Lombard Odier – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Mar 2024 10:39:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เพื่อโลกและอนาคต! “KAsset” ผนึกกำลัง “Lombard Odier” เสริมแกร่งศักยภาพผู้นำผลิตภัณฑ์การลงทุนเพื่อความยั่งยืน https://positioningmag.com/1465416 Thu, 07 Mar 2024 09:45:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465416

เมื่อการลงทุนต้องก้าวให้ทันกระแสด้านความยั่งยืน “KAsset” ผู้นำการลงทุนด้านความยั่งยืนมากว่า 10 ปี จึงเลือกจับมือกับ “Lombard Odier” ผู้เชี่ยวชาญการบริหารสินทรัพย์ระดับโลก เพื่อคัดเลือกและจัดสรรผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่ส่งเสริมด้านความยั่งยืน มุ่งเป้าตั้งกองทุน ESG มูลค่า AUM วมกว่า 30,000 ล้านบาทภายในปี 2569

“การลงทุนอย่างยั่งยืน” เป็นนโยบายที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด หรือ KAsset ให้ความสำคัญมาตั้งแต่ปี 2556 โดยเริ่มนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาปรับใช้ในกระบวนการลงทุน ถือเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกสินทรัพย์และสร้างพอร์ตลงทุนของ KAsset

จนถึงปี 2564 KAsset มีการออก “กองทุน ESG” กองทุนแรกในอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองเป็น “กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน” (SRI Fund) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หลังจากนั้น SRI Fund ของ KAsset มีการเพิ่มจำนวนต่อมาจนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 7 กองทุน มูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท สะท้อนภาพการดำเนินนโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืนของ KAsset มาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดเมื่อ KAsset จะขยายตัวต่อในเส้นทางการลงทุนอย่างยั่งยืน “อดิศร เสริมชัยวงศ์” ประธานกรรมการบริหาร KAsset จึงประกาศจับมือพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในด้านนี้คือ “Lombard Odier” ผู้นำด้านการบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งระดับโลก เพื่อเข้ามาช่วยให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษาในการจัดพอร์ตการลงทุนด้าน ESG ของ KAsset ที่จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต

(ซ้าย) “วินเซนต์ มาเนียนาต์” Limited Partner, Asia Regional Head and Global Head of Strategic Alliances, Lombard Odier และ (ขวา) “อดิศร เสริมชัยวงศ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด หรือ KAsset

ทำไมต้องลงทุนเพื่อความยั่งยืน?

“วินเซนต์ มาเนียนาต์” Limited Partner, Asia Regional Head and Global Head of Strategic Alliances, Lombard Odier เป็นผู้อธิบายถึงประเด็นหลักว่า “ทำไมต้องลงทุนเพื่อความยั่งยืน?”

มาเนียนาต์ฉายภาพว่า Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่อยู่ในธุรกิจมาได้นาน 227 ปี เพราะมีการ “Rethink” มองกระแสโลกที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ และ Lombard Odier พบว่าในยุคนี้เมกะเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นคือ “CLIC Economy”

“CLIC Economy” หมายถึง เศรษฐกิจที่ตั้งมั่นอยู่บน 4 แนวทางการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ คือ

  1. Circular – ผลิตภัณฑ์สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้เพื่อลดขยะและลดการใช้ทรัพยากรโลก
  2. Lean – การผลิตที่สร้างประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด
  3. Inclusive – ธุรกิจที่คำนึงถึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน สิ่งแวดล้อม
  4. Clean – ธุรกิจที่มุ่งสู่ ‘Net-Zero Emission’ ลดและงดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

มาเนียนาต์มองว่ากระแสเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมจากทุกภาคส่วน ทั้งฝั่งรัฐบาลที่จะเห็นได้ว่าวันนี้แต่ละประเทศมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงฝั่งผู้บริโภคเองก็รณรงค์ภาคประชาชนให้ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม เช่น ลดใช้พลาสติก เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า

นั่นทำให้กระแสนี้จะสร้าง “จุดตัด” ขึ้นในอนาคต บางบริษัทที่ไม่ได้มีการลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับกระแสด้านความยั่งยืนก็อาจจะ “อยู่ไม่รอด” ในที่สุด เพราะถูกกีดกันจากนโยบายรัฐหรือผู้บริโภคที่มีความตระหนักรู้มากขึ้น

