Payment – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 19 Nov 2023 12:59:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สิงคโปร์จับมืออินโดนีเซีย รวมถึงมาเลเซีย เปิดตัวระบบโอนเงินข้ามประเทศผ่าน QR Code รับเงินได้ทันที https://positioningmag.com/1452362 Sun, 19 Nov 2023 10:20:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452362 ธนาคารกลางสิงคโปร์และธนาคารกลางอินโดนีเซีย รวมถึงธนาคารกลางมาเลเซีย ได้จับมือเชื่อมต่อระบบระบบโอนเงินข้ามประเทศผ่าน QR Code ระหว่างกัน ทำให้ประชาชนสามารถรับเงินได้ทันที ส่งเสริมการทำธุรกิจระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น

ธนาคารกลางสิงคโปร์และธนาคารกลางอินโดนีเซีย รวมถึงธนาคารกลางมาเลเซีย ได้ระบุในแถลงการณ์ร่วมว่า ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศจะสามารถโอนเงินระหว่างประเทศผ่าน QR Code และสามารถรับเงินได้ทันที ซึ่งส่งเสริมเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น

ธนาคารกลางสิงคโปร์ ได้ประกาศว่านับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ประชาชนของมาเลเซีย รวมถึงอินโดนีเซียสามารถโอนเงินผ่านระบบ QR Code ของแต่ละประเทศ

โดยผู้ใช้ระบบ PayNow ของสิงคโปร์สามารถโอนเงินไปยังผู้ใช้งานระบบ DuitNow ของมาเลเซียทั้งไปและกลับ อย่างไรก็ดีจะมีจำกัดการโอนเงินวันละ 1,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 3,000 ริงกิตมาเลเซีย แถลงการณ์ของธนาคารกลางสิงคโปร์และมาเลเซีย ชี้ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะช่วยให้การโอนเงินและการโอนเงินระหว่างบุคคลระหว่างทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และคุ้มค่า

ทางด้านฝั่งของชาวสิงคโปร์และอินโดนีเซียจะโอนเงินหากันผ่านระบบ QRIS ของอินโดนีเซียไปยัง NETS QR ของสิงคโปร์ได้ทั้งไปและกลับได้เช่นกัน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นหลังจากธนาคารกลางอินโดนีเซีย และ ธนาคารกลางสิงคโปร์ประกาศถึงการเชื่อมโยงระบบดังกล่าว

ในแถลงการแยกระหว่างสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ชี้ว่าการเชื่อมโยงการชำระเงินผ่าน QR ข้ามพรมแดนถือเป็นก้าวสำคัญในความพยายามของทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อส่งเสริมการบูรณาการเศรษฐกิจดิจิทัลและระบบนิเวศทางการเงินให้มากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว

ในปี 2022 ผู้ว่าการธนาคารกลาง 5 ประเทศ ประกอบด้วยอินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ได้เซ็นหนังสือบันทึกข้อตกลงที่จะทำให้การโอนเงินไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ไปจนถึงประชาชนทั่วไปของ 5 ประเทศนั้นทำได้ง่ายขึ้นในการประชุม G20 ที่อินโดนีเซีย

การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินล่าสุดครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระแสในหลายประเทศในเอเชียที่มีการโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความนิยมในการใช้ QR Code ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งลดเวลาการแลกเงินของประชาชนของ 3 ประเทศดังกล่าว และยังเพิ่มความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน

ที่มา – MAS [1], [2]

]]>
1452362
Alibaba ขายหุ้นใน Paytm บริการจ่ายเงินในอินเดียออกจนหมด แต่ไม่ได้ให้เหตุผลใดๆ https://positioningmag.com/1418931 Sat, 11 Feb 2023 13:47:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1418931 Alibaba ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจากประเทศจีน ได้ขายหุ้นที่บริษัทถืออยู่ใน Paytm บริการจ่ายเงินในประเทศอินเดียออกจนหมด และจะได้เงินในการขายหุ้นในครั้งนี้ราวๆ 168 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 5,630 ล้านบาท แต่บริษัทไม่ได้ให้เหตุผลใดๆ ในการขายหุ้นออกหมดในครั้งนี้

ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจากประเทศจีนได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในประเทศอินเดียเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าบริษัทได้ขายหุ้นที่เหลืออยู่ทั้งหมดให้กับนักลงทุนรายอื่นที่สนใจผ่านกระดานซื้อขาย โดยมีหนึ่งในนักลงทุนที่สนใจซื้อหุ้นต่อจาก Alibaba คือ Morgan Stanley ซึ่งเป็นสถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

และการขายหุ้นของ Alibaba ครั้งนี้ตามมาหลังจาก Paytm ได้ประกาศผลประกอบการซึ่งมีกำไรเป็นครั้งแรกหลังจากที่บริษัทได้ IPO ในตลาดหุ้นอินเดีย

