HBOMax – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Mar 2024 10:31:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จัดไปอีกเจ้า! “Max” จ่อเข้ม “ห้ามแชร์พาสเวิร์ด” สตรีมมิ่งใหญ่รายที่สามที่ใช้นโยบายนี้ https://positioningmag.com/1465508 Thu, 07 Mar 2024 09:04:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465508 สตรีมมิ่งดัง “Max” (ชื่อเดิม: HBO Max) เตรียมออกกฎ “ห้ามแชร์พาสเวิร์ด” ช่วงปลายปีนี้ กลายเป็นสตรีมมิ่งรายที่สามที่ใช้นโยบายนี้ต่อจาก Netflix และ Disney+

เจบี พาร์เรตต์ หัวหน้าแผนกสตรีมมิ่งและเกม Warner Bros. Discovery บริษัทแม่ของบริการสตรีมมิ่ง “Max” ประกาศแผนเตรียมออกนโยบาย “ห้ามแชร์พาสเวิร์ด” ช่วงปลายปี 2024 โดยยังไม่บอกรายละเอียดกฎเกณฑ์ แต่จะทยอยใช้นโยบายนี้เป็นวงกว้างขึ้นภายในปี 2025

“Max” จึงนับได้ว่าเป็นบริการสตรีมมิ่งเจ้าที่สามแล้วที่ออกกฎห้ามแชร์พาสเวิร์ด หลังจากหัวหอกหลัก “Netflix” ที่เริ่มนโยบายนี้ไว้ตั้งแต่ปี 2023 เป็นเจ้าแรกที่สร้างแรงสะเทือนในวงการ

ขณะที่ “Disney+ และ Hulu” เป็นค่ายสตรีมมิ่งเจ้าที่สองที่มีแผนใช้นโยบายนี้แล้ว โดยทาง Disney เริ่มส่งอีเมลหาลูกค้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า บริษัทกำลังจะเปลี่ยนเงื่อนไขการให้บริการ และการให้ข้อมูลล็อกอินกับผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ในครัวเรือนเดียวกันจะถือเป็นการละเมิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2024

ความเคลื่อนไหวเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเจ้าของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่างเผชิญตลาดที่มีคู่แข่งมากขึ้น จนทำให้การเพิ่มจำนวนสมาชิกตามปกติทำได้ยาก พวกเขาจึงหาทางออกด้วยการบีบให้ลูกค้าต้องเลือกว่าบริการสตรีมมิ่งเจ้าไหนที่ต้องการใช้งานมากที่สุดและจ่ายได้

Netflix ซึ่งเป็นเจ้าแรกที่กล้าเสี่ยงก่อนเผชิญกับความผันผวนในช่วงแรก แต่ยอดผู้สมัครสมาชิกก็ถีบตัวกลับขึ้นมาได้ พิสูจน์ว่าการออกกฎห้ามแชร์พาสเวิร์ดกลายเป็นผลดีต่อ Netflix จริงๆ

สำหรับ Disney+ ยังไม่มีปัญหาการเพิ่มจำนวนสมาชิกมากนัก แต่ที่หนักคือปัญหา “การทำกำไร” ทาง “บ็อบ ไอเกอร์” ซีอีโอของ Disney เคยคาดการณ์ไว้ว่าสตรีมมิ่งน่าจะเริ่มทำกำไรได้จริงภายในปี 2024 บริษัทจึงต้องหานโยบายต่างๆ เพื่อทำให้เป้าหมายนี้เกิดขึ้นจริง นอกจากการห้ามแชร์พาสเวิร์ดแล้ว Disney ยังออกแพ็กเกจเทียร์ใหม่ “แพ็กเกจแบบมีโฆษณาคั่น” มาช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้นด้วย

ขณะที่ทาง Max ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาเมื่อ “Warner Bros.” ควบรวมกิจการกับ “Discovery” ทำให้บริการสตรีมมิ่ง HBO Max กับ Discovery+ ได้รวมกิจการเช่นกัน แม้ว่าแฟนคลับของ HBO Max จะไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่ แต่การรวมกันนี้ทำให้ Warner Bros. Discovery สร้างผลกำไรจากธุรกิจสตรีมมิ่งสำเร็จ

คอนเทนต์ของ HBO Max นั้นมีหลายเรื่องที่เป็นคอนเทนต์สุดฮิต ตั้งแต่ซีรีส์อย่าง Game of Thrones และภาคแยก House of the Dragon รวมถึงซีรีส์ The Last of Us คอนเทนต์เหล่านี้ถูกนำไปปล่อยดูฟรี/ดาวน์โหลดเถื่อนติดอันดับต้นๆ ของโลก สะท้อนให้เห็นคอนเทนต์ระดับแม่เหล็กที่น่าจะเป็นตัวสร้างดีมานด์ให้ผู้ใช้ใหม่ยอมสมัครสมาชิกเข้ามาชม แม้ว่าจะไม่สามารถแชร์พาสเวิร์ดกันได้แล้วก็ตาม

