Mobile Banking – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 14 Mar 2023 12:51:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลสำรวจของ Visa เผยคนไทยสนใจใช้งาน Virtual Bank ถึง 90% ปี 73 ไทยเป็นสังคมไร้เงินสดได้ https://positioningmag.com/1423086 Tue, 14 Mar 2023 08:40:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423086 ผลสำรวจล่าสุดจาก Visa ชี้ว่าคนไทยถึง 90% สนใจใช้งาน Virtual Bank อย่างไรก็ดีก็ยังเลือกใช้บริการของธนาคารรูปแบบปกติ เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือ ขณะเดียวกัน 71% ของผู้สอบถามยังชี้ว่าประเทศไทยสามารถเป็นสังคมไร้เงินสดได้ภายในปี 2573 ได้

วีซ่า (Visa) ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยที่มีอายุ 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา และมีรายได้ขั้นต่ำต่อคนที่ 15,000 บาท จำนวน 1,050 คน จากผู้สำรวจทั้งหมดใน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม รวมกัน 6,550 คน เพื่อสอบถามถึงทัศนคติต่อการชำระเงิน

ผลสำรวจพบว่าคนไทยจำนวน 90% สนใจใช้งานธนาคารเสมือนจริง (Virtual Bank) ซึ่งบริการดังกล่าวนั้นให้บริการเหมือนธนาคารเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการฝากถอนเงิน การลงทุน ไปจนถึงเรื่องของสินเชื่อ เพียงแต่บริการดังกล่าวนี้ไม่มีสาขาของธนาคารเท่านั้น

สำหรับบริการ Virtual Bank ที่คนไทยสนใจใช้งานมากที่สุดคือ ฝากและถอนเงิน รองลงมาคือโอนเงินและชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่เพียงเท่านี้ ผลสำรวจของ Visa ยังชี้ว่าคนไทยมากถึง 92% สนใจที่จะใช้วิธีการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless)

ปัจจุบันทั้งสถาบันการเงินไทย ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร หรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งต่างสนใจ รวมถึงศึกษาเรื่องการทำธุรกิจ Virtual Bank อย่างจริงจัง อย่างไรก็ดีบริษัทที่จะทำธุรกิจดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท โดยในขั้นต้นนั้นทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกใบอนุญาตให้กับผู้ที่ชนะ โดยใบอนุญาตดังกล่าวมีจำนวนจำกัดแค่ 3 ใบ

อย่างไรก็ดีผู้ตอบแบบสอบถามมากถึง 65% กลับระบุว่าจะเลือกใช้บริการธนาคารทั่วไปเป็นบัญชีหลักมากกว่า  Virtual Bank เนื่องจากการบริการที่ดี ประสบการณ์การใช้บริการ และความน่าเชื่อถือที่ธนาคารเหล่านี้มอบให้กับลูกค้า

นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มากถึง 71% ยังเชื่อว่าประเทศไทยสามารถเป็นสังคมไร้เงินสดได้ภายในปี 2573 โดยหมวดการใช้จ่ายอันดับแรกๆ ที่จะเป็นแบบไร้เงินสดเต็มรูปแบบคือ การชำระค่าสาธารณูปโภคและบริการต่างๆ การชำระเงินที่ร้านสะดวกซื้อ และการชำระเงินในซูเปอร์มาร์เก็ต ตามลำดับ

]]>
1423086
รู้จัก ‘TMRW แคชพลัส’ วงเงินพร้อมใช้ : สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ยามฉุกเฉิน กดยืมง่ายผ่านแอป ทันใจคนดิจิทัล https://positioningmag.com/1320909 Wed, 03 Mar 2021 04:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320909

ในยามที่เศรษฐกิจบอบช้ำจากพิษโรคระบาด ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบเเสนสาหัส หลายคนหมุนเงินไม่ทัน ‘ชักหน้าไม่ถึงหลัง’ และมีความกังวลกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ด้วยสถานการณ์บีบคั้น หลายคนหันไปพึ่งพา ‘เงินกู้นอกระบบ’ ที่ดอกเบี้ยสูงปรี๊ด เสี่ยงอันตราย ถูกหลอกลวงไปกับคำดึงดูดใจว่า ‘เงินด่วน’ จนต้องเสียเงินให้มิจฉาชีพไปนับไม่ถ้วน

วันนี้เราจะพามารู้จักกับ TMRW แคชพลัส วงเงินพร้อมใช้’ สินเชื่อเงินสดน้องใหม่ล่าสุดจากธนาคารยูโอบี ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีอัตราดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมาย

พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการกู้เงินด่วนเเบบทันใจที่ ‘เชื่อถือได้’ เเถมยังขอสินเชื่อเงินสดได้สะดวกสุดๆ  ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน TMRW เเค่ปลายนิ้วคลิก

TMRW แคชพลัส คืออะไร

‘TMRW แคชพลัส’ เป็นบริการวงเงินพร้อมใช้ แบบดิจิทัลที่ลูกค้าสามารถขออนุมัติวงเงินไว้ล่วงหน้า และเมื่อต้องการยืมเงินเมื่อไหร่ ก็สามารถกดรับเงินโอนเข้าบัญชีได้ทันทีผ่านแอปพลิเคชัน TMRW เเละที่สำคัญหาก ‘ไม่ได้ใช้’ ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีใดๆ ทั้งสิ้น ช่วยลดความกังวลสำหรับลูกค้าที่อาจจะหมุนเงินไม่ทัน เมื่อค่าใช้จ่ายต่างๆ เข้ามาพร้อมๆ กันอย่างไม่ทันตั้งตัว

TMRW แคชพลัส เป็น ‘วงเงินสำรอง’ พร้อมใช้ที่ช่วยลูกค้าบริหารจัดการกับค่าใช้จ่ายในระยะสั้นได้เป็นอย่างดี เป็นสินเชื่อเงินสดที่สะดวก คุ้มค่าเเละเลือกรูปแบบการจ่ายคืนได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายคืนขั้นต่ำ หรือผ่อนจ่ายรายเดือนนานสูงสุด 48 เดือน

