Shopee – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Mar 2024 13:08:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Sea Limited’ บริษัทแม่ Shopee ทำ ‘กำไร’ ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ IPO ในปี 2017 https://positioningmag.com/1465270 Tue, 05 Mar 2024 13:02:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465270 เป็นที่รู้กันว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นธุรกิจปราบเซียน เพราะต้องแข่งกันเผาเงิน แต่ในที่สุด Sea Limited บริษัทแม่ของ Shopee ก็สามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรกในปี 2023 แม้ว่าจะต้องพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งสำคัญอย่าง Lazada และ TikTok Shop ก็ตาม

รายได้สุทธิในปี 2023 ของ ซี ลิมิเต็ด (Sea Limited) อยู่ที่ 162.7 ล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ในปี 2022 ขาดทุนถึ1.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นการทำกำไรครั้งแรกนับตั้งแต่ IPO ในปี 2017 อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2022 ขาดทุนสุทธิ 111.6 ล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบัน Sea Limited มี 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่  Shopee (อีคอมเมิร์ซ) SeaMoney (บริการทางการเงิน) และ Garena (เกม)

“ในปี 2023 เราประสบความสำเร็จในการทำกำไร เรามีงบดุลที่แข็งแกร่งขึ้นมาก โดยมีสถานะเงินสดของเราเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 พันล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2023 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวินัยและความรอบคอบที่เราใช้ในการลงทุนของเราในปีที่ผ่านมา” Forrest Li ประธานและซีอีโอของ Sea กล่าว

ในส่วนของธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee สามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปีที่ผ่านมา แม้จะมีการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทตั้งเป้าที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดของเราไว้ในปีนี้ แม้ว่าจะเจอกับการแข่งขันที่ดุเดือดจาก Lazada ของอาลีบาบา และ TikTok Shop ซึ่ง TikTok Shop ในอินโดนีเซีย ได้ควบรวมกับ Tokopedia

ส่วน SeaMoney สามารถทำกำไรได้ปีแรกในปี 2023 ในส่วนของ Garena บริษัทยังคาดว่าเกมเรือธงอย่าง Free Fire จะเติบโตเป็นเลขสองหลัก

“เราดีใจได้เห็นแนวโน้มเชิงบวกทั้งในด้านการเติบโตและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจทั้งสามของเรา เมื่อมองไปข้างหน้า เราจะลงทุนต่อไปเพื่ออนาคตด้วยวินัยและความมุ่งมั่น”

Source

]]>
1465270
Sea ผลประกอบการล่าสุดกลับมาขาดทุนอีกรอบ Shopee ถูก TikTok Shop และ Temu กดดันหนัก https://positioningmag.com/1451763 Wed, 15 Nov 2023 02:21:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451763 บริษัทแม่ของ Shopee อย่าง Sea ได้รายงานผลประกอบการล่าสุดนั้นกลับมาขาดทุนอีกรอบ สาเหตุสำคัญมาจากบริษัทถูกคู่แข่งรายใหม่ที่เข้ามากดดันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็น TikTok Shop รวมถึง Temu แต่ CEO ของบริษัทมองว่าการเสียสละกำไรในระยะสั้นจะช่วยธุรกิจในอนาคตได้

บริษัทแม่ของ Shopee อย่าง Sea รายงานผลประกอบการในไตรมาส 3 ของปี 2023 ซึ่งล่าสุดบริษัทได้รายงานการขาดทุน 149 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่ไตรมาส 2 นั้นบริษัทสามารถทำกำไรได้มากถึง 322 ล้านเหรียญสหรัฐ  โดยสภาวะการแข่งขันของธุรกิจ E-commerce รุนแรงเพิ่มขึ้น

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Sea กลับมาขาดทุนอีกครั้งก็คือ ธุรกิจ E-commerce อย่าง Shopee เองนั้นถูกคู่แข่งรายใหม่ที่เข้ามากดดันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็น TikTok Shop ที่กำลังขยายธุรกิจในอาเซียน รวมถึง Temu ที่กำลังรุกคืบเข้ามาในอาเซียนเช่นกัน

นอกจากนี้ยังรวมถึงคู่แข่งหน้าเก่าอย่าง Alibaba ซึ่งมีธุรกิจลูกในอาเซียนอย่าง Lazada ด้วย

