facebook shops – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 29 Apr 2021 07:44:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Facebook’ กวาดรายได้ไตรมาสแรก 8.19 แสนล้าน ฟันกำไร 2.97 แสนล้าน โต 94% https://positioningmag.com/1329917 Thu, 29 Apr 2021 06:23:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329917 ในช่วงสัปดาห์นี้ เหล่าบริษัท ‘เทคคอมปานี’ รายใหญ่ของโลกต่างทยอยออมารายงานผลประกอบการไตรมาสแรกประจำปี 2021 กันไป โดยที่ผ่านมาก็มี ‘Alphabet’ บริษัทแม่ของ ‘Google’ ที่มีอัตราการเติบโตถึง 34% ล่าสุด ก็ถึงคิวของ ‘Facebook’ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอันดับต้น ๆ ของโลก

โดยรายได้ในไตรมาส 1 ของ Facebook อยู่ที่ 2.61 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือกว่า 8.19 แสนล้านบาท เติบโต 48% ส่วนกำไรเติบโตถึง 94% อยู่ที่ 9.5 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 2.97 แสนล้านบาท ส่งผลให้หุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นถึง 6% โดย Facebook ระบุว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมาจากราคาโฆษณาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 30% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่จำนวนโฆษณาที่แสดงผลเพิ่มขึ้น 12%

ส่วนรายได้อื่น ๆ ของ Facebook นอกเหนือจากโฆษณา อาทิ ชุดหูฟัง, แว่น VR Oculus และ หน้าจออัจฉริยะ Portal อยู่ที่ 732 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 146% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งคิดเป็นเกือบ 3% ของรายได้ของ Facebook ในไตรมาสนี้

ในส่วนของผู้ใช้งาน Facebook ระบุว่ามีผู้ใช้ต่อวันที่ 1,878 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2020 ส่วนผู้ใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 2,853 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2020 และเมื่อรวมผู้ใช้งานทั้งหมดทุกแพลตฟอร์ม (Facebook, Instagram, Messenger และ WhatsApp) มีผู้ใช้ 2,720 ล้านคน เพิ่มขึ้น 15% และมีผู้ใช้ต่อเดือนที่ 3,450 ล้านราย เพิ่มขึ้น 15%

Photo : Shutterstock

เดินหน้าลุยอีคอมเมิร์ซ

Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Facebook กล่าวว่า ในส่วนของฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซที่เรียกว่า Marketplace ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคนต่อเดือน ส่วนฟีเจอร์ Shops ที่เพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อปีก่อน ก็มีผู้ใช้งานมากกว่า 250 ล้านคนต่อเดือน

ดังนั้น บริษัทจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมต่อกันในแต่ละแอปฯ ได้ง่ายขึ้น เช่น WhatsApp Catalogs สำหรับให้ร้านค้าอัปเดตสต๊อกสินค้า และในอนาคต Facebook ก็กำลังพัฒนาในส่วนของเทคโนโลยีการชำระเงินและการมี สกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง

“การค้ามีการเติบโตในบริการของเรามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็มีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง และต่อไปกระเป๋าเงินดิจิทัลของ Novi จะเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดใช้งานการค้าบนบริการของ Facebook มากขึ้น” Zuckerberg กล่าว

(Photo by David Ramos/Getty Images)

มั่นใจไตรมาส 2 ยังเติบโต

Facebook คาดว่าการเติบโตของรายได้ในไตรมาส 2 จะยังคงมีเสถียรภาพหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการเติบโตที่ช้าลงในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการระบาด อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าการเติบโตของรายได้ในไตรมาสที่ 3 และ 4 จะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งปีก่อนอันเป็นผลมาจากการระบาด

