PwC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Aug 2022 10:37:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 PwC ในอังกฤษเปลี่ยนนโยบายใหม่ ไม่ต้องจบเกียรตินิยมก็มีสิทธิ์เข้าทำงานได้แล้ว https://positioningmag.com/1396327 Tue, 16 Aug 2022 08:57:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396327 PwC หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ทั่วโลก ล่าสุดสำนักงานในประเทศอังกฤษได้เปลี่ยนนโยบายใหม่คือ ยกเลิกเงื่อนไขในการสมัครงานที่ต้องการว่าถ้าหากจะฝึกงานหรือแม้แต่เข้าทำงานที่บริษัทจะต้องจบเกียรตินิยม โดยหวังว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้บริษัทได้คนเก่งเข้าทำงานเพิ่ม

บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำรายดังกล่าวได้ประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าจะยกเลิกเงื่อนไขในการสมัครงานที่ต้องการว่าถ้าหากจะฝึกงานหรือแม้แต่เข้าทำงานที่บริษัทจะต้องจบเกียรตินิยม 2:1 ซึ่งเป็นอันดับรองจากเกียรตินิยมอันดับ 1 โดยบริษัทมองว่าจะเพิ่มความหลากหลายด้านสังคมในบริษัทมากขึ้น

โดยประเทศอังกฤษนั้นมีระบบเกียรตินิยมเป็น First และ Upper Second Class (2:1) รวมถึง Lower Second Class (2:2) ตามลำดับ ด้วยระบบดังกล่าวทำให้โอกาสในการหางานนั้น First และ 2:1 จะมีโอกาสในการหางานในบริษัทดีๆ มากกว่าผู้ที่จบ 2:2

การยกเลิกเงื่อนไขดังกล่าวทำให้บริษัทยังมีโอกาสที่จะหาพนักงานใหม่ๆ ได้มากกว่า 70,000 รายด้วยกัน โดยแต่ละปีนั้นผู้ที่จบการศึกษาต่ำกว่าเกียรตินิยม 2:1 มีสัดส่วนราวๆ 17% นอกจากนี้ PwC ยังมองว่าแบบทดสอบเรื่องความถนัดและการทดสอบพฤติกรรมของบริษัทจะสามารถประเมินศักยภาพของผู้ที่เข้าสมัครงานรวมถึงนักศึกษาที่ต้องการฝึกงานในบริษัทมากกว่า

นอกจากนี้การยกเลิกเงื่อนไขดังกล่าวยังทำให้ PwC สามารถหาผู้สมัครงานรายใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งตลาดแรงงานในอังกฤษนั้นมีการคาดการณ์ว่าในไตรมาส 3 นั้นมีความต้องการตำแหน่งงานที่สูง ส่งผลทำให้การแข่งขันของบริษัทต่างๆ ที่ต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นด้วย

ก่อนหน้านี้ในปี 2015 คู่แข่งรายสำคัญของ PwC อย่าง EY ได้ยกเลิกเงื่อนไขดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าผู้ที่มีความสำเร็จจากมหาลัยจะมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในด้านการทำงาน ขณะที่ Deloitte และ KPMG ที่มีความยืดหยุ่นในเงื่อนไขด้านการศึกษามากขึ้น แม้ว่าในเงื่อนไขจะต้องจบเกียรตินิยม 2:1 ก็ตาม

ที่มา – BBC, The Guardian

]]>
1396327
57% ของบริษัททั่วโลกพบว่าออฟฟิศแบบ “ไฮบริด” ช่วยให้ประสิทธิภาพ “การทำงาน” ดีขึ้น https://positioningmag.com/1378901 Wed, 23 Mar 2022 12:53:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378901 PwC สำรวจพบบริษัททั่วโลกเกินครึ่งเห็นว่า “การทำงาน” แบบ “ไฮบริด” ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ช่วยลดความหนาแน่นในออฟฟิศ และยังดำเนินธุรกิจต่อได้ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ขณะที่บริษัทไทยส่วนใหญ่เริ่มปรับออฟฟิศเป็นแบบไฮบริดแล้วเช่นกัน

“ดร.ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์” หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดผลสำรวจ PwC’s Future of Work and Skills Survey ซึ่งสำรวจธุรกิจและหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลเกือบ 4,000 แห่ง ใน 26 ประเทศ พบว่า 57% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทดีกว่าเป้าหมาย เมื่อเปลี่ยนมาทำงานแบบ “ไฮบริด” ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา มีเพียง 4% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทต่ำลง

สำหรับบริษัทในไทยนั้น ดร.ภิรตาระบุว่า มีหลายบริษัทที่เริ่มใช้โมเดลการทำงานแบบ “ไฮบริด” ที่พนักงานไม่ต้องมาออฟฟิศทุกวันแล้ว

ข้อดีที่บริษัทพบจากการทำงานแบบนี้คือ สามารถลดความหนาแน่นในออฟฟิศได้ 25-50% และทำให้ธุรกิจเดินต่อได้ แม้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกแผนกที่สามารถทำงานแบบไฮบริดได้ ตามธรรมชาติของงานที่ต่างกัน เช่น ธุรกิจธนาคาร แผนกบริหารความเสี่ยงอาจจะทำงานจากบ้านได้แบบ 100% แต่สำหรับคอลเซ็นเตอร์ ก็ยังต้องมาทำงานออนไซต์ตามปกติ

 

ความท้าทายคือวิธี “ประเมินผลงาน”

ดร.ภิรตากล่าวต่อว่า เมื่อมีการทำงานแบบไฮบริด แต่ละองค์กรมีวิธีบริหารที่ต่างกัน เช่น บางองค์กรเน้นการประชุมบ่อยขึ้น เพื่อเช็กชื่อพนักงานและตามงาน แต่ความท้าทายสำคัญของการทำงานรูปแบบนี้คือ ต้องมีระบบการประเมินผลงานที่โปร่งใส และต้องมีความเชื่อใจระหว่างหัวหน้าและลูกน้องในทีมสูงมาก

“การสื่อสารและการวัดผลที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา คือสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพื่อให้การนำโมเดลการทำงานแบบไฮบริดมาใช้ประสบความสำเร็จ” ดร.ภิรตากล่าว

“การประเมินผลงานแบบดั้งเดิม อย่างการเช็กขาด ลา มาสาย ไม่ใช่โซลูชันที่ถูกต้องอีกแล้ว การเช็กที่เป้าหมายการทำงานแยกย่อยของแต่ละบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายรวมขององค์กร คือวิธีบริหารที่ได้ประสิทธิภาพมากกว่า”

