ais 5G – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 18 Jul 2023 07:50:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะลึกโปรเจกต์ ‘Horrus’ โดรน 5G อัจฉริยะที่เกิดจากผนึกกำลังของ AIS และ ARV https://positioningmag.com/1438053 Wed, 19 Jul 2023 04:00:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438053

เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักกับ โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ (UAV : Unmanned Aerial Vehicle) และน่าจะรู้ถึงข้อจำกัดที่โดรนต้องมีคนบังคับ แต่ล่าสุดข้อจำกัดดังกล่าวได้ถูกปลดล็อคแล้ว พร้อมยกระดับความสามารถไปอีกขั้นสู่ 5G AI Autonomous Drone ที่เกิดจากความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่าง AIS 5G กับกลุ่ม ปตท. ผ่านการทำงานกับบริษัท ARV ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย


พัฒนากว่า 3 ปี สู่ 5G AI Autonomous Drone System

หลายคนน่าจะรู้จักกับ วังจันทร์วัลเลย์ ฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ที่เป็นพื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอากาศยานไร้คนขับ, ยานยนต์อัตโนมัติ, นวัตกรรมพลังงาน และด้านคลื่นความถี่พิเศษ

โดยนับตั้งแต่ปี 2561 เอไอเอส ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ในการนำ 5G และดิจิตัลแพลตฟอร์มมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ และล่าสุด AIS ได้ร่วมกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. พัฒนา 5G AI Autonomous Drone System โดยใช้ชื่อว่า Horrus ที่พัฒนาโดยคนไทยทั้งหมด

“เทคโนโลยี 5G ไม่ใช่ประโยชน์พื้นฐานของผู้บริโภคเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมมาก 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และเป็นตัวเชื่อมของทุกเทคโนโลยีบนโลกนี้ โดยในพื้นที่โซนภาคตะวันออกซึ่งครอบคลุมพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี (EEC) รวมถึงพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ AIS 5G ได้ ครอบคลุมแล้ว 100% และครอบคลุมประเทศไทยแล้ว 87%” ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าว


5G ช่วยอัพเกรดการใช้งานโดรนไปอีกขั้น

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย เล่าว่า โจทย์ของการพัฒนา Horrus คือ การบินได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้มนุษย์มาบังคับ แต่การจะทำได้นั้นจำเป็นต้องใช้ เซลลูลาร์โดรน (Cellular Drone) เนื่องจากต้องใช้ แบนด์วิดท์ที่สูง และ ความหน่วงต่ำ เพื่อให้ตอบสนองแบบเรียลไทม์ มีระยะครอบคลุมเส้นทางการบินให้มีความเสถียรและปลอดภัย สามารถรับ-ส่งต่อข้อมูลทั้งภาพ เสียง และวิดีโอ กลับมายังศูนย์ควบคุมได้แบบรวดเร็วและเรียลไทม์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยี 5G ถูกนำเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโดรนให้ตอบโจทย์การใช้งาน

ดังนั้น ทีมวิศวกรของ AIS จะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ อาทิ การออกแบบ Network Architecture หรือ สถาปัตยกรรมโครงข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่น 2600 MHz โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี Autonomous Network ซึ่งมีความอัจฉริยะในการจัดการและดูแลระบบได้ด้วยตัวเอง, การใช้ Network Slicing เพื่อตอบสนองแอปพลิเคชันที่ต้องการคุณสมบัติทางเครือข่ายที่แตกต่างกัน รวมถึงบริการ MEC (Multi-access EDGE Computing) และ PARAGON Platform เพื่อรองรับการบริหารจัดการ และพัฒนาโซลูชันที่ต้องการความหน่วงต่ำ

“ข้อจำกัดทางเทคโนโลยีโดรน คือ ต้องมีคนบังคับโดรน แบบ Line of sight หรือ ต้องคือต้องบินโดรนอยู่ในระยะสายตาของผู้บังคับโดรนเท่านั้น  ดังนั้น เราจึงต้องการทำให้เหนือกว่านั้น โดยใช้เซลูลาร์โดรน จากตอนแรกเราต้องติดมือถือไปกับโดรน แต่ตอนนี้เพียงแค่ใส่ซิม โดรนก็สามารถทำงานได้เลย”


เริ่มทดลองใช้จริงกับการก่อสร้างและการจราจร

ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ในเครือ ปตท. สผ. อธิบายว่า ด้วยเทคโนโลยี 5G และ Network Slicing จะช่วยเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล ลดความหน่วงในการสั่งการควบคุมโดรน มีความเสถียรมากกว่าสัญญาณวิทยุและ Wifi จึงทำให้ Horrus สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัย และเป็นระบบอัตโนมัติตามเวลาและเส้นทางการบินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติและส่งแจ้งเตือนกลับมาที่ศูนย์ควบคุมได้แบบเรียลไทม์

ที่ผ่านมาบริษัท ARV ได้เริ่มมีการทดลองใช้ Horrus ในการ ติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้าง โดย Horrus จะเก็บข้อมูลภาพเพื่อมาทำการเทียบกับข้อมูลก่อนหน้าเพื่อตรวจสอบความคืบหน้า นอกจากนี้ ได้มีการร่วมกับ กรมทางหลวง ในการใช้ Horrus สำรวจข้อมูลสภาพการจราจรและรายงานอุบัติเหตุต่าง ๆ ในช่วงเทศกาล นอกจากนี้ในอนาคตยังสามารถนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกมากมาย

“ด้วยเครือข่าย 5G ทำให้ Horrus สามารถบินไกลกว่าการใช้สัญญาณวิทยุทั่วไป ช่วยให้สามารถบินได้หลายครั้ง และบินพร้อมกันได้หลายลำ ไม่ว่าจะอยู่กรุงเทพหรือที่ไหนก็สามารถสั่งงานได้ โดย Horrus จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีข้อจำกัด อาทิ การใช้โดรนตรวจสอบการทำงานในพื้นที่โรงงาน, การสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ในธุรกิจของกลุ่ม ปตท.” ดร.ธนา กล่าว


เชื่อ 5G จะช่วยพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ทิ้งท้ายว่า ความร่วมมือกับบริษัท ARV แสดงให้เห็นถึงภารกิจของ AIS ที่ต้องการนำนวัตกรรมมาเสริมสร้างและพัฒนา พร้อมขับเคลื่อน Digital Economy ของไทย ผ่านการเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรต่าง ๆ และ Use case ซึ่งการใช้ 5G ยกระดับโดรน เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความเป็นไปได้ในการใช้โดรนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

