PayPal – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 22 Jun 2024 05:19:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เมื่อ PayPal ปรับกลยุทธ์บริษัท ออกบริการที่ใช้ AI เพิ่มขึ้น ตั้งธุรกิจด้านโฆษณา ชูจุดเด่นรู้ว่าใครซื้ออะไรจากที่ไหน https://positioningmag.com/1479094 Fri, 21 Jun 2024 01:44:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479094 สำหรับเพย์พาล (PayPal) แล้ว หลายคนอาจรู้จักในส่วนที่ว่าบริษัทเป็นบริการจ่ายเงิน หรือ Payment Gateway แต่ล่าสุดบริษัทได้มีการตั้งผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังรวมถึงทิศทางบริษัทที่เน้นการนำเทคโนโลยี AI มาเน้นกับลูกค้าหรือแม้แต่การหารายได้จากโฆษณา

PayPal ผู้ให้บริการจ่ายเงินรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ล่าสุดบริษัทได้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีรายใหม่ Srini Venkatesan ซึ่งอดีตนั้นเป็นผู้บริหารของ Walmart โดยทิศทางหลังจากนี้บริษัทจะเน้นในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาบริการให้กับลูกค้าของบริษัทเพิ่มมากขึ้น

ทิศทางของบริษัทที่เปลี่ยนไปนั้น ส่วนหนึ่งมาจากที่บริษัทได้ CEO คนใหม่คือ Alex Chriss ซึ่งเขาเองเป็นผู้บริหารจากบริษัทซอฟต์แวร์อย่าง Intuit

ซึ่ง CEO รายนี้เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Reuters ว่า “ข้อมูลที่บริษัทมีและความสามารถของบริษัทในการดูสิ่งที่ผู้คนซื้อและรู้ว่าผู้ค้ารายใดพยายามหาเป้าหมาย” นั่นคือสิ่งที่เขาคิดว่า AI ถือเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับบริษัท

หลังจากการเข้ามาของ CEO รายใหม่ PayPal ได้ประกาศการนำเทคโนโลยี AI มาให้บริการลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยให้ร้านค้าสามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ตามประวัติการซื้อครั้งก่อน ซึ่งบริษัทมีข้อมูลในการซื้อขายของลูกค้าเป็นจำนวนมาก

บริษัทยังออกผลิตภัณฑ์อย่างใบเสร็จอัจฉริยะ ที่ใช้เทคโนโลยี AI ซึ่งใบเสร็จรับเงินทางอีเมลของลูกค้าจะมีการแนะนำสินค้าที่เหมาะสม รวมถึงโปรโมชั่นคืนเงินให้กับลูกค้า

นอกจากนี้ PayPal ยังได้ Mark Grether ซึ่งเคยเป็นหัวเรือที่คุมธุรกิจโฆษณาของ Uber โดยบริษัทได้แต่งตั้งในตำแหน่งรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของแผนกโฆษณาซึ่งเป็นแผนกที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ ในบทบาทใหม่นั้น เขาจะรับผิดชอบในการพัฒนารูปแบบโฆษณาใหม่ รวมถึงดูแลการขายโฆษณา

ไม่เพียงเท่านี้ด้วยข้อมูลที่ PayPal มีมหาศาล บริษัทยังเตรียมขายข้อมูลให้กับผู้ที่ต้องการลงโฆษณาเพื่อที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น ข้อมูลในไตรมาส 1 ของปี 2024 นั้น PayPal ประมวลผลการจ่ายเงินมากถึง 6,500 ล้านธุรกรรม คิดเป็นจำนวนลูกค้าที่ใช้งานมากถึงราวๆ 400 ล้านราย ทำให้มีข้อมูลต่างๆ จำนวนมาก

เป้าหมายของ PayPal หลังจากการได้ทีมผู้บริหารชุดใหม่ คือการหารายได้เพิ่มเติมจากธุรกิจอื่นๆ นอกจากบริการรับจ่ายเงิน

ที่มา – PayPal, The Verge, Reuters [1], [2]

]]>
1479094
อินโดนีเซียบล็อก PayPal และอีกหลายบริการ หลังไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ของรัฐบาล https://positioningmag.com/1394391 Sun, 31 Jul 2022 13:42:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394391 รัฐบาลอินโดนีเซียได้สั่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบล็อกบริการออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PayPal Yahoo หรือแม้แต่ Steam หลังจากบริการเหล่านี้ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ของรัฐบาลอินโดนีเซีย ที่ได้ขีดเส้นตายต้องลงทะเบียนแพลตฟอร์มกับรัฐบาลภายในวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา

โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศที่ถือว่าเป็น “ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว” ต้องลงทะเบียนกับรัฐบาลภายใต้ข้อกฎหมาย MR5 นี้นั้นรัฐบาลสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้เฉพาะราย และขอให้ลบข้อมูลหรือเนื้อหาที่รบกวนความสงบเรียบร้อยหลังจากที่ได้รับการติดต่อจากรัฐบาลภายใน 24 ชั่วโมง

อย่างไรก็ดี เจ้าของแพลตฟอร์มหลายรายจะต้องลงทะเบียนบริษัทให้เข้ากับข้อกฎหมาย MR5 ภายในวันที่ 27 ก.ค. แต่หลายบริษัทจากต่างประเทศเองกลับไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด โดยหลายบริษัทได้ลงทะเบียนกับรัฐบาลภายใต้ข้อกฎหมายดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น Apple Microsoft Google Amazon TikTok Twitter Netflix รวมถึง Spotify ด้วย

การบล็อกบริการออนไลน์ต่างๆ จะทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียไม่สามารถใช้บริการจ่ายเงิน หรือแม้แต่เล่นเกมออนไลน์ได้ แต่ล่าสุดสำนักข่าว Reuters ได้รายงานว่ารัฐบาลอาจปล่อยให้ประชาชนสามารถใช้บริการ PayPal ได้ 5 วันทำการ หลังถูกแรงกดดันจากประชาชน และตัวแทนของรัฐบาลได้กล่าวว่าไม่มีการติดต่อจากแพลตฟอร์มจ่ายเงินรายนี้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี มูลนิธิพรมแดนอิเล็กทรอนิกส์ (EFF) กลับมองว่าข้อกฎหมาย MR5 นั้นละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากผู้ให้บริการจะถูกทำให้อยู่ในการควบคุมของรัฐบาลอินโดนีเซีย และถ้าหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวนี้ก็อาจไม่สามารถให้บริการได้

ที่มา – The Verge, The Jakarta Post

]]>
1394391
PayPal ประกาศหยุดให้บริการ ‘รับ-จ่ายเงิน’ ในอินเดีย ท่ามกลางศึก ‘อีเพย์เมนต์’ เเข่งดุ https://positioningmag.com/1318308 Sun, 07 Feb 2021 08:39:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318308 PayPal ผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก ประกาศหยุดให้บริการรับจ่ายเงินสำหรับลูกค้าและร้านค้าในประเทศอินเดีย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2021 เป็นต้นไป ท่ามกลาง
สงครามการเเข่งขันที่ดุเดือด

อินเดีย เป็นประเทศที่มีตลาดอินเทอร์เน็ตใหญ่เป็นอันดับสองของโลก มีประชากรจำนวนมาก เเละมีโอกาสเติบโตสูง ทำให้เหล่าบรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เข้ามาลงทุนกันคึกคัก

การปรับเเผนธุรกิจในอินเดียครั้งนี้ PayPal เเถลงว่า เเม้จะระงับบริการชำระเงินภายในประเทศ เเต่จะยังคงให้บริการสำหรับการจ่ายเงินออนไลน์ข้ามประเทศต่อไป ส่วนพนักงานในอินเดียจะถูกโยกย้ายให้ไปทำงานในธุรกิจอื่นของ
บริษัทเเทน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ระบุเเน่ชัดถึงสาเหตุการหยุดให้บริการดังกล่าว

ที่ผ่านมา PayPal พยายามจะบุกตลากอินเดีย โดยหาร้านค้าที่เป็นพันธมิตรได้มากกว่า 3.6 เเสนราย โดยร่วมมือกับธุรกิจยอดนิยมในอินเดีย ที่บริการออนไลน์อย่าง BookMyShow, MakeMyTrip และ
แอปพลิเคชันสั่งอาหาร Swiggy ซึ่งมีการจ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มในปีที่ผ่านมามากกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อินเดียกลายเป็นหนึ่งขุมทรัพย์ใหม่ในในสมรภูมิเทคโนโลยีโลก โดยเฉพาะธุรกิจชำระเงินผ่านมือถือที่เเข่งขันกันดุเดือดมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เล่นเข้ามาลงทุน เเย่งส่วนเเบ่งการตลาดอย่าง Paytm, PhonePe เเละเจ้าใหญ่จากอเมริกาอย่าง Google, Amazon และ Facebook