นอกจากนี้ ดร.ภิรตายังมองว่าระดับหัวหน้างานต้องเปลี่ยนแนวคิดจากการ ‘หาคนผิด’ มาเป็นการสนับสนุนและให้คำแนะนำกับพนักงาน เมื่อใดก็ตามที่เกิดการสะดุดในขั้นตอนการทำงาน

 

พนักงานต้อง “อัพสกิล” ให้ทัน

นอกจากการเป็นออฟฟิศไฮบริดแล้ว ดร.ภิรตากล่าวถึงอีกเทรนด์หนึ่งในที่ทำงานยุคใหม่ เริ่มวางแผนเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการทรัพยากรบุคคลด้วยกลยุทธ์ต่างๆ เช่น ‘build, buy, borrow, bots’

บริษัทเริ่มมองหาว่าการทำงานส่วนไหนที่ใช้เทคโนโลยีแทนคนได้บ้าง และหาว่าส่วนไหนสามารถใช้เอาท์ซอร์สได้ เพื่อให้การจ้างพนักงานเกิดความยืดหยุ่นขึ้น รวมถึงเมื่อบริษัทใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น องค์กรจึงต้อง “อัพสกิล” พนักงานปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ใช้เทคโนโลยีเป็นและทำได้เต็มประสิทธิภาพ และตัวพนักงานเองก็ต้องเปิดใจเพื่อจะใช้เทคโนโลยีด้วย

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้อาจจะยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีแทนคนอย่างเต็มที่ เพราะค่าแรงของไทยยังไม่ได้สูงมากเหมือนประเทศอื่น

“แต่ใน 3-5 ปีข้างหน้า เราแน่ใจได้ว่าความต้องการแรงงานจะเปลี่ยนไป แรงงานที่ใช้ทักษะการวิเคราะห์หรือทักษะดิจิทัลเฉพาะทาง เช่น วิเคราะห์ดาต้า, ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง, บิ๊กดาต้า, AI และแมชชีน เลิร์นนิ่ง เหล่านี้จะเป็นแรงงานที่มีความต้องการสูงกว่า” ดร.ภิรตากล่าว

สรุปได้ว่า ทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อเริ่มใช้โมเดลการทำงานแบบไฮบริด และอัพสกิลให้กับพนักงานเพื่อใช้เทคโนโลยี จำเป็นมากที่จะต้องเริ่มต้นเดี๋ยวนี้เพื่อให้องค์กรยังได้เปรียบในการแข่งขัน และเติบโตได้อย่างยั่งยืน

]]>
1378901
PwC ทุ่ม 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ‘รีเเบรนด์’ จ้างงานเพิ่ม 1 เเสนตำแหน่งใน 5 ปี จับธุรกิจความยั่งยืน https://positioningmag.com/1337229 Wed, 16 Jun 2021 04:54:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337229 PwC บริษัทตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ของโลกที่อยู่ในกลุ่ม ‘Big 4’ ทุ่มเงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.7 แสนล้านบาท) เพื่อสรรหาบุคลากร ฝึกอบรม พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เจาะตลาดธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และการจัดการองค์กรด้านธรรมาภิบาล

โดยหนึ่งในเเผนนั้น คือการตั้งเป้าเพิ่มพนักงานทั่วโลก 100,000 ตำแหน่ง ในระยะ 5 ปีข้างหน้า นับเป็นการเพิ่มพนักงานใหม่เข้ามาอีกถึง 1 ใน 3  จากเดิมที่มีอยู่ราว 284,000 ตำแหน่ง

การขยายองค์กรเชิงรุกครั้งนี้เป็นไปตามตลาดเติบโตขึ้นโดยรายได้ของ PwC ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.3 ล้านล้านบาท) รายได้ต่อปีเพิ่มขึ้น 20%

Bob Moritz ประธานฝ่าย Global ของ PwC กล่าวว่าบริษัทจะทุ่มลงทุนอย่างหนักเพื่อสร้างตัวตนเเละรีเเบรนด์องค์กรใหม่ เพื่อทำให้เห็นว่าเรามีในสิ่งที่ลูกค้าและโลกต้องการ” 

แผนการลงทุนของ PwC เป็นสัญญาณบ่งชี้ทิศทางของกลุ่ม ‘Big 4’ ที่จะมุ่งให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environmental, Social, Governance) ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากบริษัทจดทะเบียนและนักลงทุนทั่วโลก

ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าผู้จัดการกองทุนโดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างประเทศต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนทั้งของกิจการและสังคมโดยรวมมากขึ้นเรื่อยๆ

จากรายงานของ Source Global Research ระบุว่า เทคโนโลยีสะอาดและการลงทุนที่ยั่งยืนทั่วโลก ในปี 2020 มีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ความต้องการด้านตำเเนะนำเเละบริการต่างๆ จะทำให้บรรดาบริษัทที่ปรึกษาทำกำไรมากขึ้นตามไปด้วย

ไม่ใช่เเค่ PwC เเต่บริษัทที่เหลือในกลุ่ม Big 4 อย่าง Deloitte, EY และ KPMG ก็มุ่งไปยังประเด็นด้านความยั่งยืนเช่นเดียวกัน

โดย PwC ยังวางแผนจะเข้าซื้อกิจการเพื่อปรับปรุงเเละพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งส่วน ESG เทคโนโลยีคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ ฯลฯ

 

ที่มา : financial times , Bloomberg 

 

]]>
1337229
คนจนเยอะ รวยขึ้นก็เยอะ! พบทรัพย์สินอภิมหาเศรษฐีพุ่งแตะ 10 ล้านล้านเหรียญ จาก COVID-19 https://positioningmag.com/1300290 Wed, 07 Oct 2020 03:38:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300290 ยูบีเอส (UBS) และพีดับบลิวซี (PwC) รายงานถึงทรัพย์สินของบรรดาอภิมหาเศรษฐีโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางโรคระบาดใหญ่ COVID-19 โดยเกิดจากการดีดตัวขึ้นของราคาหุ้น และความรุ่งเรืองของกลุ่มเทคโนโลยีและประกันสุขภาพ ช่วยให้ทรัพย์สินรวมของบรรดาอภิมหาเศรษฐีของโลกพุ่งทะลุ 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายงานของ USB และ PwC ซึ่งครอบคลุมอภิมหาเศรษฐีกว่า 2,000 คน หรือคิดเป็น 98% ของประชากรอภิมหาเศรษฐีทั้งหมด พบว่าบรรดาอภิมหาเศรษฐีมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ใน 4 ระหว่างช่วงเวลาหลายเดือนของการแพร่ระบาดของโรคระบาดใหญ่ แตะระดับ 10.2 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนกรกฏาคม ทำลายสถิติเดิมที่พุ่งแตะ 8.9 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงสิ้นปี 2019

