NetEase – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 20 Nov 2022 07:12:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปิดฉาก 14 ปี! ‘Blizzard’ ค่ายเกมสหรัฐฯ เลิกทำตลาดใน ‘จีน’ หลังดีลกับ ‘NetEase’ ไม่ลงตัว https://positioningmag.com/1409085 Sun, 20 Nov 2022 03:15:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409085 Blizzard Entertainment หนึ่งในบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เจ้าของเกมดัง อาทิ World of Warcraft และ Overwatch เตรียมระงับบริการในจีนตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2565 เป็นต้นไป หลังจากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงด้านลิขสิทธิ์กับ NetEase ค่ายเกมของจีนได้

จีน ถือเป็นหนึ่งในตลาด เกม ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งค่ายเกมใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง Blizzard ก็ได้ให้บริการในจีนตั้งแต่ปี 2551 แต่ล่าสุด Blizzard เปิดเผยว่า บริษัท ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับ NetEase บริษัทเกมของจีน ที่เคยเป็นหุ้นส่วนในการจัดจำหน่ายเกมยาวนานถึง 14 ปี

อย่างไรก็ตาม Blizzard ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดถึงสาเหตุที่ทั้ง 2 บริษัทไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ โดยระบุเพียงว่าที่ การเจรจากับ NetEase ล้มเหลว เป็นเพราะข้อตกลงใหม่ไม่สอดคล้องกับหลักการดำเนินงานของบริษัท การทำงานของพนักงาน และสัญญากับผู้เล่น

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความขัดแย้งกับ NetEase ไม่ได้หมายความว่า Blizzard กำลังจะออกจากประเทศจีน และคาดว่าบริษัทจะหาวิธีใหม่ ๆ ที่จะอยู่ในตลาด ซึ่งรวมถึงการร่วมมือกับ Tencent

ที่ผ่านมา ค่ายเกมต่างชาติหากต้องการทำตลาดในจีนจะต้องจัดจำหน่ายผ่านบริษัทเกมของจีนเท่านั้น เช่น Activision Blizzard จัดจำหน่ายแฟรนไชส์ ​​”Call of Duty” ผ่าน Tencent ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ปัจจุบัน ค่ายเกมจีนแข็งแกร่งจนเริ่มขยายธุรกิจในต่างประเทศ ทำให้เริ่มเห็นการ ซื้อสตูดิโอ ที่มีแนวโน้มดี

ปัจจุบัน Activision Blizzard กำลังจะถูกซื้อโดย Microsoft ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอในราคา 69,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ในเดือนมกราคม แต่ข้อตกลงยังไม่สิ้นสุดเนื่องจากเจ้าหน้าที่ต่อต้านการผูกขาดตรวจสอบข้อตกลงดังกล่าวอยู่

Source

]]>
1409085
‘NetEase’ ค่ายเกมเบอร์ 2 จีนเปิดตัวสตูดิโอเกมใหม่ในญี่ปุ่นเสริมแกร่งตลาด ‘คอนโซล’ https://positioningmag.com/1371497 Tue, 25 Jan 2022 09:35:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371497 หลายคนน่าจะรู้กันดีว่าอุตสาหกรรม ‘เกม’ นั้นใหญ่และมีการเติบโตสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ทั่วโลกเจอการระบาดของ COVID-19 โดยข้อมูลจาก Newzoo มีระบุว่าในปี 2020 อุตสาหกรรมเกมมีทั่วโลกสามารถสร้างรายได้สูงถึง 1.8 แสนล้านดอลลาร์ และคาดว่าภายในปี 2023 จะมีมูลค่าถึง 2 แสนล้านดอลลาร์

NetEase บริษัทเกมอันดับ 2 ของจีน คู่แข่ง Tencent เจ้าของเกมดังอย่าง Onmyoji ล่าสุดได้เปิดสตูดิโอเกมอีกแห่งในโตเกียวประเทศญี่ปุ่นชื่อ Nagoshi Studio หลังจากที่ปี 2020 เคยเปิดตัวค่าย Sakura Studio เนื่องจากบริษัทต้องการขยายธุรกิจในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดย NetEase ได้ Toshihiro Nagoshi อดีตผู้สร้างซีรีส์เกม ‘ยากูซ่า’ ของสตูดิโอ Sega มาดูแลสตูดิโอ โดยทาง NetEase ระบุว่าสตูดิโอดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา เกมคอนโซลคุณภาพสูง เพื่อวางจำหน่ายทั่วโลก

NetEase ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากทั่วโลกเป็น 50% จากเดิมมีสัดส่วนเพียง 10% ส่วนที่เหลือมาจากตลาดจีน” Hu Zhipeng รองประธาน NetEase กล่าว

รู้จัก ‘NetEase’ คู่แข่งคนสำคัญของ ‘Tencent’ เตรียมเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง ลุยเกม Console เต็มตัว

