มะละกา เมืองท่าประวัติศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 600 ปี เริ่มจากการเป็นอาณาจักรมะละกาที่รุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ด้วยทำเลที่ตั้งอันเป็นยุทธศาสตร์บนช่องแคบมะละกา ทำให้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เป็นจุดแวะพักของพ่อค้าจากทั่วโลก ทั้งจีน อินเดีย อาหรับ และยุโรป
ดังนั้น หากใครได้ลองไปเยือนมะละกาก็จะเห็นการผสมผสานจากหลากหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมจีนและมลายู จนเกิดเป็นการวัฒนธรรม Peranakan หรือบาบ๋า-ยาหยา รวมถึงวัฒนธรรมที่ได้อิทธพลจากชาติมหาอำนาจต่าง ๆ ผ่านการปกครองทั้งโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ ทำให้เมืองนี้มีมรดกทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของยุคอาณานิคมที่ทับซ้อนกันมาอย่างยาวนาน
แน่นอนว่าด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 600 ปี แค่การไปท่องเที่ยวไม่กี่วันคงไม่อาจทำให้เราได้เรียนรู้ถึงความเป็นมาของเมืองมะลากาได้หมด ดังนั้น ไฮไลต์สำคัญของการเยือนมะละกาคือการชมการแสดงที่ ‘Encore Melaka’ โรงละครทันสมัยริมน้ำที่จุผู้ชมได้มากกว่า 2,000 ที่นั่ง โดดเด่นด้วยเวทีหมุนได้ 360 องศา ความยาว 240 เมตร พร้อมระบบแสง สี เสียง และวิดีโอแมปปิ้ง 3 มิติที่ล้ำสมัย การแสดงนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมะละกาได้อย่างน่าประทับใจ ช่วยให้เราได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองมะละกาได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
สำหรับที่พักในคืนแรกของทริปคือ Baba House Melaka ที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่า ได้กลิ่นอายเหมือนกับเดินในตัวเมืองเก่าภูเก็ต จุดเด่นที่อยากแนะนำของ Baba House Melaka ก็คือ เป็นโรงแรมสไตล์ท้องถิ่นที่ผสมผสานความคลาสสิกและความสะดวกสบายได้อย่างลงตัว โดยห้องพักตกแต่งด้วยเอกลักษณ์วัฒนธรรม Peranakan ที่เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีนและมลายู แต่ก็พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
ด้วยความที่ Baba House Melaka ตั้งอยู่ในทำเลทองที่เป็นใจกลางเมือง ดังนั้น ก็จะได้สัมผัสถึงสถาปัตยกรรมที่เต็มไปด้วยการผสมผสานหลากวัฒนธรรมทั้งจีน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน โบสถ์ ศาลเจ้า เป็นต้น
ล่องเรือยามค่ำคืนกับ Melaka River Cruise
แน่นอนว่าเสน่ห์ของมะละกาไม่ได้จำกัดอยู่ในตอนกลางวัน แต่ยามค่ำคืนก็เต็มไปด้วยความน่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือการ #ล่องเรือ กับ Melaka River Cruise ที่เป็นการล่องเรือในคลองเพื่อมชมความงดงามของเมืองยามค่ำคืน เพราะคลองนี้จะตัดผ่านแลนด์มาร์กหลายแห่งของเมือง อาทิ ป้อมมิดเดิลเบิร์ก ที่เป็น 1 ใน 9 ป้อมปราการเก่าแก่ของชาวดัตช์ เป็นต้น
นอกจากจะตัดผ่านแลนด์มาร์กสำคัญ ๆ แล้ว ตลอด 2 ฝั่งคลองก็จะได้เห็นสีสันของบ้านเรือนชาว Kampung Morten ที่ประดับไฟเพิ่มสีสันให้นักท่องเที่ยว ซึ่งสาเหตุที่ทุกบ้านประดับไฟสวยงามไม่ใช่ว่าเป็นช่วงเทศกาลแต่อย่างใด แต่เป็นความร่วมมือของหมู่บ้านกับภาครัฐที่ต้องการเพิ่มสีสันให้การท่องเที่ยว โดยจะช่วยจ่ายค่าไฟให้ชาวบ้านที่อยู่ในเขตใกล้คลองอีกด้วย
สำหรับสายช้อปปิ้ง ต้องไปย่าน Jonker Street (จองเกอร์สตรีท) ย่านนี้เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการช้อปปิ้งของที่ระลึกและสินค้าแฮนด์เมด รวมถึงอาหารท้องถิ่น ร้านขายของโบราณ และตลาดกลางคืนที่เต็มไปด้วยบรรยากาศสดชื่น โดยตลาดกลางคืนจะเปิดทุกวันศุกร์-อาทิตย์ในตอนเย็น
สำหรับตอนกลางวัน สามารถเดินเล่นได้ชิล ๆ เพื่อช้อปปิ้งสินค้าท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นกาแฟ ขนม รวมถึงสัมผัสความ เป็นเมืองเก่าได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าจะมีกลิ่นอายที่คล้ายคลึงกับภูเก็ตบ้านเรา แต่เชื่อเถอะว่าถ้าได้ลองไป จะเห็นว่ามีอะไรที่น่าค้นหาไม่แพ้กัน
