MI Group – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 15 Aug 2024 15:14:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “โอลิมปิก ปารีส 2024” ดึงเม็ดเงินโฆษณาทะลุเป้าเกินคาด https://positioningmag.com/1486584 Thu, 15 Aug 2024 15:13:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486584 ข้อมูลจาก บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด (MI GROUP) รายงานเม็ดเงินโฆษณาช่วง “โอลิมปิก ปารีส 2024” พบว่า มีเม็ดเงินหมุนเวียนในช่วงแข่งขันมากกว่าที่คาด เพราะเรตติ้งผู้ชมที่ดี คนไทยสนใจชมกีฬาสูง ทำให้เม็ดเงินโฆษณาเข้ามารวมกว่า 500 ล้านบาท สูงกว่าที่เคยประมาณไว้ว่าน่าจะมีราวๆ 300 ล้านบาท
สำหรับ Top 5 อุตสาหกรรมลงโฆษณาช่วงโอลิมปิกสูงที่สุด ได้แก่
  • อันดับ 1 หน่วยงานรัฐ เช่น การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  • อันดับ 2 ยานยนต์ เช่น TOYOTA
  • อันดับ 3 ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ตพร้อมดื่ม YOYIC, นมโอ๊ต Goodmate
  • อันดับ 4 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น สิงห์ เลมอนโซดา, เครื่องดื่มเกลือแร่ สปอนเซอร์, น้ำแร่ตราช้าง
  • อันดับ 5 เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ Daikin, พัดลม Hatari

ถือเป็นช่วงเซอร์ไพรส์วงการโฆษณาซึ่งปี 2567 นี้ตลาดไม่ได้เติบโตมากนัก และอยู่ในช่วงเศรษฐกิจซบเซาทำให้แบรนด์มีการประหยัดงบลงโฆษณา แต่ช่วงโอลิมปิกสามารถดึงเม็ดเงินมาได้เกินคาด

]]>
1486584
MI ประเมิน “เม็ดเงินโฆษณา” 2567 โตต่ำ 3.3% สื่อเก่า “ทีวี” ยังสาหัส – แบรนด์หันใช้ “อินฟลูฯ” เพิ่มเท่าตัว https://positioningmag.com/1486284 Wed, 14 Aug 2024 10:22:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486284
  • MI GROUP เปิดข้อมูล “เม็ดเงินโฆษณา” ช่วง 7 เดือนแรกมีการใช้จ่ายกว่า 49,400 ล้านบาท เติบโต 4.9% เซอร์ไพรส์ “โอลิมปิก 2024” ช่วยดันเกินคาด
  • คาดการณ์ทั้งปี 2567 เม็ดเงินโฆษณาน่าจะอยู่ที่ 87,600 ล้านบาท เติบโต 3.3% อย่างไรก็ตาม ปัจจัยใหม่ “ถอดนายกฯ” อาจสะเทือนจนทำให้เม็ดเงินโฆษณาถึง “ติดลบ”
  • ช่องทางสื่อ “ทีวี” ยังหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่งบสื่อดิจิทัลทุ่มไปกับ “อินฟลูเอนเซอร์” เป็นเท่าตัว เน้นการตัดสินใจเป็นยอดขายทันทีมากกว่าการรับรู้แบรนด์
  • “ภวัต เรืองเดชวรชัย” ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด (MI GROUP) อัปเดตสถานการณ์ในอุตสาหกรรมโฆษณาของปีนี้ พบว่า “เม็ดเงินโฆษณา” ช่วง 7 เดือนแรกปี 2567 มีการใช้จ่ายราว 49,400 ล้านบาท เติบโต 4.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

    ช่วงที่ผ่านมามีเซอร์ไพรส์เล็กๆ จากการถ่ายทอดสด “โอลิมปิก 2024” ที่มีผู้ชมให้ความสนใจเกินคาด และทำให้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดเช่นกัน โดยแต่เดิมคาดจะมีเม็ดเงินโฆษณาในการถ่ายทอดสดโอลิมปิกประมาณ 300 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากสปอนเซอร์รายใหญ่ แต่หลังจากเรตติ้งผู้ชมกีฬาดีกว่าคาด ทำให้เม็ดเงินเข้ามารวมกว่า 500 ล้านบาท ขายโฆษณาได้เกิน 80% ของแพ็กเกจที่ตั้งไว้ ถือเป็นยอดขายเกินความคาดหมายท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก

    โฆษณา
    เม็ดเงินโฆษณา 7 เดือนแรกปี 2567

    อย่างไรก็ตาม หลังแม่เหล็กใหญ่อย่างโอลิมปิกจบลง เชื่อว่าในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้น่าจะกลับสู่สถานการณ์ซบเซาอีกครั้ง จากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อตกต่ำทำให้แบรนด์ต่างๆ จำกัดงบโฆษณาค่อนข้างมาก

    MI GROUP คาดว่ารวมทั้งปี 2567 น่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาอยู่ที่ 87,600 ล้านบาท เติบโต 3.3% จากปีก่อน แม้จะเติบโตขึ้นบ้าง แต่ถือว่ายังไม่ฟื้นกลับไปเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งเม็ดเงินโฆษณาเคยวิ่งอยู่ในระดับ 90,200 ล้านบาทเมื่อปี 2562

    คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณารวมทั้งปี 2567 โดย MI GROUP (*เป็นฉากทัศน์เดิมก่อนมีการถอดถอนนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน)

    “กำลังซื้อแย่มากทุกหมวดสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้า High-Involvement เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือสินค้า Low-Involvement เช่น สบู่ แชมพู ต่างซบเซาหมด” ภวัตกล่าว “มีเพียง 3 หมวดสินค้าที่ถือว่ายังใช้งบโฆษณาสูงกว่าตลาด ได้แก่ สกินแคร์ รถยนต์ และ เครื่องดื่ม”

    ภวัตกล่าวด้วยว่า ปัจจัยบวกอย่างหนึ่งที่อาจจะช่วยกู้สถานการณ์ได้บ้างคือโครงการ “ดิจิทัล วอลเล็ต” ของรัฐบาล ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มให้ประชาชนได้ใช้จ่ายจริงในเดือนธันวาคมนี้ ทำให้ 1 เดือนสุดท้ายของปีอาจจะเห็นการโฆษณาที่คึกคักขึ้นได้

    อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีตัวแปรสำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ ศาลรัฐธรรมนูญมีการตัดสินคดีถอดถอน “เศรษฐา ทวีสิน” ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งภวัตคาดการณ์ไว้ว่า ในกรณีเลวร้ายที่สุด (Worst Case) อาจจะเกิดสุญญากาศทางการเมืองไปอีก 2-3 เดือน ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐหยุดชะงัก และกระทบต่อการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณา จนอาจจะทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2567 เข้าขั้นติดลบในที่สุด โดยคาดจะติดลบ -0.2%

    เม็ดเงินโฆษณาอาจ “ติดลบ” หากเกิดสุญญากาศยาวนานหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เศรษฐา ทวีสินพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

     

    “ทีวี” ยังสาหัส – “OOH” โตพุ่ง

    ด้านช่องทางการลงสื่อโฆษณาปี 2567 สัดส่วนเม็ดเงินคาดว่าจะแบ่งเป็น

    • 40.5% โทรทัศน์
    • 36.0% ช่องทางดิจิทัล
    • 15.2% สื่อนอกบ้าน (OOH)
    • 3.5% วิทยุ
    • 2.4% โรงภาพยนตร์
    • 2.4% หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    ช่องทางลงโฆษณา สัดส่วนของทีวีลดลงต่อเนื่อง ขณะที่สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

