Tesla – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 02 Nov 2024 03:07:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘BYD’ ทำรายได้แซง ‘Tesla’ เป็นครั้งแรกใน Q3/2567 แม้ตลาด ‘จีน’ จะอยู่ในช่วงขาลง https://positioningmag.com/1496959 Fri, 01 Nov 2024 04:46:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496959 ผลัดกันขึ้นเป็น เบอร์ 1 ในตลาด รถอีวี ในด้านจำนวนยอดขาย สำหรับค่าย บีวายดี (BYD) และ เทสล่า (Tesla) แต่ถ้าเป็นในด้านมูลค่ารายได้ BYD เพิ่งจะขึ้นแซง Tesla ได้เป็นครั้งแรก ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา แม้การแข่งขันจะดุเดือดก็ตาม

BYD ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนได้รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 โดยกวาดรายได้ถึง 28,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น +24% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่แซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tesla ที่ทำรายได้ 25,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

แม้ว่าตลาดรถอีวีที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจีนจะอยู่ในช่วง ขาลง แต่ BYD ยังคงรักษายอดขายได้อย่างแข็งแรง และสามารถทำยอดขายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนสิงหาคม โดยมียอดขายทะลุ 370,000 คัน เพิ่มขึ้น +30% โดยยอดขายประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถ ไฮบริด ในขณะที่รถยนต์ของ Tesla ยังเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% 

อย่างไรก็ตาม หากวัดในแง่ ผลกำไร Tesla ยังคงเป็นผู้นำ โดยมีกำไรสุทธิ 2,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.2% ขณะที่ BYD มีกําไรราว 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.5% และเมื่อวัดจากรายได้รวมทั้ง 3 ไตรมาส Tesla ยังคงเป็นเบอร์ 1 ด้วยรายได้รวม 75,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน BYD อยู่ที่ 71,980 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจุบัน BYD เป็นหนึ่งในผู้ผลิต EV ที่โดดเด่นที่สุดในประเทศจีน โดย BYD ต้องสู้ทั้งศึกเพื่อนร่วมชาติ และสู้กับ Tesla ของ Elon Musk ที่ถือเป็นหนึ่งในคู่แข่งที่แข็งแกร่งที่สุด เพราะ Model Y ของ Tesla ยังคงเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่ขายดีที่สุดในประเทศจีนในเดือนกันยายน ส่วน Autohome Seagull ของ BYD ตามหลังในอันดับ 2

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการแข่งขันมีแต่จะดุเดือดมากขึ้น เนื่องจากภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรปที่จะเก็บภาษีรถอีวีจากจีนเพิ่มสูงสุด 45.3% ซึ่งมีผลบังคับใช้ในสัปดาห์นี้ แม้ว่าจีนจะไม่เห็นด้วยก็ตาม

Source

]]>
1496959
มองอนาคต ‘Tesla’ ภายในปี 2029 รายได้หลักจะไม่ได้มาจากการขาย ‘รถอีวี’ แต่เป็น ‘ซอฟต์แวร์’ https://positioningmag.com/1495845 Mon, 28 Oct 2024 07:59:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495845 แม้ภาพในปัจจุบันของ เทสลา (Tesla) ที่คนภายนอกมองจะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถอีวี แต่ในมุมของนักลงทุน มองว่าอีกไม่กี่ปี รายได้หลักของบริษัทจะไม่ได้มาจากการขายรถ แต่เป็น ซอฟต์แวร์เอไอการขับขี่อัตโนมัติ

แม้ปัจจุบันรายได้ประมาณ 79% ของ Tesla มาจากการขายรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) แต่ Ark Investment Management ที่ลงทุนในหุ้นของ Tesla กลับประเมินว่า ภายในปี 2029 สัดส่วนรายได้ 86% ของ Tesla จะมาจากด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จากการขายรถอีวี ซึ่งก็คือ ซอฟต์แวร์ระบบการขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Full Self-Driving: FSD) ของบริษัท

โดย Cathie Wood หัวหน้าของ Ark Investment Management มองว่า ยอดขายรถอีวีของ Tela กำลังชะลอตัว โดยในปี 2023 มียอดจัดส่ง 1.8 ล้านคัน แต่ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2024 กลับมียอดจัดส่งเพียง 1.29 ล้านคัน ซึ่งลดลง 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดตัวรุ่น Model S ในปี 2011 แม้ว่าบริษัทจะลดราคาลงอย่างมาก เพื่อกระตุ้นตลาดแล้วก็ตาม

โดย Wood มองว่า ความต้องการในตลาดรถอีวีกําลังลดลง เนื่องจากท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ยากลําบาก ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะรัดเข็มขัด อีกทั้งยังคงเลือกใช้รถยนต์สันดาปที่มีราคาถูกกว่า และมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานน้อยกว่า 

