Libra – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 16 Oct 2019 03:44:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แม้รายใหญ่จะถอนตัวไป Libra ยังเหลือ 21 สมาชิก Uber, Lyft และ Spotify ยังอยู่ https://positioningmag.com/1249892 Tue, 15 Oct 2019 15:45:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249892 ชัดเจนแล้วว่ากลุ่มบริษัทรับชำระเงินชั้นนำของโลกไม่เห็นด้วยกับโครงการ Libra สกุลเงินดิจิทัลที่นำทีมพัฒนาโดยเฟซบุ๊ก ล่าสุด Libra ประกาศรายละเอียดกลุ่มผู้สนับสนุนในฐานะสมาชิก 21 บริษัทจากที่เคยมีทั้งหมด 28 บริษัท

พร้อมเดินหน้าจัดงานประชุมครั้งแรกเพื่อหารือรายละเอียดการกำกับดูแลเมื่อวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคมที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้าน Mark Zuckerberg ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Facebook จะขึ้นให้ข้อมูลต่อหน้าสภาคองเกรสในสัปดาห์หน้าเพื่อชี้แจงความโปร่งใสของโครงการ

รายงานจากสื่อต่างประเทศระบุว่า 21 สมาชิกผู้สนับสนุนโครงการพัฒนาเงินคริปโต cryptocurrency อย่าง Libra นั้นได้ร่วมลงนามในกฎบัตรสมาคม Libra หรือ Libra Association charter เพื่อกำกับดูแลเงินสกุลใหม่ของโลก สมาชิกที่ร่วมลงนามส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนและผู้ให้บริการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน เช่น บริการรถร่วมเดินทางอูเบอร์ (Uber) และลิฟต์ (Lyft) รวมถึงบริการเพลงออนไลน์สปอติฟาย (Spotify) ท่ามกลางคณะกรรมการ 5 คนที่มีเดวิด มาร์คัส (David Marcus) ผู้บริหาร Facebook ขึ้นเป็นหัวหน้าโครงการ พร้อมตัวแทนจากบริษัท Andreessen Horowitz, PayU, Kiva Microfunds และ Xapo Holdings

สมาชิกที่ขอถอนตัวไปคือกลุ่มผู้ให้บริการชำระเงิน ซึ่งแต่เดิมขานรับและให้การสนับสนุนโครงการจนกระทั่งมีการประกาศนโยบายกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง จนเมื่อวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม บริษัทวีซ่า (Visa), มาสเตอร์การ์ด (Mastercard), สไตร์ป (Stripe), อีเบย์ (eBay) และเมอร์คาโดเพโก (Mercado Pago) เดินตามการตัดสินใจของเพย์พาล (PayPal) ที่ประกาศถอนตัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแต่ยังปล่อยให้บริการเพย์ยู (PayU) ยังคงอยู่ในโครงการ

นอกจากกลุ่มผู้ให้บริการชำระเงิน อีกกลุ่มที่ถอนตัวไปจาก Libra คือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์อย่างบริษัทบุ๊กกิ้ง (Booking) ทำให้เว็บไซต์ในเครือเช่น Booking.com, OpenTable และ Kayak ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ Libra ในระยะแรก

Facebook ประกาศแผนการในเดือนมิถุนายนว่าจะสร้างสกุลเงินดิจิทัลใหม่ซึ่งดำเนินการโดยสมาคมที่ไม่แสวงหากำไร เวลานั้นหลายกลุ่มบริษัทขานรับจนกระทั่งมีการเปลี่ยนนโยบายและถอนตัวออกไป กระแสของ Libra นั้นยังมีข้อสงสัยหลายมุมนำไปสู่การเรียกร้องการตรวจสอบเข้มงวด

ตั้งแต่นั้นมา Facebook ต้องเผชิญกับการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยงานกำกับดูแลและผู้ร่างกฎหมายที่สงสัยในความสามารถของบริษัท ในด้านการจัดการความเสี่ยงและความโปร่งใสในการให้บริการทางการเงิน เนื่องจากจะมีข้อมูลจำนวนมากในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ Libra

Mark Zuckerberg จะต้องเข้าให้ข้อมูลต่อสภาครองเกรสในสัปดาห์หน้า เพื่อชี้แจงแนวทางโครงการตามคำสั่งของคณะกรรมการบริการด้านการเงินของรัฐบาลสหรัฐฯ เบื้องต้นสมาชิกหลายคนในคณะกรรมการขอความร่วมมือให้ Facebook เลื่อนแผนพัฒนา Libra ออกไปจนกว่าจะมีกลไกการควบคุมที่เหมาะสม แต่ Libra ก็เริ่มจัดการประชุมครั้งแรกเพื่อลงนามอย่างเป็นทางการแล้วในขั้นแรก

สมาชิก Libra มีการเคลื่อนไหวบนโลกโซเชียล หลายรายมีการโพสต์ยืนยันความมุ่งมั่นและความเชื่อว่า Libra จะมีหนทางที่ยาวไกล ขณะเดียวกันก็แสดงจุดยืนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่ด้อยโอกาสทางการเงิน

ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่าสมาชิกแต่ละรายจะลงทุนราว 10 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเปิดตัว Libra และสร้างแคมเปญจูงใจให้โครงการ

21 รายชื่อสมาชิกทั้งหมดของ Libra ได้แก่

Anchorage, Andreessen Horowitz, Bison Trails, Breakthrough Initiatives, Calibra, Coinbase, Creative Destruction Lab, Farfetch, Lliad, Kiva Microfunds, Lyft, Mercy Corps, PayU, Ribbit Capital, Spotify, Thrive Capital, Uber, Union Square Ventures, Vodafone, Women’s World Banking และ Xapo

Source

]]>
1249892
Visa-Mastercard-eBay แท็กทีมถอนตัวจาก ”Libra” ของเฟซบุ๊ก หวั่นปัญหาฟอกเงิน https://positioningmag.com/1249700 Mon, 14 Oct 2019 05:44:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249700 หลังจากที่ PayPal ได้ประกาศเลิกสนับสนุน Libra ล่าสุด Visa, Mastercard, eBay และ Stripe ต่างประกาศในวันที่ 11 .. ที่ผ่านมาว่าขอถอนตัวไม่เข้าร่วมโปรเจกต์เงินดิจิทัล “Libra” ของเฟซบุ๊ก หวั่นมีปัญหาฟอกเงิน

CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า บริษัทชื่อดังด้านการเงินทั้ง Visa, Mastercard และ Stripe ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการจ่ายและชำระสินค้า รวมถึง eBay ต่างออกมายืนยันว่าได้ถอนตัวจากโปรเจกต์สกุลเงิน Libra ของเฟซ บุ๊กแล้ว

บริษัทเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่มีรายชื่อในฐานะผู้ก่อตั้งสมาคม Libra ไม่ต่ำกว่า 2 โหลของทั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและบริษัท

Mastercard ตัดสินใจจะไม่เป็นสมาชิกของสมาคม Libra ในช่วงเวลานี้โฆษกบริษัท Mastercard กล่าวผ่านแถลงการณ์ให้กับ CNN ภาคธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามทาง Mastercard กล่าวว่า ทางบริษัทยังคงเฝ้าติดตามต่อความพยายามของ Libra ต่อไป

และเหมือนเช่นที่โฆษก eBay แถลงว่าทางเรานับถืออย่างสูงต่อวิสัยทัศน์ของสมาคม Libra แต่อย่างไรก็ตาม eBay ได้ตัดสินใจที่จะไม่ก้าวต่อไปร่วมกันในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง

ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเฟซบุ๊กได้อ้างว่า โปรเจกต์เงินบิทคอยน์ “Libra” จะช่วยพัฒนาการเข้าถึงการให้บริการทางการเงินเพิ่มมากขึ้น

แต่นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมาที่ทางเฟซบุ๊กได้ประกาศโปรเจกต์นี้ต่อสาธารณะพบว่าทางเฟซบุ๊กได้ถูกตรวจสอบทางความมั่นคงอย่างหนักและได้รับการต่อต้านจากผู้กำกับจากทั่วโลกที่เกรงว่าอาจจะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค และมีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกนำไปใช้ในการก่อการร้าย

ทั้งนี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” ผู้ก่อตั้งร่วมบริษัทเฟซบุ๊ก และซีอีโอบริหารมีกำหนดต้องเข้าให้การกับคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในเดือนนี้ โดยหัวหน้าคณะซึ่งเป็น ส.ส จากพรรคเดโมแครตวิพากษ์วิจารณ์โปรเจกต์ Libra ของเฟซบุ๊กอย่างหนัก พร้อมกับเรียกร้องให้ยุติการดำเนินการเสีย

โฆษกสมาคม Libra ของเฟซบุ๊กกล่าวผ่านแถลงการณ์กับ CNN ภาคธุรกิจว่าเรารู้สึกซาบซึ้งต่อการสนับสนุนของ บริษัทสตริปและอีเบย์ต่อเป้าหมายและพันธกิจของสมาคม Libra”

Source

]]>
1249700
PayPal ประกาศเลิกหนุน Libra ของ Facebook ขอโฟกัสธุรกิจหลักดีกว่า https://positioningmag.com/1248875 Mon, 07 Oct 2019 08:26:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248875 ลิบรา (Libra) โครงการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลหรือเงินคริปโตฯ (cryptocurrency) ของเฟซบุ๊ก (Facebook) กำลังถูกจับตามองใกล้ชิด เมื่อบริษัทให้บริการชำระเงินอย่าง PayPal ประกาศเลิกสนับสนุนเงิน Libra

ทำให้ PayPal กลายเป็นบริษัทแรกที่ถอนตัวจากฐานะพันธมิตรหลักซึ่งถูกโชว์ตัวตั้งแต่การแจ้งเกิด Libra เมื่อกลางปี 2019 เบื้องต้นเผยเหตุผลการตัดสินใจว่าเป็นเพราะต้องการโฟกัสไปที่ธุรกิจหลักของ PayPal ก่อน

PayPal ประกาศในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2019 โดยกล่าวว่าบริษัทยังคงสนับสนุนแรงบันดาลใจของ Libra ต่อไป แต่เลือกที่จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักของตนเอง ซึ่งในแถลงการณ์ไม่ได้ระบุสิ่งที่กระตุ้นการตัดสินใจครั้งนี้

