LINE BK – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Sep 2023 06:04:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 LINE BK ลุยธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต จับมือ MTL ส่งประกันชีวิตและสุขภาพ ราคาเข้าถึงได้ https://positioningmag.com/1445636 Tue, 26 Sep 2023 18:54:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445636 LINE BK ได้เปิดตัวธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ภายใต้บริษัท กสิกร ไลน์ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด โดยบริษัทได้จับมือกับ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต นำเสนอประกันที่ซื้อกรมธรรม์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชัน LINE โดยจับจุดเด่นในเรื่องราคาที่เข้าถึงได้

ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ได้กล่าวว่า LINE BK ตั้งเป้าที่จะเข้ามาทำให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายในแอปพลิเคชัน LINE โดยมุ่งพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการด้านการเงินของลูกค้า เช่น การออม สินเชื่อ การป้องกันความเสี่ยง และการลงทุน โดยบริษัทได้เปิดตัวบริการ LINE BK Insurance Broker ภายใต้ บริษัท กสิกร ไลน์ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ LINE BK มองถึงตลาดประกันฯ ก็คือ ประกันฯ เป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินพื้นฐาน ที่จะเข้ามาช่วยให้ลูกค้าสามารถวางแผนบริหารจัดการทางการเงิน เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดเกี่ยวกับสุขภาพและอุบัติเหตุได้ดีมากยิ่งขึ้น

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ LINE BK มองว่า ขณะเดียวกันก็มองว่าธุรกิจประกันชีวิต ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประชาชนเริ่มให้ความสำคัญของการทำประกันชีวิตและสุขภาพมากขึ้น แนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐเรื่องมาตรการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เป็นต้น

สาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการผสานความแข็งแกร่งของทั้งสององค์กรในการเป็นช่องทางที่จะช่วยทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแบบประกันชีวิตและความคุ้มครองสุขภาพ ซึ่งสามารถเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเมืองไทยประกันชีวิต ยังได้กล่าวเสริมว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์กับ LINE BK ยังมองว่าสามารถเจาะตลาดใหม่ได้มากขึ้น ซึ่งเขาเห็นโอกาสจากข้อมูลที่ว่าวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี เริ่มสนใจในการซื้อประกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างกับอดีต โดยมีปัจจัยเรื่องของราคาเข้ามาด้วย

ในเบื้องต้น LINE BK ได้นำ 5 ผลิตภัณฑ์ ของ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กับแพ็กเกจประกันชีวิตและสุขภาพมานำเสนอบนช่องทาง LINE BK ดังนี้

  1. ผู้ป่วยนอกเบาเบา ช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก
  2. โรคร้ายเจอจ่าย รับเงินก้อนเมื่อตรวจเจอโรคร้ายทั้งระยะเริ่มต้นและระยะรุนแรง
  3. ผู้ป่วยในท็อปอัพ ช่วยเติมเต็มค่ารักษาส่วนเกินจากประกันหรือสวัสดิการที่มีอยู่เมื่อนอนโรงพยาบาล
  4. ผู้ป่วยในเหมาเหมา เหมาจ่ายค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานและค่ารักษาตามจริง
  5. ชดเชยไม่ขาดเงิน ให้ความคุ้มครองค่าชดเชยรายวัน

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์สามารถดูรายละเอียดได้จาก LINE BK ได้ ซึ่งในแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีค่าเบี้ยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน โดยทุกแบบประกันสามารถสมัครได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงตอบคำถามสุขภาพตามความเป็นจริง และไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลคู่สัญญาของเมืองไทยประกันชีวิต

ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจประกันชีวิต ในฐานะโบรกเกอร์ของ LINE BK คงหนีไม่พ้นเรื่องของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ เรื่องปัญหาปากท้อง ที่ต้องคอยติดตามว่ามีแนวโน้มดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ออนไลน์ร่วมกับพันธมิตร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ธนา ยังได้กล่าวว่า การส่งประกันออกมานั้นต้องการที่จะเจาะลูกค้าของ LINE BK ซึ่งเขายังไม่ได้ตั้งเป้าหมายในปีนี้ แค่อยากรู้ว่าผู้บริโภคสนใจเข้ามาดูผลิตภัณฑ์มากแค่ไหนแล้วค่อยมาปรับแผนธุรกิจอีกที เหมือนเป็นการทดลอง และถ้าหากแก้ปัญหา Pain Point ของคนตัวเล็กได้ ก็สามารถทำให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วไปได้มากขึ้น

]]>
1445636
ถอดบทเรียน 3 แบรนด์ดัง กับการใช้ Smart Channel Ads พื้นที่โฆษณาทำเลทองบน LINE https://positioningmag.com/1375974 Wed, 16 Mar 2022 04:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375974

ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเข้าถึงสื่อโฆษณาย่อมมีการเปลี่ยนไป โฆษณาในรูปแบบเดิมๆ ที่เคยประสบผลสำเร็จอาจจะใช้ไม่ได้ในยุคนี้แล้วก็ได้ แน่นอนว่ายุคดิจิทัลนำพามาด้วยแพลตฟอร์ม และเครื่องมือที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ 


ตำแหน่งโฆษณาที่ดี มีชัยมากกว่าครึ่ง

ขึ้นชื่อว่าการทำโฆษณาแล้ว โจทย์ของนักการตลาดส่วนใหญ่ก็ต้องการ Awareness หรือการรับรู้ในจำนวนมาก หรือมากไปกว่านั้นก็ต้องการเทิร์นการรับรู้เหล่านั้น มาเป็น Conversion หรือสามารถเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือช่องทางการขาย เพื่อที่สามารถปิดการขายได้