ท่องเที่ยวในคืนสุดท้าย จะไม่ได้อยู่ที่เมืองมะละกา แต่จะเดินทางสู่เมืองพอร์ตดิกสัน เพื่อไปล่องเรือชมพระอาทิตย์ตก ที่ PD World Marina เส้นทางประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นเส้นทางการค้าสำคัญในอดีต ดื่มด่ำกับบรรยากาศชิล ๆ ชมพระอาทิตย์ตกดิน พร้อมโยกไปตามเสียงเพลงจังหวะโจ๊ะ ๆ ของดีเจประจำเรือ
จากนั้นก็เข้าสู่ที่พักคือ Lexis Hibiscus รีสอร์ทหรูริมทะเลที่โดดเด่นด้วยวิลล่ากลางน้ำรูปดอกชบา มีทั้งหมด 522 หลัง โดยแต่ละหลังมาพร้อมสระว่ายน้ำส่วนตัวและห้องอบไอน้ำ มอบประสบการณ์การพักผ่อนระดับพรีเมียม พร้อมทั้งมีกิจกรรมให้เลือกเล่นครบ ทั้งว่ายน้ำ ดำน้ำ พายเรือคายัค เจ็ตสกี
สำหรับใครที่อยากจะหาสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ ที่ได้สัมผัสทั้งวัฒนธรรม ความบันเทิง Positioning ก็มองว่าเมืองมะละกาเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย ที่ทำให้เราได้สัมผัสทั้งมนต์เสน่ห์แห่งประวัติศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของการท่องเที่ยวในมาเลเซียได้เป็นอย่างดี
]]>สายการบิน Scoot ได้แจ้งกับสื่อมวลชนในสิงคโปร์ว่า เที่ยวบินหลายเที่ยวบินที่กำหนดในเดือนพฤษภาคมได้ถูกยกเลิกเนื่องจากเหตุผลด้านการปฏิบัติงานหลายประการ รวมถึงเครื่องบินไม่พร้อมให้บริการเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่เนื่องจากปัญหาด้าน Supply Chain
นอกจากนี้สายการบินยังให้รายละเอียดว่า การขาดแคลนซึ่งเป็นผลจาก Supply Chain กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินโดยรวม แต่ Scoot ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับชิ้นส่วนอะไหล่และประเภทเครื่องบินที่ได้รับผล กระทบ โดยกล่าวว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องอ่อนไหวทางการค้า
ขณะเดียวกันสายการบินเองก็ได้กล่าวขอโทษในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน และจะมีการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างรวดเร็ว
โดยสื่อในประเทศสิงคโปร์อย่าง The Strait Times รายงานว่าเที่ยวบินของ Scoot จากสนามบินชางงีในช่วงวันที่ 2-6 พฤษภาคมที่ผ่านมามีการยกเลิกเที่ยวบินไปถึง 33 เที่ยวบิน
ล่าสุดปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดแค่กับสายการบินอย่าง Scoot เท่านั้น แต่สายการบินราคาประหยัดอย่าง Jetstar ที่มีเส้นทางบินจากสนามบินในสิงคโปร์ก็มีเที่ยวบินล่าช้า การเปลี่ยนเวลาทำการบิน หรือแม้แต่การยกเลิกเที่ยวบิน โดยสายการบินได้ให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าวคล้ายคลึงกัน
ปัญหา Supply Chain ทำให้การผลิตเครื่องบินของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Airbus และ Boeing มีการผลิตเครื่องบินได้ช้ากว่าคาด ส่งผลกระทบต่อทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างผลกระทบในช่วงที่ผ่านมาต่อทั้งสายการบินในไทยและต่างประเทศ หรือแม้แต่บริษัทให้เช่าเครื่องบิน
สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายสายการบินต้องใช้เครื่องบินเก่าที่มีอยู่ เนื่องจากความต้องการเครื่องบินรุ่นใหม่ยังสูง
ไม่เพียงเท่านี้การนำเครื่องบินไปเก็บรักษาและนำกลับมาใช้งานใหม่ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิดยังส่งผลทำให้ความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่จำนวนมากในคราวเดียวกัน ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่เหล่านี้ไม่สามารถที่จะผลิตได้ทัน และยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการซ่อมบำรุงเครื่องบินที่ไม่ได้บินเป็นระยะเวลาหลายเดือนให้กลับมาบินได้ปกติอีกด้วย
แม้ว่าความต้องการในการเดินทางในหลายส่วนของโลกจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง แต่ปัญหา Supply Chain หรือแม้แต่ความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้นกลับยังไม่สามารถกลับมาให้บริการได้เท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดได้ดีเท่าที่ควรมากนัก ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่าคาด
