Oracle – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 13 Aug 2024 08:15:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 AIS แท็กทีม Oracle ปลดล็อกบริการ AIS Cloud ระดับ Hyperscale Cloud ครั้งแรกในไทย ทรานสฟอร์มธุรกิจสู่ Digital Economy https://positioningmag.com/1485998 Wed, 14 Aug 2024 03:52:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485998

เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในความร่วมมือระดับประเทศ ที่ช่วยยกระดับบริการคลาวด์ในประเทศไทยให้ล้ำขึ้นไปอีกก้าว สำหรับการจับมือร่วมกันของ 2 ยักษ์ใหญ่อย่าง AIS และ Oracle ที่ได้ประกาศความร่วมมือในการเปิดตัวบริการคลาวด์ในระดับ Hyperscale Cloud เป็นครั้งแรกในไทย โดยความร่วมมือนี้เป็นการผสานเอาจุดแข็งของทั้งสองในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่ Digital Economy ได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต

AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล ตลอดระยะเวลา 34 ปี ได้พัฒนาเครือข่าย และบริการ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทั้งระดับผู้บริโภค และระดับองค์กร ซึ่งได้เปิดตัวกลุ่มธุรกิจ Business Cloud และ IoT Solution ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อตอบรับลูกค้าองค์กรภาคธุรกิจ

ส่วนทาง Oracle มีบริการคลาวด์มากกว่า 100 บริการ ความร่วมมือนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการปลดล็อกขีดจำกัดในการใช้งานคลาวด์ระดับ Hyperscale Cloud สำหรับองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ ผ่านบริการ AIS Cloud บน AIS Data Center

ภายใต้ความร่วมมือนี้องค์กรสามารถเข้าถึงบริการคลาวด์ของ Oracle (OCI) ที่มีมากกว่า 100 บริการ รวมถึงความสามารถด้าน AI ซึ่งจะตอบโจทย์ทุกความต้องการในการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน ด้วยระบบ และบริการ Sovereign Cloud ที่มีความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดด้านการจัดเก็บข้อมูลของประเทศไทย รวมถึงความพร้อมในการทำระบบสำรองและกู้คืนข้อมูล (DR: Disaster Recovery) ในกรณีที่ระบบหลักเกิดความเสียหาย เพื่อให้ใช้ข้อมูลที่สำรองไว้มาทำงานต่อได้ทันที

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า

“กว่า 34 ปีที่ผ่านมา AIS มุ่งพัฒนาโครงสร้างด้านดิจิทัลเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับประสบการณ์ดิจิทัลที่ดียิ่งกว่า ควบคู่ไปกับการนำศักยภาพโครงข่ายมาผสมผสานผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเข้าเชื่อมต่อและสนับสนุนการทำงานกับองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้สามารถทำดิจิทัลทรานสฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในสร้างการเติบโต ที่จะนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน

โดยเฉพาะเทคโนโลยีคลาวด์ที่มีส่วนสำคัญในการรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขององค์กร จากการศึกษาข้อมูล พบว่าในช่วงปี 2565-2570 ใน 4 ธุรกิจ ได้แก่ คลาวด์ ไอโอที (IoT) ดาต้าเซ็นเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นธุรกิจที่มาแรง เติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 20% ต่อปี จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตรระดับโลกอย่าง Oracle

บริการ AIS Cloud สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยบริการคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง ความปลอดภัย และการปกป้องข้อมูลที่สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศไทย เน้นการขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการที่ต้องการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

นอกจากนี้ ความสำคัญอีกหนึ่งอย่างของความร่วมมือนี้ก็คือ การที่ประเทศไทยมีบริการ Hyperscale Cloud เป็นครั้งแรก จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีในภูมิภาค และดึงดูดความสนใจจากนักลงทุน และบริษัทข้ามชาติได้

รวมไปถึงการนำเสนอความสามารถด้าน AI และบริการคลาวด์ที่หลากหลายของ Oracle ช่วยสร้างความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ AIS ในตลาดได้อีกด้วย

