property – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Dec 2023 05:42:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Oxford Economics คาดปัญหาภาคอสังหาฯ จีน อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 ปีในการแก้ไข https://positioningmag.com/1454629 Thu, 07 Dec 2023 03:43:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454629 บทวิเคราะห์จาก Oxford Economics คาดการณ์ว่าปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 ปีในการแก้ไข ขณะเดียวกันก็มองว่าในบางมณฑลในประเทศอาจต้องใช้เวลายาวนานถึง 20 ปีด้วยซ้ำ แต่ก็มองว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่ลุกลามไปยังภาคเศรษฐกิจในส่วนอื่น

CNBC รายงานข่าวโดยอ้างอิงบทวิเคราะห์จาก Oxford Economics ว่าปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนที่กำลังสร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจในเวลานี้ อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 ปีในการแก้ไขปัญหา ถ้าหากไม่มีการเพิ่มจำนวนอสังหาริมทรัพย์เข้าไปในระบบ

รายงานจาก Oxford Economics ยังชี้ว่า ถ้าหากอิงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงค้าง หรือแม้แต่อัตราการก่อสร้างต่อการขายอสังหาริมทรัพย์ ทำให้คาดว่าบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนจะใช้เวลาอย่างน้อย 4 ในการระบายอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่มหาศาลออกไป

ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนนั้นเคยมีการคาดการณ์ว่ามีขนาดมากกว่า 15% ของ GDP ประเทศจีน ทำให้ปัญหาดังกล่าวนั้นมีทั้งความยุ่งเหยิง และยังต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาดังกล่าว

รัฐบาลจีนมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้มีการออกมาตรการหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็น ถ้าหากครัวเรือนที่ไม่มีบ้านที่จดทะเบียนภายใต้สมาชิกครอบครัวคนใดคนหนึ่งสามารถนับเป็น “ผู้ซื้อบ้านครั้งแรก” ได้ ทำให้บุคคลเหล่านี้สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านครั้งแรกได้ถูกกว่าเดิม

นอกจากนี้ยังมีการออกมาตรการอัตราการผ่อนคลายให้ผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้จ่ายเงินดาวน์เพียงแค่ 35% เท่านั้น ในบางเมือง ซึ่งจะทำให้ครัวเรือนที่ต้องการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมไม่ต้องใช้เม็ดเงินมากนัก จากเดิมที่ต้องใช้เม็ดเงินมากถึง 70% ของราคาอสังหาฯ

รัฐบาลจีนยังหาทางในการเพิ่มเงินทุนแก่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงความพยายามอื่นๆ ที่จะแก้ไขเรื่องโครงการอสังหาฯ ที่สร้างไม่เสร็จ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงเวลานี้ เนื่องจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของจีนเองใช้โมเดลขายก่อนสร้าง ทำให้หลายโครงการนั้นแม้จะมีผู้จ่ายเงิน แต่ถ้าหากโครงการยังขายได้ไม่หมดก็จะไม่มีการก่อสร้าง

Oxford Economics ยังชี้ว่าในบางมณฑลอย่าง มณฑลเจียงซี มณฑลเหอเป่ย การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้แล้วเสร็จทั้งหมด อาจต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี แต่บางมณฑลอาจเลวร้ายกว่านั้น เช่น กรณีของ มณฑลกุ้ยโจว ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลนั้นรายงานดังกล่าวคาดว่าอาจต้องใช้เวลาถึง 20 ปี

อย่างไรก็ดี Oxford Economics มองว่าปัญหาภาคอสังหาฯ จีน จะไม่ลุกลามไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นจนสร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจคล้ายกับสหรัฐอเมริกา สเปน หรือไอร์แลนด์ ที่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยาวนานในระดับ 10-15 ปี โดยมองว่ารัฐบาลจีนมีเครื่องมือที่แก้ไขปัญหาได้

]]>
1454629
ชาวจีนมีฐานะเตรียมย้ายที่อยู่หลังเปิดประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย คือเป้าหมายหลัก https://positioningmag.com/1415515 Mon, 16 Jan 2023 06:33:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415515 สื่อจากฮ่องกงได้รายงานถึงชาวจีนที่มีฐานะนั้นเริ่มสนใจที่จะมาอาศัยระยะยาวในประเทศไทย มาเลเซีย รวมถึงสิงคโปร์ หลังจากที่จีนได้ประกาศเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ ไม่เพียงเท่านี้ชาวจีนหลายรายนั้นต้องการที่จะย้ายออกจากประเทศจีนเป็นการถาวรอีกด้วย

