K bank – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 14 Mar 2021 15:30:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองโอกาสเเละความเสี่ยง ‘การลงทุน’ ปี 2564 เมื่อ ‘วัคซีน’ ปรับทิศเศรษฐกิจโลก https://positioningmag.com/1323070 Mon, 15 Mar 2021 03:00:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323070

โลกหลังโควิด-19 ยังเต็มไปด้วยความท้าทาย ‘วัคซีน’ กลายเป็นตัวชี้วัดสำคัญของทิสทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางตลาดที่ผันผวน ‘นักลงทุน’ ต้องเตรียมรับมือและวางแผนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้ตามทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

แนวโน้มเศรษฐกิจ สถานการณ์โรคระบาดและธุรกิจท่องเที่ยวของปี 2564 จะส่งผลต่อการลงทุนอย่างไร ความร้อนแรง ‘สกุลเงินดิจิทัล’ น่าสนใจเเค่ไหน ‘ทองคำ vs Bitcoin’ เลือกอะไรดี ตลาดหุ้นไทยเเละสินทรัพย์ที่น่าลงทุนในปีนี้มีอะไรบ้าง

วันนี้ Positioning จับประเด็นสำคัญจากงาน ‘THE WISDOM The Symbol of Your Vision: 2021 Economic Outlook & Investment Forum’ โดย  เดอะวิสดอม กสิกรไทย มาฝากกัน


เศรษฐกิจ ‘ฟื้นตัว’ บนความไม่เเน่นอน 

‘ขัตติยา อินทรวิชัย’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เเม่ทัพหญิงเเห่งค่าย KBank มองว่า เเม้สถานการณ์การเเพร่ระบาดโรคระบาดทั่วโลกจะมีเเนวโน้ม ‘ดีขึ้น’ กว่าปีก่อน เเต่ก็ยังเต็มไปด้วย ‘ความไม่เเน่นอน’ จากหลายปัจจัยโดยการเเพร่ระบาดการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ในช่วงต้นปี ได้ซ้ำเติมเศรษฐกิจที่เพิ่งฟื้นตัว ทำให้ทิศทางของธุรกิจต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น

“แม้ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดเท่ารอบเเรก เเต่ผลกระทบได้ขยายวงกว้าง ผู้ประกอบการเเละร้านค้าในห้าง ยังต้องเเบกต้นทุนเพิ่มขึ้น สวนทางกับรายได้ที่ลดลงกว่า 80-90%” 

ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โรงแรม เเละอสังหาริมทรัพย์ ที่มีรายรับหายไปติดต่อกันนานกว่า 12 เดือน นับเป็นธุรกิจที่ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพื่อพยุงให้พวกเขาอยู่รอดผ่านวิกฤตนี้ไปได้

โจทย์สำคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ จึงขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการควบคุมโควิด-19 ความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน เพื่อให้สังคมมี ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ (herd immunity) ช่วงเวลาเเละนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ การใช้ ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ เเละสิ่งที่ต้องจัดการหลังโควิด-19 ว่าจะเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางมาไทย ในปี 2564 จะมีราว 2 ล้านคน โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่เป็น ‘ไฮซีซั่น’ เเละเพื่อสร้างความเชื่อมั่นเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับคนที่ทำงานในภาคท่องเที่ยวไทย จะต้องได้รับวัคซีนเเล้วอย่างน้อย 2.2 แสนโดส ก่อนช่วงเดือนตุลาคม

อ่านเพิ่มเติม : ความหวัง ‘ท่องเที่ยวไทย’ เร่งฉีดวัคซีนให้ทัน ‘ไฮซีซั่น’ รับต่างชาติ 2 ล้านคน ระวัง ‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่ง

Photo : Shutterstock

ท่ามกลางความฝืดเคืองของเศรษฐกิจไทย KBank พบว่า เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากลูกค้า โดยประเมินจากความสามารถ  ‘คืนเงินกู้’  ได้ในสัดส่วนที่ดีกว่าที่คาดไว้ มีการกลับมาชำระหนี้ได้ดีขึ้น เเม้จะต้องเจอการเเพร่ระบาดรอบใหม่ในช่วงปลายปี 2563 ก็ตาม ซึ่งทางธนาคารจะยังดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องต่อไป

