MRDA – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 26 Jul 2019 09:06:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตาศึกจัดทำเรตติ้งทีวี “สมาคมทีวีดิจิทัล” องค์กรกลางรับเงิน กสทช. 431 ล้าน วางเงื่อนไขเคาะเลือกรายใหม่ https://positioningmag.com/1240456 Thu, 25 Jul 2019 13:10:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240456 อีกมาตรการแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44  คือแนวทางสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งทีวี โดย กสทช. เตรียมจัดสรรเงินงบประมาณ 431 ล้านบาท ให้กับองค์กรกลางที่มีทีวีดิจิทัลเป็นสมาชิกเป็นผู้ตัดสินใจเลือกนำเงินไปว่าจ้างบริษัทจัดทำเรตติ้งทีวีใหม่ โดยทุกขั้นตอนจะสรุปในเดือน ..นี้

วันนี้ (25 ก.ค.) สำนักงาน กสทช. เชิญผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสื่อและใช้ข้อมูลเรตติ้งทีวี ทั้งทีวิดีจิทัล สมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย ผู้จัดทำเรตติ้งในประเทศไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์ผู้ซื้อสื่อโฆษณา มีเดีย เอเยนซี ผู้ผลิตคอนเทนต์ มาหารือแนวทางการจัดทำเรตติ้งทีวี

พร้อมทั้งให้ผู้เสนอตัวจัดทำระบบเรตติ้ง 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด หรือ PSI ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียม, เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดทำเรตติ้งทีวีปัจจุบัน และสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA มานำเสนอระบบจัดทำเรตติ้ง ให้คณะกรรมการเยียวยาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสื่อ ศึกษาระบบจัดทำเรตติ้งของแต่ละราย

“สมาคมทีวีดิจิทัล”คนเคาะเลือกผู้จัดทำเรตติ้ง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 กำหนดให้ กสทช.เป็นผู้จัดเงินสนับสนุนทีวีดิจิทัลจัดทำระบบเรตติ้ง ซึ่ง กสทช. กำหนดเบื้องต้นไว้ 431 ล้านบาท โดยอาจน้อยกว่านี้ได้ แต่จะไม่มากไปกว่านี้

ขั้นตอนการ “จ่ายเงิน” สนับสนุน 431 ล้านบาท กสทช.จะจ่ายผ่าน “องค์กรกลาง” ที่ทีวีดิจิทัลเป็นสมาชิกและจัดตั้งมา 5 ปีขึ้นไป ปัจจุบันองค์กรกลางที่เข้าหลักเกณฑ์ คือ สมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย หลังจากองค์กรกลางเลือกบริษัทที่จะว่าจ้างจัดทำเรตติ้งแล้ว กสทช.จะจ่ายเงินสนับสนุน คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในเดือน ต.ค.นี้ โดย กสทช. ยังมีหน้าที่กำกับดูแลการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนต่อไป

สุภาพ คลี่ขจาย

สุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากนี้ สมาคมจะกลับไปหารือกับสมาชิกเพื่อกำหนด “เงื่อนไข” การคัดเลือกบริษัทจัดทำเรตติ้ง เบื้องต้น เงื่อนไขที่วางไว้ คือ ต้องเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร รวมทั้งต้องฟังเสียงจาก “มีเดีย เอเยนซี” ซึ่งเป็นผู้ใช้ข้อมูลและผู้วางแผนใช้เม็ดเงินโฆษณาให้กับเจ้าของสินค้าต่างๆ ด้วย

“การตัดสินใจเลือกผู้จัดทำเรตติ้งที่จะได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช. จะใช้มติเอกฉันท์ของสมาชิก”

“พีเอสไอ” โชว์จุดขายวัดเรตติ้งเรียลไทม์

สำหรับการการนำเสนอระบบเรตติ้งของทั้ง 3 ราย ให้วิธีจับฉลากเลือกลำดับการนำเสนอโดย “พีเอสไอ” เป็นรายแรก ตามด้วย นีลเส็น และ MRDA

สมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ PSI กล่าวว่า พีเอสไอ เป็นเจ้าของโครงข่ายแพลตฟอร์มดาวเทียม เริ่มทำระบบเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียมตั้งแต่ปี 2554 ช่วงแรกติดตั้งซิมมือถือในกล่องทีวีดาวเทียม จำนวน 2,000 ครัวเรือน ที่สามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์

ในยุคทีวีดิจิทัล ปี 2560 พีเอสไอได้อัพเกรดระบบวัดเรตติ้งทีวีดาวเทียมใหม่ ด้วยกล่อง S3 Hybrid ระบบวัดเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียม ที่มีซอฟต์แวร์วัดจำนวนผู้ชมทั้งหน้าจอทีวีคู่กับการรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ทั้ง ไอพีทีวี ยูทูบ รายงานผลผ่านแอปพลิเคชั่น PSI Rating บนมือถือและแท็บเล็ต ที่สามารถรายงานผลได้แบบ “เรียลไทม์” ปัจจุบันมีฐานข้อมูลวัดเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียมจำนวน 1.35 แสนกล่อง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

สินธุ์ เภตรารัตน์

“นีลเส็น” ให้ทีวีดิทัลใช้ฟรี  5 ปี

สินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจมีเดีย นีลเส็น ประเทศไทย เวียดนาม และเมียนมา กล่าวว่า นีลเส็น มีธุรกิจอยู่ทั่วโลกใน 106 ประเทศ มี 56 ประเทศที่นีลเส็นเป็นผู้จัดทำเรตติ้ง รวมทั้งประเทศไทยที่จัดทำระบบเรตติ้งมา 30 ปี ปัจจุบันอุตสาหกรรมโฆษณาทีวีมูลค่า 70,382 ล้านบาทในปี 2561 มีสัดส่วนมาจากบริษัทต่างชาติแบรนด์ระดับโกลบอล 54% ธุรกิจท้องถิ่น 46% ซึ่งบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล แบรนด์ จะใช้ข้อมูลเรตติ้งที่เป็นสากล ในการลงทุนใช้งบโฆษณา

