Shorts – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Apr 2022 06:24:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘YouTube’ เจอพิษ ‘TikTok’ และสงคราม ‘รัสเซีย-ยูเครน’ ทำรายได้ไตรมาสแรกพลาดเป้า ฉุดหุ้นร่วง 4% https://positioningmag.com/1383054 Wed, 27 Apr 2022 06:13:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383054 ‘อัลฟาเบท’ (Alphabet) บริษัทแม่ของ ‘Google’ และ ‘YouTube’ ได้รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกซึ่งต่ำกว่าที่หลาย ๆ คนคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้หุ้นของบริษัทตกลง 4% โดยภาพรวมทั้งปีหุ้นของบริษัทตกลงไปแล้วถึง 18% ร่วงสู่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2564

รายได้ของ Alphabet ในไตรมาสแรกของปีปิดที่ 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 23% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ยังต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะทำรายได้ 6.81 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยช่วงไตรมาสแรกของปี 64 Alphabet สามารถเติบโตได้ถึง 34% หลังจากที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวอีกครั้งจากการระบาดใหญ่

โดยบริษัทรายงานรายได้โฆษณาจากฝั่งของ Google ที่ 5.46 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นจาก 4.46 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า ส่วนรายได้จาก YouTube ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ โดยปิดที่ 6.9 พันล้านดอลลาร์ พลาดเป้าของนักวิเคราะห์ที่ 7.5 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจาก TikTok ครองส่วนแบ่งตลาดวิดีโอโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งบริษัทหยุดการขายโฆษณาในรัสเซีย เนื่องจากสงคราม

สืบเนื่องจากภาวะสมครามรัสเซีย-ยูเครน ทางบริษัทได้ระงับการให้บริการ Google ในรัสเซีย ส่งผลให้การขยายตัวของรายได้ในภูมิภาคยุโรปซึ่งรวมถึงตะวันออกกลางและแอฟริกา ชะลอตัวลงสู่ระดับ 19% ในไตรมาสแรก จาก 33% ของปีก่อน

Ruth Porat CFO กล่าวว่า YouTube เติบโตเพียงเล็กน้อย การชะลอตัวดังกล่าวสะท้อนถึงความยากลำบากเมื่อเทียบกับเวลาเดียวของปีที่แล้ว ด้าน Sundar Pichai CEO เปิดเผยว่า ฟีเจอร์ Shorts มียอดรับชมกว่า 3 หมื่นล้านครั้ง/วัน ซึ่งเติบโตเป็นสองเท่าในไตรมาสก่อนหน้าและสี่เท่าของปีก่อน

ส่วนรายได้อื่น ๆ ของ Google ซึ่งรวมถึงฝั่งฮาร์ดแวร์, Play Store และรายได้ที่ไม่ใช่โฆษณาบน YouTube อยู่ที่ 6.81 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าปีก่อนเล็กน้อยเล็กน้อย ส่วนแผนกอื่น ๆ อย่าง Waymo หน่วยรถยนต์ไร้คนขับ มีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปีก่อนหน้าปิดที่ 440 ล้านดอลลาร์ จาก 198 ล้านดอลลาร์ 

สำหรับธุรกิจที่โดดเด่นในช่วงไตรมาสแรกนี้ ได้แก่ คลาวด์ โดยเติบโตขึ้น 44% และทำลายสถิติเกินคาด เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากขึ้นเปลี่ยนการเก็บข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลของตนเองไปไว้บนคลาวด์ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงขาดทุนจากการดำเนินงาน 931 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 974 ล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า

ทั้งนี้ กำไรต่อหุ้นในไตรมาสนี้อยู่ที่ 24.62 ดอลลาร์ ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 30.69 ดอลลาร์ และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ของเรฟินิทีฟ (Refinitiv) คาดการณ์ไว้ที่ 25.91 ดอลลาร์ หุ้นของ Alphabet ลดลง 18% สำหรับปี โดยร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่พฤษภาคม 2564

