Grab Thailand – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 17 Jul 2022 10:07:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คุยกับผู้บริหาร Grab ประเทศไทย ไขข้อสงสัย ทำไมถึงต้องรุกธุรกิจสินเชื่อ https://positioningmag.com/1392840 Sun, 17 Jul 2022 07:08:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392840 สำหรับแกร็บ (Grab) ในภาพจำหลายๆ คนนั้นอาจเข้าใจว่าแพลตฟอร์มชื่อดังรายนี้มีธุรกิจเพียงแค่ Food Deliveries หรือไม่ก็แค่บริการสำหรับขนส่งเท่านั้น

แต่จริงๆ แล้ว Grab เองก็มีธุรกิจการเงินด้วยเช่นกัน

Positioning ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย ที่จะมาตอบข้อสงสัยว่าทำไมบริษัทถึงต้องลงมาในธุรกิจการเงิน (Financial) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาทำธุรกิจสินเชื่อ

ทำไม Grab ถึงปล่อยสินเชื่อ

กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย ได้กล่าวว่าคนทั่วไปมีภาพจำกับธนาคาร ที่ปล่อยสินเชื่อและหากำไรสูงๆ อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่าธุรกิจหลักที่ Grab ก็คือการส่งอาหาร รวมถึงขนส่ง

วรฉัตร ยังมองว่าธุรกิจการเงินนั้นทำให้วงจรของ Grab สมบูรณ์แบบมากขึ้น เพราะถ้าหากการจ่ายเงินนั้นง่าย การสั่งอาหารก็ทำได้มากขึ้น บริการส่งคนก็ทำได้มากขึ้น และนั่นทำให้คนขับกับร้านค้านั้นมีความสุข เขายังกล่าวว่าบางทีคนขับหน้ามุ่ยเพราะเรื่องเงิน ซึ่งมาจากสาเหตุสำคัญคือหนี้นอกระบบ หรือแม้แต่ร้านค้าที่ได้รับเงินช้า ทำให้เกิดความเครียดขึ้นมา เพราะหลายร้านค้าเองต้องใช้เงินหมุนวันต่อวัน

ปัจจุบันเขาได้กล่าวว่า Grab ตอนนี้จ่ายเงินแทบจะตลอดเวลาแล้ว จากเดิมนั้นจ่ายแบบวันต่อวัน การจ่ายเงินแทบจะตลอดเวลานั้นทำให้คนขับมีความสุขมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังมีประกันให้กับคนขับ ทำให้คนขับมีความสุขมากขึ้น

อย่างไรก็ดี วรฉัตร ก็ไม่ปฏิเสธว่า Grab ก็มีกรณีคนขับทำตัวแย่ๆ เช่นกัน แต่เขายืนยันว่าเรื่องแย่ๆ นั้นถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมากๆ

วรฉัตร ลักขณาโรจน์ – กรรมการบริหาร แกร็บ ประเทศไทย

สินเชื่อของคนขับ

วรฉัตร มองว่าถ้าหากคนขับของ Grab ได้เรตติ้งดีๆ ก็ส่งผลทำให้ Credit Score ดีอีกด้วย นอกจากนี้ก็ได้ผลประโยชน์จากบริษัทนั่นก็คือสินเชื่อ นอกจากนี้เขายังชี้ว่าทำอย่างไรที่จะให้คนขับมีความสุข เพราะหลายครั้งเองเขามองว่ากรณีของคนขับนั้นบางครั้งไม่ได้โวยวายเรื่องของเงิน (ค่าเที่ยว) ตลอดเวลา

นอกจากนี้เขายังได้กล่าวถึง กลุ่มคนรากหญ้าที่มาเป็นคนขับในแพลตฟอร์มว่า มีพฤติกรรมอย่างไร ส่งของดีไหม เมื่อมี Rating การทำงานที่ดี (Behavior Score ) จะส่งผลทำให้ Credit Score ดีด้วย โดยปัจจุบัน Grab นำ 2 ปัจจัยดังกล่าวมาคำนวณสินเชื่อให้กับคนขับด้วย

ปัจจุบันแพลตฟอร์มรายใหญ่นี้ได้ปล่อยสินเชื่อเริ่มต้นที่ 5,000 บาท และมีรายได้ต่อวัน 500 บาทก็เริ่มได้สินเชื่อแล้ว และคนขับแต่ละรายจะได้วงเงินสินเชื่อที่ไม่เท่ากัน วรฉัตรยังย้ำว่า Grab นั้นอยากดูพฤติกรรมของคนขับมากกว่า เหมือนสินเชื่อนั้นเป็นของรางวัล ทำให้คนขับหลายคนเรียกบริการสินเชื่อนี้ว่า “บัง Grab”