จุดเด่นของ TMRW แคชพลัส

‘TMRW แคชพลัส’ เสนอวงเงินพร้อมใช้ให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้าถึงสินเชื่อเงินสด สำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ให้วงเงินสูงสุดมากถึง 1 ล้านบาท โดยลูกค้าสามารถสมัครเพื่อขอวงเงินผ่านทางแอปพลิเคชั่น TMRW ได้แล้วตั้งเเต่วันนี้ จะสมัคร ยืมเงิน หรือชำระเงิน ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านแอป สะดวกทุกขั้นตอน จบทุกการยืมได้ในแอปเดียวและเป็นส่วนตัวสุดๆ และเมื่อวงเงินได้รับการพิจารณาอนุมัติเเล้ว ลูกค้าสามารถกดยืมเงินจากบัญชี TMRW แคชพลัส วงเงินพร้อมใช้ ไปเข้าบัญชีออมทรัพย์ TMRW Everyday ผ่านทางแอปพลิเคชันได้ทันที เมื่อมีความต้องการใช้เงินสด โดยสามารถเบิกถอนเงินสดตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อีกหนึ่งความพิเศษของ ‘TMRW แคชพลัส’ วงเงินพร้อมใช้ ก็คือลูกค้าสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้เอง โดยสามารถเลือกวางแผนการผ่อนชำระคืนได้ถึง 2 แบบ ได้เเก่

เเบบที่ 1 : ผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือนนานสูงสุด 48 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยพิเศษ สูงสุดไม่เกิน 24%

เเบบที่ 2 : ชำระคืนขั้นต่ำตามต้องการ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 2.5% ของยอดค้างชำระ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 25%

พิเศษดอกเบี้ย 0% ใน 2 รอบบัญชีแรกหลังจากวงเงินอนุมัติ เมื่อเลือกจ่ายคืนแบบขั้นต่ำ 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือบัญชี TMRW แคชพลัส

TMRW เเบงก์ดิจิทัลยุคใหม่ ได้ใจชาวโซเชียล 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 ธนาคารยูโอบี เปิดตัว ‘TMRW’ (อ่านว่า ทู-มอร์-โรว์) ธนาคารดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล ออกเเบบให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ จากเเนวคิดที่ว่า เมื่อลูกค้าได้ทำธุรกรรมผ่าน TMRW มากขึ้นเท่าใด ก็จะสามารถเข้าใจพฤติกรรมทางการเงินของตนเองมากขึ้นเท่านั้น

นี่จึงเป็นเหมือนการสร้างนิยามของบริการ Mobile Banking เเบบใหม่ขึ้นมา ผ่านอินไซต์ทางการเงิน ที่วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แสดงให้เห็นถึงรายการใช้จ่าย การเก็บออมของลูกค้าแบบรายวันและรายเดือน เเถมยังช่วยเตือนให้ใช้จ่ายและออมเงินอย่างชาญฉลาดมากขึ้น เหมือนเป็น ‘เลขาส่วนตัว’ ที่เรียนรู้พฤติกรรมการใช้เงินของเรา อีกทั้งยังมีเกมสนุกๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ออมเงินด้วย TMRW จะเน้นช่วยให้ลูกค้าเห็น ‘ภาพรวมการเงิน’ ของการใช้จ่ายเเละการเก็บออมของตัวเอง ทำให้สามารถตัดสินใจด้านการเงินด้วยข้อมูลที่มีอยู่มากขึ้น

ปัจจุบัน TMRW เปิดให้บริการทั้งบัตรเดบิต เเละ ‘บัตรเครดิต’ ที่มีจุดเด่นอยู่ที่การให้ ‘3% Cashback’ ครบเครื่องทั้งการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การออมเงิน เเละสามารถเลือกหมวดสิทธิประโยชน์ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของเราได้ รวมไปถึงการเสนอสินเชื่อเงินสด TMRW แคชพลัส วงเงินพร้อมใช้ในยามฉุกเฉินที่เข้าถึงง่าย ผ่อนชำระได้นาน ให้วงเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาท เรียกได้ว่ามาเขย่าวงการ ‘สินเชื่อเงินสด’ บ้านเราในเวลานี้ได้ไม่น้อยทีเดียว

รู้จัก TMRW : https://www.tmrwbyuob.com/th/th.html

เมื่อลูกค้า TMRW สามารถเข้าถึงวงเงินพร้อมใช้ผ่าน TMRW แคชพลัส ธนาคารก็จะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ลูกค้าบริหารวงเงินสินเชื่อได้อย่างรอบคอบและสามารถควบคุมการเงินได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับการสมัคร TMRW นั้นก็ไม่ต้องไปที่สาขาธนาคารให้ยุ่งยาก เพียงแค่ใช้สมาร์ทโฟนโหลดแอปพลิเคชัน TMRW บน iOS App Store หรือ Google Play จากนั้นก็กดสมัครพร้อมอัพโหลดเอกสารต่าง ๆ ได้ทันที เเละทำตามขั้นตอนการยืนยันตัวตนต่อไป นอกจากนี้ภายในเเอป ยังมี Chat Bot ที่มีชื่อว่าน้อง ‘TIA’ พร้อมตอบปัญหาที่เราสงสัยได้ตลอดเวลาด้วย

ท่ามกลางตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลที่ ‘เติบโตสูง’ ปีนี้เราคงได้เห็น ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ อัดแคมเปญกระตุ้นการทำตลาด ‘สินเชื่อรายย่อย’ กันรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด รวมถึงบัตรเครดิต ผู้บริโภคจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบเเละเลือกสิ่งที่เข้ากับ ‘ไลฟ์สไตล์’ ของเราให้มากที่สุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.tmrwbyuob.com/th/th/products/cashplus.html

 

]]>
1320909
เจาะพฤติกรรม “จ่ายเงินเเบบไร้สัมผัส” ของคนไทย หลังโควิด ดัน Mobile Banking เเละ e-Wallet โต https://positioningmag.com/1295694 Sun, 06 Sep 2020 09:23:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295694 เจาะพฤติกรรมจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสของคนไทย หลังช่วงวิกฤต COVID-19 คลี่คลายลง พบว่ายังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน พร้อมดันการแข่งขันในตลาดดุเดือดขึ้น

จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ผู้บริโภคในช่วงวัย 35-44 ปี เป็นกลุ่มที่เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น จากเดิมที่การใช้งานกระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25-34 ปี สะท้อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

โดยคาดว่า ทั้งปี 2563 ธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Money น่าจะยังมีการเติบโตต่อเนื่อง และแม้ว่าจะได้รับแรงผลักดันจากพฤติกรรม Contactless Payment ที่เป็น New Normal แต่อัตราการเติบโตก็ชะลอลง เนื่องจากมูลค่าธุรกรรมต่อครั้งลดต่ำลง ประกอบกับผู้บริโภคมีอำนาจซื้อลดลงจากผลของภาวะเศรษฐกิจหดตัว

Photo by Lauren DeCicca/Getty Images

คาดว่าปีนี้ จะมีปริมาณธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking ราว 7,758.0-7,927.5 ล้านรายการ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 57.5-61.0 ส่วนมูลค่าธุรกรรมจะอยู่ที่ประมาณ 28,910.4 – 29,707.2 พันล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 18.4-21.7 จากปี 2562

ขณะที่ปริมาณธุรกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการด้วย e-Money น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,990.1-2,038.0 ล้านรายการ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2-3.7 ส่วนในด้านมูลค่าจะอยู่ที่ประมาณ 286.3-291.1 พันล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 1.5-3.2

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อพฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยโดยรวม อันจะส่งผลต่อความต้องการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ในไทย รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันในตลาดของผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่สองประการหลัก ดังนี้

1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนไป

โดยทำให้เกิด New Normal ที่มุ่งสู่การโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการแบบไร้การสัมผัส หรือ Contactless Payment ส่งผลให้การทำธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น โดยผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่มีความคุ้นชินในการใช้งานอยู่แล้วก็จะมีการใช้งานมากขึ้น อาทิ ผู้บริโภคในกลุ่มนักศึกษาและวัยทำงานตอนต้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคกลุ่มใหม่โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานตอนกลาง ก็จะเข้ามาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น

ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ปริมาณธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่าน Mobile Banking และ e-Money ขยายตัวในอัตราสูงราวร้อยละ 19.4 (MoM) และร้อยละ 14.7 (MoM) ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยโดยรวม สอดคล้องกับผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ยังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

2. ในช่วงระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้บริโภคไทยราวร้อยละ 73.0 มีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น

จากเดิมที่มีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet ประมาณ 9 ครั้งต่อสัปดาห์ และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ผู้บริโภคราวร้อยละ 39.8 ยังคงมีการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

3.ผู้บริโภคราวร้อยละ 49.7 ได้กลับมาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการในปริมาณที่เท่าเดิม 

เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่ใช้งานในปริมาณมากอยู่แล้ว ทั้งนี้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดไปจนถึงช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทย มีกลุ่มผู้บริโภคในช่วงวัย 3544 ปี เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet ในการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น จากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25-34 ปี สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการสัมผัสกับเงินสดเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค นับว่าเป็นพฤติกรรม New Normal ที่เป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งานแพลตฟอร์ม Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ก็เป็นปัจจัยผลักดันให้ร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็ก เริ่มมีการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย QR Code มากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้การใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มสูงขึ้นไปอีกในระยะข้างหน้า และเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการต่อครั้งมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

“ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ก็ยังจะต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านสภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเข้ามาของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก e-Market Place Food Delivery รวมถึงผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีฐานลูกค้าหรือผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความคาดหวังของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว” 

จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ลักษณะแอปพลิเคชัน Mobile Banking และ e-Wallet 3 อันดับแรก ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ในปัจจุบัน ได้แก่

  • แอปพลิเคชันที่สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานด้วยการรวมทุกบัญชีออนไลน์ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว
  • แอปพลิเคชันที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเป็นแพลตฟอร์ม Food Delivery หรือ e-Market place ในตัวเอง 
  • แอปพลิเคชันที่มี Feature การใช้บัตรเครดิต

ซึ่งลักษณะทั้ง 3 ประการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet จะต้องเผชิญในการพัฒนา Feature การใช้งานให้สามารถอำนวยความสะดวกและสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เป็นแอปพลิเคชันที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกเป็นอันดับแรก

นอกเหนือจากการเผชิญกับความท้าทายด้านการแข่งขันที่เข้มข้นในตลาด และความคาดหวังของผู้บริโภค ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet อาจจะต้องเผชิญกับความท้าท้ายด้านการพัฒนาระบบภายใน โดยเฉพาะระบบที่สร้างความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Securities) เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของลูกค้า รวมถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าในการใช้งาน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบในการทำธุรกรรมของหน่วยงานที่กำกับดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยการทำธุรกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ที่จะทำการตลาดในระยะข้างหน้า จะต้องไม่ขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

โดยสรุป ผู้ให้บริการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Mobile Banking และ e-Wallet ในไทยยังมีโอกาสเติบโตในระยะข้างหน้า ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลาย แต่ก็ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดที่เข้มข้นจากการเข้ามาของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการ e-Wallet

“ในระยะข้างหน้า จะยังเห็นบรรยากาศการแข่งขันในการทำกลยุทธ์ด้านราคาและโปรโมชันของกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยน่าจะเป็นการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการเปิดใช้บริการของทั้งทางฝั่งของกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ การให้ส่วนลดสำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการในร้านค้าที่ร่วมรายการ การให้คูปองเงินสดสำหรับการเปิดใช้บัญชี การสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล เป็นต้น” 

 

 

]]>
1295694
ยุคนี้ใครจะรอ! ส่องพฤติกรรมสังคม “ออนดีมานด์” บริการโดนใจ “ช้อปปิ้งออนไลน์-โมบายแบงกิ้ง” https://positioningmag.com/1247802 Fri, 27 Sep 2019 00:55:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247802 ปัจจุบันอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วโลกอยู่ที่ 55% ขณะที่ประเทศไทยสูงกว่าโดยอยู่ในระดับ 79% การก้าวเข้าสู่สังคม 5.0 ที่มี “มือถือ” เป็นอุปกรณ์คอนเนคทุกอย่าง ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้กลายเป็น Nowness ไม่ใช่แค่ของมันต้องมี แต่ต้องได้ ต้องมีเดี๋ยวนี้ เป็นยุคของ On-Demand เต็มรูปแบบ และเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องทรานส์ฟอร์มตามให้ทัน!

