3 ของตารางในไตรมาสนี้ มีการส่งมอบเครื่องทั้งสิ้น 36.4 ล้านเครื่อง ลดลง 30.2% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มากที่สุดในตาราง

IDC ประเมินว่า iPhone ยังได้รับแรงกดดันจากแบรนอื่นที่เข้ามากินส่วนแบ่งตลาด แม้จะลดราคาในเมืองจีนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะจูงใจให้ผู้บริโภคอัพเกรดได้

เมื่อรวมเข้ากับความจริงที่ว่าคู่แข่งส่วนใหญ่จะเปิดตัวสมาร์ทโฟน 5G และสมาร์ทโฟนหน้าจอพับได้ ซึ่งกลายเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับ iPhone แต่อย่างนั้นก็ตามการบรรลุข้อตกลงกับ Qualcomm เรื่องชิพเซ็ต ทำให้ Apple ยังไม่น่าห่วงมากนัก

ส่วนแบรนด์จีนที่เหลือก็ไม่ได้มีสถานการณ์ที่ดีไปทุกแบรนด์โดยเบอร์ 4 “Xiaomi” มีจำนวน 25 ล้านเครื่อง ลดลง 10.2% , เบอร์ 5 “Vivo” ซึ่งสามารถพลิกกลับมาติด Top 5 ได้แล้ว มีการส่งมอบ 23.2 ล้านเครื่อง เติบโต 24% ถือเป็นไม่กี่แบรนด์ที่ยังโตได้, เบอร์ 6 “OPPO” มีจำนวนน้อยกว่าเล็กน้อย 23.1% ติด 6% และแบรนด์อื่นๆ มีตัวเลขรวมกัน 72.1 ล้านเครื่อง ลดลง 21.5%

Source

]]>
1228116
ถอดรหัส 10 เทรนด์ดิจิทัลไทยจาก IDC ที่นักการตลาดไม่ควรพลาด https://positioningmag.com/1215792 Fri, 22 Feb 2019 08:03:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1215792 วันนี้หลายคนมองเศรษฐกิจไทยว่าเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นแล้ว แต่รายงานจาก IDC ตอกย้ำว่าธุรกิจดิจิทัลไทยจะยิ่งเข้มข้นขึ้นอีกหลายขั้นในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ ดังนั้นทุกองค์กรทุกอุตสาหกรรมจึงควรต้องตามติดการเปลี่ยนแปลงให้ทัน โดยเฉพาะนักการตลาดที่ไม่ควรพลาดการอัพเดตเทรนด์เหล่านี้ เพื่อมุมมองใหม่ที่เฉียบคมลื่นไหลกว่าเดิม

เทรนด์เหล่านี้สรุปจากรายงานเรื่อง IDC FutureScapes ซึ่งมีการประเมินแนวโน้มโดดเด่นที่จะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทยช่วงปี 2020-2024 

โดยทุกเทรนด์สามารถฉายภาพแรงผลักสำคัญที่จะดันให้ประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มตัว

1. ส่วนใหญ่ของ GDP ไทยจะมาจากธุรกิจดิจิทัล

ภายในปี 2022 ไทยจะเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มตัว เห็นได้ชัดจาก GDP ของประเทศไทยกว่า 61% ที่ IDC มั่นใจว่าจะมาจากธุรกิจดิจิทัล โดยแรงขับเคลื่อนจะมาพร้อมทุกบริการไอทีรอบตัวคนไทยทั้งการตลาดดิจิทัล การเดินทาง การกิน การใช้ และการอยู่ 

ประภัสสร เพชรแก้ว นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโส ด้านบริการไอทีประเทศไทย บริษัท ไอดีซี อธิบายว่า การเติบโตนี้จะครอบคลุมทุกเซ็กเตอร์ในธุรกิจไทย แต่จุดหลักที่ไดรฟ์คือองค์กรจะสร้างบริการไอทีใหม่สำหรับใช้แทนหรือเสริมกับธุรกิจเดิมในฐานะแพลตฟอร์มที่ 3 (3rd platform) ซึ่งจะเห็นจากบริการหุ่นยนต์, AR, Mobility, Cloud ฯลฯ

