Series A – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 24 Feb 2022 12:00:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก “ZORT” สตาร์ทอัพไทยช่วย “จัดการคำสั่งซื้อ” ร้านออนไลน์ หวังบินไกลถึงตลาดอาเซียน https://positioningmag.com/1375287 Thu, 24 Feb 2022 10:42:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375287 จากจุดเริ่มต้นการก่อตั้งบริษัทเพราะเผชิญปัญหา ‘excel’ ไม่ตอบโจทย์การขายออนไลน์ จนวันนี้ระดมทุน Series A ได้สำเร็จ “ZORT” (ซอร์ทเอาท์) เตรียมขยายตลาดทั่วประเทศ และปักหมุดเข้าสู่ตลาดอาเซียน พร้อมขยายฟีเจอร์ให้ครบลูปการขายออนไลน์ของ SMEs ตั้งแต่นับสต็อกจนถึงระบบ CRM รักษาฐานลูกค้า

“จุดเริ่มต้นของเราคือตัวเองก็เคยทำธุรกิจมาก่อน สมัยนั้นเราก็ใช้โปรแกรม excel ซึ่งพบว่ามันยุ่งยากในการลงข้อมูล และมีโอกาสที่ออร์เดอร์จะหล่นหายสูงมาก ต่อมาพี่ๆ ในวงการธุรกิจก็มาคุย ต้องการจ้างเราซึ่งจบวิศวะเพื่อจะให้ทำโปรแกรมจัดการการขายและสต็อกให้ ซึ่งเราพบว่าทุกคนมี pain point แบบเดียวกัน เราเลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ทำเป็นโปรดักส์เลยดีกว่าเพราะทุกคนต้องการใช้เหมือนกันหมด” สวภพ ท้วมแสง หนึ่งในผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด (ZORT) กล่าวถึงการก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2559

ปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกคนต้องเผชิญ คือการขายปัจจุบันมีหลายช่องทาง เช่น Shopee, Lazada, JD Central, Facebook, Line แต่เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อ การตัดสต็อกที่ ‘ไม่เรียลไทม์’ พร้อมกันทุกช่องทาง ทำให้บางครั้งเกิดอาการสินค้าหมด ต้องบอกยกเลิกออร์เดอร์ลูกค้า ทำให้เสียความน่าเชื่อถือและเสียโอกาสการขาย

ZORT จึงเข้ามาแก้ปัญหานี้ ทำหน้าที่เป็นซอฟต์แวร์กลางในการทำระบบให้ ‘sync’ กัน ตัดสต็อกอัตโนมัติและอัปเดตพร้อมกันทุกช่องทางขาย

จากนั้นต่อยอดจนกลายเป็น แพลตฟอร์มบริหารออร์เดอร์และสต็อกครบวงจร (Seller Management Platform) ทำได้ทั้ง 6 ส่วนสำคัญต่อธุรกิจค้าออนไลน์ คือ จัดการสต็อก, จัดการคำสั่งซื้อ, ทำบัญชีรับจ่าย, การรับชำระเงิน, จัดการแพ็กสินค้า และขนส่ง

หลังก่อตั้งมา 6 ปี ปัจจุบัน ZORT มีฐานลูกค้า 3,000 ราย โดยมีคำสั่งซื้อที่ผ่านระบบสะสม 84,000 ล้านบาท จำนวน 45 ล้านรายการ สามารถลดต้นทุนให้ลูกค้าได้เฉลี่ย 30% และพร้อมจะขยายตัวมากกว่านี้

ZORT
ทีมผู้บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด

 

รับเงินลงทุน 55 ล้านบาทในรอบ Series A

จากฐานธุรกิจที่มีทำให้ดึงดูดใจนักลงทุน โดยซอร์ทเอาท์สามารถระดมทุนรอบ Series A ได้แล้วด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 55 ล้านบาท มี lead investor คือ กองทุน Finnoventure Fund ของ กรุงศรี ฟินโนเวต (โดยซอร์ทเอาท์เป็นสตาร์ทอัพรายแรกที่กองทุนนี้ร่วมลงทุน) ร่วมด้วย บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด รุ่นพี่เทคสตาร์ทอัพ รวมถึงมี angel investor 3 ราย นำโดย “โคบี้ บุญบรรเจิดศรี” นักลงทุนอิสระ