Source

]]>
1465508
ส่องปีทองธุรกิจ ‘วิดีโอสตรีมมิ่ง’ ค่ายไหนเติบโตสูงสุดในครึ่งปีแรก https://positioningmag.com/1292132 Wed, 12 Aug 2020 09:17:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292132 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 ที่มีปัจจัยอย่างการระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลอย่างมากกับธุรกิจ วิดีโอสตรีมมิ่ง เพราะช่วยผลักดันให้ผู้บริโภคสมัครใช้งานเป็นจำนวนมากอย่างที่เคยไม่มีมาก่อน ส่งผลให้บริษัทสื่อต่างให้ความสำคัญกับตลาดสตรีมมิ่งมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจอื่น ๆ เช่น ทีวี, โรงภาพยนตร์ และกีฬา ต้องอยู่ภายใต้แรงกดดัน หากพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นคุ้นชินกับสตรีมมิ่งเร็วและมากกว่าที่เคย

Disney+

ไม่มีบริษัทสื่อใดจับจุดสำคัญในการสตรีมมิ่งได้ดีไปกว่า ดิสนีย์ (Disney) โดยในช่วงเวลาไม่ถึง 1 ปี Disney + มีผู้ใช้บริการมากกว่า 60 ล้านคน ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ตัวเลขดังกล่าวเป็นเป้าหมายที่ดิสนีย์วางไว้ 4 ปีด้วยซ้ำ หรือก็คือสร้างการเติบโตให้ได้ 60 ถึง 90 ล้านคนภายในปี 2567 และอย่าลืมว่าบริการดังกล่าวยังไม่เปิดให้บริการทั่วโลก ดังนั้น การเติบโตดังกล่าวจึงน่าประหลาดใจมาก โดยปัจจุบันการสมัครรับข้อมูลสตรีมมิ่งของ Disney+ รวมถึง Hulu และการเติบโตของ ESPN + รวมกว่า 100 ล้านคน

“แม้จะเผชิญกับความท้าทายจากการระบาดของโรคเราก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่รอบคอบและสร้างสรรค์ในการดำเนินธุรกิจของเรา ในขณะเดียวกัน เราให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาและขยายธุรกิจโดยตรงสู่ผู้บริโภคซึ่งเราเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดและเป็นกุญแจสำคัญในอนาคตของบริษัท” Bob Chapek CEO กล่าว

ทั้งนี้ Chapek แสดงให้เห็นว่าการทำธุรกิจโดยตรงสู่ผู้บริโภคมีความสำคัญต่ออนาคตของดิสนีย์เพียงใด หลังจากที่บริษัทเตรียมสร้างบริการสตรีมมิ่งใหม่ภายใต้ชื่อ ‘Star’ ที่จะเปิดตัวในระดับสากลในปีหน้า โดยเชื่อมโยงกับแบรนด์ Star India ที่ Disney ได้มาหลังจากที่เข้าซื้อกิจการของ ‘Fox’ นอกจากนี้ ยังดึง ‘มู่หลาน’ ลงฉายใน Disney + พร้อมกับการฉายในโรงภาพยนตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการใช้งาน Disney + และทดสอบความต้องการในการซื้อแพ็กเกจแบบพรีเมียมสำหรับเนื้อหาระดับพรีเมียมอีกด้วย

Netflix

ผู้นำด้านพื้นที่สื่อสตรีมมิ่งแบบสมัครสมาชิก (Subscription) ที่ยังคงเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไตรมาส 2 ด้วยจำนวน 10 ล้านราย ขณะที่จำนวนสมาชิกในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 15.7 ล้านราย รวมสมาชิกในปัจจุบันกว่า 193 ล้านราย โดยการเติบโตดังกล่าวมีปัจจัยหนุนมาจากมาตรการล็อกดาวน์ของประเทศต่าง ๆ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

แม้ว่า Netflix จะเติบโตขึ้นอย่างมากก็จริง แต่หุ้นกลับตกลงเนื่องจาก Reed Hastings ซีอีโอร่วม ออกมาระบุว่า การเติบดังกล่าวอาจจะไม่ใช่การเติบโตอย่างยั่งยืนหากหมดช่วงล็อกดาวน์ พร้อมคาดว่าในช่วงไตรมาส 3 จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านราย โดยนักวิเคราะห์ระบุว่านี่เป็นผลมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วในตอนระบาดหนักเมื่อครึ่งปีแรก