สิ่งที่น่าสนใจในผลประกอบการของ Sea ในไตรมาส 3 นี้

  • รายได้รวมอยู่ที่ 3,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 5% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา
  • ธุรกิจ E-commerce นั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 18% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา
  • อย่างไรก็ดีค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดของบริษัทเพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา
  • กระแสเงินสดของบริษัทในไตรมาส 3 นี้ยังเป็นบวกอยู่ราวๆ 35 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้ผลดีจากธุรกิจ Digital Entertainment รวมถึง Digital Financial Service

ก่อนหน้านี้ UBS สถาบันการเงินจากสวิตเซอร์แลนด์ได้วิเคราะห์กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียน มองว่าการเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง TikTok Shop และ Shein อาจกดดันรายได้ โดยเฉพาะกรณีของ Shopee ทื่มองว่ามาร์จิ้นนั้นอาจหายไปบางส่วนได้

นอกจากนี้บริษัทเองยังมองถึงเรื่องการไลฟ์ขายสินค้าถือเป็นโอกาสสำคัญของธุรกิจอย่าง Shopee ด้วย

Forrest Li ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Sea ได้กล่าวว่า การเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น และเขายังมองว่าการเสียสละกำไรในระยะสั้นจะช่วยธุรกิจในอนาคต และเขายังเน้นถึงเป้าหมายระยะยาวของธุรกิจได้แก่ การเติบโต การทำกำไร รวมถึงการได้ส่วนแบ่งทางการตลาด

]]>
1451763
UBS ชี้การเข้ามาของ TikTok Shop และ Shein อาจกดดันมาร์จิ้นของ Shopee ได้หลังจากนี้ https://positioningmag.com/1433621 Fri, 09 Jun 2023 08:53:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433621 รายงานล่าสุดจาก UBS สถาบันการเงินจากสวิตเซอร์แลนด์ที่วิเคราะห์กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียน ได้มองว่าการเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง TikTok Shop และ Shein อาจกดดันรายได้ โดยเฉพาะกรณีของ Shopee ทื่มองว่ามาร์จิ้นนั้นอาจหายไปบางส่วนได้

บทวิเคราะห์จาก UBS ที่วิเคราะห์กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 มองว่าการเข้ามาของ TikTok และ Shein นั้นอาจกดดันยอดขายสินค้าออนไลน์รวม (GMV) ของกลุ่ม E-commerce โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Shopee

UBS ยังชี้ว่าแบรนด์สินค้าหลายยี่ห้อเองได้เลือกทำธุรกิจแบบ Direct-to-Customer (D2C) เองก็ยังสร้างแรงกดดันต่อผู้เล่น E-commerce ในตลาดอาเซียนอีกด้วย และ UBS ยังชี้ว่าการดำเนินธุรกิจแบบ D2C ของแบรนด์ต่างๆ จะกดดันต่อ GMV ของบริษัทหลังจากนี้

ก่อนหน้านี้ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok เองก็หมายมั่นปั้นมือว่าการเข้ามาในธุรกิจ E-commerce ของบริษัทอย่าง TikTok Shop นั้นจะช่วยทำให้บริษัทมี GMV มากถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่ปี 2022 ทีผ่านมาบริษัทมี GMV ราวๆ 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ และตลาดที่บริษัทโฟกัสมากสุดก็คืออาเซียน

โดย UBS ชี้ว่าการเข้ามาของ TikTok และ Shein จะทำให้มาร์จิ้นเมื่อเทียบกับ GMV ของ Shopee หายไปถึง 1.9% ในปีนี้ และ 2.5% ในปี 2024

UBS รวบรวมและใช้ข้อมูลของ Sensor Tower เพื่อดูยอดผู้ใช้งานต่อเดือน (MAU) ของผู้เล่นต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งข้อมูลล่าสุดเดือนเมษายนที่ผ่านมา Shein อยู่อันดับ 1 ตามมาด้วย Shopee Lazada Ebay ตามลำดับ ซึ่งทาง Shein มีผู้ใช้งานต่อเดือนที่เติบโตถึง 20% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ผู้เล่นรายอื่นในไทยนั้น MAU เติบโตน้อยมาก

ขณะที่ตลาดประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย MAU เบอร์ 1 ยังเป็น Shopee ขณะที่ Shein ตามมาเป็นอันดับ 2 ขณะที่อินโดนีเซียผู้นำยังคือ Shopee ยกเว้นเวียดนามที่ Shein แซงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แล้ว