นอกจากการสร้างการรับรู้แล้ว โลเคชั่น หรือจุดที่วางตำแหน่งโฆษณาสำคัญมากๆ ส่งผลต่อการมองเห็น และการตัดสินใจของผู้บริโภคเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าแคมเปญนั้นจะต๊าชมากแค่ไหน แต่ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่เหมาะสม จุดที่คนไม่มองเห็น ก็เปล่าประโยชน์ แคมเปญอาจจะพังไม่เป็นท่าเลยก็ได้ สมัยนี้แค่คอนเทนต์ถูกใจ หรือภาพถูกตาก็ยังไม่พอ ต้องเลือกแพลตฟอร์มให้ถูกที่และวางให้ถูกเวลาอีกด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์คุ้มค่า โดนใจ มีประสิทธิภาพสูงสุด

แต่เมื่อเครื่องมือการตลาด หรือแพลตฟอร์มมากมายเต็มไปหมด หลายเจ้าต่างชูจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าดูในรายละเอียดแล้ว ต้องบอกว่าเครื่องมือการตลาดในยุคนี้คงไม่มีอะไรที่น่าสนใจไปกว่า LINE อีกแล้ว เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากถึง 50 ล้านคน/เดือน มียอดแอคทีฟยูเซอร์ในระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ

ที่สำคัญก็คือ กลุ่มผู้ใช้หลากหลาย ตั้งแต่เด็ก นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ทุกคนใช้ LINE ในการพูดคุยในชีวิตประจำวัน อีกทั้งในแต่ละวันคนไทยยังอยู่บน LINE โดยเฉลี่ยรวมเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในแอปฯ ที่คนไทยเปิดกันบ่อยตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงก่อนเข้านอนกันเลยทีเดียว

วันนี้ทาง Positioning จะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมการลงโฆษณาบน LINE ถึงมีประสิทธิภาพ แล้วตำแหน่งไหนที่จะทำให้ Ads มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งก็คือโฆษณาตรงตำแหน่งที่เรียกว่า Smart Channel หรือ Smart Channel Ads นั่นเอง


ทำไม Smart Channel ถึงเวิร์ก?

Smart Channel เป็นตำแหน่งโฆษณาที่ขึ้นอยู่ด้านบนหน้ารายการ Chat ของ LINE เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่มีการเข้าใช้งานสูงที่สุดบน LINE เพราะผู้ใช้จะเห็นห้องแชทของเพื่อนๆ หรือ กลุ่มโดยรวม ก่อนที่จะกดเข้าไปแชทนั่นเอง โดยรูปแบบโฆษณาที่แบรนด์สามารถนำมาขึ้นบนตำแหน่ง Smart Channel นี้แบ่งได้ 2 ประเภทคือ

  1. VDO Expandable Ads แบรนด์สามารถจัดทำชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบ VDO เพื่อให้ลูกค้าคลิกขยาย และดูวิดีโอโฆษณาได้ทันที เสริมประสบการณ์ของลูกค้าในการรับข้อมูลสินค้าและบริการได้อย่างน่าสนใจ ก่อนที่จะสามารถคลิกเพิ่มเติมไปยังหน้าปลายทางที่แบรนด์ต้องการต่อได้
  2. Static Banner แบนเนอร์โฆษณาในรูปแบบภาพนิ่งที่สามารถนำลูกค้าไปสู่หน้าเว็บไซต์หรือหน้าปลายทางที่ต้องการได้ในคลิกเดียว ถือเป็นเครื่องมีทรงประสิทธิภาพในการสร้างทราฟฟิกให้กับเว็บไซต์อย่างมาก

คำถามที่ตามมาก็ได้ ทำไมการทำโฆษณาบนตำแหน่ง Smart Channel ถึงประสบผลสำเร็จ การทำโฆษณาในยุคปัจจุบัน เป็นยุคของการทำ Personalized ads โดย LINE มีเครื่องมือที่พร้อมที่จะทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ถูกที่ ถูกเวลา ตามความสนใจและพฤติกรรมของลูกค้า โดยลูกค้าจะมองเห็นคอนเทนต์และโฆษณาในตำแหน่ง Smart Channel นี้ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ด้วยการทำงานของ AI / Machine learning จากพฤติกรรมในอดีต 

เช่น ลูกค้าจะเห็นเพียง 3-6 คอนเทนต์ต่อวันเท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่ทำให้จดจำโฆษณาได้ดีกว่า แต่ละคอนเทนต์ จะปรากฎอยู่เพียง 30 นาทีเท่านั้น และในบางคอนเทนต์จะไม่มาให้เห็นอีก ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือ จุดที่วางโฆษณาค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติมากๆ เพราะอยู่ในตำแหน่งบนสุดของรายการแชท ส่วนถ้าเวอร์ชั่นเดสท์ท็อปจะอยู่แถบล่างสุด เรียกว่าไม่รบกวนสายตาจนเกินไป ไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกรำคาญ หรือคิดว่าถูกยัดเยียดให้ดูโฆษณา ผู้ใช้สามารถกดปิดได้ด้วย

การทำงานของ AI และ Machine Learning ของ LINE มีประสิทธิภาพสูง เพราะเป็นการเก็บข้อมูลจาก Ecosystem ทั้งหมด อาทิ พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ การเข้าดูข้อมูลต่างๆ บน LINE สิ่งที่สนใจหรือชอบ พฤติกรรมการตอบรับต่อข้อมูลของลูกค้าในรูปแบบ Real Time (เวลาเห็นข้อมูล มีการ React  อย่างไร)