คาดว่ามูลค่าตลาดการชำระเงินออนไลน์ในอินเดีย จะมีมูลค่ามากถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2023 ทำให้บริษัทเทคโนโลยีทั้งหลาย เร่งกลยุทธ์ใหม่เพื่อเสนอการชำระเงินแบบต่างๆ ให้ร้านค้ามากขึ้น เพื่อชิงตลาดที่มีการเติบโตนี้ 

 

 

ที่มา : techcrunch , indiatoday

]]>
1318308
จ่ายหนัก! PayPal เข้าซื้อ Honey Science สตาร์ทอัพหาส่วนลดซื้อของออนไลน์ 1.2เเสนล้านบาท https://positioningmag.com/1254390 Thu, 21 Nov 2019 14:02:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254390 PayPal ประกาศเข้าซื้อกิจการ Honey Science ด้วยมูลค่าถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 120,780 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเเพงที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษของการซื้อกิจการครั้งใหญ่ของ PayPal เลยก็ว่าได้ เพื่อต่อยอดการซื้อสินค้าออนไลน์ที่กำลังบูมในตอนนี้

สตาร์ทอัพดาวรุ่งอย่าง Honey Science เป็นที่รู้จักกันดีในด้านให้บริการช่วยเหลือผู้บริโภคให้ได้ส่วนลดกับผู้ค้าปลีกออนไลน์กว่า 30,000 ร้านค้าเเละมีผู้ใช้มากถึง 17ล้านคนต่อเดือน โดยเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2012 โดย George Ruan และ Ryan Hudson ได้รับเงินเพิ่มทุนไปแล้วราว 31.8 ล้านเหรียญ

สำหรับ Honey เป็นส่วนขยาย (extension) เพื่อติดตั้งกับเว็บเบราว์เซอร์ โดยมื่อเราเข้าไปช้อปปิ้งออนไลน์ในเว็บไซต์ค้าปลีกที่รองรับเเล้ว ในขั้นตอนการจ่ายเงินนั้น ส่วนขยายของ Honey จะเข้ามาช่วยค้นหาดีลส่วนลดต่างๆ ให้ พร้อมทั้งยังมีระบบเเจ้งเตือนสินค้าที่เราสนใจเมื่อมีการปรับลดราคาลงด้วย

PayPal บอกว่าด้วยเทคโนโลยีของ Honey Science ที่โดดเด่นด้านการค้นหาส่วนลดที่รวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพนั้น จะช่วยให้ลูกค้าได้รับการบริการเเละข้อเสนอที่ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้น

โดย George Ruan และ Ryan Hudson สองผู้ร่วมก่อตั้งจะยังคงนำทีมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เเละเทคโนโลยีต่อไป  โดยขึ้นตรงต่อการดูเเลของ John Kunze รองประธานอาวุโสด้าน Consumer Product ของ PayPal

Ryan Hudson เเละ George Ruan สองผู้ก่อตั้ง Honey Science

บริษัทคาดว่าจะปิดข้อตกลงได้ในไตรมาสแรกของปี 2020 เเละ Honey Science จะยังคงมีสำนักงานใหญ่ในนครลอสแองเจลิส หลังจากการซื้อกิจการครั้งนี้

ก่อนหน้านี้ PayPal ได้เข้าซื้อบริษัทสตาร์ทอัพด้านฟินเทคสัญชาติสวีเดนที่มีชื่อว่า iZettle ด้วยเงินจำนวน 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา โดยบริษัท iZettle เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านการเงินสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีชื่อเสียงในยุโรป มีระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน ใน 9 ประเทศแถบยุโรปตะวันตก รวมไปถึงในบราซิลและเม็กซิโก

Photo : @honey via facebook

Source

]]>
1254390
PayPal ประกาศเลิกหนุน Libra ของ Facebook ขอโฟกัสธุรกิจหลักดีกว่า https://positioningmag.com/1248875 Mon, 07 Oct 2019 08:26:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248875 ลิบรา (Libra) โครงการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลหรือเงินคริปโตฯ (cryptocurrency) ของเฟซบุ๊ก (Facebook) กำลังถูกจับตามองใกล้ชิด เมื่อบริษัทให้บริการชำระเงินอย่าง PayPal ประกาศเลิกสนับสนุนเงิน Libra

ทำให้ PayPal กลายเป็นบริษัทแรกที่ถอนตัวจากฐานะพันธมิตรหลักซึ่งถูกโชว์ตัวตั้งแต่การแจ้งเกิด Libra เมื่อกลางปี 2019 เบื้องต้นเผยเหตุผลการตัดสินใจว่าเป็นเพราะต้องการโฟกัสไปที่ธุรกิจหลักของ PayPal ก่อน