อย่างไรก็ดี UBS ได้ชี้ว่าตัวเลข MAU อาจไม่สามารถนำมาชี้วัดถึง GMV ได้

ไม่เพียงเท่านี้ในรายงานของ UBS ยังชี้ถึงธุรกิจส่งอาหารในอาเซียนว่า Grab เองกำลังแย่งส่วนแบ่งตลาดจากผู้เล่นอื่น ไม่ว่าจะเป็น GoTo รวมถึงผู้เล่นอีกรายอย่าง foodpanda และชี้ว่า GMV ของ GoTo ยังไม่กลับมาฟื้นตัวแม้จะผ่านไปถึงช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ก็ตาม

]]>
1433621
Sea บริษัทแม่ของ Shopee ปรับขึ้นเงินเดือนพนักงาน หลังล่าสุดสถานะทางการเงินดูดีมากขึ้น https://positioningmag.com/1429725 Tue, 09 May 2023 05:12:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429725 Sea บริษัทแม่ของ Shopee รวมถึง Garena ล่าสุดมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถปรับเงินเดือนพนักงานขึ้นได้อีกครั้ง หลังจากในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับลดจำนวนพนักงาน ปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ เพื่อที่จะทำให้บริษัทกลับมาแข็งแกร่ง

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงจาก Memo ที่ส่งให้กับพนักงานของ Sea โดยบริษัทเตรียมปรับเงินเดือนให้กับพนักงานที่เข้าทำงานก่อน 31 มีนาคมปีนี้ โดยได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น 5% มีผลในเดือนกรกฎาคม หลังจากที่บริษัทได้ลดค่าใช้จ่าย และปรับโครงสร้างธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา

Memo ความยาว 1,300 คำที่ Forrest Li ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Sea ได้กล่าวว่า บริษัทมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นครั้งแรก หลังจากก่อนหน้านี้กระแสเงินสดติดลบในทุกไตรมาส และจะทำให้บริษัทสามารถประคองตัวเองได้หลังจากนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้บริหารสูงสุดรายนี้เคยกล่าวว่าจะไม่มีการปลดพนักงานออกชุดใหญ่แล้ว

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาบริษัทได้ประกาศผลประกอบการในไตรมาส 4 ของปี 2022 ซึ่งบริษัทมีกำไรครั้งแรก หลังจากใช้มาตรการปลดพนักงาน ปิดธุรกิจในต่างประเทศที่ไม่ทำกำไร หลังจากในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจไปในหลายประเทศเพื่อหาลูกค้าใหม่เพิ่มเติม โดยเฉพาะธุรกิจ E-commerce อย่าง Shopee

ไม่เพียงเท่านี้บริษัทยังปลดพนักงาน รวมถึงไม่มีการขึ้นโบนัสรวมถึงเงินเดือนของพนักงานเพื่อที่จะรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ด้วย

ในไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารสูงสุดของ Sea ยังได้กล่าวว่าบริษัทได้จับตามองสถานการณ์เศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในปีนี้เขายังพยายามที่จะทำให้บริษัทกลับมามีกำไร และมองว่าเทรนด์ของ E-commerce ในระยะยาวนั้นจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ใน Memo ดังกล่าวยังได้พูดถึงความยากลำบากในปีที่ผ่านมา โดยเขาต้องตัดสินใจอย่างเจ็บปวดในการปลดพนักงานมากถึง 3,500 ราย ไม่เว้นแม้แต่ผู้บริหาร เพื่อที่จะรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เป็นใจ เขายังกล่าวว่าสภาวะภายนอกถือเป็นความท้าทายของบริษัท และการสร้างพื้นฐานให้แกร่งในวันนี้เพื่ออนาคตข้างหน้าของบริษัท

]]>
1429725
CEO ของ Sea บอกพนักงาน “ไม่มีการปลดพนักงานออกแล้ว แต่ต้องพิสูจน์เรื่องทำกำไรให้ได้” https://positioningmag.com/1423859 Mon, 20 Mar 2023 08:10:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423859 Forrest Li ซึ่งเป็น CEO ของ Sea บริษัทแม่ Shopee รวมถึง Garena ได้กล่าวว่าจะไม่มีการปลดพนักงานชุดใหญ่หลังจากนี้ แต่บริษัทก็ต้องพิสูจน์ถึงการทำกำไรให้ได้ในระยะยาว หลังจากที่บริษัทได้รายงานผลกำไรครั้งแรกในช่วงไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา

สำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานข่าว อ้างอิงข้อความที่ Forrest Li ซึ่งเป็น CEO ของ Sea ได้ส่งให้กับพนักงาน ซึ่งสื่อรายดังกล่าวได้รับมา โดยกล่าวว่าบริษัทจะไม่มีการปลดพนักงานแล้ว และเขายังพูดถึงว่านี่เป็นครั้งแรกที่บริษัทต้องผ่านวิกฤตใหญ่เช่นนี้ หลังจากที่บริษัทได้ IPO ในปี 2017