“เรามองว่าสิ่งที่เราทำเป็นแค่ 10% ของโซลูชันที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีในอนาคต ดังนั้น ต้องจับตาดูถึงความร่วมมือใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามวิสัยทัศน์ของ AIS ที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ รองรับการเติบโตของภาคอุตสหกรรมในอนาคต” ธนพงษ์ ย้ำ

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : [email protected]
Website : https://business.ais.co.th

 

 

]]>
1438053
AIS จับมือ ZTE เปิดตัว A-Z Center ศูนย์นวัตกรรม 5G ขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ในไทย https://positioningmag.com/1401891 Tue, 27 Sep 2022 16:19:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401891 AIS จับมือ ZTE เปิดตัว A-Z Center ศูนย์นวัตกรรม 5G ในไทย วางเป้าส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล พัฒนาโซลูชันสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าที่จะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการพัฒนาในด้านนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจาก 5G

สำหรับศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center ที่ AIS และ ZTE ร่วมมือกัน ทั้ง 2 ฝ่ายนั้นมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพของประเทศไทยให้เดินหน้าไปอีกขั้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ที่เริ่มทำ Digital Transformation เพื่อเสริมประสิทธิภาพและยกระดับการบริหารจัดการ อันจะส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS ความร่วมมือกับ ZTE นั้นจะช่วยในหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นการยกระดับโครงข่าย 5G ของไทยมีมาตรฐานระดับโลก การพัฒนาโซลูชันเพื่อภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ภาคประชาชน รวมถึงการส่งต่อบริการ 5G เพื่อประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย

สวี จือหยาง ประธานกรรมการบริหารของ ZTE Corporation ได้กล่าวถึงความร่วมมือนี้ว่า ในฐานะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสู่การจัดตั้ง A-Z Center นั้นจะสามารถนำเสนอนวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะยิ่งการนำเอาโครงข่าย 5G มาวางรากฐานด้านการวิจัยและพัฒนาจะทำให้เกิด Use Case ใหม่ๆ ในอนาคตที่พร้อมรองรับทั้งความต้องการของลูกค้าและการเพิ่มโอกาสให้กับภาคธุรกิจ

ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center นั้นจะเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและโซลูชันที่ครบถ้วนที่สุดเพื่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มาพร้อมกับเทคโนโลยีเครือข่ายต้นแบบ 5G ไม่ว่าจะเป็น

  • Next Generation Products for 5G Capability Growth เทคโนโลยีเครือข่ายที่พร้อมรองรับ 5G เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ AIS ร่วมพัฒนากับ ZTE ที่สนับสนุนคลื่นความถี่ที่ใช้งานในประเทศไทย เช่น คลื่น 2.6GHz  และอุปกรณ์โทรคมนาคมเหล่านี้ยังลดการใช้พลังงานลง เนื่องจากมีการใช้ชิปหรือเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานต่ำ
  • 5G Use Cases  ซึ่งเป็นการจำลองนำเทคโนโลยี 5G มาใช้งานจริงๆ เช่น รถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติที่สามารถใส่ซิมการ์ด 5G ได้ทันที ไปจนถึงระบบ Holographic ที่สามารถนำมาใช้ในการประชุมทางไกลได้ รวมถึง Metaverse รวมถึง AR/VR ที่มีการใช้งานแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ เป็นต้น
  • Diversified 5G Terminal Devices ความร่วมมือของ AIS และ ZTE นั้นได้ผลิตสมาร์ทโฟน 5G ราคาจับต้องได้ ซึ่งถือว่าถูกที่สุดในประเทศไทย โดยคาดว่าจะเปิดตัวได้ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้

ก่อนหน้านี้ความร่วมมือของทั้ง 2 องค์กรนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตัว Router สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบ้านของ AIS หรือแม้แต่การพัฒนาในภาคส่วนอื่นๆ ก่อนที่จะมีความร่วมมือครั้งใหม่ในการเปิดศูนย์นวัตกรรมครั้งนี้

]]>
1401891
ถอด 5 กลยุทธ์ ‘AIS Business’ ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Cognitive Telco’ สู่การเป็น Growth Engine ใหม่ขององค์กร https://positioningmag.com/1382999 Wed, 27 Apr 2022 08:00:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382999

เป็นเวลา 31 ปีแล้วที่ ‘เอไอเอส’ (AIS) อยู่คู่กับองค์กรธุรกิจไทย จากที่ช่วงแรกให้บริการเฉพาะด้านโมบายมาสู่ดิจิทัลเซอร์วิส ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์, GPS Tracing, โซลูชั่น IoT, 5G จนมาสู่ยุคของ AI, Machine Learning และ Metaverse ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี Positioningmag จะพาไปเจาะลึกกลยุทธ์ในฝั่งของ เอไอเอส บิสซิเนส (AIS Business) ที่ต้องปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง รวมถึงวิสัยทัศน์ใหม่ ‘Cognitive Telco’


จากปั้น Infra สู่ Vertical Solutions

ในแต่ละปีเอไอเอสใช้เงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานปีละกว่า 30,000-35,000 ล้านบาท จนปัจจุบัน เอไอเอสมีสถานีฐาน AIS 5G กว่า 19,000 สถานีฐานครอบคลุม 76% ของประชากรทั่วประเทศ และในพื้นกรุงเทพฯ ปริมณฑล สามารถครอบคลุมถึง 99% ส่วนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ครอบคลุมถึง 90%

สำหรับปีนี้ เอไอเอสตั้งเป้าจะขยายสัญญาณ 5G ให้ครอบคลุมประชาชนคนไทยให้ได้ 85% และเมื่อสัญญาณ 5G เริ่มครอบคลุมการใช้งานแล้ว AIS Business จะเริ่มเน้นที่ 5G Vertical Solutions หรือการพัฒนา 5G ในแนวดิ่ง เป็นการใช้ 5G เจาะลงลึกเฉพาะอุตสาหกรรมนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ในการทำ Digitization อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยี AR, VR, Data Solutions เป็นต้น