นอกจากนี้ Tesla ยังต้องเจอกับการแข่งขันที่รุนแรงจาก ค่ายรถจีน ที่มีราคาถูกกว่า แม้ว่า Elon Musk ซีอีโอของ Tesla มีแผนจะสร้างรุ่นราคาประหยัดมาสู้ก็ตาม โดยคาดว่าจะเข้าสู่การผลิตในปี 2025 และขายในราคา 25,000 ดอลลาร์ แต่สุดท้ายแล้ว Musk ก็สั่งพับโครงการนี้ไป พร้อมกับประกาศว่า อนาคตของบริษัทอยู่ที่ ยานพาหนะอัตโนมัติ แทน 

โดยบริษัทได้เปิดตัว Cybercab เมื่อต้นเดือนนี้ ซึ่งเป็นรถโรโบแท็กซี่ที่ขับขี่ด้วยตัวเองโดยไม่มีพวงมาลัยหรือคันเร่ง ซึ่ง Cybercab จะทํางานบนซอฟต์แวร์ FSD ของ Tesla ซึ่งบริษัทได้พัฒนามาหลายปีแล้ว อย่างไรก็ตาม มันยังไม่ได้รับการอนุมัติสําหรับการใช้งานในสหรัฐอเมริกา และคนขับที่เป็นมนุษย์ต้องพร้อมที่จะรับช่วงต่อตลอดเวลา แต่จากข้อมูลที่รวบรวมจากการทดสอบเบต้า เป็นไปได้ว่า Cybercab ปลอดภัยกว่ารถยนต์ทั่วไปบนท้องถนนอยู่แล้ว

ตามรายงานความปลอดภัยของยานพาหนะรายไตรมาสล่าสุดของ Tesla พบว่า เกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ทุก ๆ 7 ล้านไมล์ เมื่อเทียบกับการเกิดอุบัติเหตุทุก ๆ 7 แสนไมล์โดยเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา หรืออาจแปลได้ว่า FSD นั้นปลอดภัยกว่ายานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยมนุษย์ถึง 10 เท่า และตามสถิติ ซอฟต์แวร์จะยิ่งเก่งขึ้น เนื่องจากโมเดล AI ที่ใช้อ้างอิงนั้นเรียนรู้จากข้อมูลใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง 

ปัจจุบัน Tesla กําลังสร้างกลุ่มชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) 50,000 ชิ้นจาก Nvidia เพื่อฝึก FSD ต่อไป โดยบริษัทกําลังจะลงทุนมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูล AI ในปีนี้ ด้วยเหตุนี้ Musk จึงคาดหวังว่าซอฟต์แวร์จะได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกํากับดูแลสําหรับการใช้งานรถอัตโนมัติในที่สุด และอาจจําหน่ายในเท็กซัสในปีหน้า และอาจเป็นแคลิฟอร์เนีย ดังนั้น Tesla หมายมั่นปั้นมือกับระบบ FSD มาก และคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้จาก 3 วิธี ได้แก่

  1. ขายซอฟต์แวร์ให้กับผู้ที่ซื้อรถของเทสลา
  2. การออกใบอนุญาตซอฟต์แวร์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นโดยมีค่าธรรมเนียม
  3. ผ่านเครือข่ายการเรียกรถที่เทสลาสร้างขึ้นเอง ซึ่งจะช่วยให้ Cybercabs สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ตลอดเวลา (เช่น Uber ยกเว้นไม่มีคนขับโดยสิ้นเชิง)

ทั้งนี้ ธุรกิจซอฟต์แวร์มักจะมีอัตรากําไรขั้นต้น 80% หรือมากกว่า ซึ่งสูงกว่าอัตรากําไรขั้นต้นปัจจุบันของ Tesla ที่ 19.8% ในพอร์ตโฟลิโอธุรกิจฮาร์ดแวร์ในปัจจุบัน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ FSD มีโอกาสจะขึ้นมาเป็นรายได้หลักของบริษัทในอนาคต

โดยแบบจําลองทางการเงินของ Ark ชี้ให้เห็นว่า Tesla จะสร้างรายได้ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2029 โดย FSD และ Cybercab คิดเป็นสัดส่วน 63% อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตรากําไรที่สูง Ark เชื่อว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะคิดเป็น 86% ของรายได้ที่คาดการณ์ไว้ 4.40 แสนล้านดอลลาร์ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (EBITDA)

Source

]]>
1495845
รถจีนพ่นพิษหนัก! ทำกำไร ‘เทสลา’ Q2 ลดฮวบ 45% แถมส่วนแบ่งตลาดใน ‘สหรัฐฯ’ ยังลดต่ำกว่า 50% เป็นครั้งแรก https://positioningmag.com/1484149 Thu, 25 Jul 2024 11:17:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1484149 ดูเหมือนผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2/2024 ของ เทสลา (Tesla) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการนํารถยนต์ไฟฟ้ามาสู่ผู้ขับขี่ชาวอเมริกัน ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ และเมื่อตลาดรถอีวีที่เติบโตเต็มที่ ส่งผลให้ความสนใจของผู้บริโภคก็ชะลอตัวลง

ผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2/2024 ของ เทสลา อยู่ที่ 25,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.23 แสนล้านบาท) ซึ่งถือว่าเติบโตเล็กน้อยที่ 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากแยกเฉพาะ รายได้จากการขายรถยนต์ จะอยู่ที่ 19,878 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.19 แสนล้านบาท) ลดลง -7% 

ในขณะที่ กำไร ของบริษัทยังลดลงมากถึง -45.32% เหลือเพียง 1,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.35 หมื่นล้านบาท) โดยบริษัทสามารถส่งมอบรถได้เพียง 443,956 คัน ลดลง -5% ขณะที่ การผลิตลดลง -14% เหลือเพียง 410,831 คันเท่านั้น บ่งชี้ให้เห็นว่ารถของบริษัทเป็นที่ต้องการน้อยลง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้และกำไรของเทสลาหนีไม่พ้น การแข่งขันที่ดุเดือดขึ้น ทั้งจากผู้เล่นจาก โดย อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ซีอีโอ ยอมรับว่า รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ที่ผลิตโดยแบรนด์อื่นมี ราคาถูก ทำให้ให้เทสลา ขายรถได้ยากขึ้น รวมไปถึงการเติบโตของตลาดที่ชะลอตัวลง เนื่องจาก ความสนใจของผู้บริโภคต่อรถอีวีลดน้อยลง

นอกจากนี้ บริษัทยัง ลดราคาสินค้า ในบางช่วง ซึ่งส่งผลต่ออัตรากำไร แม้ว่าบริษัทจะเลิกจ้างพนักงานกว่า 1.4 หมื่นคนทั่วโลก เพื่อลดต้นทุนแล้วก็ตาม โดยรวมแล้ว ในช่วงครึ่งปีแรก เทสลามียอดขายรถประมาณ 831,000 คันทั่วโลก ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายทั้งปีที่วางไว้ 1.8 ล้านคัน

แต่ที่น่าสนใจคือ ส่วนแบ่งการขายรถยนต์ไฟฟ้าของเทสลาในสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ลดลงเหลือต่ำกว่า 50% เป็นครั้งแรก โดยทาง The New York Times มองว่า เป็นผลมาจากการสนับสนุนการเมืองฝ่ายขวา หรือ โดนัล ทรัมป์ ส่งผลยอดให้จดทะเบียนใน รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนการเมืองฝั่งซ้าย ลดลง -24% 

Source

]]>
1484149
“Tesla” ถอยดีลลงทุน “อินเดีย” คาดเพราะการเงินไม่พร้อม-ยอดขายปีนี้ไม่เปรี้ยง https://positioningmag.com/1481486 Fri, 05 Jul 2024 07:46:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481486 เทกันไปแบบเงียบๆ สำหรับดีล “Tesla” ที่เคยจ่อลงทุนใน “อินเดีย” แต่ล่าสุดความคืบหน้าคือไม่คืบหน้า คาดเป็นเพราะบริษัทมีปัญหาด้านแหล่งเงินทุน และยอดขายปีนี้หดตัวติดต่อกันมาสองไตรมาส รัฐบาลแดนภารตะหันหนุนผู้ผลิตรถอีวีในประเทศแทน

“อีลอน มัสก์” เจ้าของบริษัทรถอีวี “Tesla” ยกเลิกทริปไปเยือนประเทศอินเดียเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาอย่างกะทันหัน ล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg รายงานจากแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า หลังจากนั้นมา มัสก์ไม่มีการติดต่อรัฐบาลอินเดียเพื่อดำเนินเรื่องการไปเยือนหรือลงทุนต่อแต่อย่างใด

แหล่งข่าวยังกล่าวด้วยว่า ทางรัฐบาลอินเดียเข้าใจว่าการถอยจากดีลการลงทุนเกิดจาก Tesla เองมีปัญหาด้านแหล่งเงินทุน จึงไม่มีแผนที่จะลงทุนฐานผลิตแห่งใหม่ในอินเดียเร็วๆ นี้

ข่าวการล่าถอยจากแผนลงทุนอินเดียเกิดขึ้นต่อเนื่องหลัง Tesla ประกาศการส่งมอบรถทั่วโลกที่หดตัวลงต่อเนื่องสองไตรมาส หลังต้องเผชิญการแข่งขันสูงจากรถอีวีแบรนด์จีน โดยไตรมาสที่ 2 ของปีนี้บริษัทส่งมอบรถไป 4.43 แสนคันทั่วโลก หดตัวลง 4.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

