Best Express – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 09 Feb 2022 11:21:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตายักษ์ใหญ่ ‘โลจิสติกส์’ แตกเซกเมนต์ใหม่ ‘Bulky’ ส่งของชิ้นใหญ่ฉีกหนี ‘สงครามราคา’ https://positioningmag.com/1373383 Wed, 09 Feb 2022 09:04:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373383 หากพูดถึงตลาด โลจิสติกส์ แล้ว เชื่อว่าแม้ไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการยังมองออกว่าแข่งขันกันดุเดือดแค่ไหน เนื่องจากมีผู้เล่นมากมายโดยเฉพาะจากต่างประเทศตบเท้าเข้ามาฟาดฟันกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นว่าปีที่ผ่านมา ‘อัลฟ่า’ ที่ต้องยอมถอยปิดกิจการก่อนที่จะเจ็บไปมากกว่านี้ ขณะที่รายใหญ่เองก็เริ่มหาทางขยับหนีออกจากสงครามราคาแล้ว เพราะตอนนี้ตลาดเองก็ไม่ได้เติบโตเหมือนก่อนหน้านี้

ตลาดโตน้อย ต้นทุนสูงขึ้น

อ้างอิงจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ภาพรวมธุรกิจขนส่งสินค้าที่ซื้อผ่านออนไลน์ในปี 2564 แม้มีแนวโน้มขยายตัว 19% หรือมีมูลค่าราว 71,800 ล้านบาท แต่ก็น้อยกว่าปี 63 ที่เติบโตถึง 31.3% ในขณะที่ปี 65 นี้ คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ก็มองว่าการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในปีนี้ก็จะยิ่งชะลอตัวลง และไม่ใช่แค่การเติบโตที่ชะลอตัวลง แต่ปัญหาต้นทุนพลังงานอย่าง ‘น้ำมัน’ ก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมจาก 20 บาท ขึ้นเป็น 30 บาท สวนทางกับราคาค่าบริการที่ถูกลงเพราะสงครามราคา

“ภาพของตลาดโลจิสติกส์ปีนี้อาจจะไม่ได้เติบโตก้าวกระโดดเหมือนกับปีที่ผ่านมา ๆ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย โดยจะเห็นว่ากำลังซื้อลดลงทำให้การซื้อสินค้าแฟชั่นลดลง เน้นไปที่สินค้าอุปโภคบริโภคแทน ต้องยอมรับว่าต้นทุนของเราสูงขึ้น และการแข่งขันในตลาดยังคงสูงโดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาที่ยังคงดุเดือด เนื่องจากผู้เล่นแต่ละรายต่างระดมทุนมาได้มากขึ้นก็มาใส่กับโปรโมชัน”

คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด

Bulky เซกเมนต์ใหม่ที่ใคร ๆ ก็ไป

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่การซื้อของออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผู้คนคุ้นเคยกับการสั่งของ สั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น จึงได้เห็นผู้เล่นตลาดโลจิสติกส์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศก็เข้ามาจับจองตลาดกันทั้งสิ้น แน่นอนว่าตลาดได้กลายเป็น Red Ocean แข่งขันกันอย่างดุเดือด

หากพูดถึงแง่ของคุณภาพการให้บริการจะเห็นว่าผู้เล่นแต่ละรายแทบจะกลืนกันไปหมด ในช่วงแรกมีการพูดถึงจุดเด่นด้านความเร็วในการจัดส่ง ต่อมาก็เริ่มเข้าสู่ยุคการใช้พรีเซ็นเตอร์เพื่อเพิ่มการสร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ จะเห็นว่าช่วงหนึ่งมีการเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ตามกันรัวๆ แบบไม่มีใครยอมใคร

มาจนถึงจุดที่การแข่งขันสูงมากๆ การส่งพัสดุเข้าสู่ยุค ‘สงครามราคา’ มีการตัดราคากันเพื่อดึงดูดลูกค้า โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องการผู้ส่งที่ค่าส่งถูกๆ เพื่อลดต้นทุนในการจัดส่งสินค้าได้มากขึ้น จากค่าส่งที่เริ่มต้น 25 บาท เริ่มลดลงเป็น 20 บาทบ้าง 19 บาทบ้าง ล่าสุดที่ J&T ทุบราคาไปที่เริ่มต้น 15 บาท

