Smartphone – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 May 2024 01:25:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Huawei เตรียมเปิด Flagship Store เพิ่มในจีน หลังไม่เคยเพิ่มสาขาเลยตั้งแต่ปี 2019 รับความต้องการสินค้าจากผู้บริโภคแดนมังกร https://positioningmag.com/1473635 Wed, 15 May 2024 05:58:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473635 หัวเว่ย (Huawei) เตรียมเปิด Flagship Store เพิ่มในจีน หลังจากบริษัทไม่เคยขยายสาขาประเภทดังกล่าวมาเลยนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ขณะเดียวกันความต้องการของผู้บริโภคแดนมังกรนั้นเพิ่มมากขึ้น หลังจากบริษัทได้เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Huawei ผู้ผลิตสินค้าโทรคมนาคมและสินค้าไอทีในจีน เตรียมปรับกลยุทธ์ในการขายครั้งใหม่ โดยล่าสุดยักษ์ใหญ่จากจีนรายนี้ได้เตรียมที่จะเปิด Flagship Store เพิ่มเติม หลังจากที่ไม่เคยขยายสาขาประเภทดังกล่าวเลยนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ Huawei เองยังเตรียมที่จะปรับปรุงสาขา Flagship Store บางสาขาให้ดูทันสมัยเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย เช่น สาขาเซี่ยงไฮ้ ที่บริษัทได้ปรับปรุงสาขาทำให้มีบรรยากาศที่ดีมากขึ้น ซึ่งสื่อรายดังกล่าวได้สัมภาษณ์ลูกค้าหญิงรายหนึ่ง โดยเธอได้กล่าวว่าบรรยากาศร้านนั้นดีกว่า Apple Store ด้วยซ้ำ

สาเหตุที่ทำให้ Huawei กลับมาขยาย Flagship Store เพิ่มคือ บริษัทยังมีสาขาร้านประเภทดังกล่าวน้อยกว่าคู่แข่งอย่าง Apple ที่มีสาขามากถึง 49 สาขาในจีน ขณะที่บริษัทนั้นมีสาขาแค่ 11 สาขาเท่านั้น และบริษัทไม่ได้ขยายสาขาดังกล่าวเพิ่มเลยนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา

ไม่เพียงเท่านี้ความต้องการของโทรศัพท์มือถือของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวในรุ่น Mate 60 Pro หรือแม้แต่รุ่นเรือธงล่าสุดอย่าง Pura 70 นั้นทำให้ความต้องการสินค้ามีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นยังส่งผลทำให้ Apple ที่เป็นแบรนด์ต่างประเทศที่ครองตลาดจีนมาเป็นเวลานานนั้นมียอดขายลดลง ตรงข้ามกับแบรนด์จีนอย่าง Huawei ที่มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้บริษัทมองเห็นถึงโมเมนตัมจากเรื่องดังกล่าวเช่นกัน

ปกติแล้ว Huawei มักจะใช้โมเดลการขยายสาขาให้กับผู้จัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทในการเปิดสาขา ซึ่งตัวเลขล่าสุดจนถึงเดือนตุลาคมปี 2023 บริษัทมีสาขาประเภทดังกล่าว 5,200 สาขาทั่วประเทศจีน

Lucas Zhong นักวิเคราะห์จาก Canalys มองว่าการที่ Huawei ได้ขยายสาขาประเภท Flagship Store ได้ช้าผิดปกติคือบริษัทได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา และยังรวมถึงปัญญหาด้าน Supply Chain ทำให้บริษัทต้องโฟกัสในการแก้ปัญหาด้านธุรกิจเรื่องดังกล่าวเป็นอันดับแรก

แต่หลังจากปัญหาดังกล่าวคลี่คลาย รวมถึงความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคชาวจีน ทำให้บริษัทมีแผนในการขยายสาขา Flagship Store เพิ่มขึ้นนั่นเอง

]]>
1473635
‘Apple’ ขึ้นแท่นแบรนด์ที่มียอดขายสมาร์ทโฟนอันดับ 1 ของโลก โค่น ‘Samsung’ ที่ครองแชมป์นาน 12 ปี! https://positioningmag.com/1459136 Wed, 17 Jan 2024 03:36:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459136 ครั้งสุดท้ายที่ ซัมซุง (Samsung) หลุดแชมป์ เบอร์ 1 ตลาดสมาร์ทโฟน ต้องย้อนไปถึงปี 2010 หรือ 12 ปีที่ผ่านมา และในปี 2023 ซัมซุงก็ได้เสียแชมป์ให้กับ Apple ขึ้นเป็น แบรนด์ที่มียอดขายสมาร์ทโฟนมากที่สุดในโลก และถือเป็นครั้งแรกของ Apple ด้วย

iPhone ของ Apple กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มียอดขายมากที่สุดในโลกเป็นครั้งแรก หลังจากที่แข่งขันกับ Samsung ที่ครองตำแหน่งผู้นำมาเป็นเวลา 12 ปี ตามข้อมูลจาก International Data Corporation หรือ IDC โดย Apple สามารถโค่นแชมป์เก่าได้ด้วยยอดขายกว่า 234.6 ล้านเครื่อง เทียบกับ Samsung ที่ทำได้ 226.6 ล้านเครื่อง ส่งผลให้ Apple ครองส่วนแบ่งตลาด 20.1% มากกว่า Samsung ที่มีส่วนแบ่ง 19.4%