สำหรับ Libra และ Calibra กระเป๋าเงินดิจิทัลของ Facebook ถูกเปิดตัวโดยเจ้าพ่อเครือข่ายสังคมยักษ์ใหญ่ในเดือนมิถุนายน 2019 แต่สกุลเงินดิจิทัลนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยงานกำกับดูแล จนเป็นข่าวใหญ่ตลอดช่วงที่ผ่านมา ประเทศที่มีท่าทีต่อต้าน Libra มีทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี ทำให้มีโอกาสสูงว่า Libra อาจถูกปิดกั้นไม่ให้มีการใช้งานในยุโรปบางประเทศ

การที่ PayPal กล่าวว่ายังคงสนับสนุนแรงบันดาลใจของ Libra ถูกนำไปท้าวความถึงการที่ PayPal เป็น 1 ในกลุ่มสมาชิกดั้งเดิมของ Libra Association ซึ่งประกอบด้วย 28 บริษัทและกลุ่มองค์กรไม่หวังผลกำไรที่มีส่วนช่วยพัฒนา Libra โดยสมาชิกรายอื่นมีทั้งบริษัทบริการชำระเงินรายใหญ่อย่างวีซ่า (Visa) แอปเรียกรถอย่างอูเบอร์ (Uber) และองค์กรการกุศลเพื่อมนุษยธรรมอย่างเมอร์ซี คอร์ปส (Mercy Corps)

สมาคม Libra Association ตอบสนองการถอนตัวของ PayPal โดยแถลงว่าเข้าใจดีถึงความยากลำบากในการพยายาม กำหนดค่าระบบการเงินใหม่แต่ก็ยังยืนยันว่าความมุ่งมั่นต่อภารกิจนี้มีความสำคัญต่อกลุ่มมากกว่าสิ่งอื่นใด

เมื่อไร้ Paypal การจ่ายเงินด้วย Libra อาจไม่ง่ายดายเหมือนการส่งข้อความอย่างที่เคยคุยไว้

การที่ Paypal ถอนตัวจากการเป็นพันธมิตร Libra ส่งผลให้เสถียรภาพของ Libra สั่นคลอนชัดเจน โดยในช่วงที่ Libra ถูกเปิดตัว Facebook เน้นย้ำว่าชาวโลกจะสามารถชำระเงินด้วยสกุลเงิน Libra ผ่านแอปของ Libra เองหรือผ่านบริการส่งข้อความ WhatsApp ก็ได้ โดยบริษัทพันธมิตรจะสามารถรองรับเงิน Libra สำหรับการทำธุรกรรมได้ เวลานั้น Facebook กล่าวว่า Libra จะได้รับการจัดการอย่างอิสระ และได้รับการสนับสนุนจากสินทรัพย์จริงเพื่อหลักประกันมั่นคง และการจ่ายเงินด้วย Libra จะง่ายดายเหมือนการส่งข้อความ

แต่ปัญหาคือ Libra ถูกตั้งข้อหาความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ รวมถึงความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่ม 7 ประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกประกาศเตือนในเดือนกรกฎาคมว่าจะไม่ปล่อยให้ Libra ดำเนินการได้จนกว่าจะมีการแจงข้อเท็จจริงด้านกฎระเบียบทั้งหมดอย่างชัดเจน

คาดว่าจะมีข่าวใหญ่อีกครั้งในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ เพราะเป็นวันที่สมาคม Libra จะจัดการประชุมครั้งแรก ซึ่งอาจจะมีแถลงการณ์ใหม่เกี่ยวกับพันธมิตรกว่า 1,500 หน่วยงานที่ถูกระบุว่ามีความสนใจเข้าร่วมสูง.

Source

]]>
1248875
หรือจะไม่ปลอดภัยอีกแล้ว! ตลาดเงินดิจิทัลญี่ปุ่นถูก “แฮก” สูญเงินเกือบ “พันล้าน” https://positioningmag.com/1238937 Fri, 12 Jul 2019 10:59:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238937 ถึงเงินดิจิทัลกำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป จนแม้แต่ Facebook ยังกระโดดเข้ามาร่วมวงผ่านการเปิดตัวสกุลเงิน “Libra” ที่เรียกความครึกโครมไปทั่วโลก แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ถ้าระบบรักษาความปลอดภัยไม่แข็งแรงพอก็อยากถูกแฮกได้

เหมือนกับที่เกิดในญี่ปุ่นสดๆ ร้อนๆ วันนี้เอง (12 กรกฎาคม) เมื่อตลาดซื้อขายเงินดิจิทัลในกรุงโตเกียว เปิดเผยว่า พวกเขาได้ระงับบริการทั้งหมด หลังจากสูญเสียเงินดิจิทัลมูลค่ากว่า 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 987 ล้านบาท) ในการแฮกครั้งเงินเสมือนจริงครั้งล่าสุด

