Bloomberg รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวใกล้ชิด ระบุว่า Vingroup บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเวียดนาม เตรียมการจะส่งบริษัทลูกอย่าง ‘VinFast’ เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก
ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม กำลังอยู่ในช่วงดำเนินงานร่วมกับที่ปรึกษา โดยคาดว่าข้อเสนอดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในไตรมาสนี้ เเละประเมินว่าการระดุมทุน IPO ของ VinFast อาจเพิ่มขึ้นสูงสุดเเตะ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.4 หมื่นล้านบาท)
ขณะที่แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ Reuters ว่ากลุ่มธุรกิจของ Vingroup ซึ่งมีอยู่หลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งเเต่อสังหาริมทรัพย์ไปจนถึงสมาร์ทโฟนกำลังทำงานร่วมกับ Credit Suisse HongKong เพื่อเสนอขาย IPO ในครั้งนี้
หลังจากมีกระเเสข่าวนี้เผยเเพร่ออกมา ส่งผลให้หุ้นของ Vingroup เพิ่มขึ้นมากถึง 5.3% (ณ วันที่ 13 เมษายน) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้มูลค่าตลาดของบริษัทพุ่งขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.27 เเสนล้านบาท)
ในช่วงเเรก Vingroup ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนี้ เเต่ต่อมาได้ออกมาชี้เเจงว่า บริษัทกำลัง ‘กำลังพิจารณาหาโอกาสในการระดมทุน’ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งรูปเเบบ IPO หรือ SPAC (บริษัทที่สร้างขึ้นมาเพื่อระดมเงินทุนไปซื้อบริษัทอื่น) เเต่การระดมทุนใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นสภาวะตลาด
VinFast เพิ่งเปิดตัว ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ขับเคลื่อนอัตโนมัติ 3 รุ่นใหม่ ได้แก่ VF31 ,VF32 และ VF33 ในเวียดนาม เเละกำลังจะส่งไปทำตลาดในสหรัฐฯ แคนาดาและยุโรปในปีหน้า โดยกำลังมองหาโอกาสที่จะเปิดโรงงานใหม่ในอเมริกาด้วย
นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่เเล้ว มีกระเเสข่าวว่า Vingroup กำลังเจรจากับ Foxconn ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน เพื่อร่วมมือเป็นพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ากับเเบรนด์ VinFast
]]>
โดยรัฐบาลตั้งเป้าจะกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ด้วยการช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ 6,000 ยูโรต่อคัน (ราว 215,000 บาท) รวมถึงจะเพิ่มภาษีรถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิลให้สูงกว่าภาษีรถยนต์พลังงานทางเลือก เช่นจะขึ้นภาษีรถ SUV คันใหญ่ที่ก่อมลภาวะ
ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลเยอรมนีครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังคู่เเข่งในวงการผู้ผลิตยานยนต์อย่าง “ฝรั่งเศส” ประกาศเเผนทุ่มเงินกว่า 8,000 ล้านยูโร (ราว 2.8 เเสนล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ตั้งเป้าเป็นเบอร์หนึ่ง ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของยุโรป โดยจะจูงใจประชาชนด้วยการมอบเงิน 7,000 ยูโร (ราว 2.4 เเสนบาท) ให้กับบุคคลทั่วไปที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนบริษัทที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไปใช้ในองค์กรจะได้รับเงินสนับสนุน 5,000 ยูโร (ราว 1.7 เเสนบาท) ต่อคัน
อ่านเพิ่มเติม : เปิดเเผน “ฝรั่งเศส” อัดงบฟื้นอุตฯยานยนต์ หวังพลิกวิกฤตสู่เบอร์ 1 รถยนต์ไฟฟ้าเเห่งยุโรป
เเต่การผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย…จากข้อมูลจากกรมขนส่งเยอรมนี ระบุว่า จากจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่จดทะเบียนในเดือนพฤษภาคมที่ 168,148 คัน มีเพียง 3.3% เท่านั้นที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า เเละตลอดทั้งปี 2019 มีรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ในประเทศเพียง 1.8% ขณะที่รถยนต์ดีเซลและเบนซินมีสัดส่วนถึง 32% และ 59.2% ตามลำดับ
Diego Biasi ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง Quercus Real Assets ให้ความเห็นกับ Reuters ว่า เหตุผลหลักกว่า 97% ของคนที่ไม่เลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า มาจากความกังวลที่มีต่อการชาร์จแบตเตอรี่ ดังนั้นการที่รัฐบาลกำหนดให้ทุกปั๊มน้ำมันมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นการคลายความกังวลของประชาชนได้ดี เพราะพวกเขาจะอุ่นใจขึ้นว่ามีปั๊มน้ำมันเปิดอยู่เสมอ
ข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานและน้ำของเยอรมนี (BDEW) ระบุว่า เพื่อให้ครอบคลุมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตตามเป้าหมาย ควรมีสถานีชาร์จอย่างน้อย 70,000 แห่ง และสถานีชาร์จเร็วอีก 7,000 เเห่ง โดยปัจจุบันมีสถานีชาร์จอยู่ 28,000 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่จำนวนสถานีบริการน้ำมันลดลงเหลือ 14,118 แห่งในปี 2020 จากจำนวน 40,640 แห่งในปี 1965
ทั้งนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศว่าจะมีสถานีชาร์จไฟฟ้า 1 ล้านแห่งทั่วประเทศให้ได้ภายในปี 2030
]]>