“มีเดียคอม ประเทศไทย” จัดสัมมนา MediaCom BLINK_live Thailand ปี 2019 เพื่ออัพเดทเทรนด์สื่อดิจิทัลและการสื่อสารการตลาด ในยุคสังคม On-demand พร้อมนำเสนอผลวิจัย “ยุคนี้…ใครจะรอ ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อเข้าสู่สังคม 5.0”

เอกดนัย ยุกตะนันท์ ผู้อำนวยการแผนกบริหารธุรกิจ มีเดียคอม (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลว่าแนวโน้มการเติบโตของจำนวนประชากรออนไลน์ไทย ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นรูปแบบ “ออน ดีมานด์” มากขึ้น หรือเรียกได้ว่า Thailand Land of Demanded Connection

จุดเริ่มต้นของ “ออน ดีมานด์” มาจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ จากนั้นพัฒนาสู่รูปแบบอื่นๆ เช่น ช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว จองตั๋วออนไลน์ Food Delivery ถือเป็นบริการออน ดีมานด์ ที่คนไทยใช้มากที่สุด

หากเปรียบเทียบจากปี 2018 ในปี 2019 พบว่าบริการออน ดีมานด์ มีอัตราการเติบโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การจ่ายบิลผ่านมือถือ เพิ่มขึ้น 160% โมบาย แบงกิ้ง การโอนเงิน จองตั๋วต่างๆ เพิ่มขึ้น 67% ออนไลน์ ช้อปปิ้ง เติบโต 100% การซื้อสินค้าโดยไม่ได้วางแผนมาก่อน ปกติมีอัตราโตสูงอยู่แล้วในบางประเภทสินค้า และปีนี้ก็ยังเติบโตอีก 10% ฟังเพลงออนไลน์ 45% และ โซเชียล เน็ตเวิร์ก คนไทยมีการใช้งานสูงอยู่แล้ว ปีนี้ยังเติบโตได้อีก 17%

ช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่อง “สนุก”

จากการสำรวจผู้บริโภคพบว่ามี “แอปพลิเคชัน” ที่ใช้เวลามากที่สุดในแต่ละวัน เพื่อตอบสนองความบันเทิง คือ

  • YouTube นอกจากดูวีดิโอคอนเทนต์แล้ว ยังเปิดฟังเพลงแทนวิทยุ
  • Lazada/Shopee พฤติกรรมชาวออนไลน์ที่เข้ามาร์เก็ตเพลสวันนี้ บอกว่าเหมือนเป็นการไปเดินห้างในอดีต เพราะเป็น “เวอร์ชวล ช้อปปิ้ง มอลล์” ที่มีสินค้าให้เลือกซื้อจำนวนมาก เป็นแอปที่เข้าไปพักผ่อน ไปดูสินค้าเรื่อยๆ บางครั้งดูกับครอบครัว หรือดูเป็นกลุ่ม การตัดสินใจซื้อสินค้า ไม่ใช่เรื่องราคา เพราะรู้ว่าทุกรายราคาไม่ต่างกัน แต่ตัดสินใจซื้อจากบริการ ตอบคำถามและให้ข้อมูลต่างๆ หากตอบเร็วไม่เกิน 5 นาทีจะตัดสินใจซื้อทันที
  • Instagram เรียกได้ว่าการใช้งานโตแซงหน้าเฟซบุ๊กไปแล้ว ผู้บริโภคบอกว่าเลือกดูและหาคอนเทนต์ได้ง่ายกว่า
  • Facebook เป็นโซเชียล เน็ตเวิร์ก ที่มีการใช้งานสูงอยู่แล้ว แต่คนเริ่มรู้สึกว่ามีคอนเทนต์ดราม่ามากขึ้น จึงหันไปเสพข้อมูลจากอินสตาแกรมแทน

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของแอปในกลุ่ม Entertainment จาก ปี 2018 ช้อปปิ้ง ออนไลน์  เป็นเรื่องของความสะดวก แต่ปี 2019 เป็นเรื่องของความสนุกและบางครั้งเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม

ดังนั้น “แบรนด์” จึงมีโอกาสได้ลูกค้าใหม่ๆ โดยต้องพัฒนาคอนเทนต์ที่สร้างความสนุกสนาน เพื่อดึงคนให้ใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มให้นานขึ้น สร้างโอกาสในการซื้อสินค้า เป็นการสร้างความรู้สึกให้อยากช้อปปิ้ง ไม่ใช่แค่มาซื้ออะไร จะเห็นได้ว่า Lazada มีนโยบายเรื่อง “Shoppertainment” หรือ “Retail-tainment” (Retail + Entertainment) ชัดเจน เพื่อดึงให้คนอยู่ในแพลตฟอร์มนานขึ้น เพราะนั่นคือ “โอกาส” จากการขาย

เทรนด์ Up-Skill และ Re-Skill

นอกจากพฤติกรรมใช้ “แอป” เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพื่อความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง อัพเดทข่าวและเทรนด์ต่างๆ แล้ว คนไทยมีพฤติกรรมเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จากแอปกลุ่มนี้ จากการสำรวจมีสัดส่วนถึง 50% ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ทักษะเพื่อทำอาชีพ เช่น คลิปสอนทำน้ำผลไม้ ทำอาหาร ฝึกภาษาอังกฤษ ฟัง Podcast เรียนรู้ธุรกิจ เป็นการใช้แอป เพื่อ Up-Skill และ Re-Skill

การเปลี่ยนแปลงจากปี 2018 ที่เดิมพฤติกรรมการเสพคอนเทนต์ “ออน ดีมานด์” เป็นสิ่งที่ให้ความบันเทิง แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องของการ Up-Skill และ Re-Skill เพื่อพัฒนาความรู้และโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ หากแบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค จะผลักดันให้ก้าวไปสู่ Brand Love ได้