Source

]]>
1383054
TikTok ดิ้นสู้ศึกวิดีโอสั้น! ‘แจกเงิน – ปั้นออริจินอลซีรีส์’ https://positioningmag.com/1347684 Thu, 19 Aug 2021 08:32:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347684 ต้องยอมรับว่าหากพูดถึงแพลตฟอร์ม ‘วิดีโอสั้น’ ชื่อแรกที่คนจะพูดก็คือ ‘TikTok’ ซึ่งไม่น่าแปลกใจนักเพราะในปี 2020 TikTok ได้กลายเป็นแอปโซเชียลมีเดียที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก แซงหน้า Facebook และ Instagram ไปเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดดสิ่งที่ตามมาก็คือ ‘คู่แข่ง’ 

คู่แข่งใหม่เพียบ

ในปี 2020 ที่ผ่านมา โลกต้องเจอกับวิกฤต COVID-19 ทำให้ต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านเป็นหลักเพื่อสกัดการระบาด และนั่นทำให้แพลตฟอร์มคอนเทนต์ต่าง ๆ เติบโตขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสตรีมมิ่ง รวมถึงแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ข้อมูลจาก SteamElement ระบุว่า Live-streaming กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมาก

เมื่อเทียบระหว่างปี 2019 และ 2020 มีการเพิ่มขึ้นของคอนเทนต์จากการ Live-steaming ถึง 99% อย่าง TikTok ที่แค่ต้นปี 2020 ก็มียอดดาวน์โหลดกว่า 2,000 ล้านครั้งใน 150 ประเทศทั่วโลก และจากการรวิเคราะห์โดย Nikkei พบว่า TikTok ได้แซงหน้า Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก

จากการเติบโตดังกล่าว เจ้าตลาดไม่ว่าจะ Facebook, Google หรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีในจีนและอินเดีย ต่างก็พยายามปั้นฟีเจอร์วิดีโอสั้นออกมาแบ่งเวลาจากผู้ใช้บ้าง อาทิ Reels ของ Instagram หรือ Shorts ใน YouTube และ ไคว่โส่ว (Kuaishou) แพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นของจีนคู่แข่งคนสำคัญของ Douyin (โต่วอิน) หรือ TikTok เวอร์ชันจีน

โดย YouTube เองได้ตั้งกองทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับใช้อัดฉีดอินฟลูเอนเซอร์ยอดฮิตบนแพลตฟอร์ม Shorts สำหรับให้ผู้ที่มียอดวิวและ engagement สูงสุดในแต่ละเดือนจะได้รับเงินทุนส่วนนี้ไป เรียกได้ว่าพยายามจะดึงคนดังให้ย้ายข้างเลยทีเดียว

แจกเงินดึงผู้ใช้ใหม่

แม้จะเป็นผู้นำ แต่หากอยู่เฉยคงไม่ส่งผลดีแน่นอน ดังนั้น ในปี 2021 TikTok เองก็ขยับตัวในหลายส่วน โดยที่เห็นล่าสุดก็คือแคมเปญ TikTok Bonus โดยผู้บริหารของ TikTok ระบุว่าไม่ใช่แค่ไทยแต่มีหลาย ๆ ประเทศทำ โดยให้ผู้ใช้เดิม ‘แนะนำเพื่อน’ เพื่อดึงผู้ใช้หน้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน โดยแบ่งเป็นการเชิญเพื่อน 5 คน ที่ไม่เคยมีบัญชี TikTok มาก่อนให้สมัครและดาวน์โหลดใช้งาน ซึ่งสามารถได้เงินสูงสุด 2,500 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลสะสมแต้มสำหรับการดูวีดีโออีกด้วย

แม้ผู้บริหาร TikTok จะระบุว่าแคมเปญดังกล่าวเป็นการคืนกำไรให้ผู้ใช้เป็นเรื่องหลัก แต่ก็ยอมรับว่าผลลัพธ์ที่ตามมาคือผู้ใช้ใหม่ ๆ

“เราเห็นว่าพฤติกรรมผู้ใช้ TikTok จะชอบแชร์คลิปของ TikTok ให้เพื่อน ๆ เป็นปกติอยู่แล้ว ดังนั้น เราจึงอยากจะคืนกำไรให้ผู้ใช้ของเรา เราไม่ได้มองว่าเป็นแคมเปญอะไร แค่อยากให้ผู้ใช้” สุรยศ เอี่ยมละออ Head of Consumer Marketing กล่าว