“เราต้องการมีคอนเทนต์ฮิตที่มากที่สุด จนเมื่อคุณมาที่ Netflix คุณก็สามารถดูคอนเทนต์ที่ฮิตได้โดยไม่ต้องคิดถึงบริการอื่น ๆ เหล่านั้น”

HBO Max

เมื่อ 2 ปีก่อนบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ‘AT&T’ ประกาศควบรวมกิจการกับ Time Warner และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Warner Media ซึ่งเป็นเจ้าของคอนเทนต์ดัง ๆ อย่าง ช่องหนัง HBO ช่องข่าวอันดับ 1 CNN หรือแม้แต่ช่องการ์ตูน Cartoon Network หรือ Boomerang จากนั้น AT&T ก็เดินหน้าลุยตลาดสตรีมมิ่ง โดยเปิดตัวสตรีมมิ่ง ‘HBO’ ตามด้วย ‘HBO Max’ โดย AT&T อธิบายว่าการเปิดตัว HBO Max เป็นความสำเร็จ โดยช่วยเพิ่มกลุ่มลูกค้าโดยรวมของ HBO และ HBO Max ได้ 4 ล้านรายในครึ่งปีแรก โดยมีผู้ใช้บริการรวมทั้งหมด 36.3 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความซับซ้อนของการให้บริการของ HBO และ HBO Max ส่งผลให้ HBO สูญเสียสมาชิกไปกว่า 2 ล้านคนในไตรมาสแรก แต่ปัจจุบันก็มีสมาชิกใหม่เพิ่มเกือบ 3 ล้านราย

Peacock

หลังจากเปิดตัวครั้งแรกให้กับสมาชิก Comcast ในช่วงกลางเดือนเมษายนก่อนที่จะเปิดตัวทั่วประเทศในวันที่ 15 กรกฎาคม ‘Peacock’ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจากค่าย ‘NBCUniversal’ ที่ให้ดูฟรีแต่มีโฆษณา ก็สามารถสร้างผู้ใช้ได้ถึง 10 ล้านรายภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือนหลังจากเปิดตัว Jeff Shell ซีอีโอของ NBCUniversal กล่าวว่า แนวโน้มต่าง ๆ นั้นดีเกินคาด อย่างไรก็ตาม ยังเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นเท่านั้น แม้บริการจะเติบโต แต่ทุกคนก็จับตาดูอยู่ว่าหากมาตรการล็อกดาวน์หมดไป จำนวนผู้บริโภคจะไปในทิศทางใดจาก

Source

]]>
1292132
Update ตั้งแต่ ‘HOOQ’ ไป แพลตฟอร์มไหนยังอยู่ และอีกกี่รายที่กำลังจะมา https://positioningmag.com/1276822 Tue, 05 May 2020 06:36:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276822 ถือว่าใจหายอยู่สำหรับ ‘HOOQ’ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งที่ทำตลาดมากว่า 5 ปีได้เลิกกิจการไปด้วยเหตุ ‘สู้ต้นทุนไม่ไหว’ ดังนั้นเราจะมา Update กันว่ายังมีผู้ให้บริการที่ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ และมีผู้เล่นอีกกี่รายที่เตรียมบุกตลาดไทย บอกได้คำเดียวเลยว่าตลาดนี้ไม่ใช่ Blue Ocean อีกต่อไปแล้ว

Netflix (เน็ตฟลิกซ์)

แพลตฟอร์มยอดฮิตของไทยและของผู้ใช้ทั่วโลก ที่เริ่มต้นมาจากธุรกิจให้เช่า DVD ผ่านทางเว็บไซต์ และแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวด้วยระบบ Movie Recommendation ช่วยแนะนำภาพยนตร์เรื่องใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า และพัฒนามาเป็น Online Streaming ในปี 2007 และต่อยอดจนมี Original Content ของตัวเองและเติบโตจนให้บริการกว่า 190 ประเทศ มีผู้ใช้กว่า 160 ล้านราย และคาดว่าปีนี้อาจทะลุ 190 ล้านราย

Viu (วิว)

