Workpoint – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 20 Dec 2019 05:33:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แม่เหล็กใหม่! Facebook Watch ดึง “เวิร์คพอยท์-ช่อง 3-ONE 31-วู้ดดี้” สร้างโซเชียลวิดีโอไทย https://positioningmag.com/1247017 Thu, 19 Sep 2019 23:07:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247017 คนไทยเสพคอนเทนต์วิดีโอสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งก็สอดคล้องกับสถิติของ Facebook Watch ที่พบว่าบริการวิดีโอบนเฟซบุ๊กในประเทศไทยโดดเด่นระดับแนวหน้าในภูมิภาค ภารกิจหลังจากนี้ คือการสร้างวิดีโอที่ดึงดูดผู้ชมและการเปิดทางให้ผู้สร้างวิดีโอทำรายได้ 

พาเรช ราชวัต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์วิดีโอ ซึ่งดูแลการพัฒนาบริการ Facebook Watch ระดับโลก  กล่าวว่าภารกิจหลักที่ Facebook Watch จะทำในไทยช่วงปีนี้ถึงปีหน้า คือการเติมเต็ม อีโคซิสเต็ม โดยจะเน้นสร้างประสบการณ์รับชมวิดีโอบน Facebook Watch ขณะเดียวกันก็จะเน้นให้ ผู้สร้าง มีช่องทางสร้างรายได้เป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งให้ผู้สร้างต้องการสร้างวิดีโอเนื้อหาดีเพื่อตอบโจทย์ผู้ชมต่อเนื่อง

คนไทยนิยมดูวิดีโอบน Facebook Watch มาก ถือเป็นประเทศที่โดนเด่นระดับแนวหน้าในภูมิภาค ในช่วง 1 ปีที่เปิดให้บริการ Facebook Watch มีผู้ชม 720 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้ 140 ล้านคนชมนานกว่า 1 นาทีพาเรชระบุ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลการชมวิดีโอเฉพาะประเทศไทย

ในจำนวน 140 ล้านคนนี้ สถิติการชม Facebook Watch คิดเป็นตัวเลขเฉลี่ยมากกว่า 26 นาทีต่อวันต่อคนสถิตินี้ถือว่าน่าสนใจเพราะแสดงให้เห็นว่าผู้คนตั้งใจรับชมจริงจัง

สิ่งที่ทำให้ Facebook Watch แตกต่างจากบริการวิดีโออื่นคือการชมวิดีโอบน Facebook Watch ไม่ใช่การชมแบบชมแล้วจบไป (passive) แต่เป็นการชมที่ทำให้เกิดการแชร์ประสบการณ์ร่วม การเชื่อมต่อผู้ใช้เข้าด้วยกัน ทั้งหมดนี้ Facebook Watch ทำได้ด้วยการเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง การเสริมประสบการณ์ด้วยการเปิดฟีเจอร์ให้ผู้ใช้ชมวิดีโอร่วมกัน (Co-watching) เมื่อชมเป็นกลุ่มก็นำไปสู่การโต้ตอบหรือ Interactivity ซึ่งปฏิสัมพันธ์ ความเห็น การกดไลค์ หรือการแชร์จะนำไปสู่การสร้างชุมชนหรือ community ทำให้เกิดกลุ่มคนที่ชื่นชอบในเนื้อหาประเภทเดียวกัน

เมื่อมีการดูวิดีโอร่วมกัน เราพบว่าผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับเนื้อหาได้มากขึ้น 8 เท่าเมื่อเทียบกับการดูคนเดียว เป็นอีกจุดต่างจากแพลตฟอร์มอื่น

ดันอีโคซิสเต็มเกิดในไทย

แมทธิว เฮนนิก หัวหน้าฝ่ายการวางแผนกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ ระบุว่าวันนี้ Facebook Watch พยายามสร้าง 2 อีโคซิสเต็มให้เกิดขึ้นคือการพัฒนาระบบโฆษณา และการลงทุนด้านเนื้อหาของ Facebook Watch เอง โดยส่วนโฆษณา Facebook Watch เริ่มเปิดให้ผู้สร้างวิดีโอใส่โฆษณาคั่นในวิดีโอ (Ad break) ใน 40 ประเทศรวมไทย สถิติล่าสุดคือ Ad break ถูกนำมาปรับใช้ในเพจมากขึ้นกว่า 3 เท่าตัวจากปีที่แล้ว

ตัวอย่าง เพจ Doi (ดอยแม่สลอง สื่อสังคมออนไลน์) ถือเป็นครีเอเตอร์คนไทยที่ใช้ Ad break แล้วประสบความสำเร็จ จากช่วงแรกที่มีทีมงาน 2 – 3 คน ตอนนี้ขยายเป็น 14 – 15 คน ในระบบมีบรรยายซับไตเติลหลายภาษา ทำให้มีการเปิดชมทั่วอาเซียน

สำหรับการลงทุนเนื้อหา Facebook Watch แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือการลงทุนระดับโลก การสร้างเนื้อหาที่ผลิตเองเพื่อเผยแพร่บน Facebook Watch และการร่วมมือกับผู้ผลิตกลุ่มครีเอเตอร์ดิจิทัล

จับมือ 5 แม่เหล็กคอนเทนท์ไทย

ความคืบหน้าล่าสุดของ Facebook Watch ในไทยคือการประกาศจับมือกับ 5 แม่เหล็กในวงการคอนเทนต์ไทย ได้แก่ 1. เวิร์คพอยท์ นำเนื้อหาพรีเมียมจากรายการฮิตอย่าง The Rapper, The Mask Singer, I Can See Your Voice ไปสู่ผู้ใช้ทั่วโลก 2. บีอีซี หรือช่อง 3 ที่จะนำคลิปวิดีโอละครฮิต เบื้องหลังการถ่ายทำ และเนื้อหาฉบับเต็มก่อนการตัดต่อมาฉายบน Facebook Watch 3. เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนต์ ที่จะเน้นรายการตลกและรายการเกมโชว์ 4. วู้ดดี้ ที่ยังไม่เผยรูปแบบรายการ และ 5. ช่อง ONE 31 ช่องละครฮิตจากแกรมมี่ที่เพิ่งเซ็นสัญญาเป็นรายล่าสุด

เพราะคนไทยชอบความบันเทิง หลายคนอยากรู้ตอนต่อไป เมื่อมีความอยากรู้อยากชมจึงสร้างการสนทนาบนโซเชียลได้มากขึ้น

สำหรับรายการวู้ดดี้เวิร์ล จะเป็นรายการนวัตกรรมประเภทใหม่ที่อาจจะชวนผู้สร้างรายอื่นให้มาร่วมกันจนเกิดเป็นคอนเทนต์แบบใหม่ ทำให้เกิดการรับชมร่วมกัน กลายเป็นคอนเทนต์ที่เติบโตได้ด้วยตัวเอง และต่อไปจะมีละครจาก One 31 ซึ่งมีเพจที่สมาชิกสูงถึง 3 แสนคน และเริ่มเปิดให้สมาชิกเลือกตอนจบของละครตามกระแสในโซเชียลแล้ว

เปิดครีเอเตอร์หารายได้โฆษณา

นอกจากผู้สร้างเนื้อหาที่เป็นบริษัทรายใหญ่ นโยบายการช่วยเหลือ ครีเอเตอร์รายเล็ก จะทำผ่านการให้บริการเครื่องมือ ซึ่งครีเอเตอร์สามารถรับโฆษณาคั่นหรือ Ad break ในวิดีโอเพื่อสร้างรายได้ทันทีที่ผู้ติดตามในเพจมีมากกว่า 10,000 คน และต้องมียอดการรับชม 1 นาทีให้กับวิดีโอที่มีความยาวอย่างน้อย 3 นาทีถึง 30,000 ครั้งในช่วง 60 วัน

วิดีโอที่ประสบความสำเร็จบน Facebook Watch จะมีความยาวเท่าใดก็ได้ แต่ถ้าอยากหารายได้คือ 3 นาทีเป็นอย่างต่ำ จุดที่เน้นคือคุณภาพ การเป็นวิดีโอต้นฉบับ และการทำให้ผู้ชมอยากกลับมาดูซ้ำอีก

สิ่งที่ครีเอเตอร์ต้องใส่ใจคือการหาวิธีดึงผู้ชมให้กลับมาชมอีกจนเป็นนิสัย และมีส่วนร่วมกับเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง ขณะที่ทีม Facebook Watch ก็จะพัฒนาระบบที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์รับชม เช่น การไม่ใส่ Ad break จนรำคาญ ผู้ผลิตสามารถเลือกได้ว่าจะใส่โฆษณาคั่นจำนวนเท่าใด และจะมีอัลกอริธึมให้การใส่โฆษณาคั่นทำได้อย่างเหมาะสม.

Source

]]>
1247017
เจาะลึกเรื่องต้องรู้ 6 แพลตฟอร์ม Social Media ปี 2019 กลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์ให้ปัง!! https://positioningmag.com/1243046 Mon, 19 Aug 2019 23:00:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243046 จำนวนประชากรไทยทุกวัยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ทำให้ทุกวันนี้ Social Media Platform กลายเป็น “เครื่องมือ” สำคัญของนักการตลาด สินค้าและแบรนด์ต่างๆ ทั้งบิ๊ก คอร์ปอเรท เอสเอ็มอี กระทั่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงและอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา 

มัณฑิตา จินดา (ครูทิป) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และและผู้ก่อตั้ง Digital Tips Academy เปิดเวทีอบรมกลยุทธ์การตลาดออนไลน์รูปแบบ Seminar on Stage (SOS) อัพเดตเทรนด์ “6 Social Media Platform” ทรงอิทธิพล ที่มีการเปลี่ยนแปลงในปี 2019

1. Facebook คือ Group and Community

เริ่มที่ Facebook ที่ยังครองตำแหน่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเบอร์หนึ่งของประเทศไทย มีผู้ใช้งานมากที่สุดกว่า 53 ล้านบัญชี จากยุคการแชร์เรื่องราวของ Friend & Family ปี 2019 Mark Zuckerberg กล่าวไว้ชัดในงาน F8 2019 ว่า ต่อไปคือยุค The Future is Private ทิศทางของ Facebook คือ Group and Community  

เพราะเฟซบุ๊กเริ่มเห็นว่าคนมีแนวโน้มอยากพูดคุยในกลุ่มต่างๆ ที่คนเองสนใจมากกว่าพูดคุยแบบสาธารณะ ดังนั้นเฟซ บุ๊กจะมีการแนะนำกรุ๊ป (Group Recommendations) ที่ผู้ใช้งานสนใจให้เข้าร่วมกลุ่มได้ง่ายขึ้น อีกทั้งจะมีฟีเจอร์เฉพาะแต่ละกรุ๊ป เช่น กรุ๊ป Health Support สมาชิกโพสต์โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อหรือหน้าของตนเอง ส่วนกรุ๊ปหางาน คนหางานสามารถกรองโพสต์รับสมัครงานและรับสมัครงานผ่านเฟซบุ๊กได้ หรือ กรุ๊ปซื้อขาย มีฟีเจอร์ให้สั่งซื้อของได้ง่ายขึ้น

เฟซบุ๊กยังใส่ฟีเจอร์ Group Tap ซึ่งเป็นแท็ปที่รวบรวมเอากรุ๊ปต่างๆ ของผู้ใช้รวมถึงกรุ๊ปแนะนำที่ผู้ใช้งานสนใจมาไว้ในที่เดียวกัน

ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ใช้ Facebook Group กว่า 1 ล้านกรุ๊ป โอกาสของนักการตลาด เอสเอ็มอี พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ในการใช้ฟีเจอร์ Group คือ ต้องลองเข้าไปเป็นสมาชิกเพื่อเก็บข้อมูลใน Group ต่างๆ เพื่อดูบทสนทนา ที่จะทำให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภค หรือการเป็นสมาชิกกรุ๊ปซื้อขาย และสร้าง Group ของตัวเอง เพื่อโอกาสถูกแนะนำกรุ๊ปกับผู้ใช้งาน

“ธุรกิจที่มีการสร้างกรุ๊ป จะได้พื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจเพิ่มขึ้น เพราะกรุ๊ปจะมีโอกาสถูกดึงขึ้นมา แสดงในฟีดของผู้ใช้”

2. Instagram คือ Photo Sharing Platform

สำหรับ Instagram หรือ IG คือแพลตฟอร์มที่โดดเด่นเรื่องการแชร์ “รูปภาพ” สวยงาม ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 1,000 ล้านคน มีผู้ใช้กว่า 200 ล้านบัญชี ที่เข้าไปดูโปรไฟล์ขายของอย่างน้อย 1 โปรไฟล์ต่อวัน ในไทย ปี 2019 คาดมีผู้ใช้ IG กว่า 14 ล้านบัญชีที่แอคทีฟ ในจำนวนนี้ 5.1 ล้านบัญชีอยู่ในกรุงเทพฯ ผู้ใช้ IG ในประเทศไทยเป็นผู้หญิง 63%