ที่มา – CNA, The Strait Times
]]>แม้ แคมป์เบล วิลสัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินสกู๊ต จะยอมรับว่าตั้งแต่เกิดวิกฤตการระบาดของ COVID-19 ในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ตนเรียนรู้ว่า “การคาดการณ์อนาคต” เป็นอะไรที่ทำได้ยากมาก เพราะไม่มีอะไรแน่นอนเลย แต่ก็ยังเชื่อว่าตลาดการบินจะกลับมาได้อย่างเข้มแข็งอีกครั้ง เพราะตลาดนี้ในอดีตถือเป็นตลาดที่ยังมีการเติบโต
ขณะที่แนวโน้มของการฟื้นตัวในประเทศแถบยุโรป อเมริกา และออสเตรเลียที่มีการผ่อนคลายมาตรการการเดินทาง ส่งผลให้ดีมานด์กลับมาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเชื่อว่าในเอเชียจะมีผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกัน รวมถึงประเทศไทยที่ถือเป็นปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยว แต่ต้องรอดูว่ารัฐบาลจะสามารถเปิดประเทศได้เร็วแค่ไหน
“สกู๊ตและสายการบินชั้นประหยัดตอนนี้ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ เพราะหากการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวกลับมาจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า ขณะที่ต้นทุนค่อนข้างต่ำ ทำให้ยังสามารถประคองตัวได้ และสามารถฟื้นได้เร็ว”
ก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 สายการบินสกู๊ตให้บริการอยู่ 68 เส้นทางครอบคลุม 15 ประเทศ แต่ปัจจุบันสามารถให้บริการได้เพียง 26 เส้นทางครอบคลุม 12 ประเทศเท่านั้น สำหรับประเทศไทยสกู๊ตมีเส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ)-สิงคโปร์ โดยให้บริการ 11 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จากอดีตไทยจะมี 6 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ (สนามบินดอนเมือง), เชียงใหม่, หาดใหญ่, กระบี่ และภูเก็ต ซึ่งสกู๊ตย้ำว่าพร้อมจะกลับมาให้บริการในทุกเส้นทางอีกครั้งหาก ไทยเปิดประเทศ
โดยสกู๊ตกำลังศึกษาอยู่ว่าจะเปิดเส้นทางการบินอื่น ๆ โดยไม่จำกัดแค่จากสิงคโปร์แต่รวมถึงฮับอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ที่จะเปิดเมืองภูเก็ตต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้วนั้น ทางสกู๊ตไม่ได้มีแผนที่จะเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากกลุ่มสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่เป็นบริษัทแม่ได้ร่วมโครงการดังกล่าวแล้ว
“แผนของเราในช่วง 1-2 ปีคือ เปิดเส้นทางการบินให้ครบทุกเส้นทางที่เคยบิน แล้วค่อยเพิ่มความถี่เที่ยวบินให้เท่าเดิม รวมถึงเพิ่มเที่ยวจากสิงคโปร์มาไทยและไทยไปที่อื่น ๆ”
ต้องยอมรับว่ารัฐบาลสิงคโปร์ได้อนุมัติงบช่วยเหลือธุรกิจการบินจากพิษ COVID-19 แม้จะไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ แต่งบดังกล่าวพียงพอแค่ที่จะประคองไม่ให้ต้องเลิกจ้างพนักงาน ดังนั้น ที่ผ่านมาสกู๊ตจึงประคองตัวโดยการเน้นการ ขนส่งสินค้า เพราะการให้บริการในลักษณะกึ่งพาณิชย์ (semi commercial flight) คิดเป็นสัดส่วน 12-15% ของจำนวนที่นั่งเท่านั้น
นอกจากนี้ ในช่วงที่การเดินทางยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ สกู๊ตจึงลงทุนด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนจะให้บริการอีกครั้ง อาทิ การเช็กอินผ่านออนไลน์, อัพเกรดที่นั่ง หรือซื้อบริการต่าง ๆ ผ่านแชทบอท รวมถึงชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด
“เราไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขการลงทุนได้ แต่เรามั่นใจว่ามันคุ้มค่ากับผลลัพธ์ และที่เรายอมลงทุนในช่วงที่วิกฤตเช่นนี้เป็นเพราะเรามองว่ามันทำให้เราสามารถโฟกัส เรียนรู้กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่”