ผลการศึกษาของ USB และ PwC พบว่าระหว่างวันที่ 7 เมษายนถึง 31 กรกฎาคมในปีนี้ บรรดาอภิมหาเศรษฐีในทั่วทุกภาคอุตสาหกรรม พบเห็นทรัพย์สินของพวกเขาเพิ่มขึ้นในอัตราเลข 2 หลัก โดยเฉพาะเหล่าอภิมหาเศรษฐีในภาคเทคโนโลยี ประกันสุขภาพและภาคอุตสากรรม ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นราวๆ 36% ถึง 44%

โรคระบาดใหญ่กลายเป็นตัวเร่งแนวโน้มการเติบโตของบรรดาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและประกันสุขภาพ รวมถึงธุรกิจนวัตกรรมอื่นๆ ส่งผลให้อภิมหาเศรษฐีในด้านเหล่านี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าบรรดามหาเศรษฐีในภาคอื่นๆ

นับตั้งแต่ปี 2018 จนถึงเดือนกรกฏาคม 2020 บรรดาอภิมหาเศรษฐีภาคเทคโนโลยี พบเห็นทรัพย์สินของพวกเขาเพิ่มขึ้น 42.5% เป็น 1.8 ล้านล้าน รายงานระบุ ในขณะที่อภิมหาเศรษฐีในภาคประกันสุขภาพก็โกยเงินมหาศาลเช่นกัน พบเห็นทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 50.3% ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็น 658,600 ล้านดอลลาร์

ในจำนวนอภิมหาเศรษฐีโลกกว่า 2,000 คน มีเพียงแค่ราว 200 คนที่ประกาศต่อสาธารณะให้สัญญาว่าจะบริจาคเงินรวม 72,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับช่วยจัดการกับโรคระบาดใหญ่ COVID-19 อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาเน้นว่ายอดบริจาคที่แท้จริงของบรรดามหาเศรษฐีเพื่อต่อสู้กับวิกฤตด้านสาธารณสุข เช่นเดียวกับต่อสู้กับความยุ่งเหยิงทางสังคมและเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่น่าจะสูงกว่านี้

Source

]]>
1300290
พิษ COVID-19 สะเทือน “ตลาดหุ้นไทย” มาร์เก็ตแคป หายไปเกือบ 5 ล้านล้านบาท https://positioningmag.com/1288567 Mon, 20 Jul 2020 07:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288567 PwC วิเคราะห์มาร์เก็ตแคป 100 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเพิ่มขึ้น 20% ในปี 2019 เเต่สะดุด COVID-19 ทำไตรมาสแรกปีนี้ หดตัว 15% ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงมากที่สุด ส่วนมาร์เก็ตแคปตลาดหุ้นไทยหายไปเกือบ 5 ล้านล้านบาท

โดยบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบียซาอุดิ อารามโก” ครองแชมป์บริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปสูงที่สุดของโลก หลังสร้างสถิติการเข้าตลาดด้วยมูลค่าไอพีโอสูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ส่วนมาร์เก็ตแคปของ “ไมโครซอฟท์” และแอปเปิล” สิ้นมี.. 63 สูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงาน Global Top 100 companies by market capitalisation ของ PwC ที่ทำการวิเคราะห์มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของ 100 อันดับบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปสูงที่สุดของโลกใน 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง ธันวาคม 2562 และ มกราคม ถึง มีนาคม 2563 เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกเหล่านี้ว่าเป็นอย่างไร และก่อนที่วิกฤต COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อตลาดโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงวิธีการรับมือกับภาวะวิกฤตในช่วงแรกว่า ในช่วงระหว่างเดือน มีนาคม ถึง ธันวาคม ปีที่ผ่านมา มาร์เก็ตแคปของ 100 บริษัทขนาดใหญ่ชั้นนำของโลกเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีผลการดำเนินงานที่ยังคงสามารถยืนอยู่เหนือคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ท่ามกลางความผันผวนของตลาดที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 

Photo : Shutterstock

ด้านรอส ฮันเตอร์ หัวหน้าศูนย์ไอพีโอของ PwC กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือน สิ้นสุดธันวาคมปีที่ผ่านมา มาร์เก็ตแคปของ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลกเติบโตขึ้นที่ 20% โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ ซาอุดิ อารามโก ที่กลายมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดของโลกหลังการเข้าตลาด และแม้ว่ามูลค่าตลาดรวมในช่วง 3 เดือนถัดมา จะปรับตัวลดลงถึง 15% แต่บริษัทที่ติดอันดับท็อป 100 ของโลกก็ยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าดัชนีในกลุ่มอุตสาหกรรมของพวกเขา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนให้ความสำคัญกับคุณภาพ ขอบเขต และแนวทางในการรับมือกับวิกฤตของบริษัทขนาดใหญ่ รวมไปถึงการลงทุนหลังสถานการณ์ COVID-19 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว 

10 ใน 100 บริษัทยักษ์ใหญ่ มาร์เก็ตแคปยังโตในช่วง COVID-19 

สำหรับซาอุดิ อารามโก” นั้น ได้ติดอันดับ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 1 หลังจากสร้างสถิติมูลค่าไอพีโอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ของโลกเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และนับแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ยังคงสามารถรักษาอันดับในตำแหน่งนี้ไว้ได้

เช่นเดียวกันกับ ไมโครซอฟ และ แอปเปิล ที่แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่มาร์เก็ตแคปของทั้ง 2 บริษัทกลับปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 ในส่วนแอมะซอน มาร์เก็ตแคปของบริษัท วันที่ 31 มีนาคม 2563 แตะ 9.71 แสนล้านดอลลาร์ และหลังจากนั้นก็ได้พุ่งสูงเกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากความต้องการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากมาตรการการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