“โมบาย แบงกิ้ง” คือ Basic Needs

ปัจจุบัน Mobile Banking เป็นแอป ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวัยจากการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด และเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ “ออน ดีมานด์” ได้ดีกว่าเดิม โดยเฉพาะการโอนเงิน จากเดิมที่มีลิมิตในการโอน แต่ปัจจุบันไม่มีอีกต่อไป เพราะทุกอย่างอยู่ในมือ จะโอนเงินครั้งละ 5 บาท ก็ทำได้

จากการสำรวจกลุ่มนักศึกษา บอกว่าใช้โมบาย แบงกิ้ง โอนเงินจ่ายค่าอาหารร้านค้าในโรงเรียนทุกวันผ่านคิวอาร์โค้ด  คนต่างจังหวัดก้าวสู่สังคม Cashless ไม่ต่างในเมือง เพราะไม่มี ATM กระจายในทุกที่เหมือนกรุงเทพฯ บางคนยกเลิกใช้บัตร ATM เพราะไม่ต้องการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมบัตรและใช้โมบาย แบงกิ้งแทน

แต่ก็พบว่าบางคนที่ใช้โมบาย แบงกิ้ง มักจะใช้เกินวงเงินที่ตั้งใจใช้จ่ายเสมอ เพราะมีบัญชีในมือที่สามารถจ่ายได้ จึงตัดสินใจซื้อสินค้าได้รวดเร็ว

จากปี 2018 ที่โมบาย แบงกิ้ง คือความสะดวกสบาย แต่ปี 2019 จึงกลายเป็นความต้องการพื้นฐาน (Basic Needs) ที่เกิดจากการใช้งานทุกวันทุกที่ทุกเวลา ในมุมของโอกาสแบรนด์อาจเสนอรูปแบบการช้อปปิ้งใหม่ๆ โดยมีเงื่อนไขจ่ายเงินที่หลัง ไม่ต้องรอซื้อช่วงเงินเดือนออก.

เอกดนัย ยุกตะนันท์
]]>
1247802
คนไทยพร้อมแค่ไหน สังคมไร้เงินสด? https://positioningmag.com/1200744 Sat, 01 Dec 2018 09:59:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1200744 ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคนไทยคงคุ้นเคยกับคำว่า “สังคมไร้เงินสด” หรือ Cashless society ที่รัฐบาลเป็นตัวตั้งตัวดีในการผลักดัน ก่อนที่ภาคธนาคารจะออกมาขานรับ จนเป็นที่มาของการโปรโมททั้ง Mobile Banking และการจ่ายเงินผ่าน QR Code กันอย่างครึกโครม

จนถึงวันนี้คนไทยพร้อมแค่ไหนกับ “สังคมไร้เงินสด” ? ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล และนีลเส็น จึงได้จัดทำผลวิจัย The Future of Payments  อนาคตแห่งการใช้จ่าย” เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือในไทย ในเดือนกันยายน 2018 

มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน อายุระหว่าง 18 – 65 ปี ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วย Generation Z (อายุระหว่าง 18 – 21 ปี)มิลเลนเนียล (อายุระหว่าง 22 – 37 ปี), Generation X (อายุระหว่าง38 – 50 ปีและกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (อายุระหว่าง 51 – 65 ปี)  อย่างละ 100 คนโดยแบ่งจำนวนเพศชายและหญิงในสัดส่วนที่เท่ากัน

ผลวิจัยพบพฤติกรรมการชำระเงินผ่านมือถือในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างใช้บริการชำระเงินผ่าน 3.1 แพลตฟอร์ม ที่น่าสังเกตคือ Gen Z ใช้น้อยกว่าราว 2.5 แพลตฟอร์มเท่านั้น

โดยเกือบ 1 ใน 4 (ร้อยละ 22) ใช้จ่ายผ่าน 3 วิธีการชำระเงินผ่านมือถือหลักๆ ได้แก่ คิวอาร์โค้ด การโอนเงินแบบ Peer-to-Peer (P2P) และการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless)

ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นทัศนคติของผู้บริโภคโดยรวมที่เป็นบวกเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้เงินสด  โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการสนับสนุนให้คนรู้จักหันมาใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

ผู้บริโภคร้อยละ 71 กล่าวว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะแนะนำการชำระเงินผ่านมือถือให้กับครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป ในขณะที่ร้อยละ 91 บอกว่า ยินดีที่จะสอนครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมงาน เกี่ยวกับการชำระเงินผ่านมือถือ หากพวกเขาพบกับอุปสรรค

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ (อายุระหว่าง 18-21 ปี) กลับมีความรู้สึกกระตือรือร้นน้อยกว่าผู้บริโภครุ่นอื่นๆ โดยมีเพียงร้อยละ 53 ของคนกลุ่มนี้ที่ระบุว่ารู้สึกตื่นเต้นที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยรวมที่ร้อยละ 70 นอกจากนี้ ผู้บริโภครุ่นใหม่ยังรู้สึกมั่นใจน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ (ร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยรวมที่ร้อยละ 61) หากต้องใช้ชีวิตในสังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบ

สาเหตุที่กลุ่ม Generation Z ให้ความสนใจเรื่องสังคมไร้เงินสดและการชำระเงินผ่านมือถือน้อยกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ นั้น เป็นเพราะผู้บริโภคกลุ่มนี้มีฐานรายได้และความสามารถในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ รวมถึงมีกำลังซื้อที่ไม่สูงมาก ทำให้การรับรู้เกี่ยวกับบริการด้านการชำระเงินผ่านมือถือในปัจจุบันจึงไม่สูงนักตามไปด้วย

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิธีการชำระเงินแบบต่างๆผลสำรวจเผยว่าเงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่ผู้บริโภคไทยรองลงมาคือคิวอาร์โค้ดซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 75 ระบุว่าชำระเงินด้วยวิธีนี้ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

ตามมาด้วยการโอนเงินแบบ P2P ซึ่งร้อยละ 67 กล่าวว่าเคยชำระเงินด้วยวิธีนี้ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ที่เหลือตามด้วย 48% ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต, 50% ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต และ 35% ชำระเงินผ่านเทคโนโลยีไร้สัมผัส

ผลสำรวจยังบอกอีกว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยหันมาใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือก็คือราคาถูกหรือมีสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าเช่นส่วนลดต่างๆและการสะสมแต้มเป็นต้น , สะดวกและรวดเร็ว