ก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา Alibaba ได้ขายหุ้นในสัดส่วน 3.1% ออกมา หลังจากบริษัทได้ถือหุ้นใน Paytm สัดส่วน 6.26% มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และยังได้ขายหุ้นในบริการส่งอาหารในประเทศอินเดียอย่าง Zomato ที่ถือหุ้นไว้ 3.46% ออกจนหมดด้วยเช่นกัน

คาดว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้ Alibaba ขายหุ้นออกนั้นเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอินเดียกับจีนถือว่ามีความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญหาด้านพรมแดนที่ใกล้ชิดกัน ไปจนถึงเหตุผลด้านเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดีทาง Alibaba เองก็ไม่ได้เหตุผลในการขายหุ้นในครั้งนี้แต่อย่างใด ปัจจุบันทาง Paytm ยังมี Ant Group ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทางบริษัทเทคโนโลยีจากจีนก็ถือหุ้นร่วมด้วยเช่นกัน

ที่มา – Reuters, Livemint

]]>
1418931
ได้ใช้ปีหน้า! แบงก์ชาติ 5 ประเทศ ASEAN เซ็น MOU โอนเงิน-จ่าย QR ข้ามประเทศ https://positioningmag.com/1408097 Mon, 14 Nov 2022 05:34:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408097 ผู้ว่าการธนาคารกลาง 5 ประเทศ ประกอบด้วยอินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ได้เซ็นหนังสือบันทึกข้อตกลงที่จะทำให้การโอนเงินไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ไปจนถึงประชาชนทั่วไปของ 5 ประเทศนั้นทำได้ง่ายขึ้น และคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ภายในปีหน้า

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวจากการประชุมผู้นำโลก (G20) ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้ว่าการธนาคารกลาง 5 ประเทศ ประกอบด้วยอินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ได้เซ็นหนังสือบันทึกข้อตกลง (MOU) ที่จะทำให้ประชาชน 5 ประเทศดังกล่าวสามารถโอนเงินหรือแม้แต่จ่ายเงินผ่านระบบ QR Code ได้โดยตรง

ก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม ผู้ว่าการธนาคารกลางของอินโดนีเซียได้กล่าวว่าจะมีการเซ็นข้อตกลงดังกล่าวร่วมกัน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศทั้งผู้ประกอบการ สถาบันการเงิน หรือแม้แต่ระหว่างประชาชนสะดวกมากยิ่งขึ้น

สำหรับขั้นตอนการทำงานของระบบนั้น ถ้าหากเราจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารของประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ ในประเทศไทย ระบบจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่อิงระหว่างค่าเงินบาทกับสกุลเงินอื่นๆ เช่น ริงกิตมาเลเซีย รูเปียห์ สิงคโปร์ดอลลาร์ และไม่ผ่านค่าเงินตัวกลางอย่างดอลลาร์สหรัฐ (ซึ่งวิธีการดังกล่าวเรียกว่า Local Currency Settlement)

ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้มีความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยที่ทำให้ 2 ประเทศสามารถโอนเงินข้ามระหว่างประเทศได้สะดวกมากขึ้นมาแล้ว

ความร่วมมือดังกล่าวยังปูทางไปยังระดับสกุลเงินดิจิทัลที่สามารถโอนเงินข้ามประเทศได้ภายในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย โดยคาดว่าระบบดังกล่าวจะเริ่มใช้งานได้ภายในปี 2023 นี้

โจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียยังได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่าเขาคาดว่าความร่วมมือดังกล่าวของธนาคารกลาง 5 ประเทศในอาเซียนนี้จะขยายความร่วมมือไปในระดับโลกได้หลังจากนี้

]]>
1408097
ยึดพื้นที่! เทรนด์ธุรกิจ “สะดวกซื้อ-ซัก-ตู้กด” บุกหนัก รับพฤติกรรมผู้บริโภค “เน้นสบาย” https://positioningmag.com/1240052 Wed, 24 Jul 2019 23:05:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240052 แนวโน้มการขยายตัวของประชากรไทยอาศัยในพื้นที่เมือง ปี 2563 จะมีสัดส่วนแตะ 50% อีกทั้งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรม ทำให้ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ต้องการความสะดวกทุกด้าน ทั้งการจับจ่ายสินค้าและการใช้เซอร์วิสต่างๆ

ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาด้านแบรนด์ กล่าวว่า พฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ มีไลฟ์สไตล์ ที่ต้องการ “ความสะดวก” ทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือในฝั่งธุรกิจค้าปลีก ที่หันไป ช้อป ออนไลน์ มากขึ้น ธุรกิจค้าปลีกต้องแข่งขันพัฒนาทั้งอีคอมเมิร์ซและระบบส่งสินค้าให้เร็วที่สุด “แจ็ค หม่า” แห่งอาลีบาบา ย้ำว่าระยะเวลาส่งที่ลูกค้าพอใจ ต้องทำให้ได้ภายใน 30 นาที โดยยึดต้นแบบมาจากการสั่งพิซซ่า เดลิเวอรี่ ที่สร้างการรับรู้และระยะเวลารอคอยของตัวเลขดังกล่าว