5 กลยุทธ์รับวิสัยทัศน์ Cognitive Telco

ในส่วนกลยุทธ์ของ AIS Business ปีนี้จะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ Cognitive Telco หรือการขยับขึ้นไปเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ โดยจะประกอบไปด้วย 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

1.เชื่อมต่อ 5G Ecosystem ในการเชื่อมต่อโครงข่าย AIS 5G ที่เปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ ให้สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้การดึงศักยภาพของเทคโนโลยีร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้เกิดอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์

2.ยกระดับการทำงานของโครงข่ายด้วย Intelligent Network จากปริมาณความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่างประเทศในช่วงปีที่ผ่านมา ที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 50% ด้วยการเป็นผู้ให้บริการด้านการเชื่อมต่อที่ครบวงจรทั้งเครือข่ายใยแก้วนำแสง และเครือข่ายไร้สายสำหรับลูกค้าองค์กร

3.มุ่งเสริมความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์ม ด้วยการขยายผลในฐานะผู้ให้บริการด้านดิจิทัลแพลตฟอร์มด้าน CCII ที่ครอบคลุม เทคโนโลยีที่ครบครัน ทั้งโซลูชันคลาวด์ (Cloud) บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) บริการ IoT (Internet of Things) และบริการด้านไอซีทีโซลูชัน (ICT Solution)

4.เสริมอาวุธด้านการตลาด และเพิ่มโอกาสการเติบโตด้วย Business Big Data การนำประสบการณ์ด้านงานดูแลลูกค้าทั่วไป เพื่อสร้างโอกาสทางการแข่งขัน รวมถึงอาวุธใหม่ๆ สำหรับการสื่อสารทางการตลาดที่จะสร้างยอดขายและการเติบโตได้มากยิ่งขึ้น

5.ส่งมอบบริการด้วยทีมงานมืออาชีพ จากการที่มีซีเอส ล็อกซอินโฟ หรือ CSL เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ทำให้วันนี้ เอไอเอส บิสสิเนส เป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวในตลาดที่มีความพร้อมสูงสุด มีบุคลากรในสายงาน ICT ที่เชี่ยวชาญและรอบด้าน ทำให้การส่งมอบบริการเพื่อตอบโจทย์องค์กรธุรกิจมีความต่อเนื่อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การให้คำปรึกษา ประเมิน ติดตั้ง บริหารโครงการ และบริการหลังการขายอย่างมืออาชีพ

“นอกจากขยายการลงทุนเรื่อง 5G และหาพาร์ทเนอร์เพิ่มเติมแล้ว จะเห็นว่าเราเน้นเรื่องดาต้า เอไอ เรื่องอินเทลลิเจนท์เน็ตเวิร์ก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้พัฒนาไปตลอดเวลา ที่สำคัญคือคนไอที โดยเราตั้งเป้าเพิ่มอีก 3 เท่าเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับความต้องการลูกค้า” ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าว


โอกาสมีสูง ความท้าทายยิ่งสูงตาม

การระบาดของ COVID-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้องค์กรเริ่มเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ดังนั้น จะเห็นว่าทุกอุตสาหกรรมตื่นตัวมาใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะในกลุ่ม Healthcare, Retail, Transportation และ Manufacturing ด้วยความต้องการที่มีมาก สิ่งที่ตามมาคือ การแข่งขันโดนเฉพาะเรื่องของ ราคา

อย่างไรก็ตาม เอไอเอสมองว่าการแข่งขันในด้านราคานั้น ไม่ยั่งยืน ดังนั้น วิสัยทัศน์ของเอไอเอสคือต้องการเป็น Part of Success โดยจะเน้นสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ออกมาเพื่อรองรับความต้องการลูกค้า โดยปีนี้เอไอเอสมั่นใจว่าจะมียูสเคสใหม่ ๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นตลาด

“ลูกค้าต้องการโฟกัสที่ธุรกิจหลัก ไม่ได้อยากเก่งเรื่องเทคโนโลยี เขาต้องการพาร์ทเนอร์ที่ให้คำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีได้ ซึ่งความท้าทายตอนนี้คือ ลูกค้ามีความคาดหวังมากขึ้น ต้องการโซลูชั่นที่ยากมากขึ้น แน่นอนว่าสงครามราคามันมี แต่ไม่ใช่ทุกอย่างของการแข่งขัน สุดท้ายมันคือเรื่องของเซอร์วิส”


ตั้งเป้าโต 2 หลัก ขึ้นแท่น Growth Engine ของ AIS

AIS Business มีลูกค้าในกลุ่มองค์กรใหญ่กว่า 60% และ SME กว่า 40% โดยปีที่ผ่านมา AIS Business เติบโตได้ 16% ทำรายได้ 5,291 ล้านบาท สูงกว่าตลาดที่เติบโต 10% และเมื่อรวมกับรายได้จากองค์กรธุรกิจในฝั่งโมบายแล้วจะคิดเป็นสัดส่วนรายได้ราว 10-12% โดยในปีนี้ คาดว่าจะสามารถเติบโตได้ในอัตรา 2 หลัก

“แม้การเป็น Growth Engine มาพร้อมความคาดหวังที่สูง แต่การเติบโตในปีที่ผ่านมาถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าเรามาถูกทางแล้ว และเรามีโอกาสที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดด แม้ AIS Business จะมีหลายบทบาทแล้วแต่มุมมองของลูกค้า แต่เรามองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เขาเติบโตได้ เปรียบเสมือนอะไหล่รถที่ให้เขาวิ่งได้”

 

]]>
1382999
เมื่อโครงสร้างตลาด “ค่ายมือถือ” เปลี่ยนไป ต้องใช้ปัจจัยอะไรบ้างที่วัดความเป็นผู้นำ https://positioningmag.com/1368471 Tue, 28 Dec 2021 10:00:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368471

กลายเป็นประเด็นร้อนแรงอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีข่าวเรื่องการควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการระหว่าง True และ dtac เมื่อนำตัวเลขผู้ใช้ 2 รายมารวมกันจะอยู่ที่ 51.3 ล้านเลขหมาย หลายคนประเมินว่าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดทันทีแซงหน้า AIS ที่มีผู้ใช้งาน 43.7 ล้านเลขหมาย