แต่ถึงจะข้อดีก็ยังพบอุปสรรคอยู่เช่นกันทั้งที่ร้านค้าที่รองรับมีจำนวนจำกัด , ต้องเติมเงินเป็นประจำ และการใช้เงินสดสะดวกกว่าเมื่อใช้จ่ายจำนวนน้อย ส่วนปัญหาความกังวลด้านความปลอดภัย ผลสำรวจกลับพอว่า กลุ่มอายุ 18-21 ปี มีความกังวลน้อยกว่ากลุ่มอายุ 51-65 ปี ซึ่งเป็นไปตามความเข้าใจทางเทคโนโลยี

สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่า ต้องใช้ระยะเวลา 12 ปีโดยเฉลี่ยก่อนที่สังคมไทยจะกลายเป็นสังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังเผยให้ทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามน้อยกว่าครึ่ง (ร้อยละ 43) ที่รู้สึกมั่นใจว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมไร้เงินสดในอนาคตอันใกล้

วินเซนต์ หลิง องผู้จัดการทั่วไปยูเนี่ยนเพย์อินเตอร์เนชั่นแนลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า 

แม้เส้นทางสู่สังคมไร้เงินสดไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน แต่ในขณะที่เรากำลังก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น การชำระเงินผ่านมือถือจะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่เงินสด ซึ่งก็เป็นโอกาสของ ยูเนี่ยนเพย์ด้วย”

เพราะเมื่อมีการถามกลุ่มตัวอย่างหากสามารถรวมบริการชำระเงินของธนาคารต่างๆมาไว้ในแพลตฟอร์มเดียวผู้บริโภคต้องการไหมซึ่ง 82% บอกว่าต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่สูงอายุขึ้นไป

ซึ่งบริการลักษณะนี้ยูเนี่ยนเพย์มีให้บริการอยู่แล้วชื่อแอพ UnionPay Unified App (แอพพลิเคชั่นที่รวมบริการชำระเงินของธนาคารชั้นนำต่างๆ ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว) เปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคมปี 2017 ตอนนี้มีเฉพาะในจีนและฮ่องกง มีผู้ใช้บริการแล้วจำนวนกว่า 100 ล้าน ส่วนจะเข้าไทยหรือไม่ คงต้องประเมินสถานการณ์อีกที.

]]>
1200744
“ซิตี้แบงก์” ยกเครื่อง Mobile Banking จุดพลุฝั่งบัตรเครดิต รูดปรื๊ดผ่าน App https://positioningmag.com/1195942 Tue, 06 Nov 2018 11:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1195942 Thanatkit

เมื่อ “Mobile Banking” เป็นอาวุธสำคัญสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยที่ใช้สู้ศึก และด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับการใช้บริการ ดังนั้น สเต็ปต่อไปจึงต้องพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ดึงดูดให้คนยังใช้งานต่อไป ไม่หนีไปหาธนาคารอื่นๆ ซึ่งตอนนี้สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุดคือ “ง่าย เร็ว และปลอดภัย”

ทั้ง 3 ข้อกลายเป็นใจความหลักที่ “ธนาคารซิตี้แบงก์” ใช้ยกเครื่อง Mobile Banking ใหญ่ครั้งที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อมาจากเวอร์ชั่นแรกที่เปิดตัวในปี 2016 โดยไม่ได้ระบุว่า ใช้เงินไปเท่าไหร่ในครั้งนี้ ด้วย “ซิตี้โมบายล์แอปพลิเคชัน” ถูกพัฒนาให้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกันทั่วโลก จึงถือเป็นงบลงทุนในภาพรวม

หลักๆ แล้ว UI (User Interface) หรือหน้าจอของผู้ใช้จะเหมือนกันในทุกประเทศ ยกเว้นฟีเจอร์ต่างๆ ที่แต่ละประเทศจะปรับเปลี่ยนกันเอง อย่างของในเมืองไทย ซิตี้แบงก์จะเริ่มจากฝั่งผู้ใช้งานบัตรเครดิตก่อน

เนื่องจากช่วงต้นปีที่ผ่านมาซิตี้แบงก์ได้รับโอน “ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและธุรกิจบัตรเครดิต” จากธนาคารทิสโก้จำกัด (มหาชน) ด้วยมูลค่า 6,900 ล้านบาท ทำให้มีฐานผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอีกราว 100,000 ราย

ฟีเจอร์ที่มีใน Mobile Banking เวอร์ชั่นใหม่ อาทิ การทำรายการเปลี่ยนวงเงินบัตรเครดิตให้เป็นเงินก้อนโอนเข้าบัญชี หรือเปลี่ยนยอดใช้บัตรโดยทำการแบ่งชำระยอดเป็นรายเดือน การระงับการใช้บัตรชั่วคราว และเปิดใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ หรือการเปลี่ยนรหัสเอทีเอ็มผ่านทางโทรศัพท์มือถือ

ส่วนฟีเจอร์ที่มีเฉพาะเมืองไทยคือการสแกนและจ่ายด้วยบัตรเครดิต (Scan and Pay) ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ การจ่ายผ่าน QR Code ซึ่งจะต่างจากบริการที่มีอยู่ในวันนี้ที่การจ่ายจะหักจากบัญชีผู้ใช้งานโดยตรง แต่ครั้งนี้จะหักผ่านบัตรเครดิต

ปัจจุบันร้านค้าที่รองรับจึงยังมีไม่มากนัก หลักๆ จะอยู่ในกรุงเทพฯ เช่นเดอะมอลล์ตลาดนัดรถไฟ หรือตลาด อ... เป็นต้น โดยบริการนี้ของซิตี้แบงก์ถือเป็นรายแรกของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ได้รับอนุญาต เปิดให้ใช้งานจากธนาคารแห่งประเทศไทย

นายประทีป คามัคค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายดิจิทัลแบงกิ้ง ธนาคารซิตี้แบงก์

ประทีป คามัคค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายดิจิทัลแบงกิ้ง ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า

