South China Morning Post รายงานข่าวว่า Huawei ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศจีน ได้ประกาศความสำเร็จในการเขียนซอฟต์แวร์ ERP ซึ่งใช้สำหรับการวางแผนการจัดการในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Supply Chain ไปจนถึงการวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งแต่เดิมบริษัทจากจีนรายดังกล่าวได้ใช้ซอฟต์แวร์ของ Oracle มาโดยตลอด
ซอฟต์แวร์วางแผนจัดการองค์กรของ Huawei มีชื่อว่า MetaERP พัฒนาโดยพนักงานของบริษัทถึงหลักพันคน และใช้เวลามากถึง 3 ปี มีการตรวจสอบในเรื่องความปลอดภัยด้านไซเบอร์จากบริษัทในประเทศจีน รวมถึงมีการทดสอบในระดับรายวัน รายเดือน รายไตรมาส เป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่บริษัทจะประกาศความสำเร็จออกมา
ERP นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในองค์กร รวมถึงกระบวนการทางธุรกิจของบริษัท ในแต่ละวัน ตั้งแต่ด้านการเงิน ทรัพยากรบุคคล Supply Chain การจัดซื้อ การผลิต การขาย และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย และทำให้ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานสามารถตัดสินใจในการทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
Huawei ยังแจ้งว่า MetaERP นั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในแต่ละวันในบริษัทมากกว่า 80% แล้วด้วย
ก่อนหน้านี้ Huawei ได้ใช้ ERP ของ Oracle มาเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี แต่เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐกับบริษัทนับตั้งแต่ปี 2019 ทำให้บริษัทไม่สามารถอัพเดตซอฟต์แวร์ดังกล่าวและถูกยกเลิกการสนับสนุนด้านบริการจาก Oracle ส่งผลทำให้บริษัทต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ดังกล่าวขึ้นมาเองในท้ายที่สุด
นอกจากนี้การพัฒนา MetaERP ของ Huawei ยังสอดคล้องนโยบายของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่ต้องการให้บริษัทในประเทศจีนลดการพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทต่างชาติ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์โดยพึ่งพาตัวเองมากยิ่งขึ้น
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่ามหาเศรษฐีในประเทศจีนหลายคนนั้นเริ่มเตรียมดูลู่ทางลงทุนในต่างประเทศอีกครั้ง ซึ่งแตกต่างจากในอดีต เนื่องจากสาเหตุสำคัญก็คือสภาวะในประเทศจีนไม่ว่าจะเป็นทั้งเศรษฐกิจและการเมืองนั้นไม่เป็นใจให้กับเหล่ามหาเศรษฐีเหล่านี้มากนัก และมองว่าสินทรัพย์ในต่างประเทศจะเพิ่มรายได้และลดความเสี่ยงระยะยาวให้กับพวกเขาเหล่านี้
ปัญหาสำคัญที่ทำให้มหาเศรษฐีเหล่านี้ต้องดูลู่ทางในการลงทุนที่ต่างประเทศคือ ปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายโควิดเป็นศูนย์ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน จนในท้ายที่สุดมีการประท้วงตามเมืองต่างๆ เพื่อที่จะให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายดังกล่าว
ขณะเดียวกันจีนยังมีนโยบายความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity) ที่รัฐบาลตั้งใจที่จะลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย รวมถึงความไม่แน่นอนจากนโยบายเศรษฐกิจอื่นๆ ของรัฐบาลจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาจัดการในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี เป็นต้น
ผลจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศจีน และผลตอบแทนจากตลาดหุ้นในประเทศจีนที่ถดถอย ทำให้ท้ายที่สุดแล้วเหล่ามหาเศรษฐีจึงต้องเลือกที่จะกระจายความเสี่ยงอีกครั้ง โดยการลงทุนในต่างประเทศที่มหาเศรษฐีจีนสนใจก็คือสหรัฐอเมริกา ซึ่งสนใจทั้งอสังหาริมทรัพย์ หุ้นทั้งในตลาดหลักทรัพย์รวมถึงบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์
นอกจากนี้สำนักงานครอบครัว (Family Office) ที่ดูแลด้านการลงทุนให้กับมหาเศรษฐีจีนเริ่มติดต่อบริษัทที่บริหารกองทุนถึงนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐ ไปจนถึงกฎระเบียบด้านการลงทุนในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
ไม่ใช่แค่สหรัฐอเมริกาที่เหล่ามหาเศรษฐีจีนได้ดูลู่ทางเท่านั้น แต่ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกเป้าหมายอีกแหล่งด้วย
ก่อนหน้านี้เหล่ามหาเศรษฐีจีนเคยออกตะลุยในการซื้อสินทรัพย์ในต่างประเทศในช่วงประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ อย่างไรก็ดีการเข้าลงทุนในต่างประเทศของเหล่ามหาเศรษฐีจีนนี้เพื่อที่จะขยายธุรกิจออกนอกประเทศ แต่ในครั้งนี้กลับเป็นตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
]]>บทวิเคราะห์ล่าสุดของ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มีประเด็นที่น่าสนใจที่สะท้อนให้เห็น การปรับตัวธุรกิจไทยในหลากหลายเซกเตอร์ และการฟื้นตัวระยะปานกลางแบบ K-Shape