นอกจากเรื่องปัจจัยราคาแล้ว ผู้เล่นในตลาดยังต้องขยายบริการเพื่อหาน่านน้ำใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบริการส่งพัสดุแบบ Same Day ได้รับสินค้าภายในวันเดียวกัน หรือมีบริการเก็บเงินปลายทาง รองรับพฤติกรรมของคนไทยที่ยังต้องจ่ายเงินหลังรับของ รวมไปถึงการส่งแบบเย็น หรือเก็บอุณหภูมิ ที่ตอนนี้แทบทุกเจ้าจะต้องมีบริการนี้ เพื่อรองรับแม่ค้าสายอาหาร เบเกอรี่

หรือล่าสุดที่หลายรายเริ่มมาจับตลาดก็คือ Bulky หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักมาก เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งเซกเมนต์ที่มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะเทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ไม่ได้ซื้อสินค้าออนไลน์เพียงแค่ของชิ้นเล็กอย่างเดียวเท่านั้น แต่ซื้อทุกอย่างที่อยากได้ ชิ้นใหญ่ หรือน้ำหนักเยอะก็ไม่หวั่น

แนวโน้มการสั่งซื้อสินค้าที่มีขนาดใหญ่เริ่มเพิ่มสูงขึ้น จะเห็นว่าปีที่ผ่านมามีเทรนด์ของ ไม้ด่าง ทำให้มีการสั่งซื้อต้นไม้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนัก หรืออย่าง อะไหล่รถยนต์ ก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยเองก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตอะไหล่รถยนต์รายใหญ่

นอกจากนี้ กลุ่มสินค้าที่เห็นการเติบโตบนอีคอมเมิร์ซ คือ สินค้าประเภทของใช้สัตว์เลี้ยง อุปกรณ์ฟิตเนส เติบโตขึ้น 71% เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ จำพวก ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เติบโต 63% และ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เติบโต 55% ซึ่งล้อไปกับเทรนด์การใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้น

จากเทรนด์ดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ให้บริการจะเริ่มให้ความสนใจที่จะเพิ่มบริการส่งของชิ้นใหญ่ อย่าง

  • BEST Express ที่มีบริการ BEST Big Parcel สำหรับส่งพัสดุขนาดใหญ่สูงสุด 300 กก.
  • Flash Express ก็มี Bulky Service รับพัสดุตั้งแต่ 5-100 กก. เริ่มต้น 50 บาท
  • ไปรษณีย์ไทย ก็มีบริการ Logispost ส่งสินค้าชิ้นใหญ่ตั้งแต่ 20-200 กก.
  • SCG Express ก็มีบริการ ยกใหญ่ ไซซ์บิ๊ก จัดส่งพัสดุที่มีน้ำหนัก 25-50 กก.
  • Kerry ก็มีบริการ Kerry Less than Truck Load ส่งพัสดุน้ำหนัก 30 กก. ขึ้นไป

เหลือแต่ J&T ที่ยังรับน้ำหนักพัสดุสูงสุดที่ 30 กก. ดังนั้น ต้องรอดูว่าจะลงมาเล่นในตลาดนี้เมื่อไหร่

รายได้เยอะ แต่แทบไม่เห็นกำไร

เนื่องจากธุรกิจโลจิสติกส์ไม่ได้มีพื้นฐานที่สามารถทำกำไรได้สูง จะอยู่ได้ต้องเน้นจำนวน ดังนั้น จะเห็นว่าอดีตเบอร์ 1 อย่าง ไปรษณีย์ไทย ในปี 2563 นั้นมีรายได้ลดลงเหลือ 23,877 ล้านบาท โดยกำไรลดลงเหลือเพียง 160 ล้านบาท เท่านั้น ส่วนรายได้ของ Kerry Express 6 เดือนแรกของปี 64 อยู่ที่ 8,788 ล้านบาท ลดลง 14% มีกำไร 638 ล้านบาท ลดลง 13% ส่วนด้านของ Flash Express มีการเปิดเผยว่ารายได้ปี 64 อยู่ที่ 17,000 ล้านบาท แต่ไม่เปิดเผยว่า กำไรหรือขาดทุน เท่าไหร่