“ประเด็นวัคซีน และการผลักดันมาตรการต่างๆ ของทางการไทย ย่อมมีผลต่อแนวโน้มผลตอบแทนตราสารหนี้ อัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า” 

โดยทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ควรจับตา คือนโยบายของผู้นำสหรัฐคนใหม่อย่าง ‘โจ ไบเดน’ ที่ผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อฟื้นฟูประเทศ ซึ่งจะมีผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในระยะยาวปรับขึ้น  “คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะทยอยออกจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในปี 2565”

ส่วนราคาน้ำมันนั้นจะได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ ควบคู่กับการปรับลดกำลังการผลิตของตะวันออกกลาง ขณะเดียวกันด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ ก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อราคาทองคำมากนัก“จากเงื่อนไขเศรษฐกิจเเละปัจจัยความไม่เเน่นอน จะส่งผลต่อราคาสินทรัพย์แต่ละประเภทที่ต่างกัน นักลงทุนจะต้องจับจังหวะการลงทุนอย่างละเอียดเเละรอบคอบมากขึ้น พร้อมทั้งต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด”


ตลาดยังมีสภาพคล่อง ดอกเบี้ยต่ำ ดัน ‘คริปโต’ มาเเรง เเต่ ‘เสี่ยง’ 

เมื่อเจาะลึกไปที่ประเด็น ‘การลงทุน’ ในยามที่ตลาดมีความผันผวนสูง ‘ธิติ ตันติกุลานันท์’ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย ฉายภาพให้เห็นทิศทางเศรษฐกิจและตลาดเงิน ทั้งในปัจจุบันเเละระยะต่อไปว่า ตอนนี้เริ่มมี ‘ข่าวดี’ เรื่องการกระจายวัคซีน โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจหลักอย่าง สหรัฐฯ ฉีดไปแล้ว 25% ส่วนสหราชอาณาจักร 35% เเละคาดว่าจะครอบคลุม 70% จนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้

ขณะที่ในไทย คาดว่าจะมีการกระจายฉีดวัคซีนสู่ระดับ 50% ได้ ต้องใช้เวลาถึงไตรมาส 4 ของปีนี้ ส่วนประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนก็ยังฉีดวัคซีนได้น้อย จึงมองว่า ‘ข่าวดี’ ของเศรษฐกิจไทยจริงๆ อาจจะได้เห็นกันในช่วงปีหน้า 

เเม้ว่าการกระจายวัคซีนของไทยจะยังไม่ถึงขั้นสร้าง ‘herd immunity’ ได้เร็วภายในปีนี้ ก็มองว่ารัฐมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณา ‘การเปิดประเทศ’ เพราะไทยเป็นชาติที่มีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูงมากกว่า 10% ของ GDP ดังนั้นการเปิดประเทศนานถึง 2 ปี จึงไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก

“แม้รายได้ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกจะลดลง แต่ราคาหุ้นกลับไม่ลดลงตามไปด้วย” 

โดยมองว่าการที่สภาพคล่องเยอะเกินไปก็ต้องระวัง เพราะคนจะไม่มองที่ความเสี่ยง เเต่จะไปเน้นหา ‘ผลตอบแทน’ ที่ได้มากขึ้น ยิ่งในช่วงที่ภาวะ ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ เรายิ่งจะได้เห็นคนเเห่ไปเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงอย่าง ‘คริปโตเคอเรนซี่’ สกุลเงินดิจิทัลมากขึ้น

“การลงทุนใน Bitcoin ในช่วงปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 540% เพราะตอนนี้เงินไม่มีที่ไป ปัจจัยหลักๆ มาจากนักลงทุนสถาบันเเละบริษัท เจ้าใหญ่ลงมาเล่นเเบบ ‘ชุบตัว’ ใหม่ ส่งผลให้ราคาขึ้น ต่างจากเดิมที่เคยเป็นรายย่อย การลงทุนก็ต้องมีการกระจายพอร์ตมากขึ้น”

จากการสำรวจความคิดเห็นของเหล่ามหาเศรษฐีเอเชีย ของ Lombard Odier ร่วมกับ KBank Private Banking พบว่า ผู้มั่งคั่งกว่า 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลังโควิด-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