ทางด้าน การ์เร็ตต์ อิลจ์ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า

“การมอบตัวเลือกที่หลากหลายให้กับพันธมิตรและลูกค้าของเราเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ และความร่วมมือ Oracle Alloy กับ AIS จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมของประเทศช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ AIS กลายเป็นผู้ให้บริการ Hyperscale Cloud สามารถพัฒนาบริการใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอ Sovereign Cloud และความสามารถด้าน AI ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศ ภายข้อกำหนดด้านกฎหมายด้านมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ AIS สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ด้วยประสบการณ์ของ AIS ที่เป็นผู้นำด้านบริการดิจิทัลในไทยซึ่งมีความเชี่ยวชาญในตลาดภายในประเทศ ทำให้ AIS สามารถส่งมอบบริการที่เหมาะสมต่อลูกค้าแต่ละรายที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า”

โดยที่ทาง IDC ได้คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้าน Sovereign Cloud จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 31.5% ต่อปี สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมญี่ปุ่น) จากการสำรวจด้านคลาวด์ในพื้นที่เอเซียแปซิฟิค แสดงให้เห็นถึง 19% ขององค์กรในกลุ่มประเทศดังกล่าว มีการคาดการณ์การใช้จ่ายสำหรับ Sovereign Cloud จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์คลาวด์แบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยหน่วยงานกำกับดูแลและกฎระเบียบ รวมทั้งความต้องการที่จะทำให้กระบวนการทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

ระบบคลาวด์แบบกระจายของ Oracle มอบประโยชน์ของคลาวด์พร้อมการควบคุมและความยืดหยุ่นที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • คลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) : ภูมิภาคคลาวด์สาธารณะขนาดใหญ่สามารถให้บริการแก่องค์กรทุกขนาด รวมถึงองค์กรที่ต้องการการควบคุมความเป็นส่วนตัวในสหภาพยุโรปอย่างเข้มงวด ดูรายการภูมิภาคทั้งหมดได้ที่ https://www.oracle.com/emea/cloud/public-cloud-regions/
  • คลาวด์เฉพาะ (Dedicated Cloud) : ลูกค้าสามารถใช้งานบริการคลาวด์ของ OCI ทั้งหมดในศูนย์ข้อมูลของตนเองด้วย OCI Dedicated Region ขณะที่พันธมิตรสามารถขายต่อบริการคลาวด์ของ OCI และปรับแต่งประสบการณ์ด้วย Oracle Alloy ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แต่ละรายการให้บริการคลาวด์และ AI ที่ครบถ้วนซึ่งลูกค้าสามารถนำไปใช้เป็น Sovereign Cloud ได้
  • ไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) : OCI ให้บริการคลาวด์หลักในสถานที่ของลูกค้าผ่าน Oracle Exadata Cloud@Customer และ Compute Cloud@Customer และกำลังจัดการการปรับใช้งานในกว่า 60 ประเทศแล้ว
  • มัลติคลาวด์ (Multi Cloud) : ตัวเลือกต่างๆ รวมถึง Oracle Database@Azure, HeatWave MySQL บน AWS และ Microsoft Azure, Oracle Interconnect สำหรับ Microsoft Azure และ Oracle Interconnect สำหรับ Google Cloud ช่วยให้ลูกค้าสามารถรวมความสามารถหลักจากคลาวด์ต่างๆ ได้

 

]]>
1485998
ไม่ง้อชาติตะวันตก! Huawei เขียน ERP ทดแทนระบบของ Oracle หลังโดนสหรัฐคว่ำบาตร https://positioningmag.com/1428024 Thu, 20 Apr 2023 13:35:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428024 หัวเว่ย (Huawei) ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาระบบ ERP ทดแทนระบบของ Oracle ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และฐานข้อมูลรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกา โดยผ่านการทดสอบใช้งานประจำวัน รวมถึงมีการตรวจสอบความปลอดภัยด้านไซเบอร์จากบริษัทในประเทศจีนเป็นที่เรียบร้อย