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะย้อนไปปี 2012 เคยมี TikTok Tickets ที่ร่วมกับ Major Cineplex มอบบัตรชมภาพยนตร์ ให้กับผู้ใช้งานใหม่ และปี 2020 ก็มี TikTok Rewards โปรแกรมสะสมแต้มที่สามารถใช้แลกของรางวัลจากแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ ในไทย โดยให้ชวนเพื่อนมาสมัคร TikTok เช่นกัน

ปั้นออริจินอลคอนเทนต์เอง

นอกจากแคมเปญการตลาดดังกล่าวแล้ว สิริประภา วีระไชยสิงห์ Users and Content Operations Lead ของ TikTok ประเทศไทย ระบุว่า TikTok มี 4 กลยุทธ์สำหรับดึงดูดผู้ใช้ ได้แก่

  • Original Content ของ TikTok เช่น ภาพยนตร์ออนไลน์ Songkran Stranger #รักไม่ซ้ำหน้า ในรูปแบบ interactive film การสร้างสรรค์ Partnership Content IP ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ ๆ เช่น การออดิชั่นนักร้องบน TikTok ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ TikTok และค่ายเพลง White Fox
  • TikTok LIVE ที่ต่างจากคู่แข่ง โดยจะเป็นคอนเทนต์บันเทิงในรูปแบบใหม่ ได้แก่ Fun Fight การแข่งขันไลฟ์แบทเทิลของศิลปินดังจาก GMM TV และดาว TikTok ผ่านฟีเจอร์ LIVE Match และ ฟีเจอร์ Multi Guest ที่คนที่เปิดห้องไลฟ์สามารถดึงคนที่ดูมาร่วมพูดคุยกันได้ด้วยสูงสุด 3 คน
  • อัพเกรดปฏิสัมพันธ์ในคอมมูนิตี้ โดย TikTok ได้มีการจัดแคมเปญเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่ง เช่น แคมเปญ For Your Pride, แคมเปญ Black Lives Matter
  • เพิ่มเครื่องมือ TikTok Tools ต้องยอมรับว่าลูกเล่นต่าง ๆ ของ TikTok นั้นมีความหลากหลายและเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้ชื่นชอบและครีเอตวิดีโอออกมา ดังนั้น เมื่อมีเครื่องมือใหม่ ๆ ก็จะทำให้สร้างสรรค์ได้มากขึ้น ไม่น่าเบื่อ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น Trending Now เป็นต้น

จะเห็นว่า TikTok ไม่ได้แค่เป็นแพลตฟอร์มแบบ user generated content หรือแค่ให้ผู้ใช้งานสร้างสรรค์คอนเทนต์อีกต่อไป แต่เริ่มมีออริจินอลคอนเทนต์ของตัวเอง ทั้งเป็นซีรีส์ และรายการเกมโชว์ ซึ่งจุดสำคัญคือ ยูสเซอร์สามารถมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ได้ ขณะที่จุดแข็งเก่าอย่าง Tools ก็มีเพิ่มใหม่ ๆ มาตลอด

มั่นใจ it starts on tiktok

ทาง TikTok เองยอมรับว่าการแข่งขันของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังเชื่อมั่นในจุดแข็งของแพลตฟอร์มว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ ไวรัล เนื่องจาก TikTok มีความ Authenticity คือ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องทำอะไรมาก คนที่เข้ามาไม่รู้สึกเคอะเขิน รู้สึกสบาย ๆ ต่างจากแพลตฟอร์มอื่น มีความ Creativity ที่เป็นหัวใจหลักของแพลตฟอร์ม และผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความ Positivity คือมีแต่คอนเทนต์ในเชิงบวก คนส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อคลายเครียด

โดยที่ผ่านมา 3 ใน 4 ของผู้ใช้ TikTok รู้สึกดี มีแรงบันดาลใจ ความมั่นใจ และรู้สึกได้รับความบันเทิงเมื่อใช้ TikTok และรู้สึกว่า TikTok เป็นพื้นที่ที่พวกเขาสามารถแสดงความเป็นตัวตนได้อย่างอิสระและเปิดกว้าง 60% ของผู้ใช้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับชุมชนบน TikTok

