jaymart – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 08 Nov 2022 14:33:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจ มาร์ท เข้าถือหุ้นสุกี้ตี๋น้อย สัดส่วน 30% มีแผนนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นด้วย https://positioningmag.com/1407390 Tue, 08 Nov 2022 11:18:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407390 เจ มาร์ท ซึ่งเราได้ยินจากร้านขายโทรศัพท์มือถือชื่อดัง และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ล่าสุดบริษัทได้เข้าซื้อหุ้น 30% ของร้านสุกี้ชื่อดัง “สุกี้ตี๋น้อย” ในสัดส่วน 30% โดยจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 1,200 ล้านบาท นอกจากนี้ร้านสุกี้รายดังกล่าวยังเตรียมเข้าตลาดหุ้นอีกด้วย

บมจ. เจ มาร์ท (JMART) ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ทางบริษัทได้เข้าลงทุนในบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (BNN) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของร้านสุกี้ชื่อดัง “สุกี้ตี๋น้อย” ในสัดส่วน 30% โดยจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 1,200 ล้านบาท

โดยทาง JMART จะซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วน 15% รวมถึงทางบริษัทแม่ของร้านสุกี้ตี๋น้อยนั้นจะออกหุ้นเพิ่มทุนอีก 15%

ทาง JMART เล็งเห็นว่าธุรกิจร้านอาหารของ BNN เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ และมีโอกาสในการเติบโตสูงภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน จึงมีความสามารถในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ภายหลังจากการเข้าทำธุรกรรม รวมถึงการเข้าซื้อหุ้นใน BNN จะทำให้บริษัทได้มาซึ่งพันธมิตรทางธุรกิจ และก่อให้เกิดการผนึกกำลังที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ

โดยคาดว่าธุรกรรมในการซื้อหุ้นของ BNN นั้นจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ นอกจากนี้ในรายงานของ JMART ที่แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ยังชี้ว่า BNN เองยังมีแผนที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นอีกด้วย

ปัจจุบันสุกี้ตี๋น้อยมีสาขาอยู่ทั้งสิ้น 42 สาขา โดยในปี 2020 นั้น BNN มีรายได้ 1,223 ล้านบาท กำไรสุทธิ 140.29 ล้านบาท ขณะที่ปี 2021 มีรายได้ 1,572 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 147 ล้านบาท

]]>
1407390
จับตา KASHJOY สินเชื่อน้องใหม่จาก KB J Capital เกาหลีใต้ บุกสินเชื่อ Non-bank ไทย https://positioningmag.com/1368891 Mon, 27 Dec 2021 08:17:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368891 ตลาดสินเชื่อ Non-bank หรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารกำลังเติบโตสูง ล่าสุดมีน้องใหม่ Kashjoy โดย KB J Capital จากประเทศเกาหลีใต้ ผนึกกำลังกับกลุ่ม JAYMART ตีตลาดสินเชื่อในไทย

Kashjoy แบรนด์สินเชื่อใหม่โดย เคบี เจ แคปปิตอล ก่อตั้งโดย KB Kookmin Card บริษัทบัตรเครดิตยักษ์ใหญ่แห่งเกาหลีใต้ และ JAYMART ทุ่มงบ 650 ล้านบาท หวังรุกตลาดสินเชื่อไทย ครองใจคนทำงานด้วยบริการสินเชื่อที่สะดวกสบาย และรวดเร็วแบบ Non-banking Loan โดยดำเนินธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในประเทศไทยผ่านกลุ่มบริษัทเจมาร์ท

วอนซอค จ็อง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคบี เจ แคปปิตอล จำกัด กล่าวว่า

“เคบี เจ แคปปิตอล พร้อมให้บริการสินเชื่อหลากรูปแบบแก่ลูกค้าในประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้ชีวิตยุคใหม่ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ผ่านการผสานจุดแข็งทางการเงินของ KB Kookmin Card ผู้ดำเนินธุรกิจเครดิตการ์ดชั้นนำในเกาหลีใต้มานานกว่า 30 ปี ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ และมีฐานการดำเนินงานทั้งในเกาหลีใต้ กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย และเมียนมา มีความมั่นคงสูงด้วยทรัพย์สินรวมมากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดในเกาหลีใต้ ส่วนกลุ่มบริษัท Jaymart ปัจจุบันได้ยกระดับเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่มีฐานการดำเนินงานในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยในฐานะผู้จัดจำหน่ายสินค้าสมาร์ทโฟนภายใต้แบรนด์ Jaymart Mobile และผู้ให้บริการสินเชื่อในนาม JMT”