แค่ยอดผู้ใช้ การันตีผู้นำไม่ได้

ต้องบอกว่าประเด็นนี้ได้สร้างความสับสนแก่ผู้บริโภคพอสมควร ซึ่งถ้าดูในแง่ตัวเลขผู้ใช้อย่างเดียวก็คงใช่ สามารถบอกได้ว่าหลังทั้ง True รวมร่าง dtac แล้วจะกลายเป็นค่ายที่มีผู้ใช้งานเยอะที่สุด แต่ก็ต้องบอกว่าการที่จะบอกว่าใครเป็นผู้นำในตลาดนี้จะดูแค่ยอดผู้ใช้งานอย่างเดียวไม่พอ เพราะมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย อย่างอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่สินค้าอุปโภคบริโภค ก็ต่างวัดการเป็นเบอร์ 1 ในตลาดด้วยรายได้ ใครขายได้มากกว่าก็มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า เพราะฉะนั้นยังมีปัจจัยที่วัด Performance ของบริษัทอีกมากมาย เช่น Market Cap,รายได้, กำไร, เงินลงทุน รวมไปความแข็งแกร่งทางการเงินในเรื่องอื่นๆ

และที่สำคัญที่สุดคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ “แบรนด์ดิ้ง” การที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งจะเป็นเบอร์ 1 ในตลาด ย่อมเป็น “แบรนด์เลิฟ” ที่ลูกค้าให้ความเชื่อมั่น และเทใจให้สมกับเป็นเบอร์ 1 นั่นเอง

เมื่อเทียบผลการดำเนินงานของทั้ง 3 ค่าย พบว่า AIS ยังครองความเหนือกว่าในทุกมิติ แม้ 2 ค่ายควบรวมกันแล้ว AIS ก็ยังมีมูลค่าบริษัทมากกว่าถึง 2.4 เท่า รวมไปถึงกำไรสุทธิก็ยังทิ้งห่าง ปริมาณคลื่นความถี่ก็มากกว่า โดยที่ AIS มีคลื่นความถี่รวม 1450 MHz ส่วนทั้ง 2 ค่ายจะมีคลื่นความถี่รวม 1350 MHz

เทียบฟอร์มผลดำเนินการของโอเปอเรเตอร์ 3 ค่าย

 

Performance AIS TRUE dtac T+D
Market Cap
(ณ วันที่17 ธ.ค. 2564)
621,536 ล้านบาท 154,161ล้านบาท 106,551 ล้านบาท 260,712 ล้านบาท
รายได้รวม9 เดือนของปี 2564 132,020 ล้านบาท 103,177 ล้านบาท 59,855 ล้านบาท 163,032 ล้านบาท
กำไรสุทธิ9 เดือนของปี 2564 20,059 ล้านบาท – 1,483 ล้านบาท 3,185 ล้านบาท 1,702 ล้านบาท
งบประมาณการลงทุนของปี 2564(ไม่รวมคลื่นความถี่) 25,000-30,000 ล้านบาท N/A 13,000-15,000 ล้านบาท N/A
จำนวนคลื่นความถี่รวม คลื่น 700 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 40 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 60 MHz
คลื่น 2600 MHz จำนวน 100 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 1200 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1450 MHz
คลื่น 700 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 850 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2600 MHz จำนวน 90 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 800 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1020 MHz
คลื่น 700 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 10 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2300 MHz จำนวน 60 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 200 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 330 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1350 MHz
ค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ทั้งหมด กว่า 200,000 ล้านบาท 170,000 ล้านบาท 83,000 ล้านบาท กว่า 250,000 ล้านบาท

 

แสดงให้เห็นว่าถ้าเกิดกระบวนการควบรวมเสร็จสิ้นกันแล้วจริงๆ ทั้ง 2 ค่ายรวมร่างกันอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ใช้ที่ผนวกรวมกันเป็น 51.3 ล้านเลขหมาย ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ว่าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 แซงหน้า AIS ในทันที ขนาดที่ “ซิคเว่ เบรคเก้”ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ ได้กล่าวในงานแถลงข่าวถึงการควบรวมว่า

“บริษัทใหม่นี้จะมีรายได้กว่า 2 แสนล้านบาทมีส่วนแบ่งตลาดในแง่รายได้ราว 40% โดย AIS จะยังเป็นพี่ใหญ่ให้ทั้ง 2 บริษัท และเราก็ยังต้องเรียนรู้จาก AIS”


เหนือกว่ามูลค่า คือวิสัยทัศน์

นอกจากเรื่องของตัวเลขมูลค่าบริษัทที่สามารถบ่งบอกความเป็นผู้นำได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนมากกว่าก็คือ “วิสัยทัศน์” ของผู้นำนั่นเอง แน่นอนว่าหลายปีที่ผ่านมาการแข่งขันในตลาดดุเดือดมากแค่ไหน ผู้เล่นในตลาดต่างอัดงบลงทุนทั้งในเรื่องบริการ และการประมูลคลื่นอย่างหนักหน่วง เพื่อนำมาพัฒนาเครือข่ายให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด

AIS เองได้มองเห็นเทรนด์ และทรานส์ฟอร์มตัวเองสู่ความเป็น Digital Service Provider มาหลายปีแล้ว ไม่หยุดแค่การเป็นโอเปอเรเตอร์เครือข่ายมือถือ ในแต่ละปีได้อัดงบลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เทคโนโลยีขับเคลื่อนทุกภาคส่วน ทุกอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนประเทศ เห็นได้จากการเปิดตัวพาร์ทเนอร์อย่างไม่หยุดยั้ง ในปีนี้ AIS ได้ใช้งบลงทุนถึง 30,000 ล้าน เพื่อพัฒนาเครือข่าย และบริการให้ดีที่สุด

ต้องบอกว่าในประเทศไทยโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีคือสิ่งที่จำเป็นต่อการเติบโตในอนาคต ยังสร้างมูลค่าได้อีกมหาศาล ยังมีโอกาสที่ช่วยเสริมศักยภาพของภาคส่วนต่างๆ หรือแม้แต่การยกระดับประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในอนาคต

เป็นมุมมองที่กลับด้านกับนายใหญ่ของค่าย True ศุภชัยเจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ได้บอกว่า

“เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของสนามการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตอนนี้อยู่ในจุดที่เพิ่มมูลค่าได้น้อยมาก ทรู และดีแทคมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจเพราะเรายังคงเป็นผู้ประกอบการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมเป็นหลักเราไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้บริโภค และประเทศไทยได้ ดังนั้นบทบาทใหม่ของเราคือการเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์ในการสร้างเทคโนโลยีให้กับไทย”


