Sharp – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 27 Mar 2020 09:14:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาแล้ว! “ชาร์ป” เผยโฉมหน้ากากอนามัย เปลี่ยนโรงงานแผงวงจร มาผลิตแบบเร่งด่วนกู้วิกฤตญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1270410 Fri, 27 Mar 2020 08:24:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270410 “ชาร์ป” ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น ผันตัวมาผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนในญี่ปุ่นที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 เดือน

ชาร์ปเริ่มต้นการผลิตหน้ากากอนามัยที่โรงงานที่ใช้ผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เมืองทากิ จังหวัดมิเอะ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม จากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น หลังจากหน้ากากอนามัยขาดแคลนทั่วประเทศหลังการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

ชาร์ปมีแผนจะผลิตหน้ากากอนามัย 150,000 ชิ้นต่อวัน และจะส่งมอบสินค้าได้ตั้งแต่สิ้นเดือนนี้ โดยยังไม่กำหนดราคาจำหน่าย แต่ระบุว่าจะจัดส่งให้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นลำดับแรก

สินค้าตัวอย่างที่ชาร์ปเปิดเผย เป็นหน้ากากอนามัยแบบกล่องละ 50 ชิ้น ที่มีโลโก้ “ชาร์ป” ทางบริษัทระบุว่า จะพยายามขยายกำลังการผลิตให้ได้ 500,000 ชิ้นต่อวัน และจะวางจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ของบริษัทเมื่อขยายกำลังการผลิตได้

รัฐบาลญี่ปุ่นใช้ทั้งไม้แข็งและไม้อ่อนเพื่อยุติวิกฤตขาดแคลนหน้ากากอนามัยในญี่ปุ่น โดยให้เงินสนับสนุนการผลิตหน้ากากอนามัย ซึ่งกำลังขาดแคลนอย่างหนัก แต่ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทจะผันตัวมาผลิตได้ เพราะต้องมีห้องปลอดฝุ่น ซึ่งชาร์ปมีห้องเช่นนี้อยู่แล้วที่ใช้ในการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนไม้แข็ง รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายพิเศษป้องกันการกักตุนหน้ากากอนามัย ผู้ฝ่าฝืนจะต้องโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี หรือปรับเงินสูงสุด 1 ล้านเยน แต่จนถึงขณะนี้แทบทุกร้านค้าในญี่ปุ่น ก็ยังหาซิ้อหน้ากากอนามัยไม่ได้ หรือบางแห่งโก่งราคาขายแพงหลายสิบเท่าตัว

นอกจากนี้ หน่วยงานราชการต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ยังได้นำหน้ากากที่สำรองไว้ใช้ในยามภัยพิบัติ ออกมาจักสรรให้กับสถานพยาบาลต่างๆ และประชาชนในท้องถิ่นที่ไวรัส COVID-19 ระบาดอย่างหนัก เช่น ที่ฮอกไกโด

Source

]]>
1270410
จับมือสร้างแบรนด์! “ชาร์ป” เปิดโชว์เคสติดตั้งเครื่องฟอกอากาศควบโฆษณาในรถไฟฟ้า BTS https://positioningmag.com/1235568 Thu, 20 Jun 2019 12:00:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235568 ปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าบีทีเอสมีผู้ใช้บริการวันละเกือบ 1 ล้านเที่ยวคนต่อวัน มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 4 – 5% ด้วยจำนวนดังกล่าว ทำให้รถไฟฟ้ากลายเป็น “สื่อ” ที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภคจำนวนมากในการสื่อสารแบรนด์

ภายใต้ความร่วมมือล่าสุดของ 3 ธุรกิจ “ชาร์ป-บีทีเอส-วีจีไอ” ด้วยการติดตั้งเทคโนโลยี Plasmacluster ระบบฟอกอากาศและกำจัดกลิ่นในรถไฟฟ้าบีทีเอส 2 ขบวนภายในเดือนมิถุนายนนี้

ความร่วมมือในครั้งนี้ สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS บอกว่า “ชาร์ป” ได้เสนอติดตั้งเทคโนโลยี พลาสม่าคลัสบนรถไฟฟ้าบีทีเอส ทดลอง 2 ขบวนแรกก่อนและยังไม่มีแผนขยายการติดตั้งเพิ่มหลังจากนี้ ปัจจุบันบีทีเอสให้บริการรถไฟฟ้า 52 ขบวน ปีนี้จะเพิ่มเข้ามาอีก 46 ขบวน รวมเป็น 98 ขบวน เพื่อให้บริการส่วนต่อขยายที่จะให้บริการในปีนี้