อย่างไรก็ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัวของระบบปฏิบัติการ iOS 14 ที่ส่งผลโดยตรงต่อการบูสต์โฆษณาเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคาดว่าจะเริ่มส่งผลกระทบในไตรมาส 2 ซึ่งบริษัทกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือ ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าเงินลงทุนในปี 2021 จะอยู่ในช่วง 19,000 ถึง 21,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่วางไว้ 21,000 ถึง 23,000 ล้านดอลลาร์

Source

]]>
1329917
อวสานการ ‘vาย’ เมื่อ Facebook ปิดกั้นไม่เลือก ‘ช่องทาง’ แต่เป็น ‘บริบท’ ในการโพสต์ https://positioningmag.com/1287741 Wed, 15 Jul 2020 14:11:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287741 เพราะพฤติกรรมที่โดดเด่นที่สุดของนักช้อปไทยคือ ‘สายไถ’ ไม่มีจุดหมายว่าจะซื้ออะไร โดยกว่า 76% รู้จักผลิตภัณฑ์และแบรนด์ใหม่ ๆ จากช่องทางออนไลน์ และราว 60% ได้ลองซื้อสินค้าจากร้านออนไลน์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้น ‘การมองเห็น’ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในการขายของบน ‘Facebook’

“แบรนด์ขนาดใหญ่ที่ต้องแข่งขันกับแบรนด์ใหม่ต้องใช้จุดแข็ง คือ ความเชื่อมั่นของลูกค้า ส่วนแบรนด์ขนาดเล็กก็ต้องแสดงตัวให้คนค้นพบ อย่างคนไทย 57% พบแบรนด์ใหม่ผ่านโซเชียล อีกทั้ง 40% ยังชอบใช้การทักแชทเพื่อซื้อของ ซึ่งแปลว่าคนไทยมีโอกาสได้รู้จักแบรนด์ใหม่มากขึ้น”

แน่นอนว่าการมองเห็นเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายขึ้น หลังจากที่ Facebook ได้ปรับอัลกอริธึม (Algorithm) โดยจะลดการมองเห็นโพสต์ของเพจลง ไม่ว่าจะเป็นเพจธุรกิจ, เพจข่าวสาร, เพจขายของออนไลน์, เพจอื่น ๆ เพื่อให้ความสำคัญกับเพื่อนและครอบครัวมากกว่า แต่ล่าสุด ดูเหมือนว่าการลดการมองเห็นนั้นอาจไม่ได้อยู่แค่กับเพจ แต่เกิดขึ้นกับ ‘โพสต์’ ที่มีลักษณะของการ ‘ขายของ’

ช่วงที่ผ่านมา หลายคนคงเคยเห็นรูปแบบการขึ้นแคปชั่นขายของ ไม่ว่าจะเป็นจากเพจหรือจากโปรไฟล์ทั่วไปที่ขายของในลักษณะที่แปลกตาไป โดยเริ่มมีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ทดแทนตัวอักษรภาษาไทย อาทิ vาย, sาคา เป็นต้น โดยพ่อค้า-แม่ค้าหลายรายระบุว่า ถ้าพิมพ์ตรง ๆ ไปเลย จะถูก ‘ลดการมองเห็น’ โพสต์นั้น ๆ หรือเพียงแค่มี Comment ในลักษณะ ‘ถามราคา’ ก็จะถูกลดการมองเห็นเช่นกัน

กล้า ตั้งสุวรรณ ซีอีโอแห่งไวซ์ไซท์ (WISESIGHT) ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล ระบุว่า ปัจจุบัน แพลตฟอร์มเปลี่ยนเร็วมากจนไม่สามารถฟันธงได้ว่าใช้เครื่องมือไหนแล้วจะดีหรือได้เอนเกจเมนต์มากที่สุด เพราะขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มต้องการจะผลักดันฟีเจอร์ไหน โดยช่วงหนึ่งการไลฟ์หรือวิดีโอจะได้เอนเกจเมนต์ดีกว่า จากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นโพสต์ใน Group ได้รับการมองเห็นที่ดีกว่า ขณะที่ปัจจุบันแพลตฟอร์มไม่ได้มองแค่ ‘ช่องทาง’ แต่มอง ‘บริบท’ ของการโพสต์