นักวิเคราะห์มองว่า การเติบโตของยอดขาย iPhone ของ Apple มาจากความต้องการของกลุ่มพรีเมียมที่ปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 20% ของส่วนแบ่งตลาด ขณะที่ตลาดสมาร์ทโฟนที่ระบบปฏิบัติการ Android ก็มีความกระจัดกระจายมากขึ้น ทำให้ Samsung ต้องเจอกับการแข่งขันที่ดุเดือดจากแบรนด์จีนที่ส่งทั้งสมาร์ทโฟนจอพับมาแข่งขัน นอกจากนี้ การกลับมาของ Huawei ในประเทศจีนก็ส่งผลต่อยอดขายของ Samsung ที่ลดลงเช่นกัน

“เราเห็นการเติบโตที่แข็งแกร่งจากผู้เล่น Android ระดับล่างอย่าง Transsion และ Xiaomi ในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดเกิดใหม่ แต่ Apple ถือเป็นแบรนด์ที่กำชัยชนะเพียงแบรนด์เดียว เพราะถือเป็นเพียงแบรนด์เดียวในกลุ่ม Top3 ที่มีการเติบโตทุกปี”

ทั้งนี้ ในปี 2023 ที่ผ่านมา การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกลดลง -3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ 1.17 พันล้านเครื่อง โดยถือเป็นจำนวนต่ำสุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 4/2023 ตลาดมีการเติบโต +8.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีการจัดส่ง 326.1 ล้านเครื่อง ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เติบโต 7.3% ทำให้ภาพรวมในปี 2024 ตลาดอาจฟื้นตัวดีขึ้น

คงต้องรอดูว่า Samsung จะกลับมาได้ไหมในปีนี้ โดยแบรนด์กำลังจะเปิดตัว Samsung Galaxy S24 Series ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนเรือธงของแบรนด์ในช่วงสิ้นเดือนมกราคมนี้ ขณะเดียวกัน Apple ก็เพิ่งลดราคาสินค้าในจีนเป็นครั้งแรกในช่วงต้นปีเพื่อกระตุ้นยอดขาย

Source

]]>
1459136
ยอดขาย Smartphone ทั่วโลกกลับมาเติบโตครั้งแรกในรอบ 27 เดือน จากยอดขายในจีน ตะวันออกกลาง และแอฟริกา https://positioningmag.com/1453053 Thu, 23 Nov 2023 06:45:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453053 รายงานจาก Counterpoint Research ได้ชี้ว่ายอดขาย Smartphone ทั่วโลกกลับมาเติบโตครั้งแรกในรอบ 27 เดือน โดยได้ปัจจัยบวกจากยอดขายในจีน ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ที่กลับมาเติบโตอีกครั้ง

รายงานจาก Counterpoint Research ได้เปิดเผยรายงานว่ายอดขาย Smartphone ทั่วโลกในเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้นกลับมามีตัวเลขการเติบโตเป็นบวกอีกครั้ง และยังเป็นตัวเลขการเติบโตครั้งแรกในรอบ 27 เดือน หลังจากในช่วงที่ผ่านมายอดการเติบโตนั้นกลับโตติดลบ

ตัวเลขยอดขาย Smartphone ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเติบโต 5% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญมากจากยอดขายในตะวันออกกลางและแอฟริกา การเริ่มต้นเทศกาลดิวาลีในประเทศอินเดีย

นอกจากนี้ยังรวมถึงการกลับมาของ Huawei ที่ได้ปล่อยโทรศัพท์มือถือรุ่น Mate 60 Pro ซึ่งสร้างความฮือฮาในประเทศจีนอย่างมาก รวมถึงการเปิดตัว iPhone 15 ซึ่งประเทศจีนถือเป็นตลาดที่สำคัญของผู้ผลิต Smartphone จากสหรัฐอเมริกาอย่าง Apple เช่นกัน

ยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 27 เดือน – ข้อมูลจาก Counterpoint Research

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สาเหตุที่ทำให้ยอดขาย Smartphone ลดลงนั้นมาจากปัจจัยเรื่อง Supply Chain จากภาคการผลิตชะงักในประเทศจีนทำให้ผู้ผลิตทั่วโลกไม่สามารถหาชิ้นส่วนหรือแม้แต่ผลิตได้อย่างจำกัด ขณะเดียวกันปริมาณสินค้าคงคลังของผู้ผลิตที่เพิ่มมากขึ้นจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ หรือแม้ผู้ใช้งานได้ยืดระยะเวลาเปลี่ยนโทรศัพท์ออกไป

การเติบโตครั้งสุดท้ายของยอดขาย Smartphone เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2021 มาจากความต้องการของผู้ใช้งานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

Counterpoint Research ยังคาดการณ์ว่าหลังจากการเติบโตในเดือนตุลาคมแล้ว คาดว่าในช่วงเดือนที่เหลือของปี 2023 นั้นยอดขาย Smartphone จะกลับมาเติบโตอีกครั้ง

]]>
1453053
มองตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ ขาลง เซกเมนต์ ‘พรีเมียม’ คือ โอกาสเดียวสร้างการเติบโต https://positioningmag.com/1438507 Fri, 21 Jul 2023 06:06:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438507 ภาพรวมตลาด สมาร์ทโฟน ทั่วโลกหดตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาสนับตั้งแต่ปี 2022 และสำหรับตลาดเมืองไทยก็ไม่ต่างกัน แต่จะมีปัจจัยบวกปัจจัยลบอะไร และทิศทางการแข่งขันของแต่ละแบรนด์จะเป็นอย่างไร ไปดูกัน

ค่ายมือถือเหลือ 2 รายเริ่มส่งผล

นับตั้งแต่ที่ True และ Dtac ควบรวมกันในช่วงเดือนมีนาคมจะเห็นว่า ราคาแพ็กเกจ ของทุกค่ายมีการ ปรับขึ้น โดย AIS มีการปรับราคาแพ็กเริ่มต้นจากปีก่อนมาเป็น 399 บาท จากเดิมเริ่มต้น 349 บาท ส่วนแพ็ก 499 – 599 บาทมีการลดนาทีโทรลง 50 นาที ส่วนแพ็กเกจ Unlimited ราคาเริ่มต้นยังเท่าเดิมที่ 1,199 บาท แต่มีการปรับรูปแบบการโทร จากโทรฟรีในเครือข่าย กลายเป็นคิดไปในนาทีโทรรวมแทน