PayPal ประกาศในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2019 โดยกล่าวว่าบริษัทยังคงสนับสนุนแรงบันดาลใจของ Libra ต่อไป แต่เลือกที่จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักของตนเอง ซึ่งในแถลงการณ์ไม่ได้ระบุสิ่งที่กระตุ้นการตัดสินใจครั้งนี้

สำหรับ Libra และ Calibra กระเป๋าเงินดิจิทัลของ Facebook ถูกเปิดตัวโดยเจ้าพ่อเครือข่ายสังคมยักษ์ใหญ่ในเดือนมิถุนายน 2019 แต่สกุลเงินดิจิทัลนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยงานกำกับดูแล จนเป็นข่าวใหญ่ตลอดช่วงที่ผ่านมา ประเทศที่มีท่าทีต่อต้าน Libra มีทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี ทำให้มีโอกาสสูงว่า Libra อาจถูกปิดกั้นไม่ให้มีการใช้งานในยุโรปบางประเทศ

การที่ PayPal กล่าวว่ายังคงสนับสนุนแรงบันดาลใจของ Libra ถูกนำไปท้าวความถึงการที่ PayPal เป็น 1 ในกลุ่มสมาชิกดั้งเดิมของ Libra Association ซึ่งประกอบด้วย 28 บริษัทและกลุ่มองค์กรไม่หวังผลกำไรที่มีส่วนช่วยพัฒนา Libra โดยสมาชิกรายอื่นมีทั้งบริษัทบริการชำระเงินรายใหญ่อย่างวีซ่า (Visa) แอปเรียกรถอย่างอูเบอร์ (Uber) และองค์กรการกุศลเพื่อมนุษยธรรมอย่างเมอร์ซี คอร์ปส (Mercy Corps)

สมาคม Libra Association ตอบสนองการถอนตัวของ PayPal โดยแถลงว่าเข้าใจดีถึงความยากลำบากในการพยายาม กำหนดค่าระบบการเงินใหม่แต่ก็ยังยืนยันว่าความมุ่งมั่นต่อภารกิจนี้มีความสำคัญต่อกลุ่มมากกว่าสิ่งอื่นใด

เมื่อไร้ Paypal การจ่ายเงินด้วย Libra อาจไม่ง่ายดายเหมือนการส่งข้อความอย่างที่เคยคุยไว้

การที่ Paypal ถอนตัวจากการเป็นพันธมิตร Libra ส่งผลให้เสถียรภาพของ Libra สั่นคลอนชัดเจน โดยในช่วงที่ Libra ถูกเปิดตัว Facebook เน้นย้ำว่าชาวโลกจะสามารถชำระเงินด้วยสกุลเงิน Libra ผ่านแอปของ Libra เองหรือผ่านบริการส่งข้อความ WhatsApp ก็ได้ โดยบริษัทพันธมิตรจะสามารถรองรับเงิน Libra สำหรับการทำธุรกรรมได้ เวลานั้น Facebook กล่าวว่า Libra จะได้รับการจัดการอย่างอิสระ และได้รับการสนับสนุนจากสินทรัพย์จริงเพื่อหลักประกันมั่นคง และการจ่ายเงินด้วย Libra จะง่ายดายเหมือนการส่งข้อความ

แต่ปัญหาคือ Libra ถูกตั้งข้อหาความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ รวมถึงความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่ม 7 ประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกประกาศเตือนในเดือนกรกฎาคมว่าจะไม่ปล่อยให้ Libra ดำเนินการได้จนกว่าจะมีการแจงข้อเท็จจริงด้านกฎระเบียบทั้งหมดอย่างชัดเจน

คาดว่าจะมีข่าวใหญ่อีกครั้งในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ เพราะเป็นวันที่สมาคม Libra จะจัดการประชุมครั้งแรก ซึ่งอาจจะมีแถลงการณ์ใหม่เกี่ยวกับพันธมิตรกว่า 1,500 หน่วยงานที่ถูกระบุว่ามีความสนใจเข้าร่วมสูง.