การส่งมอบรถที่หดตัวของบริษัทมีสาเหตุอีกส่วนหนึ่งเกิดจากรถกระบะอีวี “Cybertruck” รถรุ่นใหม่ในรอบหลายปีของ Tesla ที่ออกวางจำหน่ายแล้วและได้รับความสนใจล้นหลาม แต่ไม่สามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้ตามกำหนดเดิมที่จะต้องส่งมอบเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยบริษัทเองก็ไม่ได้แจ้งเหตุผลที่แน่ชัดกับลูกค้า

สัญญาณความสนใจของอีลอน มัสก์ต่อการลงทุนในอินเดียก่อนหน้านี้ เกิดจากนโยบายของอินเดียที่จะลดภาษีให้บริษัทผู้ผลิตรถอีวีต่างชาติหากเข้ามาลงทุนในประเทศเป็นมูลค่าอย่างน้อย 4.15 หมื่นล้านรูปี (ประมาณ 1.82 หมื่นล้านบาท) และดำเนินการผลิตได้ภายใน 3 ปีหลังเริ่มลงทุน

อย่างไรก็ดี แม้ Tesla จะถอยทัพไปแล้ว แต่ทางอินเดียไม่ได้สูญเสียมากนักเพราะรัฐบาลต้องการจะเน้นสนับสนุนผู้ผลิตรถอีวีภายในประเทศมากกว่าอยู่แล้ว นำโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ “Tata Motors” และ “Mahindra & Mahindra”

ตลาดรถอีวีในอินเดียถือว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นมากๆ เพราะรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรีคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.3% ของตลาดรถอินเดียเมื่อปี 2023 ตามข้อมูลของ BloombergNEF เนื่องจากผู้บริโภคส่วนมากยังลังเลที่จะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า จากค่าใช้จ่ายการซื้อรถที่สูงกว่ารถสันดาปและในอินเดียยังหาสถานีชาร์จไฟฟ้าได้ยาก

ที่มา: The Economics Times, CNBC, Robb Report

]]>
1481486
ประเมิน ‘BYD’ จะแซง ‘Tesla’ ขึ้นเบอร์ 1 ตลาดรถอีวีได้อีกครั้งในปีนี้ https://positioningmag.com/1481087 Wed, 03 Jul 2024 09:33:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481087 กำลังเป็นประเด็นร้อนในไทยเลยสำหรับแบรนด์ บีวายดี (BYD) จากจีน ที่ประกาศลดรถราคากว่า 340,000 บาท เพื่อฉลองเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ BYD ครั้งแรกในประเทศไทย สำหรับตลาดโลกเอง บีวายดีก็เดินหน้าเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการประเมินว่าปีนี้ BYD จะแซง Tesla เป็นเบอร์ 1 ได้อีกรอบ

ตามรายงานของ Counterpoint Research คาดว่า BYD จะแซงหน้า Tesla ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของตลาดรถอีวี (BEV) หลังจากที่ยอดขายในไตรมาส 2/2024 พุ่งขึ้นเกือบ +21% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา มีจำนวนอยู่ที่ 426,039 คัน ส่วนยอดขายของ Tesla ในไตรมาสที่ 2 ลดลง -4.8% เหลือ 443,956 คัน

โดยปัจจุบัน BYD ถือเป็นผู้นำในตลาด จีน โดยเฉพาะในกลุ่มรถ BEV หรือ รถไฟฟ้าล้วน โดย Counterpoint Research คาดว่า ยอดขายรถ BEV ของจีนจะสูงกว่ายอดขายในอเมริกาเหนือถึง 4 เท่า ในปี 2024 โดยคาดว่า จีนจะยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 50% ของยอดขาย BEV ทั่วโลก จนถึงปี 2027 และยอดขาย BEV ในจีนคาดว่าจะแซงหน้ายอดขายรวมของอเมริกาเหนือและยุโรปในปี 2030

ย้อนไปในปีที่ผ่านมา ยอดการผลิตทั้งหมดของ BYD ที่มีทั้งรถอีวี และรถไฮบริด รวมแล้วมีจำนวนมากกว่า 3 ล้านคัน และแซงหน้ายอดการผลิตของ Tesla ซึ่งอยู่ที่ 1.84 ล้านคัน เป็นปีที่สองติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม หากแยกเฉพาะรถอีวี (BEV) อยู่ที่ 1.6 ล้านคัน ส่วนรถยนต์ไฮบริด 1.4 ล้านคัน ส่งผลให้ Tesla ยังคงครองเบอร์ 1 ในตลาด BEV

แม้ภาพรวมทั้งปีของ BYD จะยังสู้ Tesla ไม่ได้ แต่ก็เคยแซงหน้าเป็นครั้งแรกในช่วงไตรมาส 4/2023 แต่ก็ถูก Tesla กลับมายึดตำแหน่งคืนในช่วงไตรมาส 1/2024