True มีการ ตัดแพ็กเกจเริ่มต้น 299 บาทออก โดยจะเริ่มต้นที่ 399 บาท ส่วนแพ็กเกจ Unlimited จะอยู่ที่ 1,199 บาท โดยสิ่งที่ถูกปรับลดก็คือ จำนวนการโทรตั้งแต่ 50 – 100 นาที ส่วน Dtac ก็ปรับราคาเริ่มต้นจาก 349 บาท เป็น 399 บาท และแพ็ก Unlimited จากเริ่มต้น 1,099 บาท เป็น 1,199 บาท เท่ากับค่ายอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการปรับเพิ่ม / ลดนาทีโทรให้เทียบเท่ากับ True อย่างไรก็ตาม แม้แต่ละค่ายจะมีการปรับราคา แต่ทุกค่ายก็พยายาม ชดเชย ด้วยสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น โดยเฉพาะฝั่งของ คอนเทนต์

ในมุมมองของผู้บริโภค การที่ค่ายมือถือพร้อมใจกับปรับราคาอาจดูไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญกับตลาดสมาร์ทโฟน แต่ ชานนท์ จิรายุกุล ประธานกรรมการอาวุโสฝ่ายบริหารออปโป้แห่งประเทศไทย มองว่า เพราะฝั่งโอเปอเรเตอร์ที่เหลือ 2 ค่าย ทำให้ลดการ subsidize ส่วนลดค่าเครื่องก็ลดลง ค่าบริการรายเดือนกลับเพิ่มขึ้น มันก็มีผลเป็นโดมิโน ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ ดังนั้น ภาพตลาดสมาร์ทโฟนจากนี้คงยังไม่ฟื้น เพราะยังไม่เห็นปัจจัยบวก

พรีเมียม โอกาสเดียวที่ยังเติบโต

จากข้อมูลของ IDC เปิดเผยว่า สภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนไทยช่วง Q1/2023 หดตัวลง 25.7% โดยมียอดจัดส่งทั้งหมดราว 3.45 ล้านเครื่อง ที่น่าสนใจคือ ยอดจัดส่งของ สมาร์ทโฟนกลุ่มเริ่มต้น (Entry-level) ที่มีราคาไม่สูงมาก มียอดลดลงมากที่สุด โดยลดลงเหลือ 51% ของตลาด เทียบกับในไตรมาสก่อน (Q4/2022) อยู่ที่ 60% และไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว (Q1/2022) ที่ 59%

กลับกัน สมาร์ทโฟนในกลุ่มพรีเมียม (ราคามากกว่า 27,000 บาท) มียอดจัดส่งเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นมาเป็น 19% เทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 11% ดังนั้น จะเห็นว่าจากเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เพียงแค่โอเปอเรเตอร์ขึ้นราคาก็ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย

ต่างจากกลุ่มพรีเมียมที่ยังเติบโตได้ เพราะปัญหาเศรษฐกิจไม่กระทบคนมีเงิน ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มนี้สามารถ เปลี่ยนมือถือบ่อยกว่า และมีแนวโน้มจะ ซื้อในราคาที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าในกลุ่มนี้มีการ แข่งขันราคาน้อย กว่ากลุ่มล่าง ดังนั้น แบรนด์มือถือก็คิดแล้วว่าจะไปหั่นราคาแข่งกันในตลาดเริ่มต้นทำไม มาจับพรีเมียมดีกว่าเพราะผู้บริโภคยอมจ่าย

ภาพจากเว็บไซต์ PhoneArena

กล้องซูม + จอพับ ฟีเจอร์ชิงชัยกลุ่มพรีเมียม

แม้จะไม่มีตัวเลขชัดเจนในกลุ่มพรีเมียมว่าแบรนด์ไหนมีส่วนแบ่งมากที่สุด แต่เชื่อว่าหลายคนน่าจะเดาได้ว่าต้องเป็น iPhone ของ Apple ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้เล่นเบอร์ 3 ในตลาดไทยมีส่วนแบ่งตลาดราว 19.4% โดยใน Q1/2023 iPhone มียอดจัดส่ง 668,400 เครื่อง เติบโตถึง +34.9% และถือเป็น แบรนด์เดียวที่ยังเติบโต

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในสมาร์ทโฟนกลุ่มพรีเมียม ผู้บริโภคมีลอยัลตี้สูง ดังนั้น การที่แบรนด์ใหม่ ๆ จะแทรกตัวเข้ามาได้ต้องมี ฟังก์ชันหรือประสิทธิภาพ ที่ดึงดูดมากพอ ซึ่งจะเห็นว่า ซัมซุง (Samsung) ที่ถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ iPhone ก็มีฟังก์ชันเด่น ๆ ที่สามารถใช้มัดใจผู้บริโภคได้ อาทิ Galaxy S23 Ultra ที่มีจุดเด่นที่ กล้องเทพ ที่มี Telephoto ซูม 3 เท่า ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล ที่ถูกใจผู้ใช้สายคอนเสิร์ต ที่เอาไว้ซูมถ่ายศิลปินได้แม้จะอยู่ไกล หรือ Galaxy Z Flip / Fold สมาร์ทโฟนจอพับ ที่จับกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน

ที่ตามมาติด ๆ ก็คือ ออปโป้ (Oppo) เบอร์ 2 ของตลาดสมาร์ทโฟนไทย โดยแบรนด์ก็ชัดเจนว่าต้องการจะ เจาะกลุ่มพรีเมียม โดยต้องการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก เลขหลักเดียวเป็น 2 หลัก โดยหลังจากที่ปล่อยให้ซัมซุงนำร่องสมาร์ทโฟนจอพับไปแล้ว ทางออปโป้จึงค่อยส่ง Find N2 Flip มาทำตลาดตาม นอกจากนี้ ออปโป้เพิ่งเปิดตัวเรือธงรุ่นล่าสุดไปเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็คือ Find X6 Pro แต่ยังไม่เข้าทำตลาดไทย โดยทางออปโป้ให้ข้อมูลว่าจะทำเข้ามาแน่ แต่รอเวลา เพราะไม่อยากให้แข่งกับ Find N2 Flip

หรือแม้แต่แบรนด์ที่ไม่ได้ทำตลาดในไทยมานานถึง 4 ปีอย่าง ออเนอร์ (Honor) ที่เปรียบเสมือนตัวแทนความยิ่งใหญ่ของ หัวเว่ย (Hauwei) ที่เคยแข็งแรงในตลาดแฟลกชิปเมืองไทย ด้วยจุดเด่นที่หลายคนน่าจะจำได้ก็คือ กล้องไลก้า ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ ออเนอร์ก็ประกาศชัดว่าจะจับกลุ่มพรีเมียมเหมือนกับที่หัวเว่ยเคยทำ โดยส่ง Honor Magic5 Pro 5G มาทำตลาด นอกจากนี้ จะมีแบรนด์อื่น ๆ ที่จับผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น สมาร์ทโฟนเกมมิ่ง ที่เน้นราคาและดีไซน์จับลูกค้าเกมมิ่งกระเป๋าหนัก ไม่ว่าจะเป็น ASUS ROG Phone 7 Ultimate

ตลาดจะยังไม่กลับไปพีค

โอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็ม วิชั่น ผู้จัดงาน Thailand Mobile Expo มองว่า ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อตลาดสมาร์ทโฟนไทยและทั่วโลก แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ สมาร์ทโฟนในปัจจุบันใกล้จะถึง จุดสูงสุดของเทคโนโลยี แต่ละแบรนด์มีเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้อง สเปก ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ จูงใจผู้บริโภคได้ยากกว่าเดิม โดยภายในงาน Thailand Mobile Expo ในช่วงพีคที่ตลาดสมาร์ทโฟนกำลังมาแรง เคยมีเงินสะพัดกว่า 3,000 ล้านบาท และมีผู้เข้าชมงานกว่า 7 แสนคน แต่ปัจจุบันมีเงินสะพัดเพียง 1,200 ล้านบาท มีผู้ชมราว 4 แสนคน เท่านั้น

เช่นเดียวกันกับ ชานนท์ จิรายุกุล ที่มองว่า ตลาดจะไม่กลับไปพีคเหมือนในอดีตเนื่องจากยังไม่มีนวัตกรรมที่เจ๋งพอเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างนวัตกรรม จอพับ ก็เป็นเพียง ตัวเลือกหนึ่งของผู้บริโภคเท่านั้น

“ผมว่าทุกแบรนด์พยายามหาพยายามทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาดึงดูดผู้บริโภค แต่เชื่อว่ามีไม่เกิน 3 แบรนด์ที่จะมีนวัตกรรมเปลี่ยนโลกได้ และมันมีเรื่องของราคาต้นทุน และตลาดที่ยังไม่มา หรือมาเร็วไป ซึ่งมันอาจทำให้มันคอมเมอร์เชียลไม่ได้ การมาเร็วเกินไปก็อาจพับเสื่อกลับด้านได้” ชานนท์ ทิ้งท้าย

]]>
1438507
ปี 2022 ยอดขาย Smartphone ในจีนต่ำสุดรอบ 10 ปี มีเพียง Honor ยี่ห้อเดียวที่ยังขายดี https://positioningmag.com/1417493 Wed, 01 Feb 2023 05:54:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417493 IDC บริษัทวิจัยชื่อดังได้รายงานยอดส่งมอบ Smartphone ในจีนปี 2022 นั้นมียอดส่งมอบลดลงถึง 13.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และแบรนด์จีนหลายยี่ห้อประสบปัญหายอดส่งมอบลดลง มีเพียงแค่แบรนด์ Honor เท่านั้นที่ยังมียอดขายเติบโตสวนทางแบรนด์อื่น

บริษัทวิจัยชื่อดังอย่าง IDC ได้รายงานตัวเลขยอดขาย Smartphone ในประเทศจีนในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นยอดส่งมอบที่ 285.8 ล้านเครื่อง ลดลงถึง 13.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และถือว่าต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ซึ่งในช่วงเวลาปกติแล้ว ยอดขาย Smartphone ในจีนนั้นมียอดส่งมอบมากถึง 300 ล้านเครื่องต่อปี

สาเหตุสำคัญก็คือปัญหาการล็อกดาวน์เมืองต่างๆ จากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ ส่งผลทำให้กิจกรรมในชีวิตประจำวันของประชาชนไม่สะดวก ส่งผลไปยังความมั่นใจของผู้บริโภค นอกจากนี้ภาคการผลิตของจีนเองก็ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว แบรนด์อย่าง Apple นั้นการผลิตที่หยุดชะงักส่งผลทำให้ iPhone 14 Pro นั้นมียอดผลิตลดลงในปีที่ผ่านมา

โดยยอดขายของแบรนด์ดังในประเทศจีนจาก IDC 

  • Honor ยอดขายเพิ่มขึ้น 34.4%
  • Vivo ยอดขายตกลง 25.1%
  • Oppo ยอดขายตกลง 28.2%
  • Xiaomi ยอดขายตกลง 23.7%
  • แบรนด์อื่นๆ ยอดขายตกลง 11.2%
  • Apple ยอดขายลดลง 4.4%