สำหรับการวัดว่าคนขับแต่ละคนควรจะได้สินเชื่อเท่าไหร่นั้น บริษัทจะไปดูว่ารายได้แต่ละวันของคนขับเป็นยังไง และไม่ปล่อยให้คนขับมีหนี้มากเกินไป เช่น ถ้าคนขับมีรายได้วันละ 1,000 บาท Grab คิดว่าไม่ควรมีหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละวันไม่เกิน 200 บาท

ขณะเดียวกัน วรฉัตร กล่าวว่า Grab หักเงินจากคนขับทุกวัน แต่ไม่ได้มาก ฉะนั้นคนขับเองมองว่าไม่ได้เป็นภาระหนี้มากมายอะไร นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าคนขับหลายคนเองก็นำเงินสินเชื่อจาก Grab เองไปใช้หนี้นอกระบบ แล้วตัวของคนขับเองก็มาวิ่ง Grab เพื่อจ่ายหนี้ เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานคนขับเหล่านี้ก็หลุดออกจากหนี้นอกระบบ

โดยอัตราดอกเบี้ยที่ Grab คิดกับคนขับนั้นราวๆ 1-2% ต่อเดือน หรือคิดเป็นอัตราดอกเบี้ย 33% ต่อปี ซึ่งเป็นเพดานดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ในใบอนุญาต นอกจากนี้สินเชื่อของคนขับเองยังเป็นประเภทลดต้นลดดอกรายวัน ต่างกับธนาคารลดต้นลดดอกรายเดือน

 

วงจรความสุข ซึ่งเป็นโมเดลของ Grab ประเทศไทย

เพิ่มโอกาสให้กับคนขับกับร้านค้าได้ใช้ของดีๆ

วรฉัตร ยังชี้ว่าถ้าหากคะแนนของคนขับมากเพิ่มขึ้น ก็จะมีสินเชื่ออื่นๆ ตามมา เช่น ผ่อนสินค้า 0% พวกเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ ทำให้คนขับนั้นเปลี่ยนโลกได้ใช้ของดีๆ ซึ่งแตกต่างกับอดีตคือคนขับถ้าอยากได้โทรศัพท์มือถือต้องไปซื้อมือถือยี่ห้ออะไรก็ไม่รู้ตามร้านค้านอกเมือง และถ้าหากจะซื้อโทรศัพท์มือถือดีๆ และต้องการผ่อนนั้นก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงๆ

เขายังกล่าวว่าในปีที่ผ่านมา ดีลเลอร์รายใหญ่ของ Samsung ประเทศไทยนั่นคือ Grab เนื่องจากขายสินค้าล็อตใหญ่ให้กับคนขับได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ดีๆ ได้

นอกจากนี้ในส่วนของสินเชื่อแล้ว ยังมีส่วนของประกันให้กับคนขับหรือผู้ใช้งานซึ่งมี 3 รูปแบบ

  • ประกันของคนขับที่มีทั้งฟรีและสามารถทำเพิ่มเติมได้ ซึ่งผลตอบรับดีมาก โดยวงเงินประกันตอนนี้คุ้มครอง 1 แสนบาท นอกจากนี้ยังมีประกันรายได้สำหรับคนขับถ้าหากเจ็บป่วยมา ก็จะได้เงินกลับไป โดยสามารถจ่ายเบี้ยประกันเพียงแค่วันละ 1-2 บาท
  • ประกันอุบัติเหตุทั้งหมด ทุกวันนี้คนขับหรือแม้แต่ผู้โดยสารเองก็ได้รับความคุ้มครองด้วย
  • ประกันส่งสินค้าที่มีราคาแพง เช่น ส่งโทรศัพท์มือถือ ส่งโน้ตบุ๊ก ผู้ใช้งานสามารถเลือกจ่ายเพิ่มอีก 1-2 บาท เพื่อเพิ่มวงเงินประกันสินค้าได้

ในกรณีของประกันภัย เขากล่าวว่าบริษัทประกันภัยก็ต้องปรับตัวเองอย่างมาก เขาได้ยกตัวอย่างว่า หลายเจ้ามองเห็นศักยภาพของ Grab หลายบริษัทอยากเข้ามาในโลกดิจิทัล หรือแม้แต่บางกรมธรรม์เองหลายบริษัทก็ไม่เคยได้ยินมาก่อน ปัจจุบันบริษัทได้ใช้ประกันภัยของพาร์ตเนอร์หลายเจ้า

สินเชื่อของร้านค้า เมื่อสถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อให้ร้านเหล่านี้เอง

ในส่วนของร้านอาหารเองนั้น เขายังมองว่าหลายครั้งเองที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ ซึ่งปัจจุบัน Grab ดำเนินการมาได้แล้วถึง 18 เดือน โดยจุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะกระแสเงินสดของร้านอาหารหลายร้านนั้นย่ำแย่อย่างหนัก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่ทำให้ร้านค้าปิด หลายร้านเองได้เข้ามาคุยกับบริษัท จึงทำให้มีสินเชื่อกับร้านอาหารขึ้นมา