South China Morning Post รายงานข่าวว่าชาวจีนที่มีฐานะสนใจที่ย้ายที่อยู่ หรือท่องเที่ยวเป็นระยะเวลายาว โดยประเทศเป้าหมายที่ชาวจีนเหล่านี้สนใจได้แก่ ไทย สิงคโปร์ รวมถึงมาเลเซีย หลังจากที่ชาวจีนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการโควิดเป็นศูนย์ซึ่งส่งผลทำให้พวกเขาเหล่านี้ไม่สามารถที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศได้อย่างสะดวกในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

หลังจากที่จีนได้ประกาศเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมานั้น ชาวจีนหลายคนเริ่มที่จะติดต่อนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ไทย สิงคโปร์ รวมถึงมาเลเซีย นอกจากนี้ยังรวมถึงนายหน้าที่เกี่ยวข้องกับการอพยพย้ายถิ่นฐานก็ได้รับการติดต่อจากชาวจีนเหล่านี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวจีนเหล่านี้ต้องการออกมาอยู่นอกจีนระยะยาวหรือย้ายถิ่นฐานเลยนั้นมาจากเรื่องนโยบายเศรษฐกิจในประเทศจีนจากมาตรการโควิดเป็นศูนย์ที่ได้สร้างผลกระทบมหาศาลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งมาตรการดังกล่าวท้ายที่สุดได้ยกเลิกไป เนื่องจากการประท้วงของประชาชนตามเมืองต่างๆ

สื่อจากฮ่องกงรายนี้ยังรายงานว่าชาวจีนหลายคนเองไม่ใช่แค่อยู่อาศัยระยะยาวเท่านั้น แต่การเปิดประเทศครั้งนี้จะทำให้เขาย้ายออกจากประเทศจีนมาเริ่มต้นชีวิตใหม่นอกจีนแผ่นดินใหญ่ โดยในสิงคโปร์นั้นจากข้อมูลผู้ให้บริการรายหนึ่งปริมาณชาวจีนที่ขอข้อมูลเพื่อการอพยพมาตั้งถิ่นฐานนั้นสูงถึง 30% ซึ่งคนที่ขอข้อมูลนั้นส่วนใหญ่เป็นเหล่ามหาเศรษฐีที่ต้องการย้ายออกนอกจีนถาวร

ขณะที่ชาวจีนที่มีฐานะรองลงมาก็สนใจในการตั้งถิ่นฐานหรืออาศัยระยะยาวในประเทศอย่างมาเลเซีย หรือไทย ซึ่งทั้ง 2 ประเทศนั้นมีวีซ่าระยะยาวสำหรับชาวต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในมาเลเซีย หรือวิธีการนำเงินเข้ามาฝากในประเทศในจำนวนที่กำหนด ก็สามารถที่จะขอวีซ่าระยะยาวได้

แต่ในกรณีของประเทศไทยนั้น แม้ว่าไทยเองจะต้องการชาวจีนกระเป๋าหนักเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ทนายรายหนึ่งที่ทำเรื่องการย้ายถิ่นฐานได้กล่าวกับสื่อฮ่องกงรายนี้ว่าปัญหามาเฟียจีนในประเทศไทยที่มีข่าวในช่วงที่ผ่านมาส่งผลทำให้การขอวีซ่าระยะยาวของชาวจีนที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นยากมากกว่าเดิม

]]>
1415515
เปิด 4 เทรนด์อนาคตแห่ง “การอยู่อาศัย” จากงานวิจัยถ่ายทอดแนวคิดสู่โครงการอสังหาฯ ของ MQDC ภายใต้แนวทาง ‘For All Well-Being’ https://positioningmag.com/1288003 Thu, 16 Jul 2020 10:00:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288003

FutureTales Lab และ RISC สองศูนย์วิจัยในเครือ MQDC วิจัยพบ 4 เทรนด์การอยู่อาศัยที่สำคัญและส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ความต้องการพื้นที่มากกว่าความสะดวก, เศรษฐกิจติดบ้าน, ประชากรเพื่อโลกอนาคต และ แนวคิดผู้สูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัย สู่การออกแบบที่ตอบโจทย์ในทุกโครงการที่อยู่อาศัยของ MQDC พร้อมเปิดอาณาจักร “เดอะ ฟอเรสเทียส์” (THE FORESTIAS) โครงการบนถนนบางนา กม.7สร้างขึ้นเพื่อความยั่งยืน

“วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า บริษัทได้จัดตั้งศูนย์วิจัยขึ้นมา 2 แห่ง เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความต้องการ และการตัดสินใจเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในระยะยาวของผู้บริโภค สำหรับนำไปเป็นฐานคิดก่อนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตามแนวทาง ‘For All Well-Being’ สร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสรรพสิ่งบนโลกอย่างยั่งยืน

โดยศูนย์วิจัย 2 แห่งดังกล่าว ได้แก่ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab) ทำการวิจัยเกี่ยวกับเทรนด์อนาคตเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และนำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นประโยชน์เผยแพร่สู่สาธารณะ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center – RISC) ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับลูกค้า ตามคอนเซ็ปต์ For All Well-Being เช่น วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม

4 เทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคต

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) เปิดเผยถึงผลวิจัยของ FutureTales Lab พบว่า แนวความคิดของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อบ้านในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

1) Prioritizing Space Over Convenience คนเราจะใส่ใจกับพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น มากกว่าความสะดวกในการเดินทาง เพราะสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะส่งผลต่อการทำงานในอนาคต คนเราสามารถทำงานที่บ้านได้ ดังนั้น การตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยจึงไม่จำเป็นต้องอยู่กลางใจเมือง อาจจะเปลี่ยนจากการเลือกคอนโดมิเนียมขนาดเล็กใกล้รถไฟฟ้า มาเป็นบ้านนอกเมืองที่มีพื้นที่มากขึ้น มีสวนหย่อม ไปจนถึงการเลือกเปลี่ยนบ้านพักตากอากาศมาเป็นที่อยู่อาศัยประจำ

2) Everything at Home หรือ เศรษฐกิจติดบ้าน จากปัจจัยเดียวกันคือ ‘โรคระบาด’ ทำให้ผู้คนเคยชินกับการ Work From Home และทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้าน ความเคยชินนี้ส่งผลในทางเดียวกับข้อแรกคือคนต้องการพื้นที่ในบ้านสูงขึ้น แม้แต่คอนโดฯ ก็อาจจะเน้นให้มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีพื้นที่ส่วนกลางเพียงพอ สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้เหมาะสม เช่น ทำอาหาร ออกกำลังกาย

3) Citizen of The Future ประชากรกลุ่มเจนเนอเรชัน Z (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1997-2012) จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลกับวิถีของโลก ลักษณะสำคัญของประชากรกลุ่มนี้คือ ใช้ชีวิตกับเทคโนโลยีตลอดเวลา และให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ต้องการช่วยปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น คนกลุ่มเจนฯ Z จะนิยมผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ดีขึ้น

4) Age-In-Place ผู้สูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากมีประชากรเจนฯ ใหม่แล้ว ประชากรผู้สูงวัยก็จะมีอายุยืนยาวขึ้น และวัตถุประสงค์การใช้ชีวิตของผู้สูงวัยคือต้องการการดูแลทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพอารมณ์ ดังนั้นต้องมีการช่วยเหลือดูแลที่เหมาะสมตามวัย และได้อยู่ร่วมกับครอบครัว เพื่อน และชุมชนที่จะเป็นรากฐานทำให้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

จากเทรนด์การอยู่อาศัยเหล่านี้ เชื่อมโยงมาสู่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ นำโดย “รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต” หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ยกตัวอย่างเทรนด์การดูแลสิ่งแวดล้อมของโลกนั้น RISC ได้พัฒนาการออกแบบโครงการเพื่อให้ใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าที่สุด เป็นที่มาของ MQDC Standard การออกแบบที่ช่วยป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ในระยะยาว โดยหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุบางอย่างอย่างเด็ดขาดเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบก่อสร้างตามหลัก Sustainovation

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือการดูแลเรื่องคุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพมนุษย์ ทำให้ทุกโครงการของ MQDC ตั้งแต่ปี 2561 จะมีการติดตั้งเครื่อง ERV หรือ Energy Recovery Ventilation ช่วยถ่ายเทหมุนเวียนอากาศดีเข้ามาในที่อยู่อาศัยและเพิ่มปริมาณออกซิเจน ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ก็สามารถติดตั้งแผ่นกรอง PM 2.5 เพิ่มเข้าไปได้

