Podcast – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 15 May 2024 06:05:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Youtube ประกาศสู้ศึก Podcast ชูจุดเด่น ‘พอดแคสต์แบบวิดีโอ’ ท้าชน 2 คู่แข่งสำคัญ Spotify และ Apple https://positioningmag.com/1473606 Wed, 15 May 2024 01:47:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473606 Youtube ประกาศสู้ศึก Podcast โดยชูจุดเด่นในเรื่องของ ‘พอดแคสต์แบบวิดีโอ’ เพื่อที่จะชนกับคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Spotify และ Apple ซึ่งปัจจุบันตัวเลขผู้ฟังนั้นยังเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้บริษัทเห็นโอกาสในการขยายช่องทางผู้ฟัง

Youtube โดยล่าสุดบริษัทเตรียมลุยตลาดพอดแคสต์ (Podcast) ที่มีผู้ฟังเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีคู่แข่งรายสำคัญนั่นก็คือ Spotify และ Apple ที่เป็น 2 ผู้เล่นใหญ่ในตลาดนี้ โดยมองว่าแพลตฟอร์มของบริษัทสามารถที่จะเป็นจุดที่ผู้ฟังสามารถหารายการใหม่ๆ ในสิ่งที่ตัวเองสนใจได้

ในงานสัมมนาของผู้ผลิต Podcast ซึ่งจัดโดย Youtube เมื่อไม่นานมานี้ ทีมงานผู้บริหารของ Youtube ถึง 2 รายได้กล่าวถึงความนิยมในแพลตฟอร์มสำหรับผู้ฟัง Podcast ไม่ว่าจะเป็นการฟังด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว หรือแม้แต่ Podcast ที่เป็นวิดีโอก็เช่นกัน

ขณะที่ Johanna Voolich ผู้บริหารสูงสุดด้านผลิตภัณฑ์ของ Youtube เคยกล่าวใน Blog ของบริษัทว่า สูตรลับของ YouTube คือคำแนะนำของแพลตฟอร์ม ช่วยให้ผู้คนค้นพบสิ่งใหม่ๆ หรือเจาะลึกสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ (ผ่าน Podcast) ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ผลิต Podcast เข้าถึงผู้ชมใหม่ๆ ที่พบได้บน YouTube เท่านั้น

Emma Sweet ผู้จัดการฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับ Podcast และเพลง ของ Youtube กล่าวว่า บริษัทได้ให้ความสำคัญกับ Podcast แม้ว่าจะไม่ใช่วิดีโอ ผลงานของผู้ผลิตก็สามารถขึ้นโชว์บนหน้าแรกได้ และนอกจาก Youtube Music แล้ว บริษัทยังขยายทางเลือกให้กับผู้ฟังสามารถฟัง Podcast ได้

นอกจากนี้ Youtube เองเตรียมที่จะพัฒนาระบบการฟังข้ามอุปกรณ์ ให้ผู้ฟังสามารถที่จะฟัง Podcast ได้สะดวกเพิ่มมากขึ้น ถ้าหากมีการสลับใช้งานอุปกรณ์เช่น ฟัง Podcast บนคอมพิวเตอร์ที่บ้าน แล้วมาใช้งานบนโทรศัพท์มือถือต่อ เป็นต้น

ทางด้านในส่วนของผู้ผลิต Podcast นั้นในการอัปโหลดรายการขึ้นไปยัง Youtube Music นั้นก็สามารถมีรายการอยู่บน Youtube ได้ทันที ไม่ต้องอัปโหลดซ้ำ ไม่เพียงเท่านี้ถ้าหากผู้ผลิต Podcast ได้อัปโหลด Podcast ทั้ง 2 รูปแบบทั้งแบบมีเสียงอย่างเดียว หรือมีวิดีโอด้วย ผู้ใช้งานสามารถกดเปิดปิดว่าจะดูวิดีโอได้ทันที

ข้อมูลจาก eMarketer และ PodcastIndex ชี้ว่าจำนวนผู้ฟัง Podcast นั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ตัวเลขล่าสุดในปี 2021 อยู่ที่ 383.7 ล้านราย เติบโตมากถึง 15.5% และคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะยังเติบโตเรื่อยๆ

คู่แข่งรายสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น Spotify หรือแม้แต่ Apple เองได้เอาจริงเอาจังในส่วนของ Podcast เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ฟังมีจำนวนที่มาก และยังมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยให้ผู้ฟังสามารถที่จะหารายการโปรดหรือรายการแนวที่ชอบได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

หลังจากนี้ศึกของแพลตฟอร์มในการฟัง Podcast นั้นจะดุเดือดกว่านี้อย่างแน่นอน เพราะหลายบริษัทได้มีการลงทุนในเรื่องดังกล่าวไปไม่น้อย

ที่มา – 9to5Google, Business Insider

]]>
1473606
Spotify ประกาศใช้ AI ของ Google เพื่อแนะนำ Podcast และ Audiobooks ให้โดนใจผู้ฟังมากขึ้น https://positioningmag.com/1452278 Thu, 16 Nov 2023 17:39:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452278 Spotify ได้ประกาศขยายความร่วมมือกับ Google ในการนำระบบ AI เข้ามาใช้เพื่อที่จะแนะนำ Podcast และ Audiobooks ให้ถูกใจผู้ฟังมากขึ้น หลังจากที่บริษัทได้นำเทคโนโลยี AI มาเป็น DJ ช่วยแนะนำในการฟังเพลงมาแล้ว

Spotify ได้ประกาศขยายความร่วมมือกับ Google ในการนำระบบ AI เข้ามาใช้เพื่อที่จะแนะนำ Podcast และ Audiobooks ให้ถูกใจผู้ฟังมากขึ้น