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ Smart Channel เป็นพื้นที่และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพราะ ไม่เป็นการให้ข้อมูล หรือโฆษณาแบบถาโถมที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกรำคาญ หรือถูกรบกวนจนเกินไป อยู่บนตำแหน่งที่โดดเด่น ส่งผลให้การมองเห็นโฆษณาของกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละครั้งมีความหมาย น่าจดจำ และมีแนวโน้มในการนำไปสู่ความสนใจในสินค้าและบริการ ด้วยตัวเลขพิสูจน์ประสิทธิภาพของโฆษณาในแต่ละประเภทบน Smart Channel เมื่อเทียบกับการลงโฆษณาแบบทั่วไปในตลาด ซึ่งถือว่าสูงมาก ไม่ว่าจะเป็น


ทำเลทอง สร้างการจดจำได้มากกว่า

ถ้าให้เจาะถึงสถิติของรูปแบบโฆษณาแต่ละประเภทบน Smart Channel ต้องบอกว่ามีตัวเลขที่ค่อนข้างน่าประทับใจ เป็นสถิติที่ค่อนข้างสูง และวัดผลได้ เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยเฉพาะยอดการเข้าถึงของผู้ใช้งานหรือ Reach จากโฆษณาในตำแหน่งนี้ ที่สูงสุดถึง 31 ล้านคนต่อวัน จนกลายเป็นพื้นที่โฆษณาทำเลทอง พร้อมผลสถิติการใช้งานที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น

โฆษณาประเภท VDO Expandable Ads

  • เรตการคลิกเข้าชม VDO เฉลี่ย 8%
  • เรตการเข้าชม VDO จนจบ เฉลี่ย 15%
  • เรตการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ เฉลี่ย3%

โฆษณาประเภท Static Banner

  • เรตการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ เฉลี่ย  0.7%

นอกจากรูปแบบของชิ้นงานโฆษณาที่แบรนด์สามารถเลือกทำเป็นวิดีโอหรือภาพนิ่งได้แล้ว นักการตลาดยังสามารถวางแผนการทำการตลาดได้ล่วงหน้า เลือกอัตราการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือ target reach ของโฆษณาบนตำแหน่ง Smart Channel ไม่ว่าจะเป็น 25%, 50%, 75% หรือ 100% เต็มเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่วางไว้ด้วยได้เช่นกัน


กรณีศึกษา 3 แบรนด์ใหญ่ กับผลลัพธ์สุดปัง

ถ้ามาเล่าถึงรูปแบบการโฆษณาอย่างเดียวคงจะไม่เห็นภาพว่ามันทรงพลังอย่างไร จึงขอเล่าถึงกรณีศึกษาของแบรนด์ที่ลงโฆษณาในรูปแบบนี้แล้วประสบผลสำเร็จ ได้ผลลัพธ์สุดปัง

LINE BK กับผลงานโฆษณาสินเชื่อออนไลน์ โดยได้สร้างสรรค์งานครีเอทีฟในรูปแบบ Static Banner ได้ตรงใจ key message ชัดเจน เข้าใจง่ายและเข้ากับช่วงเวลา พร้อมเลขโปรโมชั่นที่จัดวางได้อย่างน่าดึงดูดใจ เมื่อวางในตำแหน่ง Smart Channel ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก จึงสามารถสร้างคลิกเรต (CTR) ได้กว่า 1.53% ซึ่งถือเป็น Best Practice ของโฆษณาบนช่องทางนี้ทีเดียว

 

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำเสนอโฆษณาในรูปแบบภาพนิ่งหรือ Static Banner บนตำแหน่ง Smart Channel เช่นกัน โดยนำเสนอแคมเปญวัคซีนโมเดอน่าให้กับคนไทย โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างครอบคลุม คือกลุ่มคนที่สนใจเรื่องวัคซีน สุขภาพ การแพทย์ และเมื่อคอนเท้น งานครีเอทีฟสื่อสารได้ชัดเจน วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แคมเปญจึงประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก สร้างคลิกเรต (CTR) ได้มากถึง 1.41%

KFC เป็นอีกหนึ่งเคสที่น่าสนใจ ทำโฆษณาในรูปแบบ VDO Expandable Ads เพื่อโปรโมทโปรไก่ทอดเซ็ตพิเศษ เฉพาะวันอังคาร เพื่อตอกย้ำให้คนจดจำโปรได้มากขึ้น ด้วยงานครีเอทีฟ ภาพเคลื่อนไหวที่แค่เห็นก็อดน้ำลายไหลไม่ได้ พร้อมกลยุทธ์การเลือกช่วงเวลาในการนำเสนอโฆษณาบน Smart Channel อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงประสบความสำเร็จด้านการรับรู้เท่านั้น แต่ยังสร้างการจดจำได้ดีต่อลูกค้า ด้วยตัวเลขอัตราการคลิก (CTR) ที่มากกว่า Avg. CTR ใน Smart Channel ถึง 64% นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการแข่งขันด้านโฆษณาที่สูงมากในทุกวันนี้ ทุกแบรนด์แข่งกันให้ลูกค้าเห็น ให้ลูกค้าจดจำได้ แบรนด์จึงต้องอัพเดท และมองหาช่องทางที่ดีที่สุด ที่ตอบโจทย์ที่สุดอยู่ตลอดเวลา Smart Channel บนแพลตฟอร์ม LINE ไม่เพียงตอบโจทย์ในเรื่องการเข้าถึงคนจำนวนมาก ถูกที่ ถูกเวลา แต่ยังสามารถเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถ Personalized คอนเท้น ให้ถูกใจลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย

ธุรกิจองค์กรที่สนใจ สามารถติดต่อพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ที่ท่านร่วมงานอยู่ หรือตรวจสอบพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/partner เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 

 

]]>
1375974
LINE BK เเข่งตลาดสินเชื่อ ขยับหาลูกค้าทั่วประเทศ สร้างวลีติดหูผ่าน Music Marketing https://positioningmag.com/1374025 Tue, 15 Feb 2022 10:55:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374025 LINE BK เดินเกมสู้ตลาดสินเชื่อเต็มรูปแบบ ขยับหาลูกค้าคนไทยทั่วประเทศ สร้างการรับรู้ พร้อมวลีติดหูผ่านกลยุทธ์ Music Marketing ดึงกลุ่มอาชีพอิสระเข้ามากู้ในระบบมากขึ้น 

ความยุ่งยากในการเข้าถึงสินเชื่อยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนที่ไม่มีรายได้ประจำและคนทำงานอาชีพอิสระไม่ได้รับโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อมากนัก ผลักดันให้พวกเขาเหล่านั้น จำใจต้องหันไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่มีความเสี่ยงสูงเเละไม่ปลอดภัย

นี่เป็นหนึ่งในภารกิจของ ‘LINE BK’ ผู้ให้บริการ Social Banking รายแรกของไทย ที่พยายามจะเพิ่มโอกาสให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงสินเชื่ออย่างถูกกฎหมายได้มากขึ้น ด้วยบริการสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน LINE ซึ่งเป็นเเอปฯ ยอดนิยมที่คนไทยกว่า 2 ในใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมีสาขา ไม่ต้องไปธนาคาร

ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด หรือ LINE BK กล่าวว่า ในปี 2565 เศรษฐกิจไทยเเละเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว ทำให้ความต้องการสินเชื่อของภาคครัวเรือน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกประเภท ผู้คนต้องการเงินทุนไปทำธุรกิจ

นั่นก็ทำให้การเเข่งขันในตลาดสินเชื่อดุเดือดตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันก็มีทั้งผู้เล่นรายเล็กรายใหญ่ รวมไปถึงเเพลตฟอร์มอื่นๆ จากต่างประเทศ

บุกตลาดทั่วประเทศ เน้นกลุ่มอาชีพอิสระ 

สำหรับบริการสินเชื่อของ LINE BK ขณะนี้ มีอยู่ 2 ประเภทได้เเก่

  • วงเงินให้ยืม (Credit Line) – สินเชื่อส่วนบุคคล
  • วงเงินให้ยืมนาโน (Nano Credit Line) – สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ

หลังเปิดตัวมาได้ เพียง 15 เดือน LINE BK มีจำนวนผู้ใช้บริการ 4 ล้านราย บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 4.8 ล้านบัญชี เเละมีจำนวนบัตรเดบิต 2.2 บัตร

โดยมีการปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 5.4 แสนบัญชี ยอดปล่อยสินเชื่อรวมกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ยอดสินเชื่อส่วนบุคคลอนุมัติเฉลี่ย 3.5 หมื่นบาทต่อราย เเละยอดสินเชื่อนาโนเฉลี่ย 1.1 หมื่นบาทต่อราย

ขณะที่ยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ราว 4% ซึ่งเขามองว่า อยู่ระดับที่บริหารจัดการได้ ไม่สามารถเทียบได้ว่าสูงหรือน้อยกว่าในอุตสาหกรรม เพราะ LINE BK ยังคงเป็นผู้บริการสินเชื่อน้องใหม่ในตลาด

ที่น่าสนใจคือ สัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของลูกค้า LINE BK เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระและอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดเกือบ 80% มีรายได้ขั้นต่ำ 5,000 บาทขึ้นไป

ดังนั้น เป้าหมายหลักของ LINE BK ในปี 2565 จึงเป็นการขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้นและครอบคลุมทั่วประเทศทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัด เน้นเจาะกลุ่มคนที่ไม่มีรายได้ประจำเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ต้องการเข้าแหล่งเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย

โดยตั้งเป้ายอดสินเชื่อคงค้างโตกว่า 20,000 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ จากยอดคงค้างในปีก่อนที่ 16,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การที่ LINE BK มีอัตราการอนุมัติสินเชื่ออยู่ที่ประมาณ 10% นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ที่จะต้องเฟ้น หากลุ่มลูกค้าเครดิตดีในกลุ่มเป้าหมายตลาดเเมสให้เจอ ผ่านการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้น เป็นธุรกิจการเงินที่กระจายไปทั่วประเทศ เพราะตอนนี้คนไทยยังรู้จักเเอปพลิเคชัน LINE มากกว่า Social Banking อย่าง LINE BK เเละเมื่อเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็หวังว่าอัตราอนุมัติสินเชื่อจะอยู่ที่ราว 20%

โดยในช่วงต้นปีนี้ อาจยังต้องใช้ความระมัดระวังและความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออยู่บ้าง เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดยังไม่แน่นอน

-ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด หรือ LINE BK

Music Marketing : สร้างวลีติดหู ร้อนเงินเมื่อไหร่ ยืมไลน์ง่ายกว่า’ 