Remixpoint ระบุว่า เมื่อคืนนี้บริษัทลูก BITPoint Japan ซึ่งดูแลหลายสกุลเงินดิจิทัลรวมถึง บิตคอยน์ เอธิเรียม และริปเปิลพบว่า เงินราว 3.5 พันล้านเยน ในรูปสกุลเงินดิจิทัลหายไปจากการบริหารจัดการของพวกเขา โดยการแฮกครั้งนี้ถูกพบ หลังจากมีข้อผิดพลาดปรากฏในระบบโอนย้ายเงินทุนของบริษัทเมื่อค่ำวานนี้ (11 กรกฎาคม)

เงินดิจิทัลจำนวนดังกล่าวหายไปจากสิ่งที่เรียกว่ากระเป๋าร้อนที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต แต่เงินที่เก็บอยู่ในกระเป๋าเย็นซึ่งออฟไลน์ไม่ได้รับผลกระทบ ขณะนี้บริษัทแม่กำลังวิเคราะห์ความสูญเสียอยู่และไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม แต่ทั้งนี้จะชดเชยความสูญเสียให้ลูกค้า เงินที่หายไปประมาณ 2.5 พันล้านเยนเป็นเงินทุนของลูกค้า ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัท

ข่าวร้ายนี้ส่งผลให้หุ้นของ Remixpoint ร่วง 18.6% ภายหลังการประกาศ เหตุการณ์นี้เป็นกรณีการแฮกล่าสุดที่เกิดขึ้นกับตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลในญี่ปุ่นมาแล้วหลายครั้ง

เมื่อปี 2018 ตลาดแลกเปลี่ยน Coincheck ในญี่ปุ่นระงับการฝากและถอนเงินดิจิทัลหลังจากพวกเขาถูกแฮก ส่งผลให้เกิดความสูญเสียกว่า 500 ล้านดอลลาร์ในเวลานั้น

และตลาดแลกเปลี่ยน MtGox ในโตเกียวซึ่งครั้งหนึ่งเคยดูแลเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของธุรกรรมบิตคอยน์ทั่วโลก ถูกปิดตัวลงในปี 2014 หลังจากเงิน 850,000 บิตคอยน์ (ราว 500 ล้านดอลลาร์ ณ เวลานั้น) สูญหายไปจากตู้นิรภัยดิจิทัลของพวกเขา

การแฮกสองสามครั้งนี้ กระตุ้นให้หน่วยงานบริการด้านการเงินของญี่ปุ่น เข้ามากำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลมากขึ้น แต่นักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่าช่องโหว่ด้านความปลอดภัยยังคงมีอยู่

Source

]]>
1238937
ก.ล.ต. เตรียมหารือ ธปท. ออกหลักเกณฑ์คุม “Libra” เงินสกุลดิจิทัลของ Facebook เชื่อรับมือได้ทันก่อนปี 2563 https://positioningmag.com/1238555 Wed, 10 Jul 2019 13:25:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238555 การประกาศเปิดตัว “Libra” เงินสกุลดิจิทัลของ Facebook ได้สั่นสะเทือนวงการเงินทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) เอ่ยว่ากำลังหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องการออกหลักเกณฑ์คุม Libra

พราวพร เสนาณรงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายนโยบายตลาดทุน ... เปิดเผยว่า Libra ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ... ตาม ...การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2562 โดย ...เตรียมพร้อมรับมือหาก Libra เกิดขึ้นในปี 2563 โดยจะมีการหารือกับ ธปท. อย่างใกล้ชิด

เพื่อศึกษาเตรียมออกกฎหมายลูกมากำกับดูแล เชื่อจะสามารถรับมือได้ทันก่อนปี 2563 ซึ่งขณะนี้ ธปท.ได้ตั้งคณะทำงานศึกษา Libra และพร้อมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ด้าน Libra ก็เริ่มเดินสายให้ข้อมูลกับธนาคารกลางทั่วโลกเพื่อสร้างความเข้าใจและแลกเปลี่ยนข้อมูล

ทั้งนี้ ...ประเมินเบื้องต้นว่า Libra ไม่เหมาะเป็นสินทรัพย์เพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรเพราะไม่ผันผวนเท่าเงินดิจิทัล แต่ Libra คือสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชำระเงินมากกว่า พร้อมเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังและอาจถูกกลุ่มมิจฉาชีพหลอกให้ลงทุนหรือมีโอกาสร่วมกับ Facebook

ขณะที่ ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงเงินดิจิทัล “Libra” ของ Facebook และพันธมิตร โดยระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก หากเกิดแพลตฟอร์มที่เป็นระบบชำระเงินกลาง จะทำให้บริการการชำระเงินทั้งในรูปแบบออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ และออฟไลน์ หรือเฟซทูเฟซ

สิ่งที่เกิดขึ้นคือการโอนเงินทำได้อย่างเสรีและข้ามประเทศได้ง่ายมากขึ้น ต้นทุนก็ถูกกว่า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกจะมีความวิตกกังวล โดยสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ การพิสูจน์ตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ป้องกันไม่ให้เกิดการฟอกเงิน หรือใช้เงินผิดประเภท