อย่างไรก็ตาม อาจต้องจับตาประเด็นที่ สหภาพยุโรปจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมต่อค่ายรถอีวีจีน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปได้อย่างชัดเจนและคาดการณ์ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้ BYD จะต้องเสียภาษีเพิ่มเติม 17.4% ส่วน Geely จะต้องเสียภาษีเพิ่มอีก 20% ส่วน SAIC จะต้องเสียภาษีเพิ่มอีก 38.1% ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดในสามอัตรานี้ นอกเหนือจากภาษีมาตรฐาน 10% ที่เรียกเก็บกับรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าแล้ว และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม หากการหารือกับทางการจีนไม่สามารถหาข้อยุติได้

“อัตราภาษีใหม่ของสหภาพยุโรปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในยุโรป ซึ่งกำลังดิ้นรนเพื่อแข่งขันกับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่มีราคาต่ำกว่า ภาษีเหล่านี้อาจผลักดันให้ผู้ผลิตรถยนต์จีนหันไปขยายตลาดเกิดใหม่ เช่น ตะวันออกกลางและแอฟริกา ละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ลิซ ลี รองผู้อำนวยการของ Counterpoint Research กล่าว

ทั้งนี้ รายงานประเมินว่าปีนี้ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะสูงถึง 10 ล้านคัน ซึ่งสอดคล้องกับการลดลงอย่างต่อเนื่องของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน การเติบโตนี้จะได้รับการสนับสนุนจากความพยายามที่มุ่งเน้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านต้นทุนและความคุ้มราคาสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

Source

]]>
1481087
‘เทสลา’ สั่งยุบแผนก ‘Supercharger’ พร้อมลอยแพทีม 500 คน หลังกำไรไตรมาสแรกลดเหลือครึ่งเดียว https://positioningmag.com/1471739 Wed, 01 May 2024 06:58:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471739 เพราะการแข่งขันในตลาดที่ทวีความรุนแรง ทำให้ เทสลา (Tesa) ทำทุกวิถีทางเพื่อลดต้นทุนบริษัทให้ได้มากที่สุด และหนึ่งในนั้นก็คือ การลดจำนวนพนักงาน โดยล่าสุด บริษัทได้ปิดแผนก Supercharger และ แผนกนโยบายสาธารณะ

มีการเปิดเผยว่า อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้ส่งอีเมลถึงผู้จัดการเทสลา เพื่อประกาศการลาออกของ 2 ผู้บริหารหลัก ได้แก่ รีเบคก้า ตินุค (Rebecca Tinucci) ผู้อำนวยการอาวุโสของฝ่ายอีวีชาร์จจิง และ ดาเนียล โฮ (Daniel Ho) ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการยานพาหนะ 

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ยุบแผนก Supercharger ซึ่งส่งผลกระทบต่อพนักงานประมาณ 500 คนในทีม และพนักงานอื่น ๆ ที่ทำงานตรงกับโฮจะต้องถูกให้ออกด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ บริษัทยังยุบทีมนโยบายสาธารณะอีกด้วย ซึ่งแหล่งข่าวพนักงานปัจจุบันและอดีตได้เปิดเผยกับ CNBC ว่า เทสลาเริ่มเลิกจ้างพนักงานบางส่วนตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคม และเริ่มเลิกจ้างมากขึ้นในเดือนนี้

สำหรับการเลิกจ้างงานที่กําลังดําเนินอยู่ ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการลดต้นทุนครั้งใหญ่ หลังจากที่รายได้บริษัท Q1/2024 ลดลง 9% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับปีนับตั้งแต่ปี 2012 ขณะที่ กำไรลดลงถึงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากเทสลาลดราคารถยนต์และออกมาตรการเพื่อกระตุ้นความต้องการ

โดยหลังจากที่มีข่าวว่าเทสลาปรับลดพนักงานในครั้งนี้ ส่งผลให้หุ้นเทสลาร่วงลงเกือบ 6%  และนับตั้งแต่ต้นปี มูลค่าหุ้นของเทสลาลดลงถึง 26% จนถึงปัจจุบัน

Source

]]>
1471739
ตามคาด! “Tesla” กำไร Q1/2024 หดตัว “เกินครึ่ง” หลังผ่านศึกจีนตีตลาด – ดีมานด์ “รถอีวี” ซบเซา https://positioningmag.com/1470853 Wed, 24 Apr 2024 03:57:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470853 “Tesla” รายงานกำไรไตรมาส 1 ปี 2024 หดตัว “เกินครึ่ง” จากปีก่อน เป็นไปตามคาดการณ์หลังถูก “รถอีวี” แบรนด์จีนตีตลาดด้วยราคาถูกกว่า บวกกับดีมานด์ที่เริ่มอ่อนตัวลง โดยบริษัทกำลังปรับตัวลดต้นทุนด้วยการ “เลย์ออฟ” พนักงาน และเตรียมโต้ศึกด้วยโมเดลรถยนต์รุ่นใหม่