“Cloud จะดึงให้การลงทุนดิจิทัลโตขึ้นอีก จะแตะ 72,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019-2022 การสำรวจพบว่า 90% ขององค์กรไทย เชื่อว่าจะทำธุรกิจได้ดีขึ้นถ้าลงทุนดิจิทัล” 

ประภัสสรเชื่อว่าองค์กรจะลงทุนเรื่องการทำงานร่วมกันจากระยะไกล ขณะเดียวกันก็จะพัฒนาทักษะให้พนักงานในองค์กรใช้งานเทคโนโลยีได้ดีขึ้น องค์กรจะเห็นความสำคัญของฝ่ายไอทีที่ต้องเลือกเทคโนโลยีมาใช้กับองค์กรมากขึ้น และองค์กรไทยในอนาคตจะมองประสบการณ์ผู้ใช้บนระบบดิจิทัล หรือ DX เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

2. 3rd platform โตแม้จะมีระบบเก่าอยู่

ภายในปี 2022 การวิจัยของ IDC พบว่าการใช้จ่ายด้านไอทีของประเทศไทย 60% จะถูกใช้ลงทุนเพื่อสร้าง 3rd platform คาดว่าส่วนนี้จะเติบโตสูงมากเป็นเลข 2 หลัก จนครองส่วนแบ่งมากที่สุดในการใช้จ่ายไอทีภายในปี 2022

แม้จะมีระบบเก่าอยู่ แต่ทุกองค์กรไทยเห็นประโยชน์ และเข้าใจดีว่าต้องทำ 3rd platform แต่ปัญหาคือระบบเก่าที่ทำให้กังวลเรื่องความยุ่งยากในการทำระบบใหม่บนระบบเดิม ไม่ว่าอย่างไร ทุกคนก็จะพยายาม

เทรนด์นี้เริ่มเห็นแล้วในแบรนด์ใหญ่อย่าง Tesco Lotus ที่ใช้เทคโนโลยี becons ในการกระจายข่าวสารถึงลูกค้าที่อยู่ใกล้สาขา หรือธนาคารไทยพาณิชย์ที่ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูงเพื่อให้บริการทางการเงินเป็นรายแรกของประเทศไทยในชื่อ SCB Abacus ขณะที่ Honda ค่ายรถแดนปลาดิบที่มีระบบ My connected car เป็น 3rd platform ที่รองรับความต้องการของลูกค้าโดยไม่เน้นแต่มุมการขายรถเพียงอย่างเดียว

ในอนาคต เราจะเห็นการรีวิวพาร์ตเนอร์ขององค์กรด้วย เพราะการไปดิจิทัลจะทำให้พาร์ตเนอร์ที่เคยดี อาจไม่รองรับทั่วถึงอีกต่อไป ภายในองค์กรก็จะต้องมีการทำงานร่วมกับฝั่งไอที เพื่อจะร่วมกันชี้หรือเลือกพาร์ตเนอร์ที่ดีที่สุด

IDC เชื่อว่ามากกว่า 30% ขององค์กรไทยจะสร้างสภาพแวดล้อมไอทีแบบแท้จริง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ภายในปี 2022

3. ไม่เก็บข้อมูลขึ้นคลาวด์ 100%

ธุรกิจไทยจะไม่เก็บข้อมูลขึ้นคลาวด์ 100% แต่จะเลือกเก็บไว้ใกล้ตัวเพื่อทำงานร่วมกับการดึงข้อมูลจากระบบคลาวด์ การประมวลผลแบบผสมนี้เรียกว่า Edge computing หรือการประมวลผลที่ขอบระบบ ซึ่งมีจุดเด่นที่ความรวดเร็วที่เหนือกว่าคลาวด์ 100% คาดว่าการลงทุนในเทคโนโลยีนี้จะร้อนแรงมากขึ้นในปี 2022 ซึ่งจะเป็นปีที่องค์กรไม่น้อยกว่า 20% จะเทเงินลงทุนในเทคโนโลยีนี้ เพื่อรองรับ 25% ของอุปกรณ์ในมือคนไทยที่จะใช้อัลกอริธึม AI