ในมุมของบีทีเอส การติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้โดยสารได้รับอากาศบริสุทธิ์ ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพในระหว่างการเดินทางก็จะทำให้มั่นใจในการใช้บริการมากขึ้น ปกติในรถไฟฟ้าจะมีอากาศหมุนเวียนอยู่แล้วและทำความสะอาดทุกวัน แต่ทุกวันนี้มลพิษในอากาศก็มีมากขึ้นเช่นกัน

โชว์เทคโนฯ รถไฟฟ้า โฆษณาแบรนด์สื่อ VGI            

ปัจจุบัน “ชาร์ป” ได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสม่าคลัสเตอร์ไปแล้วกว่า 80 ล้านเครื่องทั่วโลก ในประเทศญี่ปุ่น ชาร์ปเป็นผู้ติดตั้งเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ในรถไฟด้วยเช่นกัน การร่วมมือเป็นพันธมิตรกับบีทีเอส เพื่อติดตั้งพลาสม่าคลัสเตอร์ในรถไฟฟ้า 2 ขบวน ถือเป็นการติดตั้งระบบในรถไฟฟ้าเป็นประเทศแรกนอกญี่ปุ่น

โรเบิร์ต อู๋ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์ป ไทย และมาเลเซีย กล่าวว่าเทคโนโลยี พลาสม่าคลัสเตอร์เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีลิขสิทธิ์ของชาร์ป ซึ่งเป็นระบบฟอกอากาศบริสุทธิ์ ความร่วมมือติดตั้งในรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อให้คนไทยมีประสบการณ์การเดินทางที่ดีและสร้างสังคมสุขภาพ ส่วนอนาคตมองว่าอาจจะมีความร่วมมือติดตั้งเพิ่มเติมต่อไป

สำหรับโครงการความร่วมมือติดตั้งเทคโนโลยี พลาสม่าคลัสเตอร์ในไทยเริ่มมาตั้งแต่ต้นปี โดยติดตั้งในโรงพยาบาลและหน่วยงานภาครัฐ การติดตั้งในรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีผู้ใช้จำนวนมากจะทำให้ผู้บริโภครู้จักเทคโนโลยีของชาร์ปมากขึ้น

ปีนี้ประเทศไทยมีปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้ตลาดเครื่องฟอกอากาศในไทยมีความต้องการสูง สินค้ามียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น “เท่าตัว” ปัจจุบันชาร์ปมีส่วนแบ่งในตลาดนี้เป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง

ไม่เพียงแต่ความร่วมมือในการติดตั้งเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ในรถไฟฟ้าบีทีเอส ชาร์ปยังได้ใช้สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ ของ VGI เพื่อสื่อสารแบรนด์กับผู้บริโภค ซึ่งในรถไฟฟ้า 2 ขบวนที่ติดตั้งระบบฟอกอากาศก็จะมีสื่อโฆษณาชาร์ปอยู่ด้วย

ขณะเดียวกัน VGI ได้ร่วมมือนำเข้านวัตกรรมป้ายดิจิทัลความละเอียดสูง (Digital Signage Solutions) 33.18 ล้านพิกเซล จากชาร์ป มาใช้สำหรับสื่อโฆษณาของ VGI และรองรับแผนขยายสื่อโฆษณานอกบ้านแบบดิจิทัล (Digital Out-of-Home).

]]>
1235568
“ชาร์ป” ทุ่มงบ 4 พันล้านเยน ซื้อกิจการพีซีจาก “โตชิบา” หวังหวนคืนตลาดคอมพิวเตอร์อีกครั้ง https://positioningmag.com/1173221 Wed, 06 Jun 2018 08:14:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1173221 บริษัทชาร์ป ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นประกาศว่าจะเข้าซื้อกิจการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ พีซีของโตชิบา โดยมุ่งเป้าจะกลับมาลุยตลาดนี้อีกครั้ง โดยปัจจุบันกิจการทั้งหมดของชาร์ปถูกบริหารโดย บ.หงไห่ พรีซิชัน อินดัสทรี บริษัทจากไต้หวัน หรือที่ทั่วโลกรู้จักกันดีในนามฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ผู้รับจ้างผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดในโลก

สำหรับดีลดังกล่าว ชาร์ปจะต้องควักกระเป๋าราว 4,000 ล้านเยน หรือราว 1,160 ล้านบาท เพื่อเข้าถือหุ้นร้อยละ 80.1 ในบริษัท โตชิบา ไคลเอนต์ โซลูชันส์ บริษัทลูกของโตชิบาซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีส่วนแบ่งทางการตลาดแล็ปท็อปมากที่สุดในโลก แต่ต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับผู้ผลิตแล็ปท็อปรายอื่น ๆ ไป โดยตามแผนการโอนหุ้นจะมีขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ที่จะถึงนี้

ขณะเดียวกันชาร์ปยังประกาศด้วยว่าจะออกหุ้นใหม่มูลค่ากว่า 200,000 ล้านเยน หรือราว 58,000 ล้านบาท เพื่อจะซื้อหุ้นบริษัทกลับคืนจากธนาคาร โดยตั้งเป้าว่าจะทำให้สถานทางการเงินของบริษัทกระเตื้องตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ตามแผนของชาร์ปในการซื้อกิจการพีซีจากโตชิบา ทางบริษัทต้องการจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแอลซีดี ผสานเข้ากับความสามารถในการผลิตของบริษัทแม่หงไห่ ผ่านแบรนด์ไดนาบุ๊ก (Dynabook) แบรนด์โน้ตบุ๊กเดิมที่สร้างชื่อเสียงให้กับโตชิบา

ทั้งนี้สถานะทางธุรกิจอันย่ำแย่ของโตชิบาในปัจจุบันนั้นเป็นผลกระทบมาจากการปรับโครงสร้างสินทรัพย์หลังจากการยื่นล้มละลายของเวสติงเฮาส์ ธุรกิจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของโตชิบาในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว

“ชาร์ปจะใช้ความได้เปรียบจากความสามารถในการผลิตของหงไห่ ในการเพิ่มความเข้มแข็งของสินค้าฮาร์ดแวร์ และตั้งเป้าจะทำเงินจากธุรกิจนี้” ทาคาโอะ มัตสุซากะ นักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ ไดวะ ให้ความเห็น พร้อมทั้งกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาธุรกิจโทรทัศน์และสมาร์ทโฟนของชาร์ปดีขึ้นเป็นลำดับหลังจากการประสานความร่วมมือกับบริษัทแม่อย่างหงไห่ ซึ่งเขาเชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีแอลซีดีของชาร์ป กับความเชี่ยวชาญในการผลิตของหงไห่จะทำให้ชาร์ปสามารถผลิตและจำหน่ายคอมพิวเตอร์ที่มีราคาพอฟัดพอเหวี่ยงกับคู่แข่งในตลาดได้

จากข้อมูลที่เผยแพร่โดยโตชิบาชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจคอมพิวเตอร์ของบริษัทประสบกับภาวะขาดทุนราว 8,200 ล้านเยน (ราว 2,400 ล้านบาท) ในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งสิ้นสุดเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2561 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า ที่ธุรกิจพีซีของบริษัทประสบกับภาวะขาดทุนอยู่แล้ว 1,700 ล้านเยน (ราว 500 ล้านบาท)

ข้อมูลจากยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทวิจัยที่มีฐานอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ บ่งชี้ว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมาโตชิบาครองอันดับที่ 8 ของตลาดแล็ปท็อปโลก หรือมีส่วนแบ่งตลาดราวร้อยละ 1.92 นอกจากนี้พีซีแล้ว บ.โตชิบา ไคลเอนต์ โซลูชันส์ ยังมีการพัฒนาอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบสวมใส่ที่เกี่ยวโยงกับยุคของอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง หรือ ไอโอที (IoT) ด้วย

ในส่วนของ บ.ชาร์ปเอง หลังจากการขายกิจการให้ บ.หงไห่ ในปี 2559 ก็มีสถานทางการเงินที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมาซึ่งสุดสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2561 บ.ชาร์ปสามารถพลิกผลการดำเนินงานจากขาดทุนให้กลายมาเป็นมีกำไรได้เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี

นักวิเคราะห์รายเดิมยังมองด้วยว่า แผนการอื่นของชาร์ปก็คือ การเพิ่มความเข้มแข็งให้กับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการเพิ่มเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในสินค้าต่าง ๆ ให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเหตุให้ชาร์ปแสดงความสนใจ และเข้าซื้อกิจการบริษัทลูกของโตชิบา