อ่านเพิ่มเติม : เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน

สำหรับสถานการณ์ของ ‘ตลาดหุ้นไทย’ ตอนนี้ตลาดหุ้นอยู่ที่ราว 1500 จุด โดยปีนี้ประเมินว่า P/E Ratio (กำไรสุทธิต่อหุ้น) น่าจะอยู่ที่ราว 20-22 เท่า ซึ่งถือว่ายังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต ขณะที่นักลงทุนเองก็ ‘ยอมซื้อ’ ในราคาที่สูงขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ในอดีต P/E ratio ของไทยอยู่ที่ 17 เท่า เเละปีที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 30 เท่า แม้รายได้จะตกลง 36% สะท้อนให้เห็นว่าเหล่านักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจไทยจะผ่านวิกฤตนี้ไม่ไปได้ เพราะยังมีหลายบริษัทที่หลายธุรกิจที่ยังมีผลประกอบการที่เเข็งเเกร่ง

Photo : Shutterstock

ปี 2564 ลงทุนอะไรดี ? 

ด้านสินทรัพย์ที่น่าลงทุนเเละประเภทไหนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในปี 2564 นั้น ผู้บริหาร KBank มองว่าปียังเป็นช่วงที่ลงทุนลำบาก เพราะสินทรัพย์มีราคาเเพง ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เองก็ P/E ขึ้นมา 26 เท่า เเต่นักลงทุนก็ยังซื้อเพราะต้องหาผลตอบเเทนที่มากขึ้นในภาวะดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่อง

โดยในตลาดหุ้นไทย ธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้ดีก็มี อย่างกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจพลังงาน ฯลฯ ขณะที่สินทรัพย์ที่มองว่ายังสามารถหาจังหวะลงทุนได้ คือ ทองและน้ำมัน

ส่วนคำถามที่ว่า ‘ทองคำ หรือ Bitcoin อะไรน่าจะลงกว่ากันนั้น ส่วนตัวของธิติมองว่า Bitcoin ก็เป็นการลงทุนตามเทรนด์ที่ยังไปต่อได้ เเต่มีความเสี่ยงเเละความผันผวนสูง เพราะทองคำมีสถิติเเละตัวชี้วัดของราคา เเต่ Bitcoin วิเคราะห์ไม่ได้เเละเงินดิจิทัลไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ราคาขึ้นลงตามดีมานด์เเละซัพพลาย

“ผู้ลงทุนต้องทำใจรับความเสี่ยงที่มากกว่า ยอมรับการสูญเสียเกือบทั้งจำนวนได้ จึงควรลงทุนในสัดส่วนที่เหมาะสม ต้องมีเงินเย็นมากๆ เพื่อลงทุนระยะยาว เเต่ต้องติดตามความเป็นไปอย่างใกล้ชิด มีวินัยในการลงทุนเเละตัดสินใจตัดขาดทุนได้”

เมื่อโลกเปลี่ยนไป พฤติกรรมผู้คนเปลี่ยนไป เกิดธุรกิจใหม่เเละการปรับตัวของธุรกิจเก่าอย่างมากมาย ผู้ลงทุนจึงต้อง ‘เปลี่ยนวิธีคิดใหม่’ ตามไปด้วย

 

 

]]>
1323070
เปิดการทำงานของ DevX ทีมใหม่ KBTG เสริมพลังให้นักพัฒนา มุ่งสู่ “บริษัทเทคชั้นนำแห่งอาเซียน” https://positioningmag.com/1321313 Mon, 01 Mar 2021 13:00:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321313

ว่ากันว่า…เบื้องหลังการสร้างเทคโนโลยีสุดล้ำ ล้วนมาจากการมี ‘ทีมงาน’ ที่มีประสิทธิภาพ

การอำนวยความสะดวกให้เหล่าคนทำงานได้ ‘เฉิดฉาย’ ความสามารถอย่างเต็มที่ มีองค์ความรู้ให้ค้นคว้า ลดเวลาการทำงานซ้ำซ้อน ให้พวกเขาได้โฟกัสไปที่การมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ จึงเป็นอีกหนึ่งบันไดความสำเร็จที่จะนำพาองค์กรขยับไปสู่ระดับโลก