ที่ผ่านมานีลเส็นได้พัฒนาระบบวัดเรตติ้งใหม่มาอย่างต่อเนื่องทั้งจอทีวีและดิจิทัล แพลตฟอร์ม รวมทั้งการวัดเรตติ้งเนื้อหาโฆษณา ซึ่งเป็นการปรับระบบไปตามพฤติกรรมการรับชมชองผู้ชม

หาก กสทช. และสมาคมทีวีดิจิทัล นำเสนอสนับสนุนการจัดทำระบบเรตติ้งใหม่ มาว่าจ้าง “นีลเส็น” เงื่อนไขที่จะนำเสนอคือให้ทีวีดิจิทัลใช้ข้อมูลเรตติ้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 5 ปี  

วรรณี รัตนพล

MRDA ผนึก 5 พันธมิตรชิงจัดทำเรตติ้ง

วรรณี รัตนพล นายกสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA กล่าวว่าสมาคมได้ร่วมขับเคลื่อนการจัดทำระบบเรตติ้งใหม่ให้กับอุตสาหกรรมสื่อทีวีในประเทศไทย ร่วมกับทีวีดิจิทัลและมีเดียเอเยนซี ที่ใช้ข้อมูลเรตติ้งมาตั้งแต่ปี 2557 เนื่องจาก “ไม่แฮปปี้” กับระบบเรตติ้งทีวีเดิม

สำหรับการจัดทำเรตติ้งของ MRDA มีพันธมิตร 5 รายระดับโลก คือ กันตาร์, อินเทจ กรุ๊ป, Mediametrie ทำเรื่อง มิเตอร์เทคโนโลยี, Markdata ดูแลซอฟต์แวร์รายงานผล และ CESP องค์กรตรวจสอบ

โดยจะติดตั้งอุปกรณ์วัดเรตติ้งเครื่องรับชมทีวี 4,500 ชุด จำนวน 3,000 ครัวเรือน และอุปกรณ์วัดเรตติ้งบนอุปกรณ์รับชมที่เป็นสมาร์ทดีไวซ์ ในกลุ่มตัวอย่าง 3,000 คน เพื่อรายงานข้อมูลเรตติ้งทั้งจอทีวีและดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบคู่ขนาน โดยจะใช้เวลาติดตั้งอุปกรณ์ 12-15 เดือน และเริ่มรายงานข้อมูลเรตติ้งได้ในเดือน ม.ค. 2564

MRDA เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ข้อมูลเรตติ้งที่จัดทำจะแบ่งปันให้องค์กรสาธารณะอื่นๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษานำไปใช้ประโยชน์”

ประวิทย์ มาลีนนท์

อดีตบิ๊กช่อง 3 ชงของบเพิ่ม

หลังจากผู้จัดทำเรตติ้งทั้ง 3 รายได้นำเสนอระบบการจัดทำเรตติ้งแล้ว มีความเห็นจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทีวี โดย ประวิทย์ มาลีนนท์ อดีตกรรมการผู้จัดการ ช่อง 3  บอกว่า ปัจจุบันรายได้โฆษณาทีวีลดลงเหลือ 1 ใน 3 โดยกระจายไปยังสื่อใหม่ และผู้ประกอบการทีวีในปัจจุบันมีรายได้ลดลง จึงมองว่าทีวีดิจิทัลไม่ควรต้องเป็นผู้จ่ายเงินซื้อเรตติ้งเหมือนที่ผ่านมา และขอเสนอให้ กสทช.พิจารณางบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม จากที่เตรียมมอบให้ 431 ล้านบาท

ระยะเวลาใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่ยังเหลืออีก 10 ปี และจำนวนช่องที่เหลืออยู่ คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณจัดทำเรตติ้งราว 1,200 ล้านบาท หรือปีละ 120 ล้านบาท จึงเสนอให้ กสทช.สนับสนุนเพิ่มเติมอีก 800 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งจนจบอายุใบอนุญาต

พัฒนพงค์ หนูพันธ์

ขณะที่ พัฒนพงค์ หนูพันธ์ ผู้บริหาร ช่อง 7 กล่าวว่า ต้องการให้ กสทช.พิจารณาสนับสนุนงบจัดทำเรตติ้งให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และอุตสาหกรรมควรพิจารณาเลือกบริษัทที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว.

]]>
1240456
จับตา ทีวีเรตติ้ง MRDA VS นีลเส็น กสทช.จะเลือกใคร https://positioningmag.com/1227663 Wed, 01 May 2019 02:55:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1227663 มาตรการปลดล็อกทีวีดิจิทัล ตามคำสั่ง คสช.ล่าสุดนั้น ประเด็นการจัดสรรเงิน 431 ล้านบาท ค่าทำเรตติ้งทีวีดิจิทัล เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าจับตามองมากว่า กสทช.จะจัดสรรอย่างไรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดกับวงการทีวีดิจิทัลทั้งระบบได้อย่างแท้จริง

ที่สำคัญการตัดสินของ กสทช.จะทำให้ธุรกิจการวัดเรตติ้งพลิกโฉมหน้าไปด้วยหรือไม่ เป็นเรื่องน่าติดตาม

ปัจจุบันระบบการจัดทำเรตติ้งของฟรีทีวีทั้งระบบ มีนีลเส็นเป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว มาตั้งแต่ปี 2515 เริ่มต้นในชื่อบริษัท ดีมาร์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น “นีลเส็น” เมื่อปี 2541

จากที่มีการวัดเรตติ้งฟรีทีวีอยู่เพียงรายเดียวเป็นเวลานาน ทำให้เกิดมีคำถามว่า ระบบการวัดเรตติ้งมีความแม่นยำมากน้อยขนาดไหน ในช่วงที่ฟรีทีวีในประเทศที่มีเพียงแค่ 6 ช่อง นีลเส็นถูกตั้งคำถามจากช่อง 3 มาตลอด และไม่ยอมรับในผลเรตติ้งที่ออกมา เพราะรู้สึกว่าไม่ตรงกับกระแสของคนดู จนนำไปสู่การตัดสินใจไม่ซื้อเรตติ้งของนีลเส็นอยู่หลายปี และเป็นที่มาของความพยายามในการหาผู้วัดเรตติ้งรายใหม่