นอกจากนี้ ข้อมูลยังพบว่า มีเพียง 10 บริษัทใน 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลกเท่านั้นที่มีมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้น ระหว่างเดือนธันวาคม 2562 ถึง มีนาคม 2563 ยกตัวอย่าง เช่น เน็ตฟลิกซ์ ที่ขยับจากการเป็น 1 ใน 10 บริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปลดลงมากที่สุดในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2562 (-9%) มาเป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 สิ้นเดือนมีนาคม 2563 (+16%)

ขณะที่ เทสล่า ที่ติดอันดับ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลก และติดอันดับ 1 ใน 10 บริษัทที่มาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ช่วงเวลา โดยมีมาร์เก็ตแคปปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่ามาที่ 9.6 หมื่นล้านดอลลาร์

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

มุมมองในระดับภูมิภาค

จากการสำรวจพบว่า ทุกภูมิภาคทั่วโลกเห็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของมาร์เก็ตแคปของบริษัทที่ถูกรวมอยู่ใน 100 อันดับบริษัทขนาดใหญ่ของโลกจนถึงเดือนธันวาคม 2562 ก่อนที่มาร์เก็ตแคปของบริษัทเหล่านี้จะปรับตัวลดลงในทุก ประเทศ (ยกเว้น ซาอุดีอาระเบีย)

โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ มาร์เก็ตแคปของบริษัทสัญชาติยุโรปที่ติดอันดับ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลก มีการปรับตัวลดลงมากที่สุดถึง 25% (9.56 แสนล้านล้านดอลลาร์)

ส่วนบริษัทสัญชาติอังกฤษที่ติดอันดับท็อป 100 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ มีมาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้น 2% ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2562 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงถึง 28% เดือนมีนาคม 2563

อย่างไรก็ดี บริษัทสัญชาติอเมริกัน ยังคงครองอันดับที่ 1 ในแง่ของจำนวนบริษัทที่ติดอันดับและมูลค่ามาร์เก็ตแคป โดยแม้ว่า มาร์เก็ตแคปในช่วงเดือนธันวาคม 2562 ถึง มีนาคม 2563 จะลดลงมาที่ 2,204 พันล้านดอลลาร์ (14%) ก็ตาม ในส่วนของบริษัทสัญชาติจีน ที่มีจำนวนบริษัทในรายชื่อ 100 บริษัทขนาดใหญ่ของโลกมากเป็นอันดับที่ 2 หรือ 14 บริษัท ได้ลดจำนวนลงไป 1 แห่งในปีนี้ ซึ่งนี่ยิ่งทำให้ช่องว่างอันดับระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสหรัฐอเมริกานั้นกว้างขึ้น

COVID-19 กระทบมาร์เก็ตแคปของบริษัทไทย

สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ไม่แตกต่างจากทั่วโลก จริงอยู่ว่า ภาพรวมในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยดูเหมือนค่อย ฟื้นตัวขึ้น แต่ไม่ได้สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีเม็ดเงินจากการออกมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการเงินของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบ ทำให้เม็ดเงินเหล่านั้นไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นภูมิภาคในช่วงสั้น 

จากข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า มาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นไทย สิ้นเดือน มีนาคม 2563 อยู่ที่ราว 12 ล้านล้านบาท หรือลดลงเกือบ 28% จากเดือน ธันวาคม 2562 ที่ 16.7 ล้านล้านบาท เมื่อพิจารณามาร์เก็ตแคปของหุ้นในกลุ่ม SET100 ซึ่งเป็นหุ้น 100 อันดับแรกของบริษัทขนาดใหญ่ที่จัดอันดับตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยต่อวันในตลาดหุ้นไทยก็ลดลงเช่นกันราว 20% ที่ 9.4 ล้านล้านบาท สิ้นเดือน มีนาคม 2563 จาก 11.8 ล้านล้านบาท เดือน ธันวาคม 2562

การปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นจะยั่งยืนหรือไม่ องค์ประกอบสำคัญอยู่ที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจไทยเวลานี้ส่งสัญญาณชะลอตัวที่ชัดเจน กำลังการผลิตมีแนวโน้มลดลง ตามปริมาณการส่งออกที่ลดลง การท่องเที่ยวที่ซบเซา และการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัว ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องติดตามปัจจัยต่าง เหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพราะคาดว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะเห็นความชัดเจนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเป็นไปในทิศทางใด และผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวต่อการลงทุนชาญชัยระบุ 

 

 

]]>
1288567
มุมมอง “ธุรกิจกงสี” ในมือทายาทรุ่นใหม่ สู้เศรษฐกิจซบเซา-โรคระบาด ธุรกิจเล็กเสี่ยงล้ม https://positioningmag.com/1268063 Thu, 12 Mar 2020 12:17:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268063 ต้องยอมรับว่า “ธุรกิจครอบครัว” หรือที่เรามักเรียกว่า “ธุรกิจกงสี” เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทุกวันนี้ ด้วยการมีอยู่ถึง 80% ของระบบเศรษฐกิจเเละมีมูลค่ารวมถึง 30 ล้านล้านบาท โดยจำนวนเกินครึ่งของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ SET50 เป็นธุรกิจครอบครัว มีมูลค่าในตลาด รวมกว่า 4.76 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก ตลท. ณ วันที่ 28 ก.พ. 63)

เป็นที่น่าจับตามองว่า ธุรกิจครอบครัวไทยราว 90% กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ทายาทรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดเเละเเนวทาง “เเตกต่าง” จากคนรุ่นพ่อเเม่หรือปู่ย่าตายาย

นักธุรกิจรุ่นใหม่เหล่านี้มีความคิดเห็นต่อ “การปรับปรุงเเละพัฒนา” องค์กรไปในทิศทางใด ขณะที่ต้องเผชิญความท้าทายทั้งเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ภัยโรคระบาด ค่าเงินบาทผันผวน การขาดเเคลนเเรงาน เเละการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล

เปิดรายงาน NextGen Survey 2019 ผลสำรวจผู้นำธุรกิจครอบครัว ฉบับแรกของ PwC โดยความท้าทายอันดับที่ 1 ของธุรกิจครอบครัวในสายตาผู้นำรุ่นใหม่ในปีนี้ คือการเข้ามาของดิจิทัลที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Digital disruption) ในอนาคต

NextGen Survey 2019 ได้สำรวจความคิดเห็นผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ทั่วโลกจำนวนกว่า 950 ราย รวมทั้งผู้นำธุรกิจครอบครัวไทยจำนวน 31 ราย

เปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล ความหวังพาธุรกิจรอด 

“ผู้นำรุ่นใหม่คาดหวังจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับสูงในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยในกลุ่มนี้กว่า 81% ต้องการมีส่วนร่วมในธุรกิจครอบครัวอย่างเเข็งขัน ส่วนอีก 13% ตั้งใจมีส่วนร่วมในอนาคต เเละอีก 6% คิดว่าจะไม่มีส่วนในกิจการครอบครัวในอนาคต”

ผลสำรวจชี้ว่ากว่า 83% ของผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ มองว่าการมีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่พวกเขาจะให้ความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ การดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ และการเสริมสร้างทักษะให้กับพนักงานที่ 62% เท่ากัน

นอกจากนี้ 79% ของผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ของไทย เห็นว่าการเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัลจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจครอบครัวและช่วยให้กิจการสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ขณะเดียวกัน มองว่าอุปสรรคที่ทำให้กิจการครอบครัวยังตามหลังคู่เเข่งคือ การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารอย่างมืออาชีพ เเละการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรเเบบผู้ประกอบการ ส่วนข้อได้เปรียบของธุรกิจครอบครัวคือ การมุ่งเน้นให้บริการลูกค้า มีเป้าหมายชัดเจนเเละความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 

“การเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับธุรกิจในยุคนี้ แต่วิธีการที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความความสำเร็จต่างหาก คือความท้าทายใหม่ที่ธุรกิจครอบครัวของไทยหลายราย ยังค้นหาหนทางไม่พบ”

นิพันธ์ ศรีสุขุมบวรชัย หัวหน้าสายงาน Clients and Markets หัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจครอบครัวและหุ้นส่วนสายงานภาษีและกฎหมาย บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า แม้สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวแบบนี้อาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล รวมไปถึงการยกระดับทักษะขององค์กรหลายแห่ง เเต่ผลลัพธ์ของการนิ่งเฉยจะยิ่งส่งผลเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาลเพราะในที่สุด ทุกองค์กรไม่เฉพาะธุรกิจครอบครัว จำเป็นที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะเป็นผลดีกับองค์กรในระยะยาว

Upskilling เป็นเรื่องที่รอไม่ได้

ผลจากการสำรวจ ได้เปิดเผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรด้วยการยกระดับทักษะ (Upskilling) ให้กับตัวผู้นำรุ่นใหม่และพนักงาน

โดย 83% ของผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ของไทย เชื่อว่าการยกระดับทักษะจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจครอบครัวได้ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ในเอเชียแปซิฟิก (62%) และทั่วโลก (61%)

โดยองค์กรที่เริ่มนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานส่วนต่าง ๆ จะสามารถบริหารจัดการเรื่องต้นทุนได้ดีกว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานได้มากขึ้นอีกด้วย

“การยกระดับทักษะแรงงานเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ และเป็นเรื่องที่ทำได้หลายวิธี โดยผู้นำรุ่นใหม่หรือแม้กระทั่ง พนักงาน สามารถอัพสกิลตัวเองได้ผ่านการเรียนรู้จากเว็บไซต์ แอปพลิเคชันต่างๆ คอร์สเรียนออนไลน์หรือหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะที่จำเป็นในอนาคต”

เศรษฐกิจซบเซา ธุรกิจขนาดเล็กเสี่ยงปิดกิจการ 

ปัญหาภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งการระบาดของไวรัสCOVID-19 ได้ส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและการผลิตในบางกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงการบริโภคภายในประเทศที่ลดลงตามกำลังซื้อที่หดตัวจากการขาดรายได้จากแรงงานในภาคการขนส่งและท่องเที่ยว

ผู้บริหาร PwC ประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนี้อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจครอบครัวธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อย หรือ SMEs รวมไปถึงบริษัทขนาดเล็กที่มีเงินทุนหมุนเวียนไม่สูง โดยมองว่า หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 เดือนนี้อาจเห็นธุรกิจขนาดเล็กเริ่มปิดกิจการ

โดยคาดว่าการระบาดของไวรัสนี้ อาจจะเป็นชนวนที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ได้ ต้องติดตามว่าสถานการณ์จะกินเวลานานแค่ไหน จึงจะควบคุมการแพร่ระบาดได้ซึ่งหากยืดเยื้อ มองว่าน่าจะเห็นธุรกิจครอบครัวหรือบริษัทขนาดเล็ก จะล้มหายไปจากระบบพอสมควร

“แต่ในมุมกลับกัน นี่เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจครอบครัวที่มีความพร้อมด้านเงินทุนในการซื้อกิจการหรือหาพาร์ตเนอร์ เพื่อเป็นพันธมิตรเพราะน่าจะได้ของดี ราคาไม่แพงและต้นทุนทางการเงินไม่สูงนัก เนื่องจากอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง”

ผู้บริหาร PwC ฝากถึงผู้นำรุ่นใหม่เเละเจ้าของกิจการว่า แม้สถานการณ์เศรษฐกิจจะเลวร้ายแค่ไหน แต่เราไม่สามารถหยุดที่จะพัฒนาตัวเองและองค์กรได้ เพราะการยกระดับทักษะเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคนเพื่อให้อยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกทำงานยุคดิจิทัล

 

]]>
1268063
PwC เปิดผลวิจัยเทคโนโลยี AI จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โอกาสสร้างงาน 38 ล้านตำแหน่งในปี 73 https://positioningmag.com/1246835 Wed, 18 Sep 2019 08:09:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246835 การประยุกต์ใช้ “เอไอ” เกิดขึ้นแล้วในหลายอุตสาหกรรม และยังมีผู้ประกอบการอีกมากที่หันมาใช้ “เอไอ” และเทคโนโลยีเกิดใหม่ PwC จัดทำวิจัยล่าสุดการใช้ เอไอ ในอุตสาหกรรมการเกษตร ทรัพยากรน้ำ พลังงาน และการขนส่ง ในมุมจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม และโอกาสสร้างงานใหม่

วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า จากรายงาน How AI can enable a sustainable future จัดทำโดยทีมวิจัย PwC ประเทศสหราชอาณาจักร ทำการศึกษาถึงโอกาสทางธุรกิจจากการนำ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดการปล่อยก๊าซที่เป็นมลพิษในปัจจุบันจนถึงปี 2573

วิไลพร ทวีลาภพันทอง

ประเมินว่าศักยภาพของเทคโนโลยี เอไอ จะถูกนำมาใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่การจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กริด หรือสายส่งพลังงานสะอาดแบบกระจายที่ขับเลื่อนด้วยเอไอ การทำเกษตรอัจฉริยะ ติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการบังคับใช้ รวมไปถึงการพยากรณ์อากาศและภัยพิบัติ  