ดังนั้น อาจตอบไม่ได้ชัดว่า ลดหรือไม่ลดการมองเห็น เพราะคนที่รู้ดีสุดคงเป็น Facebook แต่แน่นอนว่า Social Media ไม่ใช่ Free Media ในการขายของ ดังนั้น Facebook ก็จะมีเครื่องมือในการขายของ ส่วนพ่อค้า-แม่ค้าก็พยายามหาช่องว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่อาจจะได้ผลแค่ในระยะสั้น เพราะยังไง Facebook ก็ต้องปรับอัลกอริทึมใหม่เพื่อตรวจจับอยู่ดี สุดท้าย ถ้าอยากทำธุรกิจได้ดี ร้านค้าก็ต้องขายของที่ถูกต้อง โพสต์สินค้าแบบไม่เอาเปรียบผู้บริโภค คิดคอนเทนต์แบบมีคุณภาพ ถ้าทำแบบนี้ยังไงก็ได้ผลในระยะยาว

“คงบอกไม่ได้ว่าได้ผลแค่ไหน แต่เชื่อว่าแพลตฟอร์มเห็นและคงมีตัวเลขว่าประโยชน์ได้ไปมากน้อยแค่ไหน ถ้าสุดท้ายแพลตฟอร์มเสียประโยชน์ ยังไงเขาก็ต้องหาทางจับ แต่สุดท้ายต้องอยู่อย่างเกื้อกูลกัน เพราะบางอย่างหากแพลตฟอร์มได้ประโยชน์มากเกินไป แม่ค้าก็จะออก แพลตฟอร์มก็ต้องลด แต่บางอย่างถ้าแม่ค้าได้ประโยชน์มากไป แพลตฟอร์มก็ต้องปรับ”

ฟีเจอร์ Facebook Shops

ที่ผ่านมา Facebook ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ‘Facebook Shops’ ที่ช่วยให้ SME ‘เปิดร้านค้าออนไลน์’ ทั้งบน Facebook และ Instagram ได้ง่ายยิ่งขึ้น แม้ว่าไทยจะยังไม่มีฟีเจอร์ดังกล่าวให้ใช้งาน เเต่มีความเป็นไปได้ว่า Facebook จะพยายามดันร้านค้าให้ใช้ฟีเจอร์ดังกล่าว เหมือนกับที่ผ่านมาที่ดันฟีเจอร์ Live และ Group โดยการเพิ่มการมองเห็น เพราะเเม้ว่าฟีเจอร์ Facebook Shops จะให้ใช้ฟรี เเต่ Facebook ก็ระบุตั้งเเต่ต้นเเล้วว่า รูปแบบธุรกิจ คือ โฆษณา ดังนั้นหากลูกค้า ขายได้ ก็จะซื้อโฆษณาเอง

อ่าน >>> ทำความรู้จัก ‘Facebook Shops’ ฟีเจอร์ใหม่ช่วย SME ที่จะมาเขย่าตลาดอีคอมเมิร์ซ

ทั้งนี้ เเพลตฟอร์มจะลดหรือไม่ลดการมองเห็น หรืออาจเป็นเพียงการคิดไปเองของร้านค้า แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแพลตฟอร์มมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเงื่อนไขต่าง ๆ มากขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ที่ให้ใช้ฟรี ดังนั้น การมีเครื่องมือหรือช่องทางเพิ่มเติมเป็นเรื่องจำเป็น มากกว่าที่จะหาช่องว่างของ Facebook อย่างเดียว ยิ่งตอนนี้อีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตมาก ใคร ๆ ก็อยากเข้ามาในตลาดนี้ หลายแพลตฟอร์มก็พยายามทำตัวเองให้เป็น e-Marketplace