South China Morning Post รายงานข่าวว่า Huawei ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศจีน ได้ประกาศความสำเร็จในการเขียนซอฟต์แวร์ ERP ซึ่งใช้สำหรับการวางแผนการจัดการในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Supply Chain ไปจนถึงการวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งแต่เดิมบริษัทจากจีนรายดังกล่าวได้ใช้ซอฟต์แวร์ของ Oracle มาโดยตลอด

ซอฟต์แวร์วางแผนจัดการองค์กรของ Huawei มีชื่อว่า MetaERP พัฒนาโดยพนักงานของบริษัทถึงหลักพันคน และใช้เวลามากถึง 3 ปี มีการตรวจสอบในเรื่องความปลอดภัยด้านไซเบอร์จากบริษัทในประเทศจีน รวมถึงมีการทดสอบในระดับรายวัน รายเดือน รายไตรมาส เป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่บริษัทจะประกาศความสำเร็จออกมา

ERP นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในองค์กร รวมถึงกระบวนการทางธุรกิจของบริษัท ในแต่ละวัน ตั้งแต่ด้านการเงิน ทรัพยากรบุคคล Supply Chain การจัดซื้อ การผลิต การขาย และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย และทำให้ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานสามารถตัดสินใจในการทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

Huawei ยังแจ้งว่า MetaERP นั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในแต่ละวันในบริษัทมากกว่า 80% แล้วด้วย

ก่อนหน้านี้ Huawei ได้ใช้ ERP ของ Oracle มาเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี แต่เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐกับบริษัทนับตั้งแต่ปี 2019 ทำให้บริษัทไม่สามารถอัพเดตซอฟต์แวร์ดังกล่าวและถูกยกเลิกการสนับสนุนด้านบริการจาก Oracle ส่งผลทำให้บริษัทต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ดังกล่าวขึ้นมาเองในท้ายที่สุด

นอกจากนี้การพัฒนา MetaERP ของ Huawei ยังสอดคล้องนโยบายของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่ต้องการให้บริษัทในประเทศจีนลดการพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทต่างชาติ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์โดยพึ่งพาตัวเองมากยิ่งขึ้น

]]>
1428024
Oracle ปาดหน้า Microsoft ปิดดีล “เป็นพาร์ตเนอร์” TikTok สหรัฐฯ จีนส่อกันท่าไม่ให้ขาย https://positioningmag.com/1296811 Mon, 14 Sep 2020 10:09:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296811 TikTok และ Oracle จะร่วมเป็น “พาร์ตเนอร์” ทางธุรกิจกันในสหรัฐฯ ดีลที่เกิดขึ้นหลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ขีดเส้นตายให้ ByteDance ขายกิจการ TikTok สหรัฐฯ โดยดีลครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะแบบแซงโค้งเหนือคู่แข่ง Microsoft ที่ออกตัวแรง หมายมั่นจะปิดการซื้อขายให้สำเร็จมาหลายสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ดีลยังมีสิทธิล่มเพราะรัฐบาลจีนออกท่ากีดกันไม่ให้การขายเกิดขึ้น

สำนักข่าว CNN รายงานข้อมูลอ้างอิงแหล่งข่าวใกล้ชิดกับดีลซื้อขายกิจการว่า Oracle คือบริษัทผู้กำชัยชนะในสงครามแย่งชิงแอปพลิเคชันวิดีโอสั้นยอดฮิต TikTok ในสหรัฐฯ ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าลักษณะดีลจะเป็นอย่างไร แต่แหล่งข่าวระบุว่าดีลจะไม่ใช่การขายหุ้นออกโดยสมบูรณ์

ข่าวนี้แพร่สะพัดไม่นานหลังจากบริษัท Microsoft ประกาศเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมาว่า ByteDance จะ “ไม่ขาย” TikTok ในสหรัฐฯ ให้กับบริษัท แม้ว่า Microsoft มีความพยายามที่จะเข้าซื้อกิจการมานานหลายสัปดาห์ และเป็นบริษัทเดียวที่ออกแถลงอย่างเป็นทางการว่าบริษัทมีความสนใจเข้าซื้อจริง พร้อมจับมือ Walmart ยักษ์ธุรกิจค้าปลีก ที่จะเข้ามามีเอี่ยวในดีลนี้ด้วย แต่สุดท้ายดีลก็ไม่เป็นผลสำเร็จ