วรฉัตรยังกล่าวเสริมว่า เมื่อร้านค้าขาดกระแสเงินสดนั้นไม่ใช่แค่โอกาสที่ร้านค้าจะปิดตัวลงเท่านั้น ผลกระทบต่อมาคือผู้ใช้บริการมีตัวเลือกร้านอาหารในแพลตฟอร์มน้อยลง คนขับได้เที่ยววิ่งน้อยลงเนื่องจากคนใช้งานน้อยลง และนั่นทำให้ทุกคนแย่กันหมด

ปัจจุบันร้านค้าที่อยู่กับ Grab ส่วนหนึ่งเพราะสิทธิประโยชน์ แต่ปัญหาคือร้านไปขอกู้ธนาคารไม่ได้ แม้แต่ร้านที่มีสาขา 4-5 สาขายังขอสินเชื่อไม่ได้ด้วยซ้ำ ทั้งๆ มีสินทรัพย์ค้ำประกัน เพราะธนาคารมองว่าร้านอาหารคือกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่หลังโควิด-19 เป็นต้นมา

เขายังพูดถึงในกรณีที่ร้านค้าต่างๆ เล่าถึงการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินว่า ก่อนโควิด-19 สถาบันการเงินประเคนให้ทุกอย่าง แต่หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 แม้แต่ร้านค้าต่างๆ เอาที่ดินไปค้ำประกันตอนเวลาขอสินเชื่อ สถาบันการเงินเองก็ไม่ให้กู้ด้วยซ้ำ

ปัจจุบันวงเงินสูงสุดของร้านค้าขนาดเล็กอยู่ที่ราวๆ 100,000 บาท

ภาพจาก Shutterstock

สิ่งที่เปลี่ยนไป

กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อมีระบบจ่ายเงินที่ดีแล้ว ทำให้เม็ดเงินไหลเข้าหาคนขับหรือร้านค้าได้ไวมากขึ้น ทุกคนมีความสุข อีกทั้งยังแก้ปัญหาหลายๆ เรื่อง

เขายังชี้ว่าร้านค้าตอนนี้รับเป็นระบบ Cashless มากถึง 65% แล้ว เมื่อเทียบกับปี 2021 นั้นมีสัดส่วนต่ำกว่า 50% นอกจากนี้เขายังมองว่าระบบดังกล่าวทำให้ Grab เองมีประสิทธิผลที่เพิ่มมากขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้จ่ายเงินได้ไวมากกว่าเดิมด้วย

ขณะเดียวกันสำหรับธุรกิจสินเชื่อที่บริษัททำนั้น ทาง Grab ไม่ได้มองว่า Loan Growth จะต้องโตเท่าไหร่ ซึ่งแตกต่างกับมุมมองของสถาบันการเงิน แต่เขามองว่าคนขับและร้านค้านั้นมีความสุขหรือไม่ ซึ่งตัวเลขล่าสุดที่ทาง Grab ประเทศไทยเปิดเผยนั้น วงเงินสินเชื่อมีอยู่ทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่แล้วเม็ดเงินนั้นเป็นสินเชื่อระยะสั้น

นอกจากนี้สินเชื่อของ Grab เองยังเป็นเหมือนข้อเสนอ ซึ่งร้านค้าหรือคนขับเองเลือกที่จะรับสินเชื่อก็ได้ ไม่รับก็ได้

ในกรณีคนขับที่มีหนี้เสียนั้น บริษัทจะไล่เช็คดูทีละ 3 วัน 5 วัน 7 วัน ถ้าหากหายไปจากระบบทางบริษัทจะติดต่อหาคนขับว่าเป็นอะไรหรือเปล่า ไม่ได้ไปทวงหนี้ ถ้าหากคนขับเกิดอุบัติเหตุก็จะพักหนี้ให้ ซึ่งยอดหนี้ของคนขับส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ที่ราวๆ 5,000-7,000 บาท ขณะเดียวกันทั้งร้านอาหารและคนขับเองก็ไม่อยากเบี้ยวหนี้ เพราะมองว่า Grab เองก็เป็นแหล่งรายได้ของพวกเขา ปัจจุบันสัดส่วนหนี้เสีย (NPL) มีอยู่ราวๆ 2%

ไม่เพียงเท่านี้ วรฉัตร ยังกล่าวว่า สินเชื่อใน Grab เองยังเน้นความโปร่งใส ทำให้คนขับหรือร้านอาหารเห็นว่าในแต่วันต้องจ่ายเท่าไหร่ นอกจากนี้เขายังชี้ว่าคนขับและร้านค้าก็มีการพูดคุยกันเองว่าจะทำยังไงถึงจะได้สินเชื่อ และยังมี Community เช่นใน Facebook ที่มีคำแนะนำซึ่งกันและกันในเรื่องของสินเชื่อด้วย