สำหรับประเทศไทยแม้จะไม่มี Libra มาใช้ในการชำระเงิน แต่ปัจจุบันการโอนเงินระหว่างประเทศยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์เท่านั้น ซึ่งภาคการเงินการธนาคารก็ควรปรับตัวรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งดิจิทัล และ Mobile Banking ที่เข้ามาตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ และในอนาคตมองว่าจะเห็นธนาคารพาณิชย์จับมือกับพันธมิตรเพื่อให้บริการด้านต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เตรียมประชุมหารือเกี่ยวกับ Libra กับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในเร็วๆ นี้ด้วย

ทั้งนี้ จากข้อมูลระบุว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมียอดผู้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 2.2 ล้านล้านบาท ค่าเฉลี่ยค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าต้องจ่ายให้กับธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.8 หรือคิดเป็นมูลค่า 36,000 ล้านบาท ส่วนธุรกรรมการโอนเงินของรายย่อยทั่วโลกเฉลี่ย 4-5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มีต้นทุนในการดำเนินการประมาณร้อยละ 6 หากมีเงินดิจิทัล “Libra” เกิดขึ้นจริงก็จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของธนาคารพาณิชย์ทั่วโลก

ด้าน จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านบิตคอยน์และบล็อกเชน ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บเทรด bitkub กล่าวว่า การประกาศเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลใหม่ของโลก “Libra coin” มองว่าเป็นโอกาสที่จะทำให้ราคาบิตคอยน์สูงขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาในหลายๆ ตลาด

เช่น ตลาดหลักทรัพย์ที่สหรัฐฯ และเยอรมนีเปิดให้ซื้อขายไลต์คอยน์ และลิโปคอยน์ หรือเจพีมอร์แกนกำลังจะทำเหรียญของตัวเอง ทำให้ยิ่งมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในตลาดสกุลเงินดิจิทัล ส่งผลให้มีคนเข้ามาสนใจเงินสกุลดิจิทัลมากขึ้น และผลักดันให้มีการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน.

Source

]]>
1238555
10 ข้อรู้จัก “Libra” เงินดิจิทัลสะเทือนโลกให้ดีขึ้น https://positioningmag.com/1235500 Thu, 20 Jun 2019 08:40:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235500 หลายคนเชื่อว่า ธุรกิจการเงินโลก กำลังถูกท้าทายอย่างหนัก หลังจาก Facebook ประกาศออกเงินสกุลดิจิทัลลิบราที่ใช้ง่ายคล่องลดต้นทุนด้านการเงินและไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเข้ามาอีกมหาศาล

1. เปิดใช้กลางปี 2020

นับเป็นก้าวที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลกสกุลดิจิทัล และเทคโนโลยีบล็อกเชน เมื่อเฟซบุ๊ก (Facebook) ประกาศยืนยัน เปิดตัวโครงการลิบรา (Libra)” สกุลเงินดิจิทัล พร้อมใช้อย่างเป็นทางการในปีหน้า (2020) 

2. ชื่อและโลโก้

การเลือกชื่อ Libra นั้นมีหลายเหตุผล นอกจากโลโก้แสดงความหมายที่เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโรมันที่เกี่ยวข้องกับเหรียญแล้ว ชื่อนี้ยังมาจากเครื่องหมายทางโหราศาสตร์รูปตาชั่งที่แสดงถึงความสมดุล และอีกส่วนหนึ่งมาจากคำภาษาฝรั่งเศส “libre” ซึ่งหมายถึงอิสรภาพ รวมกันเป็นเงินที่ผู้ถือจะได้รับความยุติธรรมและอิสระ ตามแนวคิดหลักของโครงการนี้

เชื่อว่าผู้ใช้ Facebook จำนวน 2 พันล้านคนทั่วโลกจะใช้สกุลเงินใหม่เพื่อซื้อสิ่งของหรือส่งเงินไปต่างประเทศเป็นประจำ

3. เฟซบุ๊ก ร่วมมือกับ 27 องค์กร 

เช่นวีซ่า” (Visa) และมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) รวมถึงบริษัทอินเทอร์เน็ตชื่อดังอย่างอีเบย์ (eBay), สปอติฟาย (Spotify) และอูเบอร์ (Uber)

โดยทั้ง 28 ราย ร่วมกันสร้างกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ชื่อสมาคมลิบรา ”Libra Association” ตั้งอยู่ในเจนีวา เพื่อดูแลสกุลเงิน Libra ในการใช้จ่ายเงินสกุลลิบราจะถูกควบคุมดูแลโดยพันธมิตร 28 ราย

สมาคม Libra ต้องการเพิ่มจำนวนพันธมิตรให้ถึงระดับ 100 องค์กร ก่อนที่สกุลเงินดิจิทัล Libra จะเปิดตัว โดยในเอกสารยืนยันว่าพันธมิตรแต่ละรายจะมีอำนาจการโหวตเท่ากัน

4. ใช้เทคโนโลยี Blockchain

Libra ใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นพื้นฐานด้านวิศวกรรม ช่วยกระจายอำนาจให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายมีส่วนร่วมในการบันทึกข้อมูลที่มาของเงินแบบสาธารณะ เช่นเดียวกับ Bitcoin และ Ethereum จึงทำให้เกิดธุรกรรมที่ปลอดภัยเป็นการกรจายโดยไม่มีใครใครมีอำนาจเบ็ดเสร็จ