    “เม็ดเงินโฆษณา” ที่ลงในช่องทาง “โทรทัศน์” นั้นลดสัดส่วนลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2559 จากความนิยมการเสพสื่อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่วนช่องทางที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเข้ามาแทนที่สื่อดั้งเดิมทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร คือ สื่อดิจิทัล

    ภวัตกล่าวด้วยว่า ลักษณะการลงโฆษณาในโทรทัศน์ปัจจุบันสินค้าจะไม่เลือกกระจายลงทุกช่องอีกต่อไปแล้ว แต่จะมีการเลือกมาอย่างมาก 5 ช่องที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้ชมตรงกับตัวสินค้ามากที่สุดเท่านั้น

    รวมถึงราคาแม้เรตการ์ดจะยังไม่ปรับลง คือ ช่วงไพรม์ไทม์ของโทรทัศน์เวลา 18:00-22:30 น. ซึ่งเป็นช่วงละคร จะยังตั้งเรตการ์ดที่นาทีละ 400,000 บาท แต่ในการดีลจริงจะต้องจัดโปรโมชันเพื่อจูงใจลูกค้า เช่น ซื้อช่วงละครแถมช่วงข่าวเช้า เป็นต้น เห็นได้ว่าสื่อทีวีต้องปรับตัวสูงมากในสถานการณ์นี้เพราะเม็ดเงินโฆษณามีน้อยลง แต่จำนวนช่องมีมาก และยังต้องแข่งกับช่องทางออนไลน์อีกด้วย

    ทั้งนี้ อีกหนึ่งช่องทางที่กลับมาเติบโตได้ดีคือ “สื่อนอกบ้าน” หรือ Out of Home (OOH) หลังจากหดตัวไปในช่วงโควิด-19 ปัจจุบันกลับมาโตพุ่งเพราะผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตนอกบ้านกันอย่างเต็มที่ และถือเป็นช่องทางหนึ่งเดียวที่สื่อดิจิทัลไม่สามารถดิสรัปต์ได้

     

    “เน้นทำยอดทันที” ทำให้ “อินฟลูเอนเซอร์” โตเท่าตัว

    ด้านกลุ่มสื่อดิจิทัลเองก็มีความเปลี่ยนแปลงสูงมาก โดยภวัตเปิดข้อมูลคาดการณ์ของปีนี้ การยิงโฆษณาหรือบูสต์โพสต์ใน “Meta” (Facebook และ Instagram) รวมถึง “YouTube” จะลดลง แต่ที่มาแรงแทนที่คือ “TikTok” ตามเทรนด์คนไทยหันมาใช้กันมากขึ้นทั้งชมคอนเทนต์และช้อปปิ้งในตัว

    อีกช่องทางหนึ่งที่มาแรงมากคือ “อินฟลูเอนเซอร์” ซึ่งปีนี้เม็ดเงินที่ซื้อทำคอนเทนต์โฆษณากับอินฟลูฯ น่าจะพุ่ง ‘เท่าตัว’ เป็น 8,000 ล้านบาท ไม่รวมการทำ Affiliate Marketing หรือ ‘ติดตะกร้า’ ของอินฟลูฯ ซึ่งยังไม่สามารถเก็บสถิติได้ว่าสร้างเม็ดเงินจากค่าคอมมิชชันอีกเท่าไหร่

    (Photo : Shutterstock)

    “ตอนนี้บัดเจ็ทโฆษณาดิจิทัลในแต่ละแคมเปญ จาก 100% ถูกแบ่งให้ช่องทางซื้ออินฟลูเอนเซอร์แล้วประมาณ 25-30% มากน้อยแล้วแต่ประเภทสินค้า แต่ภาพรวมคือสัดส่วนขึ้นมาเยอะมากๆ ประมาณเท่าตัวจากในอดีต” ภวัตกล่าว

    สาเหตุคือปีนี้เศรษฐกิจซบเซาทำให้แบรนด์มุ่งเน้นใช้เม็ดเงินโฆษณาเพื่อ “เปลี่ยนเป็นยอดขายทันที” มากกว่าสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์สามารถเติมเต็มความต้องการนี้ได้ เพราะผู้บริโภคคล้อยตามได้ง่าย และอินฟลูฯ สามารถลงลิงก์ช่องทางตามไปซื้อสินค้าทำให้ลูกค้าตามมาซื้อได้ทันที

    โดยเฉพาะกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ระดับ “ไมโคร” และ “นาโน” ถือว่าได้อานิสงส์จากสถานการณ์นี้อย่างมาก เพราะอินฟลูฯ ระดับนี้ให้ความรู้สึกเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักบอกต่อสินค้า น่าเชื่อถือกว่าว่าเป็นผู้ใช้จริง สร้างแรงจูงใจในการซื้อตามได้ง่าย

    ]]>
    1486284
    มองเทรนด์ ‘โฆษณา’ ปี’67 ‘ไมโครอินฟลูฯ’ ยิ่งทวีความสำคัญ ‘Meta’ ยังครองแชมป์เบอร์ 1 แพลตฟอร์มโฆษณาดิจิทัล https://positioningmag.com/1455766 Fri, 15 Dec 2023 12:00:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455766 กำลังจะหมดเดือนสุดท้ายของปีแล้ว ทาง MI GROUP ก็ออกมาประเมินถึงทิศทาง เม็ดเงินโฆษณา ในปีหน้าหรือ 2567 หลังจากที่คาดว่าในปี 2566 ที่กำลังจะสิ้นสุดลงว่าจะเติบโตได้เพียง 4.4% พร้อมกับมองถึง สื่อ ไหนจะเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเม็ดเงินในอุตสาหกรรม

    หนี้ครัวเรือนยังเป็นปัจจัยลบสำคัญ

    จากปัจจัยลบต่าง ๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งขั้วการค้าของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ที่ส่งผลในด้านการนำเข้า-ส่งออกของไทย ผู้บริโภคมีความกระจายตัวมากขึ้น ทำให้นักการตลาดทำงานยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีภาวะสงครามและปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น คาดว่าการเติบโตของ GDP โลกปีหน้าจะเติบโตที่ 2.3%

    ขณะที่ GDP ไทยในปีหน้าคาดว่าจะเติบโตประมาณ 3.2-4.2% โดยคาดว่า ท่องเที่ยว จะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ ขณะที่ปัจจัยลบของไทยยังคงเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง, เงินเฟ้อ, เรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเรื่องความไม่เท่าเทียมทางด้านด้านดิจิทัล และความเชื่อทางการเมือง

    “จะเห็นว่าปีนี้โฆษณาเกี่ยวกับสินเชื่อลดลง เป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนสูง สถาบันการเงินเลยต้องเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ บางรายที่มีเงินก็เลือกจะเก็บเงินสดมากกว่า” ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI GROUP กล่าว 

    เม็ดเงินโฆษณาปีหน้าโตแค่ 4%

    สำหรับเม็ดเงินโฆษณาปีนี้คาดว่าเติบโต +4.4% หรือ 84,549 ล้านบาท และในปีหน้าคาดว่าเติบโต +4% มีมูลค่า 87,960 ล้านบาท โดยอีกปัจจัยที่ทำให้เม็ดเงินโฆษณาไม่ได้มีมูลค่าแตะ 9 หมื่นล้านเหมือนช่วงก่อนโควิดเป็นเพราะ สื่อดั้งเดิม เช่น โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุ ที่ไม่ได้มีอิทธิพลสูงเหมือนในอดีต ทำให้เม็ดเงินส่วนนี้ถูกโยกไปใช้กับสื่อดิจิทัล

