Workation – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 05 May 2022 08:16:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “หลับดี” รีแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 8 ปี เพิ่ม Co-working Space รับเทรนด์ Workation https://positioningmag.com/1379485 Wed, 30 Mar 2022 16:09:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379485 หลังจากประกาศปรับโฉมโรงแรมนารายณ์ไปเมื่อไม่นานมานี้ ล่าสุดเครือนารายณ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป ได้ประกาศรีแบรนด์โรงแรมเครือ “หลับดี” ครั้งใหญ่ในรอบ 8 ปี เพิ่มพื้นที่ Co-working Space รวมถึงคาเฟ่ร้านกาแฟ รับเทรนด์ Workation ในภาวะที่การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น

หลับดี (Lub d) เป็นโรงแรมในกลุ่มไลฟ์สไตล์ หรือแนวๆ โฮสเทล ในเครือนารายณ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป (Narai Hospitality Group) เจ้าของโรงแรมนารายณ์นั่นเอง ก่อนหน้านี้ได้ทำการปิดปรังปรุง ล่าสุดได้ทำการเปิดทำการอีกครั้ง พร้อมการปรับโฉมครั้งใหญ่

การปรับโฉมครั้งนี้ได้มีการเพิ่มคาเฟ่ และบาร์ไลฟ์สไตล์แห่งใหม่ เพื่อกระตุ้นยอดขายหลังสถานการณ์ COVID-19 เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ทำให้สถานการณ์ของตลาดโฮสเทลไม่ได้สวยงามเท่าไหร่นัก

นิธิดา นิธิวาสิน ผู้อำนวยการ Lub d กล่าวว่า

“หลับดีไม่ได้เป็นเพียงแค่โรงแรม แต่เป็นไลฟ์สไตล์การพักผ่อน และการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางมาพักผ่อนได้ จึงใช้โอกาสนี้ในการรีแบรนด์ครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยได้ดีไซน์สตูดิโอ (DesignStudio) บริษัทแบรนด์ และครีเอทีฟดิจิตอลเอเจนซี่ชื่อดัง ที่มีผลงานการทำแบรนด์ให้กับแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Alipay และ Airbnb มาออกแบบแบรนด์ ตอบโจทย์เป้าหมายที่มุ่งสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ”

lub d

การรีแบรนด์ครั้งนี้ใช้งบลงทุน 50 ล้านบาท ในการรีโนเวตห้องพัก 30 ห้อง ผสมผสานความเป็นท้องถิ่นและความทันสมัยเข้าด้วยกัน ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และคงเอกลักษณ์ของกลุ่มลูกค้าที่ชอบโฮสเทล พร้อมเพิ่มพื้นที่ส่วนกลาง และ Co-working Space ที่มีอุปกรณ์ครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ Workation สามารถรองรับการประชุมหรือการจัดเวิร์กช็อปเป็นกลุ่มได้

lub d

ปัจจุบันหลับดีมีสาขาอยู่แล้ว 5 แห่ง ได้แก่ หลับดี สยามหลับดี เกาะสมุย หาดเฉวงหลับดี ป่าตอง ภูเก็ตหลับดี มากาตี ฟิลิปปินส์ และ หลับดี เสียมราฐ กัมพูชา ซึ่งจะมีแผนเปิดตัวสาขาใหม่ 2 สาขาในปี 2565 ได้แก่ หลับดี เชียงใหม่ และ หลับดี จตุจักร รวมไปถึงอีก 2 สาขา ในปี 2566 ได้แก่ หลับดี พะงัน และ หลับดี กระบี่