]]>
1287741
เจาะลึกทิศทาง E-commerce ปี 2020 ที่จากนี้จะกลายเป็นการ ‘งัดข้อ’ ของ Social Media และ E-marketplace https://positioningmag.com/1282872 Wed, 10 Jun 2020 06:58:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282872 ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. ที่ยังไม่มีการ ผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ช่องทาง E-commerce ถือเป็นช่องทางที่เติบโตเป็นอย่างมาก เพราะผู้บริโภค ไม่มีทางเลือก โดยคุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด หรือ Priceza ได้ออกมาวิเคราะห์ถึงการเติบโตและความเป็นไปจากนี้ของ E-commerce พร้อมย้ำว่าแม้หมด COVID-19 แต่การขายของออนไลน์ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอดในยุคนี้

ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด หรือ Priceza

สรุปภาพ E-commerce ปี 2019

ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ในปี 2019 โดยสัดส่วนของมูลค่าอีคอมเมิร์ซเทียบกับมูลค่าค้าปลีก โดยจีนเป็นเบอร์ 1 มีสัดส่วน 25% ตามด้วยเกาหลีใต้ 22% อังกฤษ 22% สหรัฐฯ 11% และอินเดีย 3% เช่นเดียวกันกับประเทศไทยคิดเป็น 3% ของมูลค่าค้าปลีก หรือมีมูลค่าราว 183,300 ล้านบาท

ในปี 2019 นี้สัดส่วนมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเฉพาะ B2C (Business-to-Consumer) และ C2C (Consumer-to-Consumer) พบว่าช่องทาง E-Marketplace (Lazada, Shopee) มีสัดส่วน 47% เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีสัดส่วนเพียง 35% ส่วน Social Media (Facebook, Instagram, Line) มีสัดส่วนลดเหลือ 38% จากปีที่ผ่านมามีสัดส่วน 40% ส่วนช่องทางทางเว็บไซต์ Official ลดเหลือ 18% จากปีที่ผ่านมามีสัดส่วน 25% 

ทั้งนี้ ผู้นำตลาดของ E-Marketplace ในปี 2019 เป็น Shopee มีสัดส่วน 54% ส่วน Lazada มีสัดส่วน 46% ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดใน Social Media โดย Facebook มีสัดส่วน 42% ตามด้วย LINE 34% Instagram 19% และสุดท้าย Twitter 5%

E-commerce ปี 2020 คาดทะลุ 220,000 ล้านบาท

ขณะที่ปี 2020 คาดว่าจะเติบโต 35% มีมูลค่า 220,000 ล้านบาท โดยใส่ปัจจัยอย่าง ‘COVID-19’ ไปในคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสัดส่วนการขายของออนไลน์ใน 3 ส่วนหลักจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ แต่ที่สังเกตเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 นี้คือ ผู้ประกอบการที่ไม่เคยทำออนไลน์มาก่อนเข้ามาทำออนไลน์ โดยช่องทางแรกที่เข้ามาคือ ‘Social Media’ โดยเฉพาะการใช้ ‘Live Commerce’ ซึ่งคาดว่ามีการเติบโตหลายเท่าตัว ดังนั้นมีโอกาสที่สัดส่วน Social Commerce จะเติบโตมากขึ้น

ทั้งนี้ หากจัดอันดับสินค้าขายดีในช่วงก่อนเกิด COVID-19 (ม.ค.-ก.พ.) เทียบกับช่วงเกิด COVID-19 (มี.ค.-เม.ย.) พบว่า สินค้าสุขภาพและความงามเติบโตขึ้น 34% สินค้าอุปโภคบริโภค 34% หนังสือ 27% เครื่องใช้ไฟฟ้า 22% คอมพิวเตอร์ 4% เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน 2% ขณะที่สินค้าที่มีการซื้อขายลดลงได้แก่ สมาร์ทโฟนลดลง -27% อุปกรณ์กีฬา Outdoor -28% เสื้อผ้าและแฟชั่น -41% สุดท้ายที่ลดลงมากที่สุดคือ รถยนต์และยานพาหนะ -44%