การศึกษานี้ได้จำลองเหตุการณ์ของการประยุกต์ใช้เอไอใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย การเกษตร การขนส่ง พลังงานและทรัพยากรน้ำ โดยได้คาดการณ์ว่า การประยุกต์ใช้เอไอเพื่อสิ่งแวดล้อมใน 4 อุตสาหกรรมนี้จะสามารถช่วยผลักดันให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของโลก สูงขึ้นได้ถึง 5.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 159 ล้านล้านบาท ภายในปี 2573 หรือเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินธุรกิจตามปกติ

ขณะเดียวกันคาดว่า เอไอจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทั่วโลกได้ 4% ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับ 2.4 Gt CO2e (เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายปีของออสเตรเลีย แคนาดา และญี่ปุ่นรวมกัน ภายในปี 2573)

นอกจากนี้ยังคาดว่าในปี 2573 เอไอจะช่วยสร้างงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลกได้ถึง 38.2 ล้านตำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพงานที่ต้องใช้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก

หนุนเศรษฐกิจยุโรปโต

ซีลีน เฮอร์วายเยอร์ หัวหน้าสายงาน Global Innovation & Sustainability ของ PwC ประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวว่า หากพิจารณาในระดับทวีปพบว่า ในปี 2573 เอไอจะมีศักยภาพในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทวีปอเมริกาเหนือได้มากที่สุด คือ ลดลง 6.1% ตามมาด้วยทวีปยุโรป ลดลง 4.9% ขณะเดียวกัน เอไอจะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นมากที่สุดในทวีปยุโรป เติบโต 5.4%

รายงานยังระบุด้วยว่า การประยุกต์ใช้เอไอในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและขนส่ง จะส่งผลต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการลดการใช้พลังงาน ระบบออโตเมชันของงานที่ทำด้วยมือ หรืองานที่ทำเป็นประจำ และช่วยลดการปล่อยพลังงานต่อหน่วยจีดีพีได้ถึง 6 – 8% ภายในปี 2573 เมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินธุรกิจตามปกติ

]]>
1246835
PwC ฟันธง! อุตสาหกรรมสื่อ-บันเทิงไทย ปี 66 โกย 6.5 แสนล้าน บริการ OTT มาแรง-แข่งเดือด https://positioningmag.com/1243551 Fri, 23 Aug 2019 06:01:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243551 จากรายงาน Global entertainment and media outlook 2019 – 2023 ของ PwC ซึ่งสำรวจข้อมูลด้านรายได้และคาดการณ์ทิศทางการเติบโตของ 14 กลุ่มอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงใน 53 อาณาเขตทั่วโลกพบอัตราการเติบโตเฉลี่ย 4.3% ต่อปี

ประเมินว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปี 2562 – 2566 จะเห็นรายได้ทั่วโลกของอุตสาหกรรมนี้สูงถึง 85.66 ล้านล้านบาท ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 69.5 ล้านล้านบาท ในปี 2561

พิสิฐ ทางธนกุล หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี และหัวหน้าสายงาน Entertainment & Media บริษัท PwC ประเทศไทย คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงในประเทศไทย จะมีมูลค่า 6.5 แสนล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือในปี 2566 การเติบโตเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ 5.05% เป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยรวมที่ 5.01%

แต่ประเทศไทยก็ยังโตได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ที่เฉลี่ยต่อปี 9.5%, ฟิลิปปินส์ 6.2% และเวียดนามที่ 7.1% อย่างไรก็ตาม ไทยจะยังเติบโตนำหน้ามาเลเซียที่ 4.7% ส่วนสิงคโปร์รั้งท้ายที่ 3.8%

“ผู้บริโภคชาวไทยต้องการเสพสื่อและบันเทิงแบบส่วนบุคคลมากขึ้น ไม่แตกต่างไปจากผู้บริโภคในประเทศ อื่นๆ ทั่วโลก เป็นผลจากการใช้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น”

5G หนุนวิดีโอออนไลน์โต

สิ่งที่เป็น “จุดเปลี่ยน” คือ การเข้ามาของเครือข่าย 5G ที่คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลเร็วๆ นี้ ทำให้การเชื่อมต่อและตอบสนองทางออนไลน์รวดเร็วยิ่งกว่า 4G ดังนั้นผู้ประกอบการสื่อและบันเทิง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่วันนี้หันมาเลือกเสพสื่อในรูปแบบที่ตัวเองต้องการมากขึ้นไม่ว่าจะ “เสพสื่อไหน อย่างไร หรือเมื่อไหร่”

กระแสของการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภคและธุรกิจไทยที่เพิ่มมากขึ้นในที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการสื่อดั้งเดิม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ ต้องหันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น

“ยังมีผู้ประกอบการสื่อดั้งเดิมหลายรายประสบกับความยากลำบากในประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอด หรือแม้กระทั่งต้องล้มเลิกกิจการไปในที่สุด”

บริการ OTT ตลาดไทยโตแรง!

รายงานของ PwC คาดการณ์ด้วยว่า บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต (Over-the-top video: OTT video) จะเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จากความต้องเสพคอนเทนต์แบบ Video on demand ที่ขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดนี้คึกคักและเห็นการแข่งขันที่รุนแรง จากผู้ประกอบการต่างประเทศและไทย เช่น Netflix, iflix และ HOOQ

มูลค่าการใช้จ่ายบริการรับชมวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในไทยเมื่อปี 2561 อยู่ที่ 2,810 ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าในปี 2566 เป็น 6,080 ล้านบาท โตเฉลี่ยปีละ 16.64% ขณะที่สื่อทีวีและโฮมวิดีโอ โตเฉลี่ยต่อปีเพียง 4.76% จากมูลค่า 19,700 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 24,900 ล้านบาทในปี 2566

โฆษณาออนไลน์ไทยโตเร็วสุด

กลุ่มสื่อที่เติบโตต่ำสุดในช่วง 5 ปีจากนี้ คือ หนังสือพิมพ์แและนิตยสาร เฉลี่ยลดลง 3.05% ต่อปี หนังสือเล่ม ลดลง 0.34% ต่อปี และ โฆษณาทีวี เติบโตต่ำที่ 1.8% ต่อปี