มีหลายธุรกิจที่สามารถใช้ IG เป็นเครื่องมือการสื่อสารโฆษณาแบรนด์ได้ดี จากการเข้าใจอินไซต์ลูกค้าที่ชอบถ่ายรูปโชว์ใน IG ที่ชัดเจนคงเป็นร้านอาหารที่ตกแต่งร้าน จัดมุมถ่ายภาพ หรือจะมีชื่อร้านอยู่บนจาน ชาม บนโต๊ะอาหาร เพื่อให้การถ่ายภาพแต่ละคน มีชื่อของร้านและแบรนด์ติดกับภาพถ่ายที่จะถูกโพสต์ลง IG

อีกเครื่องมือสำคัญกับฟีเจอร์ IG Stories มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 500 ล้านคนต่อเดือน เป็นเครื่องมือการตลาดกระตุ้นการขายแบบด่วนได้ดี เหมาะกับกลยุทธ์ “โปรไฟไหม้” จำกัดเวลาให้ต้องตัดสินใจซื้อ

3. Line Official Account คือ No.1 CRM

LINE ในประเทศไทยมีผู้ใช้กว่า 44 ล้านบัญชี การเปลี่ยนแปลงสำคัญในปี 2019 คือ Line Official Account (OA) ปัจจุบันมี 3 ล้านบัญชี โดยจะเปลี่ยนผู้ใช้ Line@ เป็น OA เพื่อให้มีการบรอดแคสต์ด้วยจำนวนที่เหมาะสม ไม่ให้รบกวนผู้บริโภคที่ใช้งานไลน์มากเกินไป เพื่อเป็นการรักษาฐานลูกค้าเก่า เพราะต้นทุนการหาลูกค้าใหม่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 5 เท่า

ที่ผ่านมาพบว่าสถิติผู้ใช้ไลน์ 1 คน ได้ข้อความจากการบรอดแคสต์สูงถึงวันละ 60 ข้อความ ในช่วงที่เทศกาลช้อปปิ้งของอีคอมเมิร์ซ ทั้ง 11.11 หรือ 12.12 ร้านค้าบางร้านมีการบรอดแคสต์ทุก 1 นาที ทำให้ผู้ใช้งานอยู่ในภาวะ Over Broadcasting จึงปรับ Line@ เป็น OA ซึ่งมีเครื่องมือให้ลูกค้าให้ใช้งานมากขึ้น เช่น Rich Menu ที่สามารถใส่ลิงค์เว็บไซต์ได้ ติดแท็กลูกค้า (Chat Tag) แบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อแยกดูแลในแต่ละสเต็ปการขาย มีการทำ Poll และ Survey ที่สำคัญสามารถใช้ประโยชน์จาก Timeline Post โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เป้าหมายของ “ไลน์” ต้องการเป็นแพลตฟอร์ม CRM กับผู้บริโภคที่ใช้งาน ในฝั่งธุรกิจเอง ไลน์ ยังเป็นแพลตฟอร์มที่เปลี่ยน “ลูกค้าขาจรเป็นขาประจำ” ได้ดี

4. Twitter คือ Interest Network

Twitter เป็นโซเชียลมีเดียที่เติบโตเร็วทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ที่โตเร็วสูงสุดติดอันดับ 5 ของโลก ผู้ใช้ 68% เป็นกลุ่ม Millennials นับเป็นช่องทางการสื่อสารที่เร็วที่สุด คนส่วนใหญ่จะพูดถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นกระแสสนใจในขณะนี้ จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้เชื่อมต่อกัน (Interest Network) ด้วย # Hashtag การสื่อสารบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ คือความ Real และเร็ว รูปภาพจึงไม่ได้เน้นความสวยงามเหมือน IG

สิ่งที่โดดเด่นของ Twitter Ads คือ การยิงโฆษณาไปหาคนที่สนใจหรือติดตามแอคเคาน์อื่น (คู่แข่ง) ได้

5. YouTube คือ Content Library

พฤติกรรมคนดูวิดีโอแต่ละแพลตฟอร์มไม่เหมือนกัน หากเป็น Facebook คือวิดีโอสั้น กระชับและน่าสนใจ แต่หากเป็น YouTube คือการดูยาว สถิติที่น่าสนใจ ความยาวเฉลี่ยในการดูวิดีโอยูทูบต่อครั้งอยู่ที่ 40 นาที เพิ่มขึ้น 50% ทุกปี โดย 90% ของคนอายุ 22 – 38 ปี ดูยูทูบ เพื่อคนหารีวิวสินค้า และสัดส่วน 37% ของคนอายุ 18 – 34 ปี นิยมดูยูทูบ แบบรวดเดียวจบ

ยูทูบจึงเป็นเครื่องมือที่ทุกคนสามารถเป็น Creator ได้ หรือการใช้ Influencer รีวิว รวมทั้งการสร้าง Brand Chanel ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ นิยมสร้างแชนแนลบนยูทูบ เพื่อนำเสนอคอนเทนต์โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องความยาว และกฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่สามารถทำได้บนสื่อทีวี

หากเป็นวิดีโอที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ในเนื้อหา มีโอกาสยอดวิวสูงกว่าวิดีโอทั่วไป 3 เท่า คลิปวิดีโอ YouTube เป็น Digital Footprint ที่อยู่ตลอดไปจึง Content Library หากคลิปได้รับความนิยมจะเป็น Asset สร้างรายได้ไปตลอด

6. Tiktok คือ Short Video Platform

เป็นที่รู้กันว่าความสนใจคนเรามีสมาธิสั้นมากน้อยยิ่งกว่าปลาทอง 9 วินาที Gen Y มีระยะเวลาสนใจแค่ 12 วินาที ส่วน Gen Z เหลือ 8 วินาที จึงเป็นที่มาของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย Tiktok ที่เป็น Short Video Platform ความยาว 15 วินาที ทำให้ Tiktok เป็นแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรง เป็น Content Discovery Platform ของทุกกลุ่มไม่ใช่แค่คนรุ่นใหม่เท่านั้น

]]>
1243046
โฆษณายังไม่ฟื้น! รายได้ไตรมาส 2 “ช่อง 3-MONO” ขาดทุน “เวิร์คพอยท์” กำไรวูบ https://positioningmag.com/1242061 Mon, 12 Aug 2019 23:05:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242061 อุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้เรียกว่ายังไม่ฟื้นนีลเส็น รายงานงบโฆษณาครึ่งปีแรก 2562 มีมูลค่ารวม 50,702 ล้านบาท ติดลบ 2% “สื่อทีวีที่ครองสัดส่วนสูงสุดมูลค่า 33,079 ล้านบาท ลดลง 0.58%

ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวชัดเจนหลังมีรัฐบาลใหม่ “ธุรกิจทีวี” ที่พึ่งพารายได้จากโฆษณาจึงอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก สะท้อนจากผลประกอบการ ไตรมาส 2 ของธุรกิจทีวีดิจิทัล ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ยังเผชิญปัญหาขาดทุนและกำไรลดลง 

“ช่อง 3” ไตรมาส 2 ขาดทุน 103 ล้าน

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC รายงานตลาดหลักทรัพย์ว่า ไตรมาส 2 ปี 2562 มีรายได้ 2,092 ล้านบาท ลดลง 22.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 3.4% จากไตรมาสแรกปีนี้ ทำให้ไตรมาส 2 ปีนี้ยังมีผล ขาดทุน103.6 ล้านบาท

โดยรายได้จากการขายเวลาโฆษณาของกลุ่ม BEC อยู่ที่ 1,814.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6% จากไตรมาสแรก แต่ลดลง 23% จากไตรมาส 2 ปี 2561 รายได้ที่ลดลงมาจากนาทีขายโฆษณาลดลง จากภาวะการแข่งขันสูงและเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งรายได้หลักของ BEC มาจากการขายโฆษณาช่อง 3 สัดส่วน 86.7% ของรายได้รวม ขณะที่รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่นๆ เติบโต 19.9% จากไตรมาสแรก และมีสัดส่วน 11.8% ของรายได้รวม

หลังจาก อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มบีอีซี เข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2562 วางเป้าหมายปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจของช่อง 3 ให้สอดรับการเปลี่ยนของอุตสาหกรรมสื่อในยุคดิจิทัล โดยวางแผนระยะสั้นเน้นการหารายได้จากธุรกิจหลักทีวีและออนไลน์ที่มีโอกาสเติบโตสูง รวมทั้งธุรกิจขายลิขสิทธิ์ไปต่างประเทศ (Global Content Licensing) และแผนระยะยาวมุ่งหารายได้จากธุรกิจต่อยอดธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่

MONO ขาดทุน แต่ทีวีดิจิทัลรายได้โต

สำหรับ บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ MONO รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2562 มีรายได้ 613.74 ล้านบาท ลดลง 11.86% ขาดทุน 95.21 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนกำไร 13.66 ล้านบาท  ขณะที่ไตรมาสแรกปีนี้ ขาดทุน 112.36 ล้านบาท โดยรวมครึ่งปีแรกมีรายได้ 1,183 ล้านบาท ขาดทุน 207.56 ล้านบาท

แม้ภาพรวม โมโน “ขาดทุน” มาตั้งแต่ปี 2561 แต่รายได้สื่อโฆษณาทีวี ช่องทีวีดิจิทัล “โมโน 29” ไตรมาส 2 ปีนี้ อยู่ที่ 528.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.23% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

ผลประกอบการขาดทุนของ โมโน มาจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไตรมาส 2 ปีนี้ มีรายได้ 34.74 ล้านบาท ลดลง 63.79% โดยรายได้ที่ลดลงอย่างมากมาจาก ธุรกิจ Mobile Value Added Service (MVAS) ที่ให้บริการคอนเทนต์บันเทิง ดูดวง มีรายได้ 22.93 ล้านบาท ลดลง 73.55% ส่วนบริการ Monomax บริการดูหนังออนไลน์ ทำรายได้ 11.81 ล้านบาท เติบโต 27.55% และรายได้จากสปอนเซอร์ชิป 30.84 ล้านบาท เติบโต 67.70%

ดังนั้นช่วงไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 “โมโน” ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในธุรกิจที่ผลประกอบการขาดทุน คือ ปิดธุรกิจนิตยสารและเกม รวมทั้งหยุดผลิตภาพยนตร์ในนามบริษัท T Moment ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ “ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์” และลดขนาดธุรกิจ MVAS

“เวิร์คพอยท์” กำไร 72 ล้าน ลดลง 37%

บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปีนี้ มีรายได้ 803 ล้านบาท ลดลง 4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มีกำไร 72.56 ล้านบาท ลดลง 37% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไร 115.64 ล้านบาท

รายได้จากธุรกิจทีวี ช่องเวิร์คพอยท์และช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งรายได้จากการให้เช่าช่วงเวลาช่องทีวีดิจิทัล รายได้จากการรับจ้างผลิตรายการ และการขายลิขสิทธิ์รายการไปยังต่างประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2562 มีรายได้ 598 ล้านบาท ลดลง 20% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้ 746 ล้านบาท

การลดลงของรายได้ทีวี เนื่องจากภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อสูงขึ้น แต่ช่วงปลายไตรมาส 2 ช่องเวิร์คพอยท์ ปรับผังรายการใหม่ที่ได้รับความนิยมจากผู้ชม เช่น 10Fight10 รายการกล่องของขวัญ และรายการคู่เฟคคู่แฟน คาดว่าเรตติ้งเวิร์คพอยท์ จะขยับขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง

ส่วนรายได้จากการรับจ้างจัดงานอีเวนต์ ไตรมาส 2 อยู่ที่ 83.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.13 ล้านบาท หรือ 156% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายได้จากคอนเสิร์ตและละครเวทีอยู่ที่ 24.95 ล้านบาท ลดลง 16% ซึ่งช่วงครึ่งปีหลัง มีแผนจัดงานคอนเสิร์ตและละครเวทีเพิ่มขึ้น

สำหรับรายได้จากการขายสินค้าและบริการ แบ่งเป็นการขายสินค้า ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามแบรนด์ Let Me In Beauty และ Me Vio การขายสินค้า Studio Shop และสินค้าขายฝากทางรายการ 1346 Hello Shop ส่วนการบริการมาจากการให้เช่าพื้นที่โรงละคร และรายได้จากบริการจัดหานักแสดง ไตรมาส 2 รายได้ในกลุ่มนี้ อยู่ที่ 95.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 200% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มาจากรายได้ขายสินค้า 1346 Hello Shop เป็นหลัก