    “สื่อดั้งเดิมแทบไม่กระเตื้อง โดยเฉพาะสื่อทีวีที่ถูกแบ่งเม็ดเงินไปยังแพลตฟอร์มอื่นมากขึ้น เช่น YouTube และ Streaming Service ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การลงโฆษณาได้ใกล้เคียงกับสื่อทีวีมากที่สุด”

    ในส่วนของสื่อที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ สื่อนอกบ้าน (OOH) ที่เติบโตตั้งแต่สถานการณ์โควิดคลี่คลายลง และ สื่อออนไลน์ ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง โดย บ้าน Meta (Facebook, Instagram) ที่ยังคงครองอันดับ 1 ตามมาด้วย YouTube อย่างไรก็ตาม สัดส่วนพายของทั้ง 2 แพลตฟอร์มก็ลดลงเรื่อย ๆ จากการมาของแพลตฟอร์มใหม่ ๆ อย่าง TikTok และ Streaming Platforms รวมไปถึงเหล่า Digital Content Creator หรือ อินฟลูเอนเซอร์

    อินฟลูฯ ยังสำคัญต่อเนื่องเพราะ Affiliate Marketing

    แน่นอนว่าเทรนด์การใช้งานอินฟลูเอนเซอร์เป็นอะไรที่เติบโตมานานแล้ว แต่เทรนด์ที่ขับเคลื่อนการใช้อินฟลูเอนเซอร์ในปัจจุบันและอนาคตก็คือ Affiliate Marketing หรือการใช้อินฟลูเอนเซอร์แปะลิงก์ขายของเพื่อ ขายตรง ต่างจากอดีตที่เน้นใช้อินฟลูฯ เพื่อสร้างการรับรู้ซะมากกว่า

    นอกจากนี้ การมาของ Affiliate Marketing ทำให้รูปแบบการจ้างอินฟลูฯ เปลี่ยนไปเป็นการ แบ่งรายได้ยอดขาย ส่งผลให้แบรนด์สามารถวัดผลได้ทันที สามารถรู้ได้เลยว่าอินฟลูฯ ที่ใช้เหมาะกับแบรนด์หรือไม่ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เม็ดเงินที่ลงในอินฟลูฯ ที่วัดได้อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7% ของเม็ดเงินโฆษนาดิจิทัล เพราะรายได้จากยอดขายไม่สามารถนำเข้ามาคำนวนได้ ดังนั้น เป็นไปได้ว่าเม็ดเงินที่ลงในอินฟลูฯ จะสูงกว่าที่ประเมิน

    “จากที่เคยเห็น Media Plan ของลูกค้า เราพบว่าแต่ละบริษัทมีการใช้งบประมาณกับอินฟลูฯ ประมาณ 15-20% ในแต่ละแคมเปญการตลาด ซึ่งเราเชื่อว่าเม็ดเงินที่ลงในอินฟลูฯ นั้นมหาศาลแน่นอน เพียงแต่เราไม่สามารถเก็บข้อมูลได้”

    ภวัต เรืองเดชวรชัย ทิ้งท้ายว่า ความท้าทายของแบรนด์จากนี้ก็คือ งานที่ต้อง ละเอียดขึ้น เพราะผู้บริโภคมีกระจายตัว และซับซ้อนขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีที่ดิสรัปต์คนทุกเจน ดังนั้น จะเห็นว่าแบรนด์ให้ความสำคัญกับการสร้างและลิงก์ยอดขายไปที่ เว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อเก็บข้อมูลลูกค้า และปีหน้าคลื่มลมแรงแน่นอน แต่ก็เป็นทั้งอุปสรรคและโอกาสของแบรนด์

    ]]>
    1455766
    เม็ดเงิน “โฆษณา” ปี’66 ไม่โตตามคาด “MI GROUP” ประเมินปีนี้ฟื้นแค่ 4.4% https://positioningmag.com/1448599 Thu, 19 Oct 2023 02:14:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448599 MI GROUP อัปเดตเม็ดเงิน “โฆษณา” ปี 2566 ช่วง 9 เดือนแรกยังโตต่ำเพียง 2.57% คาดตลอดปีนี้โตได้เพียง 4.4% จบที่เกือบ 8.5 หมื่นล้านบาท จากปัจจัยเศรษฐกิจการเมืองสงครามทำตลาดไม่สดใส

    ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI GROUP เปิดข้อมูลการใช้เม็ดเงิน “โฆษณา” รอบ 9 เดือนแรก ปี 2566 มีการลงโฆษณารวม 61,848 ล้านบาท เติบโตเพียง 2.57% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

    ภวัตมองว่า เหตุที่การลงโฆษณาปีนี้ไม่สดใสนักเพราะปัจจัยรุมเร้าหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจที่ยังซบเซา ประชาชนกำลังซื้อต่ำจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น

    รวมถึงปัจจัยด้านการเมือง หลังเลือกตั้งแล้วยังใช้เวลานานในการจัดตั้งรัฐบาล ความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงกลางปีทำให้แบรนด์ชะลอการทำการตลาด และล่าสุดยังมีปัจจัยเรื่องสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์เข้ามาทำให้มู้ดของผู้บริโภคยังเป็นเชิงลบ

    ปีนี้จึงมีเฉพาะกลุ่มสินค้าไฮเอนด์ที่ยังสดใส เพราะกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูง Top 5% ของประเทศได้รับผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ มีการใช้จ่ายตามปกติหรือบางสินค้ามีการใช้มากกว่าปกติด้วย

    โฆษณา
    เม็ดเงินโฆษณารอบ 9 เดือนแรก ปี 2566

    จากการลงโฆษณารอบ 9 เดือนแรกที่เติบโตต่ำ MI GROUP จึงประเมินว่า ทั้งปี 2566 นี้น่าจะมีเม็ดเงิน “โฆษณา” สะพัด 84,549 ล้านบาท เติบโต 4.4% จากปีก่อน โดยเชื่อว่าไตรมาสสุดท้ายของปีน่าจะกระเตื้องขึ้นเพราะเป็นฤดูท่องเที่ยวและเทศกาลสำคัญต่างๆ ที่จะดึงเม็ดเงินและกำลังซื้อได้

    อย่างไรก็ตาม การเติบโตเพียง 4.4% ก็ถือว่าต่ำกว่าที่วงการโฆษณาเคยคาดการณ์กันไว้ว่าปี 2566 จะเป็นปีที่ตลาดฟื้นตัว 5-7%

    โฆษณา
    เม็ดเงินโฆษณาคาดการณ์ ปี 2566

    สำหรับประเภทโฆษณาที่เติบโตและหดตัวก็ยังเป็นไปตามเทรนด์ตลาด โดยกลุ่มโฆษณาโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ยังหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง แทนที่ด้วยโฆษณาดิจิทัลทางอินเทอร์เน็ตที่เติบโตขึ้นมา และกลุ่มโฆษณาสื่อนอกบ้าน (OOH) ที่ปีนี้น่าจะขึ้นมาใช้เม็ดเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 14.3% ของตลาดโฆษณาทั้งหมด

    วงการโฆษณาในช่วงก่อนโควิด-19 เคยมีเม็ดเงินสะพัด 9 หมื่นล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม เทรนด์การใช้เงินในวงการโฆษณานั้นภวัตมองว่า “คงจะไม่ได้เห็นกลับไปแตะ 1 แสนล้านบาทได้อีกแล้ว” เพราะสื่อที่เคยดึงดูดเม็ดเงินโฆษณาก้อนใหญ่หลักหลายแสนบาทต่อการลงโฆษณา 1 ครั้งอย่างโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์นั้นไม่สามารถดึงดูดได้มากเท่าในอดีตอีกแล้ว