ข้อความที่ส่งให้กับพนักงานนั้นตามมาหลังจากบริษัทสามารถมีกำไรในไตรมาส 4 ของปี 2022 ที่ผ่านมาได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการปลดพนักงานชุดใหญ่เพื่อที่จะลดต้นทุนบริษัท นอกจากนี้ยังมีการควบคุมค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น การลดงบที่ใช้ทางการตลาดลง ปิดธุรกิจในประเทศต่างๆ ที่ไม่ทำเงิน เพื่อที่จะทำให้บริษัทกลับมามีกำไร

เขายังกล่าวเสริมว่า Sea เป็นบริษัทแรกๆ ในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีที่มีการปรับตัว (ในเรื่องการปลดพนักงาน รวมถึงลดต้นทุนของบริษัท) แม้ว่าจะมีการเจ็บตัว แต่ก็ทำให้บริษัทมีสถานะที่แข็งแกร่งในทุกวันนี้

อีเมลถึงพนักงานด้วยความยาวข้อความถึง 700 คำ ยังได้กล่าวว่าแม้ว่าจะมีการปลดพนักงานไป แต่ก็บริษัทต้องมีการพิสูจน์ถึงการทำกำไรในระยะยาวได้ และยังย้ำว่างานดังกล่าวยังไม่สำเร็จ ซึ่งการปลดพนักงานรอบล่าสุดของ Sea ก็คือในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีการปลดพนักงานมากถึง 500 ราย

CEO รายดังกล่าวยังย้ำว่า โลกกำลังจับตามองว่ากำไรในไตรมาส 4 ที่ผ่านมานั้นจะเป็นเรื่องชั่วคราวหรือเป็นสิ่งที่บริษัททำได้จริง

การปรับตัวครั้งใหญ่ของบริษัทแม่ Shopee รวมถึง Garena เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปอย่างมาก รวมถึงความไม่ไว้ใจของนักลงทุน ส่งผลต่อบริษัทเทคโนโลยีหลายรายที่ไม่มีกำไรนั้นต้องกลับมาหาทางทำกำไร เพื่อที่จะพิสูจน์ถึงความสามารถของบริษัท

]]>
1423859
Sea บริษัทแม่ Shopee รายงานกำไรครั้งแรกหลังเข้าตลาดหุ้น ด้วยมาตรการลดค่าใช้จ่าย https://positioningmag.com/1422194 Tue, 07 Mar 2023 17:03:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422194 Sea Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Shopee ได้ประกาศผลการดำเนินงานในไตรมาส 4 และของปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งผลประกอบการดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ จากมาตรการรัดเข็มขัดทุกวิถีทาง เพื่อที่จะทำให้บริษัทกลับมาสู่เส้นทางของการทำกำไรได้อีกครั้ง

โดยในไตรมาส 4 นี้บริษัทมีกำไร 426.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ดีกว่าค่าเฉลี่ยของนักวิเคราะห์ที่ Bloomberg รวบรวมไว้ว่าบริษัทจะขาดทุนมากถึง 434 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่รายได้ในไตรมาส 4 เติบโตมากกว่าปี 2021 ถึง 7% อยู่ที่ 3,451.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

แต่ถ้าหากมองเป็นผลประกอบการทั้งปีแล้ว Sea จะมีรายได้รวมของบริษัทในปี 2022 อยู่ที่ 12,449.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตมากกว่าปี 2021 มากถึง 25% แต่ผลการดำเนินงานทั้งปียังขาดทุนอยู่ที่ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าดีกว่าในปีที่ผ่านมาที่ขาดทุน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

มาตรการสำคัญในปี 2022 ที่บริษัทงัดออกมาใช้นั่นก็คือมาตรการคุมค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการปลดพนักงาน การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ปิดส่วนธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป การลดเงินสำหรับวิจัยและพัฒนา รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโปรโมชันต่างๆ และยังรวมถึงมาตรการอย่างการไม่ขึ้นโบนัสและเงินเดือนของพนักงานด้วย

นอกจากนี้ในไตรมาส 4 ยังมีข่าวดีที่ว่ากำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ของ Shopee นั้นกลับมาเป็นบวกครั้งแรกอีกด้วย หลังจากในส่วนธุรกิจ E-commerce ได้ฉุดให้ผลประกอบการขาดทุนในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา

Forrest Li ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Sea ได้กล่าวว่าปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของบริษัทที่จะกลับมาสู่เส้นทางทำกำไร และเรื่องดังกล่าวเป็นหนทางระยะยาวของบริษัท นอกจากนี้เขามองว่าบริษัทนั้นถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว

อย่างไรก็ดีผู้ก่อตั้งและผู้บริหารสูงสุดของ Sea ยังได้กล่าวว่าบริษัทได้จับตามองสถานการณ์เศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในปีนี้เขายังพยายามที่จะทำให้บริษัทกลับมามีกำไร และมองว่าเทรนด์ของ E-commerce ในระยะยาวนั้นจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน

]]>
1422194
ย้อนรอย ‘JD Central’ ยักษ์ใหญ่ที่กำลังโบกมือลาอีคอมเมิร์ซไทยตามรอย ‘11Street’ https://positioningmag.com/1417229 Mon, 30 Jan 2023 09:27:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417229 หากพูดว่าตลาด อีคอมเมิร์ซ ไม่หมูก็คงไม่เกินจริงนัก เพราะมองจากข้างนอกก็คงจะเห็นว่าแต่ละแพลตฟอร์มนั้นเผาเงินทำการตลาดรวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ กันหนักมาก นับเฉพาะแค่ ดับเบิลเดย์ ที่มีให้เห็นแทบทุกเดือนนักช้อปเคยชินกันไปแล้ว ดังนั้น สายป่าน ไม่ยาวจริงก็คงต้องยกธงขาวยอมแพ้ไป เหมือนที่ 11Street เคย และ JD Central ที่กำลังจะไป

ก่อนมี JD Central เคยมี 11Street มาก่อน

ย้อนไปเมื่อปี 2012 ผู้เล่นอีคอมเมิร์ซรายแรกสุดที่เข้ามาทำตลาดในไทยก็คือ ลาซาด้า (Lazada) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งในปี 2014 ลาซาด้าก็ได้ถูก อาลีบาบา (Alibaba) บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีนมาซื้อไป ซึ่งนั่นก็ยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับแพลตฟอร์มในการที่จะ เผาเงิน ทำโปรโมชันในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

หลังจากที่ลาซาด้าทำตลาดได้ 2 ปี ช้อปปี้ (Shopee) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ ซี กรุ๊ป (Sea Group) สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นของภูมิภาคที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม Garena ที่คอเกมบ้านเราน่าจะคุ้นเคยกันดี อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถือหุ้นใหญ่ใน Sea Group ก็คือ เทนเซ็นต์ (Tencent) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน พูดง่าย ๆ ว่า 2 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ต่างมีแบ็กจากจีนทั้งหมด

ถัดมาในปี 2016 ก็มีอีคอมเมิร์ซสัญชาติเกาหลีใต้ลองของเข้ามาทำตลาดในไทยโดยใช้ชื่อว่า อีเลฟเว่น สตรีท (11Street) ที่มี เอสเคเพลนเน็ท ถือหุ้นใหญ่ภายใต้กลุ่ม เอสเค เทลเลคอม ช่วงแรกใช้เงินกว่า 1,000 ล้านบาทในการลงทุน ในจำนวนนี้เป็นงบการตลาดมากถึง 300 ล้านบาท ถึงขนาดดึงซุปตาร์จากเกาหลี ซงจุงกิ ประกบนักแสดงสาว มิว–นิษฐา จิรยั่งยืน มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ แต่ที่สุดก็ต้อง ม้วนสื่อกลับบ้าน หลังเข้ามาเปิดธุรกิจเพียงสองปีเศษเท่านั้น

5 ปีในตลาดของ JD Central ยังห่างชั้นผู้นำ

หลังจากที่อีเลฟเว่น สตรีท ต้องยอมแพ้ มาปี 2018 ก็มีผู้เล่นคนใหม่เข้ามาในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยซึ่งก็คือ JD Central (เจดี เซ็นทรัล) โดยที่หลายคนเชื่อว่าจะมาสามารถแข่งกับ 2 แพลตฟอร์มเจ้าตลาดได้ เพราะเป็นการร่วมทุนของ JD.Com อีคอมเมิร์ซเบอร์ 2 ของจีนที่อยู่ในตลาดนานกว่า 20 ปี และ เซ็นทรัล กรุ๊ป โดยการร่วมทุนครั้งนี้มีวงเงินกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 17,500 ล้านบาท ทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยกลายเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวของทุนยักษ์ใหญ่จากจีน