Source

]]>
1248875
PepsiCo เปิดเกม “cash back” คืนเงินผ่าน PayPal กระตุ้นลูกค้าดื่มน้ำหวานคู่ขนมในเครือ https://positioningmag.com/1246440 Mon, 16 Sep 2019 01:07:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246440 เป็นแคมเปญตอบแทนลูกค้าที่เรียกเสียงฮือฮาได้มหาศาลสำหรับ PepsiCo ที่ผุด cashback loyalty program ครั้งแรกของบริษัทในชื่อ PepCoin หลักการคือ PepsiCo จะคืนเงินให้ลูกค้าที่ดื่มน้ำหวาน PepsiCo คู่กับขนมขบเคียวในเครือ Frito-Lay โดยลูกค้าสามารถสแกนที่ถุงหรือขวดด้วยโมบายแอปเพื่อรับเงินคืน 10% ผ่านบริการดิจิทัลอย่าง PayPal และ Venmo

เงื่อนไขหลักของ PepCoin คือสมาชิก PepCoin ต้องสะสมเงินคืนอย่างน้อย 2 เหรียญสหรัฐก่อน ระบบจึงจะโอนเงินไปยังบัญชี Venmo หรือ PayPal ของลูกค้าแบบอัตโนมัติ ลูกค้าสามารถสแกนโค้ดได้เพียงครั้งเดียว และจะต้องจับคู่ขนมและเครื่องดื่มเพื่อสแกนภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งหากใครสนใจเข้าร่วมโครงการ ลูกค้าจะต้องสร้างบัญชีที่เว็บไซต์ PepCoin.com

การเปิดศักราชคืนเงินให้ลูกค้าอเมริกันผ่านช่องทางดิจิทัลนี้ถือเป็นมิติใหม่ของการกระตุ้นให้ลูกค้ารับประทานน้ำหวานคู่กับขนมขบเคี้ยวของบริษัท จากข้อมูลของ PepsiCo ระบุว่า PepCoin รองรับการจับคู่น้ำอัดลมและขนมมากกว่า 1,000 คู่ ซึ่งจะอัดฉีดสแน็คทั้ง 70 แบรนด์ในเครือทั้ง Lay’s, Doritos, Cheetos, Ruffles, Fritos และ SunChips รวมถึงน้ำอัดลม Pepsi, Mtn Dew และ Lipton แบบเครื่องดื่มบรรจุขวด

อัดฉีดยอดน้ำหวาน

PepCoin อาจดูเหมือนเป็นกับดักการตลาดทั่วๆ ไป แต่หากมองให้ลึก ทุกอย่างบ่งชี้ว่า PepsiCo กำลังมองหาวิธีใหม่ในการเพิ่มยอดขายเครื่องดื่มด้วยขนมของ Frito-Lay ขณะเดียวกันก็พยายาม “ล็อคลูกค้า” เพื่อไม่ให้เลือกดื่มน้ำหวานแบรนด์อื่นอย่าง Coca-Cola รวมถึงผู้ผลิตขนมรายอื่นด้วย

นอกจากนี้ โครงการมอบรางวัลให้ลูกค้าของ PepsiCo ยังตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าด้วยการเน้นที่โมบายแอป ซึ่งการสำรวจจากบริษัทวิจัย Gartner L2 ฟันธงมาแล้วว่าเป็นคีย์หลักในการทำให้ลูกค้ายุคนี้มีส่วนร่วมหรือ engagement กับ loyalty program โดยที่ไม่ต้องขูดบัตรพลาสติกหรือสะสมสติกเกอร์แบบเดิม

PepCoin ไม่เพียงช่วยให้ PayPal ดึงดูดผู้ใช้ได้มากขึ้น และเป็นผู้นำเทรนด์ให้แบรนด์อื่นร่วมมือกับแพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัล เพื่อทำแคมเปญโปรโมชันลักษณะเดียวกัน แต่การทำงานร่วมกับ PayPal และแพลตฟอร์มโมบายเพย์เมนต์ของ PepsiCo เองอย่าง Venmo ยังทำให้ PepCoin เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่คุ้นเคยกับการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลอยู่แล้ว

ที่สำคัญ PepCoin ยังทำให้ PepsiCo สามารถรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคได้ลึกกว่าเดิม ทั้งประวัติการซื้อ วันเดือนปีเกิด สถานที่ที่อยู่ อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งในการสมัครใช้บริการ PepCoin ลูกค้าสามารถเลือกรับอีเมลเกี่ยวกับข้อเสนอ รายละเอียดธุรกรรม และรับข้อความ SMS ข่าวสารโปรโมชั่นได้อีก กลายเป็นการเปิดช่องทางโดยตรงที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงลูกค้าออนไลน์ที่อาจไม่เห็นโฆษณาบนแพลตฟอร์มสื่ออื่น