    ]]>
    1448599
    เจาะขุมทรัพย์กำลังซื้อ “แรงงานเมียนมา” 6.8 ล้านคนในไทย ช่องว่างที่รอแบรนด์ทำการตลาด https://positioningmag.com/1448256 Tue, 17 Oct 2023 08:58:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448256
  • MI GROUP วิจัยกำลังซื้อ “แรงงานเมียนมา” อาศัยอยู่ในไทยถึง 6.8 ล้านคน คิดเป็น 10% ของประชากรไทย แต่ยังมีแบรนด์ไทยจำนวนน้อยมากที่ทำการตลาดเจาะกลุ่มนี้โดยตรง
  • ธุรกิจที่แข่งขันเพื่อคว้าตลาดกลุ่มนี้แล้วมีเพียง 2 กลุ่ม คือ “โทรคมนาคม” กับ “ธนาคาร” โอกาสที่เห็นชัดเพื่อเจาะตลาดแรงงานเมียนมาคือธุรกิจ “ทองคำ” เพราะคนเมียนมาส่วนใหญ่นิยมซื้อไว้เป็นสินทรัพย์
  • ชี้เป้าทำการตลาดด้วยการทลายกำแพง “ภาษา” และเข้าถึงผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะแรงงานเมียนมาเกือบทุกคนใช้ Facebook
  • กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI GROUP จัดทำรายงานวิจัยชุด “ผ่าขุมทรัพย์แรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย” สะท้อนภาพกำลังซื้อที่แบรนด์ไทยยังมองข้าม

    ภาพรวมของแรงงานเมียนมาในไทยมีประมาณ 6.8 ล้านคน (รวมกลุ่มที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายแล้ว) ซึ่งคิดเป็น 10% ของจำนวนประชากรไทย ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ และหากแบรนด์สามารถครองใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ ก็จะมีโอกาสการขายที่มากขึ้น

    ด้วยเหตุนี้ MI GROUP ผ่านสายธุรกิจ MI BRIDGE และ MI Learn Lab จึงวิจัยผู้บริโภคเมียนมาในไทย โดยศึกษาผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 50 คน และผ่านแบบสอบถามออนไลน์อีก 212 คน ศึกษาในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2566 และได้ข้อมูลอินไซต์ที่น่าสนใจ ดังนี้

    แรงงานเมียนมา
    ข้อมูลจาก: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว

    รู้จัก “แรงงานเมียนมา” ในไทย

    คนเมียนมาที่เข้ามาทำงานในไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี และมี “ผู้ชาย” มากกว่าด้วยสัดส่วน 74% ส่วนแรงงาน “ผู้หญิง” มี 26%

    ภาคธุรกิจหรืออาชีพหลักที่คนเมียนมาเข้ามาทำงาน ได้แก่

    • โรงงานอุตสาหกรรม 39%
    • ก่อสร้าง 18%
    • พนักงานขาย 15%
    • เกษตรกร 11%
    • รับจ้างทั่วไป 9%

    แรงงานเมียนมา

    แรงขับสำคัญที่ทำให้คนเมียนมาเลือกมาทำงานในไทย 88% ตอบว่า เป็นเพราะปัญหาการเงินทางบ้าน เนื่องจากในเมียนมาจ่ายค่าแรงต่ำเพียง 1,000-5,000 บาทต่อเดือน หรือบางคนอาจไม่มีรายได้เลย

    เป้าหมายของคนเมียนมาในไทยส่วนใหญ่จึงเป็นการมาหาเงินเพื่อส่งกลับไปให้ครอบครัวได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือมาหาเงินทุนกลับบ้านไปเริ่มทำกิจการส่วนตัว

    ด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้มีคนเมียนมาถึง 49% ที่ตอบว่า ตนไม่มีกำหนดกลับบ้านเกิด จะอยู่ทำงานจนกว่าจะเก็บเงินได้ถึงเป้าหมาย แต่ถ้าเป็นไปได้ต้องการจะอยู่เพียง 3-5 ปี

     

    เน้นการ “ออมเงิน”

    คนเมียนมาส่วนใหญ่จะมีวิถีชีวิตที่เน้นการทำงานเป็นหลัก พวกเขาจะทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ และ ทำงานเฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อวัน (รับโอที) รายได้ที่ได้รับอยู่ที่ 10,000-15,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าที่เคยได้ในเมียนมา 3-15 เท่า!

    แรงงานเมียนมา

    และเมื่อชีวิตมาเพื่อหาเงินกลับบ้าน คนเมียนมาจึง “ออมเงิน” สูงมาก โดยแบ่งสัดส่วนเฉลี่ย 44% ของรายได้เป็นเงินออม

    2 ใน 3 ของเงินออมนี้จะถูกส่งกลับบ้านให้ครอบครัว เหลือ 1 ใน 3 ของเงินออมที่เก็บไว้ใช้ส่วนตัวยามจำเป็น

    ส่วน 56% ที่ไว้ใช้จ่าย คนเมียนมามีค่าใช้จ่ายหลักเป็นเรื่องทั่วไป เช่น ค่าอาหาร ค่าของใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าที่พักอาศัย ค่าโทรศัพท์-อินเทอร์เน็ตมือถือ

     

    ซื้อสินค้าอะไรบ้าง

    เจาะลึกสินค้าในชีวิตประจำวันที่คนเมียนมาซื้อหา MI GROUP มีการแบ่งสิ่งที่คนเมียนมาต้องการออกเป็น 3 ช่วงตามสถานการณ์ชีวิต ได้แก่

    ช่วงที่ 1 “ตั้งหลัก” ระยะที่เพิ่งมาถึงประเทศไทย
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – ซิมการ์ด
    – ที่อยู่อาศัย
    – ตำแหน่งงาน
    – ของใช้จำเป็น เช่น เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภคบริโภค

    ช่วงที่ 2 “ตั้งตัว” ระยะเริ่มทำงานและเริ่มมีรายได้
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – บัญชีเงินฝาก
    – ใบอนุญาตทำงาน
    – โทรศัพท์มือถือ (ราคาที่เหมาะสม 4,000-13,000 บาท)
    – เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็น เช่น หม้อหุงข้าว พัดลม
    – เสื้อผ้าแฟชั่น
    – สกินแคร์ เครื่องสำอาง
    – ทองคำ** (ลงทุนสะสม 16,000-80,000 บาท)

    ช่วงที่ 3 “ตั้งใจ” ระยะเตรียมตัวกลับบ้านเมื่อเก็บเงินได้ตามเป้าหมาย
    สิ่งที่ต้องการ ได้แก่
    – บริการการโอนเงินกลับบ้านเกิด
    – ของใช้เพื่อเป็นของฝาก เช่น ยา อาหารเสริม เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าแฟชั่น

     

    รับสื่อทาง “อินเทอร์เน็ต” เป็นหลัก

    รู้จักพื้นฐานด้านรายได้และความต้องการแล้ว ในแง่ของวิถีชีวิตและการรับสื่อของคนเมียนมา MI GROUP พบว่า เนื่องด้วยการทำงานหนัก ทำให้คนเมียนมามีเวลาว่างน้อย ในวันทำงานจะว่างเพียง 2-3 ชั่วโมงต่อวัน (ช่วงก่อนเข้านอน) และวันหยุด 1 วันต่อสัปดาห์

    เมื่อมีเวลาน้อย กิจกรรมยามว่างจะมีเพียง 2 เรื่อง คือ เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือ กับ จับจ่ายซื้อของ

    พฤติกรรมบนอินเทอร์เน็ตก็เหมือนคนทั่วไปคือ ดูละคร ภาพยนตร์ รายการวาไรตี้ ติดตามข่าวสาร ติดต่อญาติ/เพื่อนฝูง

    โดยโซเชียลมีเดียที่คนเมียนมาใช้มากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ Facebook, YouTube, TikTok, Messenger, Line, Telegram

    โดยเฉพาะ “Facebook” เป็นช่องทางที่ 98% ของคนเมียนมาใช้งาน เพราะมีไว้ใช้ทั้งติดต่อญาติมิตร ดูคอนเทนต์บันเทิง ติดตามข่าวสารความรู้ และช้อปปิ้งออนไลน์ด้วย!