]]>
1242061
เจาะที่มา 10 Fight 10 ปลุกเรตติ้ง “เวิร์คพอยท์” เผย ไอเดียเดียว The Mask Singer https://positioningmag.com/1237213 Tue, 02 Jul 2019 23:05:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1237213 โปรเจกต์ยักษ์ของช่องเวิร์คพอยท์ปีนี้ ต้องยกให้รายการ 10 Fight 10 การจับซุปตาร์ คนดังมาแข่งขันชกมวยสากล 10 คู่ 20 คน เป็นรายการที่ร่วมผลิตกับเจมีดีของเจ เจตริน วรรธนะสินโปรโมเตอร์จัดแข่งขัน ผ่านมา 4 คู่ กระแสเริ่มแรง เรตติ้งเริ่มมา

หลังสร้างปรากฏการณ์โกยเรตติ้งสนั่นจอ “ทีวีดิจิทัล” ในปี 2560 กับ 2 รายการดัง I Can See Your Voice และ The Mask Singer ที่ทำเรตติ้งหน้าจอสูงสุด 7-8 ส่งให้ปี 2560 เวิร์คพอยท์สร้างสถิติรายได้สูงสุด 3,877 ล้านบาท กำไร 904 ล้านบาท หลังจากนั้นรายการที่เรียกกระแสฮิตดูซาลง

กระทั่งปีนี้กับการเปิดตัวโปรเจกต์ 10 Fight 10 การจับคู่ซุปตาร์คนดังมาแข่งขันชกมวยสากล ด้วยกติกามวยสากลสมัครเล่น โดย “เจ เจตริน วรรธนะสิน” ทำหน้าที่โปรโมเตอร์จัดแข่งขันและร่วมผลิตรายการ การแข่งขันมี 10 คู่ 20 คน แบ่งเป็นทีม White Team คุมทีมโดย “แมทธิว ดีน” และ Black Team คุมทีมโดย “อองตวน ปินโต”

รายการ 10 Fight 10 ลงผังเวิร์คพอยท์ ทุกวันจันทร์ เวลา 20.15-21.45 น. เริ่มวันที่ 10 มิ.ย. วีคแรกทั่วประเทศเรตติ้งเฉลี่ย 2

  • จันทร์ 10 มิ.ย. เรตติ้ง  2.175
  • จันทร์ 17 มิ.ย. เรตติ้ง  2,161
  • จันทร์ 24 มิ.ย. เรตติ้ง  2.606
  • จันทร์ 1 ก.ค.   เรตติ้ง  3.013 
ภาพจากเฟซบุ๊ก Workpoint Entertainment

เรตติ้งคู่ชกล่าสุด “ซัน ประชากร” กับ “บอย พิษณุ” เป็นคู่ชกที่ผู้ชมกำลังติดตาม เพราะ ซัน ประชากร เป็นอดีตคู่รักของ “ดีเจต้นหอม” ที่เพิ่งประกาศจบสถานะคู่รัก และ “บอย พิษณุ” ก็เป็นพื่อนซี้ของดีเจต้นหอม การแข่งขันวีคนี้จึงมีกองเชียร์มาช่วยเรียกเรตติ้งเฉลี่ย 3 ยึดอันดับ 3 ผังไพรม์ไทม์ รองจากละครช่อง 7 ช่อง 3

สัปดาห์นี้ “ซัน ประชากร” เป็นฝ่ายชนะคะแนนแบบสูสี จึงเกิดกระแสดราม่าการตัดสินที่ค้านสายตาผู้ชม ทำให้ “เจ เจตริน” โปรโมเตอร์จัดแข่งขันต้องออกมาโพสต์อินสตาแกรมชี้แจงว่า “ตัวเขาเองก็ไม่ค่อยโอเคกับผลการตัดสินของกรรมการใน 2 แมตช์ล่าสุดซักเท่าไหร่ เพราะในความเห็นส่วนตัวคู่ เจสัน vs หลุยส์ และ คู่ บอย vs ซัน มีความสูสี คะแนนเบียดกันมาก ดังนั้นตั้งแต่คู่ที่ 5 เป็นต้นไป จะขอให้ทีมงานเวิร์คพอยท์ แจ้งชื่อกรรมการผู้ให้คะแนนทั้ง 3 คน และนำชื่อขึ้นจอในรายการทุกครั้ง เพื่อความโปร่งใส

สำหรับรายการ 10 Fight 10 ยังเหลือการแข่งขันชกมวยของซุปตาร์คนดังอีก 6 คู่ จนถึงเดือน ส.ค.นี้

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เล่าที่มาของรายการ 10 Fight 10 ที่กำลังเป็นกระแสแรงให้ฟังว่ามาจาก “แก้ว ชยันต์ จันทวงศาทร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการผลิต เวิร์คพอยท์ ผู้ที่ทำรายการ The Mask Singer โด่งดังเป็นที่รู้จักมาแล้ว และ “เจ เจตริน” มีไอเดียทำรายการนี้

รูปแบบรายการ 10 Fight 10 ให้ดารา นักแสดง มาแข่งชกมวยสากลตามกติกาจริง แต่ใช้เวลาพักนานกว่าการแข่งขันจริง ก่อนแข่งจะมีการซ้อม 2-3 เดือน เป็นการซ้อมอย่างจริงจัง และทุกคู่ที่แข่งทำประกันชีวิตไว้ทุกคน

ไอเดียรายการ 10 Fight 10 คล้าย The Mask Singer ที่ให้ดารา นักร้อง คนดัง มาแข่งขันความสามารถร้องเพลง ซึ่งมีดาราสนใจขึ้นเวทีจำนวนมาก เช่นเดียวกันดารา นักแสดง คนดังหลายคนที่นิยมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจำ ก็สนใจเข้าร่วมแข่งขันชกมวย

“ก่อนการแข่งขัน ยังกังวลว่าจะชกจริงหรือไม่ แต่เมื่อเริ่มแข่งขันและเห็นแล้วว่าชกกันจริง ก็เชื่อว่ารายการน่าจะได้รับความสนใจ”  

หลังออกอากาศวีคแรก เรตติ้งเฉลี่ย 2 การดูผ่าน Facebook Live พร้อมกันหลักแสนคน ถือเป็นตัวเลขที่สูงมากและไม่เห็นตัวเลขนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนหน้านี้ที่ทำได้คือ The Rapper

ล่าสุด 10 Fight 10 เรตติ้งขยับไป 3 คงต้องมาลุ้นอีก 6 คู่ที่เหลือว่าจะปลุกเรตติ้งช่องเวิร์คพอยท์ให้กลับมาเปรี้ยงอีกครั้งหรือไม่ แต่ก็มีสัญญาณบวกจากโบรกเกอร์ ที่มองการปรับผังรายการครึ่งปีหลังของเวิร์คพอยท์เป็นแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ 10 Fight 10 ที่มีกระแสดีตั้งแต่ตอนแรกที่ออนแอร์ เชื่อว่าภาพรวมเรตติ้งเวิร์คพอยท์จะกลับมายื่นที่ระดับ 1.00 ได้อีกครั้งในปีนี้.

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1237213
บิ๊กสเต็ป “เวิร์คพอยท์” สร้าง Ecosystem เปลี่ยนคนดูเป็นคนซื้อ ต่อยอดคอนเทนต์จากหน้าจอสู่สโตร์ ปักธง เพย์เมนต์เกตเวย์ https://positioningmag.com/1236161 Tue, 25 Jun 2019 23:05:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1236161 ที่ผ่านมาเวิร์คพอยท์ถือเป็นช่องดาวรุ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องรายการวาไรตี้” เกมโชว์ เพราะมีฐานมาจากเป็นผู้ผลิตรายการประเภทนี้ ให้กับช่องต่างๆ มาก่อน เมื่อมาเป็นเจ้าของช่องทีวีดิจิทัลเป็นของตัวเอง จึงทำให้เวิร์คพอยท์แจ้งเกิดด้วยรายการประเภทนี้ โดยมี 2 รายการที่สร้างความปัง The Mask Singer และ I Can See Your Voice

แต่ท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือดของ “ทีวีดิจิทัล” การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนดู หันไปเสพสื่อออนไลน์ ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาทีวีที่ลดลง เป็นโจทย์ใหญ่ให้เวิร์คพอยท์ต้องหาหนทางใหม่ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ทีวีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด มองว่า สถานการณ์วันนี้ คนที่เป็นเจ้าของใบอนุญาตทีวีดิจิทัลทั้ง 15 ช่องที่เหลืออยู่ ยังคงมี “แต้มต่อ” ในสื่อทีวีที่มีเม็ดเงินโฆษณา 30,000-40,000 ล้านบาทต่อปี และสื่อออนไลน์ “ทุกคน” ทำได้หมด แม้กระทั่งคนธรรมดา ก็เป็นเจ้าของแชนแนลในยูทูบได้ ใช้ Facebook Live เป็นช่องทางขายของหารายได้

วันนี้ทีวีดิจิทัลเป็นแต้มต่อของคนทำทีวี เพราะทุกสถานีทำออนไลน์หมดแล้ว แต่คนทำออนไลน์ ก้าวมาเป็นเจ้าของทีวีไม่ได้

เขายืนยันว่า เวลานี้เวิร์คพอยท์อยู่ในภาวะที่ค่อนข้าง “เบาตัว” จากการได้รับยกเว้นค่าประมูลทีวีดิจิทัล 2 งวดสุดท้าย และค่าเช่าโครงข่าย (MUX) เวิร์คพอยท์เองต้นทุนลดลงจากส่วนนี้ราว 100 ล้านบาทต่อปี ช่วง 5 ปีที่ผ่านมามี “กำไรสะสม” เกือบ 2,000 ล้านบาท จึงคืนทุนค่าใบอนุญาตที่จ่ายไปทั้งหมดแล้ว

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม

สร้าง Ecosystem ต่อยอดธุรกิจ

ยุทธศาสตร์คนทำทีวีวันนี้ คือ Single Content  Multiple Platform การใช้คอนเทนต์เดียวกระจายไปทุกวินโดว์ แต่ละวินโดว์ก็พยายามหาวิธีสร้างรายได้ ซึ่งทั้งโลกใช้วิธีนี้และประเทศไทยก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน

ปัจจุบันคนทำทีวี คือคนที่มี “มีเดีย” ครบที่สุด เชื่อมทุกแพลตฟอร์มเข้าหากัน เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งก็มีทั้งการมองตัวเองเป็น “มีเดีย” เพื่อใช้เป็นช่องทาง “ขายสินค้า” แต่สิ่งที่ เวิร์คพอยท์กำลังจะทำคือเชื่อมทุกแพลตฟอร์มเข้าหากัน ทั้งแพลตฟอร์มของเวิร์คพอยท์ที่มีสื่อครบ และของพันธมิตร เพื่อดึงคู่ค้า ทั้งผู้ลงโฆษณา ผู้ขายสินค้า และผู้ชมทั้งกลุ่มที่ดูคอนเทนต์และในฐานะผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้ามาอยู่ใน Ecosystem เดียวกัน ซึ่งจะเริ่มเห็นในปีนี้

“เราคงไม่ทำทุกอย่างเองทั้งหมดใน Ecosystem ที่กำลังจะทำนี้ มีพาร์ตเนอร์หลายราย ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดีย  มาร์เก็ตเพลส  อีเวนต์ เชื่อมเข้ากับสื่อทีวี ออนไลน์และธุรกิจอื่นๆ ของเวิร์คพอยท์”

ปัจจุบันแพลตฟอร์ม Facebook YouTube Line ไม่ใช่ของเวิร์คพอยท์ แต่มีคอนเทนต์ของเวิร์คพอยท์อยู่ในแพลตฟอร์ม ซึ่งก็เชื่อมเข้ามากับ Ecosystem ของเวิร์คพอยท์ คอนเซ็ปต์ง่ายๆ คือ ทำหน้าที่ Plug-in ทุกอย่างทั้งของเวิร์คพอยท์และพาร์ตเนอร์ เพื่อเสนอโซลูชั่นให้กับผู้ที่ต้องการใช้สื่อและคอนเทนต์ที่เวิร์คพอยท์ถนัด รวมทั้งเป็นแพลตฟอร์มของ “ผู้ชม” ที่ต้องการดูคอนเทนต์ เป็นช่องทางให้ SMEs ที่ต้องการขายสินค้าและใช้สื่อเข้าถึงผู้บริโภค