จากการศึกษาการปรับตัวของแต่ละธุรกิจ มาตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรกในไตรมาส 2 ของปี 2563 จนถึงไตรมาส 2 ของปี 2564 ผ่านการคำนวณเป็นดัชนีรายได้ของแต่ละธุรกิจ ข้อมูลรายได้ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกว่า 500 บริษัท เทียบกับรายได้ปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดโควิด-19 เป็นปีฐานเริ่มต้นเท่ากับ 100 พบว่า แต่ละธุรกิจมีการฟื้นตัวที่ต่างกัน แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่
• ธุรกิจฟื้นแล้ว (ดัชนีรายได้ > 100) เป็นธุรกิจที่ฟื้นตัว จากการได้รับอานิสงส์จากตลาดส่งออกและตลาดในประเทศดีขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ยางพารา พลังงาน เหล็กและโลหะ อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม
• ธุรกิจกำลังฟื้น (ดัชนีรายได้อยู่ระหว่าง 60 ถึง 100) เป็นธุรกิจกำลังฟื้นตามกำลังซื้อในประเทศที่เริ่มกลับมา เช่น ค้าปลีก รับเหมาก่อสร้าง เกษตรแปรรูป ไอทีและเทเลคอม ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การแพทย์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน สินค้าอุปโภคและบริโภค เฟอร์นิเจอร์
• ธุรกิจยังไม่ฟื้น (ดัชนีรายได้ < 60) เป็นกลุ่มที่ยังไม่ฟื้นและได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นภาคบริการ เช่น อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า ขนส่งและโลจิสติกส์ (ขนส่งทางน้ำ และทางอากาศ) ท่องเที่ยว (โรงแรมและร้านอาหาร) และการบริการส่วนบุคคล
“ผลของการล็อกดาวน์บางส่วนตามมาตรการของรัฐ ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2564 ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการในแต่ละธุรกิจลดลง”
อย่างไรก็ตาม การเร่งฉีดวัคซีนเเละเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ จะช่วยให้สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นทำให้แต่ละธุรกิจทยอยฟื้นตัวนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เป็นต้นไป “รูปแบบการฟื้นตัวจะเป็นไปในลักษณะการทยอยฟื้นตัว และไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก”
“กลุ่มธุรกิจที่ยังไม่ฟื้น” มีความเปราะบางมากที่สุด เพราะรายได้เมื่อเทียบกับปี 2562 (ก่อนโควิด-19) มีการหดตัวมากกว่า 30% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาติดต่อกัน
โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม และร้านอาหาร รายได้ลดลง 66% และ 49% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ ได้แก่ ขนส่งทางอากาศและทางน้ำ รายได้ลดลง 84% และ 51% และกลุ่มบริการส่วนบุคคล ได้แก่ บันเทิงและการกีฬา รายได้ลดลงมากถึง 84%
สำหรับ “กลุ่มธุรกิจกำลังฟื้น” ก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน เนื่องจากรายได้ใน 2 ปีที่ผ่านมาลดลง 10-30% ซึ่งในช่วงที่เหลือของปีนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวอีกครั้ง เพื่อรอคอยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 นี้ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อย ๆ กลับพลิกฟื้นอีกครั้ง
ttb analytics เเนะว่า สิ่งที่สามารถประคับประคองธุรกิจให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจยังไม่ฟื้นและกำลังฟื้นให้อยู่รอดในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ได้เเก่ การทำตลาดในช่องทางออนไลน์มากขึ้น การบริหารจัดการธุรกิจโดยคำนึงถึงความสะดวกของการซื้อสินค้าของผู้บริโภค และสินค้าต้องมีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และหากเป็นโรงงานและธุรกิจบริการควรพิจารณาทำ Bubble & Seal
นอกจากนี้ ควรพิจารณาเข้ารับความช่วยเหลือตามมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ เช่น การพักชำระหนี้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร ฯลฯ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้
หากมองออกไปใน 1-2 ปีข้างหน้า (2565-2566) แม้ว่าการระบาดของโรคโควิดมีแนวโน้มบรรเทาลง จากการเร่งฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรของโลกและในประเทศไทยมากขึ้น
แต่ทว่าโรคโควิด ก็ยังไม่หมดไปและอาจกลายพันธุ์เพิ่มเติม ทำให้การแพร่ระบาดดังกล่าวจะยังคงอยู่กับโลกต่อไปหลังจากนี้อย่างน้อย 1 ปี จนกว่าจะมีวัคซีนที่สามารถจัดการไวรัสได้อย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้ต้องพึ่งการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชากรในทุกปี
ดังนั้น ภาคธุรกิจจะยังต้องเผชิญกับความท้าทายใน 3 ด้าน ต่อไปนี้
ด้านแรก ธุรกิจยังต้องเผชิญกับการระบาดของโรคโควิดต่อไป ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวเพื่ออยู่ด้วยกันด้วยความระมัดระวัง โดยการดำเนินธุรกิจให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อในพนักงานและลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