ล่าสุด LINE BK นำกลยุทธ์ ‘Music Marketing’ มาใช้เพื่อสร้างการรับรู้ให้เข้าถึงคนไทยในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น เน้นไปที่ความสนุกสนาน จดจำง่ายเเละการมีส่วนร่วมในโลกโซเชียล

แคมเปญการตลาดผ่านเพลงที่พึ่งทางไลน์ เป็นความร่วมมือกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ RSIAM ในเครือ RS GROUP โดยได้ดึงนักร้องลูกทุ่งชื่อดังอย่าง ใบเตย อาร์สยาม และ URBOYTJ แร็ปเปอร์ขวัญใจวัยรุ่น มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวของเพลงในรูปแบบลูกทุ่งผสมแร็ป

ธนา บอกว่า เพลงนี้ตั้งใจจะสื่อสารด้วยเนื้อหาที่ฟังง่าย ติดหู สนุกสนาน และเข้าถึงผู้คนได้ทุกเพศทุกวัย โดยได้หยิบเอา ‘Pain Point’ จากปัญหาเรื่องเงินของคนไทยมาผสมกับกลิ่นอายของเพลงลูกทุ่งและแร็ป เน้นด้วยคำติดหูอย่างไม่ไหวไลน์มา หรือ ร้อนเงินเมื่อไหร่ ยืมไลน์ง่ายกว่า

โดยที่ผ่านมา ปัญหาที่ผู้คนอาจเข้าไม่ถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงิน คือ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท มีความซับซ้อน เข้าถึงยาก จึงไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจว่าแต่ละผลิตภัณฑ์เหมาะกับใครและตัวเขาเองนั้นเหมาะกับผลิตภัณฑ์ไหน

ดังนั้นการทำการตลาดให้ติดหูมีท่อนฮิตหรือวลีเด็ดติดปาก พยายามหาคำกลางๆ ที่ไม่ได้ใส่ชื่อแบรนด์หรือทำให้ดูขายมากจนไป รวมถึงมีท่าเต้นติดตาเป็นที่จดจำ ก็เป็นเหมือนการเชื้อเชิญให้ลูกค้าอยากทำความรู้จักกับเเบรนด์มากขึ้น ซึ่งจะต่อยอดไปยังผลิตภัณฑ์เเละบริการอื่นๆ ได้

ด้านกระเเสตอบรับ Brand Awareness หลังปล่อยเพลงที่พึ่งทางไลน์ออกมาได้ 2 สัปดาห์ ผู้บริหาร LINE BK มองว่าน่าพึงพอใจเเละถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

โดยมียอดการรับชมเอ็มวีบนยูทูปอยู่ที่ราว 5 ล้านวิว เเละมีแคมเปญบน TikTok เพื่อให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมมากขึ้นผ่าน #ที่พึ่งทางไลน์Dance ซึ่งมียอดเข้าชมวิดีโอที่ร่วมแคมเปญรวมกว่า 375 ล้านวิว

นอกจากการทำเพลงเเละเอ็มวีที่พึ่งทางไลน์” เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดรูปแบบใหม่ แล้ว LINE BK ยังมีแผนการทำตลาดที่จะมาช่วยตอกย้ำภาพ ‘ร้อนเงินเมื่อไหร่ ยืม LINE ง่ายกว่า’ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่าง LINE MELODY เเละสติกเกอร์ LINE ที่เป็นคาแร็กเตอร์เฉพาะของ LINE BK 

ขณะเดียวกัน LINE BK จะเดินหน้าจับมือกับพาร์ทเนอร์รอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากอีโคซีสเต็มภายในก่อน ค่อยขยายไปสู่ธุรกิจอื่นๆ โดยจะเน้นหาพันธมิตรในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากต้องการจะจับตลาดคนไทยให้ได้มากที่สุด

โดยปีที่ผ่านมา ได้จับมือกับ DTAC เปิดให้บริการ “ใจดี มีวงเงินให้ยืม” เเละมีลูกค้าประมาณ 10,000 ราย ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบต่อไป

เราจะเจาะตลาดไปทางสื่อต่างๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้เกิดการสื่อสารไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแบบครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

 

 

]]>
1374025
“กล้าที่จะดิสรัปตัวเองและพร้อมที่จะปรับตัวสู่อนาคต” วิธีคิดที่ทำให้เกิด Big Move ที่ขยายการเติบโตรูปแบบใหม่ๆ ของ KBank ล่าสุดยกเคแบงก์ไปไว้ในแชทของ LINE – Super App ที่มีคนไทยใช้งานกว่า 47 ล้านคน https://positioningmag.com/1306893 Mon, 30 Nov 2020 10:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306893

ธุรกิจ “ธนาคารพาณิชย์” ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อเราทุกคนอยู่ในยุคเเห่งเทคโนโลยี ทุกวันนี้เเอปพลิเคชัน “โมบายเเบงกิ้ง” กลายเป็นสิ่งที่ต้องมีติดไว้ในมือถือไปเเล้ว ทำให้ธนาคารต่างๆ กำลังเปิดศึกเเย่งฐาน “ลูกค้าออนไลน์” กันอย่างดุเดือด

แบงก์สีเขียวอย่าง ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank เป็นค่ายแรกที่ประกาศบุกทางดิจิทัลอย่างเต็มตัว ปัจจุบันเป็นผู้นำด้านดิจิทัล แบงกิ้ง ด้วยยอดผู้ใช้ K PLUS  ถึง 14 ล้านบัญชี จากฐานลูกค้าบุคคลที่มีบัญชีเงินฝากของกสิกรไทยทั้งหมดราว 16.7 ล้านบัญชี