แบรนด์ดิ้งชัด สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค

แต่เดิมตลาดโอเปอเรเตอร์มีการแข่งขันของ 3 ค่ายอย่างชัดเจน แต่ละค่ายมี Identity ที่แตกต่างกัน มีการอัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า มีโปรแกรม CRM เพื่อรักษาลูกค้าให้เหนียวแน่น รวมไปถึงในเรื่องของการสร้างแบรนด์ การมีพรีเซ็นเตอร์เบอร์ใหญ่ ก็ยิ่งช่วยทำให้แบรนด์แข็งแรงขึ้น

การทำการตลาดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ให้ดียิ่งขึ้น แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถการันตีความสำเร็จในเรื่องการดำเนินงานได้อย่างดีก็คือรางวัลต่างๆ ที่ผ่านมา AIS ได้กวาดรางวัลอย่างต่อเนื่อง เช่น รางวัล “เครือข่ายมือถือ AIS 5G ที่เร็วที่สุดในไทย” 6 ปีซ้อน จาก Ookla®


AIS ไม่อยู่เฉย อัดโปรดึงลูกค้า

แน่นอนว่าทันทีที่ข่าวการควบรวมเป็นที่แน่ชัดแล้ว ทาง AIS ได้เทคแอคชั่นอย่างทันท่วงที ไม่ยอมเสียฐานลูกค้า และรีบหาลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาอยู่ในครอบครัว เรียกว่าเป็นโอกาสในวิกฤตนี้ก็ว่าได้ เพราะหลังจากข่าวนี้เริ่มมีเสียงแตกที่ว่า ถ้ามีการควบรวมกันจริงๆ ลูกค้า dtac บางคนอาจจะ “ย้ายค่าย”ก็เป็นได้ สะท้อนให้เห็นถึงแบรนด์ดิ้งได้อย่างชัดเจน

AIS ไม่รอช้าที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคด้วยการใช้จุดแข็งของจำนวนคลื่นความถี่ที่มีมากที่สุดพร้อมทั้งขยี้ด้วยแคมเปญ “อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด”

โดย AIS ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่กวาดเอาศิลปิน ดาราตัวท็อปมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้มากเบอร์ต้นๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็น แต้ว ณฐพร, เต้ย จรินทร์พร, เจมส์ จิรายุ, เป๊ก ผลิตโชค, เวียร์ ศุกลวัฒน์, เบลล่า ราณี, น้องเทนนิส, แบมแบม กันต์พิมุกต์, ลิซ่า ลลิษา และ BNK48 เรียกว่าใครที่มีกระแสในช่วงนั้น AIS ไม่รอช้าที่จะคว้าตัวมาอยู่ในครอบครัวเดียวกันในทันที AIS ได้ปล่อยภาพเหล่าพรีเซ็นเตอร์เพื่อสื่อสารถึงความเป็น เบอร์ 1 เผยแพร่ลงในโซเชียลทุกช่องทาง โดยในทวิตเตอร์ก็ขึ้นเทรนด์เป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว

ในแคมเปญนี้ไม่ใช่แค่ย้ำว่า อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด แต่ถ้าย้ายมาอยู่ด้วยกันมันก็จะดียิ่งกว่า AIS จึงอัดโปรย้ายค่าย โดยโปร 4G มีส่วนลด 50% แถมใช้ฟรี 1 เดือน ส่วนโปร 5G ลด 25%

การควบรวมกันของ True และ dtac เป็นเพียงแค่ทางลัดที่ช่วยให้ยอดรวมผู้ใช้งานไล่ตาม AIS ได้ทันจนขึ้นแซงหน้า แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน จะเห็นได้ว่า การเป็นผู้นำในตลาดยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่สั่งสมมา จึงตอบคำถามที่ว่า แม้ยอดผู้ใช้จะมากว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเบอร์ 1 เสมอไป

]]>
1368471
พี่ก้อนบุกโลกเสมือนจริง! “บาร์บีคิวพลาซ่า” เปิดร้านบน V-Avenue ดันรายได้เดลิเวอรี่ https://positioningmag.com/1350002 Thu, 02 Sep 2021 10:32:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350002 “บาร์บีคิวพลาซ่า” ทำการตลาดแนวใหม่ เปิดร้านอาหารเสมือนจริงบนแพลตฟอร์ม V-Avenue powered by AIS 5G เน้นเปิดประสบการณ์ใหม่ หาลูกค้ากลุ่มใหม่ ดันยอดสั่งเดลิเวอรี่ควบคู่ยอดขายนั่งทานในร้าน เผยยอดขายวันแรกหลังคลายล็อกดาวน์กลับมา 90% ของช่วงก่อน COVID-19

บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร ฟู้ดแพชชั่น แนะนำแคมเปญใหม่ของร้าน “บาร์บีคิวพลาซ่า” เปิดร้านแบบเสมือนจริงหรือ “Virtual Restaurant” บนแพลตฟอร์ม “V-Avenue powered by AIS 5G”

V-Avenue นั้นเป็นแพลตฟอร์มศูนย์การค้าเสมือนจริง โดยตัวอาคารและร้านค้าภายในจะเป็นรูปแบบ 3D สามารถคลิกเข้าไปในร้านต่างๆ เลือกดูสินค้าในร้านได้ และสั่งซื้อแบบออนไลน์ ปัจจุบันมีอยู่แล้วหลายร้าน เช่น เดอะมอลล์ กรุ๊ป, ทีวีไดเร็ค, Loft, JungSaemMool, ALAND ล่าสุดเพิ่งเปิดตัว CMG ในเครือเซ็นทรัล และ RS Mall

V-Avenue

สำหรับร้านบาร์บีคิวพลาซ่าแบบเสมือนจริงเป็นร้านอาหารร้านแรกใน V-Avenue เมื่อลูกค้าเข้าไปในร้านจะพบ “บูธสั่งอาหารเดลิเวอรี่” ของบาร์บีคิวพลาซ่า มีเมนูสั่งชุดหมูกะทะขึ้นมาให้กดสั่งได้เลย และมีบูธของฌานาและโภชาที่จะลิงก์มายังหน้าเพจ Facebook ของร้าน