Tesla รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2024 ทำกำไรสุทธิ 1,130 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าตกลงเกินครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2023 ที่เคยทำกำไรถึง 2,510 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลจากการแข่งขันกับรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนที่ทำราคาได้ถูกกว่า ผลกำไรที่ตกลงตามคาดนี้ทำให้ราคาหุ้น Tesla ตกลงมาแล้ว 43% ตั้งแต่เข้าปี 2024

ขณะที่รายได้ไตรมาสแรกปีนี้เองก็ตกลงเล็กน้อย โดยบริษัททำรายได้ได้ 21,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ตกลงจากไตรมาสแรกปีก่อนที่เคยทำได้ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ภาพจาก Shutterstock

ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวมากมายเกี่ยวกับการปรับตัวของ Tesla กับสงครามรถอีวีจีน ทั้งการลดต้นทุนที่บริษัทเตรียมจะเลย์ออฟพนักงาน 10% ของจำนวนพนักงานทั่วโลกที่มีอยู่ 140,000 คน และคาดว่าจะออกโมเดลรถรุ่นใหม่ภายในไตรมาส 2 ปี 2025 แต่ยังไม่แน่ชัดว่าบริษัทจะออกโมเดลรถในกลุ่มราคาไหน แม้จะมีข่าวสะพัดว่า Tesla อาจจะออกรถรุ่น ‘Model 2’ ที่เป็นรถรุ่นราคาถูกกว่าเพื่อสู้ศึกกับแบรนด์จีน ดึงลูกค้าหน้าใหม่ และดึงดูดใจในตลาดรถอีวีที่ดีมานด์กำลังตกลง

“ยอดขายในตลาดรถอีวีอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่อง หลังจากผู้ผลิตรถยนต์หลายเจ้าหันไปเน้นการผลิตและขายรถยนต์ไฮบริดมากกว่าอีวี” Tesla แถลงเพื่อตอกย้ำว่าสถานการณ์ของบริษัทไม่ได้แปลกแตกต่างจากตลาดรวม

 

เลย์ออฟตามแผน

ตามแผนที่ Tesla แจ้งไว้ว่าจะมีการปลดพนักงานออก 10% ของจำนวนพนักงานทั่วโลก บริษัทเริ่มประกาศการเลย์ออฟแล้ว 3,332 ตำแหน่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย และ 2,688 ตำแหน่งในโรงงาน ‘gigafactory’ ของบริษัทที่รัฐเท็กซัส โดยจะเริ่มปลดจริงตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้ รวมถึงจะมีการปลดพนักงาน 285 ตำแหน่งในนิวยอร์กด้วย

ท่ามกลางข่าวการปลดพนักงาน Tesla มีประเด็นเดือดอีกอย่างหนึ่งคือ “ค่าตอบแทน” ที่ให้แก่ “อีลอน มัสก์” นายใหญ่ของบริษัท เพราะบริษัทเคยมีการตั้งแพ็กเกจค่าตอบแทนให้มัสก์เป็นมูลค่าสูงถึง 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.06 ล้านล้านบาท) ซึ่งแพ็กเกจค่าตอบแทนนี้ถูกผู้พิพากษารัฐเดลาแวร์ปฏิเสธไป เพราะถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ให้กับบริษัทก่อน

ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ก่อน Tesla นำแพ็กเกจค่าตอบแทนนี้กลับมาให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาใหม่ แม้ว่าแพ็กเกจที่อิงตามราคาหุ้นนี้จะทำให้มูลค่าค่าตอบแทนจะลดลงไปเหลือประมาณ 46,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.69 ล้านล้านบาท) แล้วก็ตาม แต่มูลค่าดังกล่าวก็ยังสูงเสียจนมากกว่ามูลค่าจีดีพีของหลายประเทศในโลกด้วยซ้ำ

นอกจากจะปัดฝุ่นเรื่องค่าตอบแทนขึ้นมาในช่วงนี้แล้ว อีลอน มัสก์ ยังเสนอให้บอร์ดโหวตรับรองเพื่อย้ายที่ทำการบริษัทจากรัฐเดลาแวร์ไปรัฐเท็กซัสแทนด้วย ซึ่งไอเดียนี้เกิดขึ้นมาหลังจากผู้พิพากษาแห่งรัฐปฏิเสธไม่ให้จ่ายค่าตอบแทนให้กับมัสก์

Source

]]>
1470853
Tesla ปลดพนักงานมากกว่า 10% ขององค์กร Elon Musk ชี้ทำเพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและความคล่องตัว https://positioningmag.com/1470133 Mon, 15 Apr 2024 14:55:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470133 เทสลา (Tesla) ได้ประกาศปลดพนักงานมากกว่า 10% ขององค์กร โดยให้เหตุผลเนื่องจากลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและความคล่องตัว ขณะเดียวกันสถานการณ์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาของความยากลำบากของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกนั้นกำลังกลับมาอีกครั้ง