เพย์เมนต์ “สะดวก” ได้อีก

สำหรับค้าปลีก Physical Store ทุกประเภท ปัจจุบันต้องยอมรับว่าการจับจ่าย ยังมีความไม่สะดวกเรื่องการ “จ่ายเงิน” ที่ต้องเสียเวลารอคิว ซึ่งต่อไปจะมีเทคโนโลยีมารองรับให้จ่ายสะดวกมากขึ้น ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ได้พัฒนาต้นแบบสาขาที่ไม่ต้องต่อคิวจ่ายเงิน ที่ True Digital Park ใช้เทคโนโลยี Face Recognition แสดงตัวตน ลูกค้าเข้ามาหยิบสินค้าแล้วออกไปได้เลย ตัดเงินอัตโนมัติผ่าน All Member รูปแบบเดียวกับ Amazon Go ในสหรัฐฯ

ซูเปอร์มาร์เก็ต ในฝั่งยุโรป ทั้งสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ได้ติดตั้งเทคโนโลยีเครื่องยิงบาร์โค้ดจ่ายเงินไว้บนรถเข็น เมื่อหยิบสินค้าจากชั้นวาง ก็นำมาสแกนบาร์โค้ดจ่ายเงินที่เครื่องได้ทันที เมื่อซื้อสินค้าเสร็จก็จ่ายด้วยบัตรเครดิต ทำให้ผู้บริโภคสะดวกในการจับจ่าย ไม่ต้องนำสินค้าออกจากรถเข็นไปจ่ายเงิน

“เทคโนโลยีจ่ายเงินที่สะดวกไม่ต้องรอคิว ทำให้ความไม่สะดวกสบาย ที่เกิดขึ้นในร้านค้าปลีกน้อยลง”

สิ่งที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง คือ ระบบเพย์เมนต์สามารถพัฒนาให้สะดวกได้อีก ต่อไปรูปแบบการจ่ายเงินในร้านค้าปลีกจะใช้เทคโนโลยี Biometrics การระบุตัวตนแบบอัจฉริยะโดยใช้ข้อมูลทางกายภาพของบุคคล มาใช้ในระบบจ่ายเงินมากขึ้น

แม้ Physical Store จะนำเสนอเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกให้แล้วจำนวนมาก แต่ก็ยังมี “ความไม่สะดวก” ที่เกิดขึ้น จากการต้องคิดว่าจะซื้ออะไร ดังนั้นความสะดวกต่อไปจึงเป็นเรื่องของ Mental Convenience คือไม่ต้องคิดเอง เพราะเทคโนโลยีและดาต้าที่เก็บข้อมูลไว้ ทำให้ระบบสามารถคิดและนำเสนอความต้องการได้ จากสิ่งที่เคยซื้อประจำและสิ่งที่สนใจซื้อจากการค้นหาข้อมูลของผู้บริโภคเอง

“อินไซต์ของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทุกคนไม่ได้อยากลำบาก ต้องการความสะดวกสบาย เทคโนโลยีและดาต้า จะเข้ามาตอบโจทย์พฤติกรรมเหล่านี้ได้ดี”

ร้านสะดวกซื้อเปิดศึกชิงทำเล-เพิ่มเซอร์วิส

สำหรับธุรกิจตอบโจทย์เทรนด์ “สะดวก” ยุคแรก ต้องยกให้ “ร้านสะดวกซื้อ” หรือ Convenience Store แบรนด์เบอร์หนึ่งของโลก 7-Eleven ที่เข้ามาเปิดสาขาแรกในไทยครั้งแรกปี 2532 หรือกว่า 30 ปี ถือสิทธิ์แฟรนไชส์โดยเครือซีพี

ปีนี้ 7-Eleven วางแผนเปิดร้านใหม่รวม 700 สาขา ใช้งบลงทุน 4,000 ล้านบาท ทำให้สิ้นปี 2562 7-Eleven จะมีถึง 11,688 สาขา วางเป้าหมายปี 2564 มีสาขารวม 13,000 สาขา จำนวนสาขา 7-Eleven ในไทยเป็นอันดับ 2 รองญี่ปุ่นประเทศเดียวที่มีสาขา กว่า 20,000 สาขา

เป้าหมาย 7-Eleven ที่ยังเปิดสาขาต่อเนื่องปีละ 700 สาขา แม้ปัจจุบันมีสาขากระจายอยู่ในทุกตรอกซอยแล้วก็ตาม บางทำเลตั้งอยู่ใกล้กัน หรือคนละฝั่งถนน ถือเป็นยุทธศาสตร์กวาดกำลังซื้อหนาแน่นและกัน “คู่แข่ง” ไปในตัว

ไม่เพียงขายสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม ที่มียอดขายเป็นสัดส่วน 70% เท่านั้น แต่ 7-Eleven เพิ่มเติมเซอร์วิสใหม่ๆ เข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น “แบงกิ้งเอเย่นต์” รับฝาก-ถอนเงิน, บริการรับส่งพัสดุ Speed D, บริการเครื่องถ่ายเอกสาร, จุดรับซัก อบ รีด, จุดคืนภาษีนักท่องเที่ยว, ร้านขายยา เพื่อให้บริการความสะดวกทุกรูปแบบ นอกจากการเป็นร้าน “อิ่มสะดวก” 24 ชั่วโมง