“พูดให้ง่ายขึ้นคือ หากเราไปลงทุนในบริษัทที่ไม่ทันกระแสนี้ เช่น ไม่ลงทุนเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้ดีต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นบริษัทรถยนต์ที่ไม่ส่งเสริมเทคโนโลยีอื่นนอกจากรถยนต์สันดาป อนาคตบริษัทเหล่านี้อาจถูกกีดกันทางการค้า และผู้ลงทุนจะเกิดความเสี่ยงจากการลงทุนผิดบริษัท” อดิศร แม่ทัพใหญ่ KAsset กล่าวเสริม


เลือกบริษัทที่ถูกต้องในกระแสความยั่งยืน

อดิศรย้ำว่า ความแตกต่างระหว่างบริษัทที่ลงทุนด้านความยั่งยืนกับที่ไม่ลงทุนอาจจะยังเห็นไม่ชัดในวันนี้ แต่ปัจจัยนี้จะมาถึงในวันข้างหน้า

นั่นทำให้ KAsset ต้องการเป็นผู้นำการสร้างผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่สอดคล้องกับกระแส แต่โจทย์ข้อต่อมาที่เกิดขึ้นคือต้อง “มองให้ออก” ว่าบริษัทใดที่เป็นตัวจริงด้านความยั่งยืน ทำให้ KAsset จับมือกับ Lombard Odier เพื่อใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ของ Lombard Odier ในการสร้างเกณฑ์และคัดเลือกบริษัทที่น่าลงทุนเพื่อคำนึงถึงความยั่งยืน

ทั้งนี้ เมื่อปี 2566 KAsset ได้ชิมลางออกกองทุนที่ใช้กลยุทธ์ของ Lombard Odier ในการคัดกรองด้านความยั่งยืนเป็นกองทุนแรกคือ “กองทุนเปิดเค Target Net Zero หุ้นไทย ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน (K-TNZ-ThaiESG)” มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (AUM) 1,400 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 1 มี.ค. 2567) เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนหุ้นในกลุ่ม SET100 TRI ที่มีความโดดเด่นด้าน ESG และล่าสุดได้ออกกองทุน แตกเป็นประเภทสะสมมูลค่า หรือ K-TNZ-A(A) เพื่อโอกาสเติบโตระยะยาวไปกับบริษัทที่มีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกอย่างชัดเจนในดัชนี SET 100 TRI เช่นกัน

ทิศทางของ KAsset หลังจับมือกับ Lombard Odier ในด้านความยั่งยืน จะมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ “กองทุน ESG” มากขึ้นอีก วางเป้ามี AUM ของกองทุน ESG รวมกว่า 30,000 ล้านบาทภายในปี 2569 ซึ่งจะคิดเป็นสัดส่วน 3% ของพอร์ตรวมของ KAsset

โดยจะเน้นไปที่การลงทุนในบริษัทที่มีการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกได้ดีและมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกในอนาคต


วางแผนดึงความสนใจทั้งนักลงทุนและบริษัท

KAsset ให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนในผลิตภัณฑ์ด้านความยั่งยืนในประเทศไทยยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับระดับโลกที่มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ด้านความยั่งยืนคิดเป็นสัดส่วน 14% ของตลาดรวม และคาดว่าสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 21% ภายใน 2 ปี

ดังนั้น KAsset จะส่งเสริมฝั่งผู้ประกอบการให้เปลี่ยนแปลงกระบวนการภายในบริษัทเพื่อไปสู่ความยั่งยืน ทำให้เกิดตัวเลือกการลงทุนเพิ่มขึ้นในตลาด รวมถึงจะสนับสนุนฝั่งนักลงทุนให้เห็นความสำคัญมากขึ้นกับการลงทุนในกองทุน ESG ที่จะช่วยทั้งปิดความเสี่ยงด้านการลงทุนในระยะยาวและได้เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

“เราอยากจะสร้างความต้องการมากขึ้นในกลุ่มนักลงทุน ไม่จำเป็นต้องมีกองทุน ESG ครบ 100% ในพอร์ต แต่อยากจะฝากให้นักลงทุนเริ่มมีติดพอร์ตบ้าง เริ่มมามีจุดตั้งต้นด้วยกันกับ KAsset” อดิศรกล่าวทิ้งท้าย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://www.kasikornbank.com/k_3Ik3DfH