“Mobile Banking เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้จะรวมเอาฟีเจอร์ทั้งในฝั่งของผู้ใช้รายย่อยและบัตรเครดิตมาไว้รวมกัน แต่เราพบว่า บางฟีเจอร์ก็ไม่จำเป็นกับผู้ใช้บัตรเครดิต จึงได้พัฒนาใหม่โดยแยกออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ง่ายและใช้เวลาในการทำธุรกรรมให้น้อยที่สุด ส่วนของผู้ใช้รายย่อย ก็จะพัฒนาเป็นเฟสต่อไป คาดว่าจะเปิดตัวได้ไม่เกินเมษายนปีหน้า”

ปัจจุบันซิตี้แบงก์มีฐานลูกค้าบัตรเครดิตทั้งหมด 1 ล้านราย ใช้งาน Mobile Banking 50% เฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อเดือน หลังจากยกเครื่องแล้วต้องการให้ใช้งานทั้ง 100% ภายใน 1-2 ปีนี้ และเพิ่มการใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนอีก 1 เท่าตัว

อย่างไรก็ตาม ปีนี้ซิตี้แบงก์มีการลงทุนที่มากกว่าปกติทุกปี ไม่ใช่แค่การซื้อพอร์ตบัตรเครดิตแต่ในฝั่งของการตลาดก็ใช้เงินมากกว่าที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ตั้งให้ สู่ขวัญ บูลกุล” มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ ซิตี้โกลด์ ซึ่งเป็นบริการการบริหารความมั่งคั่ง

ตามต่อด้วยการใช้เงินกว่า 100 ล้านบาท เปิดตัวบัตรเครดิตซิตี้ พรีเมียร์” เน้นเจาะกลุ่มผู้ที่ชอบการช้อปปิ้งและท่องเที่ยว โดยได้ชมพู่อารยา เอ ฮาร์เก็ต” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งซิตี้แบงก์ช่วยให้ยอดสมัครบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 25% ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์

นอกจากนี้เป็นสปอนเซอร์หลักของ MICHELIN Guide Thailand และ บุกเข้าไปในฝั่งแฟชั่นด้วยการจับมือกับ VATANIKA แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังของไทย ทำคอลเลกชั่นพิเศษโดยใช้รับแรงบันดาลใจมาจากลวดลายบนหน้าบัตรเครดิตซิตี้ พรีเมียร์ ซึ่งจัดแสดงในงาน แอล แฟชั่น วีค 2018 อีกด้วย.

]]>
1195942
แบงก์ชาติจี้แบงก์ยกระดับบริการ หลังโมบายแบงกิ้งล่ม https://positioningmag.com/1185790 Fri, 31 Aug 2018 10:49:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1185790 จากกรณีที่ระบบธนาคารบนมือถือ หรือโมบายแบงกิ้งของธนาคารชั้นนำต่างๆ ประสบปัญหาขัดข้อง ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ (31 .) ไม่สามารถทำธุรกรรมได้ โดยเฉพาะการโอนเงินต่างธนาคาร และการโอนเงินพร้อมเพย์

ส่งผลทำให้ประชาชนที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินในช่วงสิ้นเดือนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก จนเมื่อเวลาประมาณ 13.15 .ได้รับแจ้งว่าแอปพลิเคชั่นธนาคารต่างๆ สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว

สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงถึงสาเหตุว่าเกิดจากปริมาณธุรกรรมเกิดขึ้นจำนวนมากในช่วงเช้าและได้ส่งผลกระทบ ให้ลูกค้าไม่สามารถใช้ช่องทางการทำธุรกรรมในบางช่องทาง และทำให้มีลูกค้ารายที่โอนเงินและมีการตัดบัญชีไปแล้ว แต่ปลายทางได้รับเงินช้ากว่าปกติหรือยังไม่ได้รับเงิน

โดยเหตุการณ์นี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ธนาคารส่วนใหญ่ทยอยแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าวแล้ว และระบบสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว

สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและปลายทางไม่ได้รับเงินธนาคารจะปรับปรุงบัญชีให้ภายในวันที่ 1 กันยายน 2561 

ทางด้านแบงก์ชาติ ระบุว่า สาเหตุธนาคารขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มีปริมาณธุรกรรมข้ามธนาคารจำนวนมากเกิดปัญหาระบบขัดข้องทำให้เกิดรายการค้างรอจำนวนมาก ส่งผลกระทบไปยังธนาคารหลายแห่งให้เกิดการสะดุด หรือล่าช้าในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะบริการ mobile banking

รณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ติดตามแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง

โดยธนาคารดังกล่าวออกจากระบบกลาง เพื่อลดผลกระทบที่มีกับธนาคารอื่นให้สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้ตกลงกันไว้ ธปท.ได้กำชับธนาคารให้มีการดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทุกราย เช่น กรณีรายการโอนเงินไม่สมบูรณ์หรือไม่ได้รับเงินทันที

นอกจากนี้ ธปท.ได้สั่งการธนาคารที่มีปัญหาให้มีแผนการยกระดับศักยภาพความสามารถในการให้บริการ เพื่อรองรับธุรกรรมที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ขณะนี้ระบบส่วนใหญ่ของธนาคารได้ทยอยเปิดให้บริการได้ตามปกติแล้ว.

]]>
1185790
ปลดล็อก ฟรีค่าธรรมเนียม ศึกครั้งใหม่ในสงครามดิจิทัล https://positioningmag.com/1164161 Sun, 01 Apr 2018 07:13:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164161 ต้องถือว่าเป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญของแบงก์ไทย ที่พร้อมใจกันประกาศกลยุทธ์ “ฟรีค่าธรรมเนียม” การโอนเงิน จ่ายบิล เติมเงิน เมื่อทำธุรกรรมเหล่านี้ผ่านช่องทาง “ดิจิทัล” ของธนาคาร

ธนาคารทุกรายให้เหตุผลคล้ายกันว่า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล สนับสนุนการลดใช้เงินสด แม้จะกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมบ้าง

เริ่มจากแบงก์ใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ จากนั้นแบงก์ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ธนาคารเกียรตินาคิน ก็ต้องให้บริการฟรี ส่วนธนาคารกสิกรไทย จากที่เคยให้ฟรีถึงสิ้นปี ก็ต้องเปลี่ยนนโยบาย ให้ฟรีไม่มีกำหนด หลังจากที่แบงก์คู่แข่งออกมาประกาศฟรีถาวร