“ตอนนี้ต้องยอมรับว่าการแข่งขันสูงมากจริง ๆ แต่ทุกแคมเปญทุกอย่างพยายามย้ำว่าทุกอย่างเริ่มที่ TikTok ยังเชื่อเราแตกต่าง และเราพยายามพัฒนาฟีเจอร์ Base On การใช้งาน”

ผลิตภัณฑ์บิวตี้เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการแรงกระตุ้นทั้งราคาและรีวิว และรีวิวมีอิทธิพลมากกว่าเล็กน้อย

ปัจจุบัน trending บนแพลตฟอร์ม TikTok ไม่ได้มีแค่ความบันเทิงแต่หลากหลายมากขึ้น อาทิ คอนเทนต์การศึกษา, ข่าว, เกม, สอนทำอาหาร อย่างไรก็ตาม คอนเทนต์ทุกประเภทก็จะสอดแทรกความบันเทิงเป็นในลักษณะ Edutainment ดังนั้น เนื้อหาของคอนเทนต์ในอนาคตจะมีเนื้อหาแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่มีสาระสอดแทรกไปกับความบันเทิง

จะเห็นว่าการแก้เกมของ TikTok ไม่ได้มีจุดประสงค์แค่ ดึงผู้ใช้ใหม่ แต่ยังสามารถ หารายได้ เพิ่มเติมจากค่าโฆษณาได้ผ่านการ ขายบัตร เข้าชม ในขณะที่เทรนด์ที่ขยายกว้างขึ้นยิ่งทำให้ TikTok มีโอกาสทางธุรกิจที่สามารถเจาะลึกลงในในแต่ละกลุ่มได้อีกด้วย จาก TikTok จะงัดอะไรมารักษาสถานะผู้นำตลาดวิดีโอสั้นอีกบ้างคงต้องรอดู เพราะคู่แข่งเยอะขนาดนี้จะอยู่เฉย ๆ คงไม่ได้เเล้ว

]]>
1347684
‘Instagram’ เตรียมส่ง ‘Reels’ ท้าชน ‘TikTok’ พร้อมเปิดทดลองใน ‘สหรัฐฯ-อินเดีย’ เป็นกลุ่มแรก https://positioningmag.com/1288355 Fri, 17 Jul 2020 11:40:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288355 ถือว่าผลงานในครึ่งปีแรกกำลังไปได้สวยเลยสำหรับ ‘TikTok’ แอปวิดีโอสั้น ๆ สุดฮิตที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 2 พันล้านครั้ง เติบโตถึง 2 เท่าจากปีที่แล้ว และตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมมีการดาวน์โหลด 315 ล้านครั้ง แต่เริ่มเข้าช่วงครึ่งปีหลัง TikTok ก็เริ่มเจอปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะการโดนประเทศอินเดีย ‘แบน’

ล่าสุด NBC ได้รายงานว่า ‘Instagram’ เตรียมปล่อยฟีเจอร์ใหม่ที่ใช้ชื่อว่า ‘Reels’ ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างคลิปวิดีโอสั้น ๆ ประมาณ 15 วินาที พร้อมใส่เสียงเพลงในวิดีโอ และมีเอฟเฟกต์อย่างการปรับความเร็วและการตัดต่อแบบง่าย ๆ ซึ่งแน่นอนว่าฟีเจอร์นี้ตั้งใจออกมาชนกับ ‘TikTok’ เต็ม ๆ แถม Instagram จะทดลองเปิดฟีเจอร์นี้ในตลาดสหรัฐฯ และอินเดียเป็นกลุ่มประเทศแรกอีกด้วย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าอินเดียได้แบนแอป TikTok ไปแล้ว ส่วนสหรัฐฯกำลังพิจารณาที่จะเเบน TikTok เนื่องจากข้อกังวลด้านความมั่นคงเช่นกัน

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะเปิดตัวฟีเจอร์ Reels ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะเริ่มจากสหรัฐฯ ตามด้วยอินเดีย ซึ่งทั้งคู่เป็นตลาดที่ใหญ่ของ Facebook และจากนั้นจะปล่อยที่บราซิล ฝรั่งเศส และเยอรมนี”  โฆษกของ Facebook กล่าว