ยุทธศาสตร์การสร้าง Ecosystem ของเวิร์คพอยท์ เป็นแนวทางเดียวกับแพลตฟอร์มใหญ่ระดับโลกอย่าง Alibaba Amazon Facebook Google Line ที่ต้องทำทุกอย่างเช่นกัน และในบางอย่างหากไม่ทำก็จะหาพาร์ตเนอร์มาทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งที่เห็นเทรนด์และทิศทางธุรกิจจากการไปร่วมสัมมนาของแพลตฟอร์มระดับโลกทุกปี ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเวิร์คพอยท์พอมีเงินเหลือที่จะลงทุนใหม่ๆ เพื่อทดลองสร้าง Ecosystem

ภาพจากเว็บไซต์ GB Prime Pay

ลงทุนอีเพย์เมนต์ GB Prime Pay

ดังนั้นเพื่อให้ Ecosystem สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เวิร์คพอยท์จึงให้บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เข้าลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท โกลบอล ไพร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Global Prime) ซึ่งเป็นธุรกิจ Payment Gateway ธุรกิจรับชำระเงินในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ มูลค่าการลงทุน 40 ล้านบาท ถือหุ้น 30%

โดย GB Prime Pay ระบบชำระเงินรองรับบัตรทุกชนิดและธุรกิจหลากหลายประเภท ทั้งระบบตะกร้าบนเว็บไซต์ การขายผ่าน Facebook Line และ Instagram พร้อมทั้งบริการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขาย เทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภครายบุคคล

การเข้าไปลงทุนใน GB Prime Pay ของเวิร์คพอยท์ เพราะเป็นธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ เป็นบริษัทที่กำลังเติบโต วัตถุประสงค์แรกเป็นการลงทุนเพื่อทำ “กำไร” แต่ในระยะยาวมีโอกาสที่จะเชื่อมโยงกับการขยายธุรกิจของกลุ่มเวิร์คพอยท์ และเป็นการต่อจิ๊กซอว์ระบบเพย์เมนต์ใน Ecosystem ของเวิร์คพอยท์

“การลงทุนในธุรกิจใหม่ ระยะสั้นจะดูว่ามีอะไรเชื่อมโยงกับเวิร์คพอยท์ได้บ้างและหากยังไม่มีในระยะยาวก็อาจมีธุรกิจที่เชื่อมโยงกันได้ โดยเฉพาะ Transaction Online ที่เวิร์คพอยท์อาจได้ประโยชน์ ผ่านระบบเพย์เมนต์อีคอมเมิร์ซ ในธุรกิจทีวี ช้อปปิ้งและผลิตภัณฑ์ความงามแบรนด์ Let Me In”

ภาพจากเฟซบุ๊ก workpoint

ผังรายการทีวีเปลี่ยนถี่

ในสมรภูมิการแข่งขันทีวีดิจิทัลเองวันนี้ สปีดการปรับผังรายการต้องดูทุก 3 เดือน จะเห็นได้ว่ารายการส่วนหนึ่งเป็นซีซั่นอยู่แล้ว เพราะพฤติกรรมชมในยุคนี้เปลี่ยนเร็ว ช่วงต้นปีเศรษฐกิจชะลอตัวและมีเลือกตั้ง จึงชะลอปรับผังไว้ก่อน เริ่มใส่รายการใหม่ไตรมาส 2 ต่อเนื่อง เปลี่ยนรายการ “ปริศนาฟ้าแลบ” เป็น “กล่องของขวัญ” , รายการ Sweet Chef Thailand, รายการ 10Fight10, Who is my Chef, คู่เฟค คู่แฟน Fake Lovers ช่วงไตรมาส 3 จะใส่รายการใหม่เข้ามาอีก ปกติมีรายการใหม่ไตรมาสละ 1-2 รายการ มีทั้งปรับและเปลี่ยน

ชลากรณ์ บอกว่ารายการที่คนชอบพูดถึงอย่าง The Mask Singer และ I Can See Your Voice เรตติ้งยังดีอยู่เฉลี่ย 3 จึงยังอยู่ในผังช่องต่อไป เพราะเป็นรายการที่มีคนดูประจำ แต่ละซีซั่นก็จะใส่ลูกเล่นใหม่ เพื่อรีเฟรชรายการให้ดูสนุกและตื่นเต้น แม้เรตติ้งจะไม่สูงเท่าที่เคยทำได้ระดับ 7-8 แต่เรตติ้ง 3 ก็แข่งขันกับละครที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันได้

ภาพเฟซบุ๊ก The Mask Singer

เดิมทีวีเป็นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่วันนี้เป็นการแข่งขันของทุกอุตสาหกรรม เพื่อดึงเวลาของคนให้มากที่สุด วันนี้จึงไม่ได้โฟกัสที่ Ranking และ Rating ทีวีมากนักว่าเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างไร เพราะเมื่อใดก็ตามที่ “คอนเทนต์ดี” เรตติ้งก็จะดีตามไปด้วย

“เราคิดข้ามเรื่องเรตติ้งไปแล้ว เพราะเป็นเรื่องปกติที่มีขึ้นลง แต่โฟกัสไปที่คนดูใช้เวลาอยู่กับทุกแพลตฟอร์มของเวิร์คพอยต์มากขึ้นหรือไม่ ทั้งทีวี ออนไลน์ และกิจกรรม เพราะเมื่อมีคนใช้เวลาอยู่กับแพลตฟอร์มมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะเห็นโฆษณา ซื้อสินค้า หรือจะมาขายสินค้า ที่อยู่ใน Ecosystem ของเวิร์คพอยท์ วันนี้จึงมองเรื่องการต่อยอดธุรกิจเป็นหลัก”

ปีนี้รายการเวิร์คพอยท์ที่กระแสแรงสุดก็คือ มวย 10Fight10 รูปแบบรายการให้ดารา นักแสดง มาแข่งต่อยมวย ก่อนแข่งจะมีการซ้อม 2-3 เดือน รายการ 10Fight10 ไอเดียคล้าย The Mask Singer ที่ดึงดารา นักร้อง คนดัง มาแข่งขันความสามารถร้องเพลงที่มีดาราสนใจขึ้นเวทีจำนวนมาก เช่นเดียวกันดาราหลายคนที่นิยมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจำ ก็สนใจเข้าร่วมแข่งขันต่อยมวย ซีซั่นละ 10 คู่ ระยะเวลา3 เดือน หลังออกอากาศไป 2 ตอน เรตติ้งเฉลี่ย 2 การดูผ่าน Facebook Live พร้อมกันหลักแสนคน ถือเป็นตัวเลขที่สูงมากและไม่เห็นตัวเลขนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนนี้ที่ทำได้คือ The Rapper

ร้าน Sweet Chef Cafe สยามสแควร์ ซอย 3

ต่อยอดคอนเทนต์จากหน้าจอสู่สโตร์

ปีนี้เวิร์คพอยท์ยังได้ทดลองต่อยอดคอนเทนต์ ผ่านรายการใหม่ Sweet Chef Thailand  ซึ่งเป็นรายการแช่งขันทำขนม ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.15 น. เริ่ม 9  มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยหลังรายการจบ เมนูขนมในรายการ จะนำมาขายที่ร้าน Sweet Chef Cafe แห่งนี้

หลักคิดการทำรายการ Sweet Chef Thailand ที่มีให้ดูทั้งหน้าจอทีวี ออนไลน์ และไปจบที่หน้าร้าน เป็นการต่อยอดคอนเทนต์ของเวิร์คพอยท์ เพราะส่วนใหญ่คนที่ดูรายการอาหาร หลังจบรายการแล้ว หากชอบเมนูนั้นๆ ก็ไม่รู้ว่าจะไปหารับประทานได้ที่ไหน จึงทดลองนำมาขายที่ร้าน Sweet Chef Cafe เพื่อให้คนที่สนใจมาชิมเมนูต่างๆ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากมีเดีย ที่สร้างการรับรู้ผ่านรายการทีวีมาสร้างรายได้ผ่านหน้าร้าน ช่วง 1-2 ปีนี้ จะทดลองโปรเจกต์ลักษณะนี้อีก แต่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก

จับมือทุกแพลตฟอร์มออนไลน์

นอกจากนี้เวิร์คพอยท์ ยังมีความร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์ทุกราย ในการนำรายการไปนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มนั้นๆ รวมทั้งการรับจ้างผลิต “ออริจินัล คอนเทนต์” หรือการแบ่งรายได้ร่วมกัน ความร่วมมือก่อนหน้านี้ เช่น Viu Line TV

ล่าสุด Netflix ได้เข้ามา “เช่าเวลา” ในช่องเวิร์คพอยท์ เพื่อฉายคอนเทนต์ของ Netflix เป็นภาพยนตร์ยาวตอนเดียวจบ 1 ครั้ง 1 ชั่วโมง เมื่อวันเสาร์ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากนี้เป็นรายการทีวีแนะนำหนังและฉายหนังตัวอย่างครั้งละ 20 นาที ถือเป็นรูปแบบการโฆษณาคอนเทนต์ของ Netflix ทางทีวีที่เป็นสื่อแมส

ส่วนความร่วมมือกับ Facebook หลังจบรายการ 10Fight10 จะต่อด้วยรายการ Social Icon ซึ่งจะใช้เครื่องมือของเฟซบุ๊กในการโหวตแข่งขัน แนวคิดคือเชื่อมทีวีกับออนไลน์  วัตถุประสงค์หลักๆ คือ หาคนทำวิดีโอทุกประเภท ทั้ง รีวิวสินค้า ร้องเพลง ขายสินค้า คลิปตลก หากทำคอนเทนต์ได้ดี ก็มีโอกาสสร้างอาชีพได้ และต้องการให้คนที่มีความสามารถตื่นตัวกับการทำวิดีโอ คอนเทนต์ ซึ่ง Facebook ก็จะได้คนทำวิดีโอบนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น ส่วนเวิร์คพอยท์เองก็มีโอกาสเจอคนทำวิดีโอเก่งๆ และเป็นพาร์ตเนอร์ในกลุ่ม Influencers

อุตสาหกรรมสื่อวันนี้ ทุกคนยังต้องเจอการเปลี่ยนแปลงต่อไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เรื่องที่ยาก คือ ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด แต่เชื่อว่าการมีสื่อครบและมีคอนเทนต์ที่ดี ยังมีโอกาสไปต่อได้.

]]>
1236161
“ทีวี”คือแต้มต่อ เมื่อทุกคนทำออนไลน์ได้หมด ส่องยุทธศาสตร์ “เวิร์คพอยท์”สร้าง Ecosystem รวม”พันธมิตร คู่ค้า ผู้ชม” https://positioningmag.com/1235745 Mon, 24 Jun 2019 03:34:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235745 การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อทีวีดิจิทัล หลังการปลดล็อก “ต้นทุน” ทุกรายที่ไปต่อ ต่างมุ่งสู่การสร้างแพลตฟอร์มโอทีที ชูยุทธศาสตร์ผสานออฟไลน์ออนไลน์ รับมือการแข่งขันที่ไม่ได้มีเพียงคู่แข่งทีวีด้วยกัน 

“เวิร์คพอยท์” ที่เริ่มต้นจากคอนเทนต์ โปรวายเดอร์ และก้าวสู่การเป็นเจ้าของ “ทีวีดิจิทัล” มองสถานการณ์อุตสาหกรรมสื่อวันนี้อย่างไร Positioning สัมภาษณ์  ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่บอกว่าวันนี้สื่อทีวี ซึ่งมีเม็ดเงินโฆษณาอยู่ราว 30,000-40,000 ล้านบาทต่อปี ประเมินจากผู้ประกอบการของผู้ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัลปัจจุบัน

สถานการณ์วันนี้ คนที่เป็นเจ้าของใบอนุญาตทีวีดิจิทัลทั้ง 15 ช่องที่เหลืออยู่ ซึ่งจะไม่เพิ่มจำนวนไปมากกว่านี้ ดังนั้น “ทีวีดิจิทัล” ไม่ใช่สื่อที่ใครๆ จะทำได้ เพราะต้องมีใบอนุญาต เม็ดเงินโฆษณาทีวีจึงเป็นโอกาสของคนทำทีวีเท่านั้น แต่สื่อออนไลน์ “ทุกคน” ทำได้หมด แม้กระทั่งคนธรรมดา ก็เป็นเจ้าของแชนแนลในยูทูบได้ ใช้ Facebook Live เป็นช่องทางขายของหารายได้

 

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม

“วันนี้ทีวีดิจิทัลเป็นแต้มต่อของคนทำทีวี เพราะทุกสถานีทำออนไลน์หมดแล้ว แต่คนทำออนไลน์ ก้าวมาเป็นเจ้าของทีวีไม่ได้ ”

คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ยกเว้นเก็บค่าประมูลทีวีดิจิทัล 2 งวดสุดท้าย และค่าเช่าโครงข่าย (MUX) จนครบใบอนุญาตอีก 10 ปี ทำให้วันนี้ ผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัล “ไม่มีต้นทุน” เวิร์คพอยท์เองต้นทุนลดลงจากส่วนนี้ราว 100 ล้านบาทต่อปี ขณะที่การทำทีวีดิจิทัล ช่วง 5 ปีที่ผ่านมามี “กำไรสะสม” เกือบ 2,000 ล้านบาท จึงคืนทุนค่าใบอนุญาตที่จ่ายไปทั้งหมดแล้ว

ปักธงสร้าง Ecosystem ต่อยอดธุรกิจ

ยุทธศาสตร์คนทำทีวีวันนี้ คือ Single Content  Multiple Platform การใช้คอนเทนต์เดียวกระจายไปทุกวินโดว์ แต่ละวินโดว์ก็พยายามหาวิธีสร้างรายได้ ซึ่งทั้งโลกใช้วิธีนี้และประเทศไทยก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน

ปัจจุบันคนทำทีวี คือคนที่มี “มีเดีย”ครบที่สุด เมื่อต้องเชื่อมทุกแพลตฟอร์มเข้าหากัน จึงอาจเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้  ซึ่งก็มีทั้งการมองตัวเองเป็น “มีเดีย” ก็จะใช้เป็นช่องทาง “ขายสินค้า” ได้  แต่สิ่งที่เวิร์คพอยท์กำลังจะทำคือเชื่อมทุกแพลตฟอร์มเข้าหากัน ทั้งแพลตฟอร์มของเวิร์คพอยท์ที่มีสื่อครบ และของพันธมิตร เพื่อดึงคู่ค้า ทั้งผู้ลงโฆษณา ผู้ขายสินค้า และผู้ชมทั้งกลุ่มที่ดูคอนเทนต์และในฐานะผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้ามาอยู่ใน Ecosystem เดียวกัน  ซึ่งจะเริ่มเห็นในปีนี้

 

เราคงไม่ทำทุกอย่างเองทั้งหมด ใน Ecosystem ที่กำลังจะทำนี้ มีพาร์ทเนอร์หลายราย ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียล มีเดีย  มาร์เก็ตเพลส  อีเวนต์ เชื่อมเข้ากับสื่อทีวี ออนไลน์และธุรกิจอื่นๆ ของเวิร์คพอยท์

ปัจจุบันแพลตฟอร์ม Facebook YouTube Line  ไม่ใช่ของเวิร์คพอยท์ แต่มีคอนเทนต์ของเวิร์คพอยท์อยู่ในแพลตฟอร์ม ซึ่งก็เชื่อมเข้ามากับ Ecosystem คอนเซปต์ง่ายๆ คือ เวิร์คพอยท์ จะทำหน้าที่ Plug-in ทุกอย่างทั้งของเวิร์คพอยท์และพาร์ทเนอร์ เพื่อเสนอโซลูชั่นให้กับผู้ที่ต้องการใช้สื่อและคอนเทนต์ รวมทั้งเป็นแพลตฟอร์มของ “ผู้ชม” ที่ต้องการดูคอนเทนต์ เป็นช่องทางให้ SMEs ที่ต้องการขายสินค้าและใช้สื่อเข้าถึงผู้บริโภค

“การสร้าง Ecosystem ของเวิร์คพอยท์ มาจากจุดที่เรามีสื่อครบทั้งทีวี ออนไลน์ และอีเวนต์ มีความเชี่ยวชาญการทำคอนเทนต์  เพราะธุรกิจสื่อวันนี้ เป็นเรื่องของการล้อมคนไว้ทุกทิศทาง”

ยุทธศาสตร์การสร้าง Ecosystem  ของเวิร์คพอยท์ เป็นแนวทางเดียวกับแพลตฟอร์มใหญ่ระดับโลกอย่าง  Alibaba Amazon Facebook Google Line  ที่ต้องทำทุกอย่างเช่นกัน และในบางอย่างหากไม่ทำก็จะหาพาร์ทเนอร์มาทำงานร่วมกัน  เป็นสิ่งที่เห็นเทรนด์และทิศทางธุรกิจจากการไปร่วมสัมมนาของแพลตฟอร์มระดับโลกทุกปี ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเวิร์คพอยท์ พอมีเงินเหลือที่จะลงทุนใหม่ๆ เพื่อทดลองการสร้าง Ecosystem

ลงทุนอีเพย์เม้นต์ GB Prime Pay

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2562 เวิร์คพอยท์ ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  เรื่องบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เข้าลงทุนในหุ้นสามัญของ บริษัท โกลบอล ไพร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Global Prime) ซึ่งเป็นธุรกิจ Payment Gateway ธุรกิจรับชำระเงินในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ มูลค่าการลงทุน 40  ล้านบาท ถือหุ้น 30%

โดย GB Prime Pay ระบบชำระเงินรองรับบัตรทุกชนิดและธุรกิจหลากหลายประเภท ทั้งระบบตะกร้าบนเว็บไซต์ การขายผ่าน Facebook Line และ Instagram พร้อมทั้งบริการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขาย เทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภครายบุคคล

ภาพจากเว็บไซต์ GB Prime Pay

ชลากรณ์ บอกว่าการเข้าไปลงทุนใน GB Prime Pay เพราะเป็นธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ เป็นบริษัทที่กำลังเติบโต วัตถุประสงค์แรกเป็นการลงทุนเพื่อทำ “กำไร” แต่ในระยะยาวมีโอกาสที่จะเชื่อมโยงกับการขยายธุรกิจของกลุ่มเวิร์คพอยท์ และเป็นการต่อจิ๊กซอว์ระบบเพย์เม้นต์ใน Ecosystem ของเวิร์คพอยท์

“การลงทุนในธุรกิจใหม่ ระยะสั้นจะดูว่ามีอะไรเชื่อมโยงกับเวิร์คพอยท์ได้บ้างและหากยังไม่มีในระยะยาวก็อาจมีธุรกิจที่เชื่อมโยงกันได้ โดยเฉพาะ Transaction Online ที่เวิร์คพอยท์อาจได้ประโยชน์ ผ่านระบบเพย์เม้นต์อีคอมเมิร์ซ ในธุรกิจทีวี ช้อปปิ้งและผลิตภัณฑ์ความงามแบรนด์ Let Me In”

ผังรายการทีวีเปลี่ยนถี่

ในสมรภูมิการแข่งขันทีวีดิจิทัลเองวันนี้ สปีดการปรับผังรายการต้องดูทุก 3 เดือน จะเห็นได้ว่ารายการส่วนหนึ่งเป็นซีซั่นอยู่แล้ว เพราะพฤติกรรมชมในยุคนี้เปลี่ยนเร็ว ช่วงต้นปีเศรษฐกิจชะลอตัวและมีเลือกตั้งจึงยังไม่ปรับผัง โดยเริ่มใส่รายการใหม่ตั้งแต่ไตรมาส 2 มาอย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนรายการ “ปริศนาฟ้าแลบ” เป็น “กล่องของขวัญ” ,รายการ Sweet Chef Thailand, รายการ 10 FIGHT 10, Who is my Chef, คู่เฟค คู่แฟน Fake Lovers ช่วงไตรมาส 3 จะใส่รายการใหม่เข้ามาอีก ปกติมีรายการใหม่ไตรมาสละ 1-2 รายการ มีทั้งปรับและเปลี่ยน

ภาพเฟซบุ๊ก The Mask Singer

ก็ต้องบอกว่ารายการที่คนชอบพูดถึง อย่าง The Mask Singer และ I Can See Your Voiceรตติ้งยังดีอยู่เฉลี่ย 3 จึงยังอยู่ในผังช่องต่อไป เพราะเป็นรายการที่มีคนดูประจำ แต่ละซีซั่นก็จะใส่ลูกเล่นใหม่ เพื่อรีเฟรชรายการให้ดูสนุกและตื่นเต้น แม้เรตติ้งจะไม่สูงเท่าที่เคยทำได้ระดับ 7-8  แต่เรตติ้ง 3 ก็แข่งขันกับละครที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันได้

เดิมทีวีเป็นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่วันนี้เป็นการแข่งขันของทุกอุตสาหกรรม เพื่อดึงเวลาของคนให้มากที่สุด จึงไม่ได้โฟกัสที่ Ranking และ Rating มากนักว่าเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างไร เพราะเมื่อใดก็ตามที่ “คอนเทนต์ดี” เรตติ้งก็จะดีตามไปด้วย

“เราคิดข้ามเรื่องเรตติ้งไปแล้ว เพราะเป็นปกติที่มีขึ้นลง แต่โฟกัสไปที่คนดูใช้เวลาอยู่กับทุกแพลตฟอร์มของเวิร์คพอยต์มากขึ้นหรือไม่ ทั้งทีวี ออนไลน์ และกิจกรรม เพราะเมื่อมีคนใช้เวลามากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะเห็นโฆษณา ซื้อสินค้า หรือขายสินค้าใน Ecosystem ของเวิร์คพอยท์ วันนี้จึงมองเรื่องการต่อยอดธุรกิจเป็นหลัก”

ภาพจากเฟซบุ๊ก workpoint

ปีนี้รายการเวิร์คพอยท์ที่กระแสแรงสุดก็คือ มวย 10 FIGHT 10 รูปแบบรายการให้ดารา นักแสดง มาแข่งต่อยมวย ก่อนแข่งจะมีการซ้อม 2-3 เดือน รายการ 10 FIGHT 10  ไอเดียคล้าย The Mask Singer  ที่ดึงดารา นักร้อง คนดัง มาแข่งขันความสามารถร้องเพลง มีดาราสนใจขึ้นเวทีจำนวนมาก เช่นเดียวกันดารา หลายคนที่นิยมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจำ ก็สนใจเข้าร่วมแข่งขันต่อยมวย 10 FIGHT 10 แข่งขัน ซีซั่นละ 10 คู่ ระยะเวลา 3 เดือน หลังออกอากาศไป 2 ตอน เรตติ้งเฉลี่ย  2  การดูผ่าน Facebook Live พร้อมกันหลักแสนคน  ถือเป็นตัวเลขที่สูงมากและไม่เห็นตัวเลขนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนนี้ที่ทำได้คือ The Rapper

ต่อยอดคอนเทนต์จากหน้าจอสู่สโตร์

ปีนี้เวิร์คพอยท์ได้ทดลองต่อยอดคอนเทนต์รายการธุรกิจใหม่ ผ่านรายการ Sweet Chef Thailand  ซึ่งเป็นรายการแช่งขันทำขนม ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.15 น. เริ่ม 9  มิ.ย.ที่ผ่านมา  โดยหลังรายการจบ เมนูขนมในรายการ จะนำมาขายที่ร้าน Sweet Chef Cafe สยามสแควร์ ซอย 3  ซึ่งเป็นร้านที่ “โต๊ะกลม” บริษัทในเครือเวิร์คพอยท์ลงทุนร่วมกับเจ้าของร้าน The Cassette Music Bar  ร้าน Kobe Steakhouse และร้านรองเท้า paa ซึ่งมีประสบการณ์ในธุรกิจร้านอาหารอยู่แล้ว

ร้าน Sweet Chef Cafe สยามสแควร์ ซอย 3

หลักคิดการทำรายการ Sweet Chef Thailand ที่มีให้ดูทั้งหน้าจอทีวี ออนไลน์ และไปจบที่หน้าร้าน เป็นการต่อยอดคอนเทนต์ของเวิร์คพอยท์ เพราะส่วนใหญ่คนที่ดูรายการอาหาร หลังจบรายการแล้ว หากชอบเมนูนั้นๆ ก็ไม่รู้ว่าจะไปหารับประทานได้ที่ไหน จึงทดลองนำมาขายที่ร้าน Sweet Chef Cafe เพื่อให้คนที่สนใจมาชิมเมนูต่างๆ  ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากมีเดีย ที่สร้างการรับรู้ผ่านรายการทีวีมาสร้างรายได้ผ่านหน้าร้าน ช่วง 1-2 ปีนี้ จะทดลองโปรเจกต์ลักษณะนี้อีก แต่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก

จับมือทุกแพลตฟอร์มออนไลน์

นอกจากนี้เวิร์คพอยท์ ยังมีความร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์ทุกราย ในการนำรายการไปนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มนั้นๆ รวมทั้งการเป็นคอนเทนต์ โปรวายเดอร์ ความร่วมมือง่ายที่สุด คือรับจ้างผลิต “ออริจินัล คอนเทนต์”หรือการแบ่งรายได้ร่วมกัน ความร่วมมือก่อนหน้านี้ เช่น  Viu Line TV

ล่าสุด Netflix ได้เข้ามา “เช่าเวลา”ในช่องเวิร์คพอยท์ เพื่อฉายคอนเทนต์ของ Netflix เป็นภาพยนตร์ยาวตอนเดียวจบ 1 ครั้ง 1 ชั่วโมง เมื่อวันเสาร์ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากนี้เป็นรายการทีวีแนะนำหนังและฉายหนังตัวอย่างครั้งละ 20 นาที  ถือเป็นรูปแบบการโฆษณาคอนเทนต์ของ Netflix ทางทีวีที่เป็นสื่อแมส

สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นยุทธศาสตร์ที่ทุก “สื่อ” ทำเหมือนกัน คือ เป็นการ “ดักคนดู” ของทุก “มีเดีย” เพราะหากต้องการให้คนเห็นคอนเทนต์จำนวนมากก็ต้องใช้ทุกพื้นที่ ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์  สิ่งพิมพ์ OOH  การที่ Netflix ใช้สื่อทีวี เพราะต้องการเห็นตลาดใหญ่ขึ้นอีก

“ตอนนี้ธุรกิจสื่อทั้งโลก เหลือกฎอยู่ข้อเดียว คือ ใครได้คนเยอะสุด จะได้ประโยชน์มากที่สุด ออนไลน์เองก็ต้องทำให้คนอยู่กับแพลตฟอร์มของตัวเองให้ได้มากที่สุด แม้วันนี้มีคนใช้บริการอยู่จำนวนมากแล้ว แต่ก็ต้องการได้เพิ่มอีก”

ส่วนความร่วมมือกับ Facebook หลังจบรายการ 10 FIGHT 10 จะต่อด้วยรายการ Social Icon  ซึ่งจะใช้เครื่องมือของเฟซบุ๊กในการโหวตแข่งขัน  แนวคิดคือเชื่อมทีวีกับออนไลน์  วัตถุประสงค์หลักๆ คือ หาคนทำวิดีโอ ทุกประเภท ทั้ง รีวิวสินค้า ร้องเพลง ขายสินค้า คลิปตลก  หากทำคอนเทนต์ได้ดี ก็มีโอกาสสร้างอาชีพได้ และต้องการให้คนที่มีความสามารถตื่นตัวกับการทำวิดีโอ คอนเทนต์  ซึ่ง Facebook ก็จะได้คนทำวิดีโอ บนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น  ส่วนเวิร์คพอยท์เองก็มีโอกาสเจอคนทำวิดีโอเก่งๆ และเป็นพาร์ทเนอร์ในกลุ่ม Influencers

อุตสาหกรรมสื่อวันนี้ ทุกคนยังต้องเจอการเปลี่ยนแปลงต่อไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เรื่องที่ยาก คือ ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด แต่เชื่อว่าการมีสื่อครบและมีคอนเทนต์ที่ดี ยังมีโอกาสไปต่อได้.

]]>
1235745
ศึกชิงเวลาคนดู! “Workpoint” จับมือ “Viu” ปั้นออริจินัลคอนเทนต์ หวังลด “ต้นทุน” เพิ่ม “กำไร” https://positioningmag.com/1210809 Mon, 28 Jan 2019 13:27:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1210809  การแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ได้เริ่มเปลี่ยนไปอีกครั้ง จากเดิมจุดตัดระหว่างผู้เข้าแข่งขัน คือ การมีคอนเทนต์เยอะๆ เข้ามาสร้างความหลากหลายให้กับผู้ชม ช่วงปีที่ผ่านมาจึงเห็นการจับมือกับทีวีช่องต่างๆ และคอนเทนต์ โพรวายเดอร์ ในการนำละครหรือรายการวาไรตี้ มาเซ็นสัญญาในลักษณะเอ็กซ์คลูซีฟ รีรัน 

แต่การทำเอ็กซ์คลูซีฟ รีรัน ก็ใช่ว่าจะทำให้แพลตฟอร์มเป็นเพียงผู้เดียว ที่มีคอนเทนต์นั้นอยู่ในมือ เพราะหลังจากหมดระยะเวลา 30 วัน หรือตามที่ดีลไว้ เจ้าของคอนเทนต์ก็สามารถนำไปลงที่แพลตฟอร์มไหนก็ได้ เป็นวิธีหารายได้อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นการจะสร้างความแตกต่างที่แท้จริง จึงใช้วิธีปั้น ออริจินัลคอนเทนต์ เพื่อเสิร์ฟให้กับฐานผู้ชมของตัวเองโดยเฉพาะ

เหมือนอย่างที่ “Viu” (วิว) แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ของกลุ่ม PCCW Media ยักษ์ใหญ่ด้านสื่อของฮ่องกง ที่เข้าสู่เมืองไทยได้เกือบ 2 ปีแล้ว ก็เลือกจะใช้วิธีทำออริจินัลคอนเทนต์ สร้างแรงดึงดูดให้กับฐานผู้ชมโดยการจับมือกับ “Workpoint”

คนดูชอบโรแมนติก คอมเมดี้

ทำไมถึงเลือกให้ Workpoint ทำ? เพราะก่อนหน้านี้ Viu เข้ามาเปิดตลาดด้วยการชูโรงคอนเทนต์ เกาหลีใต้ ทั้งละครและรายการวาไรตี้ จากทีวีทุกช่องกว่า หมื่นชั่วโมงจนสามารถสร้างฐานผู้ชมหลักเป็นผู้หญิงอายุ 18-34 ปี ก่อนที่จะเติมคอนเทนต์อื่นๆ ที่มาจากจีนและญี่ปุ่น

วิธีการเติมคอนเทนต์ของ Viu มี 4 รูปแบบ คือ

  1. ซื้อสิขสิทธิ์คอนเทนต์ที่เคยออกอากาศไปแล้ว 1-2 ปี เข้าสะสมในแพลตฟอร์ม
  2. เอ็กซ์คลูซีฟ รีรันในระยะเวลา 30 วัน
  3. ซื้อสิขสิทธิ์แล้วฉายพร้อมกับแพลตฟอร์มอื่น และ
  4. ออริจินัลคอนเทนต์

ดังนั้น เมื่อมีคอนเทนต์ในระบบแน่นแล้ว ก็ได้เวลาของการเติมคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ รีรัน โดยเจ้าแรกที่ Viu เลือกจับมือคือ “GMM25” ราวต้นปีที่แล้ว นำคอนเทนต์ละครและรายการวาไรตี้มารีรันประมาณ 200 ชั่วโมง และเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก็เพิ่งเซ็นสัญญากับ Workpoint ในการนำคอนเทนต์อีก 1,500 ชั่วโมงเข้ามาเสริม

แม้จำนวนพาร์ตเนอร์ที่ Viu มีอยู่ในมือตอนนี้เมื่อเทียบกับคู่แข่งโดยตรงอย่าง “LINE TV” จะมีจำนวนที่ห่างกันอยู่มาก แต่ Viu บอกว่า ไม่ได้เน้นที่ปริมาณ คอนเทนต์ที่จะเข้ามาต้องถูก จริตกับฐานคอนดูหลักที่ชื่นชอบแนวโรแมนติก คอมเมดี้

ฉายในทีวีก่อน ได้ทั้ง “Reach” และรายได้

ซึ่งเหตุผลที่ว่านี้ก็คือเหตุผลที่เดียวกับที่ Viu ตัดสินใจให้ “Workpoint” ผลิตออริจินัลคอนเทนต์ เนื่องจาก Workpoint มีชื่อเสียงจากการผลิตรายการคอมเมดี้อยู่แล้ว เรื่องแรกที่ทำเป็นซีรีส์ ชื่อ โฮะ แฟมิลี่ ใช้ เก้า จิรายุ และ ปันปัน นำแสดง ซึ่งมาจากพฤติกรรมคนดูที่ชอบตัวละครพระเอกหล่อ และนางเอกน่ารัก

มีทั้งหมด 15 ตอน โดยรูปแบบการออกกาศจะฉายที่ช่อง Workpoint ก่อน ทุกวันอังคาร เวลา 21.15 . ซึ่ง Workpoint ให้ พัน พลุแตกเข้าร่วมแสดงเป็นตัวเอกด้วย เพื่อคงลายเซ็นของช่องไว้ ซึ่งตัวของ พัน พลุแตกก็มีภาพจำของคนดูอยู่แล้ว คือเห็นหน้าปุ๊บรู้เลย ยี่ห้อ Workpoint ก่อนที่จะนำไปรีรันทันทีใน Viu

ดีลนี้ Viu จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพราะเป็นฝ่ายลงทุน ส่วน Workpoint มีรายได้จากการรับจ้างผลิต และโฆษณาตอนที่ฉายในช่อง ซึ่งรายได้ในส่วนนี้จะต้องแบ่งกับ Viu

ธวัตวงศ์ ศิลมานนท์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท พีซีซีดับเบิลยู โอทีที (ประเทศไทย) กล่าวว่า

คนไทยชอบดูคอนเทนต์ฟรี จึงเป็นเหตุผลที่ต้องไปออกทีวีก่อน เพื่อสร้าง Reach แล้วค่อยมาดูย้อนหลังใน Viu แต่มากกว่านั้นคือรายได้จากโฆษณาที่จะเข้ามา เพราะเมื่อไปดูเม็ดเงินในภาพรวม มากกว่า 50% ยังถูกถือครองด้วยทีวี ซึ่งใน Viu เองผู้ชมที่จ่ายเงินก็ยังมีไม่มากนัก จากแพ็กเกจเดือนละ 119 บาท

อย่างไรก็ตาม Viu ยังสามารถนำออริจินัลคอนเทนต์ไปหารายได้อีก โดยการขายสิขสิทธิ์ให้กับทั้งทีวีและช่องทางออนไลน์ ในประเทศที่พฤติกรรมและความชอบของผู้ชมคล้ายกับเมืองไทย เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น

ต้องแย่ง เวลาถึงจะชนะ” 

ความท้าทายของ Viu คือการทำคอนเทนต์ที่ต้องไปแย่งเวลา กับคอนเทนต์อื่นๆ จึงต้องทำมาให้ตอบโจทย์ และให้คนดู Enjoy ถึงจะ ชนะ ซึ่งตอนนี้มีคนดู Viu เฉลี่ยรายวันถึง 108 นาทีต่อคน ในขณะที่ชาวเอเชียทั่วไปใช้เวลา 186 นาทีต่อวันในการดูวิดีโอในทุกแพลตฟอร์ม

สิ่งที่ Viu ต้องการต่อไปคือ แม้เวลาการรับชมจะไม่เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องทำยังไงไม่ให้ลด ซึ่งวิธีการที่ทำจึงต้องเพิ่มคอนเทนต์ไปเรื่อยๆ อย่างเช่นออริจินัลคอนเทนต์ ซึ่งปีที่แล้ว Viu มีในรูปแบบนี้ทั้งหมด 70 รายการ 900 ตอน

ในภาพรวมของ Viu ได้ให้บริการไปแล้ว 16 ประเทศ มี Active Users 20 ล้านราย โดยประเทศที่ Viu ให้ความสำคัญมากที่สุดคืออินโนนีเซียและไทย เพราะมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่สูง เฉพาะเมืองไทยปีที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดโตจาก 2.3 ล้านครั้งเป็น 4.5 ล้านครั้ง

Workpoint ต้อง กำไร

ในขณะที่ฝั่ง “Workpoint” การจับมือกับ “Viu” เรียกได้ว่าตอบโจทย์ธุรกิจที่วางไว้ในปี 2019 ทั้ง 2 ข้อคือ 

  1. ขยายคอนเทนต์สู่แพลตฟอร์มอื่นให้เร็ว จากทีวีไปสู่ออนไลน์ ผ่านการจับมือกับพันธมิตร เป็นตัวกลางนำคอนเทนต์ในมือไปเสิร์ฟผู้ชมในแพลตฟอร์มอื่นๆ รวมไปถึงการนำคอนเทนต์ออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งสามารถต่อยอดเป็นรายได้ โดยปีที่แล้วมีรายได้จากการขายคอนเทนต์ต่างประเทศ 30 ล้านบาท ปีนี้ต้องการ 40 ล้านบาท
  2. การลดต้นทุนเพื่อรักษาระดับของกำไรโดยปีนี้ Workpoint วางแผนใช้เงินลงทุนคอนเทนต์ 600 ล้านบาท จากปีก่อนที่ใช้ไป 800 ล้านบาท ซึ่ง 200 ล้านบาทที่หายไปคือการที่มีพันธมิตรมาช่วยจ่ายนั้นเอง

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

ความท้าทายของ Workpointในปีนี้คือ การทำกำไรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนเรตติ้งที่ขึ้นอันดับ 2 ได้ เราไม่คิด กำไรเป็นเรื่องใหญ่กว่า เพราะสุดท้ายเรื่องใหญ่ในการทำธุรกิจบนโลกดิจิทัล คือมุ่งโกยยอดการเข้าถึงกลุ่มคนดู ซึ่งสถานการณ์ตลาดที่เกิดขึ้นคือเราเริ่มเห็นธุรกิจออนไลน์ดาวรุ่ง ขาดทุนล้มหายตายจากกัน เมื่อธุรกิจไม่ทำกำไรเราจึงต้องเลือกว่าจะมุ่งเรตติ้ง หรือกำไร” 