นำไปใช้ในทุกโครงการของ MQDC

วิสิษฐ์กล่าวต่อว่า จากการค้นคว้าของศูนย์วิจัยในเครือ MQDC ทำให้บริษัทสามารถนำแนวคิดเหล่านี้ไปพัฒนาโครงการเมกะโปรเจ็กต์ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” (THE FORESTIAS) โดยโครงการนี้เป็นโครงการที่มีป่าธรรมชาติ 30 ไร่อยู่ภายใน พร้อมพื้นที่สีเขียวปกคลุมมากกว่า 70% ของโครงการ ช่วยลดความเครียดและสร้างสุขภาวะที่ดี

เดอะ ฟอเรสเทียส์ยังมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม ทั้งคอนโดฯ วิสซ์ดอม (Whizdom) สำหรับคนวัยทำงาน บ้านเดี่ยวแบบคลัสเตอร์ มัลเบอร์รี่ โกรฟ (Mulberry Grove) และคอนโดฯ ดิ แอสเพน ทรี (The Aspen Tree) ที่รองรับผู้สูงวัยได้ตลอดชีวิต

โปรเจ็กต์นี้ไม่ได้มีเพียงแต่ MQDC เท่านั้น บริษัทยังร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกอีกหลายรายในการพัฒนาเดอะ ฟอเรสเทียส์ ได้แก่ ซิกส์เซนส์ (Six Senses) แบรนด์ผู้เชี่ยวชาญที่พักระยะสั้นและระยะยาว F & P (Thailand) เป็นที่ปรึกษาและร่วมออกแบบโครงการ ITEC Entertainment ผู้ออกแบบไลฟ์สไตล์ด้านสันทนาการและประสบการณ์เพื่อผู้อยู่อาศัย Atelier Ten ร่วมวางแผนการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน รวมถึง Huawei ซึ่งจะช่วยสร้างแพลตฟอร์มสมาร์ท ซิตี้ให้เกิดขึ้นบนโครงการนี้

ปัจจุบัน MQDC มีการพัฒนาโครงการไปแล้ว 24 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 3 แสนล้านบาท มีโครงการที่สร้างเสร็จและโอนกรรมสิทธิ์แล้ว เช่น แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ ณ ไอคอนสยาม และ เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ตลอดจนคอนโดฯ แบรนด์วิสซ์ดอมอีกหลายทำเล นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ของบริษัท อาทิ วิสซ์ดอม อเวนิว รัชดา-ลาดพร้าว, วิสซ์ดอม สเตชัน รัชดา-ท่าพระ, วิสซ์ดอม คอนเนค สุขุมวิท, วิสซ์ดอม เอสเซ้นส์ สุขุมวิท, วิสซ์ดอม อินสปาย สุขุมวิท ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและระหว่างขาย ได้แก่ เดอะ ฟอเรสเทียส์ , เดอะ สแตรนด์ และมัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท พร้อมกับโครงการอีก 3-5 โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษา

แต่ไม่ว่าจะเป็นโครงการไหน บริษัทจะยังคงคอนเซ็ปต์ ‘For All Well-Being’ เสมอ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพกายใจที่ดี โดยเฉพาะในโลกหลัง COVID-19 เช่นนี้

]]>
1288003
เทียบฟอร์มอสังหาฯ ‘ไทย-อาเซียน’ ประเทศไหนเจ็บจาก COVID-19 กว่ากัน https://positioningmag.com/1279177 Mon, 18 May 2020 13:06:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279177 การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ปัจจุบันส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคมีการปรับตัวเพื่อตอบรับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ โดย DDproperty.com เว็บไซต์กลางซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์และเว็บไซต์ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้จัดทำรายงานและวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวเพื่อเป็นแนวทางให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้พิจารณาในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

ราคาอสังหาฯ ไทย ลดลง 9% ในรอบ 1 ปี

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในปี 2563 มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมีสัญญาณมาตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่ราคาและอุปทานลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยท้าทายหลายด้านทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และยิ่งเห็นได้ชัดเมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยดัชนีราคาในไตรมาสแรกของปี 2563 ลดลง 1% จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลงถึง 9% ในรอบ 1 ปี ส่วนดัชนีอุปทานแม้จะยังทรงตัว แต่ก็ลดลง 3% ในรอบ 1 ปี