เทรนด์แรงแบรนด์แจกเงิน

การแจ้งเกิด PepCoin ถือว่าเป็นไปตามเทรนด์ที่งานวิจัย Gartner พบว่าแบรนด์ต่างๆ เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการกระจายรางวัล เห็นได้ชัดจากสถิติขณะนี้ที่สัดส่วนของ loyalty program ซึ่งเน้นให้รางวัลสินค้า-บริการฟรีและเงินคืนนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 61% ในปี 2018 จากที่มีเพียง 47% ในปีก่อนหน้า ซึ่งกรณีของ PepsiCo บริษัทต้องการอัดฉีดธุรกิจน้ำหวานที่ทำกำไรได้ลดลง

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 เจ้าพ่อ PepsiCo มีรายรับจากการขายหรือ organic revenue เพิ่มขึ้น 5% ต่อปี ถือว่าสูงขึ้นจาก 2-4% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2014-2018) แต่กำไรของบริษัทกลับลดลงเพราะการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ และอัตราภาษี รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่ดื่มน้ำหวานน้อยลงตามความกังวลเรื่องสุขภาพ ส่งให้สินค้ากลุ่มเครื่องดื่มเครือ PepsiCo มีอัตราเติบโตของกำไรจากการปฏิบัติงานลดลง 4.9% แต่ก็ยังเป็นสินค้ากลุ่มหลักของบริษัทที่ทำรายได้ให้มากที่สุด 9,830 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าขายดีอันดับ 2 ของ PepsiCo คือ Frito-Lay ทำเงินมากกว่า 7,830 ล้านเหรียญในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 อัตราเติบโตของกำไรจากการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น 7% สำหรับสินค้าขายดีรองลงมาคือเครือ Quaker Foods รายได้ 1,130 ล้านเหรียญ อัตราเติบโตของกำไรจากการขายลดลง 11.7%

สำหรับ PepCoin แคมเปญล่าสุดถูกมองว่ามีความสำคัญต่อ PepsiCo มาก เพราะรายได้กว่า 60% ของ PepsiCo นั้นมาจากสหรัฐอเมริกา (ในช่วงครึ่งปีแรก) และสินค้ากลุ่ม PepsiCo Beverages, Frito-Lay และ Quaker Foods ทั้ง 3 หน่วยรวมกันนั้นเป็นแหล่งรายได้ 64% ของ PepsiCo

PepCoin ไม่ใช่แคมเปญแจกรางวัลครั้งแรกของ PepsiCo ก่อนหน้านี้ โปรแกรมอย่าง Pepsi Loot เคยแจ้งเกิดในปี 2010 แนวคิดหลักคือการอาศัยข้อมูลทางภูมิศาสตร์ กำหนดกลุ่มเป้าหมายจาก Foursquare เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าชมร้านอาหารที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Pepsi เช่น Taco Bell, Pizza Hut และ Arby’s โดยลูกค้าสามารถแลกรับรางวัลดาวน์โหลดเพลงฟรีผ่านอินเทอร์เน็ต

จุดต่างสำคัญที่ PepCoin ไม่เหมือนกับ Pepsi Loot คือ PepCoin ถูกวางตัวเป็นระบบให้เงินคืนแบบถาวร ซึ่งแปลว่างานนี้ PepsiCo หวังจะฝังรากลึกดึงลูกค้าดื่มโซดาคู่ขนมไปแบบยาวๆ.

]]>
1246440
ยุคนี้ต้องช้อปได้ด้วย ! WordPress ไปอีกขั้น จับมือ Paypal เพิ่มปุ่มชำระเงิน https://positioningmag.com/1136810 Sat, 19 Aug 2017 05:35:39 +0000 http://positioningmag.com/?p=1136810 สำหรับใครที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการบนเวิร์ดเพรสดอทคอม (WordPress.com) ผู้ให้บริการบล็อกยักษ์ใหญ่ ต่อจากนี้คาดว่าจะง่ายขึ้นแล้ว เพราะเวิร์ดเพรส ได้มีการจับมือกับเพย์พาล (PayPal) เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มปุ่มรับชำระเงินด้วย PayPal ลงบนหน้าเพจได้โดยตรงแล้วนั่นเอง

โดยฟีเจอร์นี้ไม่ได้ให้ใช้ฟรี ๆ เพราะจะเปิดให้เฉพาะยูสเซอร์ที่เป็นแอ็กเคานต์กลุ่มพรีเมียม และบิสซิเนส ซึ่งจะถูกคิดค่าบริการที่ 8.25 เหรียญสหรัฐต่อเดือน (ประมาณ 274 บาท) และ 24.92 เหรียญสหรัฐต่อเดือนตามลำดับ (ประมาณ 827 บาท)