ตัวอย่างฟีเจอร์ Reels บน Instagram

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ Reels ของ Instagram เท่านั้นที่ท้าชน TikTok แต่มี ‘HiPi’ แพลตฟอร์มโลคอลของอินเดีย และ Short ของ YouTube นอกจากนี้ยังมีแอปคล้าย ๆ กันอีกอย่าง Triller, Dubsmash, Likee และ Byte อีกด้วย

อ่าน >>> ก๊อป? ‘YouTube’ ซุ่มพัฒนาฟีเจอร์ ‘Shorts’ ท้าชน ‘TikTok’


Source

]]>
1288355
ก๊อป? ‘YouTube’ ซุ่มพัฒนาฟีเจอร์ ‘Shorts’ ท้าชน ‘TikTok’ https://positioningmag.com/1271361 Thu, 02 Apr 2020 06:57:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271361 ‘YouTube’ เคยเป็นแอปฯ ที่หลายคนมาปล่อยของเจ๋ง ๆ จนบางคลิปถูกหยิบมาเป็นไวรัล แต่เมื่อ ‘TikTok’ ปรากฏตัวขึ้นทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ยิ่งในช่วงกักตัวเพราะวิกฤติโควิด-19 ก็เห็นคนดังหลายคนออกมาเล่น Tiktok แก้เบื่อ ขนาดที่องค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ยังมีชาเลนจ์สอนการล้างมือ เรียกได้ว่ามาแรงขนาดนี้ YouTube เลยต้องพัฒนาฟีเจอร์ใหม่อย่าง ‘Shorts’ เพื่อทวงบัลลังก์คืน

สำหรับ Short ฟีเจอร์ที่เปิดให้ผู้ใช้อัปโหลดวิดีโอสั้น ๆ ลงในฟีดจากแอปฯ มือถือ เหมือนกับแอปฯ TikTok ซึ่งจุดแข็งของ YouTube คือ สามารถนำเพลงลิขสิทธิ์ที่มีอยู่แล้วมาใช้ได้เลย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะมีลูกเล่นอื่น ๆ ให้ใช้ในฟีเจอร์นี้อย่างไรอีกบ้าง

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา TikTok ถือเป็นแอปพลิเคชันที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดกว่า 125% ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดกว่า 1,000 ล้านครั้งใน 150 ประเทศทั่วโลก เติบโตขึ้น 15% ปีต่อปี และในเดือนมกราคมที่ผ่านมา TikTok กลายเป็นแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดสูงที่สุดในโลกด้วยจำนวนยอดดาวน์โหลดสูงถึง 104.7 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึง 46% และในไทยเองก็มีการเติบโตถึง 100% เป็น Top 3 ของประเทศที่มีการเติบโตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ่าน >>> เจาะลึก ‘TikTok’ แพลตฟอร์มสร้าง ‘ไวรัล’ ของวัยโจ๋ ที่โตกว่า 100% ในปีเดียว

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ YouTube จะพัฒนาฟีเจอร์ที่คล้ายกับคู่แข่งมาใส่ไว้ในแพลตฟอร์มตัวเอง เพราะด้วยจำนวนผู้ใช้กว่า 2,000 ล้านราย/เดือน รวมถึงข้อตกลงการอนุญาตให้ใช้งานเพลงลิขสิทธิ์จำนวนมากมาย ซึ่งเเปลว่ามีอาวุธอยู่ในมือเเล้ว อีกทั้ง ไม่ใช่ครั้งแรกที่ YouTube ได้พัฒนาฟีเจอร์ที่กำลังได้รับความนิยมมาใส่ไว้ในแพลตฟอร์มตัวเอง เช่น การนำฟีเจอร์ที่คล้าย ๆ กับ Instagram Story มาใช้ในเว็บไซต์ตัวเอง

และไม่ใช่แค่ YouTube แต่มีรายงานว่า Facebook เองได้พัฒนา ‘Lasso’ หรือ TikTok เวอร์ชั่นของตัวเอง ซึ่งกำลังทำการทดสอบอย่างเงียบ ๆ ในตลาด เช่น บราซิล เป็นต้น

Source

#TikTok #YouTube #Shorts #Facebook #Lasso #Positioningmag

]]>
1271361