ecommerce – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Feb 2024 11:04:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Priceza’ ฉายภาพ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ไทย 2024 แนะควรมี ‘First party data’ ของตัวเอง ลดพึ่งพา ‘E-Marketplace’ https://positioningmag.com/1463828 Fri, 23 Feb 2024 09:05:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463828 หากพูดถึงตลาดอีคอมเมิร์ซเมืองไทย หลายคนก็จะนึกถึง Shopee, Lazada ที่เป็นอีมาร์เก็ตเพลส ถ้าชอบเล่นโซเชียลก็จะเห็น TikTok Shop, Facebook Live ขายของ แต่ E-Commerce Landscape ปีนี้จะเป็นอย่างไร Priceza Insights ได้มาอัปเดตให้ได้เห็นกัน

อีคอมเมิร์ซ 2023 โต 14%

มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศไทยในปี 2023 คาดการณ์ว่าจะไปแตะอยู่ที่ 932,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 14% เมื่อเทียบกับปี 2022 อยู่ที่ 818,000 ล้านบาท นับว่าประเทศไทยได้เข้าสู่การซื้อขายออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ โดยปัจจุบันคนไทยมากกว่าครึ่งเคยซื้อสินค้า/บริการผ่าน E-Commerce ด้วยการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยที่ขยายตัวและครอบคลุมมากขึ้นด้วย

ปัจจุบัน ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มีความเปลี่ยนเเปลงทั้งในด้านเเพลตฟอร์มการให้บริการ เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสใหม่ ๆ เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มมีการฟื้นตัว รวมถึงระบบนิเวศทั้งหลายของธุรกิจที่เข้าสู่ออนไลน์อย่างเต็มรูปเเบบหลังจากช่วงหลังโควิดที่ผ่านมา โดยตลาดอีคอมเมิร์ซในตอนนี้ครอบคลุมหลายด้านของการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น Food Delivery, Online Grocery, การท่องเที่ยว และ On-Demand Delivery

ภาพจาก Shutterstock

สำหรับปี 2024 สมรภูมิการแข่งขันอีคอมเมิร์ซ มีแนวโน้มดุเดือดยิ่งขึ้น! แม้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประเมินถึงมูลค่าตลาดในปีนี้ แต่ทาง Google, Temasek และ Bain & Company ประเมินว่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยภายในปี 2025 จะมีมูลค่าสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความท้าทายที่สุดของร้านค้าไทย นอกจากปัจจัยเรื่องราคา และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคดิจิทัลแล้ว สินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาผ่านอีมาร์เก็ตเพลส ปัญหาสินค้าราคาถูกที่เข้ามาทุ่มตลาดในไทยผ่านช่องทาง E-Commerce และการเข้ามาใช้ประโยชน์จาก Free Trade Zone เพื่อขายสินค้าในประเทศ รวมถึงการลักลอบนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรโดยการสำแดงข้อมูลเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทำให้สินค้าราคาถูกรวมถึงสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานทะลักเข้าตลาดในประเทศ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้

ทั้งนี้ ทางภาครัฐเองก็เริ่มตระหนักและหันมา ทบทวนนโยบายการเรียกเก็บภาษี ที่เหลื่อมล้ำเพื่อส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้เติบโตได้และไม่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าจากสินนค้าประเทศจีนและมีการแข่งอย่างเสรีและเป็นธรรมซึ่งเราคงได้เห็นการปรับโครงสร้างภาษีในปีนี้

ภาพจาก Shutterstock

ต้องพึ่งพาตัวเอง และใช้เอไอช่วย

ในด้าน Retail Commerce การพึ่งพาแพลตฟอร์มอย่างอีมาร์เก็ตเพลสอาจเป็นสิ่งที่ท้าทายมากขึ้น นั่นจึงเป็นแรงผลักดันให้แบรนด์ เริ่มเห็นความสำคัญของการมี First party data เป็นของตัวเองมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดกับการใช้ Gen AI การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อ Personalization สร้างประสบการณ์ Commerce Experience ในการช่วยแบรนด์สร้างยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้บริการ E-Commerce สามารถดึงดูดและรักษาลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ปัจจุบัน ระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ออกเป็น 4  กลุ่มได้แก่

  • Marketing & Supporting (การตลาดและการสนับสนุน) เช่น Priceza Affiliate, Pundai, ShopBack, RadarPoint, MyCashback, Access Trade, Involve Asia, Ecomobi ที่เป็นกลุ่ม Affiliate Marketing หรือ Etailligence, KaloData, Wisesight, Mandala ที่เป็นกลุ่ม Data Insights
  • E-Commerce Channels (ช่องทางอีคอมเมิร์ซ) เช่น Shopee, Lazada, Tiktok, Central, MOnline
  • Payment (การชำระเงิน) เช่น TrueMoney Wallet, LINE Pay, ShopeePay, GrabPay, LazWallet, Paotang
  • Delivery (การจัดส่ง) เช่น ปณ.ไทย, Kerry, Flash, DHL, J&T และในกลุ่ม On-Demand Delivery เช่น Grab, LINE MAN, Robinhood, Lalamove, นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม Fulfillment เช่น MyCloud, SokoChan, SiamOutlet, Akita เป็นต้น
]]>
1463828
ส่องเทรนด์ ‘อีคอมเมิร์ซ’ 2024 ปีแห่งสงคราม ‘Affiliate Commerce’ การค้าผ่านตัวแทน https://positioningmag.com/1459661 Mon, 22 Jan 2024 08:14:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459661 แม้ว่าตลาด อีคอมเมิร์ซ ไทยอาจไม่ได้เติบโตก้าวกระโดดเหมือนช่วงที่ COVID-19 ระบาด แต่คาดว่าปี 2024 นี้ก็ยังเติบโตได้ 7% มีมูลค่ารวม 6.34-6.94 แสนล้านบาท แต่ที่น่าสนใจกว่าการเติบโตก็คือ เทรนด์ใหม่ ๆ ที่จะได้เห็นในปีนี้ ที่คาดการณ์โดย ป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานบริหาร บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด และผู้บุกเบิกวงการอีคอมเมิร์ซไทย

Affiliate Commerce : การค้าผ่านตัวแทน 

เชื่อว่าหลายคนที่เล่นโซเชียลมีเดีย มักจะมีเพจ, คนดัง รวมถึงคนทั่วไปมาแปะลิงก์ป้ายยาสินค้าออนไลน์กัน ซึ่งก็ไม่ต้องแปลกใจไป เพราะปัจจุบันมีแพลตฟอร์มหรือผู้ให้บริการระบบนี้มากขึ้น โดยการนำสินค้าไปให้คนดังช่วยขายแบบระบบที่เรียกว่า Affiliate Commerce หรือ การค้าผ่านตัวแทน เช่น นำสินค้าไปใส่ในแพลตฟอร์ม กำหนดราคา รายละเอียด และรูปภาพ จากนั้นกำหนดค่าคอมมิชชั่น

โดยการขายประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นการขายออนไลน์ ทำให้ตัวแทนสินค้าสามารถสมัครและเลือกสินค้าไปขายได้ง่าย ด้วยวิธีนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ของตน และเมื่อมีคนสนใจและกดสั่งซื้อ คำสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังเจ้าของสินค้า จากนั้นเจ้าของสินค้าจะส่งสินค้าไปให้และแพลตฟอร์มจะคำนวณค่าคอมมิชชั่นให้ตัวแทนโดยอัตโนมัติ