ส่วนการสร้างปุ่มนั้น John Maeda หัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์ดีไซน์ของบริษัทแม่อย่าง Automattic เผยว่าสำหรับคนที่ไม่เคยใช้ PayPal มาก่อน อาจใช้เวลาในการสร้างประมาณ 15 นาที เพราะเมื่อเพิ่มปุ่มนี้ลงในหน้าจอ ผู้ใช้งานต้องแจ้งข้อมูลของสิ่งที่จะขายอย่างละเอียด โดยเริ่มตั้งแต่ให้ระบุชื่อ คำอธิบาย ราคา ภาพถ่าย นอกจากนั้น ยังต้องป้อน PayPal Address ด้วยว่า เงินนั้นจะถูกส่งไปที่ใด

จากนั้น เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น ระบบก็จะถึงเข้าสู่หน้าจอการชำระเงินของ PayPal ได้เลยทันที

ในจุดนี้ต้องบอกว่า แนวคิดของการใช้ WordPress.com ให้ขายสินค้าได้นี้ไม่ธรรมดา เพราะคู่แข่งของ WordPress ก็มีอยู่มากมายน่าจะต้องมองก้าวใหม่ของ WordPress.com กันตาไม่กะพริบแน่นอน 


ที่มา : manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000084824

]]>
1136810
PayPal ประกาศแต่งตั้ง สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี นั่งผู้จัดการ ประจำประเทศไทย https://positioningmag.com/1107598 Mon, 07 Nov 2016 08:53:44 +0000 http://positioningmag.com/?p=1107598 • PayPal ผู้ให้บริการชำระเงินแบบดิจิตอล ได้แต่งตั้ง นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี เป็น ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย

• สร้างผลงานหาพันธมิตรองค์กรใหญ่ ๆ อย่างการบินไทย ให้มาใช้ระบบ PayPal

• ภาระกิจต่อไป ขยายฐานลูกค้าองค์กร เข้าสู่อีคอมเมิร์ซ

]]>
  • PayPal ผู้ให้บริการชำระเงินแบบดิจิตอล ได้แต่งตั้ง นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี เป็น ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย
  • สร้างผลงานหาพันธมิตรองค์กรใหญ่ ๆ อย่างการบินไทย ให้มาใช้ระบบ PayPal
  • ภาระกิจต่อไป ขยายฐานลูกค้าองค์กร เข้าสู่อีคอมเมิร์ซ
  • อีเพย์เม้นท์คึกคักขยับรับการแข่งขันและการเติบโต ล่าสุดเป็นคิวของ PayPal ผู้ให้บริการชำรประกาศแต่งตั้งสมหวัง นั่งตำแหน่งผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย สมหวัง อย่างเป็นทางการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการช่วยสนับสนุน PayPal ให้ก้าวทันและพร้อมรองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ทั้งนี้ นายสมหวังพร้อมด้วยทีมงาน PayPal ประเทศไทย จะเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ค้าของไทย ให้เข้าถึงโอกาสทางการค้าที่สำคัญในตลาดอีคอมเมิร์ซโลก

    มร. ราหุล ชิงฮาล ผู้จัดการ PayPal ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สมหวัง ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการแสวงหาความร่วมมือและเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการไทยรวมถึงองค์กรภาคีต่างๆ รวมถึงบริษัท การบินไทย จำกัดด้วย ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นการตอบรับจากผู้บริโภคและตลาดในประเทศไทย

    ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 16 ปีในแวดวงเทคโนโลยีและการเงินของสมหวัง นับได้ว่ามีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านอีคอมเมิร์ซอย่างหาตัวจับยาก ก่อนที่จะมารับตำแหน่งที่ PayPal เขาเคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทให้บริการด้านการชำระเงินออนไลน์ในประเทศ และได้มุ่งมั่นสร้างบริษัทให้เป็นแพลตฟอร์มทางเลือกแก่ผู้บริโภคไทย นอกจากนี้ เขายังเป็นหนึ่งในคนสำคัญแถวหน้าของวงการการชำระเงินของไทย อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยรวมถึงเลขาธิการสมาคมอี-เพย์เมนต์ไทย และอี-มันนี่ไทยอีกด้วย