Social Media งัดข้อ E-marketplace

จะเห็นว่า E-marketplace ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ช่องทางซื้อขาย แต่ตอนนี้พยายามปรับตัวเป็น Social Media โดยจะเห็นว่าเริ่มมีฟีเจอร์คล้าย ๆ กับ Social มากขึ้น เช่น ฟีเจอร์แชท, ฟีเจอร์ไลฟ์ ดังนั้นในปี 2019 สัดส่วนการซื้อขายของ E-marketplace จึงเติบโตมากขึ้น ขณะที่ล่าสุด Facebook ได้เปิดตัว ‘Facebook Shops’ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วน LINE เองก็มี LINE MyShop ดังนั้นเชื่อว่าจากนี้จะเป็นการงัดข้อกันระหว่าง Social Media และ E-marketplace

ขณะที่ การช่องทางการเปิดเว็บไซต์ของตัวเองกำลังโดนกลืนไปเรื่อย ๆ เนื่องจากต้องลงทุนสูงและมีความเข้าใจสูงกว่าช่องทางอื่น ๆ เพราะต้องทำการตลาดออนไลน์เอง ดังนั้นผู้เล่นหน้าใหม่ไม่ไปลงทุน เพราะปิดใน E-marketplace และ Social ได้ง่ายกว่า แต่ก็มีคู่แข่งมากเช่นกัน ขณะที่ข้อดีของเว็บไซต์ของตัวเอง คือ สามารถควบคุมทุกอย่างเองได้

“ตอนนี้ผู้เล่นทุกรายพยายามดึงผู้ใช้จบการขายได้ในแพลตฟอร์มของตัวเอง อย่างคุยใน Facebook แต่ไปจบการขายที่ LINE แพลตฟอร์ม Facebook ก็ไม่ชอบใจ LINE เองก็คิดเช่นเดียวกัน ดังนั้นมันเป็นเกมของแพลตฟอร์ม ต่างฝ่ายต่างอยากให้คนใช้เวลาบนแพลตฟอร์มตัวเองที่สุด”

ออฟไลน์ยังเป็น ‘วิถีชีวิต’ แต่ห้ามละเลย ‘ออนไลน์’

อย่างไรก็ตาม คนไทยยังคงซื้อของออฟไลน์ เพราะห้างสรรพสินค้ายังเป็น ‘วิถีชีวิต’ ของคนไทย แม้ว่าจะไปไม่ใช่เพื่อซื้อของ ดังนั้น COVID-19 อาจทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโตถึง 35% แต่ยังเชื่อว่าช่องทางออฟไลน์ยังคงเป็นช่องทางหลักที่ผู้บริโภคคุ้นชิน ดังนั้น COVID-19 คงไม่ได้ทำให้ช่องทางอีคอมเมิร์ซมีสัดส่วน 30% ในค้าปลีก ปีนี้อย่างมากอาจจะมีสัดส่วน 4-5% และพฤติกรรมที่จะเห็นมากขึ้นแน่นอนคือ การซื้อของแบบ Omni-Channel หรือเลือกของออฟไลน์เทียบราคาออนไลน์

“สุดท้าย ออนไลน์เป็นช่องทางที่มีต้นทุนน้อยกว่า และมีการเติบโตสูงกว่าออฟไลน์ ดังนั้นไม่อยากให้ผู้ประกอบการออฟไลน์ละเลยการขายของบนออนไลน์ ตอนนี้ E-commerce ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอดในยุคนี้”