ล่าสุด KBTG ผู้นำด้านเทคโนโลยีของไทย เปิดตัวแผนกใหม่ ‘Software Development Excellence’ ประเดิมปั้นทีม ‘DevX’ มาช่วยให้นักพัฒนาให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน เสริมทัพด้าน Digital Services ในระดับภูมิภาค ตามยุทธศาสตร์ของ KBTG สู่การเป็น ‘บริษัทเทคแห่งอาเซียน’ รวมถึงการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับโลก ให้ได้ภายในปี 2025

วันนี้เราจะมารู้จักกับเเผนก Software Development Excellence เเละการทำงานของทีม ‘DevX’  ให้มากขึ้นกัน 

ที่มาของ DevX

ธนาคารใหญ่ในไทย กำลังหาขุมทรัพย์เเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่มีตลาดเติบโตสูงเป็นโอกาสทองในการปูทางสร้างรากฐาน ‘Digital Banking’ ให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังมีไม่เยอะ

กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ในเครือของธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ถือว่าเป็น ‘หัวหอก’ ผู้นำที่บุกเบิกด้านดิจิทัลในภูมิภาคนี้ ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็น KBTG เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาเขย่าวงการ ไม่ว่าจะเป็น ขุนทอง chatbot, Eatable, Contactless Technology และ MAKE by KBank

จากยุทธศาสตร์ใหญ่ของ ‘กสิกรไทย’ ที่กำลังเข้าไปทำธุรกิจในกลุ่มประเทศ AEC+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) โดยการขยายธุรกิจเข้าไปในจีน , สปป.ลาว เมียนมา , อินโดนีเซีย , กัมพูชาและเวียดนาม ในรูปแบบที่เป็นธนาคารท้องถิ่น ธนาคารร่วมลงทุน และสาขาของธนาคาร

ด้วยกลยุทธ์การขยายธุรกิจแบบ ‘Asset Light’ สร้างความสะดวกในการใช้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล เน้นการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น

ถึงแม้ว่าตอนนี้ ยังมีจำนวนสาขาที่จำกัดในแต่ละประเทศ เเต่ KBank ก็ยังสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้บริการแก่ลูกค้า อาทิ Digital Lending,  Mobile Banking, ระบบชำระเงิน (Payment) และการโอนเงิน

การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งเหล่านี้ ทำให้ KBTG ต้องมีทีมบริหารและทีมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาบริการที่สามารถแข่งขันได้ในทุกตลาดอย่าง ‘ทันเวลา’ และ ‘ทันสมัย’ ที่สุด

นี่จึงเป็นที่มาของการตั้งเเผนก ‘Software Development Excellence’ ขึ้นมา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เพื่อเป็น ‘หน่วยงานกลาง’  ประกอบด้วย 4 ทีม ได้แก่ Agile, DevOps, Software Development Methodology และ DevX

โดยจะมุ่งศึกษาปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) และพัฒนา ‘Automate Tools’ เพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คอยปิดช่องว่างในกระบวนการทำงาน รวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานที่ดี

ประเดิมตั้งทีม ‘DevX’ ขึ้นมาก่อน ซึ่งถือเป็นทีมแรกที่เกิดจาก KBTG Transformation Program มีภารกิจหลักๆ คือการ ‘เสริมพลังการทำงาน’ ให้องค์กรประสบความสำเร็จ บุคลากรได้เเสดงความสามารถอย่างเต็มที่เเละ ‘มีความสุข’ กับงานที่ทำ

ลดเวลางานซ้ำซ้อน ‘เพิ่มเวลา’ พัฒนานวัตกรรม 

จิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการแผนก Software Development Excellence ของ KBTG เล่าให้ฟังว่า เป้าหมายของทีม DevX คือการสร้าง ‘Enterprise Common Library’ เพื่อลดเวลาในการทำงานซ้ำซ้อน และ Align กันระหว่างภาษาได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังมี Knowledge Management Framework ด้วยการจัดตั้ง New Practice พร้อมค้นคว้าองค์ความรู้ในเชิงลึก วิเคราะห์จุดที่เป็นช่องว่างของบริษัท รวมถึงสามารถผลิตซอฟต์แวร์ หรือนำเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อปิดช่องว่างให้องค์กร และยกระดับนักพัฒนาให้ก้าวไปสู่ระดับภูมิภาค