การค้าด้วยวิธีนี้กำลังได้รับความนิยม เพราะยิ่งมีคนช่วยโปรโมตสินค้ามากเท่าไหร่ โอกาสขายและเพิ่มยอดขายก็จะยิ่งมากขึ้น ดังนั้น ใครจะเริ่มบริการ Affiliate Commerce อาจลองกำหนดค่าคอมมิชชั่นที่ดี เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้มากขึ้น

Subscription Commerce 

การขายสินค้าและบริการแบบสมัครสมาชิก ช่วยให้ธุรกิจสร้างรายได้ต่อเนื่อง เพราะลูกค้าจ่ายเงินรายเดือน ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ครั้งเดียว และลูกค้าสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะราคาต่อเดือนไม่สูง ตัวอย่างธุรกิจแบบสมัครสมาชิก เช่น Netflix, Spotify, Apple Music, Amazon Prime Video

เราเรียกการเก็บเงินรูปแบบนี้ว่า การเก็บเงินแบบสมัครสมาชิก (Subscription) หรือ การหักเงินอัตโนมัติรายเดือน (Recurring Payment) ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเก็บเงินแบบสมัครสมาชิกรายเดือนมากมาย เช่น PaySolutions.asia หรือแม้ ร้านกาแฟ ก็เริ่มมีโมเดล Subscription แล้ว

สงคราม Live Commerce ปะทะ Entertainmerce

เพราะรูปแบบพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์เปลี่ยน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ

  • การซื้อแบบไม่ได้ตั้งใจ (Influence Buying) มักเกิดขึ้นจากการดูคลิปสั้นบน TikTok ที่นำเสนอสินค้าอย่างน่าสนใจและดึงดูดใจ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากซื้อโดยไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน เรียกว่า “Entertainmerce การค้าผ่านความบันเทิง”
  • การซื้อแบบมีแผน (Intend Buying) มักเกิดขึ้นจากการค้นหาสินค้าที่ต้องการซื้อใน e-marketplace ที่มีสินค้าหลากหลายและราคาที่เปรียบเทียบได้ง่าย เรียกว่า “Marketplace แหล่งรวมสินค้า”

โดยตั้งแต่การมาของ TikTok Shop ทำให้เทรนด์ Live Commerce หรือ Entertainmerce มาแรงซึ่ง TikTok Shop ส่งลูกค้าให้กับพ่อค้าแม่ค้าได้ง่ายกว่า และมีโปรโมชั่นมากกว่า Facebook Live อีกด้วย จึงทำให้พ่อค้าแม่ค้าหลายคนหันมาขายสินค้าผ่าน TikTok กันอย่างถล่มทลาย อย่างไรก็ตาม การนำสินค้าเข้ามาขายผ่าน Live commerce เป็นแนวทางที่ต้องทำ ต้องทดลอง และต้องเอาจริง เพราะเข้าถึงลูกค้าได้ดีและต้นทุนถูกกว่า

 

ใช้เครื่องมืออัตโนมัติและ AI 

เทคโนโลยีในการค้าออนไลน์พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจออนไลน์สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ เช่น จากเดิมที่ต้องลงประกาศขายสินค้าทีละช่องทาง ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่ช่วยเชื่อมต่อช่องทางการขายต่างๆ เข้าด้วยกัน ช่วยให้ร้านค้าสามารถจัดการคำสั่งซื้อและสต็อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือที่ช่วยในด้านการขนส่ง การบัญชี การบริการลูกค้า และการตลาดออนไลน์

เทคโนโลยี AI ที่กำลังพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ธุรกิจออนไลน์สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การสร้างรูปภาพสินค้า การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และการวางกลยุทธ์การตลาด เป็นต้น ผู้ประกอบการออนไลน์จึงควรให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ นอกเหนือจากการเพิ่มยอดขายเพียงอย่างเดียว

ดังนั้น ผู้ขายควรเริ่มต้นหาเครื่องมือช่วยการขายออนไลน์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ระบบบริหารคำสั่งซื้อ ระบบชำระเงิน ระบบบริหารลูกค้า และระบบบัญชี เป็นต้น

เพิ่มการซื้อซ้ำด้วย CDP

เนื่องจากช่องทางการค้าออนไลน์ที่หลากหลาย ทำให้ข้อมูลลูกค้ากระจัดกระจาย ยากต่อการติดต่อและเข้าใจลูกค้า ดังนั้นจึงควรใช้ CDP (Customer Data Platform) เพื่อรวมศูนย์ข้อมูลลูกค้าไว้ที่เดียว ช่วยให้เข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดย CDP ช่วยเพิ่มการซื้อซ้ำได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อส่งข้อความการตลาดที่เหมาะสม และทำการตลาดแบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้คน ศึกษาและเลือกใช้ CDP ของไทย เช่น Sable.asia หรือ Pams.ai ช่วยให้บริหารจัดการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

]]>
1459661
‘ป้อม ภาวุธ’ ฉายภาพ ‘อีคอมเมิร์ซไทย’ ปี 2024 ในวันที่ถูกต่างชาติ ‘ผูกขาด’ โดยสมบูรณ์ https://positioningmag.com/1458915 Tue, 16 Jan 2024 13:30:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458915 เปิดปีใหม่มาแบบนี้ ป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานบริหาร บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด และผู้บุกเบิกวงการอีคอมเมิร์ซไทย ก็ออกมาพูดถึง ภาพอีคอมเมิร์ซไทย ในปี 2024 ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ป้อม ภาวุธมองก็คือ อีคอมเมิร์ซไทยถูกผูกขาดโดยต่างชาติอย่างสมบูรณ์แบบ

E-Commerce ไทยถูกผูกขาดโดยต่างชาติโดยสมบูรณ์

ปัจจุบันช่องทางการค้าขายออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของไทยคือ การซื้อขายผ่านทางอีมาร์เก็ตเพลส (E-Marketplace) รองลงมาคือทางโซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce) ซึ่งปีนี้การซื้อขายผ่านทาง แอปพลิเคชันสั่งอาหาร หรือ On-Demand Commerce กลายเป็นช่องทางใหม่ที่คนไทยนิยมซื้อสินค้า ซึ่งแทบทุกช่องทางมาจากผู้ให้บริการจากต่างประเทศทั้งสิ้น

โดยหลังจากที่ขาดทุนติดต่อกันหลายปีเป็นหมื่นล้าน เหล่าผู้ให้บริการอีมาร์เก็ตเพลสต่างเริ่มทำกำไรแบบชัดเจน โดยผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศไม่ได้สร้างระบบตลาดนัดเพื่อการซื้อขายเท่านั้น แต่เน้นให้บริการครบทั้งระบบนิเวศของการค้าออนไลน์ 3 ส่วน ได้แก่

  • ซื้อ (Buy) ผ่านทาง Marketplace (Shopee, Lazada)
  • จ่าย (Pay) ผ่านบริการกระเป๋าชำระเงินของตัวเอง (Shopee Pay, LazPay)
  • ส่ง (Delivery) ผ่านบริการบริษัทส่งของๆ ตัวเอง (Shopee Express, Lazada Express)