สมรภูมิค้าปลีกวันนี้ ผู้ประกอบการในตลาดต่างมองโอกาสการเติบโตไปที่ “ไซส์เล็ก” เพราะฟอร์แมต “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” ก็ไม่สามารถเปิดได้ในหลายพื้นที่ จึงไม่สะดวกต่อการเข้าถึงของผู้บริโภค สินค้าและชั้นวางจำนวนมากทำให้ต้องใช้เวลาเลือกซื้อ เมื่อถึงชั้นวางมีสินค้าจำนวนมาก ทำให้ต้องเสียเวลาคิดอีก ค้าปลีกไซส์ใหญ่จึงไม่สอดคล้องกับเทรนด์ “สะดวก” ของผู้บริโภคในยุคนี้

สะท้อนได้ชัดเจนจาก “เทสโก้ โลตัส” ประกาศขอโฟกัสขยายสาขาไซส์เล็ก “เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส” เซ็กเมนต์เดียวกับคอนวีเนี่ยนสโตร์

สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส มองว่าค้าปลีกคอนวีเนี่ยนสโตร์ ที่เข้ามาตอบโจทย์สังคมเมืองขยายตัว ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก ปัจจุบันมีสาขา Express แล้ว 1,600 สาขา ทั่วประเทศ ภายใน 3 ปีนี้ จะเปิดเพิ่มอีก 750 สาขา หรือเฉลี่ยปีละ 250 สาขา สปีดเร็วขึ้นกว่าเดิม 5 เท่าตัว” จากเดิมที่เปิดปีละ 50 สาขา ดังนั้นภายใน 3 ปีนี้ จะมี Tesco Lotus Express รวม 2,350 สาขา

สาขาโฉมใหม่ใช้คอนเซ็ปต์สินค้า For Now เพิ่มกลุ่มอาหารสดพร้อมรับประทานทันทีเข้ามามากขึ้น พร้อมทั้งให้บริการ “ร้านกาแฟ” Tesco Coffee โดยใช้ผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟจากดอยตุง บริการไปรษณีย์ 24 ชั่วโมง โดยเป็นจุดรับส่งของไปรษณีย์ไทย นอกจากนี้ “แดรี่ ควีน” ได้เข้ามาเข้าพื้นที่ให้บริการอีกด้วย

พลิกกลยุทธ์สู้ไม่ถอยในตลาดร้านสะดวกซื้อเช่นกัน สำหรับ ลอว์สัน (Lawson) แบรนด์เบอร์ 3 ในตลาดญี่ปุ่นที่มีกว่า 15,000 สาขา แต่เพิ่งเข้าสู่ตลาดไทย ในปี 2556 โดยเป็นพันธมิตรร่วมทุนกับเครือสหพัฒน์

โคอิชิ ฮิโรเซะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด ผู้บริหารร้าน “ลอว์สัน 108” ในประเทศไทย กล่าวว่า แม้วันนี้ตลาดคอนวีเนี่ยนสโตร์ในไทยเข้าสู่วิกฤติการแข่งขัน ทั้งทำเลที่มีรายใหญ่ยึดพื้นที่เปิดสาขาทั่วประเทศ และวิกฤติต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ โดยเฉพาะในเมืองที่ขยับขึ้นทุกปี แต่ลอว์สันก็ยังเห็นโอกาสในตลาดนี้ เพราะเป็นค้าปลีกที่ตอบโจทย์ความสะดวก

หนึ่งในกลยุทธ์การขยายสาขาจึงจับมือกับพันธมิตร เพื่อช่วยสร้าง “จุดแข็ง” ให้ลอว์สันในการขยายสาขา ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาในสถานีรถไฟฟ้า MRT และ BTS ใน 2 – 3 ปี วางเป้าหมาเปิดสาขาบนบีทีเอส 30 สาขา เรียกว่าเป็นทำเล exclusive เฉพาะลอว์สันเท่านั้น ทำให้ได้เปรียบเรื่องโลเคชั่น ในพื้นที่ระบบขนส่งมวลชน ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ตอบโจทย์สะดวกซื้อในช่วงเวลาเดินทาง

รวมทั้งความสะดวกด้านเพย์เมนต์ ทั้งบนรถไฟฟ้าบีทีเอสและสาขาทั่วไป สามารถจ่ายค่าสินค้าผ่าน Rabbit Line Pay

แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีร้านสะดวกซื้อกว่า 20,000 สาขา แต่ยังมีโอกาสเปิดเพิ่มได้อีก เพราะหากเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันมีประชากร 120 ล้านคน มีร้านสะดวกซื้อกว่า 50,000 สาขา โดยเฉลี่ยร้านสะดวกซื้อ 1 สาขา รองรับประชากร 2,000 คน นั่นเท่ากับว่าประเทศไทยยังมีโอกาสเปิดสาขาร้านสะดวกซื้อรวมได้กว่า 33,000 สาขา จากจำนวนประชากร 67 ล้านคน