สำหรับ Smartphone แบรนด์จีนที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดคือ Vivo มีส่วนแบ่งมากถึง 18.6% รองลงมาคือ Honor 18.1% และ Oppo 16.8% มีเพียง Apple ซึ่งเป็นแบรนด์จากสหรัฐอเมริกาแบรนด์เดียวเท่านั้นที่ครองส่วนแบ่งตลาด Smartphone ในจีนได้มากถึง 16.8%

ไม่เพียงเท่านี้ยอดขาย Smartphone ในประเทศจีนที่ลดลงยังส่งผลต่อยอดขายทั่วโลกด้วย โดย IDC ได้รายงานถึงยอดส่งมอบที่ 1,200 ล้านเครื่อง ลดลง 11.2% จากปีที่ผ่านมา และยังถือเป็นยอดขายต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013

แม้ว่าล่าสุดทางการจีนจะมีมาตรการผ่อนคลาย และเริ่มเปิดเมืองมากขึ้นแล้วก็ตามในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติมากขึ้น ก็ต้องมาดูกันว่าในปี 2023 นั้นยอดส่งมอบโทรศัพท์ในปีนี้จะเติบโตมากกว่าในปีที่ผ่านมาหรือไม่

]]>
1417493
‘Samsung’ คาด Q1 ฟันกำไรเพิ่ม 50% เพราะยอดขาย ‘สมาร์ทโฟน’ https://positioningmag.com/1381177 Sun, 10 Apr 2022 05:55:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381177 ซัมซุง (Samsung) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ได้เปิดเผยว่า ผลกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีเติบโตขึ้น 50.3% แม้ว่าซัพพลายเชนทั่วโลกจะประสบปัญหาก็ตาม

ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดของโลกคาดการณ์ว่า กำไรจากการดำเนินงานในไตรมาสแรกปี 2022 จะอยู่ที่ประมาณ 14.1 ล้านล้านวอน (11.6 พันล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้นจาก 9.4 ล้านล้านวอน ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ซัมซุงไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละหน่วยในบริษัท

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การเติบโตของกำไรน่าจะได้รับแรงหนุนจากยอดขายสมาร์ทโฟนที่ทำได้ดี ซึ่งกำไรจากธุรกิจสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 66.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ปิดที่ 4.1 ล้านล้านวอน แต่กลับกัน กำไรจากแผนกชิปหน่วยความจำนั้นคาดว่าลดลงถึง 6%

“ราคาของชิปหน่วยความจำจะลดลงจากความต้องการที่แข็งแกร่งเกินคาด” Kim Un-ho นักวิเคราะห์จาก IBK Investment & Securities กล่าว

ในขณะที่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้สร้างความหายนะให้กับเศรษฐกิจโลก แต่ก็ช่วยให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งเติบโตได้รวมไปถึงซัมซุง เนื่องจากการเปลี่ยนมาทำงานจากที่บ้านในช่วงการระบาดใหญ่ได้กระตุ้นความต้องการอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยชิปของ Samsung รวมถึงเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น โทรทัศน์และเครื่องซักผ้า

โดยปีที่แล้วราคาชิปพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับชิปที่ใช้ในอุปกรณ์ส่วนบุคคลและศูนย์ข้อมูล ซึ่งช่วยให้ซัมซุงทำสถิติยอดขายประจำปีได้ ในปี 2022 นี้ Kim คาดการณ์ว่า กลุ่มบริษัทซัมซุงจะทำกำไรจากการดำเนินงานได้ 60.5 ล้านล้านวอน เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่ผ่านมา ซัมซุงถือผู้ผลิตชิปหน่วยความจำรายใหญ่ที่สุดของโลก และบริษัทได้เพิ่มการลงทุนอย่างจริงจังในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ โดยในเดือนพฤศจิกายน บริษัทได้ประกาศสร้างโรงงานไมโครชิปแห่งใหม่ในเท็กซัส ด้วยเงินลงทุน 17,000 ล้านดอลลาร์ โรงงานคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2024 นอกจากนี้ บริษัทยังลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และการสื่อสาร 5G/6G

Source

]]>
1381177
ตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ เติบโตอีกครั้งในรอบ 4 ปี ‘ซัมซุง’ ยังคงครองตำแหน่งเบอร์ 1 https://positioningmag.com/1372536 Tue, 01 Feb 2022 08:53:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372536 ย้อนไปปี 2017 ตลาดสมาร์ทโฟนถือว่าเป็นช่วงที่ตลาดเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการจัดส่งมากที่สุดทั่วโลก หลังจากนั้นตลาดก็ไม่เติบโตอีกเลย ยิ่งมาเจอกับการระบาดของ COVID-19 ก็ยิ่งทำให้อัตราการเติบโตลดลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตึงตัวทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่สามารถซื้อโทรศัพท์ใหม่

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตลาดไม่เติบโตมานานในที่สุดตลาดก็กลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2021 แม้ว่าไตรมาสที่ 4 ของปีการจัดส่งสมาร์ทโฟนลดลง -6% ก็ตาม แต่เมื่อดูภาพรวมทั้งปีมีการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกประมาณ 1.39 พันล้านเครื่อง เติบโต +4% อย่างไรก็ตาม ในปี 2017 ที่มีการจัดส่งสูงสุดนั้นอยู่ที่ 1.56 พันล้านเครื่อง

ฮาร์มีต ซิงห์ วาเลีย นักวิเคราะห์อาวุโสของ Counterpoint Research เปิดเผยว่า ความต้องการที่ถูกอั้นไว้ตั้งแต่ปี 2020 เช่น อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา และอินเดียมีส่วนทำให้การเติบโตโดยรวมของตลาด โดยการเติบโตในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการ iPhone 12 ของ Apple ที่รองรับ 5G ยาวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสามของปี 2021