ข้อดีของการเก็บข้อมูลขึ้น Cloud คือการตอบโจทย์เรื่องการรองรับจำนวนข้อมูลมหาศาลได้ไม่อั้น แต่ระบบ Edge จะทำให้เกิดการทำงานรวดเร็วกว่าเพราะไม่ต้องเสียเวลาดึงข้อมูลจากคลาวด์ การใช้ Edge จะเชื่อมกับการมาของ 5G ด้วย ซึ่งจะทำได้ดีขึ้น

ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับปริมาณสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และนานาอุปกรณ์ไอทีที่ถูกเรียกรวมว่า endpoint device เนื่องจากการที่อุปกรณ์มีจำนวนมาก ข้อมูลก็จะมีสูงมากตามไปด้วย องค์กรไทยในอนาคตจะอยากใช้ประโยชน์จากข้อมูลมหาศาล เวลานั้น AI จะตอบโจทย์ตรงนี้ คาดว่า 25% ของอุปกรณ์และระบบ endpoint ทั่วไทยจะทำบน AI ซึ่งเวลานั้นองค์กรไทยก็จะทำธุรกิจโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากขึ้น

4. คนสร้างแอปไม่ต้องเก่งเขียนโปรแกรม

วงการพัฒนาแอปพลิเคชันไทยจะถูกปฏิวัติในปี 2022 จุดนี้ IDC คาดว่าแอปพลิเคชั่นใหม่ของประเทศไทย 70% จะมีสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส ที่ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องเขียนโค้ดคำสั่งขึ้นใหม่ตั้งแต่ต้น สามารถนำโค้ดมาใช้ซ้ำใหม่หรือพัฒนาข้ามขั้นตอนได้สะดวก การพัฒนาแอปพลิเคชั่นของไทยในอนาคตจึงมีโอกาสสร้างเสร็จเพื่อให้บริการได้เร็วกว่าเดิม คาดว่า 25% ของแอปพลิเคชั่นไทยทั้งหมดจะเป็นระบบคลาวด์ในช่วง 3 ปีนับจากนี้

สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส เป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์ประกอบการสร้างแอป แต่ก่อนนี้แอปพลิเคชั่นต้องถูกพัฒนาเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มกระทั่งครบต้นจนจบ แต่สถาปัตยกรรมนี้จะทำให้การพัฒนาทำได้แยกส่วนกัน ส่วนท้ายอาจพัฒนาพร้อมส่วนหัว ทำให้การพัฒนาแอปเร็วขึ้น

IDC เชื่อว่าธุรกิจ B2C ไทย ที่จะลงทุนสร้างแอปพลิเคชั่นในรูปแบบนี้มากที่สุดคือกลุ่มแบรนด์อย่าง Unilever, Central, CIMB, Aliexpress, Laz และ Shopee เพราะกลุ่มนี้คือกลุ่มที่ต้องการให้ลูกค้าใช้งานแอปได้เร็ว เป็นกลุ่มที่ใกล้ตัวผู้บริโภคมากอย่างชัดเจน

5. ในปี 2024 จำนวนนักพัฒนาไทยเพิ่มเกิน 20%

ก่อนหน้านี้ องค์กรไทยอาจมีปัญหาเรื่องทีมพัฒนาแอปที่มีความรู้ความสามารถจำกัด ทำให้การพัฒนาแอปได้ช้า สิ่งที่จะเกิดในอนาคตคือการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ที่ไม่ต้องใช้การเขียนโค้ด แต่ออกแบบให้ทำงานได้เร็วและสะดวกขึ้น 

เครื่องมือใหม่ที่เข้ามาตอบโจทย์ จะเป็นแรงผลักดันให้นักพัฒนาในไทยมีการร่วมมือประสานงานมากขึ้น ยังมีการสนับสนุนจากภาครัฐ มีการสนับสนุนทุน การเรียนการสอนผ่านหลักสูตรมากมาย ทั้งหมดทำให้มั่นใจว่านักพัฒนาไทยจะมีจำนวนมากขึ้นแน่นอน