ชลากรณ์ ขยายความเรื่องกำไรว่า ปี 2019 คาดหวังกำไรต้องไม่น้อยกว่าปี 2018 ซึ่งยังไม่ปิดงบ ตัวเลข 9 เดือนอยู่ที่กว่า 420 ล้านบาท แต่ก็คงไม่คาดหวังกำไรเหมือนปี 2017 ที่ทำได้ 900 กว่าล้านบาท เติบโตหวือหวาจากปีก่อนหน้าที่ทำได้เพียง 100 ล้านบาท

หารายได้จากวิธีอื่นๆ

ดังนั้นนอกเหนือจากการมีคนเข้ามาช่วยจ่ายต้นทุนแล้ว Workpoint จึงวางแผนหารายได้ทางใหม่ๆ ทั้งการลุยธุรกิจทีวีช้อปปิ้งโดยนำเวลาช่วงเวลากลางวันและหลังเที่ยงคืน ประมาณ 100-120 นาทีต่อวัน ที่เคยให้แบรนด์ขนาดใหญ่ และรายเล็กๆ อื่นเช่า กลับมาทำเอง

โดยการจับมือกับบริษัทอื่นไม่ได้ลงทุนเองทั้งหมด Workpoint รับหน้าที่เป็นช่องทางขายสินค้า ส่วนบริษัทร่วมทุนรับหน้าที่จัดการคลังและส่งสินค้า ซึ่งการทำทีวีช้อปปิ้ง Workpoint ไม่ได้คาดหวังกำไรมากนัก เพราะต้นทุนสูง

แต่หวังรายได้ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 400-600 ล้านบาท เบียดขึ้นมาเป็นที่สองของตารางรายได้แทนออนไลน์ ส่วนหัวตารางยังเป็นค่าโฆษณา เฉลี่ยทั้งวันอยู่ที่ 70,000 บาทต่อนาที ช่วงไพรม์ไทม์ 250,000 ต่อนาที

นอกจากนั้นยังได้จับมือตำมั่วของกลุ่มเซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป ทำตลาดสินค้าต่างๆ ผ่านทางสื่อในมือทั้งทีวีและออนไลน์

ขณะเดียวกันด้านผังรายการ ได้เตรียมรายการใหม่อีก 10 รายการ มีทั้งรายการใหม่แกะกล่อง และนำรายการเดิมมาปัดฝุ่นใหม่ เช่น “Earth Quake เกมแผ่นดินไหว ที่มีปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกรเอง ซึ่งได้ปรับมาจากรายการปริศนาฟ้าแลบ เนื่องจากคนดูอยากได้ความตื่นเต้นใหม่ๆ

หรือรายการวิคตอรี่ BNK48” ที่หลุดผังไปก่อนหน้านี้ เหตุที่หยุดเพราะสมาชิกใน BNK48 ไม่มีเวลาที่จะถ่ายทำ จึงวางแผนปรับรายการใหม่ นอกจากนั้นยังมีรายการของ BNK48 อยู่ในแผนอีก 1-2 รายการที่เตรียมทำ รวมไปถึงรายการออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งต้องรอดูทิศทางก่อน

ปัจจุบันฐานคนดูหลักของ Workpoint อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ส่วนในออนไลน์อายุ 13-45 ปี เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 ปีนี้ตั้งเป้ารักษาให้อยู่ในระดับ 1.1-1.2 ส่วนรายได้ตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท โดย 9 เดือนแรกของปี 2018 มีรายได้ 2,700 ล้านบาท.

]]>
1210809
เวิร์คพอยท์ พึ่ง “ทีวีช้อปปิ้ง” กู้รายได้ หลังรายการใหม่ไม่ปัง https://positioningmag.com/1209932 Wed, 23 Jan 2019 23:07:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209932 สถานการณ์ช่วงนี้ของ “เวิร์คพอยท์” ต้องเจอโจทย์ยากขึ้นทุกที เมื่อยังไม่มีรายการวาไรตี้ใหม่ๆ สร้างกระแสความนิยมและเรตติ้งได้ ทำให้เวิร์คพอยท์ต้องหันมาพึ่งพารายการ “โฮมช้อปปิ้ง” ที่หวังเป็นช่องทางสร้างรายได้ใหม่ให้กับช่อง 

ล่าสุด เวิร์คพอยท์ได้เปิดตัวรายการ Hello Shops ในวันที่ 14 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยเป็นรายการจำหน่ายสินค้าโฮมช้อปปิ้ง ครอบคลุมสินค้า 5 ประเภท คือ เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า ไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยว แฟชั่น สุขภาพและความงาม เพื่อเจาะกลุ่มเพศหญิง ซึ่งเป็นแม่บ้าน โดยออกอากาศ 4 ช่วงเวลา ช่วงละ 10 นาที และช่วงเวลาหลังเที่ยงคืน

ปรากฏว่าผังรายการใหม่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เวิร์คพอยท์ได้เพิ่มช่วงเวลา Hello Shops อีก 4 ช่วงเวลาในระหว่างวัน ตั้งแต่ช่วงสาย บ่าย เย็น และดึก ช่วงเวลาละ 10 นาที รวมทั้ง 8 ช่วงต่อวัน รวมทั้งหมด 80 นาทีต่อวัน ซึ่งถือว่าให้เวลากับรายการนี้เยอะมาก

สำหรับรายการ Hello Shops เป็นความร่วมมือกับบริษัท นาโนนีเซีย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเวิร์คพอยท์เอง โดยตั้งเป้ารายได้จากการขายสินค้าผ่านทีวีช้อปปิ้งในปี 2562 ทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 365 ล้านบาท

ผลประกอบการของเวิร์คพอยท์ใน 3 ไตรมาสของปี 2561 ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น มีรายงานไว้ว่า มีรายได้จากธุรกิจทีวีช้อปปิ้งอยู่ที่ 105 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากสินค้าภายใต้แบรนด์ Let Me Beauty ที่ขายสินค้าควบคู่กับรายการ “Let Me In ศัลยกรรมพลิกชีวิต” ซึ่งเป็นสินค้าที่จำหน่ายโดยบริษัท นาโนนีเซียเช่นกัน

ส่วนผลประกอบการเฉพาะไตรมาส 3/2561 นั้น เวิร์คพอยท์มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,007.11 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,166.51 ล้านบาท หรือ 14%

สาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้และกำไรลดลงนั้น เกิดจากรายได้ธุรกิจทีวี และช่องทางทีวีออนไลน์ ซึ่งเป็นรายได้จากค่าโฆษณาและให้เช่าเวลาลดลง จึงมีรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 769.78 ล้านบาท ลดลง 26% หรือคิดเป็นวงเงิน 266.69 ล้านบาท เมื่อเทียบกับรายได้ไตรมาส 3/2560 ที่มีรายได้ธุรกิจทีวีรวม 1,036.47 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ธุรกิจทีวีช้อปปิ้งถือว่า “ท้าทาย” ไม่น้อยเลย เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสต๊อกสินค้าจำนวนมาก ซึ่งบริษัท นาโนนีเซีย เป็นบริษัทที่เวิร์คพอยท์ถือหุ้นใหญ่ถึง 100% ยังเป็นบริษัทใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มาก

โดยทีวีดิจิทัลก็ให้น้ำหนักกับธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง ไม่ว่าจะเป็นช่อง 8 ของ เฮียฮ้อ-สุรชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ ที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำจากธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง โดยไม่ต้องพึ่งพารายได้จากทีวี แต่ใช้ทีวีเป็นตัวช่วยโปรโมตสินค้า และสปริงนิวส์ ที่ถูกทีวีไดเร็ค Take over ไปแล้ว ในขณะที่รายการขายสินค้าทีวีช้อปปิ้งแทรกซึมเข้าไปในทุกช่วง ในทุกช่องทีวีดิจิทัลแล้ว

เป้าลด Cost การผลิตรายการลงกว่า 200 ล้านบาทปีนี้

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง ระบุว่า เวิร์คพอยท์นอกจากหาทางเพิ่มรายได้จากธุรกิจทีวี ช้อปปิ้งแล้ว ก็ยังมีแผนลดต้นทุนในการผลิตรายการลงด้วย โดยลดงบลงทุนเหลือ 650 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 ที่ใช้งบส่วนนี้ไปทั้งหมดประมาณ 800 ล้านบาท

ที่ผ่านมา เวิร์คพอยท์เป็นช่องที่มีความโดดเด่น ในด้านความเป็นครีเอทีฟทีวี นำเสนอรายการวาไรตี้หลากหลาย ทั้งจากรายการที่คิดขึ้นเอง และรายการที่ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตรายการสูง แม้ต้นทุนสูงแต่งานคุณภาพ ก็ได้รับผลตอบรับที่ดีกลับมาไปในแง่ความนิยม และเรตติ้งของแต่ละรายการและเรตติ้งช่องโดยรวม

แต่ในปีที่ผ่านมา เมื่อยังไม่มีรายการใหม่ติดตลาด และการดันรายการใหม่ๆ ก็ดูเหมือนเป็นไปได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เวิร์คพอยท์จึงเลือกใช้วิธีลดต้นทุน

นักวิเคราะห์มองว่า การลดต้นทุน เป็นกลยุทธ์ที่ดีในช่วงที่สถานการณ์รายได้มีแนวโน้มลดลง แต่ในทางกลับกัน การลดต้นทุนการผลิตรายการ อาจจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของแต่ละรายการที่ผลิตและออกอากาศด้วย และที่สำคัญอาจจะกระทบต่อความนิยมเรตติ้งรายการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้จากค่าโฆษณา

หวัง 4 รายการใหม่ ชูโรงด้วย Earth Quake “ตา-ปัญญา” ต้องลุยเอง

สำหรับรายการวาไรตี้ของเวิร์คพอยท์ ที่ตั้งความหวังไว้สูงในปีนี้ ประกอบด้วย รายการ “Super Boy Thailand” รายการค้นหาชายหนุ่มที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี, รายการ “10 Fight 10 หรือ 10 สู้ 10” ซุปตาร์ท้าชก ที่ได้ “เจ เจตริน” มาเป็นคีย์แมนสำคัญในรายการ, รายการ “The Rapper ซีซัน 2” และรายการ “Earth Quake เกมแผ่นดินไหว” ที่มีปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกรเอง

ปัจจุบัน “ตา-ปัญญา” ผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้ก่อตั้งเวิร์คพอยท์ ทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการ “ปริศนาฟ้าแลบ” เพียงรายการเดียว จึงมีการคาดการณ์กันว่า รายการ “เกมแผ่นดินไหว” น่าจะมาแทนรายการ “ปริศนาฟ้าแลบ” ที่อาจจะต้องถึงเวลา Refresh รายการใหม่ เพราะออกอากาศมายาวนานกว่า 4 ปีแล้ว

ขณะเดียวกันเรตติ้งของเวิร์คพอยท์เฉลี่ยทั้งปี 2561 อยู่ที่ 0.810 อยู่ในอันดับ 4 ลดลงจาก 1.001 ที่อยู่ในอันดับ 3 ในปี 2560 เนื่องจากยังไม่มีรายการได้รับความนิยมสูงเท่ากับ The Mask Singer ซึ่งช่วยดันเรตติ้งให้ช่องทั้งปี 2560 ซึ่งปี 2560 ถือเป็นปีทองของเวิร์คพอยท์ ในฐานะช่องวาไรตี้และครีเอทีฟที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

ส่วนเรตติ้งในปี 2562 เรตติ้งของเวิร์คพอยท์ประจำสัปดาห์ 14-20 ม.ค. ได้เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 0.802 ยังอยู่ในอันดับ 4

รายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของเวิร์คพอยท์ในขณะนี้ คือ กลุ่มรายการตระกูลไมค์ ตั้งแต่ ไมค์ทองคำ ไมค์ทองคำเด็ก ไมค์หมดหนี้ ส่วนรายการช่วงไพรม์ไทม์คือ I can see your voice และ กลุ่มรายการ The Mask Singer.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1209932
เปิดเม็ดเงินโฆษณาทีวีดิจิทัลปี 61 มูลค่า 67,936 หมื่นล้าน โต 8% ช่อง 3, ช่อง 7 เวิร์คพอยท์ โกยมากสุด https://positioningmag.com/1206758 Sun, 06 Jan 2019 23:07:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1206758 มูลค่าโฆษณาตลาดทีวีดิจิทัลของปี 61 ยังโต ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดชิงเค้กเม็ดเงินโฆษณา รวมมูลค่าทั้งปี 67,936 ล้านบาท เติบโต 8.13% เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีมูลค่ารวม 62,827 ล้านบาท เดือนมิ.ย มูลค่าสูงสุด ส่วนเดือนม.ค. มูลค่าน้อยสุด