แม้ว่าตลาดอสังหาฯ ชะลอตัว ส่งผลให้ราคาคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮาส์ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโปรโมชันต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อเร่งระบายสินค้าคงค้าง จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้สินค้าในราคาที่เหมือนกับช่วงเปิดตัวโครงการ นอกจากจะเหมาะแกการซื้ออาศัยเองแล้ว ยังเหมาะกับการลงทุน เนื่องจากราคาอสังหาฯ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ โดยเฉพาะสินค้าระดับกลาง-บน

ทั้งนี้ หากดูตัวเลขการใช้งานเว็บไซต์ DDproperty.com พบว่ามีการเข้าชมและทำการค้นหาต่อบนเว็บไซต์เพิ่มขึ้นถึง 8% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเคอร์ฟิว แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง

อสังหาฯ สิงคโปร์ หดตัว 1% และจะลดอีกในไตรมาส 2

จากรายงาน PropertyGuru Singapore Property Market Index ฉบับล่าสุด พบว่า ดัชนีราคาลดลง 1.1% ในไตรมาสแรกของปี 2563 สอดคล้องกับข้อมูลจาก Urban Redevelopment Authority ที่ระบุว่าราคาอสังหาฯ ที่ไม่ใช่ที่ดินและคอนโดมิเนียมจะปรับตัวลดลง 1% และผู้ประกอบการอสังหาฯ จำนวนมากมีแนวโน้มที่จะลดราคาอสังหาฯ ลงอีกในไตรมาสที่ 2 หากสถานการณ์ชัตดาวน์ประเทศสิงคโปร์ยังยืดเยื้อ

อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่ไม่หวั่นวิตกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดมากนัก เนื่องจากเชื่อมั่นในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งความแข็งแกร่งของภาคอสังหาฯ ที่มีการออกมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้ (TDSR) และ มาตรการกำกับควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV)

Photo : ROSLAN RAHMAN / AFP

อสังหาฯ มาเลเซีย ปรับขึ้น สวนทางความต้องการที่ลดลง

ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงรักษาการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องมาจากไตรมาสแรกของปี 2563 โดยวัดได้จากดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับรายงาน PropertyGuru Malaysia Property Market Index ฉบับล่าสุด ที่พบว่า ดัชนีราคาในไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวขึ้นราว 0.63% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมองอสังหาฯ ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหากต้องการสร้างความมั่นคง สวนทางกับจำนวนอุปทานใหม่ที่ลดลงถึง 10.47% ซึ่งลดลงมากสุดในรอบ 3 ปี

อินโดนีเซีย อสังหาฯ ยังโต

จากรายงาน Rumah.com Indonesia Property Market Index ฉบับล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ปี 2563 จะเป็นปีแห่งการฟื้นฟูภาคอสังหาฯ เนื่องจากการสนับสนุนของภาครัฐฯ ที่ออกนโยบายผ่อนปรนมาตรการ LTV สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่สอง ซึ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการอสังหาฯ นักลงทุน และภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

อย่างไรก็ดี จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทางด้านภาคอสังหาฯ ในไตรมาสแรกของปี 2563 พบว่า มีจำนวนอุปทานใหม่ลดลง สวนทางการเติบโตของความต้องการซื้อ ทำให้ผู้ที่ขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ผ่านมาเป็นกลุ่มผู้บริโภค

จุดร่วม New Normal คือใช้เทคโนโลยี

แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีเติบโตและหดตัว แต่จุดร่วมที่เห็นคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการให้บริการของภาคอสังหาฯ​ ที่หันมาสร้าง ‘New Normal’ ให้เกิดขึ้น ถือเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ โดยใช้โอกาสนี้เข้าถึงลูกค้าและการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านการนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์มาประยุกต์ใช้

“ผู้ประกอบการอสังหาฯ หลายรายต้องพับแผนในการเปิดตัวโครงการใหม่ การก่อสร้างหยุดชะงัก งานแสดงบ้านระดับบิ๊กอีเวนต์ที่ไม่สามารถจัดขึ้นได้ แต่ผู้ประกอบการในอาเซียนต่างเห็นตรงกันว่า กุญแจสำคัญที่ทำให้รอดพ้นวิกฤติคือการวางแผนการเงินสำรองฉุกเฉิน การทำแผนตลาดให้มีความยืดหยุ่น และยกระดับด้วยเทคโนโลยี ซึ่งอาจจะมีอีกหลากหลายคำตอบที่ใช้เอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ได้ เพียงแค่ต้องบริหารจัดการให้เหมาะสม” กมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าว

]]>
1279177