หนึ่งในบริการดูหนังและซีรีส์ที่เติบโตเร็วสุดของเอเชีย ที่เริ่มให้บริการเมื่อปี 2017 โดยกลุ่มบริษัท PCCW Media (พีซีซีดับเบิลยู มีเดีย) พร้อมได้พันธมิตรเป็น 3 ช่องทีวีจากเกาหลี ได้แก่ SBS, KBS และ MBC ทำให้มีจุดเด่นด้านคอนเทนต์เกาหลีและเอเชีย ทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์และรายการวาไรตี้ แถมมาพร้อมกับโมเดล ‘ฟรีเมียม’ ให้ ดูฟรี ไม่เสียเงิน แต่มีโฆษณาและได้แค่ความคมชัดภาพแบบ SD แต่ถ้าอยากดูแบบ Full HD ไม่มีโฆษณา สามารถสมาชิกได้ในราคา 119 บาท/เดือน โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการกว่า 41.4 ล้านคน มียอดเข้าชมกว่า 5.7 พันล้านครั้ง จากการให้บริการใน 6 ประเทศ

WETV (วีทีวี)

หลังจากที่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘เทนเซ็นต์’ ได้ให้บริการแพลตฟอร์ม Tencent Video ในประเทศจีน จนปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 200 ล้านคน/วัน มีออริจินอลคอนเทนต์กว่า 80 เรื่อง ก็มาถึงช่วงขยายการเติบโต โดยเปิดตัว แพลตฟอร์ม ‘WeTV’ ในไทยประเทศแรกต่อจากจีน โดย WeTV มีจุดเด่นด้านซีรีส์จากจีนและเอเชีย ที่น่าจะถูกใจคอภาพยนตร์กำลังภายใน และสาว (วาย) อย่าง ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ซึ่งรูปแบบการใช้บริการมีทั้งดูฟรีและพรีเมียม ถ้าอยากดูชัด ดูเร็ว และไม่มีโฆษณาคั่นก็จัดเลย เดือนละ 59 บาท

iFlix (ไอฟลิกซ์)

ไอฟลิกซ์เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2014 โดยเน้นเจาะตลาดเกิดใหม่เป็นหลักหรือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 28 ประเทศ นอกจากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วยังมี ประเทศอื่น ๆ อาทิ เนปาล, บังกลาเทศ, ซิมบับเว, แทนซาเนีย  โมร็อกโก และยูกันดา มีสมาชิกรวมกว่า 15 ล้านคน ในส่วนของคอนเทนต์จะเน้นความหลากหลายทั้งฝรั่ง จีน เกาหลี การ์ตูน มีหมด แถมบางคอนเทนต์ยังอัพเดตเร็วมาก ฉายจาก US ไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็มีซับไทยแล้ว ขณะที่รูปแบบการให้บริการก็มีทั้งฟรี iflixFREE และรูปแบบบริการแบบจ่ายค่าบริการสมาชิก ดูได้ไม่อั้นบน iflixVIP ในราคา 100 บาท/เดือน

LINE TV (ไลน์ทีวี)

แอปซีรีส์, ละครย้อนหลังและรายการวาไรตี้ยอดฮิตของคนไทย แถมมีออริจินอลซีรีส์ของตัวเองด้วย และที่ดีงามที่สุดคือ ดูฟรี แต่มีโฆษณานะ

ออริจินอล คอนเทนต์ ของ LINE TV ในปี 2563

AIS Play (เอไอเอส เพลย์)

แพลตฟอร์มคอนเทนต์จากโอเปอเรเตอร์ของไทยที่ให้ดูฟรีไม่จำกัดค่าย โดย AIS มี Netflix และ Viu เป็นพันธมิตร และมีคอนเทนต์ครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทีวีสด ภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คอนเสิร์ต รวมถึงออริจินอลซีรีส์ ‘คลับสะพานฟาย’ ที่พึ่งเปิดตัวปีนี้ แต่สำหรับใครที่อยากจะดู 10 ช่องพรีเมียม มีค่าบริการที่ 119 บาท/เดือน

True ID (ทรู ไอดี)

เป็นแพลตฟอร์มจากโอเปอเรเตอร์และสามารถดูได้ไม่จำกัดค่ายเช่นกัน แต่ True ID จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจาก AIS Play ตรงที่ มีกีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ ให้ชม แน่นอนว่าดูฟรีเฉพาะบางคู่ และสามารถเช่าหนังพรีเมียมได้ในราคา 149 บาท โดยหนังใหม่ใน True ID นั้นมาเร็วมาก แต่หนังฟรีก็มี รวมถึงออริจินอลคอนเทนต์ด้วย เช่น ‘Voice สัมผัสเสียงมรณะ’

Doonee (ดูนี่)

แพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่ให้ดูฟรี 30 วันเมื่อสมัคร แถมราคาเเพ็กเกจก็หลากหลาย ทั้งรายวัน 9 บาท รายเดือน 150 บาท และรายปี 1,500 บาท โดยคอนเทนต์ที่โดดเด่นจะเป็นภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา อย่าง hell kitchen, Master Chef และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มคนไทย แน่นอนว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