คาดว่าจะทำรายได้รวมมากกว่า 600 ล้านบาทภายใน 5 ปี จากนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติ

lub d

lub d

lub d

lub d

]]>
1379485
ปิ๊งไอเดีย Amusement Workation เมื่อพนักงานญี่ปุ่นใช้ “สวนสนุก” เป็นที่ทำงานในยุค COVID-19 https://positioningmag.com/1301870 Fri, 16 Oct 2020 09:15:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301870 การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของคนทั่วโลก ตอนนี้เริ่มขยับจาก Work from home ทำงานจากที่บ้าน มาเป็น Work from anywhere ทำงานจากทุกที่กันมากขึ้น เป็นโอกาสในวิกฤตของผู้ประกอบการที่จะนำเสนอบริการต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการใหม่นี้

ล่าสุด โยมิอุริแลนด์ (Yomiuriland) สวนสนุกแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว ปิ๊งไอเดียเสนอเเพ็กเกจ “Amusement Workation” นั่งทำงานในสวนสนุก หลังเริ่มมีกระเเสพนักงานในญี่ปุ่น หันมาใช้สวนสนุกเป็นออฟฟิศเเนวใหม่มากขึ้น

โดยทางโยมิอุริแลนด์ มีจะการเปิดพื้นที่ให้พนักงานออฟฟิศหรือฟรีเเลนซ์ต่างๆ มาเปลี่ยนบรรยากาศทำงานนอกสถานที่ สามารถนั่งทำงานติดกับสระน้ำ คุยงานในบ้านผีสิง ทำงานที่สนามกอล์ฟหรือนั่งชิงช้าสวรรค์ ก็มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต Wi-Fi แบบพกพาคอยให้บริการอย่างทั่วถึง

จากการสำรวจของ Reuters เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า เเม้ปกติเเล้วโครงสร้างของบริษัทญี่ปุ่นมักจะให้พนักงานเดินทางมาทำงานในออฟฟิศทั่วไป เเต่หลังจากเกิดโรคระบาด มีเพียง 1 ใน 3 ของบริษัทในญี่ปุ่นเท่านั้นที่ยังคงให้พนักงานไปทำงานที่สำนักงาน ส่วนอีก 65% เสนอให้ทำงานจากบ้านได้ 

Tatsuki Yamamoto ประธานบริษัทไอที FLEQ วัย 47 ปี กล่าวระหว่างนั่งทำงานบนเก้าอี้ข้างสระน้ำในสวนสนุกว่า เขาชอบทำงานนอกสถานที่มาก เเละมองว่าแผนการที่ดีที่ทำให้รู้สึกสนุกในการทำงานมากขึ้น ส่วนพนักงานในบริษัทของเขาก็ชอบทำงานนอกสถานที่เช่นกัน

Photo : Reuters / Kim Kyung-Hoon

Yamamoto เล่าอีกว่า เขาได้ลองทำงานบนชิงช้าสวรรค์ที่เคลื่อนไปช้าๆ เวลามีประชุมทางวิดีโอ เพื่อให้เพื่อนร่วมงานได้ชมบรรยากาศด้านบนไปกับเขาระหว่างประชุมด้วย เเต่บางครั้งก็รู้สึกว่ามันก็ยากอยู่เหมือนกันที่จะตั้งใจโฟกัสกับงานเมื่อได้เห็นวิวทิวทัศน์สวยๆ ด้านบนนั้น “ผมไม่รู้ว่าจะเพลิดเพลินไปกับวิวสวยๆ หรือสนุกกับทำงานดี”

สำหรับเเพ็กเกจ Amusement Workation ของสวนสนุกโยมิอุริแลนด์ สนนราคาอยู่ที่ 1,900 เยน หรือราว 560 บาท ต่อวันต่อคนในวันธรรมดา และ 2,000 เยน หรือราว 600 บาท ในวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สามารถเลือกพิกัดทำงานได้ทั้งริมสระ นั่งชิงช้าสวรรค์ ในบ้านผีสิง และสนามไดรฟ์กอล์ฟก็เปิดให้ซ้อมตีได้อีกด้วย

โดยทางสวนสนุกบอกว่า ตอนนี้มีลูกค้าชาวญี่ปุ่นนับสิบคน ตั้งใจมาเพื่อเข้าไปทำงานบนรถไฟเหาะตีลังกา หรือไปเปลี่ยนสร้างความตื่นเต้นในบ้านผีสิง