ไอทีวี เองก็เคยพยายามหาผู้วัดเรตติ้งรายใหม่มาแข่งขันกับนีลเส็น ถึงกับพาสื่อมวลชนไปดูติดตั้งกล่องที่ใช้วัดผลถึงบ้านกลุ่มตัวอย่าง จนในปี 2546 มีการรวมตัวในกลุ่มคนวงการโฆษณา ทีวี และผู้ผลิตรายการทีวี ในนาม คณะกรรมการร่วมอุตสาหกรรมโฆษณา Joint Industry Committee (JIC) เปิดประมูลผู้ทำเรตติ้งรายใหม่ แต่ก็ได้ นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ซ รายเดิม แต่ใช้ชื่อใหม่กลับเข้ามาอีกครั้ง

ในปี 2558 สมาคมมีเดียเอเจนซี่และธุรกิจสื่อในประเทศไทย (MAAT) ต้องการให้มีการวัดเรตติ้งขึ้นใหม่ จากการที่มีทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น และรองรับการชมแบบมัลติสกรี จึงจัดตั้งหน่วยงาน Media Research Bereau ( MRB) ที่ภายหลังเปลี่ยนเป็นสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (MRDA) เพื่อเปิดประมูลจัดทำเรตติ้ง โดยมี 3 บริษัทเข้าร่วม คือ จีเอฟเค, วีดีโอ รีเสิร์ช และกันตาร์ มีเดีย โดย “กันตาร์ มีเดีย” เป็นผู้ชนะประมูล

แม้จะได้ผู้ชนะมา แต่ช่องทีวีอย่างช่อง 7 และช่อง 8 ไม่อนุมัติเข้าร่วมซื้อเรตติ้งใหม่ ต้องการใช้เรตติ้งของนีลเส็นต่อไป

นอกจากนี้ การประมูลในครั้งนั้น “นีลเส็น” ไม่ได้เข้าร่วมด้วย โดยมีกระแสข่าวว่าเป็นเพราะ  MAAT ได้กำหนดเงื่อนไขว่า หากนีลเส็นแพ้ประมูล จะต้องยอมออกจากธุรกิจนี้จากประเทศไทยทันที เพราะ MAAT ต้องการให้มีระบบการวัดเรตติ้งในประเทศไทยเพียงรายเดียวเช่นกัน

แต่ในที่สุด MRDA ได้ยกเลิกสัญญาที่ทำกับกันตาร์ มีเดียเพราะหาสมาชิกลงขันร่วมจ่ายเงินไม่ได้ตามเป้าหมาย อีกทั้งยังเจอปัญหาที่ กสทช.ไม่สามารถจัดสรรเงินกองทุน กสทช.มาจัดสรรให้ได้ตามที่มีการร้องขอ กสทช.ให้เหตุผลว่า การทำทีวีเรตติ้ง ไม่ได้เป็นไปตามวัตุประสงค์การใช้จ่ายเงินของกองทุน เนื่องจากเป็นการดำเนินการของภาคเอกชน

แต่แล้วความหวังของ MRDA ก็ถูกจุดประกายขึ้นอีกครั้ง หลังจากคำสั่ง คสช. ปลดล็อกทีวีดิจิทัล พร้อมกับมีมติให้จัดสรรเงิน 431 ล้านบาท ค่าทำเรตติ้งทีวีดิจิทัล เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าจับตามองมากว่า กสทช.จะจัดสรรอย่างไรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ากับบวงการทีวีดิจิทัลทั้งระบบได้อย่างแท้จริง

โดย กสทช.ได้ตั้ง คณะทำงานขึ้นมา ให้มีหน้าที่ศึกษาและพิจารณาจัดสรรเงิน ตลอดจนดำเนินการใดๆ เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางเกี่ยวกับการสำรวจเรตติ้ง โดยเป็นการนำเงินจากกองทุน กสทช.มาจ่ายให้ตามคำสั่ง คสช. และ กสทช.จะร่วมมือกับ สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย) ในการจัดสรรงบดังกล่าว

ทำให้ MRDA ที่ได้เคยทำข้อเสนอถึง กสทช.ของบประมาณ 431 ล้านบาทในการทำเรตติ้งรายใหม่ของประเทศ จึงกลายเป็น “ตัวเต็ง” ที่คาดว่าได้รับเงินสนับสนุน เพราะผลักดันเรื่องนี้มานาน ซึ่ง MRDA ก็ได้เตรียมในการเดินหน้าคัดเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่วัดเรตติ้งแล้ว

แต่คณะทำงานยังไม่ได้สรุปว่าจะจัดสรรเงินอย่างไร เพราะมีหลายวิธี ตั้งแต่ กสทช.จัดสรรงบให้ MRDA โดยตรง, หรือ อนุมัติเงินให้กับสมาคมทีวีดิจิทัลในฐานะคนกลาง ไปทำการจัดสรรเอง หรือจัดเปิดประกวดราคา เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด และสุ่มเสี่ยงน้อยสุด

หรืออาจเปิดให้มีผู้จัดทำเรตติ้งมากกว่า 1 ราย เพราะในประเทศ อาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย และในระดับเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ ที่มีผู้ทำเรตติ้งมากกว่า 1 ราย ข้อดี คือ เกิดการเปรียบเทียบ ดังนั้น ต่างฝ่ายต้องสร้างจุดเด่นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งานให้มากที่สุด แต่ข้อเสีย หากเรตติ้งทั้งสองระบบมีความแตกต่างกันมาก เปรียบได้กับการที่ประเทศมีระบบเงินตรา 2 หน่วย อาจจะเกิดความโกลาหลให้มีการทุ่มเถียงไม่น้อยในวงการทีวี

ในแวดวงทีวีดิจิทัล มองว่า ข้อมูลเรตติ้งมีความสำคัญต่อทั้งอุตสาหกรรมทีวี เอเจนซี่โฆษณา เจ้าของสินค้าทั้งระบบ ด้วยมูลค่าโฆษณาทางทีวีกว่าปีละ 6 หมื่นล้านบาท ที่ใช้อ้างอิงกันทั้งวงการ ทำอย่างไรให้มั่นใจได้ว่า จะได้ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวจริงและมีความเที่ยงธรรม มาจัดทำระบบและออกมาเป็นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานให้กับทั้งวงการด้วย

ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลรายหนึ่งให้ความเห็นว่า หากล้มระบบเดิม สร้างระบบใหม่ เท่ากับว่า ฐานข้อมูลในอดีตทั้งหมด อาจจะนำมาใช้ประเมินผลงานรายการทีวีต่างๆ ที่กำลังออกอากาศไม่ได้อีกต่อไป ทุกอย่างต้องเริ่มใหม่หมด และจะมั่นใจได้อย่างไรว่ารายใหม่จะทำได้ดีกว่ารายเดิม

แต่หากเลือกใช้รายเดิม นีลเส็นเองก็ต้องปรับตัวให้ทันกับข้อเรียกร้อง ทั้งการเพิ่มกลุ่มตัวอย่าง และต้องรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคดูแบบมัลติสกรีนซึ่งต้องใช้กลุ่มตัวอย่างเดียวกันทั้งทีวีและออนไลน์ (Single Source) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับคณะทำงานของ กสทช. จะมีแนวทางในการจัดสรรเงินอย่างไร

การวัดเรตติ้งของไทยจะเปลี่ยนไปในรูปแบบไหน จะเปลี่ยนจาก นีลเส็น ที่ผูกขาดธุรกิจนี้มากเกือบ 40 ปี หรือจะไปอยู่ในมือรายใหม่ MRDA หรือจะได้ทำทั้งสองราย ต้องติดตาม.

]]>
1227663
ม.44 จุดเปลี่ยน “เรตติ้ง” ทีวีไทย ในมือ MRDA https://positioningmag.com/1225820 Mon, 22 Apr 2019 22:55:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1225820 ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ในการก้าวมาถึงจุดเริ่มต้น การจัดทำ “เรตติ้ง” ทีวีไทย ในนาม MRDA องค์กรกลางที่ทีวีดิจิทัลจัดตั้งขึ้นมาดูแลการทำเรตติ้ง “มัลติสกรีน” หลังจากมีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมาสนับสนุนการจัดทำเรตติ้ง โดย กสทช. เตรียมจัดสรรเงินประเดิม 431 ล้านบาท ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในรอบกว่า 30 ปี

แม้มีความพยายามจัดทำเรตติ้งทีวีใหม่ตั้งแต่ปี 2557 จากความร่วมมือของมีเดีย เอเยนซีและผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ในนามสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA แต่ก็ต้องสะดุดจากการขาดแหล่งเงินทุนในช่วง Set Up ระบบ ด้วยทีวีดิจิทัลหลายช่องยังไม่มีความสามารถในการจ่ายเงินสนับสนุนในช่วงเริ่มต้นที่ต้องใช้เวลาวางระบบและรอตัวเลขเรตติ้งอีก 1 ปี เพราะมีภาระต้องจ่ายเงินซื้อข้อมูลเรตติ้งปัจจุบันกับนีลเส็น การจ่ายเงิน 2 ทางจึงเป็นภาระหนักของทีวีดิจิทัลในขณะนั้น

ทางออกคือหาเงินทุนมาช่วยในช่วงเริ่มต้น MRDA ใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการของบประมาณสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งจาก กสทช. กระทั่งล่าสุด คำสั่ง คสช. มาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหากิจการโทรคมนาคมและทีวีดิจิทัล ระบุไว้ใน ข้อ 14 ว่ากรณีทีวีดิจิทัลมีการรวมตัวเพื่อจัดตั้งองค์กรกลางเกี่ยวกับการสำรวจความนิยมช่องทางการโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล โดยให้สำนักงาน กสทช. จัดสรรเงินจำนวนหนึ่งสำหรับใช้ดำเนินการ

กสทช. เคาะงบหนุนเรตติ้ง 431 ล้าน

จากคำสั่ง มาตรา 44 ดังกล่าว ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้ชี้แจงงบประมาณสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งให้กับอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ด้วยการจัดสรรเงินประเดิมจำนวน 431 ล้านบาท

สุภาพ คลี่ขจาย

โดย สุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้ร่วมกับ MRDA ขับเคลื่อนการทำเรตติ้งทีวีใหม่ รูปแบบ Multi Screen Rating เพื่อสำรวจผู้ชมทั้งจอทีวี, มือถือแท็บเล็ตพีซี ตามพฤติกรรมผู้ชมทีวีปัจจุบันที่ดูผ่านหลายอุปกรณ์ พร้อมกับเสนอของบประมาณจาก สำนักงาน กสทช. ผ่านกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อสนับสนุนงบประมาณจัดทำเรตติ้งในช่วงเริ่มต้น ล่าสุดได้กำหนดไว้ในคำสั่ง คสช. มาตรา 44 หลังจากนี้ สมาคมฯ และ MRDA จะประชุมสรุปแนวทางการจัดทำเรตติ้งใหม่อีกครั้ง ตามหลักเกณฑ์ที่คณะทำงาน กสทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลเรื่องนี้

MRDA จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ทำเรตติ้ง

ขณะที่ วรรณี รัตนพล นายกสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA กล่าวว่าหลังจาก “กันตาร์ มีเดีย” ยกเลิกสัญญาทำเรตติ้งกับ MRDA ในเดือนกันยายน 2560 ก็ได้เดินหน้าหาพันธมิตรที่จะมาจัดทำระบบเรตติ้งใหม่ จากเดิมที่มี “กันตาร์ มีเดีย” รายเดียว ได้ปรับรูปแบบใหม่มีพาร์ตเนอร์ที่จะมาทำงานร่วมกัน 5 ราย 

ประกอบด้วย 1.บริษัทที่ทำสำรวจกลุ่มตัวอย่างพื้นฐาน (establishment survey) จำนวน 30,000 ตัวอย่าง 2.บริษัทที่ดูแล Panel Management จำนวน 3,000 ตัวอย่าง 3.บริษัทที่ดูแลด้านมิเตอร์ เทคโนโลยี จากต่างประเทศ 4.บริษัทที่ดูแลซอฟต์แวร์ จากต่างประเทศ และ 5. CESP จากฝรั่งเศส องค์กรตรวจสอบ (Audit) การจัดทำข้อมูลเรตติ้งที่มีมาตรฐานระดับโลก