ก่อนหน้านี้ช่วงเดือนตุลาคม 2021 ทาง NetEase ก็เพิ่งซื้อสตูดิโอ Grasshopper Manufacture ของนักสร้างเกมคนดัง “ซุดะ โกอิจิ” (Suda51) มาอยู่ใต้สังกัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การรุกตลาดต่างประเทศของ NetEase นั้นยังน้อยกว่าคู่แข่งอย่าง Tencent ที่ได้เข้าซื้อกิจการและการลงทุนในบริษัทเกมขนาดเล็กหลายแห่ง ส่วน NetEase นอกจากจะตั้งสตูดิโอใหม่ก็มีแค่เข้าถือหุ้นเล็กน้อยในบริษัทอื่นเท่านั้น

 

หลายคนอาจไม่รู้ว่า ประเทศจีนเคยแบนเกมคอนโซลยาวจนถึงปี 2014 เป็นเวลาเกือบ 14 ปีที่จีนไม่ได้เล่นเกมคอนโซล ส่งผลให้ตลาดเกมคอนโซลในจีนมีขนาดเล็กลงมาก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่บริษัทเกมของจีนอย่าง NetEase และ Tencent ให้ความสำคัญกับการเล่นเกมบนพีซีและมือถือซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน

อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้นเกมคอนโซลค่อนข้างเป็นที่นิยม ทำให้ค่ายเกมจากจีนเริ่มหันมาผลิตเกมคอนโซลเพื่อดึงดูดเกมเมอร์นอกประเทศ ทั้งนี้ เกมคอนโซลคิดเป็นเกือบ 28% ของรายรับจากตลาดเกมทั่วโลก 1.8 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ตามรายงานของบริษัทวิจัยตลาด Newzoo

นอกจากนี้ หลายคนยังมองว่าการที่ค่ายเกมจากจีนเริ่มหันมาทำตลาดโลกมากขึ้นเป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลจีนที่เข้ามาควบคุมตลาดเกมมากขึ้นเพื่อไม่ให้เยาวชนถูกมอมเมาจนเป็นเหตุให้ค่ายจีนรายย่อยต้องปิดตัวลงจำนวนมาก

บริษัท ‘เกม’ จีนตายนับหมื่น เหตุขายเกมไม่ได้ เพราะรัฐบาล ‘ไม่อนุมัติเกมใหม่’ ลงตลาด

]]>
1371497
รู้จัก ‘NetEase’ คู่แข่งคนสำคัญของ ‘Tencent’ เตรียมเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง ลุยเกม Console เต็มตัว https://positioningmag.com/1282572 Mon, 08 Jun 2020 07:13:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282572 หากพูดถึงบริษัทเกม หลายคนคงไม่ค่อยคุ้นชื่อ ‘NetEase’ นัก แต่ถ้าบอกว่าเป็นเจ้าของเกมชื่อดังอย่าง Onmyoji แฟนเกมคงร้องอ๋อ โดยปัจจุบัน NetEase ถือเป็นบริษัทเกมมือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียง ‘Tencent’ และตอนนี้ NetEase กำลังเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง และก่อนหน้านี้ บริษัทก็ได้เปิดตัวบริษัทย่อยในญี่ปุ่นชื่อว่า Ouka Studio เพื่อพัฒนาเกม Console

NetEase Games (PRNewsfoto/NetEase Games)

บริษัท NetEase เริ่มต้นจากการเป็นอินเทอร์เน็ตพอร์ทัลของจีนในช่วงปลายปี 1990 และขยายไปสู่เกมออนไลน์ ในปี 2001 โดยจะเน้นหนักไปทางเกม Mobile ซะเป็นหลัก โดยมีเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ Identity V, Knives Out และ Rules of Survival ปัจจุบัน NetEase จดทะเบียนอยู่ใน NASDAQ มีมูลค่าทางตลาดกว่า 1.17 ล้านล้านบาท ขณะที่ปี 2017 NetEase ทำรายได้ถึง 269,668 ล้านบาท กำไร 53,309 ล้านบาท

ล่าสุดทางบริษัท NetEase ได้ออกมารุกตลาดเกม Console อย่างเต็มตัว โดยประกาศเปิดตัวบริษัทย่อย Ouka Studio สตูดิโอพัฒนาเกมที่เน้นโฟกัสด้านผลิตเกมป้อนลงสู่เครื่องคอนโซลโดยเฉพาะ โดยสตูดิโอดังกล่าวตั้งอยู่ ณ ย่านชิบูย่า ประเทศญี่ปุ่น