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ต่างมองว่า Microsoft ซึ่งเป็นตัวเก็งในดีลซื้อกิจการ กำลังมีโอกาสครั้งสำคัญในการ “ทำรัฐประหาร” ในโลกโซเชียลมีเดีย ผ่านการยึดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่โตเร็วที่สุดอย่าง TikTok

 

เป้าหมายคือการเก็บข้อมูลคนอเมริกันต้องโปร่งใส

เนื่องจากการบีบให้ ByteDance ขาย TikTok มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ป้องกันข้อมูลชาวอเมริกันรั่วไหลไปถึงรัฐบาลจีน ทำให้การขายกิจการครั้งนี้ถูกจับตามองว่าจะมีลักษณะอย่างไร และจะสอดคล้องกับคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐฯ หรือไม่

ก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ มีดีลที่สามารถเทียบเคียงได้เกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งคือ เมื่อปี 2013 บริษัท SoftBank จากญี่ปุ่นจะเข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 78% ในบริษัท Sprint บริษัทด้านโทรคมนาคมของสหรัฐฯ ทั้งสองบริษัทต้องทำสัญญาที่มีเงื่อนไขหลายอย่างเกี่ยวข้องกับประเด็นความมั่นคงของชาติ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และกระทรวงยุติธรรม ต้องมีอำนาจในการตรวจสอบและสั่งยกเลิกการเลือกใช้อุปกรณ์บางประเภทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้

เจมส์ ลูอิส รองประธานอาวุโส Center for Strategic and International Studies และเคยเป็น
ที่ปรึกษาให้กับดีลระหว่าง SoftBank กับ Sprint ให้ความเห็นว่า ดีลครั้งนี้อาจจะบรรจุข้อกำหนดเข้าไปด้วยว่าจะจำกัดไม่ให้ ByteDance เข้าถึงข้อมูลใดบ้าง หรืออาจจะมีการกำหนดหน่วยงานหรือบุคคลชาวอเมริกันให้ร่วมอยู่ในบอร์ดบริหารบริษัท

 

ดีลยิ่งซับซ้อน เมื่อจีนส่อแววกันท่าไม่ให้ขาย TikTok

แม้จะได้พาร์ตเนอร์ในสหรัฐฯ แน่นอนมากขึ้นแล้ว แต่ดีลนี้ก็ยังคงซับซ้อนอยู่ เพราะวันนี้ CGTN สื่อมวลชนที่กำกับโดยรัฐบาลจีนเพิ่งจะรายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงในว่า บริษัท ByteDance จะไม่ขายกิจการ TikTok ในสหรัฐฯ ให้กับ Microsoft หรือ Oracle หรือบริษัทใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่ต้องการให้ source code ของแอปฯ แก่ผู้ซื้อสัญชาติอเมริกัน

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนยังเพิ่มรายการเทคโนโลยีที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลก่อนจะขายออกให้ต่างชาติได้อีก 23 รายการ แม้ว่าจะไม่ได้เอ่ยชื่อ TikTok ตรงๆ แต่ ByteDance ออกมาตอบรับทันทีว่าบริษัทจะปฏิบัติตามเกณฑ์ใหม่ของรัฐบาลจีนก่อนตัดสินใจขายกิจการ TikTok ที่สหรัฐฯ เนื่องจากแอปฯ นี้มีเทคโนโลยีที่ถูกระบุในลิสต์ที่ต้องได้รับอนุญาตดังกล่าว เช่น เทคโนโลยีรู้จำเสียงพูดและข้อความ (Speech and Text Recognition)

เส้นตายของการแบน TikTok กำลังงวดใกล้เข้ามา โดยกำหนดการคือวันที่ 20 กันยายนนี้กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ จะต้องออกรายละเอียดว่าธุรกิจใดที่เกี่ยวข้องกับ TikTok ที่จะถูกแบนตามคำสั่งฝ่ายบริหารที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2020 ซึ่งจนถึงบัดนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าจะแบนกันอย่างไร ส่วนการขายกิจการ มีเส้นตายให้ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้

Source

]]>
1296811