Electrek เว็บไซต์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวหลายแห่ง รวมถึงอีเมลภายในองค์กร ได้ชี้ว่า Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศปลดพนักงานเป็นจำนวนมากกว่า 10% ขององค์กร เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพองค์กร

เว็บไซต์ดังกล่าวได้อ้างอิงจดหมายที่ Elon Musk ซึ่งเป็น CEO ของ Tesla ได้ส่งให้กับพนักงาน โดยชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการขยายโรงงานขนาดใหญ่ไปทั่วโลก และเนื่องด้วยการเติบโตดังกล่าวทำให้มีหน้าที่ตำแหน่งงานที่ซ้ำซ้อน

ขณะเดียวกัน CEO รายดังกล่าวยังชี้ว่า การที่บริษัทต้องการจะเติบโตในก้าวต่อไปก็จะต้องมีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ทำให้หลังจากมีการพิจารณาบริษัทได้ตัดสินใจที่จะปลดพนักงานมากกว่า 10% แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบ แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ เนื่องจากทำให้บริษัทมีความคล่องตัว มีนวัตกรรม และกระหายต่อการเติบโตในรอบต่อไป

Elon Musk เองยังได้กล่าวลากับพนักงานที่ถูกปลดด้วยความขอบคุณในการทำงานหนักและมีส่วนร่วมมากมายในภารกิจของบริษัท ขณะเดียวกันเขาได้กล่าวกับพนักงานที่ยังอยู่กับบริษัทต่อว่ายังมีภารกิจมากมายรออยู่

สำหรับพนักงานที่โดนปลดนั้นคาดว่าจะมีจำนวนมากกว่า 10% ของทั้งองค์กร ซึ่งคาดว่าจะอยู่มากกว่า 14,000 ราย

ข่าวการปลดพนักงานดังกล่าวนตามหลังมาจากยอดส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทนั้นทำได้ต่ำกว่าที่คาด และในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาบริษัทต้องงัดกลยุทธ์ในการลดราคาเพื่อที่จะต่อสู้กับคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน หรือแม้แต่ผู้ผลิตหลายรายในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

สถานการณ์ของ Tesla และผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายรายทั่วโลกในเวลานี้ถือว่าไม่สู้ดีมากนัก เนื่องจากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้านั้นไม่เติบโตเท่าที่ควร และยังรวมถึงการแข่งขันอย่างดุเดือด จนทำให้ท้ายที่สุดบริษัทรายใหญ่จากสหรัฐอเมริการายนี้ต้องงัดมาตรการในการลดค่าใช้จ่ายด้วยการปลดพนักงานออกมา

]]>
1470133
‘Tesla’ กลับมายึดแชมป์เบอร์ 1 รถอีวีอีกครั้ง หลังถูก ‘BYD’ แซงช่วง Q4/2023 https://positioningmag.com/1468778 Wed, 03 Apr 2024 02:06:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468778 หลังจากที่ เทสล่า (Tesla) ยึดตำแหน่งเบอร์ 1 ในตลาด รถอีวี มายาวนานติดต่อกันถึง 9 ปี แต่ในช่วง Q4/2023 ที่ผ่านมาก็ถูกแย่งตำแหน่งโดย บีวายดี (BYD) อย่างไรก็ตาม Tesla ไม่ยอมเป็นเบอร์ 2 นาน โดย Q1/2024 นี้ก็สามารถกลับมาเป็นเบอร์ 1 ได้อีกครั้ง 

BYD ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของจีน รายงานยอดขายในไตรมาสแรกปี 2024 อยู่ที่ 300,114 คัน ลดลง 43% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2023 ที่มียอดขายสูงถึง 526,409 คัน ส่งผลให้ BYD ต้องส่งคืนตำแหน่ง เบอร์ 1 ในตลาดรถอีวีให้กับ Tesla แชมป์เก่า หลังจากที่เคยแย่งตำแหน่งมาได้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2023

อย่างไรก็ตาม แม้ Tesla จะกลับขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดอีกครั้งด้วยยอดขาย 386,810 คัน แต่ถือว่ายอดขายลดลง 20.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2023 และลดลง 8.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2023 นอกจากนี้ อัตราการผลิตยังลดลงประมาณ 1.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้หุ้นของบริษัทลดลง -29% ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นการลดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2022 และลดลงเป็นรายไตรมาสสูงสุดเป็นอันดับสามนับตั้งแต่การเสนอขายหุ้น IPO ของบริษัทในปี 2010 หุ้นเทสลาปิดลดลงประมาณ 5% ในวันอังคารที่ 166.63 ดอลลาร์ต่อหุ้น