แน่นอนว่าการแข่งขันของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยนั้นดุเดือดมาก อย่างลาซาด้าเองก็ขาดทุนมาโดยตลอด หากนับเฉพาะปี 2017-2019 ลาซาด้า ขาดทุนสะสมถึง 6,920 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ลาซาด้านับเป็นอีคอมเมิร์ซรายเดียวที่สามารถทำกำไร โดยในปี 2020 มีกำไรที่ 226.9 ล้านบาท และในปี 2022 มีกำไรประมาณ 3,200 ล้านบาท จากรายได้รวม 38,000 กว่าล้านบาท ส่วนตัว ช้อปปี้ เองเฉพาะปี 2021 ขาดทุนประมาณ 4,900 กว่าล้านบาท จากรายได้ทั้งกลุ่มอยู่ที่เกือบ 43,000 ล้านบาท

ตัดมาที่ JD Central ที่เรียกได้ว่ายังห่างชั้นกับ 2 เจ้าใหญ่อย่างมาก แม้ว่าในปี 2021 แพลตฟอร์มพยายามจะรีแบรนด์ แถมยังได้ ก่อลาภ สุวัชรังกูร ผู้บุกเบิกตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ประเทศไทยทั้ง LINE MAN และ Gojek มานั่งตำแหน่งประธานบริหารฝ่ายการตลาดคนใหม่แทนที่ รวิศรา จิราธิวัฒน์ ที่ไปดำรงตำแหน่งประธานบริหารฝ่ายการตลาด บจก.สรรพสินค้าเซ็นทรัลแทน

แต่จากข้อมูลจากเว็บไซต์ ipricethailand.com ระบุว่า ในช่วง Q1/2022 JD Central มีผู้เข้าชมเว็บไซต์เพียง 2 ล้านกว่าราย ขณะที่ช้อปปี้มีอยู่ที่ 56 ล้านราย และลาซาด้าอยู่ในระดับ 36 ล้านราย ขณะที่ปี 2021 มีรายได้รวม 7,443 ล้านบาท ขาดทุน 1,930 ล้านบาท โดยปัจจุบัน ก่อลาภได้ย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารที่บริษัท โอ ช้อปปิ้ง จำกัด หลังจากที่ร่วมงานกับ JD CENTRAL ได้ประมาณ 1 ปี

เปิดใจ ‘ก่อลาภ’ กับภารกิจดัน ‘JD CENTRAL’ เทียบชั้น 2 เจ้าตลาด

2022 เริ่มเห็นสัญญาณไม่ดี

มาปี 2022 หลายคนน่าจะสังเกตว่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยไม่ค่อยคึกคัก หลังจากที่ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างมากในช่วงที่ COVID-19 ระบาด แต่ในปี 2022 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจทั่วโลกก็เจอกับปัญหาเงินเฟ้อ ดังนั้น จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายได้รับผลกระทบ อย่าง Sea Group ก็ต้องปลดคนงาน พร้อมกับยุติการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซใน 4 ประเทศ ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และอาร์เจนตินา

ขณะที่ JD.com เองก็มีข่าวว่าบริษัทได้เลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และได้เรียกผู้บริหารระดับสูงในไทยกลับประเทศจีนหลายราย หลังจากธุรกิจในไทยนั้นโตไม่ได้ตามเป้า โดยรวมแล้ว JD.Com ขาดทุนสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท จากการทำตลาดในประเทศไทยและอินโดนีเซีย

ส่งผลให้ในช่วงช่วงปลายปี 2022 มีข่าวว่า JD.com เตรียม ถอนตัวจากไทยและอินโดนีเซีย เพื่อขอกลับไปเน้นธุรกิจในจีนเป็นหลักจากเดิมที่เคยต้องการบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งล่าสุด JD Central ได้ประกาศยุติกิจการในไทยโดยมีผล 3 มี.ค. 2023 เป็นต้นไป ปิดฉาก 5 ปีในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

JD.com เตรียมถอนตัวจากไทยและอินโดนีเซีย หลังจากนี้เน้นธุรกิจในจีนเป็นหลัก

ทิศทางออนไลน์ของเซ็นทรัลจากนี้

ที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลได้วางโรดแมปในการเข้าสู่อีคอมเมิร์ซเต็มตัว โดยก่อนที่จะร่วมทุนกับ JD.Com บริษัทได้เข้าซื้อ ออฟฟิศเมท ในปี 2012 แล้วเปลี่ยนโฉมออฟฟิศเมทเป็นบริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ในปี 2015 จากนั้นก็ล้างภาพจำออฟฟิศเมทที่จำหน่ายของใช้ในสำนักงานจนกลายเป็นแพลตฟอร์ม เซ็นทรัล ออนไลน์ (Central Online) อย่างเต็มตัว ซึ่งจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ใน Q1/2022 นั้นอยู่ที่ 2.5 ล้านราย นับเป็น อันดับ 3 ซึ่งสูงกว่า JD CENTRAL แพลตฟอร์มที่ร่วมทุนกับ JD.Com เสียอีก