    การวิจัยนี้พบว่า 74% ของคนเมียนมาในไทยมีการ “ช้อปออนไลน์” โดยช่องทางที่ใช้ช้อปมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ Lazada, Facebook, Shopee, TikTok

    แม้ว่าจะมีคนเมียนมาในไทยเพียง 32% ที่มี Mobile Banking แต่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะสามารถเลือกเก็บเงินปลายทางได้ หรือให้เพื่อน/นายจ้างที่มีแอปฯ ช่วยโอนเงินแทน

     

    โอกาสยังเปิดกว้าง – “ทองคำ” ควรจับตามอง

    ด้วยจำนวนประชากรและวิถีชีวิตเฉพาะตัว “วิชิต คุณคงคาพันธ์” Head of International Business Development, MI GROUP ให้ความเห็นว่า แบรนด์ไทยควรหันมามองตลาดที่มีถึง 6.8 ล้านคนนี้มากขึ้น

    “ตอนนี้แบรนด์ไทยยังมองว่าลูกค้าคนเมียนมาในไทยเป็นผลพลอยได้ เพราะว่าอย่างไรเขาก็ดูละครไทย รายการไทย ทำให้ไม่ค่อยมีการทำตลาดโดยตรง” วิชิตกล่าว

    มีเพียง 2 ธุรกิจที่เจาะตลาดนี้แล้วคือ “โทรคมนาคม” กับ “ธนาคาร” เพราะ “ซิมการ์ด” สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต กับ “บัญชีธนาคาร” คือสิ่งจำเป็นมากของแรงงานข้ามชาติ จึงมีการแย่งชิงลูกค้าอย่างเข้มข้น บางค่ายมือถือถึงกับมีคอลเซ็นเตอร์ภาษาเมียนมาไว้รองรับ!

    ส่วนธุรกิจที่วิชิตมองว่าควรจะเร่งเข้ามาจับตลาดคือ “ทองคำ / ร้านทอง” เพราะคนเมียนมาส่วนใหญ่นิยมซื้อทองมาก เนื่องจากเป็นสินทรัพย์มีมูลค่าสำหรับเก็บออม และยังเป็นเครื่องประดับได้ในตัว สามารถพกพาติดตัวง่าย เก็บซุกซ่อนง่าย แต่ขณะนี้ยังไม่มีแบรนด์ร้านทองหรือทองคำใดๆ ที่จับตลาดคนเมียนมาโดยเฉพาะเลย

     

    แปลงโฆษณาเป็น “ภาษาเมียนมา”

    วิชิตกล่าวต่อว่า จริงๆ แล้วการทำตลาดเพื่อคนเมียนมาโดยเฉพาะ จุดสำคัญคือการทลายกำแพงภาษา แปลงโฆษณาเป็น “ภาษาเมียนมา” ก็พอ ทำให้แบรนด์ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงแต่ได้ใจคนกลุ่มใหญ่

    เนื่องจากแรงงานเมียนมาในไทยส่วนใหญ่จะเริ่มฟังพูดภาษาไทยได้คล่องหลังอยู่อาศัยมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี คนที่อ่านเขียนภาษาไทยได้ส่วนใหญ่จะอยู่มาแล้วมากกว่า 7 ปีและต้องขวนขวายที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้กำแพงภาษาคือเรื่องสำคัญในการสื่อสารไปให้ถึงคนเมียนมา

    ส่วนช่องทางการสื่อสารก็ไม่ได้แตกต่างจากคนไทยมาก เพราะเสพสื่อประเภทเดียวกัน ใช้ช่องทาง Facebook ที่บูสต์โพสต์ถึงกลุ่มเป้าหมายได้เหมือนกัน

    ขอเพียงแบรนด์แสดงออกถึงความเข้าใจในชีวิตแรงงานเมียนมาที่เข้ามาเพื่อ “สู้ชีวิต” เป็นแบรนด์ที่ “เชื่อใจได้” ในการอยู่เคียงข้างการทำงานหนัก รวมถึงเป็นแบรนด์ราคาประหยัด “จับต้องได้ง่าย” ก็จะชนะใจคนเมียนมาได้ไม่ยาก

    ]]>
    1448256
    เม็ดเงินโฆษณา 2 เดือนแรกยังซึม! รอดู “เลือกตั้ง” จุดเปลี่ยนสำคัญ https://positioningmag.com/1421265 Tue, 28 Feb 2023 11:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421265 ซึมต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง Q4/2022 จนถึงช่วง 2 เดือนแรกของปี 2023 สำหรับ เม็ดเงินโฆษณา อย่างไรก็ตาม ทาง MI GROUP ยังมองว่าภาพรวมทั้งปียัง เติบโตได้ เพราะยังพอมีปัจจัยบวก แต่ที่น่าจับตาที่สุดคือ สถานการณ์การ เลือกตั้ง ที่ค่อนข้างจะแน่ชัดแล้วว่าจะเกิดขึ้นช่วงพฤษภาคมนี้

    มองตามสถานการณ์ตลาด +5%

    ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือเอ็มไอ กรุ๊ป กล่าวว่า สถานการณ์ของเม็ดเงินโฆษณาในช่วง 2 เดือนแรกถือว่า ซึมตามคาด โดยเดือนมกราคมติดลบ -10% เนื่องจากผลมาจากปัจจัยลบต่อเนื่องจาก Q4 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น GDP โตต่ำกว่าคาด ของแพง ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนสูง ทำให้อุปสงค์ต่ำ

    อย่างไรก็ตาม ในมุมนักการตลาดก็เห็นปัจจัยบวก โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยว ที่คาดว่าภายในสิ้นปีน่าจะมีมากถึง 30 ล้านคน ผู้บริโภคไม่กลัวโควิดแล้ว และอีกปัจจัยสำคัญคือ การเลือกตั้งมีความชัดเจน ทำให้นักการเมืองเริ่มออกมาทำกิจกรรมหาเสียง ซึ่งส่วนนี้ก็จะส่งผลบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเศรษฐกิจ ดังนั้น ในปีนี้คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาน่าจะเติบโตได้ราว 5% หรือประมาณ 85,790 ล้านบาท

    เลือกตั้งช่วยทางอ้อมมากกว่า

    ภวัต อธิบายว่า การเติบโต 5% ที่ประเมิน ถือเป็นการประเมินตามสถานการณ์ที่เห็นตอนนี้ แต่จะเติบโตมากหรือน้อยกว่านี้ ต้องรอดู หลังเลือกตั้ง ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรตามมาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การมาของการเลือกตั้งจะหนุนเงินสะพัดถึง หมื่นล้านบาท ในช่วงเมษายน-พฤษภาคม แต่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับเม็ดเงินโฆษณา จะเป็นผลทางอ้อมที่มาจากกิจกรรมลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมือง ซึ่งจะมีผลต่อ กำลังซื้อของผู้บริโภค แบรนด์ที่เป็นสินค้าพื้นฐานก็จะได้ประโยชน์ตรงนี้