แน่นอนว่าการแข่งขันด้านราคาของตลาดโลจิสติกส์จะยังอยู่ไปอีกนาน ดังนั้น จากนี้คงจะได้เห็นเซกเมนต์เฉพาะทางใหม่ ๆ เพื่อทำกำไรมากขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้เล่นรายเล็ก ที่จะเริ่มใช้จุดแข็งอย่างความเฉพาะทางมาใช้ยาก เพราะรายใหญ่เริ่มลงมาเล่นกันหมด

]]>
1373383
เฮือกสุดท้าย ‘เเม่ค้าออนไลน์’ ขายไม่ได้ สินค้าตีกลับ ผลกระทบขนส่งพัสดุ ล่าช้า-อ่วมโควิด https://positioningmag.com/1344529 Thu, 29 Jul 2021 13:05:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344529 หลังเจอวิกฤตโควิดจนล้มลุกคลุกคลานมาหลายรอบ บรรดาแบรนด์ต่างๆ ทั้งค้าปลีก ร้านอาหาร สินค้าเกษตร พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อย คนตกงานหารายได้เสริม กระโจนเข้าสู่โลกช้อปปิ้งออนไลน์เพื่อดิ้นรนหาทางรอด ปรับตัวพยุงธุรกิจ

ฝั่งผู้บริโภคเอง ด้วยความกังวลเสี่ยงติดโรคเเละมาตรการล็อกดาวน์ ก็หันมาสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ เเทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตไปเเล้ว

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย กำลังจะไปได้สวย จนกระทั่งวันนี้ การระบาดใหญ่รอบล่าสุด ที่มียอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเเตะระดับ 17,000 คนต่อวัน ได้ขยายวงกว้างไปสู่พนักงานขนส่งพัสดุซึ่งเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของธุรกิจขายออนไลน์เลยก็ว่าได้

บริษัทขนส่งยักษ์ในไทย กำลังประสบปัญหาเรื่องการรับ-ส่งสินค้าบางรายอาการหนักจนต้องปิดศูนย์กระจายสินค้า พนักงานจำนวนมากต้องกักตัว บางเจ้าต้องปิดสาขาตามห้างสรรพสินค้าตามคำสั่งล็อกดาวน์ ทำให้ช่วงนี้มีพัสดุตกค้างเเละล่าช้า จำนวนมาก อีกทั้งยังเปิดให้บริการได้ไม่เต็มที่

นอกจากความเดือดร้อนของบริษัทขนส่งเเละพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องเจอศึกหนัก ตามหาของที่ยังส่งไม่ถึงเเล้ว อีกมุมหนึ่งปัญหาเหล่านี้ ก็ส่งผลให้เหล่าผู้บริโภคไม่กล้าสั่งซื้อของออนไลน์ ในช่วงนี้ ซ้ำเติมยอดขายเเละรายได้ที่ลงลดอยู่เเล้ว จากการหดหายของกำลังซื้อให้ยิ่งลดลงไปอีก

บิ๊กขนส่งพัสดุในไทย ‘อ่วมโควิด’ 

ล่าสุดของบริษัทขนส่งต่างๆ ยังสามารถเปิดให้บริการตามปกติ’ ได้ทุกเจ้า แต่มีการกำหนดเกณฑ์การรับพัสดุใหม่ เเละบางส่วนอาจส่งของล่าช้า 1-2 วัน

ย้อนกลับไปไปรษณีย์ไทยเป็นผู้ให้บริการขนส่งพัสดุรายเเรกที่ออกมายอมรับว่า มีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 เเม้จะฉีดวัคซีนเข็มแรกไปเเล้วกว่า 12,000 คน และเข็มสองอีกกว่า 4,200 คนก็ตาม

ปกติเเล้ว ไปรษณีย์ไทย มีปริมาณไปรษณียภัณฑ์และพัสดุด่วน เฉลี่ยอยู่ที่ 8 ล้านชิ้นต่อวัน เป็นเบอร์หนึ่งในตลาด จากสถานการณ์ดังกล่าว “อาจมีการจัดส่งสิ่งของล่าช้าในบางพื้นที่

โดยได้ระงับการฝากส่ง ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 .. 2564 เพื่อป้องกันผลไม้และต้นไม้เสียหาย 