ที่มา pixabay

ปัจจุบันการจัดทำเรตติ้งทีวีทั่วโลก หากไม่ใช้เรตติ้งของ 4 บริษัท คือ นีลเส็น, กันตาร์ มีเดีย, จีเอฟเค และวิดีโอรีเสิร์ช ก็จะแยกการทำงานเป็นส่วนๆ และทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์หลายรายในรูปแบบเดียวกับที่ MRDA กำลังดำเนินการ ในภูมิภาคนี้ก็มีที่ อินเดีย สิงคโปร์

หลังจากได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช. จะเริ่มกระบวนการได้ทันที โดยใช้เวลา 1 ปี  ก่อนจะเริ่มรายงานข้อมูลเรตติ้งส่งให้กับสมาชิกทีวีดิจิทัลและเอเยนซีที่ร่วมลงขันจ่ายเงิน เพื่อซื้อเรตติ้ง

วรรณี ย้ำว่า MRDA เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร หากมีสมาชิกจำนวนมากขึ้นมาช่วยจ่ายเงินซื้อข้อมูลเรตติ้ง จะทำให้ค่าใช้จ่ายต่อรายจะลดลง ปัจจุบันกำลังติดต่อช่องทีวีจากต่างประเทศในแพลตฟอร์มดิจิทัล เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมา Audit เรตติ้ง ซึ่งจะทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ และยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ

MRDA ทำเพื่ออุตสาหกรรมสื่อและเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร การจัดทำเรตติ้งใหม่ในครั้งนี้ เรากำลังเปลี่ยนประวัติศาสตร์การทำเรตติ้งทีวีในประเทศไทย ในรอบ 30 ปี”

MAAT ใช้เรตติ้งใหม่

ขณะที่ ไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวว่า ปัจจุบัน MRDA เป็นองค์กรอิสระที่จะดูแลการทำเรตติ้งทีวีในประเทศไทย โดย MAAT จะรับรองข้อมูลเรตติ้ง และสมาชิกมีเดีย เอเยนซี จะใช้อ้างอิงตัวเลขในการวางแผนสื่อ

ไตรลุจน์ นวะมะรัตน

การทำเรตติ้งใหม่จะเป็นรูปแบบ “มัลติสกรีน” จากจอทีวีและการชมทีวีผ่านสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ รวมเป็นฐานข้อมูลเรตติ้งเดียวกัน โดยสมาชิกที่ซื้อเรตติ้งจะได้ข้อมูลจากออฟไลน์และออนไลน์เป็นชุดเดียวกันโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม คาดว่า MRDA จะเริ่มกระบวนการทำเรตติ้งปลายปี 2562 และใช้เวลา 1 ปีในการเก็บข้อมูลก่อนใช้ได้จริงในปี 2563

ในฝั่งทีวีดิจิทัล สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารช่อง “พีพีทีวี” มองว่า การจัดทำระบบเรตติ้งใหม่รูปแบบ “มัลติสกรีน” ที่ MRDA จะดำเนินการเป็นการวัดจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน (Single Source) ที่จะทำให้เห็นพฤติกรรมผู้ชมได้ชัดเจนว่าดูทีวีผ่านช่องทางใด เป็นเวลาเท่าไหร่ ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมการดูทีวีในยุคนี้และเทคโนโลยีในการรับชม จะทำให้รู้ว่าคนนิยมดูทีวีผ่านอุปกรณ์ใด เพื่อปรับรูปแบบการนำเสนอและพัฒนารายการที่เหมาะกับผู้ชม ทำให้ทีวีดิจิทัลมีข้อมูลที่แม่นยำและส่งผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมทีวีในยุคดิจิทัล

จับตา “ช่อง 7-นีลเส็น”

แม้จะมีความชัดเจนการสนับสนุนงบประมาณจัดทำเรตติ้งใหม่จาก กสทช. แต่ยังต้องจับตาความเคลื่อนไหวของทีวีดิจิทัล “ช่อง 7” ที่ปัจจุบันยังคงจุดยืนไม่ร่วมเป็นสมาชิก MRDA เพื่อใช้เรตติ้งใหม่ รวมทั้ง “ช่อง 8” ที่ยังไม่เข้าร่วมกับ MRDA ว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อไป

เช่นเดียวกันกับ “นีลเส็น” ผู้จัดทำเรตติ้งทีวีในประเทศไทยมากกว่า 30 ปี ที่ผ่านมานีลเส็นมีการพัฒนาระบบวัดเรตติ้งมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเดือนมิถุนายน 2559 ได้เพิ่มกลุ่มตัวอย่างจาก 2,000 ครัวเรือนเป็น 3,000 ครัวเรือน

ปี 2560 ได้จัดทำ “เรตติ้ง มัลติสกรีน” หรือ Digital Content Ratings (DCR) ปัจจุบันมีทีวีดิจิทัล 3 ช่องใช้บริการอยู่ คือ ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ และไทยรัฐทีวี

หากประเมินความเชี่ยวชาญและความพร้อมในการทำเรตติ้งทีวี “มัลติสกรีน” วันนี้ และสามารถใช้รีพอร์ตได้ทันที “นีลเส็น” ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุด

แต่การเลือกใช้บริการวัดเรตติ้งหลังจากนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับผู้ได้รับใบอนุญาต “ทีวีดิจิทัล” เป็นผู้ตัดสินว่าจะให้องค์กรกลางที่จัดตั้งขึ้น ทำงานด้านเรตติ้งกับใคร.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1225820
MRDA เดินหน้าดัน “กันตาร์” วัดเรตติ้ง มีเดียเอเยนซี่เข้าร่วมแล้ว 95% https://positioningmag.com/1098338 Wed, 27 Jul 2016 11:55:22 +0000 http://positioningmag.com/?p=1098338 หลังจากที่ทางสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA ได้เซ็นสัญญามอบหมายให้ บริษัท กันตาร์มีเดีย เป็นผู้ดำเนินการทำวิจัยวัดเรตติ้งในทุกๆ แพลตฟอร์ม (Multi Screen Rating) ทั้งโทรทัศน์ มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เป็นต้น โดยคาดว่าผลการวิจัยจะได้ใช้อย่างเป็นทางการช่วงไตรมาส 3 ของปี 2560