“Kashjoy” โดยบริษัทเคบี เจ แคปปิตอล นำเสนอบริการสินเชื่อหลัก 4 รูปแบบ ได้แก่

  • บัตรกดเงินสดแคชจอย อีซี่
  • สินเชื่อส่วนบุคคลแคชจอย
  • สินเชื่อรถยนต์แคชจอย
  • สินเชื่อผ่อนมือถือแคชจอย

ทั้งหมดถือเป็นกลุ่มบริการสินเชื่อซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้าในปัจจุบันอย่างมาก และเมื่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลง เคบี เจ แคปปิตอล จึงได้พัฒนาการให้บริการสินเชื่อ ได้แก่ บัตรกดเงินสดแคชจอย อีซี่ วงเงินพร้อมใช้ เพื่อมอบประโยชน์ที่คุ้มค่าแก่ลูกค้าด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% ใน 30 วันแรกหลังอนุมัติ ปลอดค่าสมาชิกและค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย

“ตลาดสินเชื่อผู้บริโภคในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วเฉลี่ย 8% ต่อปี โดยเฉพาะตลาดกลุ่มนอนแบงก์ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงกว่า 10% ด้วยมูลค่าตลาดปัจจุบันราว 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งนับว่ามีอัตราการเติบโตสูงกว่าในเกาหลีใต้ และด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เราคิดค้นใหม่เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าชาวไทยได้อย่างตรงจุด ทำให้เรามั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยมทั้งจากกลุ่มนักลงทุนและลูกค้าทั่วไป โดยบริษัทฯ จะมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำตลาดสินเชื่อไทยในอนาคต”

]]>
1368891
U City ปรับทิศ เลิกทำ ‘อสังหาฯ’ เทขายโรงเเรมในยุโรป ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ https://positioningmag.com/1349219 Mon, 30 Aug 2021 08:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349219 U City บริษัทลูกในเครือ ‘บีทีเอส กรุ๊ป’ ที่เคยมุ่งลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ 100% วันนี้ประกาศทรานส์ฟอร์มใหม่ ทยอยเทขายโรงแรมในยุโรป หลังเจอพิษโควิดฉุดท่องเที่ยวซบเซา ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ 

กวิน กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงการปรับตัวท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นี้ ว่า “ทาง U City มีตั้งใจที่จะ ‘ยุติการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”

เนื่องจากมองว่าธุรกิจอสังหาฯ โรงเเรมเเละออฟฟิศ ภายใน 3 -5 ปีนี้ ‘ไม่น่าจะทำกำไร’ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้ธุรกิจมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนต้องการ

ทางบริษัท จึงได้ประกาศขายธุรกิจโรงแรมที่เหลืออยู่ในยุโรปเกือบทั้งหมด รวมถึงขายแบรนด์เวียนนา เฮ้าส์ และส่วนหนึ่งของบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด เบื้องต้น คาดว่าธุรกรรมนี้ จะสร้างกำไรให้แก่บริษัทและจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

กวิน บอกว่า การเทขายอสังหาฯ เเละโรงเเรมครั้งนี้ จะทำให้มีเงินทุนกลับมาประมาณ ‘หมื่นกว่าล้าน’ ซึ่งจะนำไปไปลงทุนในธุรกิจ ‘ไฟแนนซ์เชียล เซอร์วิส’ อย่างเจมาร์ท เเละซิงเกอร์

โดย U City เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ว่า ได้ทำการเข้าซื้อหุ้น 24.9% ในบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ Singer จำนวน 7,000 ล้านบาท ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด และเข้าลงทุน 9.9% ในบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ Jaymart จำนวน 4,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังขยายไปสู่ธุรกิจประกัน โดย U City ทุ่มเงินอีก 1,500 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 75% ในบริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ A Life พร้อมขยายฐานลูกค้าเเละช่องทางการจัดจำหน่าย ร่วมกับ วีจีไอ, ซิงเกอร์ และ เจเอ็มที รวมถึงพันธมิตรในเครือข่ายของกลุ่มบีทีเอส ที่มีทั้งธุรกิจระบบขนส่งมวลชน สื่อโฆษณา ธุรกิจบริการ

สถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี ทำให้ U City ต้องปรับเเผนการดำเนินธุรกิจในระยะยาวครั้งใหญ่
“จุดเปลี่ยนครั้งนี้ จะพลิกฟื้นธุรกิจจากอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นขาลง ให้ก้าวไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน” กวิน กล่าว

ในช่วงต่อไปนี้ U City จะดำเนินการขายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อตกลงและราคาที่สร้างผลกำไร เพื่อจะจัดสรรเงินทุนที่ได้รับไปต่อยอดธุรกิจบริการทางการเงินต่อไป

“อสังหาฯ เเละโรงเเรมที่เหลืออยู่ กำลังรอราคาที่ดี เพื่อขายให้ได้กำไร ไม่ใช่จะเร่งขายถูกในช่วงนี้”