    ในส่วนของเม็ดเงินที่จะใช้กับสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ คาดว่ามี ไม่ถึงร้อยล้าน เนื่องจากแลนด์สเคปของการหาเสียงเปลี่ยนไป นักการเมืองไม่ต้องการสร้างอแวร์เนส แต่ต้องการ สร้างคอนเทนต์ บนโลกออนไลน์ ซึ่งถ้าคอนเทนต์ดีก็จะเกิดการแชร์ ถือว่าได้หน้าสื่อฟรี ดังนั้น การหาเสียงช่วงเลือกตั้ง โซเชียลมีเดียจะเป็นสมรภูมิหลัก

    “เม็ดเงินหมื่นล้านอาจเข้าสื่ออาจจะมีไม่ถึงร้อยล้านด้วยซ้ำ เพราะในช่วง 2-3 ปีมานี้แลนด์สเคปเปลี่ยน แค่มีคอนเทนต์ที่แรงจะได้สื่อฟรี แถมสามารถกระจายตัวไปอยู่ในสื่อทีวีได้ด้วย เช่น การดีเบต มันชิ่งไปชิ่งมาโดยมีคอนเทนต์เป็นตัวหลัก ดังนั้น ออนไลน์จะเป็นสมรภูมิหลักแน่นอนในช่วงเลือกตั้ง จากในอดีตที่เม็ดเงินจะไหลไปที่หนังสือพิมพ์และทีวี”

    สินเชื่อส่วนบุคคลไม่ใช้เงินร้อนแรงอีกต่อไป

    ขณะที่หมวดสินเชื่อโดยเฉพาะ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่คึกคักมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ปีนี้คาดว่าน่าจะคึกคักน้อยลง จากภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยที่พุ่งสูงแตะ 90% ของ GDP อันเป็นผลมาจากหนี้ส่วนบุคคลที่เต็มวงเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ซึ่งนำไปสู่หนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคล (NPL) ที่สูงขึ้นแตะ 4.4% ในปีที่ผ่านมา

    “เขาไม่รู้จะใช้เงินทำตลาดไปทำไม เพราะตอนนี้คนที่ต้องการกู้แทบไม่มีแล้ว คนที่กู้ก็กู้เต็มวงเงินไปหมดแล้ว”

    สำหรับ 5 อุตสาหกรรมที่คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาจะคึกคักในปีนี้ ได้แก่

    • หมวดยานยนต์ จักรยานยนต์ โดยเฉพาะ ยานยนต์พาณิชย์, ยานยนต์พลังงานสะอาด (EV, HEV, PHEV) คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 5,800 ล้านบาท
    • หมวดงานอีเวนต์กิจกรรม คอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท
    • E-Commerce โดยเฉพาะ Market Place, เดินทาง&ท่องเที่ยว, รถยนต์มือสอง, ประกัน, ดีลและส่วนลดพิเศษ คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,800 ล้านบาท
    • อาหาร เครื่องดื่ม และบริการ โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อสุขภาพและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,800 ล้านบาท
    • ผลิตภัณฑ์ในหมวดความสวยและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,300 ล้านบาท

    “ปีนี้มีปัจจัยบวกคือ ท่องเที่ยว เลือกตั้ง และคนที่ออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ส่วนการมาของซีเกมส์ เรามองว่าไม่มีนัยเลย คนสนใจแต่ดราม่า แต่การแข่งขันไม่น่าสนใจ ส่วนช่วงหน้าร้อนที่ปกติจะเป็นช่วงที่คึกคักของตลาด ปีนี้ก็มองว่าคงจะคึกคักเหมือนเดิมไม่ได้คึกคักเป็นพิเศษ”

    ]]>
    1421265
    สดใสแน่! ‘MI Group’ ประเมิน ‘เม็ดเงินโฆษณา’ ปี 65 โต 12% หลังติดลบ 2 ปีซ้อน https://positioningmag.com/1375051 Wed, 23 Feb 2022 08:26:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375051 ปิดปี 64 ไปแบบจืด ๆ สำหรับเม็ดเงินอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาที่ -0.6% มีมูลค่าราว 7.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเจอโควิดสายพันธุ์ ‘เดลตา’ ทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถฟื้นตัวแม้ว่าจะมี ‘วัคซีน’ ก็ตาม แต่ในปี 65 นี้ ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI Group) มองว่ายังไงอุตสาหกรรมก็ต้อง ‘เติบโต’ เนื่องจากผู้บริโภคเริ่ม ‘ไม่แคร์’ กับการมาของสายพันธุ์ ‘โอมิครอน’ แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศเตือนภัยระดับ 4 เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อ Covid-19 กลับมาพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

    โต 12% เพราะอั้นทั้งแบรนด์และผู้บริโภค

    เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ได้ประเมินเม็ดเงินสื่อโฆษณาปีนี้ว่าน่าจะเติบโตได้ +5% อย่างไรก็ตาม MI Group คาดการณ์ว่าปีนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตได้ถึง +12% หรือราว 84,000 ล้านบาท จากปี 2564 อยู่ที่ 74,713 ล้านบาท

    โดยสัญญาณกลับคึกคักของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา น่าจะเริ่มเห็นตัวเลขชัดเจนในช่วง Summer นี้ MI Group คาดการณ์โดยเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันคือ มีนาคม-พฤษภาคม ปีนี้และปีที่แล้ว เม็ดเงินโฆษณาน่าจะสูงขึ้นกว่า +10% หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ล้านบาท (จาก 19,766 ล้านบาท เป็น 21,759 ล้านบาท) โดยช่วงเดือนมกราคม +1.2% ปิดที่ 6,039 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

    ปัจจัยบวกมาจากประชาชนส่วนหนึ่งเริ่มคลายความวิตกกังวล เริ่มกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติมากขึ้น อาจเป็นเพราะได้รับวัคซีนแล้ว และแม้สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) จะติดได้ง่ายกว่าแต่ว่าอาการไม่รุนแรง อีกทั้งหน่วยงานสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่าสายพันธุ์โอมิครอนจะส่งผลดีต่อการระบาดของ COVID-19 ที่จะปรับสถานะเป็น endemic หรือโรคระบาดท้องถิ่นทั่วไป ทำให้การใช้ชีวิตของประชาชน และการดำเนินธุรกิจกลับมาใกล้เคียงปกติมากขึ้น

    นอกจากนี้ จากผลการสำรวจโดย Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) หรือ HILL ASEAN ประจำประเทศไทยล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เกี่ยวกับ “ภาพรวมความสุขและความเชื่อมั่นของคนไทยต่อสถานการณ์ Covid-19 และเศรษฐกิจในปัจจุบัน” โดยกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 44% คาดว่าในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ตัวเองน่าจะมีความสุขในการดำเนินชีวิตมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา และมีเพียง 6% ที่คาดว่าตัวเองจะมีความสุขน้อยลง

    “เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเขาต้องปรับตัวอยู่กับโควิด ต้องออกไปใช้ชีวิต ดังนั้น แม้ว่าจะติดเยอะแต่เห็นความคึกคัก มีการใช้ชีวิตเป็นปกติมากขึ้น ไม่แคร์มากขึ้น เพราะคนอยากกลับมาใช้ชีวิตปกติหลังอัดอั้นมากว่า 2 ปี ผู้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องกระตุ้นตลาดเพื่อแย่งชิงเม็ดเงินกำลังซื้อที่มีอยู่อย่างจำกัดของผู้บริโภคส่วนใหญ่”

    ทีวีครองสัดส่วนไม่ถึง 50%

    1.สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ (Broadcast TV) จะมีสัดส่วนเม็ดเงินโฆษณาลดลงไปต่ำกว่า 50% เป็นปีแรก (หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท) โดยปัจจุบันมีช่องเพียง 5-6 ช่องเท่านั้นที่ยังมี Eye Ball อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ทีวียังคงความเป็นสื่อหลักอันดับหนึ่ง