“แซม ตันสกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด กล่าวว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีฐานลูกค้า SMEs อยู่แล้วนับแสนราย และมีการแนะนำ ZORT ให้ลูกค้าใช้งาน ซึ่งพบว่าลูกค้าตื่นเต้นกับเทคโนโลยีนี้ ทำให้เชื่อมั่นว่าสตาร์ทอัพรายนี้จะโตไปพร้อมกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และไม่ใช่แค่ในไทย แต่สามารถไปในระดับอาเซียนได้ โดยกรุงศรีซึ่งอยู่ในเครือ MUFG พร้อมจะผลักดัน

“ปลายทางคือเราจะแต่งตัว ZORT ให้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ในที่สุด คิดว่าไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า” แซมกล่าว

ZORT
พิธีลงนามร่วมลงทุน Series A กับซอร์ทเอาท์

ด้าน “ณัฐธิดา สงวนสิน” กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากอยู่ในธุรกิจที่ใกล้เคียงกันโดยบัซซี่บีส์ถนัดด้านการทำระบบ CRM ให้กับลูกค้าองค์กรใหญ่ ทำให้บริษัทเล็งเห็นว่าฟีเจอร์ของซอร์ทเอาท์จะตอบ ‘need’ หรือความจำเป็นของลูกค้า SMEs และเห็นศักยภาพว่ามีโอกาสขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้เพราะการใช้งานง่าย สะดวก และโมเดลพร้อมสเกลอัพ

 

เล็งขยายเข้าตลาดอาเซียน

หลังได้รับเงินลงทุน และที่สำคัญกว่านั้นคือได้ “พาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์” สวภพกล่าวว่า บริษัทจะนำเงินลงทุนใน 3 ด้าน คือ

1.พัฒนาโปรดักส์ เพื่อให้เป็น Seller Management Platform ที่ทำได้ครบวงจรมากขึ้น สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือ “การทำ CRM” ซึ่งส่วนนี้บัซซี่บีส์จะเข้ามาประสานพลังได้อย่างลงตัว

ณัฐธิดากล่าวเสริมว่า การทำ CRM จะกลายเป็นส่วนสำคัญมากของธุรกิจในอนาคต เนื่องจากการลงโฆษณาโดยใช้ Targeted Ad จะทำได้ยากขึ้นเพราะติดกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทำให้แต่ละธุรกิจต้องเก็บฐานลูกค้าของตัวเองไว้ เพื่อทำการตลาดและสร้างความภักดีต่อแบรนด์

นอกจากนี้ สวภพกล่าวว่าบริษัทจะมีเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ครอบคลุมเทคนิคการขายแบบใหม่ยิ่งขึ้น เช่น Live Commerce การไลฟ์สดขายสินค้าจะต้องนำมา sync กับระบบของแพลตฟอร์มได้

shopping online ecommerce

2.ขยายตลาด สำหรับในไทยยังมีโอกาสอีกมาก เพราะมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ต้องการปรับมาขายออนไลน์ และบริษัทจะทำการตลาดกระจายตัวออกจากกรุงเทพฯ เน้นต่างจังหวัดมากขึ้น หลังพบว่าอีคอมเมิร์ซกระจายฐานไปอยู่ต่างจังหวัดสูงขึ้น เพราะการขนส่งทำได้ทั่วถึงทั้งประเทศ

รวมถึงจะขยายตลาดอาเซียนด้วย โดยบริษัทสำรวจแล้วพบว่าพฤติกรรมการซื้อขายของชาวอาเซียนคล้ายกับคนไทย และอาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ขณะนี้กำลังศึกษาประเทศแรกที่จะเข้าไป เป็นประเทศที่คนท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษได้เพื่อลดกำแพงทางภาษาในการทำงาน รวมถึงเป็นประเทศที่ขนาดตลาดใหญ่ แต่คู่แข่งยังน้อยอยู่