ด้วยความที่มีระบบนิเวศครบวงจร ทำให้บริษัทเหล่านี้มีจุดแข็งเหนือกว่าบริษัทอื่น ๆ ที่มีให้บริการเฉพาะทางเท่านั้น เมื่อสามารถควบคุมตลาดซื้อขายออนไลน์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘ฮั้ว’ และขึ้นราคาค่าบริการอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้ชัดจากกรณีการขึ้นราคาค่าบริการของการขายของในอีมาร์เก็ตเพลสอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่มีการควบคุมจากภาครัฐ ที่ผ่านมา Shopee และ Lazada มีการขึ้นราคาค่าบริการสูงถึง 150% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 7 เดือน

ดังนั้น จะเห็นว่าผลประกอบการของบริษัทขนส่งในประเทศไทยที่ขาดทุนเกือบทุกราย อย่างไปรษณีย์ไทยขาดทุนเกือบ 20,000 ล้านบาท Kerry Express และ Flash Express ขาดทุนนับหมื่นล้านบาทเช่นกัน แต่ผู้ให้บริการขนส่งครบวงจรอย่าง Shopee, Lazada และ J&T มีกำไรมากกว่า เพราะให้บริการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของตัวเองและขนส่งสินค้าด้วยบริษัทขนส่งของตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนและบริการได้ดีกว่า

สินค้าจีนยังคงเข้ามาขายในไทยอย่างต่อเนื่อง

อีกจุดที่ประเด็นที่ป้อม ภาวุธ เน้นย้ำเสมอก็คือ สินค้าจีนยังคงเข้ามาขายในไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบบขนส่งจากจีนมาไทยสะดวกขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังมีการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรขาเข้า โดยนำสินค้าไปวางไว้ในโกดังเขตปลอดอากร (FreeZone) ทำให้สินค้าจีนมีความได้เปรียบกว่าสินค้าในประเทศหรือผู้ที่นำเข้าเสียภาษีอย่างถูกต้อง

แม้ว่าภาครัฐไทยได้ออกมาตรการควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น สินค้าที่ไม่มี มอก. อย. และมาตรฐานต่าง ๆ ออกจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทำให้สินค้าจีนที่ไม่ได้มาตรฐานบางส่วนไม่สามารถขายได้ แต่สินค้าเหล่านี้ก็ยังคงลักลอบขายในช่องทางออนไลน์อื่นที่รัฐควบคุมไม่ถึง

แนะรัฐควรมีมาตรการกำกับดูแล

สำหรับประเด็นที่อีคอมเมิร์ซถูกผูกขาดโดยต่างชาติ ป้อม ภาวุธ แนะนำว่า ภาครัฐควรมีมาตรการควบคุมและกำกับดูแลการค้าออนไลน์อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างสมดุลระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ เพราะหากปล่อยให้บริษัทต่างชาติเข้ามามีบทบาทในการค้าออนไลน์โดยไม่มีข้อจำกัด ในอนาคตอาจทำให้ผู้ประกอบการไทยถูกครอบงำและเสียเปรียบได้

ด้านการทะลักของสินค้าจีน ต่อไปในอนาคตจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นสินค้าที่มีแบรนด์ มีมาตรฐาน และถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ซึ่งจะเข้ามาแข่งขันกับสินค้าไทยอย่างตรงไปตรงมา โดยสินค้าจีนจะมีความได้เปรียบในด้านราคา ผู้ประกอบการไทยจึงต้องปรับตัวหรือปรับธุรกิจให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น

ส่วนธุรกิจไทยไม่ควรแข่งขันด้านราคากับธุรกิจสินค้าจีน เพราะสินค้าจีนมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุน ผู้ประกอบการไทยควรปรับธุรกิจให้โดดเด่นในด้านอื่น เช่น บริการหลังการขายที่มีคุณภาพ และการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น บริการซ่อมแซม รับประกัน หรือการให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังมีจุดแข็งในด้านความใกล้ชิดกับลูกค้าและการให้บริการที่ครบวงจร ที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าธุรกิจสินค้าจีนได้

]]>
1458915
แคมเปญ 11.11 ใน ‘จีน’ เริ่มหมดมนต์ขลัง หลังนักช้อปมอง ‘ราคา’ ไม่ต่างจากปกติ https://positioningmag.com/1451477 Mon, 13 Nov 2023 02:43:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451477 เชื่อว่าหลายคนน่าจะได้อะไรติดไม้ติดมือบ้างในวันที่ 11.11 ที่ผ่านมา เพราะถือเป็นวันที่เหล่านักช้อปน่าจะรู้ดีว่าเป็นวันที่เหล่าอีคอมเมิร์ซจัดแคมเปญใหญ่แห่งปี อย่างไรก็ตาม ต้นกำเนิด วันคนโสด อย่าง จีน จะไม่ปังเหมือนที่ผ่านมา เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

แคมเปญ 11.11 หรือ วันคนโสด ที่จะโดย อาลีบาบา อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ที่ริเริ่มแคมเปญดังกล่าวในปี 2552 โดยในปีที่ผ่านมา แคมเปญ 11.11 ของอาลีบาบาทำเงินไปกว่า 1.1 ล้านล้านหยวน หรือราว 1.53 แสนล้านดอลลาร์ ตามรายงานของ Bain บริษัทที่ปรึกษา

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของ Bain ในปีนี้พบว่า มีผู้บริโภคถึง 77% ระบุว่า พวกเขาไม่ได้วางแผนที่จะใช้จ่ายมากกว่าปกติในช่วงงานลดราคา นอกจากนี้ หลายคนมองว่า ดีล 11.11 ในปีนี้ไม่ดีเหมือนในอดีต และบางเว็บไซต์ก็ ขึ้นราคาไว้ล่วงหน้าเพียงเพื่อลดราคา ในช่วงแคมเปญ

“ราคามันไม่แตกต่างกันมากนักเมื่อเทียบกับวันอื่นๆ ฉันก็เลยไม่ได้ซื้ออะไร เราจะประหยัดได้นิดหน่อยเพราะว่าเราหาเงินได้น้อยลง” กวน หย่งห่าว ผู้บริโภควัย 21 ปี กล่าว

“ทุกวันนี้ ผู้คนบริโภคน้อยลง ผู้คนไม่มีความปรารถนาที่จะซื้อของมากมายมากนัก โดยคนรอบข้างหลายคนเลือกซื้อแต่ของจำเป็นในชีวิตประจำวันแทน” จาง ชูเหวิน นักศึกษาวัย 23 ปี กล่าว

Jacob Cooke ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ WPIC Marketing + Technologies บริษัทที่ปรึกษาอีคอมเมิร์ซในกรุงปักกิ่ง บอกกับ AFP ว่า วันคนโสดสูญเสียความน่าดึงดูดไปแล้ว เนื่องจากมีรูปแบบการช้อปปิ้งใหม่ ๆ เช่น Live Streaming รวมถึงการ แคมเปญย่อย ๆ ที่มีทุกเดือน นอกจากนี้ ในอดีตแคมเปญ 11.11 จะมีเพียง 1-2 วัน แต่ในปีนี้ บางแพลตฟอร์มใแคมเปญตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม

ทั้งนี้ อาลีบาบา และ JD.com ต่างไม่เปิดเผยยอดขายในช่วงแคมเปญ 11.11 โดยระบุเพียงว่า ยอดขายกลับทรงตัวจากปีก่อน โดยยอดขายที่ชะลอตัวเกิดขึ้นหลังจากที่ทางการจีนประกาศว่า จีนกลับเข้าสู่ภาวะเงินฝืดในเดือนตุลาคม