ล่าสุดได้มีการอัพเดตความคืบหน้าของการเข้าร่วมสมาคมของกลุ่มผู้ประกอบการสื่อ ตอนนี้มีกลุ่มมีเดียเอเยนซี่เข้าร่วมอย่างเป็นทางการแล้ว 21 ราย หรือคิดเป็น 95% ของผู้ซื้อข้อมูลในตลาด ขาดเพียงแค่มีเดียเอเยนซี่โลคอลเพียง 3 รายเท่านั้น 

2_mrda

ส่วนของผู้ประกอบการทีวี ทีวีดิจิทัล และเคเบิลทีวีได้เข้าร่วมอย่างเป็นทางการ 14 ข่อง ยังขาดช่องของกลุ่มทรู แกรมมี่ พีพีทีวี ช่อง 5 ไทยพีบีเอส ที่รอเซ็นสัญญาเพราะยังติดขัดเรื่องกฎหมาย รวมถึงช่องโมโนที่ยอมจ่ายแบบพรีเมี่ยมในราคาสูงกว่า

1_mrda

และทางสมาคมยังได้ปรับโมเดลเป็นหุ้นส่วนกันโดยที่ทาง MRDA 70% และทางกันตาร์มีเดีย 30% เป็นลักษณะของการหารายได้เพื่อใช้สำหรับการวิจัย ทางสมาคมหารายได้ 70% ที่มาจากสมาชิก และอีก 30% ของทางกันตาร์สามารถนำข้อมูลไปขายให้กับผู้ประกอบการช่อง หรือรายการอื่นๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในเรื่องค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิก

วรรณี รัตนพล อุปนายกสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) กล่าวว่าการปรับโมเดลให้เป็นหุ้นส่วนกันเหมือนเป็นการช่วยกันหารายได้ แบ่งกัน 70 : 30 เพื่อลดความเสี่ยงให้กับสมาชิก ถ้าหารายได้ได้เยอะ หรือได้เกินจากค่าใช้จ่ายที่ตั้งไว้ ก็จะมีการหารคืนให้สมาชิก ทำให้สมาชิกจ่ายเงินน้อยลง หรือถ้าได้เงินสนับสนุนจาก กสทช.ก็ยิ่งลดค่าใช้จ่ายลงไปอีก

กันตาร์สามารถนำข้อมูลวิจัยไปขายให้กับช่องที่ไม่ได้เข้าร่วมสมาชิกได้ แต่ต้องขายในราคาเท่ากัน ซึ่งโมเดลนี้ทางกันตาร์เคยใช้ที่ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ทำให้กันตาร์มั่นใจว่าสามารถหารายได้เพิ่มได้

info_mrda_new

]]>
1098338
มาดูสัญญาวิจัยเรทติ้งทีวี ระหว่าง MRDA และ กันตาร์มีเดีย https://positioningmag.com/62075 Mon, 28 Dec 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62075
]]>
62075
MRDA ควงคู่กันตาร์ ชิงผู้วัดเรตติ้งทีวี เขย่าบัลลังก์นีลเส็น พลิกโฉมหน้าโฆษณา https://positioningmag.com/62031 Thu, 17 Dec 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62031

เขย่าเรตติ้งทีวี ! หลังการเซ็นสัญญาระหว่าง MRDA และกันตาร์ มีเดีย มีขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่จะพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมโฆษณาครั้งสำคัญ แต่ส่งผลให้บัลลังก์ของนีลเส็นต้องสั่นสะเทือน

หลังจากที่มีความพยายามในการผลักดันให้มีผู้วิจัยเรตติ้งคนดูทีวีรายใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่รายเดิมที่ครองตลาดมายาวนานกว่า30 ปี

ในที่สุดการเซ็นสัญญาระหว่างสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ Media Research Development Association (Thailand) หรือ MRDA และบริษัท กันตาร์ มีเดีย ที่ได้รับการเลือกให้เป็นตัวแทนวัดค่านิยม หรือเรตติ้ง วิจัยเรตติ้งทีวี มีขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา 

วรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT)เปิดเผยว่า กันตาร์มีเดียได้ให้การสนับสนุนสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA เข้ามาดำเนินการวัดเรตติ้งในทุกๆ แพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โดยมีสัญญา 5 ปี

จะเริ่มสำรวจข้อมูลตั้งแต่มกราคม 2016 โดยกันตาร์มีเดียจะต้องทำ Establishment Survey 30,000 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาโครงสร้างตลาด ก่อนจะคัดเลือกกลุ่มบ้านตัวอย่าง 3,000 ครอบครัวทั่วประเทศ ซึ่งประมาณการไว้ว่า จะมีอุปกรณ์เพื่อเสพสื่ออื่นๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตถึง 9,600 คน และยังจะมีการทำวิจัยประจำปีหรือ Annual Establishment Surveyทั่วประเทศจำนวน 20,000 ตัวอย่าง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด รวมทั้งยังต้องปรับกลุ่มบ้านตัวอย่างในเหมาะสมกับกับสภาพตลาด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขายโฆษณา

ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะแสดงเฉพาะสื่อหรือช่องหรือสถานีที่เข้าร่วมสนับสนุนการทำวิจัยเท่านั้น จะเริ่มใช้ข้อมูลได้ในปี 2017

หลังจากที่ข้อมูลการทำวิจัยวัดค่าความนิยมหรือเรตติ้งของสมาคม MRDA แล้วเสร็จ สมาคมมีเดียฯ จะมีการรับรองข้อมูล และใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นมาตรฐานในการกำหนดความนิยมของรายการต่างๆ

โดยข้อมูลเรตติ้งที่ได้มา จะมี CESP ผู้ชำนาญการเรื่องการวัดเรตติ้งจากประเทศฝรั่งเศส เข้ามาตรวจสอบ และผ่านการเห็นชอบของสมาชิกสมาคมมีเดียฯ สมาคมทีวีดิจิตอล (ประเทศไทย)  สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์