]]>
1465416
KBank Private Banking และ Lombard Odier ชูแนวคิด Rethink Sustainability ชี้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1464208 Wed, 28 Feb 2024 16:21:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464208 ธนาคารกสิกรไทย และ Lombard Odier รวมถึง KBank Private Banking ได้ชูแนวคิด Rethink Sustainability ชี้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมาตรการการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน หรือ CBAM ที่กำลังใช้ในทวีปยุโรปในเวลานี้

อูแบร์ เคลเลอร์  Senior Managing Partner, Lombard Odier ได้ชี้ว่า เราพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมกันมาก แต่ปัญหาของสภาวะภูมิอากาศนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่โลกเรายังพบปัญหาอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ดินเป็นพิษจากสารเคมี น้ำทะเลที่มีความเป็นกรดมากขึ้น ฯลฯ

เราอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งมาพร้อมโอกาสในการลงทุนอย่างมหาศาล ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง โดยหันมาให้ความสำคัญกับธรรมชาติ

Senior Managing Partner ของ Lombard Odier ยกตัวอย่างว่า ในตอนนี้โลกกำลังเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านด้านเศรษฐกิจหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานสะอาด 70% ของเศรษฐกิจโลก หรือการลดใช้วัสดุต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการซื้อขายคาร์บอนเครดิต การให้ราคากับธรรมชาติ

เขายังกล่าวว่าการที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่หันมาใช้พลังงานสะอาด หรือการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนให้ได้คือการทำให้ผู้คนส่วนมากหันมาใช้สิ่งดังกล่าวจนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้คนหันมาใช้จำนวนมาก (Tipping Point)

อูแบร์ ได้ยกตัวอย่าง เช่น ราคาแผงโซลาร์เซลล์ถูกขึ้น ราคาของ Battery ถูกลง หรือแม้แต่ความนิยมในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากกว่ารถยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว 

ไม่เพียงเท่านี้รัฐบาลในหลายประเทศ หรือแม้แต่เอกชน ยังสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืนเหล่านี้ด้วย โดยคาดว่าเม็ดเงินลงทุนทั่วโลกรวมกันจะมากถึง 24.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2030 หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 883 ล้านล้านบาท

เขายังชี้ว่าการผลักดันของรัฐบาลถือเป็นอีกส่วนที่อุ้มชูให้เกิด Tipping Point ขึ้นมาได้

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ (ซ้าย) อูแบร์ เคลเลอร์ (กลาง) และ พิพิธ เอนกนิธิ (ขวา) / ภาพจาก KBank Private Banking

นอกจากนี้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ อูแบร์ ได้ชี้ว่าโมเดลธุรกิจทำให้หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป เขายกตัวอย่างกรณีของ Tesla ที่ไม่ได้ขายแค่รถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่บริษัทได้ขาย Battery ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือการทำ Energy Distribution รวมถึงขาย Software บนรถยนต์ไฟฟ้าด้วย

อูแบร์ได้ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมไอทีเองได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนมหาศาล และชี้ว่าสิ่งที่ลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า เขาชี้ว่ากำไรของกลุ่มไอทีในปี 2020 อยู่ที่ 20% มากกว่าในปี 1990 ซึ่งสัดส่วนกำไรอยู่ที่ 5% เท่านั้น

Senior Managing Partner ของ Lombard Odier ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านนั้นมาไวมาก เขาได้กล่าวถึงเรื่องการใช้พลังงานสะอาดนั้นเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คาด และทำให้การใช้พลังงานจากฟอสซิลลดลงไวด้วยเช่นกัน และบริษัทผลิตพลังงานจากฟอสซิลได้รับผลจากสถาบันการเงินมากขึ้น เช่น การไม่ปล่อยสินเชื่อ เป็นต้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน มองว่านักลงทุนคือหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมได้ โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวที่มีมูลค่ามหาศาลเท่านั้น แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจแห่งอนาคตไปสู่ความยั่งยืนได้ด้วย

พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยมุ่งสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน และเป็นผู้นำด้าน ESG ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งธนาคารพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนับสนุนโครงการที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายในของธนาคารเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและยกระดับมาตรฐานสู่สากล

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ธนาคารต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านของลูกค้าธนาคารสู่ความยั่งยืน โดยก้าวไปด้วยกัน และมองว่านี่เป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทย เนื่องจากในต่างประเทศเริ่มมีการใช้มาตรการมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน หรือ CBAM แล้ว อย่างเช่นทวีปยุโรป

]]>
1464208
เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน https://positioningmag.com/1320828 Wed, 24 Feb 2021 17:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320828 เปิดความเห็นของเหล่า ‘เศรษฐี’ ในเอเชีย กับมุมมองด้านเทคโนโลยี การลงทุน การบริหารทรัพย์สินครอบครัว และความยั่งยืน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนในวิกฤต COVID-19 

Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking สำรวจมุมมองและข้อกังวลของผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ในประเด็นสานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม : การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal’ 

โดยรวบรวมความคิดเห็นของศรษฐี 150 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน 

วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า ผลกระทบจากโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษ ทำให้เหล่านักธุรกิจชั้นนำเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมไปถึงหันมาเน้นลงทุนไม่หวือหวา แต่ถือได้ยาวนานขึ้น

ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ ในช่วงที่การเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงิน ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier (ขวา)

เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ธุรกิจ Private Banking ที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่ง กลับมีผลประกอบการดีที่สุดในรอบหลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจสะเทือน ‘รากหญ้า’ มากกว่า ‘คนรวย’

Lombard Odier เเละ KBank Private Banking คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของบุคคลผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ Ultra High Net Worth Individuals : UHNWIs ในเอเชียจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ราว 10-15% ภายหลังวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เเละสงครามการค้าคลี่คลายลง

“จำนวนของเศรษฐีใหม่ในเอเชียจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามเทรนด์การลงทุนในธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ที่เเจ้งเกิดเเละเติบโตในช่วง COVID-19”

สำหรับในประเทศไทย มองว่า ธุรกิจที่จะสามารถ ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’ จากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน ,  ธุรกิจด้านวัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) และธนาคาร

เทคโนโลยี : more digital…เเต่ยังชอบ ‘พบปะพูดคุย’ 

ผลสำรวจนี้ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

กว่า 81% ของคนรวยในเอเชีย เห็นว่าการติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง more digital, less physical จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

โดยผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยที่คิดเห็นเช่นนี้ มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและ Private Bank

เพราะการลงทุนครั้งละกว่าร้อยล้านพันล้าน การได้พูดคุยกันต่อหน้ายังมีความจำเป็น

โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

การลงทุน : ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย เห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้น เเต่กลุ่มนักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากเเล้ว ‘ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก”

ผลสำรวจ ระบุว่า70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย เเละ 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน

สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วน เลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล

“แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่” 

โดย 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลัง COVID-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกว่า 87% กล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญสูงสุด ได้เเก่ 

  • บริการด้านสินเชื่อ
  • ความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ
  • ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
  • การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

บริหารทรัพย์สินครอบครัว : สนใจ ‘ธรรมาภิบาล’ มากขึ้น 

ความผันผวนของตลาด ทำให้ผู้มั่งคั่งในเอเชีย เริ่มกลับมา ‘ทบทวน’ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัวและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว และทําให้เรื่องนี้เร่งด่วนขึ้น

สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย

สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

เศรษฐีรุ่นใหม่มองความ ‘ความยั่งยืน’ คืออนาคต 

เหล่ามหาเศรษฐี เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเทรนด์ ‘ความยั่งยืน’ เป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือก Private Bank

69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นที่สอง รองจากญี่ปุ่น

แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้มีความมั่งคั่งสูงบางส่วน ยังไม่เชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนท่ีดีได้ โดย 1 ใน 3 ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย (ส่วนใหญ่จาก ฮ่องกง ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) ไม่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนที่คํานึงถึงมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“กลุ่มเศรษฐีรุ่นใหม่ ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนเป็นลําดับต้นๆ และต้องการใช้บริการของธนาคารที่มีการลงมือด้านนี้อย่างจริงจัง” 

4 เรื่องที่ Private Bank ต้องพัฒนา 

KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วน Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่มีประสบการณ์กว่า 220 ปี ดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วโลกกว่า 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล วันที่ 30 มิถุนายน 2563)

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

KBank Private Banking เเละพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ได้แก่

  1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
  3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
  4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1320828