Douyin Pay – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 03 Feb 2021 05:26:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 TikTok มีระบบชำระเงินของตัวเองแล้ว! บริษัทแม่ ByteDance เปิดตัว Douyin Pay ในจีน https://positioningmag.com/1315273 Wed, 20 Jan 2021 05:48:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315273 ByteDance บริษัทแม่ของแอปฯ TikTok เปิดตัวระบบ e-Payment ใหม่ในชื่อ Douyin Pay ต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในแอปฯ Douyin แอปฯ ต้นฉบับของ TikTok ทั่วโลก

Douyin Pay จะมาเป็นช่องทางเสริมระบบชำระเงินที่มีอยู่แล้ว และยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ Douyin ให้ดียิ่งขึ้น” บริษัท ByteDance ส่งแถลงการณ์รายงานผ่านสำนักข่าว Reuters ถึงการเปิดตัวระบบ e-Payment ของบริษัท

ปัจจุบัน ผู้ใช้งานแอปฯ Douyin (โถ่วอิน) ในจีนมีกว่า 600 ล้านคนต่อวัน การชำระเงินซื้อสินค้าผ่านแอปฯ ที่ผ่านมาสามารถใช้บริการ Alipay ของ Ant Group หรือ WeChat Pay ของ Tencent โดยผู้ใช้มักจะชำระเงินเพื่อซื้อของขวัญเสมือนจริงให้กับไอดอลที่กำลังไลฟ์สด หรือซื้อสินค้าที่ขายอยู่บนแพลตฟอร์ม

สำหรับเบื้องหลังการพัฒนา Douyin Pay นั้น ByteDance ใช้วิธีควบรวมกิจการบริษัท Wuhan Hezhong Yibao Technology Co เมื่อปีก่อน โดยบริษัทนี้มีใบอนุญาตระบบชำระเงินจากธนาคารกลางของจีนมาตั้งแต่ปี 2014 ทำให้บริษัท ByteDance ปรับผลิตภัณฑ์มาใช้กับแอปฯ ของตนเองได้ทันที

บรรยากาศใน TikTok ไทยที่บูมสุดขีดเมื่อเดือนเมษายนปี 2563

จากฐานผู้ใช้แอปฯ 600 ล้านคน ในประเทศที่มีประชากร 1,393 ล้านคน ผู้ใช้เหล่านี้น่าจะเป็นสปริงบอร์ดอย่างดีในการที่ Douyin Pay จะเข้าฟาดฟันในตลาด e-Payment จีน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่นรายใหญ่สองราย คือ Alipay กับ WeChat Pay โดยระบบ Alipay ยังเป็นเบอร์ 1 ด้วยมาร์เก็ตแชร์ 55.39% ส่วนผู้เล่นรายอื่นๆ ที่พยายามทำตลาด ได้แก่ JD Pay, Baidu Wallet และ Meituan Pay

จังหวะการเปิดตัวของ Douyin Pay นั้นน่าสนใจมาก เพราะเลือกเปิดตัวในช่วงที่ทางการจีนกำลังตรวจสอบบริษัท Ant Group เจ้าของ Alipay อย่างเข้มงวด จึงเป็นไปได้ว่าช่วงนี้จะเป็นช่วงที่บริษัทอื่นๆ เตรียมเข้ามาชิงตลาด

แอปฯ Douyin นั้นนับได้ว่าเป็น “ต้นฉบับ” ของแอปฯ TikTok ที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศ และเป็นเหมือนภาพอนาคตให้เห็นว่า TikTok จะก้าวไปในทิศทางใดและสามารถต่อยอดไปทำอะไรได้บ้าง โดย Douyin มีระบบอี-คอมเมิร์ซภายในแอปฯ ของตัวเองตั้งแต่ปี 2017 และปัจจุบันมีผู้ซื้อของบนแอปฯ หลายร้อยล้านคนต่อวัน

ส่วน TikTok ไทยนั้นได้อานิสงส์เติบโตแรงเมื่อปี 2563 จากการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติในไตรมาส 2 ทำให้ช่วงปลายปี TikTok ไทยมีโอกาสขยับเปิดบริการ TikTok for Business ให้ธุรกิจระดับ SMEs สามารถซื้อการลงโฆษณาภายในแอปฯ ด้วยตนเองได้ ต้องจับตามองต่อไปว่า TikTok ไทยจะรับต้นแบบจาก Douyin มาใช้และเปิดการขายอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบบนแอปฯ บ้างหรือเปล่า

Source

]]>
1315273
เส้นทางคอลลาเจน 3,000 ล้าน จากไทอิน สู่ Amado Shopping เขย่าวงการโฮมช้อปปิ้ง https://positioningmag.com/1314803 Tue, 19 Jan 2021 01:54:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314803 ขายเองไม่พอ “อมาโด้” ลุยโมเดลธุรกิจใหม่ เปิด Amado Shopping รุกตลาดโฮมช้อปปิ้งเต็มตัว เปิดรับพาร์ตเนอร์ขายสินค้าแบรนด์อื่น โดยคิด GP 25% ใช้วิธีซื้อแอร์ไทม์รายการในจำนวนเยอะ ตั้งเป้าสู่คอลลาเจน 3,000 ล้านในสิ้นปี 2564 และเข้าตลาด MAI ในไตรมาส 3