ทั้งนี้ ต่อไปบริษัทจะมีการเปลี่ยนชื่อ ‘U City’ (ยูซิตี้) โดยจะให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบริษัทขึ้นมาใหม่ในเร็วๆ นี้

 

 

]]>
1349219
กลยุทธ์ใหม่เจมาร์ท ปั้นรายได้ใหม่ ประกันมือถือ ปูทางสู่ insure tech https://positioningmag.com/1176652 Mon, 02 Jul 2018 04:21:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1176652 วันนี้การซื้อโทรศัพท์มือถือจากร้านไหนก็เหมือนกันหมด “เจมาร์ท” ร้านค้าปลีกมือถือ จึงต้องการหาความแตกต่างให้ตัวเอง โดยหยิบ pain point เรื่องประกันหน้าจอแตกมาขยี้จนเกิดเป็นแคมเปญประกันมือถือรูปแบบใหม่ ให้ผู้ซื้อเครื่องได้แถมทั้งประกันเครื่องและประกันภัยให้เจ้าของแบบ 2 in 1

จุดสำคัญของแคมเปญนี้ คือเป้าหมายใหญ่ที่เจมาร์ทตั้งใจจะดูดลูกค้ากลุ่มที่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยากซื้อสมาร์ทโฟนราคาเกิน 8,000 ขึ้นไป ดังนั้นแคมเปญประกันนี้จะแถมให้ทันทีที่ลูกค้าซื้อเครื่องราคาเกิน 8,000 บาท และยังไม่เปิดให้ผู้ซื้อเครื่องราคาต่ำกว่าเข้าร่วมแคมเปญ

อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ เจมาร์ทตั้งใจบุกหนักแคมเปญประกันภัยแนวใหม่อย่างจริงจัง เห็นได้ชัดเพราะเจมาร์ทลงทุนซื้อบริษัทประกันแล้วตั้งชื่อใหม่ว่าเจพี ประกันภัยก่อนจะเริ่มให้บริการเต็มตัวปีนี้ปีแรก 

การเตรียมพร้อมลุยธุรกิจประกันเต็มตัวครั้งนี้ อาจเป็นเพราะเจมาร์ทเห็นทิศทางดี เนื่องจากพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มที่ซื้อมือถือแพงวันนี้ ยอมจ่ายเงินหลักร้อยบาทแลกกับการขยายประกัน กลายเป็นรายได้อีกทางที่ไหลเข้ากระเป๋าเจมาร์ท บนธุรกิจความกลัวโอกาสเสี่ยงในใจคน

จอแตก pain point ใหญ่ชาวสมาร์ทโฟน

นราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์

นราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า 2 ปีที่ผ่านมา เจมาร์ทเห็นกระแสตอบรับดีจากแคมเปญ Jaymart Lifetime Warranty ที่รับประกันมือถือตลอดอายุการใช้งาน แคมเปญนี้ดันยอดขายสมาร์ทโฟนของร้านเจมาร์ทสูงขึ้น 30% ในปีที่ผ่านมา ทำให้ปีนี้เจมาร์ทสานต่อด้วยการทำแคมเปญใหม่ Jaymart We Care ซึ่งตอบโจทย์ pain point สำคัญอย่างเรื่องหน้าจอแตก

เราพบว่าหน้าจอแตกคือ pain point สำคัญของผู้ใช้ ที่ผ่านมา เราสร้างบริการ Enjoy Card ที่จะขยายเวลารับประกันเปลี่ยนเครื่องใหม่นาน 30 วัน เราให้ความช่วยเหลือลูกค้าบนท้องถนน และปี 2017 ที่ผ่านมาจึงออกประกันตลอดอายุการใช้งาน

สำหรับ Jaymart We Care สโลแกนของแคมเปญนี้คือดูแลเครื่อง ดูแลคุณแคมเปญนี้เจมาร์ทจับมือกับบริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการธุรกิจประกันภัยครบวงจรในเครือเจมาร์ท

เจมาร์ทการันตีว่านี่คือครั้งแรกของตลาด ที่มีการให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งตัวมือถือและเจ้าของเครื่องไปพร้อมกัน โดยลูกค้าที่ซื้อสมาร์ทโฟนทั้งแบรนด์ Samsung, iPhone, Huawei, Oppo, Vivo, Sony, Motorola หรือ Nokia มูลค่า 8,000 บาท ขึ้นไปกับร้านเจมาร์ท 205 สาขาทั่วประเทศ และทางออนไลน์ ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 กันยายน 2561 จะได้รับสิทธิประโยชน์ฟรีประกันหน้าจอแตกนาน 6 เดือน คู่กับเจ้าของเครื่องที่จะได้รับฟรีประกันอุบัติเหตุนาน 6 เดือน