Source

]]>
1451477
Facebook YouTube และ TikTok เตรียมขอใบอนุญาตทำ E-Commerce หลังรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งห้ามทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง https://positioningmag.com/1449478 Fri, 27 Oct 2023 06:53:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449478 บริษัทเทคโนโลยีหลายรายอย่าง Meta และ Alphabet รวมถึง ByteDance จากจีน เตรียมที่จะขอใบอนุญาตทำธุรกิจ E-Commerce หลังรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งแบนไม่ให้เครือข่ายสังคมทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า เนื่องจากรัฐบาลกังวลถึงผู้ค้าขนาดกลางและขนาดเล็กจะเสียเปรียบแพลตฟอร์มเหล่านี้

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Facebook และ YouTube รวมถึง TikTok ได้เตรียมขอใบอนุญาตทำธุรกิจ E-Commerce หลังรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งแบนบรรดาแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคม (Social Network) ขายสินค้า รวมถึงห้ามทำธุรกรรมซื้อขายสินค้า

แหล่งข่าวของ Reuters ได้กล่าวว่า Facebook และ YouTube ได้เตรียมขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาตที่อนุญาตให้โปรโมตสินค้าบนแพลตฟอร์มของตนได้ โดยทางด้าน Meta บริษัทแม่ของ Facebook เตรียมที่จะขอใบอนุญาตเพิ่มเติมให้กับ Instagram รวมถึง WhatsApp ด้วย

ทางด้านของ TikTok วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาต E-commerce นอกจากนี้แหล่งข่าวรายดังกล่าวยังได้ชี้ว่า TikTok เองกำลังพูดคุยกับเจ้าของ E-commerce ในประเทศอย่าง GoTo ที่เป็นเจ้าของ Tokopedia รวมถึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชันแยกออกมาอย่าง TikTok Shop

โดย TikTok เองได้เตรียมที่จะหยุดให้บริการ TikTok Shop ในช่วงเดือนสิ้นเดือนนี้แล้ว เพื่อที่จะรอท่าทีของทางการอินโดนีเซีย หลังจากที่บริษัทได้รุกตลาดประเทศอินโดนีเซียอย่างหนัก

ก่อนหน้านี้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศแบนการทำธุรกรรม E-commerce ผ่านเครือข่ายสังคม ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคม (Social Network) ได้ โดยข้อระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันที และต้องทำตามภายใน 7 วัน ถ้าหากยังฝ่าฝืนต่อก็อาจมีสิทธิ์ถูกระงับการใช้งานในประเทศได้

เหตุผลที่รัฐบาลอินโดนีเซียสั่งห้ามการทำธุรกรรม E-Commerce ผ่าน Social Network เมื่อเดือนที่ผ่านมา ก็คือต้องการที่จะปกป้องผู้ค้าและตลาดออฟไลน์ขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลของผู้ใช้งานได้รับการปกป้อง

]]>
1449478
ข้อมูลเผย เทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ 618 ของจีน ไม่ปังอย่างคาด แม้ปีนี้จะลดราคามากกว่าเดิมก็ตาม https://positioningmag.com/1435360 Sun, 25 Jun 2023 18:54:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435360 เทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์กลางปี 618 ของจีนนั้นไม่ปังอย่างที่คาด เมื่อผู้ให้บริการข้อมูลในประเทศจีนได้รายงานว่า 3 แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ใหญ่ที่สุดของจีนมียอดขายรวมเติบโตเพียงแค่ 5.4% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมาเท่านั้น

ผู้ให้บริการข้อมูลในประเทศจีนอย่าง Syntun ได้รายงานข้อมูลที่เก็บในช่วงเทศกาลชอปปิ้งออนไลน์กลางปีของจีน หรือที่เรารู้จักกันดีว่าเทศกาล 618 ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา บนแพลตฟอร์ม E-commerce รายใหญ่ของประเทศจีน พบว่ายอดขายรวมเติบโตเพียงแค่ 5.4% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมาเท่านั้น

โดย Syntun ได้เก็บข้อมูลจากแพลตฟอร์ม E-commerce ไม่ว่าจะเป็น TMall ของ Alibaba และ Pinduoduo รวมถึง JD.com นั้นในเทศกาล 618 มียอดขายรวมกันแค่ 614,300 ล้านหยวนเท่านั้น

นอกจากนี้ในปีนี้แพลตฟอร์มที่มียอดขายดีกว่าค่าเฉลี่ยคือ Douyin ซึ่งถือว่าแพลตฟอร์มเดียวกับ TikTok ที่ใช้ในประเทศจีนเท่านั้นและ Kuaishou มียอดขายเติบโตมากถึง 27.6% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับสื่อธุรกิจอย่าง Yicai ได้ชี้ว่าในปีนี้ผู้บริโภคเน้นซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์สตรีมมากขึ้นด้วย

ความพิเศษของเทศกาล 618 ในปีนี้คือเป็นการครบรอบ 20 ปีของธุรกิจอย่าง JD.com โดยแพลตฟอร์มรายดังกล่าวได้ประกาศว่ายอดขายของบริษัทดีกว่าคาด แม้ว่าในปีที่ผ่านมาบริษัทจะมีการเติบโตของยอดขายตกลงมาเหลือราวๆ 10.33% ก็ตาม

นอกจากนี้ทาง JD.com ได้กล่าวว่าเทศกาล 618 ถือว่าเป็นเทศกาลที่มีการลดราคาสินค้ามากที่สุด โดยใช้เม็ดเงินอุดหนุนในการลดราคาสินค้าเพื่อสร้างแรงจูงใจมากถึง 10,000 ล้านหยวน

การวัดการเติบโตของยอดขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาล 618 หรือแม้แต่วันคนโสด ถือว่าเป็นมาตรวัดทางเศรษฐกิจจีนอย่างนึง เนื่องจากสามารถที่จะทราบได้ว่าอัตราการบริโภคของชาวจีนในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้าง

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนนั้นออกมาถือว่าอ่อนแอกว่าคาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขค้าปลีกในไตรมาส 1 ที่ยังฟื้นตัวไม่แข็งแกร่งมากนัก ส่งผลทำให้ตัวเลขยอดขายรวมของ E-commerce ในจีนนั้นไม่ได้เติบโตอย่างที่ควร นอกจากนี้ยังรวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีนเปลี่ยนไป

ที่มา – CNBC, TechNode

]]>
1435360
ByteDance รุกธุรกิจ E-commerce บน TikTok เพิ่มขึ้น มองตลาดอาเซียนเป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัท https://positioningmag.com/1433458 Thu, 08 Jun 2023 03:53:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433458 TikTok เองเตรียมรุกตลาด E-commerce เพิ่มมากขึ้น โดยตลาดหลักที่บริษัทได้เน้นคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากตลาดยังเติบโตได้สูง โดยแผนดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเสี่ยงในตลาดสหรัฐอเมริกานั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวไม่ระบุตัวตนใน ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ว่าแพลตฟอร์ม Social Network รายใหญ่เตรียมที่จะรุกธุรกิจ E-commerce เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่บริษัทได้ทำการตลาดในบางประเทศในช่วงที่ผ่านมา และตั้งเป้าที่จะเพิ่มรายได้ยอดขายสินค้าออนไลน์รวม (GMV) ให้ได้มากถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