จากสถานการณ์ COVID-19 ระบาดทั่วโลก ทำให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องใช้มาตรการจำกัดการเดินทาง ซึ่งทำให้สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบด้วย โดยตอนนี้บรรดา “สวนสนุก” หลายแห่งเลือกที่จะหาลู่ทางใหม่เพื่อดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาใช้บริการในสวนสนุกเเทนการมาท่องเที่ยวปกติที่ลดลง

(Photo : Shutterstock)

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีโจทย์ใหญ่ไม่แพ้ไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว แต่เมื่อคนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมรักงานสูง ทำให้รัฐพยายามกระตุ้นเทรนด์ “Workation” ให้พนักงานทำงานไปด้วยระหว่างท่องเที่ยว เพื่อยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว พนักงานยังได้ทำงานอยู่ ขณะที่โรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวมีรายได้พยุงตัว

วิถีการ “Workation” ก็คือการนำงานไปทำระหว่างท่องเที่ยว อาจจะแบ่งเวลาทำงานสัก 4 ชั่วโมงต่อวัน เวลาที่เหลือออกไปท่องเที่ยวใช้จ่ายในพื้นที่ ทำให้พนักงานได้พักผ่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็รู้สึกผิดน้อยลงที่ออกมาอยู่นอกออฟฟิศ เพราะยังรับผิดชอบงานของตัวเองอยู่

กลุ่มเป้าหมายหลักกลุ่มหนึ่งที่รัฐมุ่งเน้นคือ “รีสอร์ตบ่อน้ำพุร้อน” หรือ “ออนเซ็น” นั่นเอง โดยรัฐมีแพ็กเกจ ช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มออนเซ็นให้นำไปติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ จากปกติโรงแรมประเภทนี้มักจะรักษาความเก่าแก่โบราณไว้ ทำให้ไม่มีเทคโนโลยีรองรับมากนัก แนวความคิดการเปลี่ยนออนเซ็นให้ทันสมัยขึ้นเพื่อให้เมืองออนเซ็นเป็นออฟฟิศย่อยแก่พนักงานตลอดปีนี้ ช่วยรักษาเศรษฐกิจเมืองท่องเที่ยวไม่ให้ย่ำแย่ลง

อ่านต่อ : “Workation” เที่ยวไปทำงานไป กลยุทธ์ใหม่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นหวังช่วยกระตุ้นภาคท่องเที่ยว

 

ที่มา : Reuters

 

 

]]>
1301870
“Workation” เที่ยวไปทำงานไป กลยุทธ์ใหม่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นหวังช่วยกระตุ้นภาคท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1295070 Wed, 02 Sep 2020 05:02:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295070 รัฐบาลญี่ปุ่นมีโจทย์ใหญ่ไม่แพ้ไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว แต่เมื่อคนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมรักงานสูง ทำให้รัฐพยายามกระตุ้นเทรนด์ “Workation” ให้พนักงานทำงานไปด้วยระหว่างท่องเที่ยว เพื่อยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว พนักงานยังได้ทำงานอยู่ ขณะที่โรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวมีรายได้พยุงตัว

ก่อนหน้านี้รัฐบาลญี่ปุ่นมีแพ็กเกจกระตุ้นการท่องเที่ยวในชื่อ “Go To Travel” ให้เงินอุดหนุนประชาชนสำหรับออกทริปท่องเที่ยวสูงสุด 20,000 เยนต่อคนต่อคืน โดยรัฐประกาศว่าผ่าน 3 สัปดาห์แรกที่ออกแพ็กเกจ มีประชาชน 4.2 ล้านคนแล้วที่ใช้แพ็กเกจนี้ ทั้งนี้ ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมเป็นช่วงพีคของคนญี่ปุ่นในการไปเที่ยวอยู่แล้วเพราะเป็นเทศกาลวันหยุดฤดูร้อน