เส้นทางคอลลาเจนพันล้าน

หลายคนคงคุ้นเคยกับ “อมาโด้” แบรนด์คอลลาเจนของนักธุรกิจหนุ่ม “เชน ธนา” หรือ ธนาตรัยฉัตร ที่ปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ตามรายการทีวีหลายๆ ช่อง เพราะมีการไทอินขายสินค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมโปรโมชันที่ดึงดูดนักช้อปตลอด

อมาโด้เริ่มก่อตั้งในปี 2557 ทำให้ตอนนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 7 แล้ว มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นแบรนด์คอลลาเจนพันล้านภายใน 6 ปี ในปี 2563 ได้ปิดรายได้ที่ 2,298 ล้านบาท มีการเติบโตสู่งถึง 231.14% ซึ่งธนาตรัยฉัตรได้บอกว่ามีการปรับเป้ารายได้ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 จาก 1,200 ล้านบาท เป็น 1,800 ล้านบาท จนปิดรายได้ที่สองพันกว่าล้านบาท

แรกเริ่มอมาโด้ได้มีช่องทางจัดจำหน่ายผ่านคีออสก์ จนเมื่อปี 2562 ได้มีดีลเลอร์ตัวแทนจัดจำหน่ายแต่ละจังหวัด โดยดีลเลอร์ของอมาโด้จะไม่มีลูกทีมที่ตัดราคากัน

จุดเปลี่ยนสำคัญของอมาโด้อยู่ที่เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา ได้เริ่มขยายช่องทางจัดจำหน่ายเข้าสู่รายการโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการไทอิน หรือมีสปอตโฆษณา ซึ่งการที่เข้าจำหน่ายทางทีวีนี่เอง ทำให้กำเนิดช่องทาง “เทเลเซลส์” อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งตอนแรกที่ขายในทีวี อมาโด้ได้จ้างเอเยนซี่ที่เป็นคอลเซ็นเตอร์ในการรับออเดอร์ต่างๆ แต่ก็พบว่ามีการคิดส่วนแบ่งค่อนข้างแพง จนได้จัดทีมเทเลเซลส์เป็นของตัวเองเพื่อรองรับออเดอร์ทางทีวีโดยเฉพาะ

ทำให้ปัจจุบันอมาโด้มี 5 ช่องทางจัดจำหน่าย ได้แก่ ดีลเลอร์ 49% ออนไลน์ 17% เทเลเซลส์ 29% คีออสก์ 3% และโมเดิร์นเทรด 2%

จนทำให้อมาโด้ค้นพบว่า ตลาดทีวีช้อปปิ้ง หรือโฮมช้อปปิ้งมีโอกาสมหาศาล มีมูลค่าสูงถึง 18,000 ล้านบาท โดยที่อมาโด้มียอดขายจากรายการทีวี หรือเทเลเซลส์ 900 ล้านบาท หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 6%

ไทอินผ่านรายการนับพันครั้ง

การขายผ่านทีวีของอมาโด้จะมี 2 รูปแบบด้วยกัน 1. Talk หรือเป็นการนำสินค้าไปไทอินในรายการ ธนาตรัยฉัตรเข้าไปพูดคุยในรายการ แล้วแจ้งโปรโมชันการขาย จะให้ลูกค้าโทรเข้ามา จะมีทีมเทเลเซลส์คอยรับออเดอร์ และ 2. Spot เป็นโฆษณาทางทีวี แต่รวมๆ แล้วอมาโด้จะเรียกรวมกันว่า “แอร์ไทม์”

ในปี 2563 อมาโด้มีแอร์ไทม์ในทีวีแบ่งเป็นทอล์กออนแอร์ 1,170 ครั้ง และสปอตโฆษณา 202 ครั้ง จะเลือกใช้เป็นเทศกาล หลายคนบอกว่าเห็นอมาโด้บ่อย แต่ธนาตรัยฉัตรบอกว่านี่เป็นตัวเลขการออนไลน์ที่คิดเป็น 1 ใน 4 ของบางแบรนด์เท่านั้น

โดยกระจายผ่าน 8 ช่องในทีวีดิจิทัล แบ่งสัดส่วนเป็นไทยรัฐทีวี 32% ONE31 23% อมรินทร์ทีวี 16% MONO29 11% ช่อง 3 8% ช่อง 9 4% เวิร์คพอยท์ 3% และเนชั่นทีวี 2%

โดยที่มี 10 รายการ ที่เป็น Top 10 ROI ของอมาโด้ ได้แก่ ตะลอนข่าว จากไทยรัฐทีวี เกลือวันเด้อ จากช่องวัน ข่าวเช้าช่องวัน จากช่องวัน เป็นต้น