ครึ่งปีหลังเราจะได้เห็นอะไรบ้าง

กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย ได้กล่าวว่าในครึ่งปีหลังของปี 2022 บริษัทจะมีการปล่อยสินเชื่อให้กับร้านค้าที่เป็นขนาดกลาง เช่น คาเฟ่ หรือร้านค้าที่เป็น SME มากขึ้น โดยวงเงินที่ปล่อยจะเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้านบาท หลังจากในครึ่งปีแรกของปีนี้บริษัทได้ทำ Machine Learning ร้านกลางร้านใหญ่ว่าจะให้วงเงินกู้ขนาดไหน

โดยร้านขนาดกลางที่จะเริ่มปล่อยสินเชื่อนั้นจะเริ่มต้นเจ้าของคนเดียว แล้วค่อยขยับไปยังนิติบุคคล และเขาย้ำว่าไม่ได้ไปแข่งกับสถาบันการเงิน ขณะเดียวกันก็จะใช้โมเดลรากหญ้ามาใช้กับสเกลที่ใหญ่ขึ้น โดยสินเชื่อนั้นจะหักเงินรายวันเหมือนกับกรณีคนขับ เพียงจ่ายแค่วันละ 3,000 ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

สำหรับระบบปล่อยสินเชื่อให้ร้านค้าขนาดกลางนั้น ระบบจะดูว่าแต่ละร้านเป็นยังไง ยอดขายโอเคหรือไม่ วรฉัตร ยังกล่าวเสริมว่า ถ้าหากยอดขายของร้านดี ร้านค้าเหล่านี้จะเบี้ยวหนี้ทำไม สมมติร้านค้าเหล่านี้มียอดขายวันละ 20,000 บาท ผ่อนวันละ 3,000 บาท ร้านค้าสามารถจ่ายได้อยู่แล้ว นอกจากนี้เขายังมองว่าสินเชื่อปล่อยแล้วทำให้ร้านค้าขายดี Grab จะดีใจมากกว่ายอดเงินกู้ที่โตเสียด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ โดยผู้บริหารของ Grab ได้กล่าวว่านอกจากสินเชื่อร้านค้าขนาดกลางแล้ว ยังจะมีสินเชื่อเครื่องครัวที่ร้านอาหารต้องการ รวมถึงจะมีฟังก์ชัน Buy Now, Pay Later ในครึ่งปีหลัง และจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการอีกที

]]>
1392840
“แกร็บ” แจง 3 ประเด็นดราม่า หลังคนขับรวมตัวประท้วงหน้าสำนักงานใหญ่ https://positioningmag.com/1291778 Mon, 10 Aug 2020 04:42:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291778 ยังคงเป็นกระแสดราม่าอย่างต่อเนื่องสำหรับวงการเดลิเวอรี่ ล่าสุด “แกร็บ” เจอกับดราม่าพาร์ตเนอร์ หรือคนขับ ที่รวมตัวประท้วง อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม โดนลดค่าอินเซ็นทีฟ และให้ซื้อกระเป๋า ล่าสุดแกร็บได้ชี้แจง 3 ประเด็นใหญ่

ก่อนหน้านี้แกร็บได้เจอศึกใหญ่ หลังจากที่ได้ปรับขึ้นค่า GP ร้านอาหาร จนสุดท้ายต้องถอยทัพกลับมาที่ 35% เท่าเดิม จนล่าสุดก็ยังมีศึกใหญ่กับพาร์ตเนอร์ที่เป็นคนขับอีก

ในช่วงที่ผ่านมาแกร็บได้ปรับโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปรับโครงสร้างรายได้ของพาร์ตเนอร์ด้วยเช่นกัน มีการประกาศลดค่าอินเซ็นทีฟสำหรับคนขับในต่างจังหวัด เพื่อเสริมสภาพคล่องในยุค COVID-19

จนล่าสุดมีพาร์ตเนอร์ที่เป็นคนขับแกร็บได้รวมตัวกันเรียกร้องความเป็นธรรม หลังจากที่พบว่าทางแกร็บได้ลดค่าอินเท็นซีฟ บังคับให้ซื้อกระเป๋า รวมถึงประเด็นอื่นๆ จนนำไปสู่การรวมตัวประท้วงครั้งใหญ่ที่หน้าสำนักงานใหญ่ตึกธนภูมิ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563

ทำให้ทางแกร็บออกมาชี้แจงประเด็นใหญ่ รวมถึงข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มีเนื้อหาดังต่อไปนี้