โดยการจัดทำเรตติ้งครั้งนี้ ได้สมาชิกเข้าร่วมลงขัน 90 ราย ประกอบไปด้วย ฟรีทีวี 20-1 ช่อง ทีวีสาธารณะ 2 ช่อง ทรูวิชั่นส์ 11 ช่อง ทีวีดาวเทียม 17 ช่อง โฮมชอปปิ้ง 2 ช่อง เคเบิลทีวี 11 ช่อง เอเยนซีโฆษณา 25 ราย ดาวเทียมไทยคม และYoutube

            ต้องนับเป็นความพยายามมายาวนานของ วรรณี  รัตนพล ” นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ที่ต้องการพลิกโฉมหน้าการวัดเรตติ้งทีวีของเมืองไทย ให้มาอยู่ภายใต้กฎและกติกาใหม่

วรรณี ให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมาการวัดเรตติ้งคนดูทีวีไม่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับผู้ชมที่เปลี่ยนไป จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินกว่าขนาดของคนดู การตรวจสอบทำได้ยาก และไม่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง จากการมีทีวีดิจิตอลเกิดขึ้นอีก 21 ช่อง บวกกับพฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไปเสพสื่อหลายช่องทาง (Multi Screen)

มาครั้งนี้ เธอจึงใช้วิธีหาแนวร่วมที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้มากที่สุด และได้เริ่มจัดตั้งสถาบันวิจัยพัฒนาสื่อ (Media Research Bureau) หรือ MRB โดยรวบรวมสมาชิกเป็น ทีวีดิจิตอล เอเยนซีโฆษณา ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี มาร่วมก่อตั้ง จากนั้นได้ประมูลคัดเลือกผู้ที่จะมาวัดเรตติ้ง

เท่ากับเป็นการพลิกโฉมหน้าธุรกิจเรตติ้ง จากเดิมผู้ให้บริการ (นีลเส็น) จะเป็นเจ้าของข้อมูล หากสื่อต่างๆ หรือเอเยนซีต้องการข้อมูลจะต้องจ่ายเพิ่มเป็นกรณีไป แต่ข้อมูลจาก “กันตาร์” สมาคม MRB หรือ MRDA จะเป็นเจ้าของข้อมูล โดยที่สมาชิกที่ร่วมลงขันจะได้ข้อมูลทั้งอุตสาหกรรมไปใช้ โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

นอกจากนี้ ยังมีผู้ตรวจสอบข้อมูลแยกอิสระจากผู้จัดทำงานวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นกลางน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น โดยไม่ได้ทำขึ้นโดยผู้มีส่วนได้เสียกับการวัดผล เช่น ช่องทีวีต่างๆ

            โดยมีผู้มายื่นประมูล 3 ราย ในจำนวนนี้ไม่มีชื่อนีลเส็นเข้าร่วมประมูล โดยนีลเส็นให้เหตุผลว่า สมาคมฯ แจ้งเรื่องกระชั้นชิดเกินไป จึงขออนุมัติจากบริษัทแม่ไม่ทัน

            ผลการคัดเลือกของ MRB ได้บริษัทกันตาร์ มีเดีย จากอังกฤษ มาเป็นผู้ชนะประมูล เซ็นสัญญาเป็นระยะเวลา 5 ปี

            การมีผู้วัดเรตติ้งรายใหม่ ต้องใช้เงินลงทุนสูง เพราะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลคนดูทั่วประเทศ จากนั้นจึงคัดกรองมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง และยังต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์วัดเรตติ้ง ซึ่งต้องใช้เวลา1 ปีเต็มในการดำเนินงานดังกล่าว จึงจะได้ผลเรตติ้งออกมาในปี 2017

โมเดลที่สมาคมฯ วางไว้ คือ การลงขันร่วมกันระหว่างทีวีดิจิตอล เอเยนซีโฆษณา และผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้นยิ่งสมาชิกมากเท่าไหร่ การหารเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของแต่ละรายจะยิ่งต่ำลง คาดว่าจะต้องใช้เงินทุนราว 1,500 ล้านบาท 

เมื่อต้องใช้เงินลงทุนสูง นอกจากจะใช้วิธีให้สมาชิกร่วมกันจ่ายค่า Set up ในปีแรก ซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายกันรายละ 8-9 ล้านบาทในช่วงเริ่มต้น จากนั้นจึงจ่ายค่าข้อมูลเพิ่ม สมาคมฯ ยังได้ยื่นเรื่องไปที่ กสทช. เพื่อขอเงินสนับสนุน 368 ล้านบาท เป็นเงินทุนตั้งต้นในการจัดตั้งระบบการวัดเรตติ้ง และยังเป็นเสมือนการรับรองจากหน่วยงานกลางได้

หลังจากยื่นเรื่องไปได้ไม่นาน นีลเส็น และช่อง 7 ได้ยื่นหนังสือคัดค้าน กสทช.จึงได้ให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณา และได้บทสรุปออกมาว่า กสทช.ไม่อนุมัติเงินให้ MRB เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะหรือผู้บริโภคโดยตรง ตามมาตรา 52 พ.ร.บ.กสทช.

            ทำให้ MRB ดิ้นรนแก้เกมใหม่อีกครั้ง ด้วยการจัดตั้ง สมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ(ประเทศไทย) หรือMedia Research Development Association (Thailand) หรือ MRDA เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ทำหน้าที่เป็นผู้จัดจ้างบริษัททำวิจัยเรตติ้งทีวีใหม่และเป็นเจ้าของงานวิจัยเรตติ้ง และให้ สุภาพ คลี่ขจาย นั่งนายกชั่วคราวสมาคมฯ

            เท่ากับว่า MRDA จะขึ้นมามีบทบาทแทน MRB ทั้งการลงนามเซ็นสัญญากับ กันตาร์ มีเดีย เพื่อเป็นตัวแทนทำหน้าที่วัดเรตติ้ง ในทุกๆ แพลตฟอร์ม ซึ่งวรรณีระบุว่า หลังจากนี้จะมีการยื่นเรื่องไปที่ กสทช.เพื่อของบสนับสนุน 368 ล้านบาทอีกครั้ง

พร้อมกับผลักดันให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมกับ MRDA จะต้องรีบมาเซ็นสัญญาโดยเร็ว เพราะหากมีการชำระค่าจ้างงวดแรกให้กับกันตาร์แล้ว หากต้องการมาร่วมภายหลัง จะต้องจ่ายค่าพรีเมียมเพิ่ม 25%