ตัวเลขประมาณการมูลค่าโฆษณาจากการสำรวจโดยนีลเส็น เป็นตัวเลขจากราคาโฆษณาที่ยังไม่รวมส่วนลด ราคาพิเศษของแต่ละช่อง พบว่าเดือนที่มีมูลค่าโฆษณาสูงสุดของปีคือ เดือนมิถุนายน มีมูลค่าโฆษณารวมกว่า 6,344 ล้านบาท รองลงมาคือเดือนมีนาคม มูลค่า 6,310 ล้านบาท และเดือนกรกฎาคม มูลค่า 5,982 ล้านบาท

ส่วนเดือนที่มีมูลค่าโฆษณาน้อยที่สุด ได้แก่ เดือนมกราคม มูลค่า 4,527 ล้านบาท, เดือนกุมภาพันธ์ 4,819 ล้านบาท, เมษายน 5,549 ล้านบาท และเดือนธันวาคม 5,574 ล้านบาท ที่สัมพันธ์กับช่วงเดือนที่มีเทศกาลวันหยุดมาก ในเดือนมกราคม, เมษายน และธันวาคม

จากตัวเลขประมาณการมูลค่าโฆษณาของแต่ละเดือน น่าจะเป็นตัวสะท้อนถึงการวางแผนการจัดรายการลงผังของแต่ละช่วงเดือนของแต่ละช่องได้ ในเดือนที่โฆษณาเข้าน้อยสุด จากเทศกาลวันหยุดยาว จึงกลายเป็นช่วงที่หลายช่องจัดรายการรีรันเหมือนที่เกิดขึ้นมาแล้วในเดือนธันวาคม 2561 มาถึงช่วงต้นเดือนมกราคม 2562 ที่หลายช่องจัดละครรีรัน มาราธอนลงออนแอร์

ช่อง 3, ช่อง 7 และเวิร์คพอยท์ 3 ช่องหลักกวาดมูลค่าโฆษณามากสุด

เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มตามการประมูลทีวีดิจิทัลของ กสทช. 5 กลุ่ม ได้แก่กลุ่ม HD, SD วาไรตี้, ช่าว, กลุ่มช่องเด็ก และกลุ่มทีวีภาครัฐ พบว่ากลุ่ม HD ยังเป็นกลุ่มที่กวาดมูลค่าโฆษณาสูงสุด รวมมูลค่า 42,160 ล้านบาท

กลุ่ม HD ประกอบไปด้วยช่อง 7, ช่อง 3, ช่องวัน, ช่อง 9, ไทยรัฐทีวี, อมรินทร์ทีวี และพีพีทีวี โดยที่ช่อง 3 และช่อง 7 กวาดรายได้รวมกันกว่า 77 % ของมูลค่ารวมในกลุ่มนี้

ส่วนกลุ่มช่อง SD วาไรตี้ทั้งหมด 7 ช่อง ได้แก่ช่อง เวิร์คพอยท์, ช่อง 8, ช่องโมโน, ทรูโฟร์ยู, 3SD, จีเอ็มเอ็ม 25 และนาว 26 มีมูลค่ารวมทั้งปีอยู่ที่ 18,045 ล้านบาท โดยในกลุ่มนี้ช่องเวิร์คพอยท์นำกลุ่ม ตามมาด้วยช่อง 8 และโมโน

กลุ่มช่องข่าว 6 ช่อง เนชั่นทีวี และทีเอ็นเอ็น ทำมูลค่าสูงสุดของกลุ่มนี้ ตามมาด้วย ไบรท์ทีวี, สปริงนิวส์, นิวทีวี และวอยซ์ทีวี รวมมูลค่าทั้งปีอยู่ที่ 2,592 ล้านบาท

ในขณะที่ช่องเด็ก 2 ช่อง ช่อง 3 Family และ MCOT Family รวมมูลค่า 624 ล้านบาท

ช่องภาครัฐมีทั้งหมด 4 ช่อง คือ ช่อง 5, NBT, ไทยพีบีเอส และช่องรัฐสภา แต่สามารถมีโฆษณาได้ 2 ช่องคือช่อง 5 และช่อง NBT ได้มูลค่ารวมสูงถึง 4,515 ล้านบาท

ทั้งนี้มูลค่าโฆษณาส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับเรตติ้งของแต่ละช่อง แต่บางช่องมีมูลค่าสูงกว่าช่องอื่นๆ ที่มีเรตติ้งช่องสูงกว่า เนื่องจากรูปแบบช่องเป็นโฮมช้อปปิ้ง เช่นช่อง 8 และช่องสปริงนิวส์ หรือเป็นบริษัทในเครือที่มีสินค้าและบริการมาก เช่นกลุ่มซีพี ในช่องทรูโฟร์ยู และทีเอ็นเอ็น

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงการประมาณการจากโฆษณาของแต่ละช่องในปีนี้ ยังไม่สามารถวัดผลประกอบการจริงของแต่ละช่องได้ คงต้องรอตัวเลขผลการดำเนินงานทั้งปีของแต่ละช่องอย่างเป็นทางการ ที่จะชี้วัดได้ว่า ช่องไหนรุ่ง ช่องไหนรอดของจริง

รายได้โฆษณาในทีวีดิจิทัล 12 เดือนของปี 2561 ยอดรวมทั้งปี 67,936 ล้านบาท.

]]>
1206758
BNK48 ฮอตทั่วประเทศ แต่รายการทีวีเรตติ้งไม่เปรี้ยง โอตะมีเซ็ง รายการ “วิคตอรี่ BNK48” หลุดผังเวิร์คพอยท์ เหลือเพียง “BNK48 เซนไป” รายการเดียว https://positioningmag.com/1205978 Tue, 01 Jan 2019 23:07:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205978 แม้ปี 2561 ที่ผ่านมา จะเป็นปีที่วง “BNK48” ดังเป็นพลุแตก ออกงานอีเวนต์สำคัญทั่วประเทศ กวาดพรีเซ็นเตอร์สินค้ามากมาย แต่ไม่ใช่สำหรับรายการทีวี เมื่อรายการวิคตอรี่ BNK48” ต้องหลุดไปจากผังรายการช่องเวิร์คพอยท์ประจำเดือนมกราคม 2562

จากผังรายการช่องเวิร์คพอยท์ประจำเดือนมกราคม 2562 ในเว็บไซต์ของเวิร์คพอยท์มีการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่สำคัญคือ มีการจัดหนังดังวันอังคาร และ Friday Movie ในช่วงหลัง 3 ทุ่ม โดยเฉพาะช่วงวันอังคารนั้น เป็นการจัดหนังเข้ามาแทนที่รายการวิคตอรี่ BNK48” ที่เริ่มออกอากาศมาได้เพียง 5 เดือนเท่านั้น

ภาพจาก : https://www.facebook.com/VictoryBNK48Official

รายการวิคตอรี่ BNK48” เป็นรายการแรกของการร่วมทุนระหว่างเวิร์คพอยท์กับบริษัทบีเอ็นเค48 ออฟฟิศ ในชื่อบริษัท บีเอ็นเค โปรดักชั่น จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ สำหรับออกอากาศทางโทรทัศน์และออนไลน์ รวมทั้งจัดงานอีเวนต์และคอนเสิร์ต โดยเวิร์คพอยท์ถือหุ้น 50% ส่วน บีเอ็นเค48 ออฟฟิศ ถือหุ้น 49.99% และ จิรัฐ บวรวัฒนะ ผู้บริหารบีเอ็นเค 48 ออฟฟิศ ถือหุ้น 0.01%

เริ่มออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 3 .. เรตติ้งเปิดตัวอยู่ที่ 0.691 และใน 3 ตอนสุดท้ายของเดือนธันวาคม 2561 เรตติ้งยังคงอยู่ในระดับเดิมตั้งแต่ 0.5-0.6

ต่อมา วันที่ 8 กันยายน ช่องเวิร์คพอยท์ได้เริ่มออกอากาศรายการ “BNK48 เซนไป 2nd Generation” ในทุกวันเสาร์ เรตติ้งเฉลี่ยตอนล่าสุดวันที่ 15 ธันวาคม 2561 อยู่ที่ 0.856

สำหรับการทำรายการร่วมกันของเวิร์คพอยท์และ BNK48 นั้น เวิร์คพอยท์ระบุไว้ในช่วงของการเปิดตัวว่า จะเป็นช่องทางในการขยายฐานผู้ชมของช่องเวิร์คพอยท์ในกลุ่มผู้ชมอายุน้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุ 15-24 ปี ซึ่งเป็นฐานแฟนคลับของ BNK48 อีกด้วย

วง BNK48 เป็นโมเดลธุรกิจใหม่ สร้าง ไอดอล ให้คนติดตาม เลือกคนที่มีเสน่ห์มาฝึกฝน และสร้างฐานแฟนคลับ ที่เรียกว่าโอตะ มีจุดขายที่ความน่ารัก ความพยายามของไอดอลเหล่านี้ ทั้งยังได้สร้างโมเดลที่หารายได้จากทั้งรูปแบบการขายสินค้า งานโชว์ตัว, ขายบัตรจับมือ, ประมูลของรัก, ออกอีเวนต์ และการเป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้า

ทั้งนี้สาเหตุหลักที่รายการทีวีของ BNK48 ไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับการไปออกอีเวนต์หรืองานแสดง น่าจะเป็นเพราะความนิยมของวง BNK48 จากฐานแฟนคลับซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย เป็นกลุ่มที่เฝ้าติดตาม ให้กำลังใจในกิจกรรมของวงตามที่ต่างๆ มากกว่าการเฝ้ารออยู่หน้าจอ นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่นิยมรับชมรายการทางออนไลน์ และย้อนหลังมากกว่า การชมสดทางทีวี ทำให้เรตติ้งรายการไม่สูงมากเท่ากับกระแสความนิยม

ภาพจาก : Workpointdrama

สำหรับผังรายการหนังดังวันอังคารนั้น คาดว่าเป็นรายการเสริมชั่วคราว เนื่องจากมีรายงานว่าในเดือนกุมภาพันธ์ เวิร์คพอยท์จะจัดซิทคอมโฮ๊ะ แฟมมิลี่ ที่ได้ เก้าจิรายุ และ ปันปัน สุทัตตา นำแสดง ลงผัง

ในปี 2562 นี้ เวิร์คพอยท์ได้ทยอยเปิดเผยรายการใหม่ๆ ที่เตรียมจะออกอากาศหลายรายการ เช่น รายการ Earth Quake – เกมแผ่นดินไหว ที่มีปัญญา นิรันดร์กุลเป็นพิธีกรเอง

  • นักสืบเก้าอี้ขาว วาไรตี้เกมโชว์ แนวสืบสวนสอบสวน ลิขสิทธิ์จากอังกฤษ ได้ป๋าเต็ดยุทธนา บุญอ้อม” เป็นพิธีกร
  • 1 2 3 ลับเรียงโชว์ วาไรตี้เกมโชว์ของคนช่างเม้าท์
  • อัศวินโต๊ะอร่อย Chef’s Table เข้าร้านถูกได้กินของอร่อย เข้าร้านผิดชีวิตเปลี่ยน
  • Super Boy Thailand ค้นหาชายหนุ่มที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี
  • Sweet Chef Thailand ค้นหาสุดยอดนักทำขนมแห่งประเทศไทย
  • Get It Beauty Thailand วาไรตี้ความงามชื่อดังจากเกาหลีส่งตรงถึงไทย
  • Super 100 อัจฉริยะเกินร้อย ของ พี่ซุปวิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ
  • รายการบางกอกลืมบอกแม่ มีรูปโปรโมตเป็นรูปซีศิวัฒน์และชินชินวุฒ
  • การถ่ายทอดสดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก 2019
  • 10FIGHT10 สิบสู้สิบ ซุปเปอร์สตาร์ท้าชก
  • The Rapper ซีซัน 2

เป็นที่น่าสังเกตว่า รายการใหม่ๆ ที่เวิร์คพอยท์เริ่มโปรโมตนี้ ไม่มีรายการประเภทร้องเพลงใหม่ๆ เลย หลังจากที่เวิร์คพอยท์จัดรายการประเภทร้องเพลงลงผังในปีที่แล้วจำนวนมาก แต่ยังไม่มีรายการใหม่ๆ รายการใดประสบความสำเร็จเท่ากับรายการหลักของช่อง คือรายการตระกูลไมค์, I Can See Your Voice และ The Mask Singer Line Thai.

]]>
1205978