5. Libra ต่างจาก bitcoin ตรงไหน

แม้จะเป็นสกุลเงินดิจิทัลเหมือน bitcoin และคอยน์อื่นๆ แต่ Libra มีความแตกต่างที่สำคัญคือการถูกดูแลโดยหน่วยงานกลาง และมูลค่าของมันจะผูกติดอยู่กับสินทรัพย์อื่น 

เบื้องต้นนักวิเคราะห์มองว่า สกุลเงินที่มีความผันผวนต่ำสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินสำหรับประชาชน ขณะเดียวกันก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับประชาชนที่ไม่ต้องการใช้สกุลเงินที่อยู่ในภาวะเงินเฟ้อรุนแรงระดับวิกฤต ทำให้ Libra ถูกมองว่ามีอนาคตสดใส

6. Libra ยังสร้างขึ้นจากเทคโนโลยีโอเพนซอร์ส

ซึ่งหมายความว่าบริษัทหรือบุคคลใดก็สามารถสร้างธุรกิจที่เข้ากับกรอบการทำงานของเงิน Libra ได้เสรี ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคสามารถซื้อเงิน Libra โดยใช้เงินดอลลาร์แล้วเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล เงิน Libra นี้สามารถถูกส่งไปยังสมาชิกในครอบครัวผ่านแอปพลิเคชั่นสื่อสารอย่าง WhatsApp หรือจะใช้จ่ายบิลในต่างประเทศได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินแข็งค่า

7. ใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล

เพื่อให้การโอนเงิน Libra ที่จะแจ้งเกิดในปีหน้า Facebook ใช้วิธีแจ้งเกิดแอปพลิเคชั่นชื่อคาลิบรา” (Calibra) หน้าที่หลักคือการเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลที่จะช่วยให้ผู้คนสามารถโอนเงินระหว่างกันได้ ด้วยค่าธรรมเนียมราคาต่ำมากถึงฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

8. ต้นทุนโอนเงินลดลง

ขณะนี้ต้นทุนเฉลี่ยในการส่งเงินไปทั่วโลกอยู่ที่ 7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากลดต้นทุนการทำธุรกรรมลงได้ ราคาค่าใช้บริการออนไลน์ เช่น การเรียกรถผ่าน Uber ก็อาจต่ำลงด้วย

9. รับเงินเดือนเป็น Libra

เป้าหมายใหญ่ของบริษัทคือการผลักดันให้ Libra เป็นที่ยอมรับ หากประสบความสำเร็จก็จะมีโอกาสอื่น ในการให้บริการทางการเงินแก่ผู้ที่อยู่ในแพลตฟอร์มธุรกิจของ Facebook และเพื่อให้เป็นไปอย่างคาดหวัง มีรายงานว่า ขณะนี้ Facebook เสนอให้พนักงานที่ทำงานกับโครงการ Libra รับเงินเดือนเป็นสกุลเงิน Libra แล้ว

10. แม้ว่า Libra จะไม่ได้ผูกเข้ากับเฟซบุ๊ก เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยข้อมูล

แต่ Libra ถูกมองว่าน่ากังวลเรื่องความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสังคมไร้เงินสด ทั้งกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้สูงวัยคนยากไร้ผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารที่อาจตามไม่ทันในโลกการค้ายุคใหม่ และความเสี่ยงเรื่องการถูกแทรกแซงได้ง่ายจากหลายปัจจัย.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง 

• Disruptor ตัวจริง! แบงก์ จับตา “Libra” กับอนาคตของสกุลเงินโลก?

]]>
1235500
Disruptor ตัวจริง! แบงก์ จับตา “Libra” กับอนาคตของสกุลเงินโลก? https://positioningmag.com/1235337 Wed, 19 Jun 2019 10:48:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235337 หลังจาก Facebook ประกาศเปิดตัว สกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ใหม่ มีชื่อว่า “Libra” โดยจะเปิดใช้ในต้นปีหน้า 2020 โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้ Facebook จำนวน 2 พันล้านคนใช้สกุลเงินใหม่เพื่อซื้อสิ่งของหรือส่งเงินไปต่างประเทศเป็นประจำ

โปรเจกต์นี้ Facebook ได้ร่วมมือกับพันธมิตรอีก 28 ราย เช่น “วีซ่า” (Visa) และมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) อีเบย์ (eBay), สปอติฟาย (Spotify) และอูเบอร์ (Uber) โดยมีกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชื่อสมาคมลิบรา Libra Association” ซึ่งตั้งอยู่ในเจนีวา ดูแลสกุลเงิน Libra อีกครั้ง

จุดหลักของโครงการ คือการนำสกุลเงินดิจิทัลเวอร์ชั่นใช้ง่าย มาสู่สมาร์ทโฟนทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสามารถโอนเงิน สร้างเครดิต และชำระค่าใช้จ่ายได้ง่ายแบบไม่มีค่าธรรมเนียมราคาสูง จะช่วยอุดช่องว่างในกลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร

นอกจากนี้ Libra ยังสร้างขึ้นจากเทคโนโลยีโอเพนซอร์ส เพื่อที่จะทำให้บริษัทหรือบุคคลใดก็สามารถสร้างธุรกิจที่เข้ากับกรอบการทำงานของเงิน Libra ได้เสรี โดย Facebook มีแผนจะให้บริการทางการเงินอื่นร่วมด้วย เช่นให้บริการสินเชื่อกู้ยืมผ่านบริการในเครือ

ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ของไทย มองว่า Libra ได้ส่งผลสะเทือนถึงสถาบันการเงินทั่วทั้งโลกและเป็นที่จับตามองของธนาคารกลางทั่วโลก

ศรชัย สุเนต์ตา, CFA ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ SCB Investment Advisory, CIO office ระบุว่า แม้ที่ผ่านมาจะมีเงินสกุล Digital เกิดขึ้นมากมายก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่สร้างความแปลกใหม่ได้

“แต่ที่ผมว่าไม่ธรรดาก็คือการก่อกำเนิดขึ้นของ Libra ที่มีFacebook และมีพันธมิตรอีก 27 คนมาจับมือกัน แถมยังเป็นระดับบิ๊กๆ ทั้งนั้น เช่น Visa, MasterCard, Uber, PayPal, Spotify, eBay, Lyft, Vodafone และอีกหลายบริษัททั่วโลก เห็นไหมล่ะแค่การเกิดก็ไม่ธรรมดาแล้ว ยิ่งกว่าเหล่า Avengers ทีมอีกนะ

คำถามต่อมาก็จะเอา Libra Cryptocurrency มาใช้ประโยชน์อะไรกันได้ล่ะ

ที่มาของ Libra เพื่อสร้างให้มีโครงสร้างระบบการเงินขั้นพื้นฐานที่ทุกคนๆ ในโลกนี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายดายทุกคน และจะเป็นระบบทางการเงินที่มีต้นทุนต่อผู้ใช้ที่ถูกที่สุด แถมยังมีความปลอดภัยสูงสุดเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เท่าที่เทคโนโลยีวันนี้จะมีได้ เช่นใช้ Technology Blockchain มาเป็นตัวกลาง

ส่งผลให้ทุกๆ คนบนโลกไม่จำเป็นต้องพกเงินสดเงินกระดาษ ที่อาจจะหาย ถูกขโมย หรือก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยหากพกพาติดตัวตลอดเวลา

ยังเข้าถึงคนบนโลกนี้อีกมากมายหลายพันล้านคน ที่ไม่เคยเข้าถึงการเบิดบัญชีกับสถาบันการเงินได้เลย สามารถเข้าถึงระบบทางการเงินนี้ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถืออยู่ในมือ ว่ากันว่าบนโลกเรายังมีคนอีกหลายพันล้านคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือแต่ยังไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ และไม่เคยใช้ธุรกรรมทางการเงินใดๆ เลยกับธนาคาร

การโอนเงินให้เพื่อน ญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ต่างประเทศจะทำได้อย่างง่ายดาย รวดเร็วเงินถึงผู้รับได้ทันทีที่กดโทรศัพท์มือถือ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือถ้าจะมีก็ถูกมาก โดยเราไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการโอนเงิน หรือไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมจากอัตราแลกเปลี่ยนใดๆ ให้เราต้องลุ้นว่าแพงไหม เช่นวันนี้ ราคาซื้อ ขายเงินตราต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 3-5% ที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคาร และค่าโอนเงินก็เช่นเดียวกัน ได้แก่ โอนเงินผ่านระบบ Swift ของธนาคารจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 ถึง 1,500 บาท ที่ผู้โอนจะต้องจ่าย

นอกจากนั้นผู้รับโอนเงินปลายทางก็ต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารปลายทางอีกด้วย เช่นอีก 400-500 บาทต่อรายการ ถ้าคิดเลขแบบง่ายๆ โอนเงิน 1 แสนบาท หักไปหักมา เหลือถึงผู้รับ เพียง 93,000 บาท

ในขณะที่ใช้ระบบ Digital Money Transfer อาจะไม่ต้องเสียอะไรเลย หรือเสียน้อยมากๆ ก็ได้ ดังนั้นผลดีคือ ผู้รับปลายทางน่าจะได้รับเงินแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ต่อไปการเดินทางไปต่างประเทศหรือการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ สามารถทำได้โดยใช้สกุลเงินเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องแลกเงินหรือถือเงินสด หรือไม่จำต้องใช้บัตรเครดิตที่จะมีค่าธรรมเนียมที่แพงอยู่ เช่นอัตราแลกเปลี่ยนเป็นต้น การเดินทางขึ้นรถ หรือการเดินทางโดยรถสาธารณะ การจ่ายค่ากาแฟ ต่างๆ ก็สามารถจ่ายผ่าน Digital Wallet ที่เก็บเงิน Digital ไว้ผ่านโทรศัพท์มือถือของเราอย่างง่ายดาย ไม่ว่าใครที่สามารถเข้าถึง Internet ได้ก็สามารถใช้ระบบการเงินใหม่นี้ได้ด้วยเช่นกัน

แล้วถามว่า เงิน Digital สกุลนี้จะน่าเชื่อถือหรือไม่?