ขณะที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต (Internet advertising) ของไทย จะเป็นตลาดที่เห็นการเติบโตรวดเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 2 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากความชื่นชอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคชาวไทย คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 32,500 ล้านบาทในปี 2566 โตเฉลี่ยต่อปีที่ 13.62%

โดย Facebook ยังเป็นสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมใช้มากที่สุด ตามมาด้วย YouTube และ Line ข้อมูลจากรายงาน Digital 2019 ของ Hootsuite และ We are Social ระบุว่า 74% ของประชากรไทยทั้งหมด เป็นผู้ใช้งานประจำของสื่อสังคมออนไลน์ ใช้เวลาเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 11 นาทีในแต่ละวัน

ขณะที่วิดีโอเกมและอีสปอร์ต (Video games and esports) จะกลายเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของไทย คาดว่ามูลค่า 33,000 ล้านบาท ในปี 2566 โตเฉลี่ยต่อปีที่ 7.7% จากการขยายตัวของสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ฐานลูกค้าของผู้บริโภคเกมบนมือถือเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

]]>
1243551
เมินคนนอก! “ซีอีโอ” แห่เพิ่มทักษะแรงงานองค์กร รับมือดิจิทัล ดิสรัปชั่น https://positioningmag.com/1239346 Wed, 17 Jul 2019 05:39:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239346 ในยุคเทคโนโลยี ดิสรัปชั่น ทักษะเดิมไม่เพียงพอกับการทำงานในโลกยุคใหม่ การ Reskilling & Upskilling จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นหัวใจของการอยู่รอดของแรงงงานยุคนี้  

จากรายงาน Talent Trends 2019: Upskilling for a Digital World เป็นส่วนหนึ่งของผลสำรวจประจำปี Annual Global CEO ครั้งที่ 22 ของ PwC สัมภาษณ์ “ซีอีโอ” 3,200 รายในกว่า 90 เมืองทั่วโลก

ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจซีอีโอทั่วโลก ของ PwC ปีนี้ สัดส่วน 79% กังวลว่าการขาดแคลนทักษะแรงงานที่จำเป็นของพนักงานในองค์กร กำลังเป็นภัยคุกคามการเติบโตในอนาคต ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 63% ในปี 2557 จากปัจจัยการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ถือเป็นความกังวลของซีอีโอทั่วโลก เช่น ซีอีโอจากญี่ปุ่น 95% ยุโรปกลางและตะวันออก 89% กังวลประเด็นนี้มากที่สุด ขณะที่ซีอีโอจากอิตาลี 55% และตุรกี 45% กังวลเรื่องทักษะแรงงานน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม 55% ของซีอีโอที่มีความกังวลมากที่สุด บอกว่าธุรกิจของพวกเขาไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอีก 52% กล่าวว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานสูงขึ้นรวดเร็วกว่าที่คาดไว้

ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์

ปัจจุบันองค์กรไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ โดยเฉพาะทักษะด้านดิจิทัลเช่นเดียวกับทั่วโลก ทาเลนท์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง การเรียนรู้ของเครื่องจักร และการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลกำลังเป็นที่ต้องการมาก ส่วนใหญ่หันมาลงทุนด้านบุคลากรมากขึ้น โดยมีการนำระบบบริหารจัดการบุคลากรเข้ามาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขยายขีดความสามารถในการวิเคราะห์ทรัพยากรบุคคลขององค์กร

บริษัทไทยหลายรายจัดโปรแกรมฝึกอบรมการเพิ่มทักษะทางด้านดิจิทัลให้แก่พนักงานมากขึ้นด้วย เพื่อปิดช่องว่างทางทักษะและลดความกังวลของพนักงานในการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี

 

เพิ่มทักษะแรงงานเดิม “ต้นทุน” ต่ำกว่าหาใหม่

การเพิ่มพูนทักษะใหม่ (Upskilling) และเสริมสร้างทักษะเดิม (Reskilling) กลายเป็นวาระสำคัญของซีอีโอทั่วโลก

ผลสำรวจพบว่า ซีอีโอกำลังปรับเปลี่ยนวิธีปิดช่องว่างทางทักษะความสามารถให้กับแรงงานของตน โดยเกือบครึ่ง หรือ 46% ของซีอีโอทั่วโลกบอกว่า การฝึกอบรมทักษะเดิมที่มีอยู่และการเพิ่มพูนทักษะใหม่ กลายเป็นโครงการที่มีความสำคัญที่สุดในการปิดช่องว่างทางทักษะ ตรงข้ามกันกับผู้บริหารเพียง 18% ที่บอกว่าจะว่าจ้างแรงงานที่มีทักษะจากภายนอกอุตสาหกรรมของตน

การสำรวจปีนี้ยังตรงข้ามกับผลจากการสำรวจในปีที่ผ่านๆ มา ที่ระบุว่า ซีอีโอกำลังมองหาแรงงานที่มีทักษะจากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและมีการจ้างแรงงานชั่วคราวจากภายนอก (Gig economy worker)

PwC สหราชอาณาจักร เสริมมุมมองนี้ว่า “แม้ว่าการฝึกอบรมทักษะเดิมที่มีอยู่ให้กับพนักงานจะต้องอาศัยการลงทุน แต่เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่นๆ เช่น การจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงานที่ถูกปลด และต้นทุนในการเฟ้นหาพนักงานใหม่ที่มีทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการ มองว่าการฝึกอบรมทักษะเดิมที่มีอยู่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า”

แรงงานทั่วโลกพร้อมฝึกทักษะใหม่

ผลสำรวจพนักงานทั่วโลกจำนวนกว่า 12,000 ราย พบว่าพนักงานยินดีที่จะใช้เวลา 2 วันต่อเดือนในการเข้าฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะทางด้านดิจิทัลของตนจากนายจ้าง

การหันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มทักษะใหม่นั้น เกิดขึ้นหลังจากการเพิ่มขึ้นของการใช้ระบบออโตเมชั่นและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence: AI โดยแม้ว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้ จะเข้ามาแทนที่พนักงานบางตำแหน่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความคิดเห็นของซีอีโอก็แตกต่างกันไปตามขนาดและความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นๆ การลงทุนเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างแรงงานในอนาคต (Workforce of the future)

]]>
1239346
PwC ชี้ผู้บริโภคทิ้งสื่อดั้งเดิม หันเสพ “สื่อ-บันเทิง” แพลตฟอร์มดิจิทัล https://positioningmag.com/1222497 Fri, 29 Mar 2019 11:15:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1222497 ภาพ : Designed by tirachardz / Freepik