โดยการทำงานของทีม DevX จะต้องเพิ่มความสามารถในการติดตามและตรวจสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันตั้งแต่ต้นจนจบ หรือที่เรียกว่า Application Observability ทั้งในส่วนของ Logging, Metrics, และ Tracing โดยประสานงานกับทีม Infrastructure ในการวางมาตรฐาน และพัฒนา Common Library เพื่อส่งต่อให้กับทีมแอปพลิเคชัน

รวมทั้งการสร้าง Developer Utility Platform เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการพัฒนาด้วย Automation รวมแอปพลิเคชันทั้งบริษัทให้มาอยู่ในที่เดียวกันเพื่อความสะดวกในการจัดการ

“บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Google , Apple , Facebook , Uber หรือบริษัทเทคอื่นๆ ในซิลิคอนวัลเลย์ ล้วนมีแผนกลักษณะนี้อยู่ เเต่มีชื่อทีมที่แตกต่างกันไป เพื่อมาสนับสนุนให้พนักงานทำงานง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานที่ซ้ำซ้อน ทุกคนสามารถเเชร์ไอเดียได้รวดเร็ว ไม่ต้องมาคุยกันหลายรอบ มีฐานข้อมูลให้ค้นคว้าได้ทันที เป็นการ ‘เพิ่มเวลา’ ให้กับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น”

อะไรคือท้าทายของ DevX ? 

สำหรับความท้าทายของ DevX  อันดับเเรกคือต้องทำให้คนกว่า ‘ร้อยคน’ สามารถทำงานที่ไม่ซ้ำกัน ด้วยการสร้าง Common Library และเทคโนโลยีแพลตฟอร์มกลางให้ทุกคนมาแชร์กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตามมาด้วย การตามหาคนที่จะมาร่วมทีม DevX เพราะจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ไม่ต่างจากวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ทั่วไป เเต่ต้องมี Soft Skills การสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน

คิดโซลูชั่นตอบโจทย์ทุกฝ่าย หาทางว่าจะทำอย่างไรให้คนทำงานทำงานได้ดี เเละรู้สึก ‘เเฮปปี้’ ด้วย 

โดยทีม DevX จะต้องมองเห็น Pain Point ในการทำงานเเล้วคิดว่าจะเเก้ไขอย่างไร จึงต้องมีทักษะการเข้าสังคมเเละเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งคนที่มีทั้ง Hard Skills เเละ Soft Skills รวมกันนั้นหาได้ไม่ง่ายมากนักในวงการนี้

นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายด้านการนำวิธีการต่างๆ ที่มักจะเห็นในบริษัทเทคในต่างประเทศ โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก มา ‘ปรับใช้’ ให้เข้ากับคนทำงานในอาเซียนเเละคนไทย โดยจะต้องทำ Research ไปพร้อมกับการนำใช้ได้จริง

“ทีม DevX ไม่ได้ทำซอฟต์แวร์เพื่อธนาคารหรือลูกค้า เเต่จะทำเพื่อช่วยเพื่อนนักพัฒนาด้วยกัน โดยมุ่งไปที่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังนั้นสมาชิกในทีม จึงจำเป็นต้องเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ พร้อมเป็นกระบอกเสียง และช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเต็มที่”

เป้าหมายต่อไป 

หากเเผนก Software Development Excellence ของ KBTG ประสบความสำเร็จ สามารถตอบโจทย์การทำงาน เพื่อพัฒนานวัตกรรมบริการด้านดิจิทัลในภูมิภาค ทั้งในจีน สปป.ลาว เมียนมา อินโดนีเซีย กัมพูชาและเวียดนาม ได้เเล้ว