Cryptocurrency โดยทั่วไปจะถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่มีสินทรัพย์อะไรมาสำรอง Backup เงินสกุลเหล่านั้นอยู่ข้างหลัง ดังนั้นที่ผ่านมาเราจะเห็นเงิน Cryptocurrency ผันผวนได้อย่างมาก ง่ายต่อการนำมาเก็งกำไร เพราะมูลค่าที่แท้จริงยังยากต่อการค้นหา แต่คนสร้างเงินสกุล LIBRA ว่ากันว่า จะมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมา อาจจะเป็นเงินสกุลต่างๆ Fiat Money Bank Deposits Government Securities เป็นสิ่งที่สำรอง Backup ค่าเงิน Digital นี้ให้มีความมั่นคงน่าเชื่อถือ แบบนี้ก็จะเหมือนกับสมัยก่อน ที่เงินดอลลาร์จะถูก Backup สำรองโดยมีทองคำกันเอาไว้ข้างหลังจึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์ได้รับความน่าเชื่อถือ และเป็นที่นิยมใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการต่างๆ ในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่นี้ จะเป็น Disruptor ตัวจริงที่มีทั้ง Technology, Resources และ Money สถาบันการเงินทั่วโลกจะต้องปรับตัวให้เร็วมากยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อจะได้ไม่ตกเทรนด์ของภาวะการแข่งขันครับ ดังนั้นควรจับตามองให้ดี

“Libra ไม่ช่วยเรื่องคนไร้บัญชี”

สื่อใหญ่ไฟแนนเชียลไทม์ (Financial Times) หยิบสถิติตอกหน้าเฟซบุ๊ก (Facebook) ระบุว่าคำอ้างเรื่องเงินสกุลใหม่ลิบรา” (Libra) จะช่วยอุตช่องว่างในกลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารนั้นอาจไม่เป็นความจริง เพราะสถิติทางการชี้ว่าเหตุผลหลักของการไม่มีบัญชีในคนกลุ่มนี้คือการมีเงินไม่พอที่จะรักษาบัญชี ทางแก้ปัญหานี้จึงไม่ใช่การสร้างเงินสกุลใหม่ในอินเทอร์เน็ตอย่างที่ Libra ทำ 

นอกจากนี้ Libra ยังถูกมองว่าน่ากังวลเรื่องความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสังคมไร้เงินสด ทั้งกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้สูงวัยคนยากไร้ผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารที่อาจตามไม่ทันในโลกการค้ายุคใหม่ และความเสี่ยงเรื่องการถูกแทรกแซงได้ง่ายจากหลายปัจจัย 

ไม่ว่าโลกจะสงสัยในเงินสกุล Libra เพียงใด แต่ยักษ์ใหญ่บริการสตรีมมิ่งอย่างสปอติฟาย (Spotify) ซึ่งขานรับร่วมเป็นพันธมิตรในสมาคม Libra Association เชื่อว่าเงินดิจิทัลจะช่วยกระตุ้นฐานบริการสมาชิกได้ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าใหม่

สำหรับ Libra เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ Facebook วางแผนให้บริการอย่างเป็นทางการในปีหน้า (2020) เชื่อว่าผู้ใช้ Facebook จำนวน 2 พันล้านคนจะใช้สกุลเงินใหม่เพื่อซื้อสิ่งของหรือส่งเงินไปต่างประเทศเป็นประจำ

การสำรวจของสถาบันประกันเงินฝากแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ FDIC (Federal Deposit Insurance Corporation) เมื่อปี 2017 ระบุชัดว่าเหตุผลใหญ่ที่ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่มีบัญชีธนาคาร คือการไม่มีเงินมากพอที่จะรักษาบัญชี

การสำรวจของสถาบันประกันเงินฝากแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ FDIC (Federal Deposit Insurance Corporation) เมื่อปี 2017 ระบุชัดว่าเหตุผลใหญ่ที่ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่มีบัญชีธนาคาร คือการไม่มีเงินมากพอที่จะรักษาบัญชี


สถิติในสหรัฐฯ ชี้ว่า 34% ของผู้ไม่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารให้เหตุผลว่ามีเงินไม่พอ ขณะที่ 15.6% ระบุว่าไม่ทราบ อีก 12.6% ระบุว่าไม่ไว้วางใจธนาคาร ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า Facebook กำลังจัดการกับปัญหาแบบไม่ตรงจุด เพราะปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้โดยการใส่บัญชีธนาคารบนอินเทอร์เน็ต การสร้างเงินสกุลใหม่จึงอาจไม่ตอบโจทย์ปัญหานี้

ที่สำคัญ การสำรวจพบว่ากลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือมีบัญชีธนาคารแต่ยังใช้บริการกู้รายวันแล้วยอมเสียค่าดอกเบี้ยสูงมหาโหดนั้นเริ่มลดจำนวนลง เฉพาะในสหรัฐฯ ตัวเลขนี้เริ่มลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2011 คาดว่าแนวโน้มนี้จะเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เป็นผลที่ตามมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลายปี.

]]>
1235337