จากกรณีที่มีพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บไบค์ ในเขตกรุงเทพฯ ได้รวมตัวกันขอเข้าพบผู้บริหารของแกร็บเพื่อยื่นข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับงานนั้น แกร็บ ประเทศไทย ได้รับทราบถึงปัญหาและข้อเสนอแนะจากพาร์ตเนอร์คนขับในประเด็นต่างๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้ทำการติดต่อตัวแทนพาร์ตเนอร์คนขับ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มคนขับในเขตกรุงเทพฯ

โดยได้เชิญเข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารเพื่อรับฟังถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยกลุ่มตัวแทนพาร์ตเนอร์คนขับยืนยันที่จะรวมตัวกันที่บริเวณหน้าอาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ทั้งนี้ แกร็บ ประเทศไทย ใคร่ขอเรียนชี้แจงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. ปัญหาการรับงานที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี

สืบเนื่องมาจากการประกาศแบ่งเขตพื้นที่การรับงานของพาร์ตเนอร์คนขับในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และปทุมธานี เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทำให้เกิดข้อจำกัดในเชิงเทคนิคบางประการ และส่งผลต่อการรับงานของพาร์ตเนอร์คนขับ รวมถึงประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าในพื้นที่ซึ่งเป็นรอยต่อ

แกร็บจึงได้ประกาศยกเลิกการแบ่งเขตพื้นที่ดังกล่าว โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนกว่าระบบจะมีความพร้อมในการให้บริการแบบแบ่งเขตพื้นที่ และจะทำการสื่อสารให้พาร์ตเนอร์คนขับทราบรายละเอียดหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอนาคต

2. การเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการเรียกใช้บริการจัดส่งพัสดุผ่าน แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress)

ที่ผ่านมา แกร็บ ได้ประกาศให้พาร์ตเนอร์คนขับที่รับงานจัดส่งพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) จะต้องมีกระเป๋าแกร็บเพื่อบรรจุ และจัดเก็บสินค้าหรือพัสดุที่ผู้ใช้บริการต้องการจัดส่ง ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยในระหว่างการขับรถ พร้อมสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าสินค้าหรือพัสดุที่ต้องการจัดส่งนั้นจะถูกจัดเก็บเป็นอย่างดีในระหว่างการขนส่งและถึงมือผู้รับปลายทางในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ตระหนักและเข้าใจถึงข้อจำกัดของพาร์ตเนอร์คนขับบางรายที่ไม่สะดวกในการซื้อ และใช้กระเป๋าแกร็บ ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้พิจารณาปรับปรุงบริการในส่วนนี้ เพื่อตอบสนองต่อรูปแบบการให้บริการที่แตกต่างกันของพาร์ตเนอร์คนขับ รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า

ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคมเป็นต้นไป การจัดส่งสินค้าหรือพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) ด้วยรถจักรยานยนต์ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • แบบต้องการกระเป๋า และ
  • แบบไม่ต้องการกระเป๋า โดยผู้ใช้บริการจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้บริการแบบใด สำหรับพาร์ตเนอร์คนขับที่เคยถูกยกเลิกไม่ให้รับงานหากไม่มีกระเป๋า บริษัทฯ ได้เปิดสิทธิให้สามารถรับงานจัดส่งพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) ได้แล้วนับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา
(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)
3. การให้ความคุ้มครองในระหว่างการรับงาน

ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและพาร์ตเนอร์คนขับถือเป็นสิ่งที่แกร็บให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอาจมีพาร์ตเนอร์คนขับบางรายที่ไม่ทราบว่า แกร็บได้จัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้ความคุ้มครองกับพาร์ตเนอร์คนขับของเราในทุกเที่ยวของการให้บริการ โดยให้ความคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุระหว่างการรับงาน และให้ความคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ในกรณีที่เสียชีวิต ซึ่งถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในตลาด ทั้งนี้ บริษัทฯ จึงได้มีการประกาศให้พาร์ตเนอร์คนขับรับทราบอีกครั้งผ่านทางแอปพลิเคชันของพาร์ตเนอร์คนขับ

แกร็บ ประเทศไทย ขอน้อมรับทุกความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากพาร์ตเนอร์คนขับของเรา เพื่อนำมาใช้พิจารณาและปรับปรุงการให้บริการ ตลอดจนการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

]]>
1291778
“แกร็บ” ส่งผู้บริหารภูมิภาคดูแลตลาดไทยชั่วคราว หลัง “ธรินทร์” ลาออกจาก MD  https://positioningmag.com/1279372 Tue, 19 May 2020 08:00:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279372 แกร็บ ประเทศไทย แจ้งธรินทร์ ธนียวัน” ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตั้งแต่ 30 เมษายนที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีผู้บริหารระดับภูมิภาคเข้ามารักษาการณ์แทนระหว่างการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่