โจทย์ต่อไปคือการ ‘เผยเเพร่’ ระบบการทำงานให้นักพัฒนาคนไทยได้รับรู้ เป็นการเปิด Open Source มาเเชร์กันในองค์กรต่างๆ ซึ่งที่จะนำไปสู่การยกระดับวงการเทคโนโลยีของประเทศ เป็นอีก ‘ความใฝ่ฝัน’ ที่ทีมงาน KBTG  หวังอยากจะทำให้ได้ในอนาคต ไปพร้อมๆ กับการเป็น Best Tech Company in Southeast Asia ให้ได้ภายใน 4 ปีนี้

ปัจจุบัน DevX มีพนักงานทั้งหมดราว 40-50 คน เเละกำลังจะขยายทีมอีกจำนวนมาก โดย KBTG ตั้งเป้าที่จะมีพนักงานในแผนก Software Development Excellence ประจำอยู่ทั้งในไทย จีน และเวียดนาม

สำหรับผู้ที่มุ่งมั่นจะสร้างนวัตกรรมใหม่ไปด้วยกัน สนใจอยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแผนกสามารถส่ง CV มาสมัครได้ที่ [email protected]


]]>
1321313
“กล้าที่จะดิสรัปตัวเองและพร้อมที่จะปรับตัวสู่อนาคต” วิธีคิดที่ทำให้เกิด Big Move ที่ขยายการเติบโตรูปแบบใหม่ๆ ของ KBank ล่าสุดยกเคแบงก์ไปไว้ในแชทของ LINE – Super App ที่มีคนไทยใช้งานกว่า 47 ล้านคน https://positioningmag.com/1306893 Mon, 30 Nov 2020 10:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306893

ธุรกิจ “ธนาคารพาณิชย์” ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อเราทุกคนอยู่ในยุคเเห่งเทคโนโลยี ทุกวันนี้เเอปพลิเคชัน “โมบายเเบงกิ้ง” กลายเป็นสิ่งที่ต้องมีติดไว้ในมือถือไปเเล้ว ทำให้ธนาคารต่างๆ กำลังเปิดศึกเเย่งฐาน “ลูกค้าออนไลน์” กันอย่างดุเดือด

แบงก์สีเขียวอย่าง ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank เป็นค่ายแรกที่ประกาศบุกทางดิจิทัลอย่างเต็มตัว ปัจจุบันเป็นผู้นำด้านดิจิทัล แบงกิ้ง ด้วยยอดผู้ใช้ K PLUS  ถึง 14 ล้านบัญชี จากฐานลูกค้าบุคคลที่มีบัญชีเงินฝากของกสิกรไทยทั้งหมดราว 16.7 ล้านบัญชี

แต่ KBank ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ นอกจากการปรับช่องทางการให้บริการให้เป็น multi-channels ที่พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าหลากหลายรูปแบบแล้ว KBank ยังวางยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Open Banking ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ที่ความสำเร็จของ K PLUS เท่านั้น และ KBank จะอยู่แค่ในที่ที่เคยอยู่ไม่ได้อีกต่อไปเพราะทุกวันนี้การแข่งขันไม่ได้มีแค่ธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเองเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่ม non-bank ฟินเทคต่างๆ อีก

“ดิสรัปตัวเองดีกว่าถูกคนอื่นดิสรัป” ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เคยพูดไว้และทำให้เห็นชัดเจนถึงยุทธศาสตร์สำคัญของ KBank

ด้วยวิธีคิดและวางแผนล่วงหน้าแบบนี้ เราจึงได้เห็นความเคลื่อนไหวที่เป็น “บริการทางการเงิน” (Banking Service) รูปแบบใหม่ๆ ที่ KBank พัฒนาเพื่อไปรวมอยู่กับธุรกิจหรือบริการไหนๆ ก็ได้   มากกว่าติดยึดรูปแบบการให้บริการของธนาคารแบบเดิมๆ

ยกตัวอย่างเช่น บนแอป K PLUS ที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มของแบรนด์ดังๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้บริการรูปแบบใหม่ๆ บน K PLUS ที่มากกว่าการโอน เติม จ่าย เช่น ฟีเจอร์เพิ่มบัตรสมาชิก The 1 ทำให้ลูกค้าสามารถแลกพ้อยท์ระหว่างแบรนด์ได้, เปิด K+ Market ที่เป็นแหล่งรวมดีลดีๆ ให้ลูกค้าได้ใช้คะแนนสะสมบัตรเครดิตกสิกรไทยแลกซื้อสินค้า เป็นต้น