โดยฟู้ดแพชชั่นมีโปรโมชันพิเศษสำหรับลูกค้า AIS ที่สั่งผ่าน V-Avenue คือ สั่งครบ 750 บาทขึ้นไปรับส่วนลด 100 บาท สิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย. 64

ภายในร้านบาร์บีคิวพลาซ่าแบบเสมือนจริง

ศิวลี บูรณสงคราม หัวหน้าแผนกงานบริหารแบรนด์ AIS ระบุว่า V-Avenue เปิดตัวมาแล้วกว่า 3 เดือน มีลูกค้าเข้ามาทดลองใช้สะสม 3 ล้านราย จากลูกค้าทั้งหมด 43.2 ล้านเลขหมาย โดย AIS พัฒนาแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าคุ้นชินกับเทคโนโลยีใหม่ ส่วนยอดขายผ่าน V-Avenue ถ้าวัดเฉพาะ AIS Shop ซึ่งจัดโปรฯ แรง ทำให้มียอดขายดีกว่าร้านออนไลน์ของบริษัทบนแพลตฟอร์มอื่น 4-5 เท่า

บุญย์ญานุชกล่าวว่า ตัดสินใจร่วมแคมเปญกับ AIS เพราะต้องการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ลูกค้า และ AIS มีฐานลูกค้าคุณภาพที่อาจจะยังไม่เคยสั่งเดลิเวอรีกับบาร์บีคิวพลาซ่า ซึ่งร้านต้องการกลุ่มลูกค้าใหม่เหล่านี้ รวมถึงต้องการจะเป็นพันธมิตรระยะยาวกับ AIS อนาคตอาจมีแคมเปญร่วมกันอีกในแบรนด์อื่นๆ ของฟู้ดแพชชั่น

 

วันแรกคลายล็อกดาวน์ ยอดขายดีดกลับมา 90%

ด้านสถานการณ์ตลาดร้านอาหารหลังภาครัฐคลายล็อกดาวน์ อนุญาตให้นั่งทานในร้านเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2564 บุญย์ญานุชระบุว่า บริษัทมีสาขาที่กลับมาเปิดบริการแล้ว 90% ของสาขาทั้งหมด และวันแรกของ “บาร์บีคิวพลาซ่า” ได้รับการตอบรับล้นหลาม มียอดขายคิดเป็น 90% เทียบกับก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

ทั้งนี้ มองว่าเกิดจากร้านอาหารลักษณะปิ้งย่างทำเองแบบนี้ ลูกค้ามักจะโหยหามาก เทียบกับร้านอาหารแบบอื่นๆ จากที่ได้พูดคุยกับเพื่อนผู้ประกอบการ มีลูกค้ากลับมา 50-60% ของยอดขายก่อนเกิด COVID-19 แต่คาดว่าในวันเสาร์-อาทิตย์แรกหลังคลายล็อกดาวน์น่าจะคึกคักยิ่งขึ้น

แม้ว่าภาครัฐจะปลดล็อกแล้ว แต่บุญย์ญานุชมองว่าเดลิเวอรี่จะยังสำคัญกับเครือ เพราะลูกค้าบางกลุ่มก็ยังไม่พร้อมที่จะกลับมาทานอาหารที่ร้าน รวมถึงการโปรโมตเรื่องบริการยืม-คืนกระทะกับบาร์บีคิวพลาซ่าก็เข้าถึงลูกค้าไปมากแล้ว จึงมองว่าการใช้ V-Avenue เป็นช่องทางผลักดันเรื่องเดลิเวอรีเป็นทิศทางที่เหมาะสม

 

ยอมรับตกเป้ารายได้ แต่ฮึดสู้เพื่อไม่ให้ขาดทุน

สำหรับรายได้ของทั้งเครือ หลังเผชิญการระบาดจนร้านอาหารต้องปิดหน้าร้าน 2 เดือน ทำให้บริษัทประเมินรายได้ใหม่ จากเดิมมองว่าน่าจะแตะ 2,800 ล้านบาทเท่ากับปีก่อน ขณะนี้คาดว่าน่าจะไม่ได้ตามเป้า แต่จะพยายามดันรายได้ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ เช่น สินค้าขายในไฮเปอร์มาร์เก็ตซึ่งจะจับมือกับผู้ผลิตวัตถุดิบเจ้าหนึ่ง, การเปิดร้าน GON Truck อีก 5-7 สาขาในปั๊มบางจาก, การปัดฝุ่นร้าน เรดซัน กลับมาลุยตลาดอาหารเกาหลี เป็นต้น

บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร ฟู้ดแพชชั่น

ควบคู่กันไป บริษัทยังคงเดินหน้าตัดรายจ่ายให้มากที่สุด เพื่อให้บริษัทยังมีกำไรสิ้นปี แม้ว่าปัจจุบันจะต้องแบกรับภาระมากขึ้นจากมาตรการทางสาธารณสุข ทำให้บริษัทต้องให้พนักงานตรวจเชื้อด้วย Antigen Test Kit (ATK) เป็นประจำ ขณะนี้กำลังมุ่งเป้าหาซัพพลายเออร์ ATK ในราคาถูกอยู่เพื่อควบคุมต้นทุน

นอกจากรายได้ของบาร์บีคิวพลาซ่าจะลดลง คาดว่าตลาดร้านอาหารปิ้งย่างโดยรวมน่าจะลดลงด้วย โดยน่าจะจบปีที่ 3,500 ล้านบาทเท่านั้น เทียบกับปี 2562 ที่ขึ้นไปแตะ 6,600 ล้านบาท (คิดเฉพาะร้านประเภทเชนที่มีหลายสาขา)

บุญย์ญานุชกล่าวด้วยว่า เชื่อว่าหลังจากนี้เชนร้านอาหารจะแข่งกันจัดโปรโมชันเพื่อเรียกลูกค้ามาที่ร้าน เพราะความไม่แน่นอนที่ไม่รู้ว่าจะถูกสั่งปิดร้านอาหารอีกหรือไม่และเมื่อไหร่ ทำให้ทุกคนต้องดันยอดขายให้ได้มากที่สุดในช่วงที่ยังเปิดได้

]]>
1350002
ส่องแผน ‘อู่ตะเภา’ นำ 5G ดันสนามบินอัจฉริยะ ดึงดูดลงทุน-ท่องเที่ยวอีอีซี https://positioningmag.com/1293970 Tue, 25 Aug 2020 10:00:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293970