ข้อมูลจากทาง แกร็บ ประเทศไทย แจ้งว่า ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนของการสรรหา พิจารณาและคัดเลือกผู้สมัครเพื่อมาดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย

โดยในระหว่างนี้ รัสเซล โคเฮน ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการประจำภูมิภาคของแกร็บ โฮลดิ้งส์ อิงค์ ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับภูมิภาคที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมบริหารของแกร็บ ประเทศไทย จะรักษาการตำแหน่งดังกล่าว จนกว่าจะมีการประกาศแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย อย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ แกร็บ ขอขอบคุณธรินทร์สำหรับความมุ่งมั่นและความทุ่มเทในการทำงานตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีของการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย

ที่เข้ามาขับเคลื่อนและผลักดันให้ธุรกิจของแกร็บในประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุกด้านผ่านบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การบริการการเดินทาง บริการจัดส่งอาหารและพัสดุ บริการทางการเงิน ตลอดจนบริการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน

ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ธรินทร์ยังได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น พร้อมริเริ่มโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง การส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยว พร้อมมุ่งสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อร่วมขับเคลื่อนและผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย

โดยทีมงานของ แกร็บ ประเทศไทย ทุกคนจะยังคงสานต่อเจตนารมณ์ของธรินทร์ต่อไป โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มของแกร็บในการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการรายย่อย และพาร์ตเนอร์คนขับจัดส่งอาหาร ควบคู่ไปกับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่อง

Source

]]>
1279372
ดราม่าซ้ำซ้อน “แกร็บ” แจงยกเลิกเก็บ 3 บาทค่าธรรมเนียมส่งพัสดุ GrabExpress https://positioningmag.com/1271647 Fri, 03 Apr 2020 09:09:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271647 ดราม่ารายวันสำหรับ “แกร็บ” หลังจากที่มีการขึ้ค่า GP ร้านอาหารของ GrabFood เป็น 35% แล้วพอมีกระแสหนักขึ้นก็ทำการปรับลดลง ล่าสุดมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ GrabExpress เรียกว่าเป็นการฉวยโอกาสในทุกช่องทางหรือไม่?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีกระแสบนโซเชียลมีเดียถึงประเด้นร้อนแรงที่ “แกร็บ” ได้ทำการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการจัดส่งพัสดุ (GrabExpress) และบริการผู้ช่วยฝากซื้อสินค้าพร้อมส่งถึงบ้าน (GrabAssistant) เป้นจำนวน 3 บาท/ครั้ง เป็นการเก็บเพิ่มกับลูกค้าที่ใช้บริการ พร้อมย้ำว่าไม่กระทบรายได้ของพาร์ตเนอร์คนขับ มีผลตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563

ทำให้มีกระแสลบออกมาอีกระลอก หลังจากก่อนหน้านี้ได้ขึ้นค่า GP ร้านอาหารสำหรับบริการเดลิเวอรี่ ขึ้นค่าจัดส่งแต่คนขับไม่ได้ พร้อมกับมีค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อขนาดเล็กอีก เรียกว่าเป้นการตอกย้ำวิกฤตให้แย่ลงไปอีก

แต่ล่าสุดทางแกร็บได้มีการชี้แจงแล้วว่า ได้ทำการงดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว พร้อมกับคำชี้แจงดังนี้

สืบเนื่องจากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลบนช่องทางโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการประกาศเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แอปพลิเคชันของแกร็บนั้น แกร็บ ประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงให้ทราบถึงข้อเท็จจริงในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

บริษัทฯ ได้ ยุติการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แอปพลิเคชันสำหรับบริการจัดส่งพัสดุ (GrabExpress) และบริการผู้ช่วยฝากซื้อสินค้าพร้อมส่งถึงบ้าน (GrabAssistant) โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ (3 เมษายน 2563) เป็นต้นไป ทั้งนี้ แกร็บจะมอบโค้ดส่วนลดมูลค่า 40 บาทให้กับผู้ที่ได้ใช้บริการทั้งสองประเภทในระหว่างวันที่ 31 มีนาคมถึง 2 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการชดเชยให้กับผู้ใช้บริการ โดยโค้ดส่วนลดดังกล่าวสามารถใช้ได้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 นี้

บริษัทฯ ขอยืนยันว่า แกร็บไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แอปพลิเคชันสำหรับบริการจัดส่งอาหาร (GrabFood) แต่อย่างใด

พร้อมกับขอชี้แจงว่า จุดประสงค์ของการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แอปพลิเคชันที่ได้ดำเนินไปก่อนหน้านี้ก็เพื่อนำรายได้ส่วนนี้ไปใช้ในการคุ้มครองและดูแลพาร์ตเนอร์คนขับที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมาซึ่งแกร็บได้มีการเพิ่มจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับกว่า 29,000 คน และกำลังเปิดรับเพิ่มอีกอย่างน้อย 35,000 คนในเดือนเมษายนนี้