]]>
1282872
ทำความรู้จัก ‘Facebook Shops’ ฟีเจอร์ใหม่ช่วย SME ที่จะมาเขย่าตลาดอีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1279596 Wed, 20 May 2020 07:06:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279596 หลังจากที่ Facebook เปิดเผยว่าได้เตรียมบริจาคเงินจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้เป็นเงินทุนแก่ SME จำนวน 30,000 ธุรกิจใน 30 ประเทศทั่วโลกแล้ว ล่าสุด Mark Zuckerberg CEO ก็ได้ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ‘Facebook Shops’ เพื่อช่วยให้เหล่าผู้ประกอบการที่มีกว่า 140 ล้านรายบน Facebook ขายของได้ง่ายขึ้น

อ่าน >>> ‘Facebook’ ทุ่มเงิน 100 ล้านเหรียญ อัดฉีด SME 30,000 รายใน 30 ประเทศ หวังบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19

สำหรับ  ‘Facebook Shops’ เป็นบริการ ฟรี ที่จะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถ ‘เปิดร้านค้าออนไลน์’ ได้ทั้งบน Facebook และ Instagram ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้สามารถสร้างรายการสินค้าและปรับแต่งร้านค้าได้เอง นอกจากนั้นยังสามารถดูข้อมูลเชิงลึก อาทิ จำนวนผู้ชม จำนวนการคลิกได้ทันที

ในอนาคต Facebook Shops จะอนุญาตให้ร้านขายสินค้าให้กับลูกค้าผ่านการแชทของ WhatsApp, Messenger และ Instagram Direct อีกทั้ง ร้านค้ายังสามารถติดแท็กสินค้าระหว่างการ Live สดผ่าน Facebook และ Instagram โดยลูกค้าสามารถคลิกที่แท็กเพื่อไปยังหน้าการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ สามารถติดตามสถานะส่งได้ภายในแอปอีกด้วย

“มันเป็นประสบการณ์ที่เรียบง่ายและสอดคล้องกันในแอปตระกูลนี้ ซึ่งหมายความว่าเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้คน และแน่นอนนั่นหมายความว่ามันจะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับเหล่า SME” Mark Zuckerberg กล่าวในสตรีมสดบน Facebook

Mark Zuckerberg กล่าวต่อว่า Facebook มีความพยายามในการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และตนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟีเจอร์นี้เป็นการส่วนตัว และที่ให้ใช้ฟรีนั้น เป็นเพราะมองว่าในระยะยาว ร้านค้าและผลิตภัณฑ์อีคอมเมิร์ซอื่น ๆ จะช่วยเพิ่มยอดขายโฆษณาได้มากขึ้น

“รูปแบบธุรกิจของเรา คือ โฆษณา ดังนั้นแทนที่จะคิดค่าบริการสำหรับร้านค้า เรารู้ว่าหาก Facebook Shops ทำให้เขาขายได้ พวกเขาจะต้องการซื้อโฆษณาเอง ซึ่งเราจะทำเงินจากแบบนั้น”

Mark Zuckerberg

อย่างไรก็ตาม Facebook Shops และ Instagram Shops เริ่มเปิดบริการตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. ในสหรัฐอเมริกา และจะทยอยเปิดให้ใช้ทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งปัจจุบันมีเพียงร้านที่ได้รับเชิญให้มาทดสอบก่อนเท่านั้น ซึ่งยังอยู่ในช่วงเบต้า

“เราหวังว่าเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยลดแรงกดดันจากธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้และช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต”

ถือว่าเป็นแรงกระเพื่อมใหญ่ทีเดียวในวงการอีคอมเมิร์ซ เพราะที่ผ่านมา Facebook เจ้าพ่อโซเชียลที่มีผู้ใช้กว่า 3 พันล้านคนไม่ได้เหยียบเท้าเข้ามายุ่งในตลาดนี้มากนัก แม้ว่าจะมีฟีเจอร์ Market Place ที่เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถขายสินค้าได้ รวมถึงการประยุกต์ใช้ Group และ Live ในการขายสินค้า จากนี้คงต้องจับตาว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ จะมีการปรับตัวอย่างไรในอนาคต

Source

]]>
1279596