เป็นเวลากว่า 30 ปีเลยทีเดียว ที่ประเทศไทยมีแผนการพัฒนาพื้นที่ EEC (Eastern Economic Corridor) หรือพื้นที่ฝั่งตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี, ระยอง และ ฉะเชิงเทรา เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากชาติต่าง ๆ มาลงที่ไทย เพราะ EEC เป็นหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของระบบนิคมอุตสาหกรรม สามารถเชื่อมต่อระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย เกาหลี และญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมก็คือ โครงการสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเขต EEC ที่เปรียบเสมือนประตูสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โดย พลเรือโท กฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา ได้อธิบายว่า รัฐบาลมีภารกิจในการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ เพราะไม่ใช่แค่เปรียบเสมือนประตูสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แต่ยังเป็นศูนย์กลางของ มหานครการบินภาคตะวันออก อีกทั้งสามารถต่อยอดเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation ได้อีกด้วย แต่การจะไปถึงจุดนั้น หนึ่งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ก็คือ ‘เทคโนโลยี’

ปัจจุบัน สนามบินอู่ตะเภา มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 6,500 ไร่ มีอาคารพักผู้โดยสารจำนวน 2 อาคาร สามารถรองรับนักเดินทางได้ปีละ 3 ล้านคน มีสายการบินเข้าออก 17 สายการบิน ทั้งนี้ สนามบินอู่ตะเภากำลังก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 เมื่อแล้วเสร็จในปี 2598 จะมีขนาดพื้นที่กว่า 450,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 60 ล้านคนต่อปี โดยภายในอาคารมีแผนติดตั้งระบบอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ทันสมัย

เบื้องต้น สนามบินอู่ตะเภาได้ประกาศความร่วมมือกับ ‘เอไอเอส’ (AIS) ตั้งแต่ปี 2561 ในการร่วมมือกันศึกษาและพัฒนาระบบแอปพลิเคชันและโซลูชันสำหรับสนามบิน และได้ขยายความร่วมมือจนถึงปี 2565 พร้อมกับนำ ‘5G’ เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้ง Indoor และ Outdoor ซึ่งถือว่าสนามบินอู่ตะเภากลายเป็น สนามบินแรกที่ใช้ 5G อย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับบริการที่นำไปเสริมศักยภาพสนามบินอู่ตะเภา ประกอบด้วย

1.Smart Video Analytics Solution ระบบบริหารจัดการอาคารผู้โดยสารด้วยเทคโนโลยีระบบวิเคราะห์และประมวลผลภาพวิดีโออัจฉริยะ โดยประยุกต์ใช้เป็นระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคลและสิ่งของ (Face and Object Recognition) เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เช่น กรณีบุคคลหรือวัตถุต้องสงสัย หรือแจ้งเตือนกรณีมีวัตถุถูกวางทิ้งไว้เป็นเวลานานผิดปกติ

2.แอปพลิเคชัน Thailand Smart Airport สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ด้วยข้อมูลด้านการบินและสนามบินในแอปเดียว อาทิ สถานะตารางการบิน การแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับไฟล์ทเดินทาง แผนที่บอกทางภายในสนามบิน และรายละเอียดจุดบริการต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR)

3.เทคโนโลยี Thermal Scan ที่จะช่วยตรวจวัดอุณหภูมินักท่องเที่ยว และเชื่อมต่อสู่ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสนามบิน

4.หุ่นยนต์ ROBOT FOR CARE (ROC) หุ่นยนต์อัจฉริยะ ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัย AIS Robotic Lab ที่ช่วยคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ ดูแลสุขอนามัยนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการสนามบินได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง ลดการสัมผัสใกล้ชิด และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

5.ติดตั้งเครือข่าย 5G ที่มีความรวดเร็วและมีความเสถียรสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผู้โดยสารและประชาชนภายในสนามบิน ตลอดจนรองรับโซลูชันการให้บริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

6.บริการ Wifi 6 มาตรฐาน WiFi ยุคใหม่ที่มีความเร็วสูงกว่าปกติ 40% พร้อมรองรับการใช้งานมือถือและดีไวซ์ได้จำนวนมาก

แน่นอนว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ยังเป็นแค่ ‘จุดเริ่มต้น’ โดยเอไอเอสและสนามบินอู่ตะเภาได้จัดตั้งทีมพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำงานกันอย่างใกล้ชิด โดยกำลังศึกษาถึง Use Case ใหม่ ๆ เพื่อดูว่าสามารถนำ 5G มาปรับใช้ในภาคส่วนอื่น ๆ ของสนามบินได้อีกบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ระบบการ Check-in อัตโนมัติ, ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ หรือในส่วนการขนส่งสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดินที่ให้การเดินทางในรูปแบบต่างๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง รถบัส แท็กซี่ รวมถึงในส่วนของ ร้านค้าและภัตตาคาร โรงแรม ก็สามารถนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

“เราเชื่อมั่นว่านวัตกรรมต่าง ๆ ที่พัฒนาร่วมกัน จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นมหานครการบินแห่งภูมิภาคอาเซียน ที่จะช่วยดึงดูดนักลงทุน และความเจริญต่าง ๆ เข้ามาในพื้นที่ EEC มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้กลับมาแข็งแกร่งได้อย่างยั่งยืน”

]]>
1293970
เจาะยุทธศาสตร์ ‘AIS eSports’ กับภารกิจดันไทยสู่ Hub ของอาเซียน https://positioningmag.com/1287812 Wed, 15 Jul 2020 10:00:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287812

เป็นที่รู้กันว่า ‘อีสปอร์ต’ (E-Sport) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และแม้ว่าทั่วโลกจะผลกระทบจากวิกฤต Covid-19 แต่อีสปอร์ตกลับเติบโตสวนทาง เพราะนอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ทำยามว่างแล้ว ทัวร์นาเม้นท์การแข่งขันต่าง ๆ ก็สามารถจัดแข่งออนไลน์ได้ต่างจากกีฬาปกติที่ต้องระงับไป ดังนั้น อีสปอร์ตได้ยกระดับเป็นกีฬาและความบันเทิงใหม่ในยุค New Normal และถือส่วนสำคัญที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เพราะแค่ไทยก็มีจำนวน eSports Participants กว่า 4.1 ล้านคน เติบโต 24% และคาดว่าปีนี้จะมีมูลค่าถึง 27,000 ล้านบาท