ไปรษณีย์ไทย มีปรับแผนบริหารความเสี่ยงเคลียร์พัสดุตกค้าง เช่น แบ่งเจ้าหน้าที่นำจ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม กำหนดให้ทำงานเหลื่อมเวลากัน นำเจ้าหน้าที่จากไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้เคียงมาปฏิบัติหน้าที่ในการนำจ่ายแทนเจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว

รวมไปถึง ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ กำชับให้เว้นระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยง ขยายพื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง พร้อมย้ำว่าจะไม่ปกปิดข้อมูล’ กับลูกค้า 

ด้าน ‘Flash Express’ สตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายเเรกของไทย ที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท) เมื่อเดือนมิ..ที่ผ่านมา ก็เกิดปัญหาใหญ่ พนักงานติดโควิด-19 เช่นเดียวกัน จนถึงขั้นต้องปิดศูนย์กระจายสินค้าที่วังน้อยชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อลูกค้าจำนวนมาก

คมสันต์ ลีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Flash Express เทคเเอกชั่นด้วยการส่งจดหมายเเสดงความเสียใจเเละขอโทษลูกค้าทุกคน พร้อมตั้งงบชดเชยความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท

โดยมีมาตรการเยียวยาอย่าง การคืนเงินค่าขนส่ง 100% มอบคูปองมูลค่ารวม 50 บาท เเละชดเชยความเสียหายของพัสดุเต็มจำนวนภายใต้กฎเกณฑ์ของบริษัท เป็นต้น

-คมสันต์ ลี ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group)

นอกจากนี้ ยังต้องงดรับของสด และ ผลไม้ทุกชนิดเเละงดพัสดุที่มีน้ำหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัม และขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงแต่ละด้านเกินกว่า 100 เซนติเมตร และสามด้านรวมกันเกินกว่า 150 เซนติเมตรเป็นการชั่วคราวด้วย

ทั้งนี้ ในปี 2563 Flash Express มียอดส่งมากกว่า 300 ล้านชิ้น ส่วนในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ขณะที่เจ้าใหญ่ฝั่งเอกชนอย่าง Kerry Express เเม้ตอนนี้ปัญหาเรื่องพนักงานติดโควิดจะไม่รุนเเรงเท่ารายอื่น เเต่ก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐ 

ทำให้ต้องปิดบางสาขาในห้างฯ เเละบางสาขามีพนักงานติดโควิด ดังนั้นการขนส่งไปยังปลายทาง จึงต้องใช้เวลามากกว่าปกติราว 1-2 วัน โดยเฉพาะในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม โดยเเนะนำให้ลูกค้าวางแผนก่อนส่ง หลีกเลี่ยงพัสดุที่มีวันหมดอายุและเน่าเสียง่าย

ประกอบกับช่วงนี้จำนวนพัสดุเพิ่มขึ้นมากขึ้น 2.2 ล้านชิ้น จากช่วงปกติจำนวนพัสดุอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านชิ้น ในขณะที่พนักงานเคอร์รี่ทั่วประเทศมีประมาณ 20,000 คน จึงมีความล่าช้ากว่าปกติด้วย

ด้านขนส่งรายอื่นๆ อย่าง J&T Express , SCG Express , BEST Express เเละ NIM Express ก็ยังไม่สามารถให้บริการพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ได้เต็มที่ เพราะมีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน

โดย SCG Express งดจัดส่งบางพื้นที่ และงดบริการเข้ารับพัสดุที่บ้านชั่วคราว ส่วนพัสดุแบบควบคุมอุณหภูมิ แช่เย็นแช่แข็งยังจัดส่งได้ตามปกติ

NIM Express แจ้งการส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด เเละของดรับสินค้าปลายทางในพื้นที่สาขาพุทธมณฑล สาย 2 ในระหว่างวันที่ 27-30 .. 2564 โดยยังคงดำเนินการจัดส่งสินค้าตามปกติ 

BEST Express ประกาศ จัดส่งพัสดุเกิดความล่าช้ากว่าปกติ ในพื้นที่สาขาเขตพระนคร กรุงเทพฯ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564

J&T Express จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณน้ำหนักและขนาดปริมาตรใหม่ โดยด้านใดด้านหนึ่งไม่เกิน 100 ซม. ทั้งสามด้านรวมกันไม่เกิน 180 ซม. และน้ำหนักจริงไม่เกิน 50 กิโลกรัม ข้อกำหนดนี้ใช้กับพัสดุทุกประเภท ยกเว้นพัสดุจาก Shopee เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