แพ็กเกจ Go To Travel คาดว่าจะยิงยาวให้ใช้ไปถึงฤดูใบไม้ผลิปี 2564 เลยทีเดียว แต่ใช่ว่าทุกคนจะลางานไปเที่ยวได้บ่อยๆ ทั้งยังมีเรื่องวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นที่มักจะลางานน้อย ทำให้รัฐพยายามขอความร่วมมือบริษัทเอกชนให้พนักงานได้ “Workation” แทน

วิถีการ “Workation” ก็คือการนำงานไปทำระหว่างท่องเที่ยว อาจจะแบ่งเวลาทำงานสัก 4 ชั่วโมงต่อวัน เวลาที่เหลือออกไปท่องเที่ยวใช้จ่ายในพื้นที่ ทำให้พนักงานได้พักผ่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็รู้สึกผิดน้อยลงที่ออกมาอยู่นอกออฟฟิศ เพราะยังรับผิดชอบงานของตัวเองอยู่

บ่อน้ำพุร้อนในฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น รีสอร์ตสไตล์ออนเซ็นแบบนี้กำลังเป็นเป้าหมายช่วยอุดหนุนด้านเทคโนโลยีของรัฐ เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบ Workation (Photo : Pixabay)

กลุ่มเป้าหมายหลักกลุ่มหนึ่งที่รัฐมุ่งเน้นคือ “รีสอร์ตบ่อน้ำพุร้อน” หรือ “ออนเซ็น” นั่นเอง โดยรัฐมีแพ็กเกจช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มออนเซ็นให้นำไปติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ จากปกติโรงแรมประเภทนี้มักจะรักษาความเก่าแก่โบราณไว้ ทำให้ไม่มีเทคโนโลยีรองรับมากนัก แนวความคิดการเปลี่ยนออนเซ็นให้ทันสมัยขึ้นเพื่อให้เมืองออนเซ็นเป็นออฟฟิศย่อยแก่พนักงานตลอดปีนี้ ช่วยรักษาเศรษฐกิจเมืองท่องเที่ยวไม่ให้ย่ำแย่ลง

 

เอกชนต้องร่วมมืออนุญาตให้พนักงานไปเที่ยว

องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีแผน Workation ให้พนักงาน เริ่มมีการติดต่อกับบริษัทเอเย่นต์ท่องเที่ยวรายใหญ่ เช่น JTB Corp ให้เข้ามาจัดโครงการนี้ให้กับพนักงาน โดยทาง JTB Corp ได้จัดแผนกเฉพาะสำหรับดูแลโครงการ Workation มาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม

“เราจัดตั้งแผนกบริการโซลูชันทรัพยากรบุคคลขึ้นมา เพื่อทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ ในการจัดแผน Workation ให้พนักงานของพวกเขา ส่วนใหญ่แล้วจะเลือกโรงแรมสไตล์รีสอร์ตทั่วประเทศเป็นแหล่งทำงาน” คาโอริ โมริ โฆษกของบริษัท JTB Corp กล่าว

“โอกินาว่ากำลังเป็นที่นิยม แต่โรงแรมในเมืองอื่นๆ ทั่วประเทศก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน” โมริกล่าว “นั่นหมายรวมถึงเมืองที่ปกติไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยววันหยุดที่นิยมนัก เช่น วาคายาม่า หรือ คางาวะ”

โอกินาว่า แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น (Photo : Pixabay)

แผนที่บริษัทมักจะให้กับพนักงานคือ ขยายวันหยุดสุดสัปดาห์ออกไปให้อีก 5-6 วัน ทำให้พนักงานสามารถไปเที่ยวยาวทั้งสัปดาห์ได้ แต่ต้องนำงานไปทำด้วยระหว่างทาง