บริษัทสตรีมมิ่งเพลงรายนี้ได้ใช้ระบบ Google Cloud’s LLMs โดยระบบดังกล่าวจะวิเคราะห์ Podcast จำนวน 5 ล้านชุด และ Audiobooks ถึง 350,000 ชุด เพื่อที่จะนำข้อมูลไม่ว่าจะเป็นผู้จัดทำ หรือแม้แต่คำบรรยาย ไปประมวลผลเพื่อที่จะส่งผลลัพธ์ให้กับผู้ใช้งานได้แม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ระบบ AI ดังกล่าวยังช่วยระบุเนื้อหาที่เป็นอันตราย แต่ Spotify ไม่ได้กล่าวลงรายละเอียดแต่อย่างใด

สำหรับความร่วมมือดังกล่าวของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ Spotify ประกาศใช้บริการระบบ Cloud ของ Google แต่เพียงเจ้าเดียวมาแล้วนับตั้งแต่ปี 2016 นอกจากนี้ยักษ์ใหญ่บริการสตรีมมิ่งเพลงรายนี้ได้ใช้บริการอื่นๆ ของ Google เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่เพียงเท่านี้ทั้ง 2 บริษัทประกาศว่าจะมีความร่วมมือด้านวิศวกรรมเพื่อที่จะทำให้บริการของ Spotify ดีมากยิ่งขึ้น ผ่านการใช้ Cloud ของ Google ด้วย

โดย Spotify ได้เริ่มต้นนำอัลกอริธึมแนะนำเพลงให้กับผู้ใช้งานเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะนำเทคโนโลยี AI มาเป็น DJ โดยใช้ข้อมูลจากเพลงที่ผู้ใช้งานฟังบ่อยๆ

ขณะเดียวกัน Spotify ได้มองหาวิธีการเพิ่มรายได้อื่นๆ นอกจากการสตรีมมิ่งเพลง ซึ่งการนำระบบ AI มาแนะนำ Podcast รวมถึง Audiobooks ให้ถูกใจผู้ฟังมากขึ้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดังกล่าวดัวย

ที่มา – Reuters, The Verge

]]>
1452278
มองอนาคต ‘โซเชียลเสียง’ เมื่อแพลตฟอร์มเจ้าใหญ่ต่างตบเท้าลุยตลาดชน Clubhouse https://positioningmag.com/1334782 Tue, 01 Jun 2021 13:25:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334782 ในช่วงปีที่ผ่านมาที่เกิดการระบาดของ COVID-19 จู่ ๆ ก็มีแพลตฟอร์มโซเชียลน้องใหม่ที่มาแปลกและมาแรงหรือก็คือ ‘Clubhouse’ เพราะเป็นโซเชียลมีเดียที่เน้นใช้ ‘เสียง’ ในการสนทนา (ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นเป็น Text) แม้ในไทยกระแสจะซาลงไป แต่หากพูดในระดับโลกแล้วจะเห็นว่าแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Facebook, Twitter ต่างก็ลงมาเล่นในตลาดนี้ หรืออนาคตโซเชียลจะเน้นไปที่การฟังมากกว่าการอ่าน

ยอดฟังพอดคาสต์ลด แต่มีเดียประเภทเสียงโต

ตั้งแต่เกิดการระบาด การฟังพอดคาสต์ก็ลดลง เนื่องจากการผู้คนไม่ได้ออกจากบ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการฟังพอดคาสต์ระหว่างเดินทาง โดยยอดดาวน์โหลดพอดคาสต์ช่วงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 25 มีนาคม 2020 ลดลง 10% แต่กลับกันยอดการฟังมีเดียประเภทเสียงกลับเติบโตขึ้น ที่ผ่านมา eMarketer ได้แก้ไขประมาณการในปี 2020 จากที่เวลาการฟังมีเดียเสียงลดลง 1% เป็นการเติบโต 8.3% เฉลี่ยที่ประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งต่อวัน ขณะที่ Clubhouse อ้างว่าผู้ใช้ใช้เวลากับแอปโดยเฉลี่ยมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน

ในขณะที่ผู้คนอาจเดินทางน้อยลงและอาจใช้เวลาช่วงแรก ๆ ของการแพร่ระบาดของโรคในการดูข่าว แต่ความเจ๋งของคอนเทนต์รูปแบบเสียงก็ยังคงอยู่ เพราะผู้คนสามารถฟังขณะทำอาหาร, ทำความสะอาดและออกกำลังกาย ขณะที่คอนเทนต์ประเภทวิดีโอยังต้องใช้ตาดู

Discord, Clubhouse แพลตฟอร์มคนรุ่นใหม่

โดยในปีที่ผ่านมาโซเชียลมีเดียที่เน้นใช้เสียงสนทนาอย่าง Clubhouse และ Discord กลายเป็นแพลตฟอร์มของคนรุ่นใหม่หลายคนคาดว่า จุดที่ทำให้ทั้ง 2 แพลตฟอร์มประสบความสำเร็จก็คือ การ พูดคุยสด ๆ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของประสบการณ์ทางสังคมรูปแบบใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งจุดนี้เองทำให้ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียพยายามเข้ามาในตลาด

สำหรับเกมเมอร์จะคุ้นเคยกับ Discord แน่นอน โดย Discord ถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกด้านเสียง ซึ่งเริ่มจากเป็นแพลตฟอร์มแชทสำหรับนักเล่นเกมตั้งแต่ปี 2558 ได้รับความนิยมอย่างมากและมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว โดยผู้ใช้สามารถสนทนาผ่านข้อความและแชทด้วยเสียงพร้อมกับวิดีโอ ปัจจุบันแพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานกว่า 150 ล้านคน/เดือน จากที่ปี 2562 มี 56 ล้านคน/เดือน

หน้าแชทของ Discord

แพลตฟอร์มจะให้ผู้ใช้สามารถตั้ง ห้อง ที่ทำหน้าที่เป็นชุมชนออนไลน์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ แม้ว่าฐานผู้ใช้ในช่วงแรกของบริษัทจะเน้นไปที่การพูดคุยเกี่ยวกับเกมเป็นหลัก แต่ความน่าสนใจของบริษัทก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้คนพบชุมชนบนแพลตฟอร์มเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ เกม ข่าว กีฬา หรือฟุตบอลและเรื่องจิปาถะอื่น ๆ 