ท่ามกลางความปั่นป่วนของธุรกิจขนส่งในไทยนั้นทีวี ไดเร็คเห็นโอกาสธุรกิจ รีบเปิดรับฝากส่งพัสดุ อุดช่องว่างขนส่งขาด ราคาเริ่มต้น 32 บาท โดยมีจุดรับฝากส่งพัสดุ ณ ศูนย์กระจายสินค้าของบริษัท จำนวน 58 แห่งทั่วประเทศ

ประกาศรับสินค้าขนาดใหญ่น้ำหนักไม่เกิน 150 กก. สามารถจัดส่งสินค้าได้ทุกประเภท รวมถึงกล้าพันธุ์ไม้ ระยะเวลาจัดส่ง ภายในกรุงเทพฯปริมณฑลใช้เวลา 2 วันทำการ ส่งต่างจังหวัดประมาณ 3 วัน สามารถรองรับการขนส่งพัสดุได้ 10,000 ชิ้นต่อวัน

ช้อปปิ้งออนไลน์ สะดุด ขายไม่ได้-ส่งของยาก-สินค้าตีกลับ 

เเม่ค้าออนไลน์รายหนึ่ง บอกกับ Positioningmag ว่า เริ่มปรับตัวมาขายออนไลน์อย่างจริงจัง มาตั้งเเต่ช่วงปีก่อน หลังยอดขายหน้าร้านลดลงมาก จึงได้ส่วนขายออนไลน์ ช่วยพยุงธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงโรคระบาด

โดยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีปัญหาในระบบขนส่ง บางสินค้าส่งไปถึงปลายทางเเต่เกิดความเสียหาย ต้องรับผิดชอบด้วยการส่งของใหม่ไปให้ลูกค้า ทำให้ต้องเเบกรับต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงมีสินค้าโดน ‘ตีกลับจำนวนมาก มองว่า เเม้จะมีการชดเชยค่าส่ง 100% เเต่ก็ไม่คุ้มกับความเสียหายของสินค้า เเละความเชื่อใจของลูกค้าที่หายไป 

ส่วนยอดขายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เหมือนคนไม่ค่อยกล้าสั่งของออนไลน์กัน เพราะกลัวเสี่ยงติดเชื้อเเละกังวลจะได้รับของช้าหรืออาจเสียหาย

โดยหวังว่าสถานการณ์ของธุรกิจขนส่งจะคลี่คลายโดยเร็ว เบื้องต้นในช่วงนี้ก็ต้องปรับตัว เช่น เปลี่ยนบริษัทที่ส่งให้เหมาะสมกับจังหวัดปลายทาง เเม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ก็พยายามให้ของไปถึงลูกค้าอย่างสมบูรณ์เเละรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมต้องติดตามสินค้าให้ด้วย

ด้านพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ที่จำหน่าย ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย ที่บริษัทขนส่งหลายราย ‘งดรับบริการชั่วคราวนั้น เรียกได้ว่าซวยเเล้วซวยอีก จากราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำอยู่เเล้ว

โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง โพสต์ข้อความถึงความเสียหายจากอุทกภัย ทำให้มังคุดที่มีอยู่ขายไม่ได้ เเม้จะลดราคาลงเหลือกิโลกรัมละ 5 บาทเเล้วก็ตาม อีกทั้งส่งขายทางออนไลน์ไม่ได้อีก

ระวังพิษเศรษฐกิจ ฉุด ‘กำลังซื้อลด’ 

จากข้อมูลของ We are Social เปิดเผยในรายงาน Global Digital Stat 2021 ระบุว่า วิกฤตโควิดเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทย ทั้งอีโคซิสเต็มส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ

คนไทยนิยมช้อปปิ้งออนไลน์สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก หรือราว 83.6% สูงกว่าหลายประเทศพัฒนาแล้ว เช่นเดียวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือ คนไทยก็ครองอันดับ 2 ของโลก ด้วยสัดส่วนถึง 74.2% โดยหมวดอาหาร ของใช้ส่วนตัว ของใช้ภายในบ้านเพิ่มขึ้นอย่างมาก อันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์