“สะดวกซัก” กำลังโต

บริการ “ร้านซักผ้าหยอดเหรียญ” 24 ชั่วโมง ในต่างประเทศให้บริการกันอย่างแพร่หลาย แต่ในไทยเริ่มเห็นสาขาให้บริการหนาตามากขึ้น โดยเฉพาะช่วง 2 – 3 ปีนี้ จากการขยายแฟรนไชส์ของทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ ที่เห็นเทรนด์พฤติกรรมคนไทยหันมาใช้บริการ “สะดวกซัก” มากขึ้น อีกทั้งเป็นอีกธุรกิจที่คนสนใจลงทุน สร้างแหล่งรายได้อีกทาง

กวิน นิทัศนจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ Otteri wash & dry มองว่า สัดส่วนประชากรไทยที่อาศัยในพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้น กลุ่มนี้มีพฤติกรรมชอบความ “สะดวก” และบริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ก็เป็นอีกเทรนด์ “สะดวกซัก” ที่เข้ามาตอบโจทย์ในยุคนี้ เป็นบริการที่อยู่ตรงกลางระหว่างตู้หยอดเหรียญ ตามอพาร์ตเมนต์ คอนโด และบริการของร้าน ซัก อบ รีบ โดยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ มีบริการซักและอบแห้ง ไม่ต้องนำผ้าไปตากอีก เก็บเข้าตู้ได้เลย ราคาซักเริ่มต้น 40 บาท และอบ 40 บาท

ตลาดหลักคือกลุ่มแมส คนที่อาศัยอยู่ในชุมชน อพาร์ตเมนต์ คอนโด กลุ่มนักศึกษา คนทำงานทั่วไป ที่ไม่ต้องการลงทุนซื้อเครื่องซักผ้าและเครื่องอบที่มีราคาแพง และไลฟ์สไตล์คนไทยที่มีความเร่งรีบ ไม่มีเวลาทำงานบ้าน โดยเฉพาะการซักผ้า การอาศัยในคอนโดมิเนียมมีพื้นที่จำกัดต่อการติดตั้งเครื่องซักผ้า

ธุรกิจร้านซักผ้าหยอดเหรียญเพิ่งเริ่มต้น ในตลาดมีราว 300 สาขา ทั้งแบรนด์แฟรนไชส์ไทย ต่างชาติ และร้านไม่มีเชน หากเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรโอกาสการขยายตัว เพื่อตอบโจทย์ “สะดวกซัก” ก็ยังมีอีกมาก

“เวนดิ้ง แมชชีน” รับเทรนด์ผู้บริโภคซื้อด่วน

อีกธุรกิจที่เข้าตอบเทรนด์สะดวก คือ เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ที่ตอบโทจย์พฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบด่วน ให้บริการ 24 ชั่วโมง

ปัจจุบันตลาดไทยมีเวนดิ้ง แมชชีน ราว 20,000 ตู้ ผู้ที่เข้ามาทำตลาดรายแรกๆ เมื่อ 20 ปีก่อน คือ SUN108 ในเครือสหพัฒน์ โดยใช้โนว์ฮาวจากญี่ปุ่น อีกรายใหญ่คือ T.G. Vending ของกลุ่ม TCP (กระทิงแดง) เริ่มมาตั้งแต่ในปี 2539

ส่วนรายใหญ่ที่เข้าสู่ธุรกิจนี้ล่าสุด คือ CP โดย CP Retailink ที่เริ่มวางตู้ช่วงต้นปีนี้ ชูเทคโนโลยีรับชำระเงินทุกรูปแบบ ทั้งเงินสด E-Wallet QR Code โดยทดลองวางตู้ไปแล้ว 120 ตู้ทั่วประเทศ ทำเลโรงเรียน โรงพยาบาล อาคารสำนักงานต่างๆ ทั้งหมด 5 โมเดล ได้แก่ ตู้ 7-Eleven ขายสินค้าทั่วไป, Duck Land อาหารที่เกี่ยวกับเป็ด เช่น ข้าว บะหมี่, Farm Mee ขายอาหารเพื่อสุขภาพ, Araebtia ขายกาแฟ ทั้งกาแฟมวลชนหรือ All Café และ Bear Box เป็นของใช้ทั่วไป

สมบัติ ภาณุพัฒนา รองผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท ซัน ร้อยแปด จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเวนดิ้ง แมชชีน ในเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า ธุรกิจ เวนดิ้ง แมชชีน เริ่มคึกคักในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา จากการพัฒนาเทคโนโลยี Cashless จ่ายเงินผ่าน อี-วอลเล็ต หรือ คิวอาร์โค้ด ทำให้สะดวกจ่ายเงินมากขึ้น อีกทั้งตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ซื้อสินค้าได้ 24 ชั่วโมง