ด้านที่สอง ธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ EEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อม การเป็นสังคมผู้สูงอายุของไทย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้ความเจริญกระจายไปหัวเมืองในเศรษฐกิจภูมิภาค การผลิตสินค้าที่คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตลาดสินค้าสำหรับผู้สูงอายุจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และสินค้าเพื่อการส่งออกจะมีมูลค่ามากขึ้น เพราะได้รับแรงหนุนจากนโยบายส่งเสริมลงทุนภาครัฐ
ด้านสุดท้าย ธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค อาทิ การเข้าถึงผู้บริโภคจากหลายช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งธุรกิจต้องผสมผสานอย่างสมดุล หรือที่เรียกว่า Omni-Channel และจะต้องปรับใช้เทคโนโลยี Digital Ecosystem ที่อยู่รอบตัว เช่น E-Commerce, E-Payment, E-Transportation, Inventory Management ฯลฯ มาใช้ในธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภค
“ความนิยมในสินค้าของผู้บริโภคมีหลากหลายกลุ่มมากขึ้น เพราะสามารถสืบค้นข้อมูลและเปรียบเทียบสินค้าจากสื่อออนไลน์ได้”
จากปัจจัยท้าทายทั้ง 3 ด้าน ttb analytics ประเมินว่าการฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจในระยะปานกลางจะแตกต่างกัน กล่าวคือ มีธุรกิจที่ฟื้นและเติบโตดี และธุรกิจที่ไม่ฟื้นและตกต่ำต่อเนื่องจนกว่าโรคโควิดจะหมดไป หรืออยู่ในรูปแบบการฟื้นตัวแบบ K-Shape ดังนี้
โดยธุรกิจ K-Shape ขาขึ้นจะมีปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประเทศและพฤติกรรมผู้บริโภค สนับสนุนให้ธุรกิจเหล่านี้ฟื้นและเติบโตได้ดีต่อเนื่อง
“K-Shape ขาลง ส่วนใหญ่จะอยู่ในธุรกิจบริการ จำเป็นต้องช่วยกันประคับประคองทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและลูกจ้างให้อยู่รอดใน 1-2 ปีข้างหน้า เเละจำเป็นที่รัฐต้องช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจลุกขึ้นมาให้ได้ เพื่อการฟื้นตัวในระยะต่อไป”
]]>
รายได้ที่หดหายไป ทำให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มทรุดหนัก รัฐบาลอินโดนีเซียจึงเปิดตัวโมเดลกระตุ้นการท่องเที่ยวในเกาะบาหลีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า ‘Work from Bali’ ซึ่งมีความน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
โดย ‘Work from Bali’ จะเป็นการเปิดทางให้เหล่าข้าราชการและพนักงานบริษัทของรัฐ เปลี่ยนบรรยากาศมาทำงานทางไกลที่เกาะบาหลี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เป็นไปในลักษณะ ธุรกิจไมซ์ (MICE) การท่องเที่ยวเพื่อจัดประชุมเเละทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
ทางกระทรวงประสานงานด้านกิจการทางทะเลและการลงทุนของอินโดนีเซีย จะเริ่มนำร่องโครงการนี้ที่เมืองนูซา ดูอา (Nusa Dua) ซึ่งเคยเป็นพื้นที่หลักในการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมเศรษฐกิจเอเชีย–แปซิฟิก หรือ APEC เมื่อปี 2013
“เราหวังว่าการมาเยือนของบรรดาข้าราชการเเละพนักงานบริษัทของรัฐจะเป็นฟันเฟืองสำคัญ ที่จะทำให้เศรษฐกิจของบาหลีเริ่มฟื้นตัว”
ที่ผ่านมา ‘บาหลี’ นับเป็นเมืองที่พึ่งพาการท่องเที่ยวสูงมาก โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เเละได้รับผลกระทบหนักจากมาตรการปิดพรมเเดนเพื่อสกัดโรคระบาด โรงเเรมเเละร้านอาหารต่างๆ ต้องหยุดกิจการชั่วคราวเมื่อไม่มีผู้ใช้บริการ
เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ GDP ของอินโดนีเซียที่ลดลง 9.9% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว ขณะที่ GDP ปี 2020 หดตัวอยู่ที่ 9.3%
“ในช่วง 3 เดือนเเรกของปีนี้ เกาะบาหลีต้อนรับชาวต่างชาติเพียง 25 คนเท่านั้น น้อยลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่เเล้ว ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากถึง 1.1 ล้านคน”
รัฐบาลท้องถิ่นกำลังเร่งกระจายฉีดวัคซีน เพื่อสร้าง ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ ป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อรองรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้
ขณะเดียวกัน ‘ภูเก็ต’ เกาะชื่อดังของไทย ที่เป็นคู่แข่งของบาหลีในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็กำลังจะเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส เข้ามาในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้เช่นกัน
ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอินโดนีเซียและไทยที่ยังไม่ชะลอลง จึงเกิดความกังวลในเเผนการรับมือต่างๆ ซึ่งจะต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไป…
ที่มา : Bloomberg , ttgasia , thejakartapost
]]>