เรียกว่าในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ อุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นจะใช้งานง่ายขึ้น ความจำเป็นการในการเขียนโค้ดน้อยลง องค์กรอาจจะใช้เครื่องมือช่วยให้พนักงานที่ไม่จบสายโปรแกรมเมอร์โดยตรง สามารถเป็นทีมพัฒนาให้องค์กรได้โดยไม่ต้องจ้างบริษัทอื่น

สิ่งสำคัญในเทรนด์นี้คือองค์กรต้องปรับนโยบาย เพื่อให้นักพัฒนาทำงานได้ดีขึ้น อาจจะเป็นการปรับให้นักพัฒนาเข้าถึงข้อมูลได้ดีขึ้น หลากหลายขึ้น อีกจุดคือ self service ที่จะเอื้อให้พนักงานทำงานด้วยตัวเองมากขึ้น คาดว่าองค์กรจะต้องรีวิวและเพิ่มงบประมาณที่จำเป็น ซึ่งกรณีนี้เป็นไปได้ทั้งการเพิ่มหรือลดงบประมาณลง

6. แอปใหม่เกิน 4 ล้านแอปในไทยจะถูกสร้างขึ้นโดยแนวคิดใหม่

เมื่อมีเครื่องมือมากมายให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นทำงานได้ง่ายกว่าเดิม และไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางแบบที่ผ่านมา คาดว่าจะมีแอปใหม่กว่า 4 ล้านแอปในไทยที่จะถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องมือใหม่เหล่านี้ โดยภายในปี 2023 ราว 95% ของประชากรไทยจะมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งาน จุดนี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซไทยอย่างจริงจัง คาดว่า 41% ของการซื้อจะเกิดบนสมาร์ทโฟน 

หลายธนาคารพัฒนาแอปแล้ว เชื่อว่าจะเห็นการพัฒนาที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต แต่ผลกระทบคือเวลาที่คนไทยใช้แอปพลิเคชั่นจะลดลงอย่างมาก ดังนั้นองค์กรที่ไม่ใช้ประโยชน์จากระบบเรียนรู้ด้วยเรื่อง (ML) จะเสียความสามารถในการแข่งขันได้

7. ลงทุนฮาร์ดแวร์

IDC มองว่าองค์กรไทยจะมีการใช้งานระบบประมวลผลเทคโนโลยีใหม่ที่มีพลังประมวลผลสูงมาก เช่น quantum มากขึ้น คาดว่าในปี 2022 องค์กรกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนราว 15% ของธุรกิจไทย

IDC มองว่าการปรับตัวเพื่อยกระดับฮาร์ดแวร์ของธุรกิจจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบ AI บริษัทไทยที่เริ่มลงทุนระบบ quantum แล้วคือไทยพาณิชย์ ที่ลงทุนในบริษัทผู้พัฒนาระบบ quantum ชื่อ 1QBit อย่างจริงจัง

การเพิ่มขึ้นของซูเปอร์แอป จะทำให้เราเห็นความร่วมมือระหว่างองค์กรไทยกับแบรนด์ต่างชาติด้วย ทั้งหมดนี้จะเห็นผลอย่างช้าๆ

8. คนไทยคุยกับ AI มากขึ้น

แทนที่จะต้องใช้แอปพลิเคชั่นหรือเมนูหน้าเว็บไซต์ผ่านหน้าจอ IDC ฟันธงว่าเทคโนโลยี AI จะเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้หรือ UI ใหม่ซึ่งจะมาแทนแอปพลิเคชั่น 1 ใน 3 ที่คนไทยใช้งานผ่านอุปกรณ์ในปัจจุบัน 

ประเด็นนี้น่าสนใจมากเพราะข้อมูล IDC บอกว่าปี 2024 ระบบแชตบอทเทคโนโลยี AI จะเติบโต 230.2% ในไทย ถือเป็นการเติบโตที่สูงมากจนอาจจะทดแทนแอปพลิเคชั่นบางส่วน ซึ่งลูกค้าไทยอาจจะไม่ทันสังเกตว่าเป็นระบบอัตโนมัติก็ได้