“คนที่ซื้อสินค้าจากเวนดิ้ง แมชชีน มีความตั้งใจซื้ออยู่แล้ว ไม่มีพฤติกรรมเลือกซื้อสินค้าเหมือนช่องทางค้าปลีกอื่นๆ จึงไม่ต้องการรอคิวจ่ายเงิน เป็นคนที่มีพฤติกรรมชอบความสะดวกและซื้อด่วน จะว่าไปแล้วซื้อจากตู้เร็วกว่าร้านสะดวกซื้อ ยิ่งตู้รูปแบบใหม่เป็น Cashless ทำให้สะดวกจ่ายขึ้นอีก”

]]>
1240052
ระเบิดศึกโมบายเพย์เมนต์ วัดพลังเอไอเอส ควงคู่แรบบิท+ไลน์ ปะทะ ทรูผนึกอาลีเพย์ https://positioningmag.com/1161071 Sat, 10 Mar 2018 06:13:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161071 มองทิศทาง AIS mPAY หลังจับ Rabbit LINE Pay ท้าชน TrueMoney ที่ควงคู่ Alipay หลังจากนิ่งเงียบปล่อยให้คู่แข่งอย่าง ทรู มันนี่ (TrueMoney) จับมือกับ แอนท์ ไฟแนนเชียล (ANT) ผู้ให้บริการอาลีเพย์ (Alipay) เข้ามารุกตลาดโมบายเพย์เมนต์ในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา จนก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า เอ็มเปย์ (mPAY) จะปรับตัวอย่างไรเพื่อรับกับยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ที่ทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

การประกาศร่วมทุนระหว่าง แอดวานซ์ เอ็มเปย์ และ แรบบิท ไลน์ เพย์ จึงกลายมาเป็นคำตอบที่น่าสนใจ และมีโอกาสทำให้ mPAY ที่จะผันตัวไปเป็นแพลตฟอร์มอีเพย์เมนต์ กลับมาเป็นผู้นำในตลาดนี้อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับพันธมิตรหลักอย่างแรบบิท (Rabbit) และไลน์ (LINE)

‘โอกาส’ ที่ทั้ง 3 รายมองเห็นร่วมกันคือ จำนวนลูกค้าที่ใช้งานเครือข่ายเอไอเอสกว่า 40 ล้านราย และจำนวนลูกค้าที่ใช้งาน LINE กว่า 42 ล้านราย ในไทย ที่เชื่อว่าเมื่อโครงสร้างพื้นฐานพร้อม จุดเติมเงิน และรับชำระมีมากขึ้น ผู้บริโภคคนไทยก็พร้อมที่จะปรับตัวเข้าสู่การใช้งานโมบายเพย์เมนต์มากขึ้น

ทั้งนี้ การเข้าไปร่วมทุนของบริษัท แอดวานซ์เอ็มเปย์ จำกัด จะเข้าไปร่วมทุนผ่านการซื้อขายหุ้นเพิ่มใน แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay) จำนวน 1,999,998 หุ้น ในราคาหุ้นละ 393.75 บาท รวมเป็นเงิน 787 ล้านบาท ขณะที่ระหว่างผู้ร่วมทุนเดิม ไลน์ เพย์ คอร์ปอเรชั่น และไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) กับบริษัท แรบบิท เพย์ ซิสเทม จำกัดก็ได้มีการเพิ่มทุนอีก 1,999,996หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท เพื่อให้ทั้ง 3 รายถือหุ้นเท่ากันที่ 33.33%

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ระบุว่า จากความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้ภาพรวมของโมบายมันนี่ในประเทศไทยเติบโตมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคืออยู่ภายใต้การร่วมกันผลักดันให้พฤติกรรมการใช้เงินของผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้ช่องทางดิจิทัลที่ประหยัด และปลอดภัยกว่า

โดยข้อมูลจำนวนผู้สมัครใช้งานล่าสุดของ mPAY จะอยู่ที่ราว 3-4 ล้านราย โดยในจำนวนนี้เป็นลูกค้าที่มีการใช้งานเป็นประจำ (Active User) ราว 4-5 แสนราย ในขณะที่ Rabbit LINE Pay (RLP) ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันมีลูกค้าสมัครใช้บริการราว 3 ล้านราย และจำนวนการใช้งานสูงสุดใน 1 วันอยู่ที่ 1.5 ล้านราย พร้อมกับประกาศว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน ผู้ใช้งาน Rabbit LINE Pay จะสามารถใช้ชำระค่าบริการรถไฟฟ้า BTS ได้

ทั้งนี้ จุดเด่นหลักของ mPAY ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้ามาใช้งานคือเป็นช่องทางในการชำระค่าบริการสาธารณูปโภค รวมถึงค่าบริการต่าง ๆ ได้ครอบคลุมมากที่สุดกว่า 200 รายการ ทำให้ เอไอเอส มองว่าการขยับ mPAY ขึ้นไปเป็นแพลตฟอร์มอีเพย์เมนต์ เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าโดยเฉพาะลูกค้าองค์กรจะตอบโจทย์ได้ดีกว่า