และในส่วนของ Central App ก็มีอัตราการเติบโตของยอดดาวน์โหลดเพิ่มมากกว่า 60% จากปี 2021 และคาดว่าในปี 2022 จะมีสมาชิกมากกว่า 5 ล้านคน โดยในฝั่งของแพลตฟอร์มเซ็นทรัล ออนไลน์นี้ ทางเซ็นทรัลก็ได้วางตัวว่าจะเน้นจับ กลุ่มสินค้าพรีเมียม ซึ่งจะแตกต่างจากแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ที่เน้นขายสินค้าแมสมากกว่า

สรุป คงไม่ใช่แค่เรื่องการแข่งขันที่ทำให้ JD.Com ตัดสินใจถอนตัวออกจากไทย แต่ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อตัวบริษัทแม่เอง รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซไทยก็ชะลอการเติบโตลงหลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ COVID-19 ระบาด โดยศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดว่า ในปี 2023 ภาพรวมของตลาดอีคอมเมิร์ซแบบ B2C คาดว่าตลาดอาจขยายตัวราว 4-6% ซึ่งต่ำสุดเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวเฉลี่ย 26% ต่อปี ดังนั้น หากยื้อต่อไปก็จะยิ่งเจ็บตัวเปล่า ๆ

]]>
1417229
Shopee ประเทศไทย ปลดพนักงานอีกรอบ หลังสภาวะเศรษฐกิจโลกไม่เป็นใจ https://positioningmag.com/1401689 Mon, 26 Sep 2022 09:27:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401689 Shopee ประเทศไทย ประกาศปลดพนักงานจำนวนมาก ซึ่งการปลดพนักงานของประเทศไทยนั้นตามหลังการปลดพนักงานในประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ หรือแม้แต่อินโดนีเซีย ขณะเดียวกันแหล่งข่าวของ Positioning ยังได้แสดงความกังวลว่าบริษัทอาจมีการปลดพนักงานอีกรอบหลังจากนี้

สำหรับจำนวนการปลดพนักงานของ Shopee ประเทศไทย มีทั้งพนักงานประจำ รวมถึงพนักงานสัญญาจ้างจากหลายแผนก เช่น ShopeePay เป็นต้น ซึ่งเบื้องต้นที่ Positioning ได้ข้อมูลมานั้นคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 200 ราย

การปลดพนักงานของ Shopee ประเทศไทยถือว่าเป็นครั้งที่ 2 แล้ว หลังจากครั้งแรกมีการปลดพนักงานในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา Sea Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Shopee ได้ปลดพนักงาน Shopee ที่สิงคโปร์ จีน รวมถึงอินโดนีเซีย โดยบริษัทให้เหตุผลในเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Sea Group ประกาศผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 โดยที่รายได้รวมของบริษัทยังเติบโตมากถึง 29% เมื่อเทียบกับปี 2021 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี บริษัทยังรายงานผลขาดทุนอยู่ถึง 931 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 32,993 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ Forrest Li ได้กล่าวในจดหมายบริษัทที่ส่งให้กับพนักงานว่าเขาและผู้บริหารจะไม่รับเงินเดือนของบริษัทจนกว่าบริษัทจะกลับมาเติบโตและเลี้ยงตัวเองได้ และเขากล่าวว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจนั้นไม่ใช่พายุที่พัดผ่านโดยใช้เวลาไม่นาน แต่ปัญหาเหล่านี้ถือว่าเป็นปัญหาระยะกลาง หลังจากสภาวะเศรษฐกิจรวมถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถูกเทขายอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา

แหล่งข่าวของ Positioning ยังได้กล่าวว่า Shopee ประเทศไทย ยังมีการปรับลดสวัสดิการของพนักงานลงรวมถึงแสดงความกังวลว่าบริษัทอาจมีการปลดพนักงานอีกครั้งหลังจากนี้ด้วย