การก้าวสู่ยุคดิจิทัลวันนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในทุกด้าน จากการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ชัดเจนคือ การเสพ “สื่อ-บันเทิง” ผ่านสตรีมมิ่งมากขึ้น และใช้ “โซเชียลมีเดีย” เป็นช่องทางหลักในการรับข่าวสาร

จากข้อมูลของ Global Consumer Insights Survey ของ PwC ซึ่งถูกจัดทำขึ้น เพื่อประเมินพฤติกรรม และความคาดหวังของผู้บริโภคออนไลน์ จำนวนกว่า 21,000 คน ใน 27 ประเทศทั่วโลก พบว่าปัจจุบันผู้บริโภคใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่าแค่การช้อปปิ้ง ถือเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของการเข้าถึง สื่อและความบันเทิง” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก

“สตรีมมิ่ง” มาแรง

วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากธุรกิจบันเทิงและสื่อ

พบว่า 38% ของผู้บริโภคทั่วโลกที่ถูกสำรวจ มีการเสพสื่อและความบันเทิงผ่านสตรีมมิ่ง (Streaming) อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ในจำนวนนี้กว่า 50% เป็นเด็กรุ่นใหม่ Gen Z

รูปแบบการรับชมข่าวสารปัจจุบัน พบว่า 25% ของผู้บริโภคหันมาใช้ช่องทางโซเชียลเป็นอันดับแรก ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะการใช้โซเชียลมีเดียกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน ขณะที่การเสพสื่อดั้งเดิมมีแนวโน้มลดลง

นอกจากนี้ การโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ยังทำให้ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของสินค้าและแบรนด์ต่างๆ ได้ดี โดยได้รับการจัดอันดับว่า เป็นรูปแบบการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในอันดับ 3 และเป็นรูปแบบการโฆษณาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวมิลเลนเนียลมากที่สุด แซงหน้าโฆษณาโทรทัศน์รูปแบบดั้งเดิม

“รีวิว-โซเชียล” ดึงนักช้อป

รายงานพบว่า ช่องทางในการนำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลายและมีให้เลือกมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมองหา “เครื่องมือ” ที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจด้านการใช้จ่าย นอกจากการใช้เทคโนโลยีแล้ว ยังมองหากลุ่ม “บุคคล” หรือ ชุมชน” ที่ไว้วางใจได้ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ

ปัจจัย “3 อันดับแรก” ที่จะปรับปรุงประสบการณ์การช้อปปิ้งภายในร้านค้า ประกอบด้วย 1. การจัดวางสินค้าที่ง่ายต่อการเข้าถึง 2. มีพนักงานขายที่มีความรู้ และ 3. มีช่องทางในการชำระเงินที่ง่ายและสะดวก

โดยพบว่า 61% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากโซเชียลมีเดียในการจับจ่ายใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นแรงบันดาลใจหรือการบริโภคตาม “รีวิว” เชิงบวก แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคน้อยกว่า 20% บอกว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าตามศิลปิน-ดาราที่มีชื่อเสียงหรืออินฟลูเอนเซอร์

ทั้งนี้เกือบ 50% ของผู้บริโภคอาศัยความคิดเห็นของครอบครัวและเพื่อนฝูงมาช่วยในการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว

จอห์น แมกซ์เวลล์ หัวหน้าสายงาน Global Consumer Markets ของ PwC ให้ความเห็นว่า กุญแจสำคัญในการนำเสนอประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสร้างประสบการณ์ในการช้อปปิ้งและค้าปลีก แต่ยังครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย

“วันนี้ผู้บริโภคมองหาประสบการณ์การใช้จ่ายที่ง่ายและไร้รอยต่อ ธุรกิจต่างๆ ต้องผสมผสานวิธีการทั้งแบบ Physical และดิจิทัล เพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป”

จากการสำรวจพบว่า มากกว่า 51% ของผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนในการชำระบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ในปีที่ผ่านมา และกว่า 50% ใช้บริการโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์

ช้อปปิ้งผ่านสมาร์ทโฟน

ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ PwC ได้มีการสำรวจและพบว่า ผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนมากกว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ ในการช้อปปิ้งออนไลน์ โดย 24% ใช้สมาร์ทโฟนช้อปปิ้งออนไลน์เป็นประจำทุกสัปดาห์

ตลาดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ มีการขยายตัวของการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile payment) มากขึ้น โดยเวียดนามเป็นตลาดที่เห็นผู้บริโภคชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในร้านค้าเติบโตสูงสุดที่ 61% จากปีก่อนที่ 37% ตามด้วยตะวันออกกลาง 45% จากปีก่อนที่ 25% ขณะที่ระดับโลกการเติบโตอยู่ที่ 34% จากปีก่อนที่ 24% โดยทั่วไปประเทศในเอเชียยังมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รวดเร็วกว่าประเทศตะวันตก

โมบายเพย์เมนต์ไทยพุ่ง

สำหรับประเทศไทย วิไลพร กล่าวว่าผลสำรวจด้านการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นมาที่ 67% จากปีก่อนที่ 48% เนื่องจากปัจจุบันคนไทยใช้มือถือมากขึ้น โดยข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่าไตรมาส 3 ปี 2561 มีผู้ใช้มือถือถึง 124.6 ล้านเลขหมาย มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 119.8 ล้านเลขหมาย ส่วนใหญ่ใช้มือถือต่ออินเทอร์เน็ต 71.5 ล้านเลขหมาย 

การส่งเสริมให้ไทยก้าวสู่สังคมไร้เงินสด ผ่านแผนพัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ หรือ National e-payment จะทำให้สถาบันการเงินของไทย หันมาให้บริการชำระเงิน ถอนเงินสดจากตู้ผ่านโมบายแบงกิ้งโดยไม่ต้องใช้บัตรเอทีเอ็ม ขณะที่ร้านค้าทั่วไปก็หันมารับชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น หรือคิวอาร์โค้ดมากขึ้น

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจไทยจะต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายของตัวเองว่า มีกลุ่มลูกค้าอยู่ในช่วงวัยใด และมีพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีแบบไหน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และออกแบบการสร้างประสบการณ์ลูกค้ารายบุคคล รวมไปถึงการออกแบบโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขายอื่นๆ ที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

]]>
1222497