แหล่งข่าวรายดังกล่าวยังระบุว่า ByteDance มองตลาดอาเซียนเป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัท เนื่องจากการเติบโตทางด้านการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ในรายงานจาก Google และ Bain รวมถึง Temasek จัดทำในปีที่ผ่านมาชี้ว่าตลาด E-commerce ตั้งแต่ปี 2022 ถึงปี 2025 เติบโตมากถึง 17% ต่อปี

ขณะที่ประเทศที่บริษัทให้ความสำคัญอย่างมากก็คืออินโดนีเซีย เนื่องจากมีการไลฟ์ขายสินค้าหลากหลายตั้งแต่เครื่องสำอางไปจนถึงกางเกงยีนส์ โดย GMV ของ TikTok ในไตรมาส 1 ของปีนี้ทำยอดได้เกิน 2,500 ล้านเหรียญแล้ว

ทางด้านประเทศไทย TikTok Shop ได้เปิดตัวในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2022 ที่ผ่านมา

สำหรับธุรกิจ E-commerce ของ TikTok นั้นปี 2022 ที่ผ่านมามี GMV ทั้งสิ้น 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่รายได้ของ TikTok ในปี 2022 นั้นสูงมากกว่า 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยนั้นมากกว่า 2.7 ล้านล้านบาท สวนทางกับบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ทั้งในจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีรายได้ลดลง

ก่อนหน้านี้บริษัทได้เตรียมรุกตลาดสหรัฐอเมริกาแต่เนื่องด้วยประเด็นของความมั่นคงจากการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน หรือแม้แต่การเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานของพนักงาน ซึ่งบริษัทได้ชี้แจงว่าได้จัดการในเรื่องดังกล่าวแล้วก็ตาม ปัจจุบัน Social Network รายนี้มีผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกามากถึง 150 ล้านคน

อย่างไรก็ดีอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้การรุกตลาดสหรัฐอเมริกานั้นอาจไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ท้ายที่สุดบริษัทเบนเป้ามารุกธุรกิจ TikTok Shop ในอาเซียนเป็นหัวหอกหลักแทน

]]>
1433458
IKEA รุกเข้าสู่โลก E-commerce มากขึ้น หลังไล่ซื้อกิจการบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง https://positioningmag.com/1432721 Wed, 31 May 2023 16:37:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432721 ยักษ์ใหญ่วงการค้าปลีกสินค้าตกแต่งบ้านอย่าง IKEA ล่าสุดได้รุกเข้ามาในตลาด E-commerce เพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดบริษัทได้ซื้อกิจการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Supply Chain เพื่อที่จะช่วยปรับปรุงระบบคลังสินค้าของบริษัท

บริษัทที่ IKEA ได้ซื้อกิจการก็คือ Made4Net ซึ่งเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain โดยไม่ระบุมูลค่าในการเข้าซื่อแต่อย่างใด นอกจากนี้บริษัทยังได้กล่าวว่า ดีลดังกล่าวยังช่วยปรับปรุงคลังสินค้าและการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของบริษัท เนื่องจากผู้ซื้อต้องการการจัดส่งในวันถัดไปหรือวันเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ

Wim Blaauw ผู้บริหารสูงสุดด้านดิจิทัลของ IKEA ได้กล่าวว่า เราตระหนักดีว่าเราต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต เนื่องจากคำสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทจำเป็นต้องลงทุนในเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อให้แน่ใจว่าประสบการณ์ของลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางดิจิทัลจะดีมากยิ่งขึ้น

ขณะที่ Tolga Öncü ผู้บริหารด้านค้าปลีกของ IKEA ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ธุรกิจของเราในปัจจุบันต้องการระบบในการจัดการสินค้าพร้อมข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น ซึ่งการซื้อกิจการดังกล่าวนี้จะสนับสนุนการจัดการที่ดีขึ้นสำหรับลูกค้าของเรา

การซื้อกิจการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้ยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจไปในสหรัฐอเมริการวมถึงการเข้ามารุกในตลาด E-commerce ด้วยการเตรียมปรับปรุงร้านค้าให้กลายเป็นจุดส่งสินค้าอุปกรณ์ตกแต่งบ้านเพิ่มเติม

ดีลการซื้อ Made4Net ยังถือเป็นดีลการซื้อบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายที่ 3 ของ IKEA ก่อนหน้านี้บริษัทได้ซื้อกิจการของ TaskRabbit ในปี 2017 ตามมาด้วยการซื้อกิจการของ Geomagical Labs ในปี 2020 เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการเห็นการตกแต่งของห้องต่างๆ แบบสมจริง

เม็ดเงินลงทุนในด้าน E-commerce ของ IKEA ทั่วโลกในปี 2022 ที่ผ่านมาสูงถึง 3,000 ล้านยูโร จากเหตุผลของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

อย่างไรก็ดีสำหร้บ Made4Net นั้นจะยังให้บริการสำหรับลูกค้ารายอื่นต่อไป ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น DHL H&M หรือแม้แต่ Uber

ที่มา – Reuters

]]>
1432721
‘ป้อม ภาวุธ’ ฟันธงปี 66 สงคราม e-marketplace กำลังจะจบ เลิกเผาเงินเน้นฟันกำไร! https://positioningmag.com/1412193 Tue, 13 Dec 2022 06:28:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412193 เชื่อว่าผู้บริโภคหลายคนน่าจะรู้สึกได้ถึงความ แผ่ว ของเหล่า อีมาร์เก็ตเพลส ในปีนี้ ที่ไม่เห็นจะสาดโปรโมชันกันหนักหน่วงเหมือนที่ผ่านมา ป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com กูรูอีคอมเมิร์ซเมืองไทย ก็ได้ออกมาวิเคราะห์ถึงทิศทางตลาด อีคอมเมิร์ซไทย ในปี 2566 ที่ถือว่าเข้าสู่การขายของออนไลน์เต็มรูปแบบแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป และทำไมเหล่าอีมาร์เก็ตเพลสถึงได้แผ่ว ๆ กันไป

1. มูลค่าการค้าออนไลน์ขยับขึ้นอีกครั้ง

หากพูดถึง e-Commerce ไม่ได้มีแค่การขายของออนไลน์ที่จับต้องได้ แต่เป็นเรื่องบริการ (Service) ด้วย ดังนั้น อีคอมเมิร์ซจะมีมุมมองได้หลากหลายมิติ ทั้ง Food Delivery,  Online Grocery, Travel, On Demand Content นี่คือองค์ประกอบของบริการที่ผู้บริโภคนิยม ดังนั้น มูลค่าการค้าออนไลน์ กำลังดีดกลับขึ้นมาอีกครั้ง เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มมีการฟื้นตัว