ปัจจุบันประธานเจ้าหน้าทีบริหารของชาร์ป คือ นายไต้ เจิ้งอู๋ (戴正吳; Jeng-wu Tai) อดีตรองประธานของฟ็อกซ์คอนน์ ที่ได้รับมอบหมายมาให้เข้าบริหารจัดการ บ.ชาร์ป หลังการเทกโอเวอร์ โดยเขาเคยแสดงความมุ่งหมายว่าจะนำบริษัทกลับเข้าสู่ธุรกิจฮาร์ดแวร์บางตลาดที่ชาร์ปเคยถอนตัวออกไป ซึ่งในส่วนของธุรกิจพีซี บ.ชาร์ปได้เลิกทำธุรกิจนี้ไปเมื่อปี 2553.

Source

]]>
1173221
ตลาดเดือดปุด ขายแอร์ยุคใหม่ต้องใช้พรีเซ็นเตอร์ https://positioningmag.com/1162041 Sat, 17 Mar 2018 07:52:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1162041 เทคโนโลยีแอร์ล้ำยุค พูดไปก็เท่านั้น หาพรีเซ็นเตอร์เด็ดให้คนจำแบรนด์ได้ดีกว่า น่าจะเป็นคำตอบที่ตรงที่สุดของเครื่องปรับอากาศแทบทุกแบรนด์ในตลาดไทย ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับเมืองร้อนแบบประเทศไทยเรานี้ ทั้งที่ควรจริงเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ควรจะขายได้ด้วยตัวเองมันเอง แต่หลาย ๆ แบรนด์ก็เลือกที่จะใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นดารา นักร้อง หรือคนดังที่เป็นที่นิยมในระดับต้น ๆ ณ ช่วงเวลาที่ปล่อยโฆษณาออกมา ซึ่งพรีเซ็นเตอร์นั้นก็ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศบางแบรนด์ประสบผลสำเร็จสมกับที่ทุ่มทุนใช้พรีเซ็นเตอร์เลยทีเดียว

เรามาเริ่มย้อนดูกันก่อนว่าแต่ละแบรนด์ของเครื่องปรับอากาศไทย ใช้พรีเซ็นเตอร์คนไหนกันมาแล้วบ้าง

Mitsubishi มิตซูบิชิ

  • ครอบครัวโกสิยพงษ์ พ.ศ. 2551
  • โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ พ.ศ. 2558-2561

Samsung ซัมซุง

  • อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ พ.ศ. 2553
  • แอฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ และ สงกรานต์ เตชะณรงค์ พ.ศ. 2556
  • ชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต พ.ศ. 2560

LG แอลจี

  • ชาคริต แย้มนาม และ วุ้นเส้น วิริฒิพา ภักดีประสงค์ พ.ศ. 2557
  • ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ พ.ศ. 2560

Daikin ไดกิ้น

  • ณเดชณ์ คูกิมิยะ พ.ศ. 2558

Panasonic พานาโซนิค

  • ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ พ.ศ. 2555
  • แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ และ นาย ณภัทร เสียงสมบุญ พ.ศ. 2560

Sharp ชาร์ป

  • เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลา พ.ศ. 2557

Haier ไฮเออร์

  • บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ พ.ศ. 2561

Carrier แคเรียร์

  • ชาคริต แย้มนาม พ.ศ. 2554
  • อิศรา กิจนิตย์ชีว์ หรือ ทอม Room39 พ.ศ. 2561

จากแต่ก่อนที่ทางตลาดเครื่องปรับอากาศต่างห้ำหั่นกันผ่านลูกเล่นของตัวผลิตภัณฑ์เอง เช่น ดักจับฝุ่นละอองในอากาศ สั่งงานด้วยเสียง เป็นต้น

ตอนนี้พร้อมใจกันหันมาใช้พรีเซ็นเตอร์ เป็นตัวแทนส่งไปในสนามรบเพิ่ม อย่างเครื่องปรับอากาศของ Haier (ไฮเออร์) คว้าตัว บอย ปกรณ์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับทางเครื่องปรับอากาศเป็นครั้งแรกเนื่องจากอยากใช้กระแสการเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ใหม่ ควบคู่กับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่จาก Haier (ไฮเออร์)