ธนาตรัยฉัตรได้เผยข้อมูลว่า 2 รายการที่สร้างยอดขาย New High มากที่สุดได้แก่ รายการ “เกลือวันเด้อ” จากช่องวัน มีการโทรเข้ามา 1,898 สาย ภายใน 8 นาที และรายการ “ตะลอนข่าว” จากช่องไทยรัฐทีวี มีการโทรเข้า 1,657 สาย ภายใน 7.30 นาที

ในการไทอินในรายการแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.30-3 นาที แต่เคยมีช่วงเวลาที่นานสุด 9-10 นาทีก็มี ในปีนี้อมาโด้ตั้งเป้ามีแอร์ไทม์ในการทอล์กในรายการทีวี 3,037 ครั้ง และสปอตโฆษณา 723 ครั้ง

เปิดโมเดลใหม่ Amado Shopping

หลังจากที่เริ่มเข้าสู่การขายผ่านทีวี หรือเป็นธุรกิจทีวีช้อปปิ้งแล้ว ในช่วง 1-3 เดือนแรกอมาโด้ยังใช้บริการเอเยนซี่ในการช่วยรับโทรศัพท์ รับออเดอร์ มีการแบ่ง GP กัน แล้วจึงตั้งทีมเทเลเซลส์ขึ้นมา

เมื่อการขายสินค้าแบรนด์ของตัวเองไปได้ด้วยดีแล้ว อมาโด้จึงแตกไลน์ธุรกิจใหม่ Amado Shopping ในการเข้ามาเขย่าตลาดวงการทีวีช้อปปิ้งเต็มตัว

โมเดลของ Amado Shopping ไม่ได้เปิดช่องใหม่ หรือทำรายการของตัวเองแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้แอร์ไทม์การไทอินสินค้าเหมือนเดิม เพียงแต่มีการซื้อช่วงเวลามากขึ้นจากรายการที่ ROI สูงๆ โดยจะเปิดรับพาร์ตเนอร์เป็นสินค้าแบรนด์อื่น ไม่จำกัดว่าเป็นกลุ่มไหน มาให้อมาโด้ช่วยขายผ่านรายการ นั่นคือการเปลี่ยนจากการขายคอลลาเจน มาเป็นขายสินค้าอื่นแทนนั่นเอง ทำให้มีรายได้มากขึ้น

ธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด เล่าว่า

Amado Shopping นับเป็นการแตกไลน์ธุรกิจใหม่ หรือ New Business Model บุกตลาดทีวีโฮมช้อปปิ้ง จะเป็นโฮสในการทำเทเลมาร์เก็ตติ้งให้แบรนด์สินค้าอื่นๆ หรือถ้าแบรนด์ไหนอยากให้ผมลงไปช่วยขายด้วยก็ได้ ก็ตกลงราคากัน เป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับธุรกิจใหม่ ทั้งยังสามารถเก็บรวบรวมสะสมข้อมูลลูกค้าเป็น Big Data ที่เป็นขุมทรัพย์สำคัญของธุรกิจ

คิด GP 25% มีทีมเทเลเซลส์

ธนาตรัยเสริมว่า จุดแข็งของ Amado Shopping คือ การคิดค่า GP 25% จากปกติรายการโฮมช้อปปิ้ง หรือเอเยนซี่จะคิดค่า GP เฉลี่ย 40-65% สามารถเอาสินค้ามาให้ทางอมาโด้จัดการได้ ไม่จำกัดว่าเป็นสินค้ากลุ่มไหน แค่เป็นสินค้าถูกกฎหมาย มีการจดทะเบียนถูกต้องเท่านั้น พร้อมกับปัจจัยอื่นๆ

  • มีทีมเทเลเซลส์รับสายพร้อมปิดการขาย 200 คน
  • มีบริการส่งสินค้าภายใต้การบริการของอมาโด้เอง สามารถส่งของได้ภายใน 48 ชั่วโมงทั่วประเทศ
  • มีคลังสินค้าจัดเก็บสินค้าขนาดใหญ่ 3 ไร่ครึ่ง และคาดการณ์จะขยายเป็น 6 ไร่ในอนาคต

ในปีนี้อมาโด้ตั้งเป้ามีรายได้จาก Amado Shopping ถึง 1,000 ล้านบาท และก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดทีวีโฮมช้อปปิ้งในประเทศภายใน 3 ปี หรือมีรายได้ 4,000-5,000 ล้านบาท

มุ่งสู่คอลลาเจน 3,000 ล้าน

ในปี 2563 อมาโด้มีรายได้รวม 2,298 ล้านบาท เติบโต 231.14% มีส่วนแบ่งการตลาด 10% ในตลาดอาหารเสริมที่มีมูลค่า 22,621 ล้านบาท ตลาดเติบโต 8.5% หรืออยู่อันดับที่ 5 มีการตั้งเป้าขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในตลาดภายใน 3 ปี

ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ที่ 3,000 ล้านบาท และตั้งเป้าว่าจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

แบ่งสัดส่วนรายได้ของสินค้าออกเป็น Colligi 71% Cerigi 11% H 9% อื่นๆ 8% และสินค้าใหม่ที่จะออกในปีนี้โปรไบโอติกอีก 16%

]]>
1314803