จากรายงานมูลค่า e-Commerce ในช่วงปี 2563 โดย ETDA ตัวเลขจะ ลดลงประมาณ 6.68% เนื่องจากภาคการท่องเที่ยว การเดินทาง สายการบิน และการผลิตต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด จึงส่งผลต่อภาพรวม e-Commerce ไทยมูลค่าลดลง ฉะนั้นการที่ไทยเริ่มเปิดประเทศก็ทำให้ตัวเลข e-Commerce เริ่มฟื้นตัวกลับมา คาดการณ์ว่าในปี 2566 มูลค่า e-Commerce ของไทยน่าจะกลับเป็นบวกแบบเต็มที่ ประกอบกับโมเมนตัมของธุรกิจเข้าสู่ออนไลน์เต็มรูปเเบบเเล้วในช่วงหลังโควิด จึงส่งผลทำให้ตัวเลข e-Commerce ไทยโตขึ้นแบบก้าวกระโดด

shopping online ecommerce

2. สงคราม e-marketplace กำลังจะจบ

e-marketplace ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee กำลังเริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนโหมดตัวเอง จากเน้นสร้างการเติบโตโดยการใช้เงินลงทุนทำให้ตัวเองเติบโต ก็เริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองสู่ธุรกิจเพื่อทำกำไรอย่างชัดเจน เช่น Lazada ในปี 64-65 สามารถทำกำไรได้แล้วเเละมีการใช้เงินในการทำการตลาดน้อยลง แล้วเริ่มโฟกัสที่การสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดจากที่เริ่มมีการเก็บเงินจากลูกค้าเเละร้านค้าเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการปรับเพิ่มค่าบริการมากขึ้น

หากมองภาพรวมธุรกิจ Lazada คงไม่อาจมองแค่บริการ e-marketplace อย่างเดียว เเต่ต้องมองในฝั่ง Lazada Pay เพื่อการชำระเงิน, Lazada Express หรือบริการด้านดิจิทัลอื่น ๆ จะพบว่ารายได้ทั้งหมดของกลุ่ม Lazada ในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 38,000 กว่าล้านบาท มีกำไรประมาณ 3,200 กว่าล้านบาท ซึ่งธุรกิจที่ทำกำไรหลัก ๆ คือ Lazada Express บริการขนส่ง

ในด้านของ Shopee ตัวเลขยังมีการขาดทุนอยู่ เฉพาะในปี 2564 Shopee ขาดทุนประมาณ 4,900 กว่าล้านบาท ซึ่งเป็นขาดทุนสะสมติดต่อกันมา 7 ปี แต่เมื่อดูภาพรวมธุรกิจหลักของ Shopee จะมีธุรกิจ Shopee Express ซึ่งจากเดิมในปี 2563 มีการขาดทุนประมาณ 1,800 กว่าล้านบาท ตัวเลขการขาดทุนลดลงมาเหลือ 280 กว่าล้านบาท เมื่อมองภาพรวมธุรกิจของ Shopee การขาดทุนยังสูงอยู่ แต่รายได้ของทั้งกลุ่มมีมูลค่าเกือบ 43,000 ล้านบาทเลยทีเดียว เห็นได้ชัดว่าปีที่แล้ว Shopee มุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจ (Growth) มากกว่าการทำกำไร

ภาพจาก Shutterstock

อย่างไรก็ตาม Shopee ช่วงครึ่งปีมีการปรับโครงสร้างเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ค่อนข้างถดถอย อัตราเงินเฟ้อ และสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้ Shopee มีปัญหาเรื่องการระดมเงินจากนักลงทุน Shopee จึงเริ่มเน้นกลยุทธ์การทำกำไรมากขึ้น เริ่มจากการลดคน ปิดบริการในแต่ละประเทศที่ไม่ทำกำไรหรือเพิ่งดำเนินการ เพราะไม่อยากเปิดศึกหลายด้าน จึงกลับมาโฟกัสที่การทำกำไรแทน

นอกจากนั้น Shopee ก็ดำเนินนโยบายเชิงรุกต่อเนื่อง โดยผู้บริการจะไม่มีการรับเงินเดือนจนกว่าสถานการณ์การเงินจะดีขึ้น ซึ่งนี่คือทิศทางที่ชัดเจนว่า Shopee กำลังจะเริ่มทำกำไรแล้ว เเละสิ่งที่เห็นได้ชัดอีกประเด็น คือ งบประมาณในการทำการตลาดของ Shopee ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วง 11.11 ที่ผ่านมา

ส่วน JD Central ยังคงเป็นอันดับ 3 มีงบกำไรขาดทุนอยู่ที่ประมาณ 1,200 กว่าล้านบาท แต่ก็เริ่มมีข่าวไม่เป็นทางการว่ากลุ่มเซ็นทรัลได้มีการถอนตัวออกจาก JD.com และในฟากของ JD ในประเทศไทยก็จะมีการถอนตัวจากตลาดประเทศไทยและอินโดนีเซีย เพราะมีการ ขาดทุนสูงถึงประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

สิ่งที่เริ่มสะท้อนอย่างเห็นได้ชัดคือช่วงมหกรรม 11.11 ที่ผ่านมาสถานการณ์ค่อนข้างซบเซา บรรดา e-marketplace ใช้เงินน้อยลง ร้านค้าขายของได้น้อยลงกว่าเดิมมาก เป็นสัญญาณให้เห็นว่าฝั่งของ e-marketplace ที่เคยเป็นสงครามของการใช้เงินมาถล่มกันก็เริ่มลดน้อยลงอย่างชัดเจนแล้ว และที่สำคัญ e-marketplace ไทย กลายเป็นสมรภูมิการเเข่งขันของต่างชาติเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เรายังมี e-marketplace ของไทยอยู่บ้าง เช่น ShopAt24 ในเครือ CP All ที่ยังทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยรายได้ในปี 64 มีมูลค่า 11,000 กว่าล้านบาท และมีกำไรอยู่ประมาณ 400 กว่าล้านบาทเลยทีเดียว

3. สินค้าจีนบุกไทยเต็มสูบ

ผลต่อเนื่องจากเทรนด์ของ e-marketplace รายใหญ่ สินค้าจีนกำลังบุกไทยเต็มสูบหรือเต็มรูปแบบ เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยมีผู้ให้บริการนำสินค้าจากจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ด้วย Infrastructure ของจีนเริ่มเชื่อมต่อเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะทางรถ ทางราง ทางน้ำ เอื้อต่อผู้ให้บริการสามารถส่งสินค้าจากจีนเข้ามาไทยได้ในไม่กี่วัน บางรายใช้เวลาเพียง 2-5 วันก็ได้รับสินค้าเเล้ว บางรายมีบริการ Warehouse ให้ด้วย ซึ่งในตอนนี้ผู้ผลิตผู้นำเข้าสินค้าจีนต่างยกขบวนมาตั้ง Warehouse ในประเทศไทย ในพื้นที่รอบ ๆ กรุงเทพฯ และเริ่มใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางที่จะขายสินค้าตรง จากสินค้าใน Warehouse ในไทยตรงสู่ผู้บริโภค ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสินค้ามีราคาถูกลงมาก และเราจะได้เห็นกองทัพสินค้าจากจีนถูกส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่องมากขึ้น

ดังนั้น สินค้าจีนที่เข้ามาก็มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่ดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย มีการเสียภาษี ผ่านขั้นตอนชัดเจน แต่ก็มีบางส่วนที่ยังผิดกฎหมาย นำเข้ามาค้าขายในโลกออนไลน์ โดยไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบหรือขออนุญาตตามมาตรฐานของไทย เช่น หลอดไฟฟ้า LED ต่าง ๆ จากจีนที่ไม่มี มอก. อุปกรณ์การพนันต่าง ๆ ที่หาซื้อได้ใน e-marketplace หรือเครื่องสำอางที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่มี อย. สินค้าเหล่านี้ส่งตรงเข้ามาจากจีน เเละจากที่ไม่ผ่านมาตรการต่าง ๆ ก็ทำให้มีต้นทุนถูกลง ทำให้สามารถนำสินค้าเข้ามาเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยบางครั้งมีขั้นตอนพิเศษที่ทำให้ไม่เสียภาษีอีกด้วย