บางแบรนด์ยังคงเลือกไว้วางใจใช้พรีเซ็นเตอร์คนเดิมอย่างต่อเนื่องหลายปีติดกัน เพราะได้ผลตอบรับในด้านยอดขายที่ดีจากการใช้พรีเซ็นเตอร์คนเดิม อย่าง Daikin (ไดกิ้น) ที่พรีเซ็นเตอร์ยังเป็นพระเอกดังอย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ และ Mitsubichi (มิตซูบิชิ) ที่มีพรีเซ็นเตอร์เป็นพระเอกดังจากทางช่องเดียวกันอย่าง โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ ซึ่งดูเหมือนว่านอกจากเครื่องปรับอากาศและโฆษณาที่นำโดยพรีเซ็นเตอร์จะทำงานร่วมกันในการช่วยขายผลิตภัณฑ์ให้แต่แบรนด์แล้ว กระแสของตัวพรีเซ็นเตอร์เองในช่วงเวลาที่โฆษณาออนแอร์อยู่ก็เป็นหนึ่งภาพจำ ทำให้ผู้คนจำภาพเครื่องปรับอากาศนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

เห็นได้ชัดว่า เหตุผลที่ต้องเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์มาเป็นอีกหนึ่งนักรบหลักในการต่อสู้ทางการตลาดกับแบรนด์คู่แข่ง มีด้วยกันหลายเหตุผล เพราะตัวพรีเซ็นเตอร์นั้นจะช่วยชูโรงและอธิบายลูกเล่นข้อดีต่าง ๆ ของตัวเครื่องปรับอากาศได้ดียิ่งขึ้น เรียกง่าย ๆ ว่าเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้านั่นเอง

อีกทั้งตัวพรีเซ็นเตอร์ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็จะส่งผลไปยังผลิตภัณฑ์และแบรนด์ให้มีความเชื่อถือด้วย

นอกจากนี้นอกจากฝ่ายแบรนด์จะได้ผลประโยชน์หลักในการขายสินค้าของตนแล้ว ตัวพรีเซ็นเตอร์เอง ก็มีพื้นที่สื่อให้ผู้คนได้เห็นตลอดเหมือนกัน

เรียกได้ว่าได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย อย่างเช่น มิตซูบิชิ ที่มี โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ เป็นพรีเซ็นเตอร์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ก็เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของแบรนด์เครื่องปรับอากาศที่เลือกใช้พรีเซ็นเตอร์และเป็นพรีเซ็นเตอร์ที่เหมาะสมกับหลาย ๆ ด้าน

ยิ่งตอนนี้อย่างตอนนี้กระแสท่านหมื่นจากละครดังบุพเพสันนิวาสก็ส่งผลให้คนไทยให้ความสนใจกับ โป๊ป ธนวรรธน์ มากขึ้น ตัวโฆษณาของ Mitsubichi (มิตซูบิชิ) เองที่มีโป๊ปแสดงนำก็ทำให้ผู้คนให้ความสนใจเข้าชมเป็นจำนวนมาก ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น

ช่วงเบรกโฆษณาของละครดังสะเทือนอโยธยาอย่าง บุพเพสันนิวาส ตอนนี้ ไม่ใช่แคร์ มิตซูบิชิ ส่งโฆษณาของที่ โป๊ป หรือ พี่หมื่นคนดัง มาออกอากาศอย่างถี่ยิบ และไม่ได้จำกัดแค่เครื่องปรับอากาศ แต่รวมถึงสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่โป๊ปรับเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับทั้งแบรนด์ภายใต้แนวคิด เราคิดจากชีวิตคุณ

หรือแม้กระทั่ง Panasonic (พานาโซนิค) ที่ใช้นางเอกเรตติ้งดีอย่าง แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ ร่วมกับพระเอกดาวรุ่งอย่าง นาย ณภัทร เสียงสมบุญ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์คู่กัน ก็เพื่อดึงดูดให้ผู้คนมาสนใจชมสินค้ามากขึ้น แต่ก็ดูเหมือนว่าจะได้ผลในช่วงแรก เพราะกระแสละครของทั้งคู่จบไปค่อนข้างเร็วจึงเหลือแค่บางกลุ่มเท่านั้นที่ติดตามอยู่

ฉะนั้นจังหวะหรือทิศทางของกระแสก่อนจะเลือกพรีเซ็นเตอร์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เรียกง่าย ๆ ว่าพรีเซ็นเตอร์เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไปเลยก็ได้

เพราะเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ที่เมื่อแบรนด์ตัดสินใจเลือกใครมาเป็นพรีเซ็นเตอร์แล้ว ภาพลักษณ์ของพรีเซ็นเตอร์จึงเท่ากับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ด้วย.

]]>
1162041