การที่ยอดขายของ BYD และ Tesla ที่ลดลงเป็นผลมาจากความต้องการโดยรวมที่ลดลงและการชะลอตัวของตลาดจีน อย่างไรก็ตาม การที่ Tesla กลับมาครองตำแหน่งเบอร์ 1 ได้อีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของแบรนด์ระดับโลกของบริษัทจะไม่ถูกล้มได้ง่าย ๆ โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทั้งสองบริษัทคาดว่าการเติบโตของยอดขายรถอีวีในจีนในปีนี้จะชะลอตัวลง

สำหรับยอดขายรวมรถยนต์ทุกประเภทของ BYD ในช่วงไตรมาสแรกอยู่ที่ 626,263 คัน เติบโต 13.4% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 แต่ถือว่า ลดลง 33.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2024 ที่ทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 944,779 คัน 

แม้ว่ายอดขายจะลดลงเมื่อเทียบกับระดับสูงสุด แต่ BYD ได้ตั้งเป้ายอดขายทั้งปีที่ 3.6 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 20% จากยอดขายปีที่แล้ว

Source

]]>
1468778
ถึงเวลาสู้ศัตรูคนเดียวกัน! ‘ฮอนด้า’ ผนึก ‘นิสสัน’ พัฒนารถอีวีเพื่อสู้กับ ‘ค่ายจีน’ https://positioningmag.com/1466580 Mon, 18 Mar 2024 03:58:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466580 หากเป็นรถยนต์สันดาป ผู้ที่ครองตลาดก็จะเป็น ค่ายรถญี่ปุ่น แต่ถ้าเป็นตลาดรถอีวี ค่ายจีน ได้กลายเป็นผู้นำของตลาดไปเรียบร้อยแล้ว แม้แต่แบรนด์สุดแข็งอย่าง Tesla ยังต้องพ่ายแพ้ให้กับค่ายจีน ดังนั้น แบรนด์ญี่ปุ่นจึงต้องเลิกสู้กันเอง หันมาจับมือกันเพื่อสู้ค่ายจีน

ในอดีตค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นอาจจะต้องแข่งกับค่ายรถจากฝั่งยุโรปและแข่งขันกันเอง แต่ตอนนี้ทุกค่ายคงตระหนักได้ว่า คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในตลาดก็คือ ค่ายรถอีวีจีน ทำให้ นิสสัน (Nissan) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจแบบไม่ผูกมัด (Memorandum of Understanding – MoU) กับ ฮอนด้า (Honda) ค่ายรถยนต์คู่แข่ง เพื่อร่วมมือกันในการผลิตส่วนประกอบสำคัญสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ในแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ยานยนต์

โดยความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองบริษัทประหยัดต้นทุนในการผลิต เพราะทำให้มี Economy of scale ที่มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันกับค่ายรถอีวีจากจีน โดยเฉพาะ บีวายดี (BYD) จากจีนที่เพิ่งบุกตลาดประเทศญี่ปุ่น รวมถึง เทสลา (Tesla) ด้วย

“ผู้เล่นหน้าใหม่มีความก้าวร้าวมากและกำลังบุกเข้ามาด้วยความเร็วที่น่าทึ่ง เราไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ ตราบใดที่เรายึดมั่นในแนวคิดและแนวทางแบบดั้งเดิม” มาโกโตะ อุชิดะ ซีอีโอของนิสสัน กล่าว

อย่างไรก็ตาม นิสสันและฮอนด้า ยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกัน แต่ก็เปิดรับความเป็นไปได้ในอนาคต รวมถึงยัง เปิดกว้างในการร่วมมือกับพันธมิตร ที่มีอยู่หากมีโอกาสเกิดขึ้น

“เราถูกจำกัดด้วยเวลา ดังนั้น จำเป็นต้องทำให้เร็ว เพื่อที่ภายในปี 2030 เราจะอยู่ในตำแหน่งที่ดี เราจึงต้องตัดสินใจตั้งแต่ตอนนี้”

ทั้งนี้ ฮอนด้าตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงเป็น 100% ของยอดขายทั้งหมดภายในปี 2040 ส่วนนิสสันถือเป็นผู้บุกเบิกด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ด้วยรุ่น Leaf

ที่ผ่านมา ทั้งฮอนด้าและนิสสัน ได้พิจารณาเตรียมลดกำลังการผลิตในประเทศจีน โดยสาเหตุสำคัญคือผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นต้องแข่งขันกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของจีน โดยนิสสันเตรียมลดกำลังการผลิตในจีนสูงสุดถึง 30% เหลือ 1.6 ล้านคัน/ปี ส่วนฮอนด้านั้นจะลดกำลังการผลิตราว 20% เหลือ 1.2 ล้านคันต่อปี

Source

]]>
1466580