ที่ผ่านมา Discord ระดมทุนได้เกือบ 500 ล้านดอลลาร์จากนักลงทุน รวมถึง Sony Interactive Entertainment, Tencent, Index Ventures และ Greylock ของ Reid Hoffman ขณะที่ Microsoft เคยเสนอราคาให้กับแพลตฟอร์มดังกล่าวถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในขณะที่ Clubhouse ที่เปิดตัวในช่วงการแพร่ระบาดก็ได้ขยายฐานผู้ใช้อย่างรวดเร็วส่งผลให้บริษัทมีมูลค่าหลายพันล้าน หลังจากที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2020 ซึ่งมีลักษณะเป็นแพลตฟอร์มการสนทนาด้วยเสียงแบบสด โดยผู้ที่จะใช้งานต้องได้รับเชิญเท่านั้น ปัจจุบัน บริษัทได้ขยายจากที่สามารถโหลดได้เฉพาะ iOS ไปเป็น Android แล้ว

เสียงคอนเทนต์ที่อยู่ยงคงกระพันที่สุด

หลังจากที่มัวอย่างความสำเร็จให้เห็น ยักษ์ใหญ่ด้านโซเชียลมีเดียได้เปิดตัวบริการที่คล้ายกัน เริ่มจาก Twitter ที่เปิดตัวฟีเจอร์ Spaces เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคลิกจากทวีตเพื่อเข้าสู่แชทสดได้ ส่วน Facebook ก็ประกาศที่จะทำฟีเจอร์ Live Audio Rooms ที่จะคล้าย ๆ กับ Clubhouse ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ LinkedIn ของ Microsoft กำลังเพิ่มฟีเจอร์เสียงด้วยเช่นกัน ส่วน Spotify ได้ซื้อ Betty Labs ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Locker Room ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Clubhouse

“เสียงเป็นสื่อที่เก่าที่สุด … เรารวมตัวกับคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ และพูดคุยกันมาตั้งแต่เริ่มอารยธรรม เสียงจึงเป็นเป็นสื่ออยู่ยงคงกระพันที่สุด” Paul Davison ซีอีโอของ Clubhouse กล่าว

สุดท้ายแล้ว ปัญหาเดียวของ โซเชียลเสียง น่าจะเป็นเรื่องของ เวลา และ ความน่าสนใจ เพราะในเดือนกุมภาพันธ์ที่ตัวเลขผู้ใช้ Clubhouse ลดลง เพราะไม่ได้มีผู้พูดระดับแม่เหล็กอย่าง Elon Musk CEO ของ Tesla และ Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook ที่เคยดึงดูดผู้ฟังจำนวนมาก ดังนั้น แม้เสียงเป็นเป็นสื่ออยู่ยงคงกระพันที่สุด แต่จากนี้จะดึงคนฟังได้แค่ไหนก็คงต้องขึ้นอยู่กับผู้พูดแล้วล่ะ

Source

]]>
1334782
กลยุทธ์การบุก “พอดคาสต์” ของ Spotify กำลังไปผิดทางหรือเปล่า? https://positioningmag.com/1314559 Fri, 15 Jan 2021 16:35:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314559 Citi เตือนการลงทุนของ Spotify ในกลุ่มคอนเทนต์ “พอดคาสต์” ว่าอาจจะกำลังไปผิดทางและไม่ได้ผลอย่างที่คิด หลังจากบริษัททุ่มทุนรวมไปมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อจะเป็นเจ้าตลาดพอดคาสต์ โดยเชื่อว่าคอนเทนต์กลุ่มนี้จะช่วยดึงให้สมาชิกสมัครระบบพรีเมียมเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ผ่านมาแล้วเกือบ 2 ปีก็เหมือนจะยังไม่เกิดผล

Citi ร่อนบทวิเคราะห์ให้ลูกค้านักลงทุนเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2021 ถึงกลยุทธ์ของ Spotify ที่ทุ่มลงทุนซื้อบริษัทผลิตคอนเทนต์พอดคาสต์ไปหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐมาตั้งแต่ปี 2019 ว่าอาจจะไม่ได้ผล

“แนวโน้มกำไรจากการสมัครสมาชิกประเภทพรีเมียม (ช่วงไตรมาส 3/2020) และยอดดาวน์โหลดแอปฯ (ช่วงไตรมาส 4/2020) ไม่ได้แสดงให้เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนจากการลงทุนในพอดคาสต์ (ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2019)” บทวิเคราะห์รายงาน และบริษัทยังเคาะ “ขาย” หุ้นตัวนี้จากเดิมที่แนะนำให้ “เก็บ” ทั้งนี้ ราคาหุ้น Spotify ปรับลงมาแล้ว 3.5%

บริษัท Spotify เริ่มทุ่มซื้อกิจการ “พอดคาสต์” ในช่วงต้นปี 2019 เริ่มจากการไล่ซื้อกิจการ Gimlet Media,  Anchor และ Parcast กลุ่มนี้เป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์พอดคาสต์ โดยใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 396 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากนั้นเข้าซื้อบริษัท The Ringer ซึ่งทำคอนเทนต์ข่าวกีฬาและบันเทิงด้วยเม็ดเงิน 196 ล้านเหรียญ ตามด้วยการซื้อ Megaphone ในราคา 235 ล้านเหรียญ โดยบริษัทนี้จะมาเสริมทัพด้านเทคโนโลยี “โฆษณา” ในพอดคาสต์

สิริรวมการลงทุนในธุรกิจพอดคาสต์ของ Spotify พุ่งไปมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว ทั้งที่ในปี 2019 บริษัทเพิ่งจะมีกำไร 107 ล้านเหรียญเท่านั้น นี่ยังไม่นับการเข้าเซ็นสัญญา ‘exclusive’ กับคนดังจำนวนมากให้มาลงพอดคาสต์ใน Spotify เพียงแห่งเดียว เช่น คิม คาร์เดเชียน เวสต์, มิเชล โอบามา, เจ้าชายแฮร์รี่และเมแกน มาร์เคิล ซึ่งคาดกันว่าจะต้องใช้เงินทำสัญญาอีกหลายล้านเหรียญทีเดียว