นอกจากนี้ JTB ยังร่วมมือกับบริษัท NEC Corporation บริษัทด้านเทคโนโลยี เพื่อจัดแพ็กเกจระบบทำงานทางไกลในห้องโรงแรม เปลี่ยนโรงแรมให้กลายเป็นออฟฟิศย่อยของพนักงาน โดยมีโรงแรมเข้าร่วมติดตั้งระบบนี้แล้ว 30 แห่งในกรุงโตเกียว และคาดว่าจะขยายไปยังเมืองโอซาก้าและนาโงย่าภายในต้นปีหน้า เป้าหมายเพื่อให้ธุรกิจโรงแรมลองหารายได้ช่องทางอื่นอย่างการทำงานทางไกล แทนที่นักท่องเที่ยวพักผ่อนที่ยังซบเซาอยู่

 

คนญี่ปุ่นรักงานที่สุดในโลก

“ไอเดียการทำงานทางไกลนั้นมีผู้สนใจจำนวนมาก แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินได้ว่าจะกลายเป็นเทรนด์แพร่หลายแค่ไหนในญี่ปุ่น” โมริกล่าว “ฉันคิดว่าต้องใช้เวลาเพื่อเปลี่ยนวิธีคิดของทั้งพนักงานและบริษัท แนวโน้มน่าจะเป็นที่นิยมในหมู่พนักงาน แต่สำหรับบริษัทจะต้องเปลี่ยนกฎเกณฑ์ภายใน และอาจจะยากสักหน่อยสำหรับบางบริษัท เพราะบริษัทที่บริหารงานแบบดั้งเดิมยังคงมีกฎลงเวลาเข้าออกงานอยู่ ดังนั้น เรื่องนี้จะเป็นการปฏิวัติสำหรับพวกเขาเลยทีเดียว”

(Photo : Shutterstock)

ทั้งนี้ การจัดแผน Workation อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานญี่ปุ่นได้ใช้วันหยุดมากขึ้น จากเดิมที่พวกเขาเป็นพนักงานดีเด่นอันดับ 1 ของโลกเพราะใช้วันลาน้อยที่สุด

จากการเก็บข้อมูลของ Expedia ท่ามกลางประเทศที่ทำการสำรวจ 30 ประเทศเมื่อปี 2560 พบว่า พนักงานชาวญี่ปุ่นจะใช้วันลาพักร้อนเฉลี่ย 50% ของที่ตนเองได้รับ ถือเป็นสัดส่วนต่ำที่สุดจากทุกประเทศ เมื่อเทียบกับชาวฮ่องกงและเยอรมนีซึ่งใช้วันลาพักร้อน 100% ชาวอังกฤษใช้วันลาพักร้อน 96% ตามด้วยชาวสิงคโปร์ใช้วันลาพักร้อน 93% ส่วนชาวไทยจะใช้วันลาพักร้อน 80% ของที่ได้รับ

ในแง่จิตใจ คนญี่ปุ่นยังคิดกังวลเรื่องงานหนักที่สุดด้วย โดยพนักงานญี่ปุ่น 60% กล่าวว่าตนเอง “รู้สึกผิด” เมื่อใช้วันลาพักร้อน และ 20% ในจำนวนนี้กล่าวว่าตนเองมักจะเข้าไปเช็กอีเมลงานของตัวเองระหว่างพักผ่อน เทียบกับคนประเทศอื่นอย่างชาวฮ่องกง มีเพียง 31% ที่รู้สึกผิดในการลางาน และสำหรับชาวอิตาลีมีเพียง 19% เท่านั้น

ความรู้สึกผิดของพนักงานญี่ปุ่นเกิดจากพวกเขารู้ว่า พนักงานคนอื่นในบริษัทจะต้องทำงานแทนให้ในช่วงนั้น และกังวลว่าตนเองจะดูไม่ทุ่มเทให้กับบริษัท ดังนั้น การจัดโปรแกรม Workation อาจจะเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจท่องเที่ยวของญี่ปุ่นก็ได้

Source

]]>
1295070