ส่วนตลาด อินเดีย เริ่มเห็นอัตราการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีราคาสูงขึ้น ความพร้อมใช้งานที่ดีขึ้น รวมถึงโปรโมชันทางด้านการเงินที่น่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับโทรศัพท์ระดับกลางถึงระดับไฮเอนด์ อย่างไรก็ตาม ยอดขายในตลาดใหญ่อย่าง จีน กลับลดลง -2% ตามข้อมูลของ Counterpoint Research

“การฟื้นตัวของตลาดอาจดีขึ้นกว่านี้ถ้าไม่ใช่เพราะปัญหาการขาดแคลนส่วนประกอบที่ส่งผลกระทบอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2021” ซิงห์ วาเลีย กล่าว

Samsung ยังคงครองตำแหน่งผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยปริมาณการจัดส่งประมาณ 271 ล้านเครื่อง เติบโต +6% เมื่อเทียบกับปี 2020 แม้ว่าโรงงานในเวียดนามจะต้องปิดตัวเพราะการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม ส่วน Apple ที่นอกจากจะมียอดขายพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในจีนเมื่อไตรมาส 4 ภาพรวมการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกก็เติบโตขึ้น +18% เป็น 237.9 ล้านเครื่อง โดยการเติบโตล้วนแต่มาจากตลาดสำคัญทั้งสิ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป และอินเดีย

“ในประเทศจีน Apple กลายเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ในไตรมาสที่ 4 ต้องขอบคุณ iPhone 13 ซึ่งส่งผลให้แซงหน้า Samsung ในฐานะสมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ของโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2021” Counterpoint Research กล่าวในรายงาน

ด้านผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากจีนอย่าง Xiaomi มีการเติบโตขึ้น +31% มียอดจัดส่งรวม 190 ล้านเครื่อง แม้ว่าปริมาณการจัดส่งจะตามหลัง Samsung และ Apple อย่างมีนัยสำคัญ แต่ Xiaomi ได้เติบโตขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับสามของโลก ส่วน OPPO และ Vivo เติบโตขึ้นเป็นเลขสองหลักในปีที่แล้ว โดยมียอดจัดส่ง 143.2 ล้านเครื่อง และ 131.3 ล้านเครื่อง ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2022 ทาง Counterpoint Research คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยังสดใส หากโลกสามารถรับมือกับการระบาดใหญ่ได้ และหากปัญหาการขาดแคลนซัพพลายเชนได้รับการแก้ไขภายในกลางปี อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนบางคนคาดว่าปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกจะคงอยู่จนถึงสิ้นปีนี้หรือลากยาวจนถึงปี 2023

counterpointresearch.com / CNBC

]]>
1372536
จับตา TCL คัมแบ็กตลาดสมาร์ทโฟนไทย ขอลุย 5G ราคาต่ำกว่า 7,000 https://positioningmag.com/1361000 Tue, 09 Nov 2021 05:11:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361000 หากพูดถึงแบรนด์ ‘TCL’ เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ต้องรู้จักแน่นอน เพราะถือเป็นแบรนด์ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าสัญชาติจีนรายใหญ่ โดยในปี 2010 ถือเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 25 ของโลกเลยทีเดียว และสินค้าขึ้นชื่อก็คือ ‘โทรทัศน์’ ซึ่งในปี 2008  TCL มีส่วนแบ่งการตลาดของตลาดโทรทัศน์ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลกเลยทีเดียว แต่หากพูดถึง ‘สมาร์ทโฟน’ หรือ ‘มือถือ’ เชื่อว่าคนไทยไม่คุ้นแน่นอน

เคยผลิตสมาร์ทโฟนมาแล้ว 3 แบรนด์

ย้อนไปช่วงปี 2017 TCL เคยบุกตลาดสมาร์ทโฟนไทยภายใต้ชื่อแบรนด์ Alcatel สมาร์ทโฟนราคาประหยัด ซึ่งในปี 2016 ทาง TCL ได้ซื้อ license แบรนด์มาจาก Nokia โดยอายุสัญญาจะหมดลงในปี 2024 หรืออีก 2 ปี อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยเองแบรนด์ Alcatel ก็เงียบหายไปนาน นอกจากนี้ TCL ยังมีแบรนด์ Palm ในมืออีกด้วย

แต่ไม่ใช่แค่ 2 แบรนด์ที่ยกมา แต่ในปี 2016 TCL ได้เป็นผู้สานต่อตำนาน BlackBerry สมาร์ทโฟนที่สมัยหนึ่งเคยได้รับความนิยมและเฟื่องฟูมากในไทย โดยในตอนแรก BlackBerry ได้จ้าง TCL ผลิตสมาร์ทโฟนให้ อาทิรุ่น DTEK50 กับ DTEK60 แต่หลังจากนั้น BlackBerry ก็ได้ขายสิทธิ์ผลิตสมาร์ทโฟนให้กับ TCL โดยทาง TCL ใช้ชื่อว่า BlackBerry Mobile ในการทำตลาด

แต่เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2020 เป็นวันที่ไลเซนส์แบรนด์ BlackBerry หมดลง ซึ่งทาง TCL ก็เลือกที่จะไม่ต่อสัญญา และเป็นบริษัท OnwardMobility และ FIH Mobile Limited ที่เข้ามารับช่วงต่อ พร้อมจะคืนชีพ BlackBerry ลงสู่ตลาด 5G