คาดว่าผู้ประกอบการไทยเกิน 20% จะใช้เทคโนโลยีแชตอัตโนมัติภายในปี 2024

9. เข้ารหัสแรง บล็อกเชนร้อน

ในช่วง 4 ปีนับจากนี้ 25% ของเซิร์ฟเวอร์ไทยจะมีการเข้ารหัสข้อมูล คาดว่าการแจ้งเตือนความปลอดภัยมากกว่า 20% ในไทยจะถูกจัดการโดยระบบอัตโนมัติผ่านเทคโนโลยี AI 

นอกจากนี้ ในช่วง 4 ปีเดียวกัน IDC เชื่อว่าคนไทย 3.5 ล้านคนจะมีตัวตนดิจิทัลเทคโนโลยีบล็อกเชน กรณีนี้จะมีผลใหญ่เพราะจะเป็นก้าวแรกที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยพัฒนามุมดิจิทัลในสเต็ปต่อไป 

บริการดิจิทัลแบงกิ้ง หรือองค์กรที่มีระบบ KYC (Know Your Customer) จะได้เปรียบ ปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยสมัครใจเก็บข้อมูลตัวตนดิจิทับคือบริการด้านการเงิน ซึ่งภาครัฐก็จะผลักดันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนไทยให้ไปดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ที่โดดเด่นมากที่สุดคือบล็อกเชน

อย่างไรก็ตาม IDC ตั้งข้อสังเกตว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย นั้นนำหน้าไทยเรื่องตัวตนดิจิทัลไปมากกว่า 1-2 ขั้นแล้ว ทำให้มีโอกาสสูงที่ไทยจะเดินตามรูปแบบการพัฒนาระบบตัวตนดิจิทัลของ 2 ประเทศนี้

สิ่งสำคัญเมื่อคนไทยเกิน 3 ล้านคนมีตัวตนดิจิทัล คือการทำประโยชน์จากข้อมูลเส้นทางดิจิทัลของคนกลุ่มนี้ เนื่องจากแม้ส่วนใหญ่จะอยู่กับแบงก์ แต่ก็จะแพร่หลายไปใช้บริการทั่วทุกอุตสาหกรรม นอกจากนี้คือประเด็นการรักษาความปลอดภัย ไม่ให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด

10. Multicloud ผสมให้ยืดหยุ่น

IDC ย้ำว่าองค์กรไทยจะใช้ Multicloud ซึ่งเป็นระบบผสมระหว่างที่ทำให้การเก็บข้อมูลลูกค้าหรือข้อมูลการดำเนินงานของบริษัททำได้ยืดหยุ่นกว่าการเลือกประเภท cloud อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

เทรนด์นี้เป็นไปตามการคาดการณ์ของหลายบริษัทที่เชื่อว่าองค์กรจะลงทุนมหาศาลเพื่อรับมือกับการล็อกอินใช้งานบริการ ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย จุดนี้ IDC ทิ้งท้ายว่า การปรับใช้ Hybrid Cloud และ Private Cloud จะเป็นเรื่องธรรมดาเพราะ 54% ขององค์กรไทยจะเน้นลงทุนเพื่อเชื่อม Cloud สาธารณะเข้ากับ Cloud ส่วนตัวเพื่อให้บริการของตัวเองลื่นไหลที่สุด.

]]>
1215792
ไอดีซี เจาะสมาร์ทโฟนไทย ทำไมแบรนด์จีนถึงครองตลาด https://positioningmag.com/1215715 Fri, 22 Feb 2019 00:57:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1215715 มาดูกันว่าตลาดสมาร์ทโฟนไทยที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดนั้น เติบโตกันแค่ไหน แนวโน้มเป็นอย่างไร

งานนี้ ไอดีซี ประเทศไทย บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สมาร์ทโฟน ปี 2561 มีมูลค่า (Volume) 184,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่าปี 2562 จะมีมูลค่า 203,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 7% โดยมีสัดส่วนของผู้ใช้สมาร์ทต่อจำนวนประชากรถึง 70%

ในขณะที่ฟีเจอร์โฟนลดลงทุกปี ปี 2561 มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท คาดว่าปี 2562 จะหล่นเหลือแค่ 1,000 ล้านบาท ลดลงถึงเท่าตัว