    “ทุกวันนี้ ฟินเทค เป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก และธุรกิจของไทยมากมายกำลังต้องการแนวทาง เพื่อช่วยให้อยู่รอดในยุคที่นวัตกรรมการชำระเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อตอบสนองให้ทันต่อโอกาสทางการตลาดและความต้องการของผู้บริโภค ผมตั้งใจที่จะนำเสนอโซลูชั่นใหม่ๆ ของ PayPal แก่กลุ่มผู้ประกอบการและผู้ค้าชาวไทย เพื่อที่พวกเขาจะสามารถตอบรับความต้องการของลูกค้าได้ และสร้างแบรนด์PayPal ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น” สมหวัง กล่าว

    การแต่งตั้ง สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี เป็นก้าวย่างล่าสุดของ PayPal ที่ต้องการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มผู้ค้า เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ ของไทย ให้เข้าถึงประสบการณ์ชำระเงินข้ามแดนได้อย่างราบรื่น ในเดือนสิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา PayPal ได้ลงนามสัญญาความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย นอกจากนี้ PayPal ยังได้ร่วมมือกับธุรกิจท่องเที่ยวชั้นนำ อาทิ โรงแรมและรีสอร์ตในเครือเซ็นทารา, เซ็นเตอร์พอยต์  และการบินไทย เพื่อเป็นพาร์ทเนอร์ในการให้บริการด้านการชำระเงินข้ามประเทศ

    1_paypal

    เกี่ยวกับ PayPal

    PayPal ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 เพื่อประกอบธุรกิจชำระเงินแบบดิจิตอลมาอย่างต่อเนื่อง ปี 2557 PayPal มีธุรกรรมออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์พกพา 28%  ด้วยบัญชีลูกค้าที่ใช้งาน 192 ล้านบัญชี และให้บริการใน 202 ประเทศ รับชำระเงิน 100 สกุลเงิน ถอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ 56 สกุลเงิน และถือครองยอดคงเหลือในบัญชี PayPal ได้ 25 สกุลเงิน

    ]]>
    1107598
    PayPal ปิดฉาก 3 แอปฯวินโดวส์โฟน แบล็กเบอรี่ และไฟร์โอเอส 30 มิ.ย.นี้ https://positioningmag.com/1092983 Fri, 27 May 2016 04:31:28 +0000 http://positioningmag.com/?p=1092983 เพย์พาล (PayPal) บริการรับชำระเงินออนไลน์รายใหญ่ประกาศปิดฉากแอปพลิเคชันสำหรับ 3 ระบบปฏิบัติการรวดเดียว ขีดเส้นลอยแพแอปพลิเคชัน PayPal สำหรับวินโดวส์โฟน แบล็กเบอรี่ และไฟร์โอเอส ของอเมซอน ในวันที่ 30 มิถุนายนนี้

    การหยุดสนับสนุน 3 ระบบปฏิบัติการรองของโลกทั้ง วินโดวส์โฟน แบล็กเบอรี่ และแอนดรอยด์ไฟร์ ในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ กลายเป็นข่าวเมื่อ PayPal ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (Android) และไอโอเอส (iOS) อัปเดตแอปพลิเคชัน PayPal ให้เป็นเวอร์ชัน 6 ภายในวันดังกล่าว ทำให้ระบบปฏิบัติการอย่าง Windows Phone, BlackBerry และ Android Fire ไม่มีรายชื่อในการประชาสัมพันธ์ครั้งนี้

    เบื้องต้น เพย์พาล ไม่ให้รายละเอียดชัดเจนว่า เหตุใดจึงยกเลิกไม่ให้บริการแอปพลิเคชัน PayPal บนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ Android และไม่ใช่ iOS โดยในแถลงการณ์ของผู้บริหารอย่าง โจแอนนา แลมเบิร์ต (Joanna Lambert) ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองประธาน PayPal ระบุเพียงว่า ผู้ใช้ยังสามารถใช้บริการ PayPal ได้ผ่านโมบายเว็บไซต์ และยังคงสามารถโอนเงินแบบ P2P ผ่านระบบข้อความ BBM หรือส่งเงินจากกล่องข้อความใน Outlook ได้

    ทั้งหมดนี้ ผู้บริหาร PayPal ยอมรับว่า แม้การตัดสินใจหยุดสนับสนุนทั้ง 3 ระบบปฏิบัติการผ่านแอปพลิเคชันจะเป็นเรื่องยาก แต่ PayPal มั่นใจว่า เป็นเรื่องถูกต้องที่จะทำให้แน่ใจว่า PayPal ได้เททรัพยากรที่มีเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้า อย่างไรก็ตาม PayPal ยืนยันว่า ยังมุ่งมั่นเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์พกพาต่อไป และขออภัยในความไม่สะดวกที่อาจเกิดขึ้น

    ที่มา: http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000053106

    ]]>
    1092983