ในปี 2557 สายการบินนกแอร์ และสกู๊ต ได้ร่วมทุนกันเปิดสายการบิน ‘นกสกู๊ต’ (NokScoot) โดยเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว หรือกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง โดยที่ผ่านมาต้องเจอทั้งการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะเรื่องของ ‘ราคา’ การขยายเส้นทาง จนกระทั่งเจอพิษ COVID-19 ทำให้ในวันที่ 26 มิ.ย. 63 คณะกรรมการของสายการบินนกสกู๊ต ได้มีมติยุติการดำเนินกิจการ ซึ่งตลอดเส้นทางการดำเนินธุรกิจนกสกู๊ตยังไม่สามารถทำ ‘กำไร’ ได้เลย
ซึ่งทาง แคมป์เบล ก็ยืนยันว่าตอนนี้บริษัท ไม่มีแผนที่จะลงทุนในสายการบินในประเทศไทย โดยล่าสุด ทางสายการบินได้ลงทุนซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ ‘แอร์บัส A321neo’ จำนวน 6 ลำ และเช่าอีก 10 ลำ โดยจะให้บริการในเส้นทาง ‘สิงคโปร์-กรุงเทพฯ’ เป็นเส้นทางแรก เริ่มบินในวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา และจะขยายการใช้เครื่องบินรุ่นนี้ไปยังฟิลิปปินส์และเวียดนามในเดือนสิงหาคมนี้
ทั้งนี้ แอร์บัส A321neo มีพิสัยการบินสูงสุดถึง 2,620 ไมล์ทะเล ซึ่งมากกว่าเครื่องบินรุ่น A320neo ประมาณ 270 ไมล์ทะเล ทำให้สกู๊ตสามารถให้บริการในเส้นทางบินระยะสั้นถึงระยะกลางได้ ด้วยเวลาบินสูงสุดถึง 6 ชั่วโมง ซึ่งเทียบกับเครื่องบินรุ่นก่อนอย่าง A320 ที่มีรอบการบินอยู่ที่ 4-5 ชั่วโมง นอกจากนี้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 236 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากรุ่น A320neo ถึง 50 ที่นั่ง และยังประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า 12-20%
ดังนั้น แอร์บัส A321neo จะสามารถรองรับแผนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมได้ในอนาคต เนื่องจากสามารถบริหารความคุ้มทุนและควบคุมต้นทุนต่อหน่วยได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้สายการบินสามารถบริหารจัดการเครื่องบินให้สอดคล้องกับเส้นทางและความต้องการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย
คงต้องรอดูว่า ตลาดการบินคิดว่าจะกลับมาฟื้นฟูเท่ากับก่อนเกิดการระบาดได้มากน้อยแค่ไหน และการลงทุนต่าง ๆ ของ สกู๊ต จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่น ๆ ได้หรือไม่
]]>ก่อนหน้านี้ Singapore Airlines หรือ SIA Group อนุญาตให้พนักงานกว่า 6,000 คน จากทั้งหมด 2.7 หมื่นคน ตัดสินใจ “ลางานเเบบไม่รับเงิน” เพื่อช่วยเหลือบริษัทให้ก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ในจำนวนนี้กว่า 1,700 คน ทั้งนักบินเเละลูกเรือ ได้ลงทะเบียนเพื่อทำงานเป็นอาสาสมัครระยะสั้นและทำงานชั่วคราวในองค์กรอื่น
เเม้ช่วงเดือนที่ผ่านมา บริษัทยังคงอุ้มพนักงานทั้งหมดไว้ได้ เเต่มาถึงเดือนนี้ก็ฝืนยื้อต่อไปไม่ไหว เมื่ออุตสาหกรรมการบินยังไม่สามารถกลับมาทำการบินได้ตามปกติ โดยเฉพาะการบินระหว่างประเทศ ที่อาจจะต้องใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะฟื้นตัวกลับมาได้เท่าช่วงก่อนวิกฤต
โดยปัจจุบัน Singapore Airlines เปิดให้บริการได้เพียง 8% และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นสุดปีงบการเงิน คือวันที่ 31 มี.ค.ปีหน้า ก็จะยังให้บริการได้ไม่ถึง 50%
ขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ของสายการบิน ต้องขึ้นอยู่กับเส้นทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะ Singapore Airlines ไม่มีตลาดในประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่มีเเนวโน้มฟื้นตัว
ด้วยปัจจัยลบทั้งหลาย ทำให้บริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงาน 4,300 คน คิดเป็น 20% ของพนักงานที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นการเลิกจ้างพนักงานในคราวเดียวจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสายการบินนี้
ก่อนหน้านี้ กลุ่ม SIA ได้ลดเงินเดือนพนักงานขั้นต่ำ 10% สำหรับพนักงานทั่วไป ส่วนตำเเหน่งผู้จัดการขึ้นไปมีการปรับลดตั้งแต่ 12-35% ขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปรับลด 35%
สายการบินระบุว่า ในเดือนเมษายน–มิถุนายน จำนวนผู้โดยสารจะลดลงมากถึง 96% จากการระงับให้บริการของทั้ง Singapore Airlines เเละบริษัทลูกอย่าง Silk Air ส่วน Scoot ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือ ได้ลดการให้บริการลงถึง 98% ของเที่ยวบินทั้งหมด