            แต่ก็ใช่ว่าหนทางของ MRDA จะราบรื่น เมื่อช่อง 8 ของอาร์เอสได้ออกมายืนยันว่าไม่ขอเข้าร่วม MRB โดยให้เหตุผลว่า ค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ต้องจ่ายในปัจจุบัน และยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายช่วงเริ่มต้นโครงการไม่ต่ำกว่า 1 ปี ก่อนจะมีเรตติ้งออกมาให้ใช้ และสัญญาก็ผูกยาวถึง 5 ปี ยังกังวลเรื่องโครงสร้างการจัดการที่ให้ผู้มีส่วนได้เสียจากผลเรตติ้งมาเป็นเจ้าของข้อมูลเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาและความขัดแย้ง นอกจากนี้ นีลเส็นเองก็ยืนยันว่าจะเพิ่มกลุ่มตัวอย่างเป็น 3,000 บ้านในปี 2556 ถือว่าเป็นจำนวนเหมาะสมในการวัดเรตติ้งให้แม่นยำพอ

            ทางด้าน “นีลเส็น” เอง ถึงแม้จะอยู่ในธุรกิจนี้มากว่า 30 ปี เมื่อประเมินแล้วว่าคู่แข่งรอบนี้ไม่ธรรมดา จึงต้องปรับนโยบายใส่เกียร์เดินหน้าเต็มที่ ด้วยการประกาศเพิ่มกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจเรตติ้ง โดยทยอยเพิ่มเป็นระยะ ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ให้สอดรับกับการรับชมที่เปลี่ยนไป เพิ่มกลุ่มตัวอย่างที่เป็นทีวีดิจิตอลมากขึ้น และยังได้วางแผนจะเพิ่มกลุ่มตัวอย่างเป็น 3,000 รายในปีหน้า 

แถมยังยืนยันด้วยว่า ลูกค้าสามารถเลือกซื้อผลเรตติ้งได้เป็นรายปี หรือเป็นราย 6 เดือนก็ได้ ไม่ต้องผูกยาวหลายปี

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา นีลเส็นยังได้ทยอยเปิดตัวบริการใหม่ๆ แบบถี่ยิบ ทั้งร่วมมือกับมายแชร์ และยูนิลีเวอร์ ทดลองสำรวจเรตติ้งโฆษณาแบบมัลติสกรีน และยังจับมือกับเฟซบุ๊กเพื่อเพิ่มกลุ่มตัวอย่างในโลกออนไลน์ให้การวัดแม่นยำมากยิ่งขึ้น

รวมทั้งเดินสายจัดสัมมนา ให้ความรู้เรื่องการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค เทรนด์การใช้สื่อใหม่ๆ ไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่แวดวงสื่อเท่านั้น แต่ยังขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อสร้างแบรนด์ และเรียกความเชื่อมั่น และตอกย้ำให้เห็นว่าถึงพร้อมทั้งเทคโนโลยีและโนว์ฮาว ที่มีมานานของนีลเส็น

นีลเส็น ยังได้ออกมายืนยันการวัดเรตติ้งคนดูแบบ Total Audience Measurement (Multi-Screen Rating) จะเริ่มให้บริการได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2559 เพราะเวลานี้บริษัทแม่ได้ทดลองใช้ในสหรัฐอเมริกา มีผลวิจัยออกมาชัดเจน

และนี่จึงเป็นหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่ช่อง 8 ยังคงยืนยันที่จะเลือกใช้เรตติ้งจากนีลเส็น เช่นเดียวกับช่อง 7 ที่ยังคงเลือกร่วมหัวจมท้ายกับนีลเส็นต่อไป

สำหรับมีเดียแพลนเนอร์อย่างมายด์แชร์ บอกชัดเจนว่า ทุกเอเยนซีในอุตสาหกรรมโฆษณาได้ตกลงใจที่จะร่วมกันใช้ข้อมูลเรตติ้ง ที่สมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อฯ หรือ MRDA เพียงข้อมูลเดียว เพราะถือว่าเป็นมาตรฐานเดียวกันของทั้งอุตสาหกรรมโฆษณาที่เอเยนซีได้ตกลงจะใช้ร่วมกันแล้วอย่างเป็นทางการ

ส่วนการที่ช่อง 7 และช่อง 8 ยังคงเลือกใช้ของนีลเส็นต่อไป จะต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้าที่ซื้อสื่อโฆษณาจะต้องอาศัยประสบการณ์ และความรู้สึกมาประกอบเป็นหลัก เพราะเอเยนซีจะไม่มีข้อมูลเรตติ้งของช่อง 7 และช่อง 8 มาใช้ประกอบ  ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ บอก

ในขณะที่มีเดียแพลนเนอร์รายหนึ่งให้ความเห็นว่า เมื่อทั้งอุตสาหกรรมโฆษณาตัดสินใจเลือกใช้เรตติ้งของสมาคมฯ MRDA เป็นมาตรฐานเดียวกัน เชื่อว่าในที่สุดแล้ว ช่อง 7 และช่อง 8 คงต้องเปลี่ยนมาใช้ข้อมูลของสมาคมฯ MRDA

“ถึงแม้ว่าในช่วงหลายเดือนมานี้ เราจะเห็นว่านีลเส็นจะมีการออกบริการใหม่ๆ และประกาศเพิ่มตัวอย่าง และจะมีการวัดมัลติสกรีน แต่ถือว่าเขาทำช้าเกินไป เพราะที่จริงแล้วบริษัทแม่ของนีลเส็นเขาไปไกลกว่านั้นแล้ว แต่เมืองไทยขยับช้ามาก ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง” 

ต้องรอดูว่าทาง “นีลเส็น” จะมีการเคลื่อนไหวอะไรใหม่ๆ ออกมา เพื่อปกป้อง “ธุรกิจ” ที่เคยอยู่ในมือแต่เพียงผู้เดียวมาตลอดกว่า 30 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเค้กก้อนนี้กำลังเพิ่มขนาดขึ้น จากช่องทีวี และมีเดียใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เชื่อได้ว่า ศึกครั้งนี้ยังไปต้องไปต่ออีกนาน 

 

]]>
62031