แต่ KBank ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ นอกจากการปรับช่องทางการให้บริการให้เป็น multi-channels ที่พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าหลากหลายรูปแบบแล้ว KBank ยังวางยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Open Banking ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ที่ความสำเร็จของ K PLUS เท่านั้น และ KBank จะอยู่แค่ในที่ที่เคยอยู่ไม่ได้อีกต่อไปเพราะทุกวันนี้การแข่งขันไม่ได้มีแค่ธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเองเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่ม non-bank ฟินเทคต่างๆ อีก

“ดิสรัปตัวเองดีกว่าถูกคนอื่นดิสรัป” ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เคยพูดไว้และทำให้เห็นชัดเจนถึงยุทธศาสตร์สำคัญของ KBank

ด้วยวิธีคิดและวางแผนล่วงหน้าแบบนี้ เราจึงได้เห็นความเคลื่อนไหวที่เป็น “บริการทางการเงิน” (Banking Service) รูปแบบใหม่ๆ ที่ KBank พัฒนาเพื่อไปรวมอยู่กับธุรกิจหรือบริการไหนๆ ก็ได้   มากกว่าติดยึดรูปแบบการให้บริการของธนาคารแบบเดิมๆ

ยกตัวอย่างเช่น บนแอป K PLUS ที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มของแบรนด์ดังๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้บริการรูปแบบใหม่ๆ บน K PLUS ที่มากกว่าการโอน เติม จ่าย เช่น ฟีเจอร์เพิ่มบัตรสมาชิก The 1 ทำให้ลูกค้าสามารถแลกพ้อยท์ระหว่างแบรนด์ได้, เปิด K+ Market ที่เป็นแหล่งรวมดีลดีๆ ให้ลูกค้าได้ใช้คะแนนสะสมบัตรเครดิตกสิกรไทยแลกซื้อสินค้า เป็นต้น

และที่น่าสนใจคือ เราจะเห็นข่าวคราวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า KBank ได้ประกาศความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายเจ้าที่มีสินค้าและบริการที่ลูกค้าใช้เป็นประจำทุกวันรวมกว่า 50 แบรนด์ เช่น Grab, Facebook, LINE, Lazada, Shopee, Central JD FinTech, JD Central, เครือ OR, YouTrip เป็นต้น เป็นการพาตัวเองไปหาโอกาสใหม่ๆ กับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางที่ตนเองใช้เป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังเป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่ทำให้ธนาคารสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ และสร้างรายได้ใหม่ต่อไปในอนาคต

พัฒนา LINE BK ตอบโจทย์วันนี้ที่คนไทยกว่า 47 ล้านคนใช้ LINE ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 63 นาที

LINE เป็น Super App ระดับโลก ในประเทศไทยมีคนใช้งานกว่า 47 ล้านคนหรือคิดเป็นประมาณ 67% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย LINE เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันประจำวันที่ขาดไม่ได้ของคนไทย โดยเฉลี่ยแล้ววันละ 63 นาที

วันนี้ LINE BK เปิดให้บริการแล้ว โดยให้คำจำกัดความตัวเองว่า เป็นบริการทางการเงินแบบSocial Banking เต็มรูปแบบรายแรกของไทย เหมือนยกบริการของ KBank ให้ลูกค้าได้ใช้งานง่ายๆ ในแชท LINE

งานนี้เรียกว่า KBank สยบทุกคำทำนายที่เคยบอกว่า แบงก์ไทยจะไม่รอดถ้า Social Banking เกิดขึ้น เพราะวันนี้ KBank จัดตั้ง Social Banking ขึ้นมาเองเลย เป็นดีลระดับโลกร่วมกับ LINE Financial ตั้งบริษัท กสิกรไลน์ จำกัด เพื่อให้บริการสินเชื่อ เริ่มต้นทำงานกันมาตั้งแต่ 3 ปีก่อนและใช้เวลาพัฒนาร่วมกันจนออกมาเป็นบริการ LINE BK วางคอนเซปต์เน้นสไตล์ใกล้ชิดลูกค้าว่า “เรื่องเงินง่ายใน LINE คุณ” “ยืมเงิน LINE ง่ายกว่า”

มีข้อมูลน่าสนใจว่า ที่ผ่านมาประเทศไทย ซึ่งประชากร 69 ล้านคน เเบ่งเป็น

  • กลุ่มที่ 1 : Banked – คนไทย 37% เข้าถึงบริการธนาคาร และใช้บริการธุรกรรมการเงินอย่างเต็มรูปแบบ เช่น มีบัญชีเงินฝาก, มีบัตรเครดิต, ซื้อประกันเเละซื้อกองทุน
  • กลุ่มที่ 2 : Underbanked – คนไทย 45% มีโอกาสเข้าถึงบริการธนาคาร และบริการทางการเงินแบบ “ผิวเผิน” คือมีบัญชี แต่ยังไม่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ บริการอื่นๆ
  • กลุ่มที่ 3 : Unbanked คนไทย 18% ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน คือไม่มีบัญชีเลย

ดังนั้น วิธีการใช้งาน LINE BK จึงง่ายมาก แค่เปิดบัญชี LINE BK บน LINE แล้ว เจ้าของบัญชีสามารถ แชท โอน ยืม จ่าย อยู่ใน LINE ได้เลย รวมถึงบริการสินเชื่อที่จะช่วยปลดล็อกข้อจำกัดให้กับลูกค้ากลุ่มฟรีแลนซ์ หรือคนไม่มีรายได้ประจำสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น