MONOMAX (โมโนแมกซ์)

คงไม่ต้องบอกสรรพคุณ ใครที่เป็นแฟนหนังและซีรีส์ในช่อง Mono29 ก็ตามไปดูต่อกันผ่านแพลตฟอร์มได้ ล่าสุดเตรียมเอาซีรีส์ “WESTWORLD Season 3” (เวสต์เวิลด์ ซีซั่น 3) มาลงด้วย แฟน ๆ ก็ตามรอได้เลย ใครสนใจก็สมัครดูได้ ให้ดูฟรี 30 วันเช่นกัน ใครติดใจก็สมัครต่อได้ในแพ็กเกจ 250 บาท/เดือน และ 2,500 บาท/ปี

Flixer (ฟลิกเซอร์)

แพลตฟอร์มที่มีจุดยืนชัดเจน ว่ารวบรวมคอนเทนต์จากญี่ปุ่น โดยเฉพาะ ‘การ์ตูน’ ไม่ว่าจะเป็นฮีโร่ มาส์กไรเดอร์ ขบวนการเซ็นไท อุลตร้าแมน กันดั้ม อีกทั้งยังมีรายการแนวพาเที่ยว พาชิม บันเทิงวาไรตี้สนุก ๆ มากมาย โดยบริษัท ฟลิกเซอร์ จำกัด ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เป็น บริษัทดรีม เอกซ์เพรส หรือ DEX ที่เป็นผู้นำด้านลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากญี่ปุ่นในไทยมานานกว่า 18 ปี โดย Flixer สามารถดูฟรีและแบบพรีเมียมในราคา 89 บาท

POPS (พ็อพส์)

แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจาก POPS Worldwide (ประเทศไทย) ที่เปิดตัวในเวียดนามปีที่ผ่านมา และเตรียมขยายให้ครอบคลุมทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย POPS จะคล้าย ๆ Flixer ที่เน้นคอนเทนต์การ์ตูน แต่เป็นฝั่งซูเปอร์ฮีโร่อเมริกัน อาทิ ไอรอนแมน (Ironman) วูล์ฟเวอรีน (Wolverine) เอ็กซ์เมน (X-MEN) เบลด (BLADE) และออริจินัลคอนเทนต์ที่มีพันธมิตรเป็นเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง บี้-เดอะสกา, ต่อ-ตอปิโด หรือทีมอีสปอร์ตระดับท็อปของไทยอย่าง เบคอน ไทม์ โดยสามารถดูฟรี

รายนามยักษ์ใหญ่ที่กำลังเข้ามา

จากลิสต์รายชื่อ ดูเหมือนจะมีแค่ ‘Netflix’ รายเดียวที่เป็นรายใหญ่ระดับโลก ที่เหลือเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาคและผู้ให้บริการในไทย ขณะเดียวกัน ผู้เล่นรายใหญ่ที่ยังไม่มาไทยก็กำลังเดินหน้าทำตลาดอื่น ๆ ในโลก อาทิ Disney + ของ Disney เจ้าของแฟรนไชส์พันล้านอย่าง Marvel และ Star wars, Amazon Prime Video โดย Amazon,  Apple TV+ จาก Apple,  HBO Max เจ้าของซีรีส์สุดฮิตอย่าง Game of throne และ Hulu นอกจากนี้ยังมีรายที่ยังไม่เปิดตัวอย่าง Peacock โดย NBCUniversal และไม่ใช่แค่ฝั่งยุโรป แต่เอเชียก็ยังมีผู้เล่นรายใหญ่ ๆ อีกนอกจาก ‘เทนเซ็นต์’ ที่เปิดตัว WeTV ในไทย อาทิ iQiyi (อ้ายฉีอี้) ฉายา Netflix ของจีน โดยมีเจ้าของคือ Baidu และ YouKu โดย Alibaba

ขนาดยังมาไม่ครบ ก็ทำเอาผู้เล่นระดับภูมิภาคไปแล้ว ถ้าวันที่ผู้เล่นเหล่านี้ทำตลาดครบทุกประเทศ ผู้เล่นที่เล็กกว่าจะใช้แผนไหนเพื่อสร้างรายได้ให้อยู่รอด คงต้องรอดูกันยาว ๆ

#Netflix #Viu #HOOQ #WETV #LINETV #iFlix #Doonee #MONOMAX #Flixer #Pops #TrueID #AISPlay #Disney+ #AmazonPrimeVideo #AppleTV+ #HBOMax #Hulu  #Peacock #iQiyi #YouKu #Positioningmag

]]>
1276822