สำหรับการเข้าสู่อาเซียน จะมีกรุงศรีเป็นพี่เลี้ยงในการลุยตลาดใหม่ เหมือนดั่งที่กรุงศรีพา Flash Express เข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์และลาวมาแล้ว

3.พัฒนาทีมงาน โดยจะจัดการพัฒนาทักษะของทีมงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของบริษัท และจะเพิ่มทีมงานให้ตอบรับกับจำนวนลูกค้าที่สูงขึ้น จากปัจจุบันมีทีมงานเพียง 40 คน

เป้าหมายของปี 2565 ซอร์ทเอาท์ต้องการขยายฐานลูกค้าเป็นเท่าตัวคือ 6,000 ราย และอีก 3 ปีคาดว่าจะโตเป็น 18,000 ราย (*ยังไม่รวมลูกค้าในต่างประเทศ)

สวภพมองว่า ปัจจุบันการทำความเข้าใจกับลูกค้า ‘ไม่ยาก’ เท่ากับ 4-5 ปีก่อนแล้ว เพราะลูกค้ารับได้และชินกับการสมัครใช้ซอฟต์แวร์แบบรายเดือน เข้าใจถึงความจำเป็นใช้งาน โจทย์ธุรกิจขณะนี้จึงเป็นการสเกลให้ลูกค้าเข้ามาใช้มากขึ้น และอยู่กับแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องมากกว่า

“คู่แข่งมีเยอะไหม? ก็มีเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งสัญชาติไทยและต่างชาติ แต่จุดเด่นของแต่ละรายต่างกัน อย่าง ZORT จะเด่นเรื่องมาร์เก็ตเพลส แต่ต่อไปเราต้องทำให้เราทำได้หมดทุกระบบ รวมทั้ง Facebook, Instagram, Line เข้ามาได้หมด เมื่อตอบโจทย์เขาได้แล้ว เขาก็จะไม่ย้ายแพลตฟอร์ม” สวภพกล่าว

]]>
1375287
ETRAN มอ’ไซค์ไฟฟ้าไทยระดมทุน Series A สร้าง “สถานีเปลี่ยนแบตฯ” แก้ปัญหาผู้ใช้งาน https://positioningmag.com/1331814 Wed, 12 May 2021 11:12:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331814 ฝันให้ไกล ไปให้ถึง! ETRAN (อีทราน) สตาร์ทอัพมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญชาติไทยก้าวไปอีกขั้น ระดมทุน Series A ได้รับเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท พร้อมเปิดสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ ไม่ต้องรอชาร์จ สนับสนุนระบบนิเวศการใช้งาน ออกรถโมเดลใหม่ “MYRA” (ไมร่า) ตีตลาด “ไรเดอร์” ส่งของเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ

บางคนอาจเคยผ่านตารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าไทยยี่ห้อ ETRAN มาบ้าง เพราะสตาร์ทอัพรายนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2559 และมีรถออกมาแล้ว 2 รุ่นคือ PROM (พร้อม) และ KRAF (คราฟ) จนในที่สุด บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด เจ้าของแบรนด์ ระดมทุนรอบ Series A ได้สำเร็จ พร้อมจะเข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ และนำเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้า

โดยบริษัทแจ้ง การระดมทุนรอบ Series A คิดเป็นเงินรวม 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 100 ล้านบาท แบ่งแหล่งเงินทุนออกเป็น 2 แหล่งคือ

1.บมจ.เอ็น.ดี.รับเบอร์ หรือ NDR (อยู่ในตลาดหุ้น mai) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยางล้อมอเตอร์ไซค์ เข้าลงทุนด้วยวิธีแลกหุ้น (shares swap) คิดเป็นมูลค่าการลงทุนราว 60.2 ล้านบาท และจะทำให้ NDR เข้ามาถือหุ้นในอีทรานเป็นสัดส่วน 35%

2.Angel Investor นักลงทุนอิสระ ใช้เงินสดในการเข้าซื้อหุ้นของอีทราน คิดเป็นมูลค่า 43 ล้านบาท

ETRAN KRAF มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นพรีเมียม เหมาะกับคนรักการขับขี่ ราคา 150,000 บาท

 