ผลจากการคิดก่อน มองไกล และเริ่มก่อน ย่อมได้เปรียบ เพราะมาวันนี้ การพัฒนาร่วมกันกับบิ๊กแบรนด์ทั้งหลาย ทำให้ KBank เริ่มทยอยปล่อยบริการใหม่ๆ ที่เรียกว่าพลิกโฉมวงการการเงินออกมาเรื่อยๆ และตอกย้ำความแข็งแกร่งของ KBank

]]>
1306893
จากแนวคิดแบงก์ ‘ล่องหน’ สู่ ‘LINE BK’ อาวุธใหม่ KBank ธุรกรรมครบ จบใน ‘LINE’ https://positioningmag.com/1302429 Tue, 20 Oct 2020 13:28:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302429 หลายคนคงจะเคยได้ยินชื่อ ‘LINE BK’ กันมาบ้าง เพราะเริ่มมีการเปิดใช้งานไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ลึกซึ้งว่าคืออะไร ทำอะไรได้บ้าง และมันแตกต่างจาก ‘Rabbit LINE Pay’ อย่างไร รวมถึงมันเหมือนหรือต่างจากแอป ‘K-Plus’ หรือเปล่า และเป้าหมายของ LINE BK คืออะไร วันนี้ Positioning จะมาสรุปให้ฟัง

LINE BK ทำอะไรได้

ก่อนจะพูดถึงตัว LINE BK ต้องย้อนไปเมื่อปี 2019 ที่ LINE Corp และ KBank ได้เปิดตัวบริษัทร่วมทุนกันในชื่อ ‘บริษัท กสิกร ไลน์’ และในปี 2020 นี้บริษัทก็ได้คลอด LINE BK บริการ ‘Social Banking’ รายแรกของไทย โดยผู้ใช้ไลน์สามารถใช้บริการ LINE BK ได้ เพียงกดไปที่หน้า Wallet ในแอปพลิเคชัน LINE แล้วกดปุ่ม LINE BK เพื่อเริ่มสมัครบริการได้ฟรีไม่จำเป็นต้องโหลดแอปใด ๆ เบื้องต้นมี 4 บริการหลัก ได้แก่

บริการบัญชีเงินฝาก : ครอบคลุมบริการโอน ถอน จ่าย ทำทุกอย่างได้บน LINE ไม่ต้องสลับแอป สามารถโอนเงินได้ในแชทพร้อมการแจ้งเตือนยอดเงินเข้า-ออก เช็กยอดได้เรียลไทม์ และฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น การส่งสลิป, บริการขอเรียกเก็บเงินและการหารค่าใช้จ่ายกับเพื่อนใน LINE รวมไปถึงการถอนเงินสดไม่ต้องใช้บัตรได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารกสิกรไทยทั่วประเทศ

บริการบัญชีเงินออมดอกพิเศษ : บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษสูงสุดถึง 1.5% ต่อปี สามารถกำหนดระยะเวลาออมเงินได้เอง ทั้งแบบระยะสั้น 6 เดือน หรือระยะยาว 12 เดือน

บริการบัตรเดบิต : บัตรเดบิตวีซ่า LINE BK ให้เงินคืน 0.5% เมื่อช้อปออนไลน์ 100 บาทขึ้นไป โดยมีบัตรให้เลือก 3 ประเภท ทั้งบัตรเดบิต, บัตรเดบิตออนไลน์ ที่สามารถสมัครและใช้งานได้ทันทีบนแอปไลน์ และบัตรเดบิตคู่วงเงิน ที่พร้อมให้ดึงเงินจากวงเงินให้ยืมมาใช้จ่ายต่อได้

บริการวงเงินให้ยืม : บริการสินเชื่อส่วนบุคคลแบบดิจิทัล โดยพนักงานประจำรายได้ขั้นต่ำ 7,000 บาท, ฟรีแลนซ์ เจ้าของกิจการรายได้ขั้นต่ำ 9,000 บาท) ก็สามารถขอสินเชื่อได้ โดยมีวงเงินสูงสุดไม่เกิน 800,000 บาท ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 18-25% ต่อปีสำหรับสินเชื่อผ่อนชำระที่ระยะเวลา 12-60 เดือน และอัตราดอกเบี้ย 20-25% ต่อปีสำหรับสินเชื่อให้ยืมพร้อมใช้ที่กำหนดเงื่อนไขการจ่ายขั้นต่ำได้ทุกเดือน

“เราเป็นธนาคาร แอปเราไม่มีวันทำให้คนอยู่ได้ถึง 63 นาทีต่อวันเหมือนไลน์ ดังนั้น ในเมื่อเราเก่งเรื่องทรานแซคชัน เราต้องทำให้มันสะดวกที่สุด ทำให้ลูกค้าแชทด้วยโอนเงินไปด้วยได้ พูดง่าย ๆ เราอยากอยู่ทุกที่ที่ลูกค้าอยู่ เราไปหาลูกค้าเอง ลูกค้าไม่ต้องมาหาเรา ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด

เพิ่มบริการการลงทุนและประกันใน 2 ปี

หากดูจากบริการต่าง ๆ แล้ว แทบจะเรียกได้เรียกได้ว่าเหมือนยกเอาแอป K-Plus มาไว้ในไลน์ แต่สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีบางบริการที่ LINE BK ยังไม่มี เช่น บริการด้านการลงทุน และบริการทางด้านประกัน ซึ่งธนาได้ระบุว่า อดใจรออีกนิด เพราะกำลังศึกษาถึงการทำบริการด้านการลงทุนอยู่ รวมถึงจำเป็นต้องขอไลเซ่นจากทางแบงก์ชาติ โดยคาดว่าภายใน 2 ปีจะได้เห็นแน่นอน

ไม่ได้มาแทนที่ Rabbit LINE Pay

แน่นอนว่าหลังจากการมาของ LINE BK ผู้ที่ใช้งานไลน์เป็นประจำคงสงสัยว่าแล้วจะมาแทนที่ ‘Rabbit LINE Pay’ ที่เป็นบริการทางการเงินของไลน์ที่เอาไว้ใช้จ่าย ซื้อสินค้าต่าง ๆ ซึ่งบริการ LINE BK เองก็สามารถใช้ได้ไม่ต่างกับ Rabbit LINE Pay ซึ่ง ธนา ก็ได้อธิบายในส่วนนี้ว่า ไม่ได้มาแทนที่ แต่มาเสริม เพราะ Rabbit LINE Pay จะต้องคอยเติมเงินเพื่อใช้จ่ายซื้อของ ดังนั้น เมื่อมี LINE BK ก็จะสามารถผูกบัญชีกันได้โดยไม่ต้องไปเติมเงิน อีกทั้งมองว่า Rabbit LINE Pay นั้นเน้นใช้ในการซื้อของ แต่ LINE BK จะเน้นที่การโอนเงินระหว่างกันมากกว่า

“เพนพอยต์ของ Rabbit LINE Pay อยู่ที่การเติมเงิน ซึ่งคนไทยอาจมองว่าไม่สะดวก ดังนั้น LINE BK จะมาเสริมในส่วนนี้ อีกทั้งเราไม่ได้เน้นใช้จ่ายเงินร้านค้า แต่เน้นโอนเงินระหว่างกัน”

5 ปีขึ้นผู้นำด้านสินเชื่อ

สำหรับรายได้จาก LINE BK จะมาจากการปล่อยสินเชื่อบุคคล (Personal Loan) ซึ่ง LINE BK ตั้งเป้าที่จะขึ้นเป็นผู้เล่น Top 5 ในตลาดสินเชื่อภายใน 5 ปี ด้วยจุดแข็งที่ความง่าย สะดวก อนุมัติไว และทำผู้ใช้บริการสามารถขอวงเงินสินเชื่อได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง โดยระบบจะการประเมินความเสี่ยงจากการนำข้อมูลหลายส่วนมารวมกัน อาทิ ข้อมูลจากเครดิตบูโร ข้อมูลจากบัญชีเดินสะพัด และข้อมูลจากการใช้งานต่าง ๆ ของไลน์

อย่างไรก็ตาม ธนายอมรับว่า แม้จะมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้ว แต่ความเสี่ยงด้าน NPL หรือหนี้เสียนั้น ก็เป็นเรื่องที่กังวล เพราะด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ยืนยันว่าจะพยายามควบคุมไม่ให้เกินสัดส่วน 5%

“ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินเดือน อีกทั้งคนไทยที่มีเครดิตสกอร์ยังมีเพียง 33% ส่งผลให้ต้องไปกู้นอกระบบ โดยยอมจ่ายดอกเบี้ยที่สูงถึง 20% ต่อเดือน ซึ่งปัจจุบันเงินกู้นอกระบบคิดเป็น 10% ของสินเชื่อในประเทศไทย ดังนั้น นี่เป็นโอกาสดีที่ LINE BK จะเข้ามาแก้เพนพอยต์นี้”

เป้าใหญ่เปลี่ยนผู้ใช้ไลน์เป็นลูกค้ากสิกร

ไม่ใช่แค่การขึ้นเป็นผู้นำสินเชื่อ แต่การขยายฐานลูกค้าก็เป็นเป้าหมายใหญ่ โดยปัจจุบันฐานลูกค้าธนาคารกสิกรมีทั้งหมด 16.6 ล้านคน ขณะที่แพลตฟอร์มไลน์มีผู้ใช้กว่า 47 ล้านคน ซึ่งเชื่อว่า 99.9% ของลูกค้ากสิกรใช้งานไลน์ ดังนั้น ที่เหลืออีกกว่า 30 ล้านรายจะเป็นโอกาสที่ LINE BK จะเป็นจุดเปลี่ยนให้ผู้ใช้ไลน์มาเป็นลูกค้าธนาคารกสิกรในอนาคต อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้ LINE BK จะต้องมีผู้ใช้งานอย่างน้อยหลักล้านรายให้ได้

“เราคงไม่ได้มาเปลี่ยนอนาคตฟินเทค แต่มาเปลี่ยนรูปแบบ เพราะบางอย่างไม่ต้องทำกับธนาคารตรงได้ ดังนั้นเราจึงพยายามเข้าไปใกล้และทำให้เขาสะดวกขึ้น ธุรกรรมทางการเงินเป็นแค่ทางผ่านในการทำกิจกรรม ดังนั้น เราแค่ไปอยู่ข้างหลัง ไปช่วยอำนวยความสะดวกให้เขา เราเอาการเงินไปเสียบในชีวิตเขา เป็นแบงก์ล่องหนพร้อมเชื่อมต่อกับทุกกิจกรรมที่ทำ”

]]>
1302429