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคหลายคนได้มองว่าแบรนด์ที่ดีต้องไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ยิ่งเมื่อยามที่ประเทศเกิดวิกฤตหนักขนาดนี้ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า

สุดท้ายแล้วไม่แน่ใจว่าดราม่า หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะกระทบกับแกร็บในระยะยาวหรือไม่ แต่การแข่งขันในตลาดสูงึข้นเรื่อยๆ และในตลาดไม่ได้มีแค่แบรนด์เดียว ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นได้เสมอ

]]>
1271647
“แกร็บ” สั่งปิดสำนักงานในไทยชั่วคราว 5 วัน หลังมีพนักงานต่างชาติติด COVID-19 https://positioningmag.com/1267644 Tue, 10 Mar 2020 04:32:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1267644 แกร็บ ชี้แจงกรณีพนักงานชาวต่างชาติที่ประจำอยู่สำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ติดเชื้อ COVID-19 เดินทางมาติดต่องานที่สำนักงานแกร็บ ประเทศไทยในไทยช่วง 5- 6 มีนาคม ก่อนเดินทางกลับและตรวจพบว่ามีอาการ เพื่อป้องกัน และควบคุมโรค ทาง แกร็บ ประเทศไทย สั่งปิดสำนักงานเพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค 5 วัน

แถลงการณ์จากทางแกร็บ ระบุว่า มีพนักงานของบริษัท แกร็บ โฮลดิ้งส์ อิงค์ (ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ แกร็บ ประเทศไทย) ได้ติดโรคติดเชื้อ COVID- 19 จริง ทั้งนี้ พนักงานคนดังกล่าวเป็นชาวต่างชาติซึ่งประจำอยู่ในสำนักงานใหญ่ ประเทศสิงคโปร์ โดยได้เข้ารับการตรวจในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ณ ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 และพบว่ามีผลการตรวจเป็นบวก ซึ่งขณะนี้ได้เข้ารับการรักษาตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทฯ ได้ให้การดูแลและคุ้มครองพนักงานคนดังกล่าว รวมทั้งครอบครัวอย่างเต็มที่

พนักงานคนดังกล่าวปฏิบัติงานอยู่ในส่วนของสำนักงาน และไม่ได้เกี่ยวข้องกับพาร์ตเนอร์ผู้ขับขี่และ พาร์ตเนอร์ร้านค้าของแกร็บ โดยได้เดินทางมาติดต่องานในประเทศไทยในระหว่างวันที่ 5 – 6 มีนาคม 2563 ณ บริเวณชั้น 19 ของอาคารสมัชชาวาณิช 2 (หรืออาคาร UBC 2) ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ แกร็บ ประเทศไทย โดยมิได้แสดงอาการป่วยแต่อย่างใด และได้เดินทางกลับไปยังประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา

เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังเพื่อระบุตัวตนของบุคคลที่พนักงานคนดังกล่าวได้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย โดยได้จัดให้พนักงาน แกร็บ ประเทศไทย ที่ได้ติดต่องานกับพนักงานคนดังกล่าวโดยตรงเข้ารับการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังอยู่ที่บ้านเป็นระยะเวลา 14 วัน

บริษัทฯ ได้ทำการปิดสำนักงานใหญ่ของ แกร็บ ประเทศไทย ณ อาคาร UBC 2 เป็นการชั่วคราวโดยทันที เพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคเป็นเวลา 5 วัน (ระหว่างวันที่ 9 – 13 มีนาคม 2563) โดยในระหว่างนี้ พนักงาน แกร็บ ประเทศไทย ที่ประจำอยู่ในสำนักงานดังกล่าวจะปฏิบัติงานอยู่ที่บ้านตลอดทั้งสัปดาห์ ขณะที่ศูนย์บริการพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บ (หรือ Grab Driver Center) ณ อาคารธนภูมิ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด โดยยังคงเปิดดำเนินการตามปกติ

Source

]]>
1267644
Grab ผุดโมเดล Mini-GC จับมือ SME ท้องถิ่นเปิดศูนย์อบรมสาขาย่อยบุกตลาดต่างจังหวัด https://positioningmag.com/1262510 Thu, 30 Jan 2020 06:55:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262510 Grab เดินหน้าบุกตลาดต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เปิดโมเดล Mini-GC แห่งแรกในไทย เพื่อเป็นศูนย์อบรบ และสอนการใช้งานแอปพลิเคชั่นสำหรับผู้สนใจ ตั้งเป้าขยายให้ครบ 30 จังหวัดทั่วไทย