ยกระดับเป็นมืออาชีพ ตั้งเป้าครองผู้นำตลาดไทย

อีทราน เป็นบริษัทจากการก่อตั้งของ “สรณัญช์ ชูฉัตร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการส่งเสริมให้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเป็นตัวเลือกของคนไทยในการใช้งาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนของรถน้ำมัน ลดมลพิษ ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และยังวางเป้าที่จะหาโมเดลธุรกิจที่ทำให้คนไทยทุกคนเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าได้

“เราไม่คิดว่ายานยนต์ไฟฟ้าเป็นสินค้าของคนมีเงินเท่านั้น แต่ทุกคนควรจะเข้าถึงได้” สรณัญช์กล่าว

หลังจากระดมทุน Series A ร่วมกับงบสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กว่า 16 ล้านบาท เงินทุนดังกล่าวจะนำมาใช้ใน 3 ด้านคือ 1.เพิ่มไลน์ผลิตให้ได้ในระดับเพื่อการค้าพาณิชย์ 2.โครงสร้างพื้นฐาน สถานีชาร์จและเปลี่ยนแบตเตอรี่ และ 3.ทำการตลาด

ผู้บริหารและนักลงทุน บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด

รวมถึงบริษัทจะยกระดับไปสู่การเป็น “มืออาชีพ” โดยมีคณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) เพิ่มเติมจำนวน 3 ท่าน ได้แก่

  1. ศิโรตม์ เสตะพันธุ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Managing Partner บริษัท เอ็กซ์ฟอร์แม็ท จำกัด มีประสบการณ์ด้านการเงินและการลงทุนมากกว่า 25 ปี เคยดำรงตำแหน่งในกระทรวงการคลัง และ บริษัท เจพีมอร์แกน
  2. ฐิติ ตวงสิทธิตานนท์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท Dole Packaged Foods มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาธุรกิจและการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ มากกว่า 20 ปี เคยดำรงตำแหน่งใน Coca-Cola, Mars, และ Royal Canin
  3. ธันวา มหิทธิวาณิชชา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Partner บริษัท แกรนท์ ธอนตัน จำกัด มีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการภาษีมากกว่า 15 ปี เคยดำรงตำแหน่งในบริษัท PricewaterhouseCoopers

ด้วยโครงสร้างบริษัทที่แกร่งขึ้น สรณัญช์กล่าวว่า เป้าหมายของบริษัทจากนี้ ต้องการจะมีส่วนแบ่งตลาดรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าไทย 50% ภายใน 3 ปี โดยมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้า 4 กลุ่มคือ ไรเดอร์ขนส่ง, ‘พี่วิน’ มอเตอร์ไซค์, หน่วยงานราชการ และกลุ่มคนรักรถมอเตอร์ไซค์

ETRAN MYRA รุ่นใหม่สำหรับไรเดอร์จัดส่งเดลิเวอรี่ เน้นความเพรียวบาง ซอกแซกง่าย มีที่วางกระเป๋าไว้ด้านหลัง

ชัยสิทธิ์ สัมฤทธิวณิชชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NDR นักลงทุนรายใหญ่ที่ร่วมกับอีทราน มองว่า บริษัทอีทรานจะเติบโตได้ 15-20% ในปีนี้ วางเป้ารายได้ไว้ที่ 300-500 ล้านบาท ส่วนปี 2565 น่าจะทำรายได้แตะ 1,000 ล้านบาทและน่าจะเป็นปีที่เริ่มทำกำไร

โดยบริษัทเลือกเข้าลงทุนในอีทรานเพื่อหา New S-curve ให้บริษัท NDR เชื่อว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นอนาคต และเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการเติบโต เหมาะแก่การเริ่มลงทุน

 

แก้ปัญหาผู้ใช้ สร้าง “สถานีเปลี่ยนแบตฯ” ในเมือง

หนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้คนกลัวการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าคือ ขณะนี้แบตเตอรี่ยังชาร์จได้ช้า ต้องใช้เวลา 2-4 ชั่วโมงในการชาร์จ ไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง ดังนั้น อีทรานจะเข้ามาแก้ปัญหา และทำให้โมเดลธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเป็นจริงได้