ขณะเดียวกัน ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ก็ทำให้กำลังซื้อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย เพราะคนต้องประหยัดมากขึ้น ระวังการจับจ่ายใช้สอย

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC ประเมินว่า โควิด-19 ระลอกที่ 3 มีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อการบริโภคภาคเอกชนกว่า 7.7 แสนล้านบาท หรือราว 4.8% ของ GDP จากผลของมาตรการล็อกดาวน์ ความกังวลของประชาชนต่อการติดเชื้อและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นมาก ตลอดจนรายได้ของผู้ประกอบการและแรงงานในหลายภาคธุรกิจที่จะปรับลดลงมาก

แม้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคบางส่วนจะหันไปใช้ธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้บางส่วนเท่านั้น ทำให้เกิด ‘แผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น’ ขณะที่เม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ออกมายังไม่เพียงพอ โดยรัฐต้องเร่งกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงอย่างเร็วที่สุด

ผลกระทบต่อธุรกิจขายออนไลน์ครั้งนี้ จึงเป็นการซ้ำเติมความลำบากของประชาชนรายย่อยให้ร้าวลึกลงไปอีก โดยฝั่งธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนเองก็ต้องปรับตัวรับมือครั้งใหญ่ เมื่อโรคระบาดยังไม่หายไปโดยเร็ว เเต่พนักงานยังต้องลงพื้นที่เสี่ยงในทุกๆ วัน

 

]]>
1344529
‘แฟลช เอ็กซ์เพรส’ อัดฉีดเพิ่ม 4,500 ล้าน สู้ศึกขนส่ง คาดครึ่งปีหลังแข่ง ‘ราคา’ หนัก https://positioningmag.com/1291086 Wed, 05 Aug 2020 06:11:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291086 ถึงเวลาที่น้องใหม่มาแรงอย่าง ‘แฟลช เอ็กซ์เพรส’ (Flash Express) ต้องสะดุ้งบ้างแล้ว หลังจากที่เคยทำให้เจ้าตลาดอย่าง ‘เคอรี่ เอ็กซ์เพรส’ (Kerry Express) ต้องสะดุ้ง เพราะตอนนี้มีคู่แข่งใหม่ทุนหนาอย่าง ‘เบสท์ เอ็กซ์เพรส’ (BEST Express) ที่มี ‘แจ็ค หม่า’ แห่ง ‘อาลีบาบา’ หนุนหลัง แถมยังมีกลยุทธ์ที่เหมือนกับแฟลชอีกก็คือ “รับพัสดุฟรีถึงที่ตั้งแต่ชิ้นแรก ให้บริการ 365 วันไม่หยุด” ดังนั้น แฟลชคงจะอยู่เฉยไม่ได้ จนต้องทุ่มเงิน 4,500 ล้านบาท เพื่อลงทุนเสริมเเกร่งเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้

คมสันต์ แซ่ลี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด

นายคมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ แฟลช (FLASH GROUP) ผู้ให้บริการด้าน E-Commerce แบบครบวงจร ระบุว่า ภาพรวมตลาดขนส่งในครึ่งปีหลังการแข่งขันเรื่องราคาและคุณภาพการให้บริการน่าจะเป็น 2 ปัจจัยที่ต้องโฟกัส รวมไปถึงเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าก็น่าจะเป็นสิ่งที่เข้มข้นมากเช่นกัน โดยปัจจุบันแฟลชให้บริการเริ่มต้นที่ 25 บาท 

ดังนั้น แฟลชอัดงบเพิ่ม 4,500 ล้านบาท โดยเน้นลงทุนในเทคโนโลยี รวมไปถึงการลงทุนในด้านบุคลากร ขยายศูนย์บริการในประเทศเพิ่มอีก 5,000 แห่ง รวมเป็น 10,000 แห่ง และจะเพิ่มรถขนส่งพัสดุอีกราว 30% จากเดิมที่มีรถขนส่งพัสดุประเภทต่าง ๆ ที่วิ่งอยู่ทั่วประเทศกว่า 15,000 คัน เพื่อเร่งวางแผนทำในส่วน Same day และ Next day ให้ครอบคลุมครบ Nationwide และเตรียมขยายบริการไปยัง 3 ประเทศกลุ่ม AEC ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 4

“ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยต่างเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า New Normal ที่เน้นการช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีตัวเลขเติบโตสูงกว่า 35% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อธุรกิจขนส่งทำให้ยอดส่งพัสดุของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าในตลาดสูงขึ้นตามไปด้วย”

ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก แฟลชมียอดส่งพัสดุรวมกว่า 100 ล้านชิ้น โดยมียอดส่งพัสดุเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ล้านชิ้นหรือเติบโตขึ้นกว่า 3,000% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 1,000 ล้านบาท เป็นผู้เล่นที่ติด Top 3 ในตลาดขนส่ง

ล่าสุด บริษัทได้ออกแคมเปญ “แฟลชเปย์ เฮคุ้ม ลดสูงสุด 50% ตลอดเดือนสิงหาคม” โดยลดราคาค่าบริการในการจัดส่งพัสดุลง 50% ทุกวันจันทร์-วันเสาร์ ตลอดเดือนสิงหาคม โดยลูกค้าจะสามารถใช้บริการได้ทุกช่องทาง ทั้ง ผ่านแอปพลิเคชัน Flash Express, ศูนย์บริการแฟลช เอ็กซ์เพรส, ศูนย์บริการ แฟลช โฮม ทั่วประเทศ

]]>
1291086
มาอีกราย! BEST Express ขนส่งสัญชาติจีนบุกไทย ขอเล่นใหญ่ใช้ “ณเดชน์” พรีเซ็นเตอร์ https://positioningmag.com/1288758 Tue, 21 Jul 2020 11:59:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288758 ภาพรวมของตลาดธุรกิจขนส่งพัสดุ (Parcel Delivery) เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2560-2562) โดยมีการขยายตัวเฉลี่ย 40% ต่อปี สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ไทยที่เติบโตเฉลี่ย 18% ต่อปี ขณะที่การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ตลาดขนส่งพัสดุเติบโตถึง 30% เมื่อเทียบกับก่อนเกิดวิกฤติ

รู้จัก BEST Express

แน่นอนว่าการเติบโตระดับนี้ ใคร ๆ ก็อยากเข้ามาขอส่วนแบ่ง และหนึ่งในนั้นก็คือ ขาใหญ่ในตลาดจีนอย่าง BEST Express (เบสท์ เอ็กซ์เพรส) บริษัทโลจิสติกส์ Top 5 จากแดนมังกรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2007 โดยจอห์นนี่ ซูว’ ซึ่งมีประสบการณ์เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกูเกิลในจีน และมี ‘แจ็ค หม่า’ เป็นผู้ร่วมลงทุน หรือพูดง่าย ๆ ว่ามียักษ์ใหญ่ในวงการอีคอมเมิร์ซจีน อาลีบาบา’ หนุนหลัง

ปัจจุบันได้ขยายออกไป 25 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่จีน อเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี จนมาถึง ไทย ในปี 2019 และเเตกไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสำหรับประเทศไทยนั้น เบสท์ เอ็กซ์เพรสได้วางงบลงทุนไว้ถึง 5,000 ล้านบาท ไว้ใช้ในช่วง 5 ปีจากนี้ และประจวบเหมาะกับวิกฤติ COVID-19 ทำให้ยอดขนส่งพัสดุในปี 2020 เติบโต 10 เท่า มียอดการส่งพัสดุเฉลี่ย 2.5 แสนชิ้นต่อวัน

จอห์นนี่ ซูว ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มบริษัทเบสท์

อัดงบลงทุนขยายสาขา

เบื้องต้น BEST Express เตรียมลงทุนในปีนี้ที่ 300 ล้านบาท โดยจะเพิ่มคลังสินค้าจาก 7 แห่ง เป็น 10 แห่งในสิ้นปีนี้ รวมถึงลงทุนด้านเทคโนโลยี AI และการขนส่ง เป็นต้น นอกจากนี้จะเพิ่มสาขาเป็น 800 สาขาในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมี 500 สาขา และจะเพิ่มเป็น 2,000 สาขา ภายในปี 2565 โดยแผนระยะสั้นจะเน้นขยายฐานการตลาดลงพื้นที่ท้องถิ่น ก่อนจะเตรียมผนึกรวมเครือข่ายของ BEST Express ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อจับตลาดส่งสินค้าระหว่างประเทศ (cross border)