และเนื่องจากวุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายที่อาจนำไปสู่การควบคุมจำกัดบริษัทจีนที่ต้องการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ โดยเพิ่มข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการตรวจสอบบริษัทเหล่านั้น รวมถึงความตึงเครียดในสหรัฐฯ – จีนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ NetEase เตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง โดยจะมีการออกหุ้นใหม่มากกว่า 171 ล้านหุ้นในราคาสูงสุดที่ 126 ดอลลาร์ฮ่องกง (512 บาท) ต่อหุ้น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทำการซื้อขายในฮ่องกงในวันที่ 11 มิถุนายนนี้

NetEase กล่าวว่า บริษัทต้องการใช้เงินเพื่อขยายการให้บริการเกมออนไลน์ในตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังตั้งใจที่จะใช้เงินทุนเพื่อกระตุ้นการคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

Source

Source

]]>
1282572
ราคา 2 พันล้านดอลล์!! ผ่าดีล Alibaba ฮุบ Kaola แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ NetEase https://positioningmag.com/1245615 Sat, 07 Sep 2019 08:06:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245615 ยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตจากจีน 2 ราย “อาลีบาบา” (Alibaba) และ “เน็ตอีส” (NetEase) ตกลงซื้อขายกิจการอีคอมเมิร์ซ “คาโอลา” (Kaola) ของ NetEase ให้อยู่ใต้ชายคา Alibaba ผ่านดีลมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากซื้อขายกิจการ Alibaba ประกาศจะลงทุน 700 ล้านเหรียญสหรัฐในธุรกิจสตรีมเพลงของ NetEase ชื่อคลาวด์มิวสิก (NetEase Cloud Music) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนรอบล่าสุดด้วย

ขณะที่ดีลนี้ยังมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่เปิดเผย แต่เป็นที่แน่ชัดว่า Alibaba จะเข้ามาจัดการธุรกิจ Kaola แทนต้นสังกัดเดิม โดยมี Alv Liu Liu ผู้จัดการทั่วไปของ Tmall Import and Export มาทำหน้าที่เป็น CEO

วิลเลียม ติง ซีอีโอของ NetEase กล่าวในแถลงการณ์ว่าบริษัทมีความยินดีที่ได้พบกลยุทธ์ซึ่งเหมาะสมสำหรับ Kaola ภายในระบบนิเวศที่ยิ่งใหญ่ของ Alibaba โดยที่ Kaola จะยังคงให้บริการและสินค้านำเข้าคุณภาพสูงแก่ผู้บริโภคชาวจีน

ดีลนี้ทำให้ NetEase สามารถเน้นกลยุทธ์การเติบโต และมีสภาพคล่องในการลงทุนเพื่อช่วยให้บริษัทได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น จุดนี้ทำให้นักวิเคราะห์ไม่แปลกใจ เพราะดีลนี้เคยมีการร่ำลือมาก่อนช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รายงานระบุว่าทั้ง 2 บริษัทกำลังเจรจาซื้อขายกิจการ แต่บางช่วงการเจรจากลับล้มเหลวเนื่องจากไม่สามารถทำความตกลงในรายละเอียดบางอย่าง รวมถึงราคาในดีลด้วย

ความน่าสนใจของดีลนี้ คือ Alibaba กำลังซื้อบริษัทอื่นเพียงแห่งเดียวที่เอาชนะ “ทีมอลล์ โกลบอล” (Tmall Global) ได้ โดยการสำรวจของบริษัทวิจัย iiMediaResearch พบว่าในช่วงไตรมาส 1 ปี 2019 แบรนด์ Kaola เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดในประเทศจีนมากกว่า 27.5% ชนะ Tmall ของ Alibaba ที่มีส่วนแบ่งประมาณ 25% เท่านั้น

เคล็ดลับของ Kaola คือ การสร้างจุดต่างด้วยการมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ต่างประเทศคุณภาพสูงในแต่ละประเภทกลุ่มสินค้า เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ แอสเซสซอรี่ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเพื่อสุขภาพ ดาวรุ่งอย่าง Kaola ยังเดินหน้าร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับแบรนด์และซัปพลายเออร์กว่า 1,000 รายจากกว่า 80 ประเทศ ทำให้ Kaola ได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มคนทำงานชาวจีน อายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี

Kaola เติบโตก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ Alibaba ยอมรับในแถลงการณ์ว่ามีความมั่นใจเกี่ยวกับอนาคตของตลาดอีคอมเมิร์ซนำเข้าของจีน ซึ่ง Alibaba เชื่อว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและมีศักยภาพในการเติบโตที่ดี

แดเนียล จาง ซีอีโอของ Alibaba มั่นใจว่าด้วยการควบรวมกับ Kaola ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba จะยกระดับบริการนำเข้าและประสบการณ์สำหรับผู้บริโภคชาวจีนผ่านการทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศของบริษัท ซึ่งจะทำให้ Alibaba เป็นปึกแผ่นมากกว่านี้ได้อีกทาง.

Source

]]>
1245615