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส ระบุว่า ก่อนมี Covid-19 อีสปอร์ตก็เติบโต แต่หลังเกิด Covid-19 ยิ่งเติบโต โดยในช่วงล็อกดาวน์เติบโตราว 30-40% เพราะคนมีเวลาในการเล่นและรับชมการแข่งขัน ซึ่งมีการจัดแข่งแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อทดแทนการแข่งขันแบบออฟไลน์ และอีสปอร์ตจะยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนสมาร์ทดีไวซ์และการใช้งานอินเตอร์เน็ต ดังนั้น เชื่อว่าอย่างน้อยอีสปอร์ตจะเติบโตกว่า 30% ต่อปี ซึ่งไทยมีโอกาสเป็นผู้นำหรือ E-Sports Hub ของภูมิภาคอาเซียน

“อีสปอร์ตทั่วโลกเติบโต และไทยมีโอกาสสูงที่จะเป็นผู้นำในภูมิภาค เพราะตอนนี้ Covid-19 มันทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมชะลอการเติบโต แต่อีสปอร์ตยังเติบโตได้ และตอนนี้สังคมเปิดใจยอมรับมากขึ้น เพราะเห็นภาพชัดแล้วว่านี่เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่สร้างการเติบโต และมีศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้ก้าวหน้าได้”

เอไอเอส ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่เห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมอีสปอร์ต โดยได้ลงทุนคอยผลักดันมาโดยตลอด อย่างปีที่ผ่านมาได้จัดงาน Thailand Game Expo by AIS eSports รวมทั้งจัดกิจกรรมและทัวร์นาเมนต์อีสปอร์ตไปแล้วกว่า 20 ครั้ง และยังได้จัดงานดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เอไอเอสก็พร้อมเดินหน้าสานต่อ 4 ยุทธศาสตร์อีสปอร์ต ได้แก่

1.Connect ด้วยเครือข่ายที่แข็งแรงของเอไอเอสไม่ว่าจะเป็น 5G และ AIS Fibre พร้อมสินค้าและบริการที่ออกแบบมาเพื่อหนุนศักยภาพกีฬาอีสปอร์ตโดยเฉพาะ ทั้งแพ็กเกจมือถือ, เน็ตบ้าน, เกมมิ่งโฟน, เทคโนโลยี VR 4K และไอเทมเกม

2.Compete ร่วมมือกับสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย สร้างนักกีฬาอีสปอร์ตรุ่นใหม่ให้กับประเทศ พร้อมจัดการแข่งขันอีสปอร์ตตลอดปี

3.Co-Educate ผนึกมหาวิทยาลัยชั้นไทย ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาอีสปอร์ต ผ่านชมรมอีสปอร์ตของมหาวิทยาลัย พร้อมสนับสนุนโครงข่ายดิจิทัลพื้นฐานหลัก รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใช้จัดการแข่งขันอีสปอร์ตภายในมหาวิทยาลัย

4.Community สร้างสรรค์พื้นที่สำหรับชาวอีสปอร์ต โดยเอไอเอสได้ร่วมกับพันธมิตรเพื่อจัดกิจกรรมมากมายยิงยาวถึงสิ้นปี อาทิ จัด Training, ทำรายการ Gamer Talk รายการทอล์คด้านอีสปอร์ต, งาน eSports Conference เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน แชร์องค์ความรู้ พร้อมผลักดันอีสปอร์ต สุดท้าย การมอบรางวัล Game Award  อันจะเป็นรางวัลการันตีคนคุณภาพให้กับวงการอีสปอร์ตไทย

เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม เอไอเอสได้เปิดตัว AIS eSports STUDIO คอมมูนิตี้ฮับอีสปอร์ตแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ สามย่านมิตรทาวน์ โดยมีจุดเด่นที่ เครือข่าย 5G, Wi-Fi 6 และ AIS Fibre ความเร็วสูงสุด 1000 Mbps พร้อมเกม VR มีอุปกรณ์เกมมิ่งสเปกเทพ มี Battle Arena บริการขนมและ ‘We Proudly Serve Starbucks’ บริการ Vending Machine จำหน่ายกาแฟจาก Starbucks

โดย AIS eSports STUDIO นี้เปิดกว้างให้ใช้งานได้ไม่จำกัดค่าย รวมถึงยังเปิดให้ผู้จัดงานอีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์ แบรนด์ มาใช้พื้นที่จัดกิจกรรมบนแพลตฟอร์มทั้ง Online และ On Ground อาทิ แข่งขันอีสปอร์ต, Live Conference, เปิดตัวสินค้า และ Sharing บนโซเชียลได้ด้วย

ทั้งนี้ เอไอเอส มองว่า อินฟาสตรั๊กเจอร์ที่แข็งแรงจะยิ่งทำให้อีสปอร์ตเติบโต เพราะด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่มากขึ้น จะทำให้ได้สัมผัสกับ Cloud Gaming และการนำเทคโนโลยี VR/AR เข้ามาจะทำให้เกิดประสบการณ์ที่สมจริงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตต้องไม่ใช่แค่มูลค่าอย่างเดียว แต่อุตสาหกรรมต้องเติบโตแบบยั่งยืนในเชิงสังคมด้วย เพราะตอนนี้เด็ก 7 ขวบก็เริ่มใช้สมาร์ทโฟน อายุ 15 ขึ้นไปก็จะเริ่มก้าวสู่วงการอีสปอร์ตแล้ว ดังนั้น เอไอเอสมีการจัดทำชุดความรู้ทางด้านความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) ควบคู่ไปด้วยเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกวิธีและเหมาะสม ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตอย่างสร้างสรรค์ ยั่งยืน

“อีสปอร์ตในวันนี้ไม่ได้มีภาพของเด็กติดเกมอีกต่อไป แต่เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัล ฟื้นฟูประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้หลัง Covid-19 ภายใต้ความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เกี่ยวข้องใน eSports Ecosystem ทุกภาคส่วน เชื่อว่า ประเทศเทศไทยจะสามารถก้าวสู่การเป็นฮับอีสปอร์ตแห่งภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแน่นอน”

]]>
1287812