ตัวอย่างคอนเทนต์ exclusive จาก มิเชล โอบามา อดีตสตรีหมายเลข 1 แห่งสหรัฐฯ

กลยุทธ์แต่ดั้งเดิมของ Spotify ในการกว้านซื้อธุรกิจพอดคาสต์คือ บริษัทมองว่าพอดคาสต์ ‘กำลังมา’ และถ้าบริษัทมีคอนเทนต์ระดับ exclusive แต่เพียงผู้เดียว บริษัทจะมีฐานรายได้โฆษณาที่แข็งแรงขึ้น พร้อมกับการดึงสมาชิกให้
สมัครพรีเมียมได้มากขึ้นด้วย

ครั้งนั้นนักลงทุนพอใจในกลยุทธ์ของบริษัท ทำให้หุ้นราคาพุ่งขึ้น 31.76% ในปี 2019 และยิ่งทะยานขึ้นอีก 110.4% ในปี 2020

เริ่มแรกดูเหมือนกลยุทธ์จะสำเร็จ เพราะมีรายงานจาก Voxnest พบว่า รอบ 5 เดือนแรกของปี 2020 นั้น Spotify วิ่งแซงเป็นผู้นำในตลาดพอดคาสต์ประมาณ 60 ประเทศทั่วโลก แทนที่เจ้าตลาดเดิมคือ Apple Podcasts

แต่ขณะนี้นักวิเคราะห์เริ่มร้อนรนที่จะเห็นความสำเร็จที่แท้จริง นั่นคือ “ตัวเลข” ผลประกอบการที่ดีขึ้น “จนถึงบัดนี้ เรายังไม่เห็นการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในแง่ของจำนวนสมาชิกพรีเมียมหรือยอดดาวน์โหลดเลย” นักวิเคราะห์จาก Citi เขียนในรายงาน

“เรากังวลว่า ถ้าหากการลงทุนพอดคาสต์ไม่สามารถเปิดเส้นทางใหม่ให้ Spotify เปลี่ยนตัวเองจากการพึ่งพิงเฉพาะคอนเทนต์ดนตรี นักลงทุนตลาดหุ้นน่าจะมีการปรับการตีมูลค่าบริษัทใหม่ และนั่นจะเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายของ Spotify” Citi กล่าว

Source

]]>
1314559
มองธุรกิจ ‘Podcast’ น่าสนใจแค่ไหนหาก ‘แบรนด์’ ต้องลงทุน https://positioningmag.com/1302914 Thu, 22 Oct 2020 12:14:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302914 หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ Podcast แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ซึ่ง Podcast ไม่ได้เป็นเพียงออดิโอคอนเทนต์ แต่เป็นมีเดียเอนเตอร์เทนเมนต์ที่เผยแพร่เสียงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยมีลักษณะคล้าย ๆ รายการวิทยุ ที่จะมีผู้ดำเนินรายการออกมาเล่าเรื่อง พูดคุย แต่จะมีการแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอน ๆ หรือแบ่งหัวเรื่องอย่างชัดเจน โดยเนื้อหาจะมีหลากหลายแนว สามารถฟังเพลิน ๆ ระหว่างเดินทาง ทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ

COVID-19 ยิ่งดัน Podcast โต

โดยช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 การฟัง Podcast ก็เปลี่ยน โดย Spotify เจ้าของแพลตฟอร์ม Music Steaming รายใหญ่ของโลกได้ระบุว่า สัดส่วนการฟัง Podcast บนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 19% และฟัง Podcast ผ่านอุปกรณ์ในบ้าน เช่น ทีวี, ลำโพง มากขึ้น ขณะที่การฟังผ่านรถยนต์และหูฟังกลับลดลง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเพราะผู้บริโภคไม่ได้เดินทางไปทำงานอีกต่อไป ขณะเดียวกัน พวกก็มักจะหาอะไรฟังเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำอาหาร, ทำงานบ้าน และเวลาที่อยู่กับครอบครัว

อย่างไรก็ตาม แม้ Podcast จะเริ่มเห็นเทรนด์การเติบโต แต่ในฝั่งของ ‘แบรนด์’ Podcast เป็นสิ่งที่น่าสนใจแค่ไหน โดยภายในงาน iCreator Conference 2020 ก็ได้เชิญกูรูด้าน Podcast ได้แก่ ชินทัต พรหมโชติ จาก KooHoo Podcast, นทธัญ แสงไชย จาก Salmon Podcast และ พลสัน นกน่วม จาก GetTalks Podcast มาพูดคุยกันในหัวข้อ “การมาของ Podcast ทำไมแบรนด์ถึงควรลงทุน”

โอกาสโตเยอะ เพราะ Content กว้าง

หากย้อนไปเมื่อ 3 ปีก่อน Podcast ถือเป็นสิ่งใหม่ที่คนยังไม่รู้จัก แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันคือ ผู้ฟังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับสื่อก็เริ่มหันมาผลิต Podcast มากขึ้น ส่งผลให้แบรนด์ก็เริ่มให้ความสนใจที่จะลงโฆษณาใน Podcast มากขึ้น และด้วยเนื้อหาคอนเทนต์ที่หลากหลาย มีทั้งรายการท่องเที่ยว, รายการคอมเมดี้ หรือแม้แต่ ‘ละครวิทยุ’ ส่งผลให้กลุ่มผู้ฟังหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม Podcast ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนบางเจน เช่น วัยผู้ใหญ่ที่ยังไม่รู้จักเหมือนวัยรุ่น ดังนั้นยังมีโอกาสเติบโตได้อีก

“ตอนนี้ Podcast ไม่ได้มีแต่เรื่องมีสาระอย่างเดียว แต่เริ่มขยับเข้ามาเรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งมันกว้างกว่าที่เราคิดไว้”