ทั้งนี้ SIA Group เพิ่งรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสสิ้นสุด ณ 30 มิถุนายน โดยขาดทุนสุทธิ 1.12 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2.5 หมื่นล้านบาท) มากที่สุดนับตั้งเเต่ก่อตั้งสายการบินนี้มาเเม้จะเคยมีผลประกอบการในระดับดีมาตลอดก็ตาม
]]>
Singapore Airlines สายการบินแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ แจ้งผลประกอบการปี 2019 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2020 ที่ผ่านมา ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า บริษัทขาดทุนสุทธิ 212 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4,772 ล้านบาท) ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิถึง 683 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 15,376 ล้านบาท) สาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลต่อธุรกิจการบินทั่วโลก
ในรายงานของ Singapore Airlines ระบุว่าในช่วง 9 เดือนเเรกของผลประกอบการปี 2019/20 บริษัทมีผลการดำเนินงานที่เเข็งเเกร่ง ก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. ต้นปี 2020 เที่ยวบินจากประเทศจีนถูกยกเลิกในเดือน ก.พ. ตามมาด้วยเดือน มี.ค.ที่ได้รับผลกระทบหนักเนื่องเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศที่ถูกยกเลิกจากมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ
นอกจากนี้ อีกสาเหตุยังมาจากผลกระทบจากการทำประกันราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันได้ลดลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
โดยรัฐบาลทั่วโลก ได้ออกคำสั่งห้ามเดินทางเพื่อป้องกันการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ในช่วงเดือน ม.ค. ถึง มี.ค.นี้ Singapore Airlines ขาดทุนถึง 732 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 16,480 ล้านบาท) ทั้งที่ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้นสามารถทำกำไรได้ 203 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4,570 ล้านบาท)
ขณะที่กำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit) ของสายการบินอยู่ที่ 59 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ลดลง 94.5% จากปีก่อนที่ทำได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
สายการบินระบุว่าในเดือนเมษายน-มิถุนายน จำนวนผู้โดยสารจะลดลงมากถึง 96% จากการระงับให้บริการของทั้ง Singapore Airlines เเละบริษัทลูกอย่าง Silk Air ส่วน Scoot ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือ ได้ลดการให้บริการลงถึง 98% ของเที่ยวบินทั้งหมด
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ Singapore Airlines คาดการณ์ว่าในงบไตรมาส 1 ของปี 2020/21 ที่จะสิ้นสุดปลายเดือน มิ.ย.นี้ ยังคงจะขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่อง เพราะสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงอยู่ ซึ่งจะมีเจรจากับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินเพื่อเลื่อนการส่งมอบเครื่องบิน และเจรจากับซัพพลายเออร์เรื่องการปรับเวลาจ่ายค่าจัดซื้อด้วย
ด้านกลุ่มทุน Temasek กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในสายการบิน Singapore Airlines กำลังจะเพิ่มทุนช่วยเหลือให้สายการบินเพื่อประคองธุรกิจผ่านช่วง COVID-19 ไปได้
ทั้งนี้ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่า ธุรกิจสายการบินที่ให้บริการในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิกจะขาดทุนรวมกันในปีนี้ ราว 27,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.2 เเสนล้านบาท) ขณะที่คาดว่าธุรกิจการบินทั่วโลกอาจจะสูญเสียรายได้สูงสุดถึง 1.13 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.56 ล้านล้านบาท)
ที่มา : singaporeair , channelnewsasia
]]>