สรณัญช์กล่าวว่า อีทรานจะตั้ง “สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่” รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ตั้งเป้า 100 จุดทั่วกรุงเทพฯ (50 เขต เขตละ 2 จุด) ตั้งในห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ หรือพื้นที่ของบริษัท เฟสแรกเริ่ม 3 จุดก่อน แต่ยังไม่ระบุว่าเป็นที่ไหน

ภาพต้นแบบ “สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่” ของ ETRAN

วิธีใช้งานคือ ผู้ใช้รถของอีทรานจะต้องจองเวลาผ่านแอปฯ ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแบตฯ เวลาใด จากนั้นเข้ามาเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้เลย ไม่ต้องรอชาร์จ เชื่อว่าจะช่วยจูงใจให้การใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าน่าสนใจขึ้น

 

รุ่นใหม่ “MYRA” รถเช่าเพื่อไรเดอร์ส่งเดลิเวอรี่

ความเคลื่อนไหวอีกอย่างหนึ่งในปีนี้ของอีทรานคือ จะเปิดตัวรถรุ่นใหม่ MYRA ในเดือนมิถุนายนนี้ เป็นโมเดลรถที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่ม “ไรเดอร์” ส่งพัสดุ อาหาร เดลิเวอรี่โดยเฉพาะ ด้านหลังใช้วางกล่องใส่ของ วิ่งได้สูงสุด 190 กม.ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ทำความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม.

โดยช่วงแรกจะบริการแบบให้เช่าเริ่มต้นวันละ 1xx บาท เปิดเช่าทั้งแบบ B2B กับบริษัทที่ต้องการฟลีตรถมอเตอร์ไซค์ของตนเอง และราย่อยแบบ B2C ก่อนจะเปิดขายในระยะถัดไป

รถรุ่น MYRA นี่เองที่จะเป็นเรือธงสำคัญ เป็นซัพพลายที่ต้องเติบโตคู่ไปกับสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่่ โดยสรณัญช์ระบุว่า บริษัทตั้งเป้าให้เช่าหรือขายเฉพาะรถรุ่นนี้ 100 คันต่อเดือน เชื่อว่าจะมีรถวิ่งในตลาดสะสม 5,000 คันภายใน 3-4 ปี

 

โอกาสธุรกิจ…ที่ต้องการรัฐส่งเสริม

ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าในระดับโลกเริ่มเห็นความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในยุโรป สหรัฐฯ หรือจีน ต่างส่งเสริมรถอีวีทั้งนั้น

โดย “อาร์ชวัส เจริญศิลป์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด มองว่าตลาดนี้เริ่มเติบโตในระดับหนึ่งจนทำให้ต้นทุนและเทคโนโลยีการผลิตเริ่มเข้าถึงได้จริงแล้ว และเห็นว่าประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญ จากการที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า

ในประเด็นนี้ มองว่าการสนับสนุนจากรัฐที่จะช่วยให้ธุรกิจนี้เติบโตได้ดีที่สุดคือ 1.สนับสนุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานประเภทสถานีชาร์จและเปลี่ยนแบตเตอรี่ 2.ลดภาษีสรรพสามิตให้กับกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า 3.สนับสนุน BOI ให้กับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และ 4.สนับสนุนให้หน่วยงานราชการจัดซื้อจัดจ้างใช้งาน เพราะจะเป็นสัญญาณสำคัญว่าภาครัฐ ‘เอาจริง’ ในการส่งเสริม

สำหรับบริษัทเองก็จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ ให้แบตเตอรี่หนึ่งลูกวิ่งได้ไกลขึ้น ชาร์จเร็วขึ้น ปลอดภัย และลดต้นทุนการผลิตให้คนทุกคนเข้าถึงได้แบบ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ โดยปีนี้ยังมีพัฒนามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าอยู่อีก 2 รุ่น เชื่อว่าจากนี้จะกดราคาลงให้ต่ำได้ถึง 50,000 บาทต่อคัน เป็นราคาที่เข้ามาตีตลาดรถน้ำมันได้แล้ว

]]>
1331814