Content แนวพัฒนาตนเองกำลังมาแรง

ด้วยความที่คอนเทนต์มีหลากหลายมาก อาจต้องคอยอัปเดตเทรนด์การจัดอันดับ แต่ส่วนใหญ่คนไทยจะชอบเรื่องลี้ลับ การเล่าเรื่องเกี่ยวกับคดีฆาตกรรม ทฤษฎีสมคบคิด ธุรกิจ การตลาดธรรมะ บันเทิงและข่าว ล้วนได้รับความนิยม แต่เทรนด์ที่เห็นการเติบโตคือ รายการแนวพัฒนาตนเอง ทั้งด้านจิตใจ การเงิน และภาษา โดยเฉพาะรายการในรูปแบบรายวัน เน้นความถี่ในการนำเสนอ ที่ความยาว 18-20 นาที เพราะสามารถฟังได้บ่อยและใช้เวลาไม่นานในการฟัง

“สำหรับครีเอเตอร์หน้าใหม่ คอนเทนต์ทุกแนวเป็นไปได้เสมอ ถ้าเกิดหามุมมองในการเล่าให้เจอ”

สิ่งที่สำคัญพอกับเนื้อหาก็คือ เวลา ที่เราต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าคอนเทนต์มีความเหมาะสม คนฟังอาจรู้สึกว่ารายการยาวได้ แต่ไม่ควรทำให้เขารู้สึกว่านานเพราะนั่นหมายถึงความน่าเบื่อ ซึ่งภาพรวมของ Podcast ในไทยตอนนี้อาจไม่ใช่การเพิ่มจำนวนผู้ฟัง แต่เป็นการเพิ่มจำนวนดาวน์โหลด เพิ่มระยะเวลาการฟังให้มากขึ้น

Podcast อยู่ได้แม้กระทั่ง TikTok

ตอนนี้ Podcast สามารถขึ้นไปอยู่ได้ทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะ TikTok หรือ YouTube แถมยังมียอดวิวดีกว่าที่คิด โดยเฉพาะการมาของ YouTube Premium เป็นตัวช่วยให้คนฟัง Podcast มากขึ้น เพราะสามารถปิดจอแล้ววิดีโอยังเล่น แต่ไม่ใช่ฟังอย่างเดียวในแพลตฟอร์มเดิม แต่อาจจะต้องมีการปรับเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย เช่น ใน TikTok ที่ต้องมีภาพประกอบ ดังนั้น คอนเทนต์เป็นแบบเดียวกัน แต่แค่แยกภาชนะใหม่ แม้กระทั่งหนังสือเสียงก็สามารถทำได้

แบรนด์ไม่รู้ว่า Podcast โฆษณาอย่างไร

อย่างที่รู้ว่าในอดีตคนไม่รู้จัก Podcast นั่นคือความยาก แต่ตอนนี้การทำให้แบรนด์เข้าใจว่าสามารถทำโฆษณาบน Podcast ได้แล้วคือสิ่งที่ยากกว่า เพราะแบรนด์อาจยังนึกไม่ภาพการลงโฆษณาบน Podcast ไม่ออก เพราะมีแต่เสียง แบรนด์ไม่รู้ว่าจะอยู่ตรงไหนได้บ้าง ดังนั้น ความท้าทายในปัจจุบันคือ การสร้างความรู้ให้กับแบรนด์ว่าสามารถทำโฆษณาด้วยภาพและเสียงแบบ Podcast ได้อย่างไรบ้าง ต้องทำให้เขารู้ว่า Podcast เป็นโอกาสใหม่สำหรับแบรนด์ เพราะไม่ใช่แค่การเติบโตที่ยังขยายอีกได้ แต่ Podcast สามารถไปอยู่ได้ในหลายแพลตฟอร์ม

“แม้แบรนด์เองก็เริ่มเข้าใจและเปิดใจกับการทำโฆษณาบน Podcast มากขึ้นแล้ว แต่โจทย์ใหญ่คือการทำให้แบรนด์รู้ว่าเราตอบโจทย์เขาได้อย่างไรบ้างบน Podcast เพราะภาพในวันนี้ Podcast สามารถเป็นได้ทั้งมีเดียและอินฟลูเอนเซอร์

]]>
1302914
มาถูกทาง ‘Podcast’ ของ ‘Spotify’ แซง ‘Apple’ เรียบร้อย หลังทุ่มเงินกว่า 6 พันล้านบาทเพื่อลงทุน https://positioningmag.com/1283795 Tue, 16 Jun 2020 12:02:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283795 ในปีที่ผ่านมา Spotify เจ้าของแพลตฟอร์ม Music Steaming รายใหญ่ของโลกได้ทำการเดิมพันครั้งใหญ่กับธุรกิจ Podcast โดยทุ่มเงินถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 6,000 ล้านบาท เข้าซื้อ Gimlet Media สตาร์ทอัพที่ผลิตรายการ Podcast รวมถึง Anchor ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับช่วยผลิต สร้างรายการและเผยเเพร่ Podcast ทั้งที่บริษัททำกำไรได้เพียง 107 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,300 ล้านบาท เรียกได้ว่า กลับไปขาดทุนเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม บริษัทรับรู้ว่าการซื้อเหล่านั้นมีความเสี่ยง พร้อมบอกว่าไม่มีการรับประกันว่าจะสามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการซื้อ ขณะที่ปี 2020 บริษัทยังลงทุนอย่างต่อเนื่องใน Podcast เช่น ซื้อ The Ringer ของ Bill Simmons ซึ่งเป็นเจ้าของ Podcast นับสิบ และแต่ดูเหมือนการลงทุนนี้จะมีภาพที่สดใสมากขึ้น โดยเฉพาะภาพในปี 2020 นี้

เพราะจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 การบริโภค Podcast ก็เปลี่ยนไปทันที โดย Spotify สังเกตเห็นการฟัง Podcast ผ่านอุปกรณ์ในบ้าน เช่น ทีวี, ลำโพง มากขึ้น ขณะที่การฟังผ่านรถยนต์และหูฟังกลับลดลง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเพราะผู้บริโภคไม่ได้เดินทางไปทำงานอีกต่อไป ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็มักจะหาอะไรฟังเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำอาหาร, ทำงานบ้าน และเวลาที่อยู่กับครอบครัว โดย Podcast ที่ได้รับความนิยมจะเป็นประเภทสุขภาพและการทำสมาธิ

“มันชัดเจนจากข้อมูลของเราว่ากิจวัตรตอนเช้าเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ เพราะทุกวันดูเหมือนวันหยุดสุดสัปดาห์”

การเปลี่ยนแปลงกะทันหันนั้นไม่ใช่สิ่งที่บริษัทคาดการณ์ไว้ และอาจเป็นเรื่องน่ากังวล แต่ Dawn Ostroff หัวหน้าเจ้าหน้าที่ธุรกิจคอนเทนต์และโฆษณาของ Spotify กล่าวว่า บริการสตรีมมิ่งนั้นแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ

“เมื่อสิ่งต่าง ๆ กลับสู่ภาวะปกติและผู้คนเริ่มเดินทางอีกครั้ง แต่นิสัยที่พวกเขาใช้ชีวิตในตอนกักตัวจะติดตัวพวกเขาไป เชื่อว่าพวกเขาจะหาเวลามากขึ้นในการบริโภค Podcast ในเวลาที่ต่างกันและวิธีการต่างจากเดิม โดยที่ผ่านมา ผู้ใช้ Spotify ที่ฟัง Podcast จะฟังมากขึ้นในวันต่อไป และพวกเขากำลังฟังผ่านอุปกรณ์ภายในบ้าน เช่น โทรทัศน์และเครื่องเล่นเกม นอกจากนี้ ผู้คนฟังเป็นกลุ่ม ซึ่งชัดเจนว่ามีโอกาสในการบริโภคของครอบครัว”

ในไตรมาสที่ผ่านมา มีประมาณ 19% ของผู้ใช้งานรายเดือนของ Spotify ฟัง Podcast เพิ่มขึ้นจาก 16% ในไตรมาสก่อน หรือผู้ใช้กว่า 286 ล้านราย มีประมาณ 54.3 ล้านคนที่ฟัง Podcast

ด้านของ Apple ที่มีชื่อเสียงในตลาด Podcast มานาน แต่ก็ถูก Spotify แซงหน้าในกว่า 60 ตลาด Spotify ชี้ไปที่ข้อมูลที่ติดตามโดยบริษัท Voxnest ที่แสดงให้เห็นว่า ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม Podcast ของ Spotify ถูกใช้บ่อยกว่า Apple Podcast ในประเทศต่าง ๆ เช่น แคนาดา, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เม็กซิโก และสเปน

เพราะการระบาดของ Covid-19 จะทำให้ชีวิตประจำวันของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป และบริโภค Podcast เติบโตทั่วทั้งอุตสาหกรรม โดย Jonathan Gill ซีอีโอของ Backtracks บริษัทวิเคราะห์กล่าวว่า แพลตฟอร์มของเขามีการรับฟังโดยรวมเพิ่มขึ้น 2.78% ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

“Podcast เป็นวิธีที่ผู้คนใช้เวลามากขึ้น เพื่อพยายามที่จะหาความรู้ด้วยตนเอง และใช้เป็นเพื่อนแก้เหงาในช่วงเวลาที่ต้องอยู่คนเดียว”

ปัญญาประดิษฐ์ใน Spotify จะเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และจัดเพลย์ลิสต์ให้เราอัตโนมัติ

สำหรับ Spotify การเติบโตของอุตสาหกรรมถือเป็นข่าวดี โดยบริษัท ยังคงลงทุนใน Podcast เมื่อเดือนที่แล้วได้ลงนามซื้อหนึ่งใน Podcast ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกเรื่อง “Joe Rogan Experience” โดยข้อตกลงดังกล่าวมีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านหรียญสหรัฐ

“เรารู้สึกว่าเราจำเป็นต้องมี Podcaster หมายเลขหนึ่งบนแพลตฟอร์มของเราเพื่อที่จะเป็นผู้ชนะในสื่อนี้” Ostroff กล่าว

Ostroff กล่าวว่า Spotify กำลังเห็นการสร้าง Podcast เพิ่มขึ้น โดยในเดือนมีนาคมมี Podcast เพิ่มใหม่ถึง 150,000 รายการเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

Source

]]>
1283795
ประเมินตลาด Podcast รายใหญ่สะดุด รายเล็กสะเทือน คุณภาพเสียงลดลง ผลกระทบจาก COVID-19 https://positioningmag.com/1271405 Thu, 02 Apr 2020 08:50:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271405 การระบาดทั่วโลกของ COVID-19 ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของทุกคนทุกสาขาอาชีพ สังคมพอดคาสต์ (Podcast) ก็ไม่แตกต่างกัน วันนี้รายการ Podcast ชื่อดังในสหรัฐฯ ตัดใจลดเวลาใช้สตูดิโอลง ขณะที่ทีมผู้ผลิตก็ขยับไปทำงานจากระยะไกลเกือบเต็ม 100% รายการในสถานีวิทยุสาธารณะก็ถูกเลื่อนออกไปก่อน ขณะที่อินดี้รายย่อยส่อแววถูกเลื่อนทำสัญญา คาดว่าจะมีการปรับบิสสิเนสโมเดลใหม่เพื่อรับมือกับภาวะเงินสะพัดน้อยลง

ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลายสถานีวิทยุในสหรัฐฯ ที่มีพนักงานจำนวนมากเริ่มใช้แผนการเตรียมความพร้อมเพื่อสกัด COVID-19 ทั้งการจัดรายการจากระยะไกล การจำกัดให้เฉพาะบุคลากรฝ่ายผลิตที่จำเป็นเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าใช้สำนักงาน ยังมีการงดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และการเน้นสื่อสารใกล้ชิดกับพนักงาน ซึ่งแม้นโยบายเหล่านี้จะระบุวันเริ่มมีผลบังคับใช้ แต่ยังไม่ระบุวันสิ้นสุดเพราะต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป

ผลคือเกือบทุกสถานีวิทยุ และห้องข่าวผู้ผลิต Podcast รายใหญ่ล้วนเตรียมออกอากาศจากระยะไกลแบบยาวๆ ซึ่งหากสถานการณ์เลวร้ายลง หรือสำนักงานใหญ่มีไวรัสปนเปื้อน ทุกอย่างก็จะยังดำเนินต่อไปได้แบบไม่สะดุด ทั้งหมดนี้แปลว่าวงการ Podcast กำลังถูกปฏิวัติอย่างรวดเร็ว รุนแรง และส่งผลต่อไปอีกนาน

คุณภาพเสียง Podcast ลด

ผลกระทบที่ผู้ฟัง Podcast จะได่รับมากที่สุดคือคุณภาพเสียง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Social Distancing หรือการงดเข้าสังคมเพื่อป้องกันโรคนั้นทำให้ทุกบริษัทเน้นลดเวลาใช้งานสตูดิโอบันทึกเสียง เพื่อให้พนักงานไม่ต้องอยู่ในห้องปิดที่เสี่ยงต่อไวรัส การลดนี้ทำให้หลายบริษัทต้องจัดหาชุดอุปกรณ์บันทึกเสียงราคาย่อมเยาให้ทีมงาน Podcast สามารถทำงานที่บ้านได้ ซึ่งผลที่ตามมาชัดเจนคือคุณภาพเสียง Podcast ในช่วงนี้จะลดลงกว่าการบันทึกเสียงจากสตูดิโอไม่มากก็น้อย

ผู้จัด Podcast ในสหรัฐฯ วันนี้ต้องขอให้พนักงานวางแผนและบันทึกเสียง Podcast เป็นกรณี  ไป บางชิ้นถูกเลื่อนหรือพักการผลิตไว้เพื่อรอดูสถานการณ์หลังกลางปีไปแล้ว เช่นรายการที่เน้นถ่ายทอดบรรยากาศงานอีเวนท์น่าสนใจ ก็ต้องงดไปก่อนตามอีเวนท์ที่ถูกยกเลิกทั่วโลก หรือรายการตลกที่ไม่อาจสร้างสีสันได้เต็มที่ เพราะต้องจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมสตูดิโอ

นอกจาก “Podcast รายวาระ ผู้จัด “Podcast แบบรายวัน ก็ยังท้าทายมากโดยเฉพาะการสัมภาษณ์แขกรับเชิญผ่านอุปกรณ์ที่บ้าน การบันทึกเสียงในเครื่องบันทึกปกติผ่านหูฟังที่เชื่อมกับโทรศัพท์มือถือที่ต้องโทรออกเพื่อฟังบทสัมภาษณ์กับโปรดิวเซอร์และแขกรับเชิญ โดยที่ต้องจัดการกับสถานการณ์เสียงรบกวนและพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยในบ้านนั้นไม่ง่ายสำหรับผู้จัดทุกคน

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยังอยู่ที่การใช้โทรศัพท์แทนการส่งทีมงานออกไป “ซิงค์เทป” หรือการบันทึกเสียงนอกห้องสตูดิโอแบบสมจริง ผู้จัด Podcast หลายรายต้องพึ่งพาแอปพลิเคชันบันทึกเสียงบนโทรศัพท์ของตัวเองเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งแม้คุณภาพเสียงของ Podcast จะได้รับผลกระทบ แต่ผู้จัด Podcast ก็รับได้เพราะสุขภาพและการหยุดยั้งการแพร่กระจายของไวรัสเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้

อินดี้อ่วมเลื่อนสัญญา

ขณะที่ผลกระทบของสตูดิโอใหญ่คือเรื่องคุณภาพเสียงและความไม่สะดวกสบายในการจัดรายการ แต่บริษัทอินดี้ขนาดย่อมที่ลงมือทำธุรกิจ Podcast ต่างก็กังวลกับภาวะถูกเลื่อนสัญญา ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจ ทั้งในระยะสั้นและภาพรวมเศรษฐกิจตกต่ำที่อาจเกิดในระยะยาว

สำนัก vulture.com บอกว่าผู้จัด Podcast รายย่อยในสหรัฐฯมีสถานการณ์ไม่ต่างจากสตูดิโอใหญ่ ทั้งการสัมภาษณ์และการซิงค์เทปที่ถูกยกเลิกไปทั่วโลกเพราะ Social Distancing ทำให้แขกรับเชิญไม่สามารถเข้ามาร่วมบันทึกรายการได้ ผู้ผลิตที่จำเป็นต้องเน้นการบันทึกเสียงคุณภาพสูงก็จำเป็นต้องเลื่อนการสัมภาษณ์ออกไป ขณะที่ผู้จัด Podcast บางรายจำเป็นต้องสอนและให้ความรู้แขกรับเชิญ เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือบันทึกเสียงระยะไกล การเสียเวลาในส่วนนี้กำลังเป็นปัญหาคาใจทีมงานหลายคน เพราะหลายโปรเจ็กต์คิดราคาค่าจัดทำแบบคงที่ ซึ่งทีม Podcast อินดี้เหล่านี้ก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปเจรจา เพราะผลงานที่ได้คือ Podcast สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มี “ไมโครโฟน USB ราคาถูก” อยู่ที่บ้านเช่นกัน

เวลานี้ งาน Podcast อินดี้ในสหรัฐฯจำนวนมากถูกเลื่อนออกไป ทำให้ทุกอย่างต่างไปจากเดิมที่มี Podcast ซีซั่นใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ผู้ที่มีสัญญาทำ Podcast ระยะยาวที่ถูกเลื่อนเช่นนี้อาจจะเซ็งหัวใจ แต่ผลกระทบโดยตรงอยู่กับผู้ที่ทำ Podcast ในอัตรารายวันหรือต่อโครงการ ซึ่งหากไม่มีการบันทึกเสียง Podcast ก็จะไม่มีรายได้ จุดนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะมี Podcast อินดี้อีกมากที่ได้รับผลกระทบในส่วนนี้