จับมือพาร์ตเนอร์เปิดศูนย์อบรม

ท่ามกลางความปั่นป่วนของธุรกิจขนส่งผ่านแอปพลิเคชั่นที่ยังสีเทาๆ ไม่ขึ้นทะเบียนถูกกฎหมายเสียทีเดียว แต่ Grab ก็ยังคงเดินหน้าบุกตลาดอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดได้เปิดโมเดลใหม่ “Mini-GC” หรือศูนย์อบรมสาขาย่อย เป็นโมเดลที่ใช้บุกตลาดต่างจังหวัดโดยเฉพาะ เพราะมีความคล่องตัว ใช้วิธีการจับมือกับพาร์ตเนอร์ หรือผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่นนั้นๆ ที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ช่วยในการขยายฐานลูกค้าให้ Grab มากขึ้น

ที่ศูนย์นี้จะเป็นพื้นที่รับสมัคร สอนการใช้งานแอปพลิคเชั่น ให้คำแนะนำเรื่องการทำธุรกิจแก่พาร์ตเนอร์คนขับ-จัดส่งอาหารของ Grab รวมถึงพาร์ตเนอร์ร้านอาหาร

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า

“ปี 2562 ที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นปีทองของ Grab ประเทศไทย โดยธุรกิจของเรามีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งการเปิดโมเดลใหม่นี้เป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายธุรกิจ เชื่อว่าโมเดลนี้จะช่วยเสริมศักยภาพในการขยายธุรกิจไปยังจังหวัดท้องถิ่น และสามารถตอบสนองความต้องการของทั้งพาร์ตเนอร์ และผู้ใช้บริการในแต่ละจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่แกร็บได้นำโมเดลนี้มาใช้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจและสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับแกร็บ ประเทศไทยได้”

ดัน GrabFood เป็นหัวหอก

สำหรับธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 35,000 ล้านบาทนั้น GrabFood ถือเป็นผู้เล่นรายหลักที่คอยขับเคลื่อนตลาด โดยนอกจากแคมเปญการตลาดที่จัดเต็มต่อเนื่องเพื่อสร้างสีสันตลอดทั้งปีแล้ว ในปีที่ผ่านมา Grab ยังได้เริ่มขยายการให้บริการไปหัวเมืองและเมืองรองเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในจังหวัดอื่นๆ จากเดิมที่มีเพียงกรุงเทพฯ

โดยใช้เวลาไม่ถึงปีในการขยายธุรกิจ GrabFood ไปยัง 14 จังหวัดทั่วไทย จนได้รับความนิยมในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี โคราช รวมถึงหาดใหญ่ ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของยอดรวมการสั่งอาหารของ GrabFood มาจากกลุ่มลูกค้าในต่างจังหวัด

ผู้ประกอบการที่จะร่วมเปิดศูนย์ Mini-GC จะต้องผ่านการพิจารณาของแกร็บใน 3 ด้าน ได้แก่

1. ทุน คือ ต้องมีเงินทุนตั้งต้นและมีสถานะทางการเงินมั่นคง

2. ที่ คือ มีความสามารถในการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อเปิดศูนย์ฯ และสุดท้าย

3. ทัศนคติ คือ จะต้องมีแนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่และสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจของแกร็บ เพื่อให้สามารถพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับบริษัทได้ในระยะยาว

ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา Grab ได้เริ่มทดลองใช้โมเดลดังกล่าวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจ และขยายการให้บริการ โดยได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากพาร์ตเนอร์คนขับและพาร์ตเนอร์จัดส่งอาหาร-พัสดุ

ปัจจุบันแกร็บมี Mini-GC จำนวนทั้งสิ้น 24 ศูนย์ โดยตั้งเป้าขยายจำนวนไปในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัวภายในสิ้นปีนี้

ตอนนี้ Grab มีบริการที่ครอบคลุมทั้งบริการการเดินทาง บริการส่งอาหารผ่าน

  • GrabBike บริการส่งผู้โดยสาร
  • GrabFood บริการส่งอาหาร
  • GrabExpress บริการจัดส่งพัสดุและสิ่งของผ่าน
  • GrabPay Wallet บริการกระเป๋าเงินดิจิทัล
  • GrabCar Premium บริการรถรับ-ส่งสำหรับลูกค้าชั้นธุรกิจ
  • GrabDriveYourCar บริการคนขับรถยนต์ส่วนตัว
  • ฟีเจอร์ Groceries บริการสั่งซื้อของสดหรือสินค้าจากท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต

โดยปัจจุบันพื้นที่ให้บริการของแกร็บครอบคลุม 20 จังหวัดทั่วประเทศ การเปิดโมเดลนี้จะสามารถรองรับแผนการเติบโตไปสู่ 30 จังหวัดทั่วไทยภายในปี 2563

]]>
1262510