    “สื่อทีวีเป็นสื่อที่ถดถอยแต่ที่ยังเติบโตได้ มีละครและรายการข่าว ขณะที่ช่องเองก็ต้องพยายามหาเงินมาพยุง ดังนั้น จะเห็นการไทอินสินค้าในรายการข่าวแน่นอน รวมไปถึงการหารายได้จากรายการ ‘ทีวีช้อปปิ้ง’ แต่มีมากไปก็ไม่ดี อาจทำให้สูญเสียผู้ชมหรือเรตติ้ง ดังนั้น ต้องหาสมดุลให้ได้เพื่อหารายได้และรักษาฐานผู้ชม

    2.สื่อดิจิทัล (Online) และสื่อนอกบ้าน (OOH) จะมีสัดส่วนที่โตขึ้น คือ 32% และ 13% ตามลำดับ โดยเฉพาะสื่อนอกบ้าน ที่หดตัวลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากวิกฤต COVID-19 ทั้งนี้ เม็ดเงินรวมของ 2 สื่อหลักนี้สูงกว่า 38,000 ล้านบาท

    3.สำหรับเม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัล (Online) ที่เติบโตสูงอย่างต่อเนื่องมาหลายปีจะยังเติบโตอีก +16% หรืออยู่ที่ 27,000 บาท โดยตัวขับเคลื่อนหลัก ๆ จะมาจาก KOLs (Influencers) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดในหลากหลายธุรกิจมากขึ้น โดย KOLs มีส่วนแบ่งของเม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัลมาเป็นอันดับ 3 รองจาก Facebook และ YouTube

    โดยในปีนี้ KOLs กลุ่มใหม่ที่มาแรงคือ กลุ่มการเงิน การลงทุนและเก็งกำไรในรูปแบบใหม่ หรือ FIN-fluencers (ซึ่งมาจาก Finance + Influencers) จากอิทธิพลและกระแสความสนใจในเรื่องการลงทุนในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ อาทิ การเทรดเหรียญคริปโต, การเทรดหุ้น SET, NFT เป็นต้น นอกจากนี้ KOLs กลุ่ม รถยนต์ โดยเฉพาะเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าจะยิ่งได้เติบโต

    กลุ่มรถยนต์โหมหนักเพราะดันรถอีวี

    ในส่วนของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มสดใสเป็นพิเศษในปีนี้ ได้แก่

    1.รถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) ที่ราคาน่าดึงดูดมากขึ้น เพราะได้อานิสงส์จากมาตรการอุดหนุนจากภาครัฐ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงนี้

    2.รถจักรยานยนต์ จากสถานการณ์ที่เริ่มผ่อนคลาย หลายธุรกิจและบริการเริ่มกลับมาดำเนินกิจการต่อ ประกอบกับแรงงานบางส่วนคืนถิ่นฐานภูมิลำเนา รถจักรยานยนต์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินชีวิตในสภาพเศรษฐกิจที่ยังซบเซาอยู่

    3.ธุรกิจและบริการที่สอดคล้องกับวิถีใหม่ เช่น E-Market Place, Delivery Service, Health & Hygienic Care ที่คนส่วนใหญ่ปรับตัวและให้ความสำคัญมากขึ้นจากสถานการณ์โควิดจนเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตปกติไปแล้ว

    4.เครื่องดื่ม Non-alcohol โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Functional Drinks/ Healthy Drinks และ Innovative Drinks หรือเครื่องดื่มนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น เครื่องดื่มกัญชา เป็นต้น

    5.ธุรกิจที่เกี่ยวกับความงามและสุขภาพ Skin Care Products, Beauty Clinic เมื่อการออกไปใช้ชีวิตเริ่มกลับมาปกติมากขึ้น เรื่องความสวยความงามที่เคยละเลยและมองข้ามไปได้บ้างในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กลับต้องมาดูแลและใส่ใจมากขึ้น

    6.สินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล หลายสถาบันทางการเงินจะคลายความเข้มงวดและปล่อยสินเชื่อกันมากขึ้น ตามสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยมีความหวังที่จะฟื้นตัว ซึ่งเทรนด์จะเป็นสินเชื่อผ่านระบบดิจิทัล ที่ทำให้เข้าถึงลูกค้าในแต่ละท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น

    7.ทางเลือกการลงทุน การเก็งกำไรในรูปแบบใหม่ แพลตฟอร์มเทรดเหรียญคริปโต, ระบบเครือข่ายและตัวแทนจำหน่ายออนไลน์ (Drop ship)

    8.กลุ่มสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกไปใช้ชีวิต เช่น ร้านอาหาร เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

    3 ข้อแนะนำสำหรับวางแผนการตลาด

    1.Performance Media (Performance Marketing Communication) ความจำเป็นของเครื่องมือสื่อสารการตลาด ที่ต้องวัดผลประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจน (เช่น ปฏิกิริยาของกลุ่มเป้าหมายต่อแบรนด์, ยอดขาย เป็นต้น) ซึ่งไม่เพียงแค่ Social Media เท่านั้นที่สามารถวัดผลหรือเป็น Performance Media ได้ สื่อดั้งเดิมอย่าง TV หรือ Out of Home ก็สามารถวัดผลได้ หากมีการวางแผนออกแบบขั้นตอนไว้เป็นอย่างดีตั้งแต่ตอนต้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย

    2.Data Driven For Marketing Technology การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ สามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาและโอกาส เพื่อใช้กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่ต้องทำตั้งแต่เมื่อวาน และนำมาใช้กับเครื่องมือช่วยทางการตลาด (Marketing Technology) ที่ให้ผลประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น ใช้เวลาน้อยลง สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความหลากหลายมากขึ้น หรือ การใช้เครื่องมือช่วยทางการตลาดร่วมกับข้อมูลที่จัดเก็บมา สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทันใจ รู้ใจ โดนใจและได้ใจ (Fragmented Audiences Personalized Marketing)

    ภาพจาก virtualspatialsystems.com

    3.Metaverse/ Cryptocurrency/ NFT ควรติดตามและศึกษาวิเคราะห์กระแสความนิยมในเรื่องใหม่ ๆ อย่างรอบด้าน ไม่จำเป็นต้องคว้าทุกโอกาส หรือขี่ทุกกระแส เพราะนั่นอาจทำให้เราต้องเสียทรัพยากรไปโดยไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ กลับมา “Not necessary to “Trial and Error”, you can learn the best practices”

    อย่าง Metaverse ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นมาก ๆ ดังนั้น ยังคงต้องติดตามทิศทางที่ชัดเจนขึ้นและการพัฒนา Technology & Infrastructure ถึงจะสรุปได้ว่าธุรกิจหรือบริการจะสร้างโอกาสและยั่นยืนในระบบนิเวศใหม่นี้หรือไม่อย่างไร แต่ถ้าต้องการเพียงแต่ใช้ประโยชน์จากกระแสนี้ ในการสร้างสีสันให้กับธุรกิจหรือแบรนด์ ต้องมีไอเดียที่น่าสนใจ โดยพิจารณาจากทรัพยากรที่ลงทุนไปและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับว่าคุ้มหรือไม่

    อย่างไรก็ตาม จากสัญญาณบวกต่าง ๆ ดังกล่าว ที่ส่งผลต่อตัวเลขคาดการณ์ปี 2565 ยังคงมีอีกหลายปัจจัยความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่ยังคงมีอยู่และดูจะสาหัสมากขึ้นจากวิกฤตโรคระบาด, การกลายพันธุ์ของ Omicron สายพันธุ์ใหม่ BA.2, ปัญหาสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน, ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น และอื่น ๆ อาจเป็นตัวชะลอให้การเติบโตต่ำกว่าที่คาดไว้ก็เป็นได้ โดยทาง MI Group ยังคงจำเป็นต้องติดตามและประเมินสถานการณ์กันเป็นรายสัปดาห์ต่อไป