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกยังทำให้หลายแบรนด์เลื่อนการทำสัญญากับทีม podcast อินดี้ออกไปก่อน แต่ก็มีผู้ผลิต podcast บางส่วนที่ยืนยันว่าจะไม่มีการลดการผลิตในช่วงที่ผู้คนต้องอยู่บ้านตลอดเวลา โดยสถิติพบว่าผู้ฟัง podcast หรือ online audio อย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนในสหรัฐฯ นั้นเพิ่มขึ้น 68% ในปีนี้ ทำตัวเลขสวยงามที่ 192 ล้านคน

Pandora และ Spotify คือบริการ online audio ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐฯ ครองส่วนแบ่ง 25% ของฐานผู้ใช้รวมในสหรัฐฯ ชนะทั้งบริการของ Amazon Music (14%), Apple Music (12%), iHeartRadio (11%), Google Play (9%) และ SoundCloud (8%)

]]>
1271405
เทรนด์ Podcast มาแรง! มิลเลนเนียลกลุ่มหลัก ชอบฟังเรื่องตลก-การศีกษา-วิเคราะห์ข่าว https://positioningmag.com/1246239 Thu, 12 Sep 2019 23:07:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246239 การทำ Podcast กำลังเติบโตมากขึ้น เพราะตอบโจทย์ความสะดวก สามารถฟังได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องใช้สมาธิในการอ่านเหมือนหนังสือ หรือต้องดูเหมือนวิดีโอ

รายงานข้อมูลล่าสุดจาก Adobe Analytics เผยว่าคนชื่นชอบคอนเทนต์และหันไปฟัง Podcast เพิ่มขึ้น อ้างอิงผลสำรวจความคิดเห็นของชาวสหรัฐฯ จำนวน 1,008 คน สะท้อนพฤติกรรมการฟัง ออดิโอสตรีมมิ่งของผู้ฟังพอดคาสต์ รวมไปถึงข้อมูล Comscore ของผู้ใช้งานโมบายล์แอปในสหรัฐฯ 193 ล้านคนต่อเดือน ในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ถึงพฤษภาคม 2562

ผลการศึกษาดังกล่าวระบุว่า การใช้งานโมบาย แอปพอดคาสต์เพิ่มขึ้น 60% ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 โดยหนึ่งในสี่ของผู้ฟังพอดคาสต์ในปัจจุบันเพิ่งเคยใช้งานเป็นครั้งแรกในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา Adobe Analytics คาดว่า แนวโน้มการเติบโตนี้จะยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่ผู้ฟัง 45% ระบุว่ามีแผนที่จะฟังพอดคาสต์เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะค้นหารายการพอดคาสต์ผ่านบล็อกออนไลน์และบทความเป็นหลัก 41%

“มิลเลนเนียล” ผู้ฟังหลัก

วีเว็ก ปันด์ยา นักวิเคราะห์บริหารของ Adobe Digital Insights กล่าวว่า ช่วงแรกๆ พอดคาสต์อยู่ในช่วงของการทดลอง และแบรนด์ต่างๆ ไม่ได้ลงทุนมากนักเรื่องคุณภาพ แต่เมื่อตลาดพอดคาสต์โตขึ้น และแบรนด์เริ่มให้ความสนใจเข้าร่วมมากขึ้น คุณภาพการผลิตจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ

เมื่อเจาะลึกเกี่ยวกับกลุ่มผู้ฟังพอดคาสต์ พบว่า คนรุ่นมิลเลนเนียล (Millennial) เป็นฐานผู้ฟังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขณะที่พอดคาสต์ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในกลุ่ม Gen Z ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันราวหนึ่งในสามของคนรุ่นมิลเลนเนียลบอกว่าฟังพอดคาสต์มากกว่า 5 รายการต่อสัปดาห์ ขณะที่ 67% ของคนกลุ่ม Gen Z ที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ตนเองมีแผนที่จะฟังพอดคาสต์เพิ่มมากขึ้นในปีหน้า

โดยรวมกว่าครึ่ง หรือ 52% ของผู้ฟัง ระบุว่าฟังพอดคาสต์ระหว่างเดินทางไปทำงานหรือในขณะทำงาน และ 42% ฟังขณะอยู่ในรถยนต์

คอนเทนต์ยอดฮิต

พบว่าคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของรายการพอดคาสต์ คือ เรื่องตลก การศึกษา และบทวิเคราะห์ข่าวอาชญากรรม อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อใดก็ตาม ผู้ฟังส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองชื่นชอบพอดคาสต์ที่มีความยาวไม่เกินหนึ่งชั่วโมง

ผลการศึกษายังชี้ว่า พอดคาสต์จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสำหรับโฆษณา โดย 60% ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถาม ระบุว่า ค้นหาสินค้าหรือบริการหลังจากที่ได้ยินโฆษณา และ 25% ได้ทำการซื้อสินค้าที่พบผ่านทางโฆษณาในพอดคาสต์ ขณะที่ 58% ของผู้ฟังยอมรับว่าตนเองข้ามโฆษณาในพอดคาสต์

กลุ่มผู้ฟังพอดคาสต์ 72% บอกว่าเคยได้ยินโฆษณาขณะที่ฟัง หนึ่งในสามคิดว่าสปอตโฆษณาบนพอดคาสต์กระตุ้นความอยากซื้อมากกว่าโฆษณารูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้ 40% คิดว่าโฆษณาบนพอดคาสต์สร้างความน่าอึดอัดขณะฟังน้อยกว่าโฆษณาประเภทอื่นๆ

จากผลสำรวจดังกล่าว แสดงแนวโน้มว่า โฆษณาบนพอดคาสต์จะมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงฐานลูกค้าที่เกี่ยวข้อง

]]>
1246239