และที่น่าสนใจคือ เราจะเห็นข่าวคราวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า KBank ได้ประกาศความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายเจ้าที่มีสินค้าและบริการที่ลูกค้าใช้เป็นประจำทุกวันรวมกว่า 50 แบรนด์ เช่น Grab, Facebook, LINE, Lazada, Shopee, Central JD FinTech, JD Central, เครือ OR, YouTrip เป็นต้น เป็นการพาตัวเองไปหาโอกาสใหม่ๆ กับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางที่ตนเองใช้เป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังเป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่ทำให้ธนาคารสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ และสร้างรายได้ใหม่ต่อไปในอนาคต

พัฒนา LINE BK ตอบโจทย์วันนี้ที่คนไทยกว่า 47 ล้านคนใช้ LINE ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 63 นาที

LINE เป็น Super App ระดับโลก ในประเทศไทยมีคนใช้งานกว่า 47 ล้านคนหรือคิดเป็นประมาณ 67% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย LINE เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันประจำวันที่ขาดไม่ได้ของคนไทย โดยเฉลี่ยแล้ววันละ 63 นาที

วันนี้ LINE BK เปิดให้บริการแล้ว โดยให้คำจำกัดความตัวเองว่า เป็นบริการทางการเงินแบบSocial Banking เต็มรูปแบบรายแรกของไทย เหมือนยกบริการของ KBank ให้ลูกค้าได้ใช้งานง่ายๆ ในแชท LINE

งานนี้เรียกว่า KBank สยบทุกคำทำนายที่เคยบอกว่า แบงก์ไทยจะไม่รอดถ้า Social Banking เกิดขึ้น เพราะวันนี้ KBank จัดตั้ง Social Banking ขึ้นมาเองเลย เป็นดีลระดับโลกร่วมกับ LINE Financial ตั้งบริษัท กสิกรไลน์ จำกัด เพื่อให้บริการสินเชื่อ เริ่มต้นทำงานกันมาตั้งแต่ 3 ปีก่อนและใช้เวลาพัฒนาร่วมกันจนออกมาเป็นบริการ LINE BK วางคอนเซปต์เน้นสไตล์ใกล้ชิดลูกค้าว่า “เรื่องเงินง่ายใน LINE คุณ” “ยืมเงิน LINE ง่ายกว่า”

มีข้อมูลน่าสนใจว่า ที่ผ่านมาประเทศไทย ซึ่งประชากร 69 ล้านคน เเบ่งเป็น

  • กลุ่มที่ 1 : Banked – คนไทย 37% เข้าถึงบริการธนาคาร และใช้บริการธุรกรรมการเงินอย่างเต็มรูปแบบ เช่น มีบัญชีเงินฝาก, มีบัตรเครดิต, ซื้อประกันเเละซื้อกองทุน
  • กลุ่มที่ 2 : Underbanked – คนไทย 45% มีโอกาสเข้าถึงบริการธนาคาร และบริการทางการเงินแบบ “ผิวเผิน” คือมีบัญชี แต่ยังไม่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ บริการอื่นๆ
  • กลุ่มที่ 3 : Unbanked คนไทย 18% ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน คือไม่มีบัญชีเลย

ดังนั้น วิธีการใช้งาน LINE BK จึงง่ายมาก แค่เปิดบัญชี LINE BK บน LINE แล้ว เจ้าของบัญชีสามารถ แชท โอน ยืม จ่าย อยู่ใน LINE ได้เลย รวมถึงบริการสินเชื่อที่จะช่วยปลดล็อกข้อจำกัดให้กับลูกค้ากลุ่มฟรีแลนซ์ หรือคนไม่มีรายได้ประจำสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น

ผลจากการคิดก่อน มองไกล และเริ่มก่อน ย่อมได้เปรียบ เพราะมาวันนี้ การพัฒนาร่วมกันกับบิ๊กแบรนด์ทั้งหลาย ทำให้ KBank เริ่มทยอยปล่อยบริการใหม่ๆ ที่เรียกว่าพลิกโฉมวงการการเงินออกมาเรื่อยๆ และตอกย้ำความแข็งแกร่งของ KBank

]]>
1306893