วงเงินคุ้มครองคนสูงสุดของแคมเปญนี้คือ 1 แสนบาท พร้อมค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 2,000 บาทต่อครั้ง ขณะที่การคุ้มครองเครื่อง นอกจากประกันจอแตก เจมาร์ทจะฟรีบริการโอนย้ายข้อมูล บริการตรวจเช็กสภาพเครื่อง และบริการทำความสะอาดเครื่องให้ด้วย

เหตุผลที่ทำให้แคมเปญนี้กำหนดวันไว้ที่ 30 กันยายน 2561 เพราะเจมาร์ทต้องการกระตุ้นยอดขายสมาร์ทโฟนในช่วงที่ตลาดอั้นซื้อ (ตั้งแต่ต้นปีตลาดมือถือติดลบ) ก่อนที่เรือธงรุ่นใหญ่แห่งปีจาก Samsung และ Apple จะคลอดปลายปี

ขณะเดียวกัน แคมเปญใหม่ Jaymart We Care ยังจำกัดเฉพาะลูกค้าผู้ซื้อสมาร์ทโฟนราคา 8,000 บาทขึ้นไปเท่านั้น คาดว่าเป็นเพราะราคาเฉลี่ยสมาร์ทโฟนที่คนไทยซื้อวันนี้อยู่ที่ 8,000 บาท และกลุ่มสมาร์ทโฟนที่เติบโตเร็ว คือ กลุ่มกลางราคาเกิน 7,000 บาท ซึ่งเติบโตขึ้นมาเป็น 40-45% ของตลาดรวมสมาร์ทโฟนไทยปีนี้ ที่คาดว่าจะอยู่ที่ราว 18 ล้านเครื่อง

สำหรับ Enjoy Card ที่นราธิปพูดถึง คือบริการสมาชิกที่เจมาร์ทเปิดให้ผู้ซื้อสมาร์ทโฟนสามารถจ่ายเงินเพิ่ม 300 บาท แลกกับการขยายเวลารับประกันเปลี่ยนเครื่องใหม่นาน 30 วัน โดยจากเดิมผู้ซื้อมือถือจะได้รับประกันเปลี่ยนเครื่องใหม่ 7 วันหลังจากซื้อหากพบปัญหาใช้งานเครื่อง แต่การจ่าย 300 บาทจะขยายจาก 7 วันเป็น 30 วันได้ จุดนี้นราธิปให้ข้อมูลว่า Enjoy Card มีฐานผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 15,000 รายต่อเดือน คิดเป็นรายได้เข้ากระเป๋าเจมาร์ทมากกว่า 4 ล้านบาททุกเดือน

ในเมื่อเก็บเงินเพิ่มจากค่ามือถือได้สวยงามเช่นนี้ เจมาร์ทจึงเห็นช่องทางเล่นกับความกลัวโอกาสเสี่ยงของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราการเคลมประกันหน้าจอแตกของลูกค้าเจมาร์ทอยู่ในสัดส่วนต่ำ คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 5% ทำให้เจมาร์ทมั่นใจว่าแคมเปญประกันจะเพิ่มยอดขายได้

พร้อมลุย insure tech

เจพี ประกันภัยที่จะเป็นแรงขับเคลื่อน Jaymart We Care ให้เจมาร์ทถือเป็นธุรกิจประกันภัยในเครือซึ่งเชื่อว่าจะมีบริการผูกพ่วงอื่นอีกให้เห็นในร้านเจมาร์ทเพิ่มขึ้นในอนาคต

ดุสิต สุขุมวิทยา

จุดนี้ ดุสิต สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด ย้ำว่า เจพีฯ เพิ่งเริ่มให้บริการปีนี้เป็นปีแรก และทิศทางของเจพีฯ นับจากนี้ คือจะเป็นบริษัท insure tech ที่ Synergy เข้ากับธุรกิจรีเทลของกลุ่มเจมาร์ทแบบเต็มที่

เจพี ประกันภัย เกิดจากเจมาร์ทเข้าซื้อกิจการประกันภัยมา ขณะนี้เจพีฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการประกันภัยแบบ non life ให้บริการประกันภัยรถยนต์ และ พ...” ผู้บริหารเจมาร์ทย้ำว่า เจพีฯ คือไม้เด็ดที่จะทำให้เจมาร์ทสามารถสร้างความต่างให้กับร้านเจมาร์ทช็อป และแบรนด์ช็อปที่เจมาร์ทดูแลอยู่

ปัจจุบัน เจมาร์ท เปิดบริการ 205 สาขา ปีนี้ตั้งเป้าเปิดร้านใหม่เพิ่มราว 60 สาขา บนงบประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี คาดว่าเมื่อหักลบการปิดร้านบางส่วน ปีนี้จะมีร้านเจมาร์ทราว 240 แห่งทั่วไทย.

]]>
1176652