]]>
1401689
Shopee ปลดพนักงานในอินโดนีเซีย จีน สิงคโปร์ เพิ่มอีก จากสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เป็นใจ https://positioningmag.com/1400722 Mon, 19 Sep 2022 07:58:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400722 Shopee แพลตฟอร์ม E-commerce รายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ปลดพนักงานเพิ่มอีกในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในตลาดที่กำลังเติบโตสูงอย่างอินโดนีเซีย หรือแม้แต่ในสิงคโปร์ รวมถึงประเทศจีน แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของบริษัทเทคโนโลยีที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก จากสภาวะเศรษฐกิจโลก

สื่อต่างประเทศหลายแห่งได้รายงานถึงการปลดพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น Bloomberg ได้รายงานว่า Shopee ได้ปลดพนักงานคิดเป็นสัดส่วน 3% ในประเทศอินโดนีเซีย โดยการปลดพนักงานนั้นบริษัทให้เหตุผลเรื่องของประสิทธิภาพของธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป

ไม่ใช่แค่อินโดนีเซียเท่านั้น Business Times สื่อธุรกิจของสิงคโปร์รายงานว่า Shopee เองก็ได้ปลดพนักงานในสิงคโปร์รวมถึงที่จีน ไม่ว่าจะเป็นแผนกบุคคล ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายการตลาด รวมถึงวิศวกร อย่างไรก็ดี จำนวนพนักงานที่ถูกปลดทั้ง 2 แห่งนั้นไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใด

ก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Shopee ได้ทำการปลดพนักงานในหลายประเทศลง โดยผลกระทบดังกล่าวนี้ส่งผลหนักต่อพนักงาน ShopeeFood และ ShopeePay ในหลายตลาด ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมประเทศไทยแล้วยังมี ไต้หวัน บราซิล เม็กซิโก ชิลี และโคลอมเบียด้วย

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Sea Group ได้ประกาศผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 โดยที่รายได้รวมของบริษัทยังเติบโตมากถึง 29% เมื่อเทียบกับปี 2021 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี บริษัทยังรายงานผลขาดทุนอยู่ถึง 931 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 32,993 ล้านบาท

บริษัทแม่ของ Shopee ได้ให้เหตุผลสำคัญว่าสภาวะเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป ทำให้บริษัทเน้นทำธุรกิจในประเทศที่มีโอกาสทำกำไร รวมถึงปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อที่จะลดการขาดทุน และปูทางสู่เส้นทางกำไร

]]>
1400722
ไม่ได้ไปต่อ! ‘Shopee’ ยุติกิจการดำเนินงานใน 4 ประเทศ อ้างความไม่แน่นอนของ ‘เศรษฐกิจ’ https://positioningmag.com/1399621 Fri, 09 Sep 2022 07:01:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399621 ย้อนไปช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Sea Group บริษัทแม่ของ ช้อปปี้ (Shopee) อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ ได้ปลดพนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นฝั่งของ ShopeePay และ ShopeeFood ล่าสุด ไม่ใช่แค่ลดพนักงาน แต่ยุติกิจการใน 4 ประเทศ ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และอาร์เจนตินา

แผนกอีคอมเมิร์ซของ Sea Group ได้แจ้งพนักงานว่ากำลังปิดการดำเนินงานใน 4 ประเทศ โดยในประเทศชิลี โคลอมเบีย และเม็กซิโก จะปรับเปลี่ยนไปเน้นที่รูปแบบ ธุรกิจข้ามพรมแดน แทน ส่วนในประเทศ อาร์เจนตินา จะเป็นการ ยุติกิจการทั้งหมด

Chris Feng หัวหน้าผู้บริหารของ Shopee ระบุถึงสาเหตุว่า “จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน บริษัทจำเป็นต้องมุ่งเน้นทรัพยากรไปที่การดำเนินงานหลัก และตัดสินใจที่จะเลือกทำธุรกิจแบบข้ามพรมแดนในเม็กซิโก โคลอมเบีย และชิลีแทน”

ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Sea Group ได้ประกาศยุติกิจการของ Shopee ใน อินเดียและฝรั่งเศส และในเดือนมิถุนายนก็ได้ลดการจ้างงานทั้งในส่วนของแผนกอีคอมเมิร์ซและจัดส่งอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการละตินอเมริกา นอกจากนี้ Shopee ได้ยกเลิกการจ้างงานหลายสิบตำแหน่งในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา

เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา มูลค่าบริษัทของ Sea Group เพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เนื่องจากหน่วยเกมและอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 แต่ปัจจุบันหุ้นของบริษัทร่วงลงตั้งแต่นั้นมา และตอนนี้มีมูลค่าเพียง 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์

Source

]]>
1399621