แต่ในขณะที่ผู้ประกอบการไทย ต้องมีมาตรฐานการผลิตของโรงงาน การควบคุมคุณภาพให้ผ่านมาตรฐาน มอก.หรือ สคบ. มีการจ้างคนเเละขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ ทำให้มีต้นทุนที่สูงกว่า เเละกลายเป็นความเสียเปรียบของคนไทย ซึ่งภาครัฐควรต้องควบคุมให้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าจีนเข้าไทยอย่างผิดกฏหมาย

4. On-Demand Commerce สงครามการค้าออนไลน์รูปแบบใหม่

On demand commerce การแข่งขันการค้าลักษณะ Platform จัดส่งอาหาร หรือ Food Delivery จะต้องเริ่มเปลี่ยนตัวเองให้เป็นบริการที่มากกว่าอาหาร หรือที่เรียกว่า Beyond Food ปัจจุบันผู้ให้บริการหลายรายมีการแข่งขันมากขึ้นในช่วงปีที่่ผ่านมา จากธุรกิจจัดส่งอาหาร หรือการเรียกรถ ก็จะมีบริการอื่นเช่น Grab Mart, Grab Home เห็นได้ว่ามีการขยายฐานบริการ e-Commerce ซึ่งในปีหน้าเราคงได้เห็นกันมาก โดยเฉพาะ Grab

ในฝั่ง Lineman มีการควบรวมกิจการบริษัท กับ Wongnai กลายเป็น Lineman x Wongnai ล่าสุดระดมทุนได้ถึง 9,700 ล้านบาท มีการขยายบริการทั่วประเทศมากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ในการทำสงครามครั้งนี้ค่อนข้างน่าสนใจมากเลยทีเดียว

อีกรายคือ Food Panda ซึ่งอยู่ในตลาดมานานเกือบสิบปี ปัจจุบันให้บริการครบทั้ง 77 จังหวัดของประเทศไทย และเริ่มมีบริการอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน แต่หากวิเคราะห์สถานการณ์ของ Food Panda ยังมีความน่ากังวลแม้จะเปิดบริการก่อนเป็นรายแรก ๆ ก็ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ในส่วนของผู้ถือหุ้น ติดลบราว 9,800 ล้านบาท ดังนั้น จึงน่าวิตกสำหรับ Food Panda ว่าสถานการณ์เเละตัวเลขแบบนี้จะระดมเงินทุนอย่างไร

และสุดท้าย Robinhood จากค่าย SCB ตั้งเเต่เริ่มเปิดให้บริการไม่มีการเก็บค่า GP ไม่มีค่าสมัครสมาชิก และมีบริการบางอย่างที่ดีกว่ารายอื่น ทำให้ร้านค้าหลายร้านหันมาขายผ่าน Robinhood เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน  Robinhood ก็เริ่มมีการขยายธุรกิจ จากบริการจัดส่งอาหาร ก็เพิ่มบริการจองโรงแรม บริการซื้อของ และบริการใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามาเร็วๆ นี้ โดยมีโมเดลการทำกำไรจากการขายโฆษณาและบริการอื่น ๆ

Photo : Shutterstock

5. การบุกของ DFS (Digital Financial Service)

DFS หรือ Digital Financial Services คือ บริการการเงินทางออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้ให้บริการเหล่านี้จะไม่ใช่ธนาคาร หรือที่เรียกว่า Non bank เช่น บริการรับชำระเงิน, บริการกู้เงินทางออนไลน์, บริการประกันออนไลน์, บริการดูแลความมั่งคั่ง ดูแลสินทรัพย์ออนไลน์ หรือ การโอนเงินออนไลน์ โอนเงินต่างประเทศ เเละแนวโน้มการใช้บริการ Digital Financing เหล่านี้เริ่มมีการเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้ e-Commerce ของประเทศไทยเติบโตมากขึ้น

อีกทั้งจะเห็นได้ว่า ผู้ให้บริการหลายราย อย่าง Grab, Shopee, Food Panda หรือ Lazada เริ่มมีการให้บริการทางการเงินให้กับคู่ค้าของตัวเองมากขึ้นเช่นเดียวกัน หรือแม้แต่การให้บริการ B2B Payment อย่าง PaySoon ก็เป็นอีกหนึ่งบริการที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเงินทุนหมุนเวียนให้กับเจ้าของธุรกิจ โดยการดึงวงเงินจากบัตรเครดิตมาเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจได้ดีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในการเก็บเงินหรือการจ่ายเงิน

Asian woman using credit card with mobile phone for online shopping in department store over the clothes shop store background, technology money wallet and online payment concept, credit card mockup

6. สงคราม Short Video Commerce

ปัจจุบัน สงครามของ Short Video Commerce กำลังดุเดือดมาก ไม่ว่าจะเป็น Tiktok, Youtube, Facebook เเละ Instagram ที่กระโดดลงมาเเข่งขัน หรือแม้แต่ผู้ให้บริการอย่าง Line ก็ลงมาเเข่งในสนาม Video เช่นกัน ดังนั้น กลยุทธ์จะไม่ได้ทำมาเพื่อให้บริการเฉพาะ Short video เพียงอย่างเดียว แต่มีบริการอื่นของ e-Commerce เช่นการเปิดร้านค้าเข้ามาเสริมด้วยเช่นเดียวกัน

7. โฆษณาออนไลน์ที่มีทางเลือกมากขึ้น

ในหลายปีที่ผ่านมา โฆษณาออนไลน์ที่เป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ คือ Facebook ซึ่งปัจจุบันผู้โฆษณาหันไปทางเลือกอื่นเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่การโฆษณาผ่าน Facebook ประสบปัญหาของการได้ผลลัพธ์ที่น้อยลง ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Tiktok พัฒนารูปแบบการโฆษณาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี แนวโน้มที่เกิดขึ้น คือ แบรนด์เเละผู้โฆษณาจึงเริ่มเปลี่ยนไปโฆษณาผ่าน Tiktok เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองเพื่อเสริมให้ลูกค้าขายของได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

8. การตลาดผ่านการบอกต่อ

Affiliate Marketing หรือ การตลาดผ่านการบอกต่อ กำลังเป็นเทรนด์ที่มีการเติบโต เพราะคนเริ่มเป็น Influencer คนเริ่มมีฐานลูกค้าตัวเองมากขึ้น Social Media เป็นเครื่องมือที่ทำให้เรามีความสามารถบอกต่อสินค้าไปยังกลุ่มเพื่อน ๆ ของเรา และเราเองสามารถได้ส่วนเเบ่งกำไรจากการที่สินค้าเหล่านั้นมีการขายได้เมื่อเพื่อน ๆ ทำการสั่งซื้อ โดยแพลตฟอร์มอย่าง Tiktok เริ่มมีการผลักดันบริการ Affliate Marketing ที่ใช้การบอกต่อมากขึ้น รวมถึง Shopee และ Lazada เอง ก็เริ่มมีบริการเช่นเดียวกัน ในขณะที่ในประเทศไทยก็มีผู้ให้บริการชื่อ pundai.com ที่เป็น Affliate Marketing ของไทยเอง