จับตารุกตลาดไทย

หลังจากที่ผลิตสมาร์ทโฟนภายใต้ชื่อแบรนด์อื่น ๆ มานาน จนมาในปี 2019 TCL ก็ทำสมาร์โฟนแบรนด์ของตัวเอง โดยเริ่มรุกตลาดแถบยุโรปก่อน และในปี 2021 นี้ก็เริ่มเข้ามารุกตลาดประเทศไทย โดยเริ่มจากรุ่น TCL 20R 5G ที่มาในราคา 6,990 บาท ซึ่งเทียบกับราคาสมาร์ทโฟน 5G ถือว่าทำได้ดีกว่าหลายแบรนด์ในตลาด

ซึ่งทาง TCL ก็ได้บริษัท VST ECS เป็นตัวแทนนำเข้ามาทำตลาด นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรกับทาง ทรูมูฟ เอช อีกด้วย ซึ่งจุดแข็งของ VST ECS คือ มีช่องทางการจัดจำหน่ายกว่า 48,000 แห่ง ทำให้ TCL สามารถวางจำหน่ายได้ครอบคลุม และการได้ทรูมูฟ เอชเป็นพันธมิตร ทำให้ TCL สามารถขายคู่แพ็กเกจในราคาเริ่มต้นที่ 990 บาท เท่านั้น ซึ่งตรงกับเป้าหมายของ TCL ที่เน้นจับไปที่กลุ่มล่าง-กลาง และต้องการขยายการเข้าถึงให้ได้มากที่สุด

ไม่หวันมาช้า มั่นใจชื่อแบรนด์

แม้ในสายตาคนจะมองว่าตลาดสมาร์ทโฟนแข่งขันกันรุนแรงและมีแบรนด์จีนครองตลาดโดยเฉพาะกลุ่มล่าง-กลาง แต่ทาง สเตฟาน สไตรท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด TCL Communication มองว่า TCL ยังสามารถแข่งขันได้ ด้วยชื่อแบรนด์ที่มีกว่า 30 ปี รวมถึงเป็นผู้ผลิตสินค้าเอง ทำให้สามารถคุมคุณภาพและราคาให้จับต้องได้

“เราเห็นโอกาสการเติบโตของตลาดไทย และเราไม่ได้รุกตลาดไทยช้า เพราะที่ผ่านมาเราเคยรุกตลาดสมาร์ทโฟนในไทย ภายใต้แบรนด์ Alcatel รวมไปถึง BlackBerry ดังนั้น เรามีประสบการณ์ อีกทั้งเรามีโรงงาน ทีม R&D ของตัวเอง ทำให้เราสามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในขั้นสูงได้ และที่สำคัญเรื่องของราคา ที่จะทำให้เราสามารถแข่งขันในตลาดได้”

แม้ที่ผ่านมา แบรนด์ TCL มีการเติบโตสูงติด Top 5 ในหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย, แคนนาดา และ อเมริกา แต่สำหรับไทย สเตฟาน ยังไม่ได้วางเป้าหมายว่าจะชิงส่วนแบ่งตลาดได้มากน้อยแค่ไหนเพราะเพิ่งเข้ามาในตลาด ดังนั้นจะเน้นการวางรากฐานให้แข็งแรงไปก่อน

สเตฟาน สไตรท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด TCL Communication

ก็ไม่รู้ว่าสมาร์ทโฟนจาก TCL จะทำได้ดีแค่ไหน เพราะ 3 แบรนด์ที่ผ่านมาก็ปลิวไปหมดแล้ว นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังสัญชาติเกาหลีอย่าง LG ที่ต้องยกธงขาวยอมแพ้ในตลาดสมาร์ทโฟนไปแล้ว ขณะที่ตลาดสมาร์ทโฟนไทยเองก็ไม่ง่าย โดยเฉพาะแบรนด์จีนด้วยกัน ดังนั้น จากนี้คงต้องรอดูกันยาว ๆ ต่อไป

]]>
1361000
‘หัวเว่ย’ ประกาศจะกลับมาทวง ‘บัลลังก์’ ในตลาดสมาร์ทโฟน แม้การคว่ำบาตรสหรัฐฯ ทำธุรกิจพัง https://positioningmag.com/1347781 Thu, 19 Aug 2021 08:50:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347781 ในปี 2019 อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาว่า ‘หัวเว่ย’ (Huawei) เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ พร้อมกับขึ้นบัญชีดำการส่งออกและห้ามไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยีที่สำคัญที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการออกแบบชิปของตัวเอง รวมถึงการซื้อชิ้นส่วนจากผู้ผลิตภายนอก

จากการถูกขึ้นบัญชีดำของสหรัฐฯ ทำให้รายได้จากฝั่งคอนซูมเมอร์ของหัวเว่ยลดลง 29% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งถือว่าลดลงมากที่สุด จากที่ในปี 2563 หัวเว่ยเคยขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดสมาร์ทโฟน แต่หลังจากนั้นก็หลุดจาก 5 อันดับแรก โดย Guo Ping ประธานของหัวเว่ย กล่าวว่า บริษัทจะไม่ยอมแพ้และวางแผนที่จะกลับมาทวง ‘บัลลังก์’ ในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน แม้ว่าบริษัทจะยังคงได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ก็ตาม

ที่ผ่านมา ปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของหัวเว่ยหลังจากถูกสหรัฐฯ แบนคือ ผู้ผลิตชิปในจีนไม่มีความสามารถในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ล้ำสมัยที่บริษัทต้องการ ดังนั้น หัวเว่ยจะร่วมกับพันธมิตรเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหัวเว่ยในอนาคต