ด้วยการลดลงของฟีเจอร์โฟน และสมาร์ทโฟนที่ถูกใช้งานเป็นจำนวนมากแล้ว ทำให้ ตลาดโมบิลิตี้ (อุปกรณ์เคลื่อนที่) ในส่วนของตัวเครื่องลดลงจนต่ำกว่ายอดการใช้จ่ายด้านไอที แต่ลงลึกไปถึงซอฟต์แวร์ของสมาร์ทโฟน เช่น เอ็นเตอร์ไพรซ์ โมบาย เซอร์วิสขององค์กร ซึ่งมีการใช้งานเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดโมบิลิตี้ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

เมื่อลงลึกถึงสภาพตลาดสมาร์ทโฟน วีรเดช พาณิชย์วิสัย ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัย อาวุโส ไอดีซี ประเทศไทย บอกว่า ปีที่แล้วตลาดสมาร์ทโฟนมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อออปโป้สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ไตรมาส 4 ปี 2561 ขึ้นไปครองอันดับ 1 แต่ถ้าดูตลอดทั้งปี 2561 ซัมซุงยังคงครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1

การที่ออปโป้ขึ้นมาตีตลาดในไตรมาสที่แล้วได้ เกิดมาจากความผิดพลาของซัมซุง ที่หันไปมุ่งเน้นนำเข้าสมาร์ทโฟนในระดับกลาง (mid-rang ) เข้ามาทำตลาดเป็นจำนวนมากจนเกิดภาวะสินค้าล้นสต็อกไปจนถึงไตรมาส 4 ซึ่งตลาดระดับกลางถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก ผู้บริโภคไม่ได้มองเรื่องแบรนด์ แต่เลือกเพราะราคา แต่ราคาของซัมซุงกลับสูงกว่า จึงทำให้ซัมซุงต้องพ่ายแพ้ให้กับออปโป้

สำหรับ “ออปโป้” นั้น แม้ว่าทำตลาดช่วงแรกกระแสตอบรับจะค่อยดี แต่เมื่อมีการสร้างแบรนด์ต่อเนื่อง พอแบรนด์เป็นที่รู้จัก ออปโป้หันไปมุ่งตลาด “ไฮเอนด์” ที่มีราคาสูงขึ้น จึงได้การตอบรับที่ดีขึ้น

ถ้ามองในภาพรวม สมาร์ทโฟน “แบรนด์จีน” ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคคนไทยมากขึ้น เพราะ “ยุทธศาสตร์” ของแบรนด์จีน จะวางจุดขาย “ของดี ในราคาจับต้องได้” อย่าง กรณีของ “หัวเว่ย” ที่ใช้กลยุทธ์จับมือกับพาร์ตเนอร์ “ไลก้า” ผู้ผลิตกล้องชื่อดัง ทำให้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค แบรนด์จีนยังหันไปมุ่งเน้นเรื่องของ “อินโนเวชัน” จนสามารถพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น สมาร์ทโฟนเจาะรูบนหน้าจอ หัวเว่ยผลิตออกมาวางตลาดได้ก่อน รวมถึง สมาร์ทโฟนสแกนลายนิ้วมือ แบรนด์จีนก็พัฒนาออกสู่ตลาดได้ก่อน “ซัมซุง” จนทำให้แบรนด์จีน ทั้งออปโป้ วีโว่ หัวเว่ยได้การยอมรับจากผู้บริโภคจนไม่เห็นถึงความแตกต่างกับแบรนด์ซัมซุง และไอโฟน แต่ราคาถูกกว่า

ดังนั้น ปี 2562 เป็นปีที่สดใสของแบรนด์สมาร์ทโฟนจีน จนทำให้ “ซัมซุง” ต้องกระโดดมาลงมาต่อสู้ด้วย “ฟีเจอร์” ใหม่ๆ เช่น กล้อง 3-4 ตัว ในราคาสูงกว่าแบรนด์จีนเล็กน้อย ดังนั้นจึงต้องดูว่าจะได้ผลแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ ตลาดปีนี้แข่งขันดุเดือดอย่างแน่นอน.

]]>
1215715