9. MarErce การผสมของ MarTech กับ e-Commerce

มาร์เอิร์ซ (Mar-Erce) คือ รูปเเบบการทำธุรกิจดิจิทัลที่อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ผสานเข้ากับมาร์เทค (MarTech) เราจะเรียกว่า มาร์เอิร์ซ จากเมื่อก่อนคนทำการตลาด (Marketing) จะเน้นเรื่องการตลาด และ คนค้าขายออนไลน์ (e-Commerce) ก็เน้นเรื่องการขาย แต่ปัจจุบันจะไม่ใช่วิธีการเเบบเดิมอีกต่อไป ปัจจุบันนี้ Marketing กับ e-Commerce ถูกผสานรวมเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ ทำให้ตอนนี้ผู้ให้บริการด้านมาร์เทค (MarTech) ก็จะเริ่มมีแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่การทำการตลาดเท่านั้น แต่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยทำให้เกิดออเดอร์ เกิดการซื้อขาย เเละเมื่อเกิดการขายแล้ว ทางฝั่งมาร์เทค (MarTech) จะเริ่มนำเทคโนโลยีย้อนกลับไปทำ CRM หรือ Retention เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำต่อไปอีกที ดังนั้น “มาร์เอิร์ซ (MarErce)” จะเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจที่การตลาด (Marketing) กับ การค้าขายออนไลน์ (e-Commerce) จะถูกผสานรวมเข้าด้วยกัน

ผลิตภัณฑ์บิวตี้เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการแรงกระตุ้นทั้งราคาและรีวิว และรีวิวมีอิทธิพลมากกว่าเล็กน้อย

10. การแข่งขัน e-Commerce ในแพลตฟอร์มโซเชียล

แพลตฟอร์มโซเชียลยักษ์ใหญ่จะเริ่มแข่งขัน e-Commerce อย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, Tiktok ทุกคนเริ่มมีแพลตฟอร์มที่รองรับเเละส่งเสริม e-Commerce มากขึ้น ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้ากระโดดข้ามไปใช้บริการของคู่แข่ง เช่น Facebook มี Facebook Shop, Facebook Live, Facebook Marketplace, Facebook Messenger, Line มี Line Chat, Line OA, Line Shop, Line Pay ฝั่ง Tiktok มี Tiktok Video, Tiktok Ads, Tiktok Shop ซึ่งตรงนี้เองจะทำให้เกิด e-Commerce ในแพลตฟอร์มใหญ่เพิ่มมากขึ้น

11. การขาดดุลดิจิทัลของประเทศไทย

กรมสรรพากรได้ออกกฎหมายจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อ 1 ก.ย. 64 เเละจากข้อมูลล่าสุด มีผู้ให้บริการต่างชาติที่ขึ้นทะเบียนเเล้วจำนวน 127 ราย ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บสะสม 6 เดือน (ต.ค.64 – มี.ค.65) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,200 กว่าล้านบาท โดยมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเก็บได้ถึงเกือบหมื่นล้านเมื่อครบปี นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้มูลค่าการซื้อ-ขายบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของคนไทยอาจจะขึ้นไปสูงถึงเกือบ ๆ สองแสนล้านบาท ซึ่งสองแสนล้านบาทน่าจะเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการส่งออกข้าวในปี 2564 รวมถึงสูงกว่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปในปี 2564 เช่นกัน จึงถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ภาครัฐควรต้องเริ่มเข้ามาดูแลสอดส่องว่าประเทศไทยเรามีการขาดดุลทางการค้าดิจิทัลอย่างไร และควรนำตัวเลขนี้ไปคำนวณ วิเคราะห์เรื่องของการขาดดุลของระบบประเทศไทยด้วยเช่นกัน

12. D2C (Direct to Consumer) จะฆ่าตัวกลางทางการค้า

ย้ำอีกครั้งว่าในช่วงปีที่แล้วและปีนี้ Direct to Customer หรือการขายตรงไปยังผู้บริโภค การตัดตัวกลางออกไปจากห่วงโซ่ เป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับโรงงานผู้ผลิตต่าง ๆ หลายปีที่ผ่านมา โรงงานเริ่มขายของออนไลน์มากขึ้น ขายตรงไปยังผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบให้ธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นเริ่มถดถอย เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มซื้อสินค้าจากร้านในท้องถิ่นน้อยลงและหันมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น ทำให้ในแง่ของธุรกิจท้องถิ่นจะมีผู้ที่เป็นตัวกลาง หมดโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าเพราะพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป

]]>
1412193
Amazon เตรียมปลดพนักงานถึง 10,000 ราย หลังยอดขายลด เศรษฐกิจไม่เป็นใจ https://positioningmag.com/1408341 Tue, 15 Nov 2022 11:35:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408341 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ล่าสุดยังต้องมีการปลดพนักงานแล้ว โดยจำนวนของพนักงานที่จะปลดนั้นอยูที่ราวๆ 10,000 ราย คิดเป็นสัดส่วน 3% ของจำนวนพนักงาน ซึ่งแผนการดังกล่าวตามหลังการปรับแผนธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการชะลอจ้างงาน การปิดธุรกิจที่ไม่ทำกำไร ไปจนถึงยกเลิกโครงการต่างๆ

อเมซอน (Amazon) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเตรียมที่จะปลดงานมากถึง 10,000 ราย หลังจากบริษัทเทคโนโลยีรายนี้ได้ชะลอการจ้างงานและยกเลิกแผนการขยายคลังสินค้า การปิดธุรกิจบางส่วน รวมถึงยกเลิกโครงการหลายๆ โครงการไปก่อนหน้านี้

สำหรับพนักงานที่ Amazon จะปลดนั้นคิดเป็นราวๆ 3% ของพนักงานทั้งหมด โดยคาดว่าธุรกิจที่มีการปลดพนักงานมากที่สุดนั้นจะเป็นธุรกิจ E-commerce และ Personal Devices อย่างไรก็ดีการปลดพนักงานครั้งนี้ แหล่งข่าวของ Reuters ได้กล่าวว่าขึ้นอยู่กับการพิจารณาความสำคัญของธุรกิจอีกด้วย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริการายนี้ต้องถึงขั้นปลดพนักงานนั้นมาจากยอดขายที่ลดลง ขณะเดียวกันสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวนั้นส่งผลทำให้บริษัทต้องพิจารณาถึงการใช้จ่ายทั้งหมด

ในช่วงการประกาศผลประกอบการในไตรมาสล่าสุดทีผ่านมานั้น Brian Olsavsky ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินได้กล่าวว่า บริษัทเห็นสัญญาณการใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละครัวเรือนนั้นประหยัดมากขึ้น และผู้บริโภคเองก็ต้องต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อและต้นทุนพลังงานที่สูง

โดย Amazon เป็นบริษัทรายล่าสุดที่มีการปลดพนักงาน ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทเทคโนโลยีสหรัฐที่มีการปลดพนักงานนั้นไม่ว่าจะเป็น Meta ไปจนถึง Twitter

ข้อมูลล่าสุดจาก Challenger, Gray & Christmas ซึ่งติดตามการปลดพนักงานของบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐนั้นพบว่าล่าสุดบริษัทเหล่านี้มีการปลดพนักงานไปแล้วมากกว่า 28,000 ตำแหน่ง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ต้องมีการปลดพนักงานนั้นมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

ที่มา – BBC, Reuters

]]>
1408341