“เราชื่อว่าแม้สถานการณ์ Covid-19 จะคลี่คลายแต่ยอดส่งพัสดุยังไม่ตก แม้ว่าช่วงล็อกดาวน์ยอดตกบ้างเล็กน้อย เพราะผู้บริโภคไปซื้อของที่ห้าง แต่รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ออนไลน์แล้ว ดังนั้นเราจะไม่มีการหยุดลงทุน มีแต่จะลงทุนเพิ่ม” เจสัน เชียน ผู้จัดการทั่วไปภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประธานกรรมการ เบสท์ ประเทศไทย บริษัท เบสท์ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

เจสัน เชียน ผู้จัดการทั่วไปภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประธานกรรมการ เบสท์ ประเทศไทย บริษัท เบสท์ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

ดึงซุปตาร์เบอร์ใหญ่เป็นพรีเซ็นเตอร์

แม้จะเป็นน้องใหม่ที่มาช้ากว่าใครเพื่อน เเต่ความหนักของกระเป๋าไม่เป็นรองใคร ดังนั้นคู่เเข่งรายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น KERRY ที่ดึง เวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ หรือ J&T Express ก็มี มาริโอ้ เมาเร่อ และ Flash มีพี่ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี แต่เพราะต้องการเป็น ‘THE BEST’ ซุปตาร์ที่มาเป็นพรีเซ็นเตอร์จึงต้องเเถวหน้าเท่านั้น ดังนั้นจึงได้ดึง ‘อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ’ มาร่วมงานเปิดตัวเเบรนด์ และใช้ ‘ณเดชน์ คูกิมิยะ’ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์

ทั้งนี้ ในส่วนแผนการทำการตลาดว่าจะใช้งบ 10% จากรายได้ โดยมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก พร้อมมีมาสคอต ‘น้องกวางเบสท์’ หรือ Dear (De ตี้ –Ar เอ๋อ) นอกจากนี้จะมุ่งการทำการตลาดในเชิง CSR มากขึ้น

ขอเป็นผู้นำภายใน 3 ปี

เนื่องจากเป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำตลาด ดังนั้นความท้าทายใหญ่ของ BEST Express คือเรื่องของ ทำเล ที่โดนแย่งชิงพื้นที่ยุทธศาสตร์ไปหมด และคน ดังนั้น จึงแก้เกมด้วยบริการเข้ารับพัสดุถึงหน้าบ้านฟรีไม่จำกัดจำนวนชิ้น อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ไม่ต้องไปสาขาเอง พร้อมด้วยบริการเก็บเงินปลายทาง (COD : Cash on deliver) โดยโอนภายใน 1 วัน (เฉพาะธนาคารกสิกรไทย) และมีเทคโนโลยี Automatic Tracking System ที่แจ้งเตือนสถานะพัสดุอัตโนมัติ ผ่าน BEST Application และ Line Official Account: @BESTEXPRESSTH

แต่จุดที่จะทำให้ BEST Express สามารถขึ้นเป็นผู้นำในตลาดได้ภายใน 3 ปีตามที่วางแผนไว้นั้นก็คือ ความเป็น “One Stop Integrated Supply Chain Services” หรือผู้ให้บริการแบบครบวงจร โดยครอบคลุมทั้งการขนส่งภายในและต่างประเทศ รวมถึงยังมีธุรกิจไฟแนนซ์ เข้ามาให้บริการกับกลุ่มแฟรนไชส์ ที่ต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจ โดยมีการการให้ดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยอุดช่องวางการขยายจุดให้บริการที่ช้าลงได้ 

“เรามองเห็นโอกาสใหญ่ของประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และเราเชื่อมั่นว่าจะเป็นผู้นำในตลาดไทยทั้งส่วนแบ่งตลาดและคุณภาพภายใน 3 ปี ด้วยจุดแข็งคือ เทคโนโลยี การเจาะลึกแต่ละท้องถิ่น ที่เราดูแลพาร์ตเนอร์อย่างใกล้ชิด เราไม่มีแนวคิดจะแข่งด้วยราคา และเราไม่ได้ราคาถูกสุด เราเริ่มต้นที่ 30 บาท แต่ในอนาคตถ้าเรามียอดวอลลุ่มมากขึ้น ราคาเราก็จะถูกลง”

]]>
1288758