“ทุกคนรู้ดีว่าชิปโทรศัพท์ต้องการเทคโนโลยีขั้นสูงในขนาดที่เล็กและใช้พลังงานต่ำ ซึ่งหัวเว่ยสามารถออกแบบได้ แต่ไม่มีใครช่วยเราได้ อย่างไรก็ตาม เราจะยังคงรักษากลุ่มสมาร์ทโฟน และด้วยความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการผลิตชิป บัลลังก์ของสมาร์ทโฟนจะกลับมาในที่สุด” Guo Ping ประธานของ Huawei กล่าว

ในเดือนพฤศจิกายน หัวเว่ยจำใจต้องขายแบรนด์ Honor ที่เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนจับตลาดล่างเพื่อรักษาธุรกิจให้อยู่รอด โดยหัวเว่ยได้เปลี่ยนโฟกัสไปยังธุรกิจอื่น ๆ เช่น ซอฟต์แวร์และคลาวด์คอมพิวติ้ง เนื่องจากธุรกิจสมาร์ทโฟนยังคงเผชิญกับอุปสรรค

Source

]]>
1347781
โค่น Apple ไม่พอ ‘Xiaomi’ ประกาศขอ 3 ปีแซง ‘Samsung’ ขึ้นเบอร์ 1 สมาร์ทโฟนโลก https://positioningmag.com/1346179 Wed, 11 Aug 2021 05:46:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346179 Xiaomi (เสียวหมี่) แบรนด์สมาร์ทโฟนสัญชาติจีนที่เปิดตัวโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จนปัจจุบันสามารถแซง ‘Apple’ ขึ้นเป็นผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนรายใหญ่เบอร์ 2 ของโลก แต่ Lei Jun ผู้ก่อตั้ง Xiaomi ไม่ต้องการหยุดแค่นี้ โดยต้องการขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกภายใน 3 ปีจากนี้

Lei Jun ผู้ก่อตั้ง Xiaomi กล่าวสุนทรพจน์ฉลองครบรอบ 10 ปีของการเปิดตัวสมาร์ทโฟนเครื่องแรก โดยระบุว่าเมื่อปี 2014 เขาให้คำมั่นที่จะให้ Xiaomi เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ของโลกภายใน 5-10 ปี ปัจจุบัน Xiaomi ขึ้นเป็นเบอร์ 2 ของโลก และภายใน 3 ปี Xiaomi ประกาศว่าจะขึ้น เบอร์ 1 ของโลก แซง Samsung

“ตอนที่เราบอกว่าจะเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ของโลกเมื่อปี 2014 ผู้บริหารของ Apple กล่าวว่า พูดง่าย แต่ทำยากกว่ามาก ผมก็ตอบไปว่า ถ้ามันเป็นเรื่องจริงล่ะ

Xiaomi คว้าส่วนแบ่งการตลาดจาก Huawei (หัวเว่ย) ที่เป็นคู่แข่งกันทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ โดย Huawei เคยติดอันดับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนชั้นนำของโลกชั่วคราวในปี 2020 แต่จากการแบนของสหรัฐฯ ทำให้ Huawei ไม่สามารถผลิตสมาร์ทโฟนใหม่ ๆ ออกมาได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านชิปเซ็ต

ตามข้อมูลของบริษัทวิจัย IDC ในช่วงครึ่งปีแรกการจัดส่งสมาร์ทโฟนของ Xiaomi มีจำนวนถึง 101.7 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นมากกว่า 75% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน Xiaomi มีส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกเกือบ 17% โดย Samsung มีส่วนแบ่ง 18.8% ส่วน Apple มีส่วนแบ่ง 14.1%

ที่ผ่านมา Xiaomi ครองตำแหน่งผู้นำสมาร์ทโฟนในกว่า 20 ประเทศ ซึ่งรวมถึง ประเทศไทย และในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน Xiaomi ก็ขึ้นเป็นผู้นำในตลาดยุโรปแซง Samsung และ Apple ล่าสุด Xiaomi ได้เปิดตัว Mi Mix4 ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนเรือธงของบริษัท โดยมีราคาอยู่ที่ 4,999 หยวน (25,745. บาท) เพื่อเจาะตลาดไฮเอนด์

Lei ยอมรับว่า ที่ผ่านมา Xiaomi ประสบความสำเร็จได้เพราะสมาร์ทโฟนราคาประหยัดคุ้มราคา แต่ปัจจุบัน บริษัทพยายามจะรุกตลาดไฮเอนด์มากขึ้น โดยเริ่มทำตลาดตั้งแต่ 3 ปีก่อน และไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน แต่สมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ บริษัทก็จะรุกตลาดมากขึ้น อาทิ ทีวี แท็บเล็ต ลำโพงอัจฉริยะ และ CyberDog ซึ่งเป็นหุ่นยนต์สี่ขาตัวแรกของบริษัท

Nikkei Asia รายงานก่อนหน้านี้ว่า Xiaomi ได้เตรียมการสั่งซื้อส่วนประกอบเพื่อผลิตสมาร์ทโฟนมากถึง 240 ล้านเครื่องในช่วงปี 2021 ท่ามกลางวิกฤตการณ์ขาดแคลนชิปทั่วโลก นับเป็นความทะเยอทะยานของบริษัทในการขยายส่วนแบ่งการตลาด

นอกจากนี้ Xiaomi ยังดึงเอา Su Bingtian ซึ่งเป็นชาวจีนคนแรกที่ผ่านเข้ารอบ 100 เมตรชายสุดท้ายในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์อีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการของบริษัทในการทำตลาดเพื่อสร้างการเติบโต

ปัจจุบัน Xiaomi กลายเป็นผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟน Android 5G ชั้นนำของโลกในไตรมาสที่สองของปีนี้ โดยสามารถจัดส่งได้ 24 ล้านเครื่อง มีส่วนแบ่งตลาด 26% ของตลาด 5G โลก ตามข้อมูลของบริษัทวิจัย Strategy Analytics

scmp / Nikkei Asia

]]>
1346179