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส ให้ข้อมูลเสริมว่า ลูกค้าที่ใช้งานกระเป๋าเงิน mPAY ในปัจจุบันจะค่อย ๆ ถูกไมเกรดให้เข้าไปใช้งาน RLP ภายในแอป myAIS แทน ภายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า โดยเหตุที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านเนื่องจากต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าในการสมัครเข้าไปใช้งาน RLP ก่อน

ส่วนรูปแบบการให้บริการของ mPAY ในอนาคต ก็จะหันมาเน้นลูกค้าในส่วนขององค์กรธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากรายได้หลักของเอ็มเปย์ในปัจจุบันมาจากลูกค้ากลุ่มดังกล่าวอยู่แล้ว ทั้งในแง่ของการให้บริการโอนเงินระหว่างบริษัท รวมถึงการเชื่อมระบบอีเพย์เมนต์ต่าง ๆ

ดังนั้น ต่อไปในแง่ของการให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์แก่ผู้บริโภคทั่วไปจะอยู่ภายใต้ RLP ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายกว่า จากพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าที่ปัจจุบันกว่า 95% ของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมีการติดตั้งและใช้งานแอปพลิเคชัน LINE รวมถึงระยะเวลาในการใช้งานเฉลี่ยของคนไทยในแต่ละวันสูงถึง 63 นาที

จิน วู ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Rabbit LINE Pay เสริมว่า ความร่วมมือระหว่าง LINE และเอไอเอส จริง ๆ แล้วเริ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 2012 จากการให้บริการ LINE Official Sticker น้องอุ่นใจ ถัดมาในปี 2014 ที่ LINE นำเกม Cookie Run เข้ามา เอไอเอส ก็เป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ร่วมทำแคมเปญการตลาด

จนมาถึงการร่วมมือ AIS mPAY x Rabbit LINE Pay ในครั้งนี้ ที่เข้ามาช่วยเสริมอีโค ซิสเต็มส์ของ RLP ในแง่ของช่องทางการเติมเงินจากเดิมที่ผู้ใช้สามารถเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินออนไลน์ได้จากการผูกบัญชีธนาคาร และจุดรับเติมเงินอย่าง Kerry Express ซึ่งเมื่อร่วมกับ mPAY ช่องทางอย่าง M Pay Station ศูนย์บริการเอไอเส และเทเลวิซ รวมจุดเติมเงินอีกกว่า 1 แสนจุดทั่วประเทศ ก็จะสามารถเติมเงินเข้า RLP ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่อเชื่อมต่อระบบเข้าด้วยกันลูกค้า RLP ก็จะเข้าถึงช่องทางชำระเงินค่าบริการ และค่าสาธารณูปโภคกว่า 200 รายการของ mPAY ไม่นับรวมกับช่องทางชำระเงินอื่น ๆ ที่ทาง RLP อีกกว่า 9,000 จุด และมีแผนที่จะขยายเพิ่มเติมให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วไปอีก

ความร่วมมือครั้งนี้ จึงถือเป็นการปลดล็อก mPAY ที่ถูกปั้นขึ้นมาโดยพี่ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวเป็นบริการลูกรักที่อยู่คู่กับซีอีโอคนปัจจุบัน ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถูกมรสุมกระหน่ำจากการที่เหล่าธนาคารต่างหันมาให้บริการออนไลน์ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน

กลับกันเมื่อมาดูในฝั่งของ TrueMoney ที่ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าที่สมัครใช้งานราว 8 ล้านราย โดยเป็นลูกค้าที่ใช้งานประจำราว 4 ล้านราย ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้ และคาดว่าจนถึงปี 2020 จะสามารถเพิ่มฐานลูกค้าที่สมัครใช้งานเป็น 30 ล้านรายได้

โดยในช่วงก่อนหน้านี้ ลูกค้าหลักที่ใช้งาน TrueMoney จะเริ่มจากกลุ่มที่เป็นเกมเมอร์ ใช้ในการเติมเงินเกมออนไลน์ และโอนเงินภายในระบบ จนกระทั่ง TrueMoney จับมือกับ ANT จึงเริ่มขยายการให้บริการสู่การชำระเงินผ่านช่องทางออฟไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในแง่ของการรองรับนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวในไทย

จุดแข็งสำคัญของ TrueMoney ในเวลานี้จึงขึ้นอยู่กับการนำร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ที่มีสาขาอยู่มากกว่า 1 หมื่น แห่งทั่วประเทศ ที่มีโอกาสขยายไปให้บริการปล่อยสินเชื่อรายย่อยให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ เมื่อรวมกับช่องทางชำระสินค้าและบริการในกลุ่มทั้งของซีพี และทรูมูฟ เอช จึงทำให้กลายเป็นผู้นำอยู่ในเวลานี้

เมื่อรวมกับเป้าหมายเดิมของ TrueMoney และ ANT ในการขยายร้านค้าชำระเงินให้กลายเป็น 1 แสนแห่งในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้การแข่งขันระหว่าง 2 กลุ่มพันธมิตรนี้จะช่วยเพิ่มจุดรับชำระเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดให้แก่ประเทศไทย