    ]]>
    1375051
    จับตาโค้งสุดท้าย ‘อุตสาหกรรมสื่อ’ หลังเปิดประเทศ พร้อมคาดการณ์ปี 65 สื่อไหนรุ่ง-ร่วง https://positioningmag.com/1360273 Wed, 03 Nov 2021 16:30:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360273 เพิ่งเปิดประเทศไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา ทาง ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI Group) ได้ออกมาคาดการณ์ถึงภาพรวมตลาดโฆษณาช่วง ‘โค้งสุดท้าย’ และประเมินถึง ‘ปีหน้า’ ว่าจะเป็นอย่างไร

    เปิดประเทศทำตลาดลบน้อยลง

    แม้ว่าแบรนด์จะมีความกังวลที่เปิดประเทศ แต่เนื่องจากผลกระทบจากในช่วงไตรมาส 2-3 ที่ผ่านมา ทำให้ภาพเอกชนและหลายอุตสาหกรรมขานรับเปิดประเทศ รวมถึงการยกเลิกเคอร์ฟิวเมื่อ 1 พ.ย. ก็เห็นถึงบรรยากาศคึกคัก กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ดังนั้น คาดว่าเม็ดเงินอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาจะกระเตื้องในโค้งสุดท้ายของปี เหลือติดลบตลอดทั้งปี 2021 เพียง -2.3% ใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ของสมาคมมีเดียฯ ที่ติดลบ 2.7% จากที่คาดการณ์เดิม -3% ถึง -5%

    “ในช่วง 3 ไตรมาสปีนี้ยังเติบโต 2.1% แต่ที่เห็นเติบโตก็เพราะปีที่แล้วติดลบเยอะ โดยคาดว่าทั้งปีเม็ดเงินอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาจะปิดที่ 73,417 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาปิดที่ 75,000 ล้านบาท ยังไงก็คงไม่มีทางแตะแสนล้านบาทเร็ว ๆ นี้”

    ปีหน้าโต 15%

    เบื้องต้น MI Group คาดการณ์เม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณา ปี 2022 +15% หรือมูลค่าเกือบ 85,000 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือ สัดส่วนเม็ดเงิน โฆษณาออนไลน์ เติบโตแตะ 1 ใน 3 ของเม็ดเงินโดยรวมคือ 32% หรือประมาณ 27,000 ล้านบาท ในขณะที่สัดส่วน สื่อโทรทัศน์ จะต่ำกว่า 50% เป็นปีแรก โดยคาดว่ามีสัดส่วนที่ 47.4% หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท

    ในส่วนของ สื่อนอกบ้านและสื่อโรงภาพยนตร์ จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญหากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนประมาณ 15% หรือ 13,000 ล้านบาท และเม็ดเงินอีกประมาณ 5% หรือประมาณ 4,000 ล้านบาท จะยังหล่อเลี้ยงอยู่ที่สื่อดั้งเดิมคือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ

    “ช่วงปี 2019 เราเคยคิดว่าอาจใช้เวลา 3-5 ปีในการที่สัดส่วนสื่อทีวีจะต่ำกว่า 50% แต่พอมีโควิดเข้ามา พฤติกรรมคนไปเร็วมาก และภายในปี 2025 สัดส่วนทีวีออนไลน์อาจจะมีสัดส่วนเท่า ๆ กัน ส่วนสื่อโรงภาพยนตร์ต้องรอดูว่าแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจะส่งผลระยะยาวไหม ด้านสื่อ Out Of Home มีแนวโน้มดีขึ้นจากสังคมเมือง แต่เพราะโควิดเลยทำให้ดร็อปไป ซึ่งถ้าสถานการณ์ดีขึ้นก็น่าจะกลับมาเติบโต”

    5 อันดับดาวรุ่ง

    ในส่วนของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มสดใสเป็นพิเศษในปีหน้า ได้แก่

    1. รถยนต์ โดยเฉพาะ EV หรือรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และมอเตอร์ไซค์
    2. ธุรกิจที่สอดคล้องกับวิถีใหม่ อาทิ E- Market Place, Delivery Service, Streaming Platforms
    3. สินเชื่อส่วนบุคคล
    4. หมวดสุขภาพ ความงาม และสุขอนามัย
    5. ท่องเที่ยวและการพักผ่อนในประเทศ
    ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI Group)

    จับตาเงินเฟ้อในโฆษณาออนไลน์

    ขณะที่สื่อออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ ราคาที่ ‘เฟ้อ’ มากขึ้น แต่อาจจะประเมินได้อยาก คาดว่าอาจจะอยู่ที่ 5-15% และที่น่าจะเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญคือ อินฟลูเอนเซอร์ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 30% ในตลาดออนไลน์ โดยเริ่มเห็นความเฟ้อในปีนี้ และปีหน้าจะยิ่งเฟ้อเพราะกลายเป็นหนึ่งในส่วนหลักของมาร์เก็ตเตอร์ที่จะใช้งานและไม่ได้มีระบบ Bidding

    ขณะที่แพลตฟอร์มแรงของปีหน้าเชื่อว่ายังคงเป็น TikTok ส่วนแพลตฟอร์มที่อาจจะดร็อปคือ Instagram ที่ถูก TikTok แย่งเวลา ส่วน Twitter ถ้าสถานการณ์ไม่มีอะไรให้พูดคุยก็อาจจะดร็อปลง โดยปีที่ผ่านมามันเติบโตเพราะมีเหตุการณ์พิเศษ อาทิ เหตุการณ์ทางการเมืองให้พูดคุย

    ผลิตภัณฑ์บิวตี้เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการแรงกระตุ้นทั้งราคาและรีวิว และรีวิวมีอิทธิพลมากกว่าเล็กน้อย

    เตือนภาครัฐเร่งสร้างความมั่นใจ

    ภาครัฐยังต้อง เร่งสร้างความมั่นใจต่อคนไทยและชาวต่างชาติ หลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 และยังต้องเร่งการกระจายวัคซีนให้เป็นไปตามแผนที่ประกาศไว้ คือ คนไทยมากกว่า 70% เข้าถึงวัคซีนครบ 2 เข็มภายในสิ้นปี และเร่งฉีดเข็ม 3 ให้ได้มากที่สุด เน้นลดจำนวนผู้ป่วยวิกฤตและผู้เสียชีวิต และโจทย์ใหญ่ของภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมุมของ MI คือ

    1. สร้างบรรยากาศคึกคัก ความเชื่อมั่น และกระตุ้นการจับจ่าย ของคนในประเทศเป็นหลักหลังอัดอั้นมานาน ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันและดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิดการแตะเบรกเอี๊ยดอีกครั้งจาก Mega Cluster ดังเช่น Wave 2 และ Wave 3 ที่ผ่านมา
    2. เน้นกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ มุ่งหารายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก อย่าเพิ่งคาดหวังรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะข้อมูลคาดการณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินว่าหลังเปิดจนถึงสิ้นไตรมาสแรกปีหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจกลับมาได้เพียง 15-20%
    3. นโยบายช่วยเหลือ SMEs ไทยอย่างเร่งด่วนและจริงจัง ที่ไม่ใช่แค่การอนุมัติวงเงินสินเชื่อ หรือโครงการพักทรัพย์พักหนี้ ผู้ประกอบการยังต้องการความมั่นใจของรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่สถานะการเงินไม่ผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ จากการบอบช้ำมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
    ]]>
    1360273