ล่าสุดผู้บริหารของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ต้องประชุมด่วนตัดสินใจยกเลิกค่าธรรมเนียม ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อรักษาลูกค้าไว้ และยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้กระทบธนาคารพอสมควร

การประกาศฟรีค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางดิจิทัลของธนาคารรอบนี้ ทำเอาราคาหุ้นของธนาคารก็ตกลงทั้งแผง เพราะส่งผลกระทบต่อรายได้ของแบงก์ ที่มีรายได้ค่าธรรมเนียม 1.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของรายได้ทั้งหมด แต่ถ้าดูเฉพาะรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางดิจิทัล ยังมีสัดส่วนไม่ถึง 10%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธนาคารจะสูญเสียรายได้มากถึง 9,000 ล้านบาทต่อปี หรือเติบโต 2-3% จากยอดรวมรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งหมดในปีที่แล้ว (2560) 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโต 7.1%

ส่วน บล. ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินจากใช้บริการ Mobile Banking ที่มีอยู่เฉลี่ยประมาณ 80% กระจุกตัวในธนาคารขนาดใหญ่ โดยกสิกรไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในกลุ่ม Mobile Banking ประมาณ 7.3 ล้านราย หรือ 26% ของผู้ใช้ Mobile Banking ทั้งหมด

ขณะที่ธนาคารมีรายได้จากการโอนเงินประมาณ 20% ของรายได้ค่าธรรมเนียมมีเพียง ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY ที่เปิดเผยผลกระทบจาก National E-Payment (รวมถึง Internet Banking, Mobile Banking และ Prompt-Pay) ว่า อยู่ที่ประมาณ 6% และ 2% ของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย และประมาณ 7% และ 3% ของกำไรสุทธิตามลำดับ

ส่งผลให้กำไรสุทธิของธนาคารกสิกรไทยลดลงประมาณ 7% เป็น 3.78 หมื่นล้านบาท

จากคาดการณ์เดิมที่ 4.08 หมื่นล้านบาท ธนาคารอื่นๆ ลดหลั่นลงเนื่องจากธนาคารอื่นมีรายได้ค่าธรรมเนียมจากการโอนผ่าน Mobile Banking ไม่มากนัก

ธนาคารเองก็รู้ดีว่าต้องเจอกับสถานการณ์แบบนี้ แต่มองว่าธนาคารได้ประโยชน์จากการลดต้นทุนบริหารจัดการเงินสด เมื่อลูกค้าหันไปโอนเงินผ่านมือถือ

เหมือนอย่างที่ ธนา เธียรอัจฉริยะ‘ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มองว่า การประกาศฟรีค่าธรรมเนียมผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือนั้นได้รับผลกระทบน้อยมาก เพราะค่าธรรมเนียมหลักๆ อยู่ที่บริการกลุ่มอื่นๆ เช่น เอทีเอ็ม บริการหน้าเคาน์เตอร์ แต่ถ้าเทียบกับลูกค้าใหม่ที่ได้มาแล้วถือว่า คุ้มค่า เพราะในอนาคตฐานลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมาก

ปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์ มียอดผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ กว่า 6.5 ล้านราย มียอดใช้งานแอคทีฟกว่า 75% และมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ย 150 ล้านธุรกรรมต่อเดือน ซึ่งการประกาศฟรีค่าธรรมเนียม เพื่อต้องการให้คนเข้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น และคาดหวังว่าลูกค้าจะใช้งานอย่างต่อเนื่อง

คู่แข่งของธนาคาร ไม่ใช่ธนาคารด้วยกัน แต่เป็นนอนแบงก์ ผู้ให้บริการ อีมันนี่ รวมทั้งแอปพลิเคชั่นที่จ่ายเงินและปล่อยกู้ได้ เช่น GrabPay รวมถึงฟินเทครายใหม่ที่เป็นคู่แข่งและให้บริการไม่มีค่าธรรมเนียม

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องใช้ความได้เปรียบในเรื่องฐานลูกค้าที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งลูกค้าเหล่านี้คุ้นเคยกับธนาคารดีอยู่แล้ว ให้ลูกค้าให้หันมาใช้บริการบนแพลทฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร แบบไม่ลังเลอีกต่อไป

เมื่อได้ฐานผู้ใช้มาแล้ว โอกาสที่จะขยายไปทำธุรกรรมประเภทอื่นๆ ของธนาคารก็จะตามมา และที่สำคัญ คือ “ข้อมูล” ที่ใช้ในการสร้าง “บิ๊กดาต้า” นำมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำไปต่อยอด ออกแบบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง

เหมือนอย่างฟินเทคยักษ์ใหญ่ที่ก้าวเข้าสู่โลกของธนาคาร ก็ด้วยบิ๊กดาต้าที่มาจากการนำพฤติกรรมลูกค้ามาใช้วิเคราะห์ และนำเสนอบริการได้ตรงจุดมากที่สุด เป็นการฉีกจากรูปแบบเดิมๆ ของธนาคาร เช่น การปล่อยสินเชื่อ ที่ดูจากพฤติกรรมการชำระหนี้ของผู้ใช้ ไลฟ์สไตล์ นำมาประกอบในการตัดสินใจ

รวมไปถึงการสร้างธุรกิจใหม่ อย่าง อี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเวลานี้อยู่ในมือของบริษัทข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีตัวเลือกในการชำระเงินมากมาย จากบริการของนอนแบงก์

ธนาคารจึงปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการแยกหน่วยงานออกมามุ่งเน้นเรื่องของเทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นหลัก คิดเองไม่พอ ต้องหาคนรุ่นใหม่ๆ มาช่วยคิด ทำโครงการเฟ้นหา “สตาร์ทอัพ” ฟินเทค ที่ดูเข้าตา เพื่อจับมือกันต่อยอดบริการในอนาคต

โจทย์ใหญ่ของทุกธนาคารเวลานี้ จึงอยู่ที่การย้ายลูกค้าเดิม หาลูกค้าใหม่ไปใช้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มากที่สุด และนี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ.

]]>
1164161