ขณะที่ถ้ามองในภาพใหญ่ การขยับตัวครั้งนี้ของ mPAY ร่วมกับอีก 2 พันธมิตร ยังเน้นการให้บริการเฉพาะลูกค้าที่ใช้งานในประเทศเท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายของทรูมันนี่ ภายใต้แอสเซนด์ กรุ๊ป วางเป้าใหญ่ไปในระดับภูมิภาคอาเซียน ด้วยฐานลูกค้าที่หวังไว้ราว 100 ล้านราย จากจำนวนประชากรกว่า 620 ล้านราย ภายในปี 2020

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักเดียวกันของผู้ให้บริการอีเพย์เมนต์ หรืออีมันนี่ในไทย ที่ถูกผลักดันและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานได้สะดวกขึ้นทั้งการมาของระบบชำระเงินผ่าน QRcode จากทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงการโอนเงินภายใต้บริการอย่างพร้อมเพย์ ที่ช่วยตัดปัญหาค่าใช้จ่ายในการโอนเงินข้ามบัญชี และการปรับตัวของหลาย ๆ ธนาคารที่ร่วมวงเข้ามาจับพฤติกรรมการออนไลน์ของลูกค้า ต่างอยู่บนพื้นฐานของการเปลี่ยนประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสดด้วยกันทั้งสิ้น

‘บริการ RLP ไม่จำกัดว่าเป็นแค่ลูกค้าเอไอเอสถึงจะใช้บริการได้ เพราะใช้การลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชน ใครก็ได้ที่ใช้ไลน์ก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ทุกคน บริการที่สะดวก ปลอดภัยนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้คนที่อยากใช้จะต้องย้ายค่ายมาใช้ แต่เรามองว่าทุกคนสามารถใช้บริการนี้ได้’ ปรัธนากล่าวส่งท้าย.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000024058

]]>
1161071
ดีแทคขายกิจการชำระเงิน Paysbuy ให้ Omise แล้ว https://positioningmag.com/1131888 Thu, 06 Jul 2017 06:37:12 +0000 http://positioningmag.com/?p=1131888 รายงานข่าวจาก www.techinasia.com ได้ระบุถึง ดีลของบริษัท Omise ให้บริการชำระเงินออนไลน์ได้เข้าซื้อกิจการ Paysbuy ในส่วนของธุรกิจชำระเงินออนไลน์จากดีแทค ผู้ให้บริการมือถือ ส่วนมูลค่าของดีลนี้ยังไม่มีการเปิดเผย ภายใต้เงื่อนไขของดีลนี้ ธุรกิจการชำระเงินของ Paysbuy จะเข้ามารวมกับ Omise ทันที ส่วนธุรกิจส่วนอื่นๆ ยังคงอยู่กับดีแทค

ก่อนการเข้าซื้อกิจการ Paysbuy บริษัท Omise ได้ระดมเงินทุนเพิ่มจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่าน Token sale ที่เป็นเหมือนเงินดิจิทัล

Paysbuy เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์รายแรกที่เปิดให้บริการแก่ผู้บริโภคชาวไทย เปิดตัวโดยดีแทค หนึ่งในโอเปอเรเตอร์ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

สำหรับ Omise ก่อตั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2556 โดย Jun. Hasegawa และ Ezra Don Harinsut เดิมทีนั้น Omise เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แต่หลังจากที่เกิดความยุ่งยากในการชำระเงิน จึงตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มของตนเอง

หลังจากนั้นหนึ่งปีที่ผ่านมา Omise ได้รับระดมทุน ซีรีย์ B มูลค่า 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย SBI Investment บริษัทลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น การลงทุนครั้งนี้เพื่อนำเพย์เมนต์เกตเวย์ของไทยขยายตลาดไปยังตลาดใกล้เคียง

การเข้าซื้อกิจการ Paysbuy ในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้บริโภคชาวไทยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น อาศัยฐานลูกค้าเดิมของ Paysbuy และมีแผนจะเปิดตัวบริการใหม่ OmiseGO เป็นอีวอลเล็ท จะเปิดตัวช่วงปลายปีนี้

อุตสาหกรรมการชำระเงินออนไลน์ในไทยจะยิ่งร้อนระอุขึ้น นอกเหนือจากแพลตฟอร์มคู่แข่งที่เป็นโลคอลอย่าง 2C2P แล้ว Omise ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันในระดับภูมิภาคจากผู้เล่นระดับโลกเช่น Stripe อีกด้วย

สำหรับ Paysbuy ถือเป็นผู้ประกอบให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-มันนี่ รายแรกๆ ของไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 โดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E Money License) จากธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ กรกฎาคม 2548 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี 2551 ดีแทคได้เข้าซื้อกิจการและกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ถือเป็นบริษัทลูกของดีแทค ที่ได้นำคนจากดีแทคเข้าไปร่วมบริหาร และดำเนินธุรกิจมา 9 ปี จนได้ตัดสินใจขายกิจการไปให้กับบริษัท Omise


ที่มา : https://www.techinasia.com/omise-acquires-paysbuy

]]>
1131888